580201_วิถีอาริยธรรม สันติฯพ่อครู+ส.เดินดิน เรื่อง ๘ อ. แบบพิสดาร |
ส.เดินดินว่า... วันนี้สันติอโศก คงได้ต้อนรับ คณะบุคลากร คณะแพทย์วิถีธรรม มาช่วยทำให้บรรยากาศครั้งนี้ ค่อนข้างมีสีเข้มขึ้น เยอะเลย คงจะเดินทางไป ทางเดียวกับพ่อครู คือพ่อครู จะอยู่ไป ๑๕๑ ปี มีพวกเรา เล่าให้ฟังว่า ลูกเขาจับไปตรวจที่รพ. กลัวว่าปอด จะมีโรคอะไร เขาก็บอกว่า ไม่เจออะไรหรอก เขาจะอยู่ไปถึง ๑๐๐ ปี หมอเอาไปตรวจ ก็เลยไม่เจออะไรจริงๆ
ช่วงนี้พ่อครู ไปฉลองหนาวมา พ่อครูเป็นหวัดไปด้วย ตั้งแต่อยู่สันติอโศก ติดเชื้อ พอไปเจออากาศหนาวก็เลย catch a cold ในพระไตรฯ มีพูดถึงว่า คนจะมีอายุยืนยาว ต้องเป็นผู้ทำความสบาย แก่ตนเอง ๑ รู้จักประมาณ ในสิ่งที่สบาย ๑ บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๑ เป็นผู้ไม่เที่ยว ในกาลไม่สมควร ๑ ประพฤติเพียงดังพรหม
พ่อครูว่า... การที่จะทำให้เกิดความสบาย ต้องพูดให้ชัดว่า คำว่าสบาย ในภาษาไทย เพี้ยนไปจากคำว่าสัปปายะ สัปปาะย แปลว่าเจริญ อปายะแปลว่าเสื่อม เอาให้ชัดๆ เพี้ยนสปายะมาก เป็นสบาย คือสมอารมณ์หมาย มันบำเรอกิเลสนี่ มันเพี้ยนไปเลย สปายะนี่เจริญ เอาชัดๆ คือหมดกิเลส
สถานที่สปายะ ของชาวธรรมะ คือที่ลำบาก ไม่ใช่ที่สบาย ใครเข้าใจว่า รีสอร์ทที่สบาย บำเรออารมณ์คือสัปปายะ ไม่ใช่เลย สถานที่นั้นคือ อปายะ เข้าใจให้ชัด
ส.เดินดินว่า... มีคนบอกว่า อยู่วัดนี่ป่วย แต่ออกไปข้างนอก นี่หายป่วย
พ่อครูว่า... กำลังใจนี่ มันแข็งแรงนะ แต่ถ้าไม่พอใจนี่ อ่อนเปลี้ยเลย มนุษย์ออเซาะนี่ จะเป็นเลย พอเจอสิ่งพอใจ มีพลังวังชา เกินสามัญเลย แต่พอเจอสิ่งไม่พอใจ ก็ท้อแท้เลย เหมือนเป็นลมไปเลย นี่คือเรื่องจริง ของจิตวิญญาณ ถ้าชอบก็มีแรง ถ้าไม่ชอบก็อ่อนแรง เกินกว่าควรจะเป็น เคยเห็นไหม? น้อยคน ที่จะมีแบบนี้ เป็นน้อย คนที่จะมีอะไรเกินสามัญเป็นได้
ส.เดินดินว่า... อารมณ์ชอบหรือชัง เป็นปัจจัยให้เกิด โรคภัยได้มาก
พ่อครูว่า.. เพราะฉันทะเป็นมูล ถ้าไม่มีฉันทะ อิทธิบาทไม่เกิดเลย ไม่มีวิริยะ จิตตะ วิมังสาเลย ไม่สำเร็จ
ส.เดินดินว่า... เราพยายามหาต้นแบบ คนที่มีอายุยืนแข็งแรง ไปหามากมาย แต่พ่อครู อยู่กับพวกเราตลอดเลย
พ่อครูว่า... อาตมาไม่อยากพูด อายุตั้ง ๘๐ กว่าแล้ว จะทำเหมือนอายุ ๒๐ ได้อย่างไร แต่ที่จริง อาตมาทำได้นะ แต่ทำแล้ว มันไม่คือ แต่ที่จริงอาตมารู้ว่า อายุ ๑๘ ไม่ใช่ ๘๐ สรีระร่างกายอาตมานะ
ส.เดินดินว่า... ผมมองว่า ที่พวกเรามองข้ามพ่อครู เพราะว่าข้อ ๘อ.นี่ แต่ละข้อ ทำได้ยากเลย
พ่อครูว่า... วันนี้เขาจะให้เทศน์ เกี่ยวกับ นโยบายสุขภาพ ซึ่ง อาตมาก็มีหลักเดิม คือ ๘ อ. อาตมาเอามาจาก หลักของเขา ของเขามีอาหาร อากาศ ออกกำลังกาย เอนกาย ที่เขามีก่อน อาตมาก็ว่า ไม่สมบูรณ์ ก็เลยมาขยาย จนเป็น ๗ อ. แล้วมาเก็บตกอาชีพ เป็น ๘ อ. ก็คิดว่า ครบแล้วจริง
อาตมาจะยกไว้ ๒ อ.แรก อิทธิบาท กับ อารมณ์ ขอยกไว้ก่อน เพราะลึกซึ้งมาก
อารมณ์คือจิตใจ เมื่อจิตใจ สมบูรณ์แบบแล้ว อารมณ์จะสมบูรณ์ อารมณ์สมบูรณ์ คือปราศจากกิเลส สิ้นเกลี้ยง จากกิเลสแล้ว จึงเป็นอารมณ์สมบูรณ์ เป็นอุเบกขา ซึ่งอุเบกขาพระพุทธเจ้า ไม่ใช่อยู่เฉยๆ ไม่รู้เรื่อง แต่ฉลาด ประกอบด้วยปัญญา สมบูรณ์แบบ และ ประกอบด้วยการงาน เป็นอัญญา (ปัญญาสุดยอด) เป็นปัญญาโลกุตระ อย่างโกณทัญญะ เริ่มมีปัญญา ก็คืออัญญา สิ เป็นสาวกคนแรก ที่เกิดญาณปัญญาโลกุตระ เช่นนี้เป็นต้น ใครทำการงาน ด้วยอัญญา (กัมมัญญา) เป็นตัวขับเคลื่อน นั่นแหละคือ ผู้มีอารมณ์สุดยอด ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ประภัสสรา นี่คือ อารมณ์ของ พระอรหันต์
