จากที่ได้นำเสนองาน วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหญ้าแฝก
เพื่อเป็นรายได้ ครบวงจร ที่มูลนิธิโครงการหลวง ทำการศึกษาอยู่ ในขณะนี้
โดยผลงานเด่น ซึ่งเป็นที่สนพระราชหฤทัย ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว
ได้แก่ การใช้แฝก ดินเหนียว สร้างฉางเก็บข้าว ซึ่งขณะนี้ รอที่จะทำการทดสอบว่า
จะสามารถเก็บข้าว ไว้ได้นานแค่ไหน ในความชื้น ที่ต่างกัน
คุณภาวนา อัศวะประภา นักวิชาการเกษตร กลุ่มสมุนไพร
และเครื่องเทศ กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร และเลขานุการ
คณะทำงาน วิจัยฯ ซึ่งรับผิดชอบในส่วนของ แนวทางการผลิตวัตถุดิบ ได้เล่าให้ฟังว่า
"ในส่วนบทบาท ของกรมส่งเสริมการเกษตร มีประเด็นหลัก ที่จะต้องยึดคือ
แยกจากระบบ การปลูกเชิงอนุรักษ์ และมองเป็นพืชรายได้ตัวใหม่ ซึ่งเป็นนโยบาย
ของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยมีรูปแบบ การส่งเสริม แบบตลาด นำการผลิต
และมีสัญญาในการรับซื้อ ผลผลิตคืน จากเกษตรกร (contrac farming)
เพื่อที่จะสามารถ ควบคุมเกษตรกรได้ โดยมีการ ลงทะเบียน ผู้ปลูกไว้
ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับพันธุ์จากกรม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น
เนื่องจากพันธุ์ที่ใช้จะต้องเป็นพันธุ์ที่สกัดน้ำมันมาใช้ได้ ดังนั้น
การทำระบบดังกล่าว จะป้องกันปัญหา ที่อาจมีการขุดเอามา จากระบบ เชิงอนุรักษ์
ฉะนั้น ระบบการส่งเสริมดังกล่าว จึงจัดเป็นเรื่องใหญ่ ที่จะสามารถกันปัญหาดังกล่าว
ที่อาจเกิดขึ้นได้"
สำหรับพันธุ์ที่ทดสอบ เบื้องต้นว่าน้ำมันใช้ได้คือ
พันธุ์แม่แฮ และพันธุ์ พระราชทาน ซึ่งสภาพภูมิอากาศไม่ค่อยเป็นปัญหา
กล่าวคือ พันธุ์พระราชทาน ที่สามารถขึ้นได้ ในสภาพภูมิอากาศทั่วไป
ของบ้านเรา และพันธุ์แม่แฮ จะชอบอากาศ ที่ค่อนข้างเย็น โดยขณะนี้
กรมมีการปลูก ทดสอบไว้ 4 แห่ง แห่งละ 1 งาน คือศูนย์ส่งเสริม และผลิตภัณฑ์
พืชสวนโคราช จ.นครราชสีมา ศูนย์ส่งเสริม และผลิตภัณฑ์พืชสวน สุราษฎร์ธานี
ศูนย์ส่งเสริม และผลิตภัณฑ์พืชสวนเชียงราย และศูนย์ส่งเสริม และผลิตภัณฑ์พืชสวนระยอง
แต่ทั้งนี้การปลูกแฝกเพื่อเป็นรายได้นั้น เป็นเรื่องใหม่อยู่
สำหรับเกษตรกร ฉะนั้นสิ่งที่จำเป็นที่สุดคือ ต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้ทราบเงื่อนไข
ของการปลูกว่า ต้นทุนการปลูกจะต้องมี อย่างน้อย จะต้องหาวัสดุ ในการปลูกคือถุงดำ
หรืออาจเป็นกระบะ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นศึกษา ต้องใช้เวลา 1 ปี จึงสามารถเก็บผลผลิตได้
ควรจะมีแหล่งน้ำ เพื่อสำหรับล้างราก จากนั้นต้องผึ่งไว้ในที่ร่ม
10 วัน หน้าแล้ง จะต้องมีการให้น้ำ อาทิตย์ละ 2 ครั้ง เพราะว่าปลูกในถุง
จึงไม่สามารถ หาอาหารกินเองได้ ที่สำคัญ เกษตรกรต้องมีจิตสำนึกร่วมกัน
ว่าการปลูกแฝก เพื่อเป็นรายได้ ต้องแยกจากการปลูกแฝก เชิงอนุรักษ์
ทำไมถึงคิดว่า การส่งเสริมให้ปลูกหญ้าแฝก เพื่อเป็นรายได้
จะมีโอกาสเป็นไปได้สูง?
