580204-พุทธชีวศิลป์(๒๖) บ้านราชฯ
โสดาบันคือคนเช่นไร

พ่อครูว่า... วันนี้วันพุธที่ ๔ ก.พ. ๒๕๕๘ เดือน ๓ ปีมะเมีย วันนี้เราจะสาธยาย เรื่องธรรมะกัน เรามาชอนไช ไล่รายละเอียดเรื่อง อาริยธรรม อาริยภูมิ ที่พวกเรามั่นใจว่า พวกเราสามารถปฏิบัติบรรลุอาริยะ ที่พระพุทธเจ้า เอามาเปิดเผยนี่ คือโลกุตระ ให้ถูกต้อง เที่ยงแท้แน่นอนให้ดี จนสามารถ ตอบโลกตอบสังคมได้ โดยเฉพาะ อาตมามั่นใจว่า พวกเราได้ธรรมะนั้น แต่ปัญญา ญาณทัสนะของตน ธาตุรู้ในจิต ที่จะรู้อาริยะ โลกุตระนี่ ที่เป็น จิต เจตสิก รูป นิพพาน อาตมาพยายามเรียบเรียง แต่ไม่เก่ง

อาริยะของพุทธ คืออย่างไร?

อาริยะคืออะไร? คือ ความดีความเจริญของคน เรียกบุคคลที่มี ความดีความเจริญ ว่า อาริยบุคคล ที่ไม่ใช่คนดีคนเจริญ แบบอารยะบุคคล และก็ไม่ใช่คนดีคนเจริญ แบบอริยบุคคล มีสามแบบ

ที่เขาเข้าใจกันมี แบบที่อารยบุคคล และแบบ อริยบุคคล มีสองแบบนี้ ที่เขาเข้าใจกัน ว่าเป็นคนดีคนเจริญ ที่อารยบุคคล คือคนดีคนเจริญแบบโลกๆ ทางวัตถุ แต่อริยบุคคล ก็เป็นคนเจริญทางจิต เป็นเทวนิยม
แต่อาริยบุคคล คือคนที่เจริญ ทั้งความดีทางโลก และทางธรรม และเป็นแบบ อเทวนิยม เพราะมีความเจริญ ไปแบบลาดลุ่ม เหมือนฝั่งทะเล นอกจากคนมีภูมิอยู่แล้ว ที่จะมาต่อภพภูมิ ส่วนคนไม่มีบารมี ต้องไล่เรียนเริ่มต้น ตั้งแต่ขั้นต่ำ แม้อาริยบคคลแล้ว มีบารมีแล้ว ก็มาเริ่มต้นที่ขั้นต่ำนี่แหละ ถ้ามีบารมีอยู่แล้ว ก็จะพาสชั้นไปได้เลย อาตมาเห็นแต่คนว่า ตนมีบารมี ว่าตนรู้แล้ว สูงแล้ว เป็นอัตตามานะของเขา แต่ถ้าฟังอาตมา ก็ไม่ต้องยึดถือเช่นนั้น แม้ตนจะมีบารมี ก็ทำเริ่มต้น แล้วจะไปเร็วได้เอง

ผู้เป็นอาริยบุคคล ที่เป็นเหตุเป็นผลยืนยัน ลดความเห็นแก่ตัว ไปตามลำดับ จะเป็นผู้มีญาณ รู้จัก รู้แจ้ง รู้จริง ใน จิต เจตสิก รูป และสามารถกำจัดกิเลส ถูกตัวกิเลสแท้ แม้กิเลสอาสวะ สิ้นเกลี้ยง ถึงนิพพาน เป็นคนหมด ความเห็นแก่ตัว อย่างถาวร เสถียรจริง ที่เขาอยากได้กันในโลก  ที่เรียกว่า อรหันต์

อรหันต์เขาเข้าใจกัน แบบอริยบุคคล ก็เป็นเรื่องลึกลับไป แต่อาจเข้าใจแบบ อารยบุคคลก็ไม่ใช่ แต่เราเสนอแบบ อาริยบุคคลเข้าไป เขาก็ไม่ค่อยเห็น เราต้องพากเพียร ทำดีต่อไป จนคนตาบอดเห็นให้ได้ ให้มีคุณวิเศษยิ่งกว่า กัมมันตรังสี จนคนตาบอด เห็นได้เลย