หลัก ๘ อ. เพื่อสุขภาพดีอายุยืนยาว
๑.อิทธิบาท
๒.อารมณ์
๓.อาหาร
๔.อากาศ
๕.ออกกำลังกาย
๖.เอนกาย
๗.เอาพิษออก
๘.อาชีพ
ในเรื่องอิทธิบาท กับอารมณ์ จะไม่สาธยายมากวันนี้
๓. อาหาร คือเครื่องอาศัย ในชีวิตเรา มีเครื่องอาศัยที่ดี สุขภาพก็จะดี อันแรกที่สำคัญคือ อาหารที่กิน เข้าไปเลี้ยงขันธ์ เป็นคำข้าว คือ กวฬิงการาหาร ที่จะอาศัย ขอไม่พูดขยาย เรื่องนี้มาก ทางพุทธไม่ได้สอน เรื่องธาตุอาหาร ที่เป็นคำข้าว แต่สอนสิ่งที่ แฝงในคำข้าว ผสมในอารมณ์ ในรส ของอาหาร ว่าอะไร เป็นพิษเป็นภัย เป็นผัสสะ ท่านให้ศึกษา จิต มโน วิญญาณ ให้ตีแตก อาการนามธรรมของคน ศึกษาตัวนี้ แล้วแยกสภาพจริง ของธรรมชาติ ส้มมันก็เปรี้ยว สะเอามันก็ขม ไอ้นี่กลิ่นนี้ รสฝาด ขม กลิ่นอย่างนี้ ก็เป็นธรรมชาติ รูปเช่นนี้ ก็เป็นธรรมชาติ สีมันเหลืองๆ เขียวๆ รู้เท่ากันหมดทุกคน ไม่เพี้ยน แต่ผิดเพี้ยนกันที่ อารมณ์ชอบ หรือไม่ชอบ แต่ละคนไม่เหมือนกัน อาจคล้ายกันมากได้ แต่ไม่เหมือนกัน เพราะจิตวิญญาณ เป็นธาตุเล็กละเอียด ยิ่งกว่าธาตุใดๆ ที่เขาได้ศึกษากันมา ไม่ใช่จะเดาได้ง่ายๆ อาการอารมณ์ ที่จะอ่านได้
อาการอารมณ์ มันผลักหรือดูด มันชอบหรือชัง นี่คือ ภาวะไม่เป็นกลาง ไม่ใช่มัชฌิมา คำว่ามัชฌิมา ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ว่า จิตไม่ไหวติง ไม่เคลื่อนเลย แต่จิตมีสภาพ สองอย่าง สภาพนิ่ง และ สภาพเคลื่อน บวกกับลบ จิตมี
เจโต คือ static
ปัญญา คือ dynamic
ทุกอย่างที่มีนั้น มีการเคลื่อนไหวหมด แม้จะหยุดนิ่ง เป็นพลังงานศักย์ แต่ก็เคลื่อน มีสภาพ potential มันนิ่ง static แต่มันก็มีนัยสภาพจริง ที่มันเคลื่อน มันแตกตัวอยู่ สิ่งที่มีอยู่ ไม่สลายออกจากกัน มีภาวะสอง ทั้งนั้น
ผัสสะ และเจตนา ... ผัสสาหาร กับ เจตนาหาร ก็อยู่กับกวฬิงการาหาร วิญญาณาหาร นั่นแหละ
ในจิตวิญญาณ คือธาตุพลังงานพิเศษ ที่เรียกว่า จิตนิยาม ตั้งแต่สัตว์เซลล์เดียวมา จนพัฒนาเป็นมนุษย์ มีจิตนิยาม แล้วจิต มันมีสภาพ หยุดกับการเคลื่อน เป็น static และ dynamic ในภาษาพระพุทธเจ้าเรียกว่า มีสิ่งที่มี กับ ไม่มี หรือมีสิ่งที่ว่าง กับ เคลื่อน
ถ้าสิ่งที่มีจริงๆ จะมีสองอย่าง แม้วิทยาศาสตร์ ก็บอกว่าทุกอย่าง มีสองอย่าง คือ สสารกับพลังงาน แล้วพอ มีการสัมผัส ผัสสะ ก็มีสามแล้ว
สองลักษณะ คือ ๑.นิ่ง กับ ๒.เคลื่อน
หรือ จัดแบ่งเป็น ๑.ปสาทรูป กับ ๒.โคจรรูป
มาผัสสะกัน ก็เกิดภาวะใหม่ เป็นวิญญาณ เป็นธาตุรู้ที่เกิดจาก ปฏิกิริยาสองสิ่ง สัมผัสกัน แล้วธาตุรู้นี่แหละ ไปเรียกในภาษา รูป ๒๘ ท่านเรียกว่า ภาวรูป
อันที่ ๓ นี่แหละ เป็นตัวการ ที่จะต้องศึกษา พอเกิดผัสสะ แล้วเกิดอาการที่ ๓ เป็นวิญญาณ เป็นนามธรรม แตกตัวออก พระพุทธเจ้า แยกเป็น ๕ อย่าง เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
การศึกษา ทั้งเรียนรู้ปฏิบัติ เรียกว่า มนสิการ จึงเกิดผล ใครมนสิการไม่เป็นไม่มีปริยัติ ที่สัมมาทิฏฐิ แล้วปฏิบัติ ไม่ถูกต้อง ก็ไม่เกิดผล ต้องมนสิการ เมื่อมีผัสสะ แล้ว สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
