เมื่อครั้งที่แล้ว มันมากับอาหาร ได้นำเสนอถึงยาฆ่าแมลงตกค้าง
ในส้มเขียวหวานกันไปแล้ว แต่เป็นเพียง เรื่องราวของยาฆ่าแมลง ในกลุ่ม
ไพรีธรอยด์ เท่านั้น
และครั้งนั้น ผลปรากฏว่าไม่พบยาฆ่าแมลงกลุ่ม ไพรีธรอยด์
ตกค้างในตัวอย่างเลย
วันนี้ สถาบันอาหารจึงขอเสนอผลการตรวจวิเคราะห์ยาฆ่าแมลงตกค้าง
ในส้มเขียวหวาน กันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงในกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต
สารกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต เป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ที่ในปัจจุบันมีมากกว่า
100 ชนิด เกษตรกร นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี
สลายตัวง่ายในธรรมชาติ
ชนิดที่นิยมใช้กำจัดแมลงมากที่สุด จะมีคุณลักษณะเป็นชนิดดูดซึม
เช่น โมโนโครโตฟอส เมทธามิโดฟอส เมวินฟอส ไดเมทโธเอท
และฟอสฟามิโดน
ซึ่งภายหลังการฉีดพ่นต้นพืชที่อยู่เหนือดิน หรือหว่านลงดิน สารกลุ่มดังกล่าวจะถูกดูดซึมเข้าสู่
ต้นพืช และกระจาย ไปยังส่วนต่างๆของพืช
สำหรับพิษของสารฆ่าแมลงในกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต นั้น WHO จัดให้อยู่ในกลุ่มที่
มีพิษ ร้ายแรงยิ่ง และมีพิษปานกลาง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพิษเฉียบพลัน
ต่อสิ่งมีชีวิต
ที่สำคัญคือ สารเคมีกลุ่มนี้มีผลต่อระบบประสาท และสามารถซึมเข้าทางผิวหนัง
สู่ระบบไหลเวียน ของเลือดทั้งสัตว์ และมนุษย์ได้
ครั้งนี้ สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มตัวอย่างส้มเขียวหวานจาก 5 ย่านการค้า
มาวิเคราะห์หา เมวินฟอส โมโนโครโตรฟอส มาลาไธออน คลอร์ไพรีฟอส และไดเมทโธเอท
โดยมีผลการวิเคราะห์ ดังตาราง ด้านล่าง
ปรากฏว่า มีส้มเขียวหวานอยู่ 2 ตัวอย่าง ที่พบสารไดเมทโธเอทตกค้าง
แต่ยังไม่เกินมาตรฐาน ของกระทรวง สาธารณสุขไทย
แต่ก็อย่าลืมว่า ก่อนจะรับประทานส้มสด หรือก่อนจะนำมาคั้นเป็นน้ำส้มสด
ควรล้างน้ำ ทั้งเปลือก ให้สะอาด ป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า....