อาริยบุคคล เขาเข้าใจกันก็คือ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ เขาก็รู้กัน แต่เขาอธิบายกันไม่ค่อยได้ ไม่เห็นอธิบายว่า โสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ กันเลย พอปฏิบัติไป ก็พรวดเป็นอรหันต์เลย แล้วกลบเกลื่อนว่า เป็นแล้วเขาไม่ให้บอกหรอก ก็หาทางเลี่ยงไป เพราะว่าตนเองไม่มี แต่พวกเรานี่ อาตมาเอาหลักการ หลักฐาน มายืนยัน ตั้งเท่าไหร่ พวกเราก็น่าจะมี ภูมิธรรม กล้าหาญจะประกาศ แต่ว่าดีตรงที่ เราระมัดระวัง การอวดไป หากรู้ว่าผิดไม่ดี เราก็จะได้รู้ว่า เรารู้เฉพาะตัวเราก็ได้ แต่ถ้าเข้าตาจริง เราก็บอกได้ อธิบายได้ เราก็อธิบายได้เลย อย่างที่เรามั่นใจ ในตัวของเรา เหมือนเรามีเงินไปซื้อพอ แต่คนในร้านจะดูถูก ว่าไม่มีเงินซื้อหรอก เราก็รู้ มั่นใจว่าเรามี เรามีก้อนเท่า โสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ เรามีแค่ไหน ก็บอกว่า มีแค่นั้น

คนเจริญอาริยะ จะมีพฤติกรรมการงาน อยู่ในสังคมนี่แหละ แต่ไปเข้าใจผิดว่า อาริยบุคคล ต้องออกป่าเขาถ้ำ อย่างในอัมพัฏฐสูตร ที่มีความเสื่อม ๔ ประการ ประเด็นที่เชื่อผิดๆคือ ไปหาอาจารย์ในป่า
๑. ผู้ยังไม่มีวิชชา และจรณะ แต่ไปแสวงหาอาจารย์ในป่า โดยเก็บผลไม้หล่น กินบำรุงชีพ อย่างมักน้อย มากๆ
๒. ไม่เก็บผลไม้กิน แต่ถือเสียม ตะกร้า หาขุดเหง้าไม้ หาผลไม้กิน ระหว่างออกแสวงหาอาจารย์ในป่า
๓. สร้างเรือนไฟไว้ใกล้หมู่บ้าน แล้วบำเรอไฟ รออาจารย์
๔. สร้างเรือนมีประตูสี่ด้าน ไว้ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง แล้ว สำนักรอท่านผู้อยู่มีวิชชา และจรณะอยู่ (อัมพัฏฐสูตร เล่ม ๙ ข้อ ๑๖๓) ข้อสุดท้าย คือ สร้างใหญ่โตหรูหรา ไปไว้ตั้งดักประชาชน แต่ก็ยังหลงว่า อาจารย์ออกป่า

พูดไปนี่ มันตรงกับที่ พวกเราทำกัน ก็เลยเหมือน ยกตนข่มท่าน ก็ขออภัย เพราะมันเป็นเช่นนั้นจริงๆ มันเป็นสัจจะ เลี่ยงไม่ได้ อาริยบุคคลพระพุทธเจ้า ไม่ใช่คนออกป่า แต่อยู่กับเมือง ปฏิบัติลาดลุ่มไป เหมือนฝั่งทะเล ปฏิบัติไป ตามฐานานุฐานะ จะออกป่า ไปเช็คผลได้ ก็บางครั้ง ถ้ามีคุณธรรมพอ ในอุบาลีสูตร ว่า
พระอุบาลี ปรารถนาจะไปอยู่ป่า และราวป่าอันสงัด
พระพุทธองค์ตรัสว่า... ป่าและราวป่าอันสงัด อยู่ลำบาก
ทำความวิเวกได้ยาก  ยากที่จะอภิรมย์ ในการอยู่ผู้เดียว.    
ป่าทั้งหลาย เห็นจะนำใจของภิกษุ ผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย
      ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน เปรียบเหมือน กระต่าย หรือเสือปลาลงสู่ห้วงน้ำใหญ่  หวังจะเอาอย่างช้างใหญ่ สูง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกกึ่ง กระต่าย หรือเสือปลานั้น จำต้องหวังข้อนี้  คือ จักจมลง  หรือจักลอยขึ้น !!      (พตปฎ. เล่ม ๒๔ ข้อ ๙๙)
จมก็คือติดป่า ลอยก็คือ ฟุ้งซ่านไป

อาริยบุคคลของพระพุทธเจ้า ไม่ได้อยู่ป่าเป็นหลัก ไม่ต้องออกป่า ก็บรรลุธรรม ในเมืองได้ ศาสนาพุทธ ไม่ใช่ศาสนาป่า เพราะในยุค พระพุทธเจ้า ยังไม่มีศาสนาพุทธ มีแต่ศาสนาฤาษีออกป่า ท่านต้อง ปรองดอง อย่างมาก ยุคนี้ไม่ใช่ยุค พระพุทธเจ้า

