.

หลายหัวไม่มีวันรวมเป็นหัวเดียว ไม่เกิน 7 หัว ถึงจะเห็นเอกฉันท์

ถ้าต้องการให้มีการลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ ก็อย่าให้มีองค์ประชุม มากเกินกว่า 7 คน เพราะยิ่งมากหัวเกินกว่านั้น ไม่มีวันที่จะรวมหัว เป็นหัวเดียวกันได้

นักวิจัยได้พบว่า จำนวนองค์คณะของที่ประชุม นับว่ามีอิทธิพล กับการลงมติมาก องค์คณะใหญ่ๆ อาจมีความเห็น คล้อยตามคนพูดเก่งๆ หนึ่งหรือสองคนก็ได้

ศาสตราจารย์ไซมอน การ์รอด ของมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ กล่าวบอกว่า เราวิจัยพบว่า องค์คณะที่ใหญ่โตถึง 10 คน หรือเกินกว่านั้น อย่างเช่น คณะผู้พิพากษา ยิ่งยากที่จะเกิด มีมติข้างมากได้ "องค์คณะต้องอย่าให้เกิน 7 คน จึงจะเห็นพ้องกันอย่างเป็นเอกฉันท์ง่ายกว่า" การพูดกัน เพียงแค่สองสามคน มักพูดได้เรื่องราว กันมากกว่า ยิ่งมากคน ก็ยิ่งมากเรื่อง แต่ละคน มักจะอวดตีฝีปากกันเสีย และมักจะมีแค่เพียงคน หรือสองคน ยืนพื้นอยู่

เขายืนยันว่า หลักการนี้ เป็นแบบเดียวกับที่ประชุม ที่มีองค์ประชุมเกินกว่า 7 คนทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นที่ประชุม คณะรัฐมนตรี และการประชุม ธุรกิจใดๆ ก็เหมือนกันทั้งนั้น "ผลการศึกษาวิจัย ทำให้ได้รู้สาเหตุว่า เหตุใด ที่ประชุมใหญ่ๆ จึงมักจะเสียงแตก"

ไทยรัฐ ๑๒ ก.ย. ๒๕๔๔