นั่นเป็นเพราะว่า ปัจจุบันในเรื่องของการตลาด หญ้าแฝก
ถือว่าเป็นพืช ที่ตลาดนำการผลิตได้ มีความต้อง การใช้น้ำมันแฝกหอม
250 ตัน /ปี ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 27 ก.พ. ทางกรมได้เซ็นสัญญา
กับบริษัท เครื่องหอมไทย-จีน ในการรับซื้อรากแห้ง ในราคา กก.17 บาท
โดยจากข้อมูล ที่ทำการบันทึกนั้น หญ้าแฝก 1 ต้นจะได้ 5-7 ขีด 1 ไร่
ปลูกได้ประมาณ 8,000 ต้น เฉลี่ยเป็นรายได้ ประมาณ 50,000-80,000
บาท/ไร่ เมื่อนำมา สกัด เป็นน้ำมัน รากหญ้าแฝก 100 กก.จะได้น้ำมัน
3 กก.
การผลิตจริงตามเป้าหมาย ที่วางไว้จะเริ่มในปี 45
ซึ่งจะต้องหา กลุ่มที่เข้าใจ เงื่อนไข และยอมรับ เพื่อลงมือปลูก
โดยเบื้องต้น การส่งเสริมมีแนวโน้ม ไปในลักษณะเป็นครัวเรือน และมีการรวมกลุ่ม
เป็นหมู่บ้าน ชุมชน และ รวมผลผลิต ให้ได้มากตามที่ต้องการ ทีนี้กลับมา
ในส่วนการก่อสร้างยุ้งฉาง ดินที่ใช้จะต้องเป็นดินเหนียว ขุดลึก จากหน้าดิน
30 ซม. ไม่ควรมีทรายผสม นำมาตากให้แห้งสนิท ซึ่งสำคัญมาก เมื่อนำมาใช้
จะต้องใส่น้ำ กะพอให้มี ความเหนียว ทิ้งไว้ 1 คืน ส่วนการเตรียมแฝก
ซึ่งจะใช้ทั้งต้น โดยตัดตั้งแต่ ที่โผล่พื้นดินให้ยาว ประมาณ 60
ซม. กำหนึ่งประมาณ 60-80 เส้น แบ่งออกเป็น สองส่วน วางสลับหัวกับท้าย
จากนั้นนำเส้นหญ้าแฝก มาชุบในน้ำดิน ซึ่งต้องให้น้ำดินเหนียว เข้าไปเคลือบอยู่ทุกเส้นหญ้าแฝก
จับกำให้เป็นมัด รูดน้ำดินออกให้หมด บีบให้หมาดที่สุด
จัดรูปทรง ในลักษณะโค้ง หรือหักศอก นำไปวางเรียงเป็นกำแพง ชั้นละ
4 มัด โดยการก่อ แต่ละครั้ง ต้องสูงไม่เกิน 30-40 ซม. และหยุดทิ้งไว้ให้ดินแห้ง
จึงกลับมาทำต่อ จนออกมาเป็นรูปทรงกรวย เสร็จแล้วอบนอกฉาบด้วยมูลวัว
ผสมแกลบน้ำ ฉาบเคลือบไปรอบๆ หนาประมาณ 3 มิลลิเมตร และหาก การก่อสร้าง
จะให้ละเอียดทุกขั้นตอน คงต้องติดตามถามต่อที่ ดร.พิชัย นิมิตยงสกุล
อาจารย์ภาควิชา วิศวกรรมโครงสร้าง และการก่อสร้าง สถาบันเทคโนโลยีเอเชีย
(AIT) และ รองประธานงานวิจัยฯ
แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ทางมูลนิธิฯฝากบอกว่า ขอให้ใจเย็น
ขอเวลาอีกนิด สำหรับการเก็บข้อมูล เมื่อใดที่เวลานั้นมาถึง ชาวนาบ้านเรา
รับรองสบายขึ้น มีที่เก็บข้าว แถมยังมีพืช ที่ปลูกเพื่อเป็นรายได้
เสริมอีกต่างหาก.
เพ็ญพิชญา เตียว