สัญญาคือตัวหลัก ของอัตภาพ ที่จะทำงาน ตั้งแต่เกิดจนตาย ตั้งแต่ปุถุชน จนถึง พระพุทธเจ้า แม้พระพุทธเจ้า ก็ใช้สัญญา ทำงานในปัจจุบัน ที่เป็นธาตุรู้ ที่สอดรู้สอดเห็น แม้เบื้องต้น การศึกษาก็ต้องใช้ (พ่อครูไอ)
ส.เดินดินว่า... ในศาสนาพุทธไม่เน้นธาตุอาหาร แต่จะเน้น ตัวชอบไม่ชอบ ที่มากับธาตุอาหาร ที่เป็นตัวลากเราไปสู่ การมีสุขภาพ ดีหรือไม่ แม้เราจะเข้าคอร์ส สุขภาพมา แต่ไม่ได้ศึกษา ตัวชอบหรือไม่ชอบ ออกจากคอร์ส ตัวชอบหรือไม่ชอบ ก็จะลากเราไปสุขภาพเสีย
พ่อครูว่า.. ตัวเวทนา ชอบหรือไม่ชอบ นี่แหละ มันเกิดเพราะได้สมกับ เจตนาหรือไม่ ต้องสัญญากำหนดเลยว่า เกิดอารมณ์ชอบหรือชัง เกิดจากอะไร เกิดจากเจตนา คือตัณหา (กาม – ภว - วิภวตัณหา) เราต้องใช้ วิภวตัณหา เรียนรู้กามตัณหา ภวตัณหา
เรียนรู้กามตัณหา ที่มันใคร่อยากได้ หรืออยากทำลายทำร้าย มันมีสองนัย เท่านั้นแหละ ถ้ามันแรง จนว่า มีข้าต้องไม่มีเอ็ง บางทีมันร้ายแรง ขนาดนั้น มีแค่ดูดกับผลัก แต่ลึกซึ้งซับซ้อน ก็มีสองจุด ชอบกับชัง เมื่อใช้สัญญา กำหนดหมาย ว่าเป็นตัณหา ใครทำร้ายนี่คือชัง ใครมาเป็นตน หรือเสพกับตน นี่คือชอบ
คนเรา แม้ไม่ศึกษาธรรม ก็เป็นกลางได้ มันพักยกเฉยๆ เป็นธรรมชาติ แต่ของพระพุทธเจ้า ต้องล้างธรรมชาติ มีแต่ธรรมะล้วนๆ อย่าไปบอกว่า ธรรมะคือธรรมชาติ แต่ธรรมะของพระพุทธเจ้า ไม่มีชาตินะ
สัญญาต้องกำหนดรู้เหตุ จับได้ว่า ชอบหรือชัง นี่เป็นตัวสำคัญ ต้องล้างทั้งอาการ ชอบหรือชัง ให้สิ้นเกลี้ยง ให้เป็นไม่ชอบไม่ชัง เป็นอุเบกขา ที่คุณต้องไปเรียนรู้ ให้เกิดสภาวะนี้ในตน ไม่ผลักไม่ดูด ไม่เอนไปทางกาม ไม่เอนไปทางอัตตา เป็นกลางๆสูญ พูดได้เป็นภาษา แต่คุณต้องไปรู้ได้ ด้วยปัญญาญาณ ของตนเอง ถ้าได้จุดนี้ นี่แหละ คือตัวสัปปายะ
คุณมีผัสสะ มีเจตนา ก็ต้องทำให้เกิด จุดนี้ให้ได้ นี่คือเครื่องอาศัย คืออาหาร ๔ ที่กินใช้ เป็นองค์ประกอบหยาบ มาเป็นวัตถุรูป แล้วเกิดเจตนา ต้องทำให้ ไม่ชอบไม่ชัง เป็นวิญญาณสะอาด นามรูปก็สะอาด ผู้ที่อ่าน นามรูปออก จบ ชัดเจน ก็มีเท่านี้ เจตนาก็มี กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เวทนาก็มี ๓
นี่คืออาหาร ๔ ที่ต้องเรียนรู้ หากคุณมีอาการ ไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นเครื่องอาศัย อาหารคุณดี สุขภาพคุณดีแน่
ส.เดินดินว่า... พวกที่ไม่มีความรู้ เรื่องสารอาหาร แต่กินข้าว กับผักน้ำพริกนี่ อายุยืนยาว
พ่อครูว่า... พวกรู้สารอาหารมากนี่ ตายไว
ส.เดินดินว่า...ตอนไปฉลองหนาว พวกชาวเขา กินขนม ที่เป็นข้าวเหนียว ตำกับงากับเกลือ คนถามเขาว่า กินแล้วได้อะไร เขาก็ว่ากินแล้วอิ่ม เขาไม่มีอุปาทาน ไปกินเพื่ออร่อยนัก เหมือนชาวเมือง เลยสุขภาพดี
๔.อากาศ แปลว่าช่องว่าง เราหายใจนี่ เราก็อนุมานว่า เราหายใจเอาธาตุลม ไปสังเคราะห์ร่างกาย แต่ถ้าลมนี้ มีแก๊สอะไร มากมายหลายอย่าง ผสมอยู่ คุณก็สูดเข้าไปสิ มีทั้งเป็นชิ้นเล็ก มีทั้งอากาศ ที่เป็นความว่าง (ทางวิทยาศาสตร์ ก็แยกแยะ เป็นธาตุได้อีก) ลมคือมหาภูตรูป แต่อากาศนี่ ละเอียดกว่าลม แปลว่า ว่าง ธาตุอากาศเรียกมันว่า ว่าง
ทีนี้อาการทางจิตมันว่าง นี่คืออย่างไร อาการทางจิตมันว่าง คือมีสองนัย ว่างอย่างโลกียะ กับว่างอย่างโลกุตระ