อาริยบุคคลในศาสนาพุทธนั้น เป็นคนปกติในสังคม แต่ยิ่งเป็นคน เข้าสนิทกับสังคม โสดาบันก็เริ่ม ไม่เอาเปรียบสังคม ขวนขวายทำงาน ไม่หลบลี้หนีหน้า ไม่ติดหลับติดนอน ติดหลบเลี่ยงอะไร เริ่มรู้แล้วว่า ตนต้องไม่เอาเปรียบสังคม เราต้องกตัญญูสังคม รับใช้สังคม คือจะเริ่มรู้ว่าต้องลด ความเห็นแก่ตัว แต่ก่อนเอาแต่ จะกอบโกยต่อสังคม โสดาบันจะเข้าใจ รู้ว่าโกงไม่ดี เอาเปรียบสังคมไม่ดี เลิกโลกอบาย ที่กินเงินทอง ผลาญพร่า เปล่าดาย ก็จะลดลงมา จะมีเหลือ มันก็ซับซ้อน เป็นสภาพ หมุนรอบเชิงซ้อน เราไม่ต้องสูญเสียเปล่าไป กิเลสเรา ลดได้จริง ไม่ต้องเปลืองผลาญ กับอบาย ก็จะยิ่งเจริญ มีเหลือ แล้วเราได้มาเพิ่ม เราก็เอามาจากสังคม เราลดลงไป มีจิตสันโดษ ใจพอแล้ว เราผ่าน วิตกมกิเลสแล้ว เราจะรู้ฐานต่อมา ปริยุฏฐานกิเลส รู้รอบต่อไป เราจะมอง เหมือนอยู่ที่สูง เราจะรู้ชั้นต่อไป ที่จะสูงขึ้นไปอีก จะมีปฏิภาณ รู้ชั้นแห่งอาริยธรรม เข้าใจทางสูงไปอีก แต่ก่อนตั้งแต่ เป็นปุถุชน ทางสูงมีแต่ จะต้องมีอำนาจ ลาภยศ ต้องเสพกาม มีศักดิ์ศรี มีอำนาจสูง ไปทิศนั้นนะ ปุถุชน พอมาเข้าใจแล้ว ก็เริ่มลดที่จะต้อง ไปมักใหญ่ ไปเสริมกาม อัตตา โสดาบันก็จะพอรู้แล้ว มีญาณรู้ว่า ทวนกระแสโลกีย์ เป็นเช่นนี้ ลดกิเลส ไปตามลำดับ จนหมดเกลี้ยง ไม่คดโค้งนะ ฟังดูเหมือน จะยืดหยุ่น แต่ที่จริงได้แค่นี้ ไม่ใช่ยืดหยุ่นให้โลกนะ แต่ที่จริง ตนเองยังทำไม่ได้ เอาตนไม่รอดนะ คุณลักษณะธรรมะ ไม่เหมือนตื้นๆ เพราะผู้จะยืดหยุ่นกับเขา ต้องแข็งแรง ไม่ตกต่ำไปกับเขานะ คนที่ยืดหยุ่นให้เขา ต้องมั่นใจว่า เขาดึงคุณลงไม่ได้นะ นั่นต่างหาก ควรยืดหยุ่นอนุโลม หากคุณยังไม่ได้ อย่ายืด จะยับย่นเลย เสร็จเลย

เริ่มเป็นโสดาบัน จะสำนึก มีคุณธรรมรู้ว่า เราจะไม่เอามากไปกว่านี้ จากสังคม เท่านี้ควรพอ แม้ว่าจะได้ ก็ตามควร แต่ก็ไม่ตะกละ เอาเปรียบเพิ่มกว่านั้น คือมีความยับยั้ง จากการรวยไม่มีlimited ไม่รวยอย่าง maximize profit แม้บางทีว่าโกงนะ เล่เหลี่ยมนะ ถ้ากฎหมาย จับไม่ได้ก็เอา โกงไปเลวไปเรื่อยๆ ปุถุชนนะ แต่ถ้าคนมีภูมิธรรม สำนึกได้ โดยเฉพาะ ถึงขีด ที่จะตัดเขตว่า เป็นโสดาบัน จะเป็นคนอยู่กับสังคม อย่างมีประโยชน์ ไม่ไปทำร้าย สังคมแน่ จึงไม่ใช่อย่าง อารยบุคคล คือปุถุชน ที่ดูเขาเจริญ ทางโลกนะ เขาถือว่า เป็นคนดีที่เจริญอารยะ เป็นมหาอำนาจทางโลก ใช้กลโกลเอาเปรียบ ไม่ให้เขารู้ทัน มีอำนาจรายได้เหนือกว่า แม้จับได้ ก็กลบเกลื่อน แก้ตัวไปได้

