พญ.วิภา งามสุทธิกุล แพทย์ประจำโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา นำเสนอผลงานวิจัย
ต่อที่ประชุมวิชาการ ของกระทรวงสาธารณสุข เร็วๆ นี้ ระบุว่า โรคข้อเข่าเสื่อม
ถือเป็นปัญหาสาธารณสุข เนื่องจากเป็นโรค ที่มีอัตรา ความชุกสูง นอกจากนี้
ยังเป็นโรคเรื้อรัง ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย และจิตใจ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
จำนวนไม่น้อย ที่ต้องทนทุกข์ กับพยาธิสภาพของโรค ที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด
บริเวณข้อเข่า ซึ่งเป็นความเจ็บป่วย ที่จะเกิดขึ้น และเป็นไปจนตลอดชีวิต
จากการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
ในผู้ป่วย โรคข้อเข่าเสื่อม ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งมารับบริการ
ตรวจรักษา ที่ห้องศัลยกรรมกระดูก และข้อ ของโรงพยาบาล มหาราชนครราชสีมา
จำนวน 210 คน เปรียบเทียบกับ ผู้ป่วยโรคกระดูกอื่นๆ ที่มีอายุ 45
ปีขึ้นไป จำนวน 210 คน พบว่าผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ส่วนใหญ่ มีการนั่งคุกเข่า
นั่งยองๆ และนั่งพับเพียบ นานเกินกว่า 6 ชม. ต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นการเพิ่ม
ความเสี่ยง ต่อการเกิดโรค
จากผลการวิจัย ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะว่า เพื่อลดความเสี่ยง การเกิดโรค
ข้อเข่าเสื่อม ควรหลีกเลี่ยง การนั่งคุกเข่า การนั่งยองๆ และ การนั่งพับเพียบ
เป็นเวลานานๆ รวมทั้งควบคุมน้ำหนัก เพื่อให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จะทำให้ข้อเข่า
ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก มีอายุการใช้งาน นานขึ้น และ ปลอดภัย จากโรคข้อเข่าเสื่อมได้