ว่างอย่างโลกียะ คือว่างโล่งเฉยๆ เหมือนกับไม่มีอะไร แล้วไม่มีปฏิกิริยาอะไร ยิ่งว่างก็ยิ่งนิ่ง ยิ่งสงบ นี่คือ นัยที่สัมผัสได้ ยิ่งว่าง ยิ่งไม่มีอะไร? ทีนี้ทางปรมัตถธรรม ความว่าง คือว่างจากกิเลส นะจ๊ะ
ว่างจากกิเลสหยาบ กลาง ละเอียด จนไม่เหลือ แม้นิดนึงน้อยหนึ่ง ก็ไม่มี ในสิ่งที่จะให้ไม่มี อากิญจัญฯ นั่นคือว่าง ต้องการให้กิเลสออกไป คุณต้องจับกิเลส แล้วทำให้มัน เล็กๆๆๆลง ยิ่งกว่าธุลีละออง จนไม่มีเลย อากิญจัญฯ คือนิดนึงน้อยหนึ่งก็ไม่มี เนวสัญญาฯ คือมันยังข้องอยู่ จะว่ารู้ก็ไม่ใช่ ยังเหลือเศษนิดๆๆ จะต้องรู้ให้ครบถ้วน เมื่อรู้หมดครบ ก็จะเรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธัง คือสัญญาเคล้าเคลียอารมณ์ ตรวจสอบแล้ว ตรวจสอบอีก ในเวทนา ๑๐๘ ทุกปัจจุบัน ๓๖ ก็กิเลสสูญ ตลอดๆ จนอดีตสูญ อนาคตก็สูญ อาการว่างสูงสุด นี่คือ สภาวะทางธรรม ของพระพุทธเจ้า ถ้าได้ตัวนี้แก่จิตแล้ว จะเป็นผู้อมตะ จะสั่งให้ตัวเอง เกิดหรือตายได้ พระอรหันต์บางองค์ บอกเลยว่า เราจะตายในก้าวที่ ๓ เดินไปสามก้าว ก็ตายได้เลย สั่งตายสั่งเกิดได้ ทั้งร่างกายชีวิต มาจากจิตเป็นเหตุ จะทำให้ทุกอย่าง สำเร็จได้สูงสุดได้ สั่งตายหรือเกิด ให้แก่อัตภาพได้
อากาศธาตุ คือผู้ทำจิตว่างได้แล้ว อารมณ์ที่คุณเกิดอาการ สมบูรณ์แบบได้ เป็นอารมณ์สัปปายะ แล้วทำอากาศ ให้เป็นความว่างได้ อารมณ์ จะเป็นสิ่งประเสริฐ ให้สุขภาพดี ทำให้เกิด มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหารที่ดีได้ แม้พระพุทธเจ้า ท่านก็ไม่กำหนดว่า จะตายในก่อนสร้างศาสนา มารมาอาราธนาท่านก็ไม่ยอมตาย แต่ว่าพอสร้าง ศาสนาเสร็จ ท่านก็กำหนดว่าอีก ๓ เดือนจะตาย
อากาสธาตุ คือตัวว่าง ต้องรู้อาการว่างของจิต แล้วโลกียะก็ว่างได้ ว่างพักยก จิตว่างไม่ดูดไม่ผลัก ไม่ทุกข์ไม่สุข แต่มันไม่รู้ กำหนดมันไม่ได้ เพราะไม่มีความรู้ ไปกำหนดมันได้ แต่ผู้สามารถกำหนด ให้จิตว่างจากกิเลสได้ ทำจนเป็นอัตโนมัติ ก็มีสุขภาพดีแน่
๕. ออกกำลังกาย ก็คือให้เคลื่อนไหว ให้เคลื่อนไหวสรีระ ได้สมดุล เพียงพอ น้อยไปหรือมากไป ก็ไม่ดี แต่จะไปกำหนดความพอดีเป๊ะ นั้นยาก ก็ต้องเผื่อพอไว้ เด็กตามสัญชาตญาณ ก็ดิ้นมากกว่าเฉย แต่ผู้ใหญ่หนุ่มสาว ก็ดิ้น ไปบำเรอ แสวงหาโลกีย์ พอชักชินชา เบื่อบ้าง กำลังวังชาไม่ดี ก็จะหยุดเคลื่อน ต้องออกกำลังกาย เสริมให้มัน ไม่อย่างนั้น ไม่สมดุล
ตอนนี้ อาตมาต้องขยายหน่อย คือตอนนี้ มีธุดงค์ธรรมชัย ก็สังเวชใจ สถาบันหลักเป็นผู้ใหญ่ ในศาสนาพุทธ ออกมาเถียงข้างๆคูๆ ว่าการทำ ธุดงค์ธรรมชัย เป็นศาสนาพุทธ อย่ามาพูดเลย มันไม่ใช่เลย เริ่มต้น เอากันที่ ธุดงค์ก่อน ๑.ธุดงค์ไม่ได้แปลว่าเดิน ถ้าเข้าใจธุดงค์ ว่าคือเดิน นี่ผิดตั้งแต่ ต้นทางเลย ในยุคพระพุทธเจ้า เป็นยุค การคมนาคมสัญจร ไม่ได้สะดวกอย่างนี้ เอาแต่เดิน คำว่าเดิน ไม่ได้มีความหมายกับคำว่า ธุดงค์เลย แต่ท่านต้อง เดินกัน ๒.บริบทของ นักปฏิบัติธรรมยุคนั้น เข้าใจว่า ปฏิบัติธรรมคือเดินออกป่าหรือดง แต่คำว่าดงในธุดงค์ คือภาษา เพี้ยนมาจาก คำว่า ธุตังคะ
ธุตังคะ หรือ ธูตะ+ อง คำว่า อง แปลว่าหน่วยหนึ่ง แล้วองค์หนึ่งของธุดงค์ คือองค์หนึ่งของ ธูตะ