อารยะที่เจริญแบบนี้ ที่ในหลวงว่า เราไม่เอาก้าวหน้าแบบนั้น มันเป็นการถอยหลัง อย่าน่ากลัว นี่คือ ภูมิธรรม ของในหลวง แต่คนเข้าใจไม่ได้ และ อาริยบุคคลของพุทธ ก็ไม่ใช่อริยบุคคล ที่เขาว่า เป็นผู้วิเศษ แต่อยู่ในป่าเขาถ้ำ ไม่มีความรู้ โลกวิทู ไม่มีประโยชน์ต่อสังคม คนทั่วไปก็เข้าใจว่า อริยบุคคล คือเช่นนี้ เพราะเช่นนั้น อาตมา มาเปิดเผย ก็ว่าไม่ใช่ อาริยบุคคล คือคนอยู่ในเมือง ไม่อยู่ป่า เป็นคนเปิดเผย ไม่ลึกลับ แม้อาตมา ยืนยันพวกเรา ไปให้ดูว่า คืออาริยะ แต่คนที่ เขาศึกษามากเลย ที่บอกว่า อาตมานี่เมานะ มันมายืนยันว่า เป็นอาริยบุคคล แล้วจะให้คน ยอมรับว่า อาริยะนี่สูงกว่า อริยะอีก เขาก็ว่าบ้านะ

อาตมาว่า มีคนที่เขาศึกษา ซาบซึ้งเข้าใจ ความรู้ที่เขายึดถือกัน เขาก็ว่า อาตมาจะบ้า ไปถึงไหน เขาก็มองอย่างนี้ ตลอดเวลามา เพราะพวกเรา ยังไม่มีคุณราศี คุณรังสีเพียงพอ จนคนตาบอดเห็นได้ เขาเห็นว่า เราไม่ได้เจริญไปเป็น อารยบุคคลแน่ เพราะเราไม่ไปแย่ง ลาภยศสรรเสริญ กับเขาแน่ เขาก็จะตีมุมเดียว มองเราว่าเป็นคนบ้า เพราะไม่เอาอริยะ แล้วไม่ได้อารยะ อีก เขาจะไม่เข้าใจเลยว่า อาริยบุคคล ของพระพุทธเจ้า ต้องอยู่กับสังคม ไม่เอาเปรียบสังคม แล้วมี พหุชนหิตายะ (เพื่อหมู่มวลมหาชน เป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ (เพื่อความสุข ของหมู่มวลมหาชน เป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ (รับใช้โลก ช่วยโลก) ตอนนี้ แม้ธรรมกาย ก็ว่า เขาทำนี่เป็น พหุชนหิตายะ (เพื่อหมู่มวลมหาชน เป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ (เพื่อความสุขของหมู่มวลมหาชน เป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ (รับใช้โลก ช่วยโลก) อาตมาว่า เขาฉลาดฉิบหาย มากเลยนะ อย่าเอาอาการ ปีติน้ำตาไหล มาบอกว่า นี่คือสิ่งดีนะ คนโกงคน ได้สำเร็จ ก็น้ำตาไหล ปีติปลื้ม ได้เหมือนกันนะ

โสดาบันก็มี พหุชนหิตายะ (เพื่อหมู่มวลมหาชน เป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ (เพื่อความสุขของหมู่มวลมหาชน เป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ (รับใช้โลก ช่วยโลก) แต่ก่อน เราไม่ได้ช่วย ให้สังคม เป็นสุขเลย เราก็เป็น ตัวแย่งตัวหนึ่ง ในสังคมเลย แต่พอรู้ว่า เราเองก็เป็นตัว ทำให้สังคมวุ่นวาย เราไม่ได้รับใช้ สังคมเลย แต่โสดาบัน เริ่มรู้ เริ่มเข้าใจ อย่างสัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่เข้าใจอย่างธรรมกาย อาตมา ให้ศึกษาดูนะ ไม่ใช่

โสดาบันคือ ๑. ผู้พ้นสังโยชน์ ๓ ข้อ ๒. มีศีล ๕ ๓.ไม่มีอบายมุข ยุคนี้อบายมุข มากกว่าสมัยพระพุทธเจ้า อบายมุข มาในคอมพิวเตอร์ ไอแพด โทรศัพท์มือถือ คนที่อยาก จะปฏิบัติตน ก็เลิกใช้พวกนี้ ถ้าไม่มีภูมิธรรมพอ อย่างเด็ก พวกเรานี่ ไม่ให้ใช้ โดยพลการนะ จะใช้ต้องเป็นการศึกษา มีการควบคุม อื่นๆอีกเยอะ แม้แต่กิจการ ทางสังคม ก็เป็นอบายมุข ตั้งแต่กิจการบันเทิง กีฬา การค้าขาย ราชการ อะไรต่างๆ ก็หยาบคาย เป็นอบายมุข กว่าสมัย พระพุทธเจ้า มากมาก

