หน้าแรก >[10] เศรษฐกิจ และพาณิชย์ > ระบบบุญนิยม

ระบบบุญนิยม
ระบบบุญนิยม
เป็นระบบความคิด ที่สร้างวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์


จาก มิติของตัวตน (อัตตา) ไปสู่ ความหมดตัวตน (อนัตตา)
จาก ความโหดร้าย ไปสู่ ความเมตตา
จาก การกอบโกย ไปสู่ ความเสียสละ
จาก ที่เคยได้กำไร ไปสู่ ยอดขาดทุนได้
จาก การหลงติดความใหญ่ มักมาก ไปสู่การปล่อยวาง และมักน้อย
จาก ความได้เปรียบ ไปสู่ การยอมเสียเปรียบได้ ... และที่สุด
จาก ความเห็นแก่ตัว ไปสู่ ความไม่เห็นแก่ตัว (คงเห็นแก่ผู้อื่น)

จนบุคคลผู้นั้นเกิดภาวะ ...
อิสรเสรีภาพ (independence)
ภราดรภาพ (fraternnity)
สันติภาพ (peace)
สมรรถภาพ (efficiency)
บูรณภาพ (integrity)
ในตนเองอย่างแท้จริง

ซึ่งขณะที่เขามีชีวิตอยู่ เขาก็จะอยู่อย่างเพื่อ "ผู้อื่น" เท่านั้น
จึงเรียกบุคคล ผู้นั้นว่า "พระอาริยะ" อันหมายถึง บุคคลผู้ซึ่ง รู้ซึ้ง ปฏิบัติได้จริงแล้ว ตามหลัก อริยมรรค มีองค์ 8 ประการ

ระบบบุญนิยม จึงหมายถึงสิ่งต่อไปนี้ ประกอบกันเป็นองค์รวม

1. ลักษณะวรรณะ 9 ประการ ได้แก่
เลี้ยงง่าย (สุภระ), บำรุงง่าย (สุโปสะ), มักน้อย (อัปปิจฉะ),ใจพอ สันโดษ (สันตุฎฐิ), ขัดเกลา, (สัลเลขะ), มีศีลเคร่ง (ธูตะ), มีอาการที่น่าเลื่อมใส (ปสาทิกะ), ไม่สะสม (อปจยะ), ยอดขยัน (วิริยารัมภะ)เลี้ยงง่าย (สุภระ), บำรุงง่าย (สุโปสะ), มักน้อย (อัปปิจฉะ),ใจพอ สันโดษ (สันตุฎฐิ), ขัดเกลา, (สัลเลขะ), มีศีลเคร่ง (ธูตะ), มีอาการที่น่าเลื่อมใส (ปสาทิกะ), ไม่สะสม (อปจยะ), ยอดขยัน (วิริยารัมภะ)

2. ทฤษฎีกำไรขาดทุนของอาริยชนแท้ คือ “ได้มา เป็นบาป คือขาดทุน เสียไป เป็นบุญ คือกำไร”

3. อุดมการณ์ของบุญนิยม คือ “ขยัน กล้าจน ทนเสียดที หนีสะสม นิยมสร้างสรร สวรรค์นิพพาน”

4. กำไรอาริยะ 4 ระดับ คือ ขายต่ำกว่าราคาตลาด ขายเท่าทุน ขายต่ำกว่าทุน ให้ฟรี

5. หลักการค้าขาย ของ ระบบบุญนิยม คือ ขายถูก ไม่ฉวยโอกาส ขยันอุตสาหะ ประณีตประหยัด และซื่อสัตย์สุจริต

6. ละเว้นการประกอบมิจฉาชีพ 5 ประการ (มิจฉาอาชีวะ 5) คือ การโกง ล่อลวง ตลบตะแลง ยอมมอบตน ในทางผิด และเอาลาภแลกลาภ

7. ละเว้นการค้าขายของต้องห้าม 5 ประการ (มิจฉาวณิชชา 5) คือ สัตว์มีชีวิต สัตว์ตาย อาวุธ ยาพิษ และของมึนเมา

(ระบบบุญนิยม นำไปใช้กับสัตว์มนุษย์เท่านั้น จะนำไปใช้กับ สัตว์เดรัจฉาน หรือเหล่าสัตว์อื่น ที่เทียบเท่าเดรัจฉาน ไม่ได้)


 
1/1 Close