ธูตะ คือผู้ทำศีลเคร่งได้แล้ว เมื่อผู้ปฏิบัติศีลข้อนี้ แล้วไม่ใช่ศีลพื้นๆ เช่นศีล ๕ ศีล ๘ นั้นศีล ๘ ก็ถือว่าเคร่งกว่าศีล ๕ ผู้ปฏิบัติศีล ๘ได้แล้ว ก็ถือว่าเคร่งกว่าศีล ๕ คุณทำธูตะเรื่องใดได้ ก็ได้องค์หนึ่งของธูตะแล้ว เช่น พระมหากัสสปะ มีธุดงควัตร ๑๓ ข้อ เช่น อยู่ป่าตลอดชีวิต ซึ่งไม่ง่ายเลย
ธุดงค์ ไม่ได้แปลว่าเดิน ใครไปแปลว่าเดิน ก็ผิด เขาบอกว่า การเดินธุดงค์ในเมืองนี่ผิด แต่ก็อีกนัย แม้ผู้ที่เป็น อรหันต์แล้ว พระพุทธเจ้า ก็ส่งไปในเมือง ไปเดินในเมือง ท่านบอกเลยว่า อย่าไปรวมกันเป็นหมู่ จงแยกกันไป ทีละรูป แต่นี่เขามาเดิน รวมกันเป็นพันๆ นี่ผิดแล้ว ดราม่าบทนี้ ถ้าอาตมาวิจารณ์แล้ว จะแหลกเลย คือน่าเกลียดทุเรศ เป็นมัณฑนวิภูสนัฏฐานา ที่น่าเกลียดมาก ขนวัตถุสมบัติ มาตกแต่งประดับประดา วิลิสมาหรา เป็นเรื่องมนุษย์หลง ความสวยงามโลกีย์ แต่ไม่รู้ตัว ว่าตนเอง เอาสิ่งนี้มาหลอก มนุษยชาติ เขาก็หลงไปตาม คนตกแต่ง เพราะกิเลส เป็นเจ้าเรือนใจอยู่ ตกแต่ง ประดับประดาจัดสรรให้คนโง่ที่สุด ก็รู้ว่านี่คือ ตกแต่งสร้างภาพ แล้วนี่หรือคือ การเผยแพร่ธรรมะ มีสาเฐยยะ เช่นนี้ โง่ยกกำลังร้อย สุดง่านนะ อาตมาว่า ไม่ใช่เขาไม่รู้ แต่เขาหน้าด้านหน้าทน กูจะทำ จะทำไม อย่างนี้ เป็นทั้งภาวะ มานะอัตตา อาตมาถล่มหนัก ก็คือให้หยุดเถอะ คุณทำกรรมใด กรรมนั้นเป็นของคุณ ถ้าไม่หยุด ก็ได้กรรมบาป ที่พูดนี่ เบรกให้หยุดทำชั่ว ด้วยเจตนาจริงใจ ขอทำตัวเป็นผู้พิพากษา โดยเขาไม่ได้แต่งตั้ง มันทำลายศาสนานะ คุณไปหลงผิดว่า เป็นการเผยแพร่ศาสนา ไปอีกนะ
ในการเดินออกกำลังกาย ในศาสนาพุทธ จึงไม่ต้องออกกำลังกาย เดินก็ได้แล้ว สมัยพระพุทธเจ้า ก็มียาน มีรถ แต่ท่านไม่ใช้ ตลอดพระชนชีพ ท่านไม่ใช้ แต่ในยุคนี้ ไม่ใช่ยุคพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะมาปฏิบัติ มรรคองค์ ๘
ในมรรคองค์ ๘ มีหลัก ทำการงานอาชีพ กัมมันตะ การพูด ความนึกคิด นี่คือหลัก ๔ องค์ ของมรรคมีองค์ ๘ ปฏิบัติ ๔ อย่างนี้ ให้สัมมา ตามประธาน คือทิฏฐิ แล้วมีสติ กับความเพียรช่วย ให้มีสติมันโต รู้ควบคุม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้แข็งแรง แล้วทำให้เกิด อาชีพที่สัมมา มีสัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาสังกัปปะ ทำให้ตกผลึก ตกในจิต ให้ตั้งมั่นแข็งแรง แน่นเหนียวมั่นคงยั่งยืน โดยปฏิบัติ มรรค ๗ องค์ ตาม มหาจัตตารีสกสูตร
เดินธุดงค์นี่คือนอกรีต ธุดงค์เรียกร้องหาบริหาร ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข เป็นธุดงค์ ที่มีเจตนาเลวร้าย เป็นอกุศล เป็นความทุจริต นี่อาตมากำลังว่า อย่างจังๆ คัดค้านตำหนิจังๆ ในฐานะนานาสังวาส ทำปฏิโกสนา(คัดค้านตำหนิแรงๆก็ได้) แต่ไม่ทำถึงอุโกสนา (คือฟ้องร้องกัน เอาเรื่องกัน)
อาตมากับธรรมกายนี่ ไม่ใช่นานาสังวาสอีก แต่ยิ่งกว่า อสังวาส กันอีก แต่ดันทุรังว่า เป็นพุทธอีก ก็เลยต้องพูด เพราะคุณออกนอกพุทธ ไปไหนต่อไหนแล้ว ไม่ใช่แค่นิกายด้วย อสังวาสเลย แต่จะมาตั้งข้อ ฟ้องร้องอาตมา ตามทางการไม่ได้ พระพุทธเจ้าห้าม แต่การวิจัยวิจารณ์กัน ก็ต้องทำเต็มที่
การออกกำลังกาย ในยุคพระพุทธเจ้า ท่านเดินเอาก็พอแล้ว แต่อย่างอาตมานี่ อยู่กับที่มาก ก็ต้องเดิน แต่อย่ามาตีกิน ว่าการเดินนี่คือ การแสดงธรรม อย่ามาหลอกกันเลย หลงตั้งแต่คำว่า ธุดงค์นี่คือเดิน นี่ก็ผิดแล้ว สมัยพระพุทธเจ้า เขาเดินกันเป็นปกติ