โสดาบันคือ ๑. ผู้พ้นสังโยชน์ ๓ ข้อ ๒.มีศีล ๕ ข้อ๓.ไม่มีอบายมุข ส่วนอีกหลักคือ ไม่กินเนื้อสัตว์ อันนี้อาตมา กำหนดมา แต่ก็สอดคล้องกับ พระพุทธเจ้า แล้วโสดาบัน จะพ้นมิจฉาชีพ ๒ ในมิจฉาชีพ ๕ คือพ้น กุหนา ลปนา ที่เป็นทุจริตกรรม โสดาบันเป็นต้นไป จะพ้นมิจฉาชีพ โดยเฉพาะ สองข้อ ข้อ๑ คือฆ่า ข้อ ๒คือ ไม่ทุจริต เอาของใคร ข้อ ๓ คือเรื่องราคะ ข้อ๔ ก็ไม่พูดปดโกหก แต่โสดาบัน จะไม่มีทุจริตภายนอกจริงๆ สำหรับโสดาบัน ภายนอกคือ องค์ประชุมสุจริตจริง แล้วไม่มีทุจริตวาจา พ้นอกุศลกรรม ทางวาจา มีศีล ๕ หมดอบายมุข ที่ต่ำๆ

แม้ข้างนอกไม่ประพฤติ แต่จิตต้องไม่ยินดีจริงๆ ต้องเอาที่จิต เป็นตัวตัดสิน ถ้าได้แต่ข้างนอก ก็ไม่บรรลุ แต่โสดาบัน จะไม่ยินดี และก็แถมปากจัด ตำหนิข่มเขาแรงๆด้วย ทีตัวเอง แต่ก่อนเคยเลอะ เปื้อนมาด้วย ก็ให้เบาหน่อย แล้วจะอยู่ในฐาน เนมิตตกตา หมายความว่า เครื่องหมาย คำว่านิมิต คือเครื่องหมาย คือเรามี เครื่องหมาย ในการออกจากกาม ออกจากพยาบาท กำหนดหมายเอา ตามสมควรของเรา ไม่ใช่ว่า ล้างหมดเลยทันที เช่นเรื่องเพศ เราก็เอาแค่ ผัวเดียวเมียเดียว เรื่องกามคุณ แต่ก่อนจัดจ้าน ยิ่งสวยยิ่งอร่อย ก็พอตัดเขตขีด ให้ตนได้ เรื่องเงินทองก็ แต่ก่อน ตะกละให้ได้มาก แต่เดี๋ยวนี้ เอาแค่นี้ก็พอ ไม่มักมาก พยายามมักน้อย เช่นแต่ก่อน กินทุกอย่าง ที่ขวางหน้า แต่ตอนนี้กำหนดมื้อ ให้กินเท่านี้นะ อันไหนแพงไป เกินไปก็งด ให้เหมาะกับตนเอง เป็นคนมีเนมิตตกตา แล้วปฏิบัติ เหมือนคนเสี่ยงโชค คือมันยังไม่แน่ แต่มีกรอบให้ตนปฏิบัติ เริ่มต้นที่ศีล ๕ เป็นต้น ความหมายศีล ๕ มีขนาดไหนก็ตาม พระพุทธเจ้ากำหนด

ต่อไปเป็นการตอบประเด็น
- เราจะรู้ได้อย่างไรว่า กิเลสเรามันลด ดิฉันไม่แน่ใจ ยกตัวอย่าง กิเลสเราลดได้จริง บางเบาได้จริง หรือหมดรสชาติ ไปตามวัย ที่เราอายุมากขึ้น แต่ก่อนเขาถามว่า แต่ก่อนสนุก ไปกับการเป่ายาง แต่โตมา ก็หมดรสไป แต่ก่อนชอบดูหนังมาก ดูยันสว่าง แต่ตอนนี้ ไม่รู้ว่ามันหยุดไป ตามวัยที่แก่ลง หรือว่าเพราะกิเลส ลดได้จริง มันไม่โหยหาไปตามเดิม

