ขณะที่ผมนั่งเขียนต้นฉบับวันนี้
ยังไม่ทราบตัวเลขที่แน่นอนว่า ยอดผู้เสียชีวิต จากกรณีนํ้าป่าไหลท่วม
อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ เมื่อ 2-3 วันที่แล้ว จะเป็น จำนวนเท่าใด?
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐรายงานว่า
พบแล้ว 88 ศพ และยังมียอด ผู้สูญหาย อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งหมายความว่า จะต้องมียอดผู้เสียชีวิต
เพิ่มขึ้น อีกอย่างแน่นอน
นับเป็นข่าวเศร้าอันเกี่ยวเนื่องมาจากภาวะฝนตกหนัก
และภาวะ นํ้าท่วม รุนแรง ที่เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ของประเทศไทยเรา
นอกจากที่หล่มสักแล้ว
ก็ยังมีที่อุดรธานีและเชียงใหม่ ซึ่งได้รับ ความเสียหาย ลดหลั่นลงมา
เท่าที่ดูโทรทัศน์และอ่านข่าวหนังสือพิมพ์
ก็คงต้องชมเชย รัฐบาล ที่ให้ความดู แลเอาใจใส่ และช่วยเหลือ พี่น้องผู้ประสบ
ความทุกข์ยาก อย่างดียิ่ง
นอกจากจะให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้าแล้ว
ท่านนายกฯ ยังพูดถึง การช่วยเหลือ ในอนาคต ซึ่งอาจจะมีการติดตั้ง ระบบเตือนภัย
และอาจจะนำ กฎหมาย ป่าชุมชนออกมาใช้
เพราะเห็นได้ชัดเจนว่า
ความเสียหาย ที่เกิดขึ้น ในระยะหลังๆ นี้เป็นผลพวง มาจากการตัดไม้ ทำลายป่าโดยตรง
ผมเห็นด้วยกับท่านนายกฯ
ทุกประการครับ โดยเฉพาะ เรื่องป่าชุมชนนั้น ขอสนับสนุนเต็มที่ เพราะน่าจะเป็น
วิธีดูแลรักษาป่า ที่ดีที่สุด
แต่เมื่อพูดถึงเรื่องป่าชุมชนก็ดี
หรือเรื่องการปลูกป่าก็ดี... ผมก็อดไม่ได้ ที่จะรู้สึกน้อยใจ หรือรู้สึกท้อถอย
ขึ้นมาตงิดๆ
น้อยใจว่ามันเป็นกรรม
เป็นเวรอะไรของคนไทย เราก็ไม่รู้... หลายๆ เรื่องเราคิดถูก เดาถูกครับว่า
จะต้องเกิดขึ้น จะแก้ล่วงหน้า... แต่ทำไม่สำเร็จ สักเรื่องนึง
เรารู้มานานแล้วว่า
ป่าถูกทำลายจะต้องปลูกป่า ไม่เช่นนั้น จะเสียดุล ธรรมชาติ โดยเฉพาะ เวลาเจอภัยธรรมชาติ
จะเสียหาย รุนแรง
เมื่อปี
2519-2520 ท่าน ธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี ออกมา ประกาศ
นโยบายปลูกป่า ขนานใหญ่
ผมยังจำได้
ท่านดูเหมือนจะไปปลูกด้วยตัวท่านเอง ที่จังหวัดแพร่ หรือน่าน อะไรสักจังหวัดหนึ่ง
ทำพิธีกันใหญ่โต
ปรากฏว่า
20 ปีเศษให้หลัง นอกจากป่าไม้ จะไม่เพิ่มขึ้นแล้ว กลับยิ่งลด จำนวนลงไป
และเผลอๆ ต้นที่คุณธานินทร์ กับคณะไปปลูกไว้ อาจจะถูก นํ้าท่วม ถอนรากถอนโคน
ไปแล้วก็ได้
ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น
ผมได้รับเชิญ ไปดูการปลูกป่า ที่เยอรมัน และอีก 20 ปีให้หลัง แม้ผมจะไม่ได้เห็นเอง
แต่อ่านข่าวเจอว่า ป่าของเขา ที่เรียกว่า ป่าปลูกใหม่ อุดมสมบูรณ์เหลือเกิน
มีต้นไม้มากพอ ที่จะแบ่งปัน ตัดออกมา ใช้การได้ จำนวนมาก ในแต่ละปี
แล้วจะไม่ให้น้อยใจได้อย่างไร...
เริ่มพร้อมๆ กัน... ของเขาไปโลด ในขณะที่ ของเรา ไม่รู้อยู่ขุมไหน
กรณีของป่าชุมชนก็เช่นกัน
ผมไม่อยากเซด เพราะจำได้ว่า ตัวเองเคยมีส่วน ในการช่วยผลักดัน มาเหมือนกัน
ช่วงนั้น
คุณ บรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกฯ เรียกผมไปสั่งการ ให้เร่งร่าง
พ.ร.บ. ป่าชุมชนให้หน่อย ท่านอยากจะให้เกิด ในสมัยท่าน
ผมซึ่งยังเป็นรองเลขาฯ
สภาพัฒน์ มีอำนาจวาสนา พอสมควร ในตอนโน้น ก็เชิญทั้ง นักวิชาการป่าไม้
เจ้าหน้าที่ กรมป่าไม้ และบรรดา เอ็นจีโอทั้งหลาย ไปนอนโรงแรม กลางป่า
ทำ เวิร์กช็อป อยู่ 3 วัน 3 คืน
ตกลงอะไรกันได้
ก็เขียนบันทึก เป็นภาษาธรรมดาๆ เอาไว้ แล้วก็วาน ให้อาจารย์ ดร. บวรศักดิ์
อุวรรณโณ ซึ่งไปประชุมด้วย แปลเป็นภาษา กฎหมาย พร้อมใส่เลขมาตรา
เสร็จสรรพ
ได้ร่าง
พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. ...มาหนึ่งฉบับ มองเห็นเค้าว่า จะคลอดแน่ๆ
แต่โชคร้ายครับ...
ในการประชุม เพื่อความรอบคอบ นัดสุดท้าย ที่ทำเนียบฯ มีเอ็นจีโอ 1 ท่าน
ยกมือค้าน 1 เสียง
เชื่อไหมว่า
จากนั้นเป็นต้นมา กฎหมายก็ค้างเติ่ง เปลี่ยนจาก ท่านบรรหาร เป็นบิ๊กจิ๋ว
เป็นบิ๊กชวน 3 รัฐบาลเต็มๆ ไม่มีอะไรคืบหน้า
ผมเองออกจากราชการ
มาครบ 5 ปี มาได้ยินข่าว หลังนํ้าท่วมหล่มสัก นี่แหละครับว่า ท่านนายกฯทักษิณ
ท่านจะรื้อฟื้น ขึ้นมาใหม่
ผมถึงได้บอกว่า
ประเทศไทยของเรานั้น ค่อนข้างมีกรรม... เรารู้ตลอดว่า อะไรจะเกิด และ
ควรจะทำอย่างไร ล่วงหน้า
แต่ไม่เคยทำอะไร
ได้สักอย่างเดียว... พับผ่าซี!
"ซูม"