ส.เดินดินว่า... ดูเหมือนทุกวันนี้ เราต้องตั้งหลัก ยามอ่านพยัญชนะ แม้คำว่าธุดงค์ ก็ต้องเอามาอธิบาย
พ่อครูว่า... พูดจนต้องเสียเสลด เสลดต้องออกเลย เริ่มต้นแต่คำว่าดง นี่ก็ไม่ใช่ดงใช่ป่าแล้ว สมัยพระพุทธเจ้า หลงผิดว่า การปฏิบัติธรรม ต้องเข้าป่า พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า บรรลุธรรมแล้ว ต้องเข้าเมือง แม้แต่ใน อัมพัฏฐสูตร ท่านก็ว่า สมัยต่อไป คนจะไป แสวงหาอาจารย์ในป่า นี่คือ ความหลงผิด พระพุทธเจ้า พยากรณ์ไว้ก่อนเลย ว่าอนาคต จะหลงผิดออกป่ากัน ในความเสื่อมของ ผู้แสวงหาอันผิดๆ
๑. ผู้ยังไม่มีวิชชาและจรณะ แต่ไปแสวงหาอาจารย์ในป่า โดยเก็บผลไม้หล่นกิน บำรุงชีพ อย่างมักน้อยมากๆ
๒. ไม่เก็บผลไม้กิน แต่ถือเสียม ตะกร้า หาขุดเหง้าไม้ หาผลไม้กิน ระหว่างออกแสวงหา อาจารย์ในป่า
๓. สร้างเรือนไฟไว้ใกล้หมู่บ้าน แล้วบำเรอไฟ รออาจารย์
๔. สร้างเรือนมีประตูสี่ด้าน ไว้ที่หนทางใหญ่ สี่แพร่ง แล้ว สำนักรอท่านผู้อยู่ มีวิชชาและจรณะอยู่
(อัมพัฏฐสูตร เล่ม ๙ ข้อ ๑๖๓)
ที่เขาทำนี่ จัดจ้านมากเลย ธรรมโกย อาตมาก็ขอสรุปดีกว่า ว่าธุดงค์ ไม่ใช่การเดิน ธุดงค์คือ หน่วยแห่งศีลเคร่ง ที่คุณปฏิบัติได้ ธุดงค์คือ องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส หรือชื่อข้อวัตรปฏิบัติ ท่านก็ขยายว่า ธุดงค์คือ ข้อปฏิบัติ ที่ผู้สมาทาน จะเต็มใจ กำหนดประพฤติ เพื่อเป็นอุบาย ขัดเกลากิเลส เขารวบรวมมา มี ๑๓ ข้อ
พระพุทธเจ้า ทรงสอน เกี่ยวกับ ธุดงควัตร 13 ประการคือ
1. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
2. ถือการนุ่งห่ม ผ้าสามผืนเป็นวัตร
3. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
4. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถว เป็นวัตร
5. ถือการฉันจังหันมื้อเดียว เป็นวัตร
6. ถือการฉันในภาชนะเดียว คือฉันในบาตรเป็นวัตร
7. ถือการห้ามภัตตาหาร ที่เขานำมาถวายภายหลัง เป็นวัตร
8. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
9. ถือการอยู่โคนต้นไม้ เป็นวัตร
10. ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้ง เป็นวัตร
11. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
12. ถือการอยู่ในเสนาสนะ ตามมีตามได้เป็นวัตร
13. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร
คือเป็นข้อปฏิบัติ ที่พระมหากัสสปะ จนชินแล้ว ท่านทำมา ไม่รู้กี่ร้อย กี่พันชาติ สั่งสมสัญชาตญาณนี้ให้ตนเอง พระพุทธเจ้า ก็ต้องยกให้ท่าน ท่านก็ตัดกิเลสท่านได้แล้ว อันนี้เป็น วาสนาบารมีของท่าน ติดมา มันก็ไม่ได้ ล้างง่ายๆ ต้องยกให้ท่าน ว่าท่านไม่มีเวลาแล้ว
ยุคนี้ บริบทต่างกัน เราไปเดินมากไม่ได้ มียานพาหนะแล้ว แต่นี่เขาก็ทำ มาสร้างภาพ เดินบนถนน ที่เป็นที่ ให้รถยนต์วิ่งนะ สร้างภาพมาก เป็นการจูงนำ สร้างอุปาทานใส่จิตคน ไม่ใช่ได้บุญเลย ที่จริงบุญคือ อาวุธ หรืออุปกรณ์ ที่ใช้กำจัดกิเลส บุญ คือ เครื่องชำระกิเลส จากสันดาน ให้หมดจด แปลนิยามคำว่า บุญเช่นนี้ แต่เดี๋ยวนี้ เพี้ยนไปหมดแล้ว กลายไปเป็นว่า การได้บุญ คือการได้มีอะไร เป็นเครื่องมือใช้เพื่อความดี แต่ที่จริงบุญคือ เครื่องมือที่จะไปสู่ ความไม่มี จนหมดบาป หมดบุญ แล้ว ผู้สิ้นบุญสิ้นบาปคือพระอรหันต์ ที่พูดไป ให้เขาหยุด ทำบาปนี่ พูดเพราะ รักศาสนาพุทธ แม้จะเหลือ ความหวังอีกนิด ก็พูด เพื่อศาสนาพุทธ ไม่เชื่อว่าจะได้นะ คนโง่ ย่อมมีมากกว่า เขาจึงได้มีคน ไปกับเขามากมาย ก็ขออภัย ที่พูดเหมือนย่ำยี แต่ก็ต้องคัดค้าน อย่างจังนี่แหละ ปฏิโกสนา