ตอบ.... คนอายุมากขึ้น เหตุปัจจัย แม้คนก็มีฮอร์โมน เหตุต่างๆ พอหมดเวลาก็หมดไป เป็นเหตุทางวัตถุธาตุ ก็ทำให้ลดจริงด้วย มีจริง ที่ถามมานี่ก็ดี เอาเช่นนี้ เราแยกไม่ได้จริงๆว่า มันลดเพราะวัยด้วย อย่างน้อยก็ ๓ ประเด็น ค่านิยมของโลก ตามวัย ตอนวัยรุ่น วัยกลางคน วัยอายุยาว เขาก็จะมุ่งกันไป ตามแต่ละอย่างไป หรือสอง ตามธาตุวัตถุ สรีระก็ด้วย และ ๓. มันลดเพราะ เราลดกิเลสได้จริงๆ

แม้จะลดด้วยวัย ตามยุคสมัย ก็เอามาวัดไม่ได้ หรือตามวัตถุธาตุ ก็วัดไม่ได้ ก็ช่างมัน แต่เรามาอ่าน กิเลสให้ชัด คือ กิเลสนี่ เมื่อได้สมใจเมื่อไหร่ เกิดรสเมื่อนั้น เราก็จำไว้ แต่พอปฏิบัติไป แล้วมันลด พระพุทธเจ้าว่าจริงๆนั้น มันอนิจจัง ทั้งนั้น แต่พระพุทธเจ้า ไม่ได้หมายถึงแค่นั้น ไม่ได้หมายถึงแค่ จิตเกิดดับ ทั้งกลางวัน และกลางคืน แต่ให้รู้ว่า จิตมีติดยึด เป็นรสโลกีย์ จะดีใจ เพราะได้วัตถุลาภ ยศ สรรเสริญ กาม อัตตาก็ตาม มันเป็นกิเลส เกิดอัสสาทะ อร่อย ต้องอ่านให้ได้ ว่ามันไม่ใช่ รสของธรรมชาติ

รสแตงโมหวาน กับเราชอบรสหวาน อย่างนี้ แต่ละคน ไม่เหมือนกันนะ บางคนว่าไม่ได้เรื่อง บางคนก็ว่าดี ไม่เหมือนกัน นั่นแหละคือ อุปาทาน ของแต่ละคน ... (มิตรดีสหายดี คือทั้งหมดทั้งสิ้น พรหมจรรย์) ต้องอ่านลักษณะ ว่าชอบหรือชัง มันก็หลวมๆ แต่ต้องอ่านเข้าไปอีก ว่าอันนี้เช่น หวานอร่อยกรอบ เหมือนกัน มันรสธรรมชาติ แต่ฉันชอบ แต่บางคนไม่ชอบ นั่นแหละ ก็อ่านความไม่ชอบ ของตนเอง ก็กินแตงโม อย่างเดียวกัน แต่ก็อัสสาทะต่างกัน ต้องล้างจนกว่า อุปาทานจะหาย สัมผัสอีกอุปาทานก็หายไป นี่คือตัวจริง ที่ไม่ขึ้นกับวัย กับสรีระ ต้องเอาปัจจุบัน ที่เราได้ผ่าน ในกาละ ปัจจุบันนี้

-คุณหินแสง ถามว่า ปริญญา ๓ คือญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา คืออย่างไร?
ตอบ.... ญาตปริญญา คือสิ่งที่เราต้องกำหนดรู้ ให้ครบสมบูรณ์ รู้อะไรต้องรู้ให้จริง ให้พ้นวิจิกิจฉา ว่าอันนี้คือกาย อันนี้คือเวทนา มันมีสุขทุกข์เฉยๆ ในเวทนา ๑๐๘ ให้รู้ แล้วกำหนดรู้จากทั้งที่ เราได้รู้ปริยัติ แล้วได้สัมผัสของจริง ตามที่เราได้รู้ มาจากปริยัติ แล้วได้สัมผัสจริง ในกาย เวทนา จิต ธรรม ว่าอันนี้คืออันนี้ แล้วเข้าไปหา ตีรณปริญญา คือรู้องค์รวม แล้วแยกแยะว่า มีอะไรปน ในสังขารเรา อันแรกแยกได้แค่กาย อันนี้คือจิต แต่มาตีรณปริญญา ก็แยกแยะถึงรูป ๒๘ มันเป็นบางอย่าง ก็มีทั้งในและนอก หรือบางอย่าง ก็มีแต่ภายใน อย่างเดียว ตอนนี้ เข้ามาหาภายใน ที่เกิดจากสัมผัสนอก แล้วเราก็ปฏิบัติ จนถึงอากาสาฯ แล้วออกไปเป็น วิญญัติรูป

