580205 -ความรัก ๑๐ มิติ (๑๖)
รักแบบพุทธต้องหยุดเห็นแก่ตัว

พ่อครูว่า.. วันนี้แรม ๒ ค่ำเดือน ๓ ปีมะเมีย วันนี้เรียนความรัก ๑๐ มิติ ที่เราเรียนกันถึงมิติที่ ๘ แล้ว แต่ไม่ได้ หมายความว่า มิติที่ ๘ นี้ไม่ได้รู้มิติที่ ๑ ถึง ๗ เป็นอย่างไร ก็รู้ มิติที่ ๑ เป็นความเห็นแก่ตัว ระหว่าง เราสองคนเท่านี้ เพื่อคนๆเดียวเท่านี้ จะมีสุขทุกข์อย่างไร ก็แค่สองคน เป็นความแคบ จิตใจก็คิดเช่นนี้ เห็นเช่นนี้ กำหนดใจเช่นนี้ จริงๆ เขาก็รู้ว่า มันเห็นแก่ตัว แต่ใจเขาก็เป็นเช่นนี้ ไม่ได้เสียสละ ทำไม่ได้ ทำได้แต่เผื่อแผ่แค่แคบ จนมามีลูก ก็เห็นแก่ลูกเพิ่มขึ้น ขนาดนั้น บางคนยังไม่รักลูกด้วย ให้คนอื่นเขาเลี้ยงไป เห็นเป็นภาระด้วย ซึ่งแม้แต่เดรัจฉาน ก็ยังมีที่เสียสละเพื่อลูก ตายเพื่อลูกได้เลย เดรัจฉานยังเป็นได้ แต่บางคน ชั่วได้กว่านั้นอีก มีลูกมาก็ไม่เกี่ยวกับตน  มีแต่เรื่องต่อเผ่าสืบพันธุ์ แต่ไม่มีจิตวิญญาณ ให้แก่กันเลย เราก็ต้องศึกษา แต่เขาก็เห็นเป็นความสุข ที่ได้สัมผัส แล้วปรุงแต่ง อันเป็นที่พอรู้กัน เขาก็ว่า เขาต้องมีชีวิต เอร็ดอร่อยแบบนั้นของเขา ในนัยอื่น ที่เป็นกามคุณ ก็เช่นกัน แต่เรื่องความรัก อันเห็นแก่ตัว แคบๆนี้เป็นตัวหลัก

ใครเข้าใจศึกษาธรรมะ ก็จะรู้ว่ามันแคบไป ต้องให้เรากว้างกว่านี้ ให้ใจเราเป็นได้แม้เป็นไม่ได้ก็ให้รู้ การแสดง ทางน้ำใจ ได้ทันที แสดงทางพฤติกรรม กิริยาต่างๆ ที่จะเกื้อกว้าง ไม่เห็นแก่ตัว ภาวะเช่นนี้ ควรช่วยกัน เราควรทำ ในโอกาสที่ควรทำ ถ้ามีสำนึกเช่นนี้ ก็จะเจริญขึ้น แล้วยิ่งมีปัญญาดี ปลดปล่อยความแคบ ของการยึดติด ทางจิตได้ แล้วเราก็อยู่กับสังคม ถึงขั้น มิติที่ ๗ อยู่กับสังคม จะเป็นสังคม ในกรอบ ๒ คน หรือมิติที่ ๒ หรือกว้างมาสู่ญาติ ในมิติที่ ๓ และมิติที่ ๔ ถึงมิติ ๕ ในรอบกว้าง

มิติที่ ๖ เป็นรัฐเป็นประเทศเลย แล้วมีกรอบ เราก็ควรเห็นแก่เกื้อกว้าง ตามวาระที่เป็นได้ ถ้ามีสำนึก แม้เราไม่มี เรี่ยวแรงวัตถุ แต่เราก็มีใจ แต่ถ้าเรามีแรง วัตถุ โอกาสจะช่วยเราก็ทำ เช่นเราออกไปชุมนุม เพราะมีเหตุ ที่ทำให้ สังคมทุกข์ร้อน มีคนไม่ดี มาทำให้เดือดร้อนมาก เราก็เห็นว่ามีวิธีช่วยสังคม อาตมาจึงพาพวกเรา ออกไปทำ เท่าที่เรามีสามารถ วัตถุทำได้ เราก็ทำ ถ้าคนรู้จักหน้าที่ขวนขวาย ไม่ดูดำดูดี รู้จักโอกาสวาระ เราช่วยข้างในเรา แล้วช่วยข้างนอกบ้าง เราไม่โลภมาก ไม่รีดนาทาเร้นเขา เราก็พึ่งตน ขยัน สร้างสรร ไม่เบียดเบียนใคร แม้ว่าเรา ไม่ได้ไปช่วย แต่เราก็ไม่ได้ไปเบียดเบียนเขา ยิ่งเราเป็นประโยชน์ ได้กว้างมากขึ้น ยิ่งมิติที่ ๗ เป็นความรัก เกื้อกว้าง ต่อทุกสรรพสิ่ง เป็นรักของพระเจ้า รักโลก รักทุกสัตว์โลก รักไปตามฐานะ ที่จะช่วยได้ แต่เขาก็คิดกันไปว่า พระเจ้าเก่งทุกอย่าง ทำได้หมด แต่ทำไมปล่อยให้เดือดร้อน วุ่นวายได้