ออกกำลังกาย นี่ต้องทำให้พอดี อาตมาเดินออกกำลังกาย ไม่วิ่ง เดินหลายแบบด้วย ต้องให้พอดี
๖. เอนกาย คือการพัก พระพุทธเจ้าตรัสว่า ให้รู้จักพัก รู้จักเพียร ผู้ใดจัดสัดส่วน พักและเพียรได้ พระพุทธเจ้าว่า เราไม่พักเราไม่เพียร เราข้ามโอฆสงสารได้ ธรรมชาติของชีวิต ต้องมีเพียร เพียรจนไม่ต้องเพียรแล้ว เป็นอัตโนมัติ แต่ถ้าถึงเวลาควรพัก ก็ต้องพัก หรือป่วยก็ต้องพัก ผู้ใดจัดสัดส่วนได้ ก็จะสุขภาพดี หากไม่พอ ก็ต้องออกกำลังกาย คนใด ที่ออกกำลังกายเกินแล้ว ก็ไม่ต้องเพิ่ม ส่วนอาตมา รู้ตัวว่า ไม่ได้ไปออกกำลัง สรีระมาก ออกกำลัง ทางสมองเยอะ ก็ต้องไปพัก ให้สมองได้พักบ้าง
๗. เอาพิษออก อาตมาไม่เอามะพร้าวห้าว มาขายสวน พวกคุณเรียนรู้ มากกว่าอาตมาเยอะ อาตมาก็ทำ พอสมควร อาตมาเข้าใจเอาเองว่า อาตมาไม่ได้เป็นคน ไปแสวงหา สิ่งเป็นพิษใส่ตน แม้คนเขาทำอาหาร ก็เอาสิ่งไม่เป็นพิษ มาให้อาตมาฉัน
ในพระไตรปิฎก
๕. อนายุสสสูตรที่ ๑
[๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้
เป็นเหตุให้อายุสั้น ๕ ประการ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ
บุคคลไม่เป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง ๑
ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑
บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก ๑
เป็นผู้เที่ยวในกาลไม่สมควร ๑
ไม่ประพฤติเพียงดังพรหม ๑
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุสั้น ฯ
๑. บุคคลไม่เป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง อันนี้อาตมา ก็พยายามทำอยู่
๒. ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย.... อาตมาแปล ความสบายว่า ไม่ได้บำเรอกิเลสนะ สบายคือสิ่งเจริญ ตรงข้ามกับอบาย สิ่งเจริญ ถ้าไม่รู้จักประมาณ ก็เสียประโยชน์ อย่างอาตมา ถ้าตั้งหน้าตั้งตา จะยำคนอื่นไปหมด อาตมาก็คือ คนไม่รู้จัก ประมาณการสบาย เพราะว่ายำเขานี่ มันร้อน เพราะต้องตั้งใจนะ เพราะจิตใจอาตมา ไม่ได้อยากทำนะ ต้องฝืนนะ ต้องเป็นเลือดศิลปินนะ
๓. บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก อาตมาก็ไม่ค่อยรู้สึกว่า จะย่อยยากนะ สิ่งที่เขาทำมาให้ เขาก็เลือกเฟ้นแล้วอาตมาก็ถือว่า มีบารมี หรือกุศลเก่า ที่ได้สั่งสมมาแล้ว
๔. เป็นผู้เที่ยวในกาละไม่สมควร ไม่รู้จักที่ที่ควรไป แล้วไปเที่ยว ในที่ไม่สมควรด้วย
๕.ไม่ประพฤติพรหมจรรย์
ในพระไตรฯ ล.๒๒ ข.๑๒๕ ชัดเจนมากเลย
เอาพิษออก ก็พวกคุณรู้ดีกว่าอาตมา แต่เอาพิษออกแล้วก็ อย่าเอาพิษเข้าล่ะ
๘. อาชีพ อย่างนักบวชนี่ มีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น (ปรปฏิพัทธา เม ชีวิกา) ศาสนาพุทธ ไม่ได้ให้ไปพึ่งป่าพึ่งสัตว์ ไปอาศัย ผลหมากรากไม้ แต่เราจะพึ่งคน เราจะเป็นประโยชน์ แก่กันและกัน อย่าเป็นโทษแก่กันและกัน ผู้ที่มา ช่วยเหลืออาตมา ก็คือคนที่เข้าใจศรัทธา ต้องการให้อาตมา มีชีวิตยืนยาว ทั้งอุปโภค บริโภค อาตมาไม่อยาก เอ่ยปากเท่าไหร่ เดี๋ยวมาเยอะเลย บางทียังไม่พูด ก็มาเป็นถุงๆเลยนะ