เรากระจายกาย กระจายเวทนา เป็น ๑๐๘ แจกจิต เป็นเจโตปริยญาณ ๑๖ ส่วนธรรมะนี้แยกแยะ โลกียะ โลกุตระ กุศล อกุศล โลกีย์ตระกูลนั้น ตระกูลนี้ โลกุตระขั้นไหนๆ แยกแยะได้หลากหลาย มากมาย ปหานปริญญาก็คือ รู้จักว่าเราลดลง กำจัดมัน ไม่ให้มันมีได้ ในที่สุด ได้ปหาน การปหานได้ทั้งปหาน ๕ แบบ

- เป็นโสดาบัน ต้องมีญาณ ๗ ไหม?
ตอบ... ต้องมีสิ โสดาบัน ศีล ๕ เป็นเกณฑ์ ส่วนสกิทาฯมีศีล ๘ เป็นเกณฑ์ คุณจะเหลื่อมบ้าง ก็ได้ แต่ต้องเหลื่อมสูงขึ้น ไม่ใช่ลดลง แต่อย่าเกินตัว ให้สูงขึ้น แต่ไม่ต้องเหลื่อม ก็พอดีๆ สรุปแล้ว ต้องอยู่ในเกณฑ์ ศีล ๕
ศีลข้อที่ ๑ ให้เรียนรู้โทสมูล
ศีลข้อที่ ๒ ให้ลดโลภะ
ศีลข้อที่ ๓ ให้ลดราคะ
ศีลข้อที่ ๔ ให้ลดทุจริต
ศีลข้อที่ ๕ ให้ลดการเสพติด

ศีลข้อ ๑ คุณมีความแรงร้ายในโทสะ ถึงต้องฆ่าสัตว์ มันตื้นที่สุด คุณก็อย่าฆ่าจริงๆ ตีกรอบแค่นี้ แต่อาตมาพาทำ ไม่กินเนื้อสัตว์นี่ เป็นของแถม เพราะชาวพุทธ รู้ทั้งนั้นแหละ การไม่ฆ่าสัตว์มันชินชาแล้ว ไม่เกิดเมตตาไม่สังวร แต่พอว่า ไม่กินเนื้อสัตว์นี้ ต้องสังวร ก็เลยแถมให้ พวกเราจะรู้จิตตน จะสังวร

ศีลข้อ ๒ ลดโลภะ ก็อย่าไปเอาของ ที่ไม่ใช่ของตน ส่วนที่กฎหมายว่าไป ก็ว่าตามกฎหมายไปก่อน หลักเกณฑ์สังคม มันฉ้อฉลมาก อย่างเงินเดือนปชช. มีเท่าเดิมตลอดกาล แต่ขรก. นี่เงินเดือน ขึ้นเอาๆ

ศีลข้อ ๓ เราก็กำหนด ผัวเดียวเมียเดียว ส่วนกามคุณอื่น ก็เอาที่ไม่จัด ลดความจัดลง
ศีลข้อ ๔ ไม่พูดปด เราก็เว้น ส่อเสียดเพ้อเจ้อหยาบ ไปก่อน แต่ไม่ปดให้ได้
ศีลข้อ ๕ เราต้องหยุดอบาย เว้นขาดก่อนไม่รับ ไม่เสพ

ส่วนศีล ๘ ก็เพิ่มข้อ วิกาลโภชนา แล้วมาลด มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา ก็ลดลง หรือ มีพรหมจริยาฯ ก็ลดลง อุจจาสยนมหาสยนา ก็ไม่ต้องเอาใหญ่โต หรูหรา ไม่ต้องพูดกับ ธรรมกายเลย เขาไม่เข้าใจ ศีลข้อนี้หรอก