อย่างอาตมา มีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น อาตมาก็พึ่งญาติโยม อาตมาก็เอาตัวเอง มาเป็นธรรมะ อย่างไปชุมนุมนี่ ก็เอาตัวไปเลย ทำตามเหตุปัจจัย ไม่ได้เพื่ออวดอ้าง ทำเต็มที่เลย ในอาชีพที่เราจะทำ อย่างพวกคุณ ไม่มีหน้าที่รับ โดยตรง ว่าจะมาเผยแพร่ธรรม นั้น ผู้จะเผยแพร่ธรรมะ จะเป็นธรรมทูต ต้องเป็นธัมกถึก ต้องมีศีล มีศรัทธา
คำว่าศรัทธา มาจาก สัททะ คือสิ่งดี ถ้าคุณไม่มีสิ่งทรงไว้ ที่เป็นธรรมะ อย่างน้อยโสดาบัน ที่เป็นโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล คุณก็ไปอธิบายมรรค ให้เขาปฏิบัติได้ผล เลิกอบายมุข เลิกโกงกิน (กุหนา) ผู้จะแสดงธรรม เป็นธัมกถึก ต้องเป็น ผู้บรรลุธรรมก่อน ต้องมีคุณอันสมควรก่อน สอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง
ถ้าตนเองไม่มีธรรมะ ก็ไม่ควรเผยแพร่ แล้วเมื่อตนไม่มี ก็ต้องค้นหา ผู้ที่มีธรรมะ ผู้เป็น สยังอภิญญา เพื่อเอาธรรมะ มาให้แก่ตน ให้ได้ก่อน ผู้จะมีอาชีพแสดงธรรม มั่นใจว่า เราจะทำสิ่งดี เป็นอาชีพ ก็มั่นใจเลยว่า เขาจะเลี้ยงคุณไว้ ขอให้คุณเป็นคน มีวรรณะ ๙ หากไม่มีวรรณะ เขาก็ไม่เลี้ยงคุณไว้หรอก
ธัมกถึก ผู้จะเป็นธรรมทูต ต้องมี …
๑. ศรัทธา (เชื่อถือเลื่อมใสในอริยสัจ เป็นต้น)
๒. ศีล (ในบริบทที่สูงไปสู่ สีลสัมปทา แห่ง จรณะ๑๕)
๓. พหูสูต / พาหุสัจจะ (รู้สัจจะบรรลุจริง จนรู้มากขึ้น) .
๔. เป็นพระธรรมกถึก (อธิบายสัจธรรม สอนความจริง)
๕. เข้าสู่บริษัท (สู่หมู่กลุ่มอื่น)
๖. แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท
๗. ทรงวินัย
๘. อยู่ป่าเป็นวัตร ยินดีในเสนาสนะอันสงัด (คืออุเบกขา)
๙. ได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔
๑๐. ได้ทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ-ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ก่อให้ เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ และ เป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวง
(สัทธา ๑๐ จาก สัทธาสูตร พตปฎ. เล่ม ๒๔ ข้อ ๘)
อาชีพ พระพุทธเจ้าว่า ให้เลิกมิจฉาอาชีวะ ๕ ไปตามลำดับ
กุหนา คือที่ต้องเลิกเลย กุหนา คือการโกงกินทุจิต
๑. การโกง ทุจริต คอร์รัปชั่น (กุหนา) มีในงานการเมือง .
๒. การล่อลวง หลอกลวง (ลปนา) ในนักธุรกิจ-การเมือง .
๓. การตลบตะแลง (เนมิตตกตา) ยังเสี่ยงทายไม่ตรงแท้
๔. การยอมมอบตนในทางผิด อยู่คณะผิด (นิปเปสิกตา)
๕. การเอาลาภแลกลาภ (ลาเภนะ ลาภัง นิชิคิงสนตา)
(พตปฎ. เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๗๕ มหาจัตตารีสกสูตร)
ส.เดินดินว่า... หลายคนใส่เสื้อ หมอที่ดีที่สุด คือตัวเราเอง แล้วปัญหาคือว่า เราจะรู้จักตัวเราเอง แค่ไหน สิ่งที่จะทำให้ เราไม่รู้จักตัวเราเอง ก็คือ ความชอบหรือความชัง อย่างเรื่องธุดงค์นี่ เขาก็ทำมาหลายปี ก็มีคนว่ามา มากมาย แต่พอปีต่อไป เขาก็ทำอีก เป็นต้น เขาว่ากันทั่วบ้านทั่วเมือง นี่เขาไม่รู้เลย เขาชอบ ก็เลยมีแต่เหตุผลที่ว่า ชอบๆๆๆ คืออันตรายแห่ง ความชอบหรือไม่ชอบ อาตมาเวลา เดินบิณฑบาต ปวดปัสสาวะ แต่ว่าพอเดินไปถึงศาลา เจอเรื่องที่ชอบ อาการที่ปวด ก็หายไปเลย เป็นต้น กามตัณหา ภวตัณหา ทำให้เรา ไม่รู้ตัวเองง่ายๆ พ่อครู มีงานมากกว่า อาตมามากมาย แต่ทำไมท่านบริหารตัวเอง ออกกำลังกายได้ มีเวลามาเทศน์ มาพูดคุย กับพวกเราได้อีก ...จบ