อาตมาก็รู้สึกว่า ไม่เสียเปล่า คำว่า กาย คำว่า บุญ นี้สำคัญจริงๆ อาตมาว่า เพราะคำ สองคำนี้ทำให้ศาสนาพุทธ เสื่อมจนทุกวันนี้ ยิ่งอาตมาได้อ่าน พระไตรฯ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า กายคือ จิต มโน วิญญาณ เมืองนอกนี่ เขาใช้คำว่า Body หมายถึงกาย มันหมายถึง ภายนอก เท่านั้น แต่พระพุทธเจ้าว่า กายคือ จิต มโน วิญญาณ คือมีแต่ภายนอก แต่ถ้าใครเข้าใจว่า กายคือใจเท่านั้น ไม่มีข้างนอก ก็ตีลังกาหัวทิ่ม เหมือนกัน สรุปว่า กายคือ ทั้งข้างนอก และข้างในตลอดเวลา คุณเป็นปุถุชน ก็ไม่รู้ว่า กายคืออย่างไร แยกไม่ออก พอมาเป็นโสดาบัน ก็จับแยก องค์ประชุมออก ในระดับโสดาบัน กิเลสในอบายภูมิ ก็แยกแยะจัดการได้ แล้วมาเป็นสกิทาฯ ก็ไม่ทิ้ง ภายนอก แต่ต้องปฏิบัติ ภายในต่อ แต่ไม่ทิ้งภายนอก ที่เป็นอบายนะ แต่ก็ทำที่ในจิต จนหมดกิเลสภายนอก ก็ยังอยู่กับภายนอก แต่ก็ทำกิเลสภายในให้สูญ จนกว่าจะหมด กิเลสภายในจิตเลย ทำสัตว์ในจิต ให้ตายไปหมด สมบูรณ์แบบ กายก็คือ จิตสะอาด กับโลกสกปรก ไม่ได้แยก จากภายนอกเลย แม้บรรลุแล้ว ผู้ที่ไม่เข้าใจกาย อาตมากล้าพูดว่าเลย ศาสนาพุทธเดี๋ยวนี้ แม้แต่ไทยเราที่ว่า เหนือกว่าประเทศอื่น ปฏิบัติวิญญาณฐีติไม่เป็น อย่าหวังเลยว่า จะพ้นสังโยชน์ได้ เพราะวิญญาณฐีติ หรือ สัตตาวาส ๙ ถ้าไม่รู้จักกาย จะปฏิบัติได้อย่างไร ว่ากายต่างกัน สัญญาต่างกัน เป็นอย่างไร แล้วสังโยชน์ทั้งหลาย จะดับความเป็น สัตว์โอปปาติกะ ไม่ได้หรอก อาตมาว่า ไม่ได้ดูถูก แต่อาตมาพูดความจริง น่าสงสาร ฝ่ายพระป่า ก็ไม่รู้กาย ที่มีองค์รวมกับภายนอก ส่วนพระบ้าน ก็ไม่รู้กาย ที่เนื่องกับจิตเลย มีแต่หลงภายนอก เขาไม่ได้ศึกษาจิต แล้วเขาก็ยอมรับว่า พระป่า เขาศึกษาจิต พระบ้านศึกษาแต่ภายนอก แต่พระป่า ก็ไม่รู้นอกและใน ที่เนื่องกันเป็นกาย  แต่พระบ้าน เขาควบคุมอำนาจ

-เราจะพ้นอบายมุข ข้อขี้เกียจ ได้อย่างไร?
ตอบ... คือมันไม่ค่อยอยากทำงาน ก็เอาที่ว่า เราก็ขวนขวาย แล้วทำงานนี่ มันฝืนไหม? ถ้าฝืนก็คือ เรายังขี้เกียจ แต่ถ้าเราก็ทำงาน พอสมควร ไม่เลี่ยงไม่เล่น ไม่หลบไม่หลับ หากขี้เกียจก็เลี่ยง หรือเอาเวลาไปเล่น หลบหลับ นี่ขี้เกียจหมด แต่เราก็ไม่ได้เลี่ยง ไม่หลบไม่หลับ ไม่เล่น ก็คือ เราไม่ขี้เกียจ ระดับหนึ่ง แต่เมื่อเราละเอียดขึ้น เราก็จะตรวจว่า อันนี้ควรทำ เวลาก็มี ควรทำ มีแรงทำ สิ่งที่ควรทำ แต่เราไม่ทำ นี่เราขี้เกียจนะ สูงกว่านั้น เราไม่มีแล้วตัวนี้ ก็ตัวขวนขวาย เราขวนขวายไหม? หากไม่ขวนขวาย คือเราขี้เกียจ

แถมนิดนึงว่า บิดขี้เกียจ ถ้าผู้ใดร่างเนื้อกล้ามเนื้อ ไม่ต้องไปแก้ไขแล้ว แต่บิดนี่คือ บิดขี้เกียจจริงๆ มันรู้สึกว่า สบายดีอร่อย แต่อย่างอาตมานี่ ไม่เคยบิดขี้เกียจ แต่ก่อน เรารู้สึกว่า บิดแล้วอร่อยบ้าง แต่เดี๋ยวนี้ เราต้องตั้งใจทำนะ ทำแล้วมันก็ ไม่มีอะไร คือร่างกายอาตมา ไม่ต้องคลี่คลายอะไร อาตมาโยคะบ่อย และอีกอย่าง ที่บิดขี้เกียจ ที่เขาทำ ก็เพื่อบำเรออารมณ์ แต่ก่อน อาตมาเคยทำบ้าง แต่ตอนนี้ ไม่ได้ทำเลย บิดขี้เกียจ