พุทธรู้ต้นทาง พลังงานทางจิตที่ เทวนิยมเขาก็รู้ว่า เป็นพลังงานพระเจ้า แต่ไม่ได้หมายถึงว่า พระเจ้า คือพลังงาน เหนือใครยิ่งใหญ่ คอยทำงานช่วยคน ไม่ใช่ แต่พลังยิ่งใหญ่ คือพลังงานในคน ในสัตว์โลก คนที่มีพลังงานที่ดี ระดับพระเจ้า แต่มิตินี้ เขาก็ไม่รู้จักตัวตน ตัวมีพลังยิ่งใหญ่ มีพลังรักไปหมด แต่เขาไม่รู้ว่า ตนเห็นแก่ตัวเองไหม? อันนี้เขาไม่เรียน แต่พุทธ เรียนสิ่งไม่ดี ที่เป็นความเห็นแก่ตัว แล้วเราล้างได้หมดเลย จึงไม่เหลือ จิตเห็นแก่ตัว แต่เห็นแก่ทุกสิ่ง ทุกอย่างเลย แล้วอยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่ตัวเราได้ สามารถพิสูจน์ได้

จริงๆไม่ใช่ว่า พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จึงค่อยรู้คนอื่น ว่าจะช่วยอย่างไร แต่ว่าท่านรู้มา เป็นลำดับๆ คนที่สูงระดับไหน ก็จะรู้คนระดับล่างได้ ที่สูงกว่าตนนั้น รู้ไม่ได้ เพราะผ่านเอง ปฏิบัติเอง เข้าใจความจริง ครบถ้วน มันปล่อยวาง คลายความเห็นแก่ตัว แล้วมันมีความจริง ให้รู้ในตน จึงเอาความเป็นจริง ของจิตตนเอง มายืนยัน ประกาศ ตามที่ได้ทำเหตุไม่ดีออกไป ดีจะเกิดแทน แล้วก็เอาที่รู้แล้วทำได้นี่ ให้คน ไปปฏิบัติ เกิดผลได้ เป็น ๑ คน ร้อยคน พันคน หมื่นคน แสนคน ล้านคน ทำมาตลอดเวลา อย่างอาตมา ก็ทำมา ไม่รู้กี่ชาติ มาชาตินี้ อาตมาก็ทำตาม ฐานะบารมี ๔๐ กว่าปี ก็ได้คน ที่เห็นหน้ากันแค่นี้ ก็เป็นไปตามจริง อาตมารู้ดี เหตุที่มันยาก เพราะในยุคนี้ คนที่ทำได้นี้ยาก ได้ไม่มากก็เก่งนะ เพราะต้องมีความสามารถ จะบอกว่า เราจะน้อยใจ ก็ไม่น้อยใจ เราเก่งเท่านี้ ก็ดีแล้ว จะได้มากหรือน้อย อาตมาไม่มีปัญหามาก อาตมามุ่งให้ได้ของจริง แน่นอนว่า ได้มากๆก็ดี แต่จะไปบีบไม่ได้ ก็ได้แต่ต้อง อุตสาหะวิริยะ พากเพียรไปเต็มที่ ทุกวันนี้ จึงเห็นผลได้ จึงไม่ท้อถอย แต่ถ้าว่า อาตมาทำไป ไม่ก้าวหน้า มีแต่เสื่อมทรุด สังคมนี้ไม่ก้าวหน้า มีแต่เสื่อม เราก็เหนื่อยไป ไม่คุ้มเลย ไม่พัฒนาเลย เมื่อยนัก อาตมาก็ โบกมือลา ไม่เอาแล้ว แต่ทุกวันนี้ ใครจะว่าอะไร ก็แล้วแต่ ทุกวันนี้ ไม่ได้ทำเพื่อ โลกธรรมอะไร เขาด่า สาปแช่งด้วยซ้ำ เหนื่อยน่าดูเลย เราไม่ได้อะไร นอกจาก ช่วยให้เกิดสิ่งดี แก่สังคมเท่านั้น ถ้ามันตันแล้ว อาตมาก็จะหยุดแล้ว พอแล้ว ไม่ไหว มันเปล่าดาย ไม่เกิดผล แต่อาตมาก็มอง ตามประสา ว่าได้นะ มีผลอยู่นะ พวกคุณ เห็นอย่างอาตมาไหม?

แต่ก็มีนัยที่ว่า จะได้จากข้างนอก มาเพิ่มไม่ได้ แล้วอาตมาก็จะหยุด แต่พวกเรา ยังมีการก้าวหน้า มีรายละเอียดเพิ่ม อาตมาก็ทำ แม้ว่าข้างนอก เพิ่มไม่ได้อีกแล้วก็ตาม อาตมาก็ทำอยู่ ไม่มีปัญหา จนกว่าพวกเรา ไม่เอาแล้ว อาตมาก็โบกมือลา หยุด ก็อายุขนาดนี้แล้ว ชีวิตก็คงไม่นาน ไม่ยาวแล้ว เพราะมันไม่มี ความปรารถนาจะอยู่ เพราะไม่เกิดอะไรขึ้น ไม่ได้ทุกข์ร้อนแล้ว แต่อยู่ที่ว่าจะทำอะไร อย่างอาตมานี่ บอกได้เลยว่า มีชีวิต ไม่ได้ทุกข์ร้อนอะไร เป็นแต่เพียงอยู่แล้ว จะมีประโยชน์อะไร เป็นแต่ทำให้คน ข้างเคียงก็ว่า ไม่ดูแลตนเองเลย อาตมาก็ว่า ทำขนาดนี้ ก็ยังไม่ค่อยทัน ก็เลยเหมือน ดึงๆกันอยู่ แต่ทางผู้ดูแล ก็เข้าใจอาตมาอยู่ แต่ก็มีความเห็น ถ่วงไว้ ก็เป็นธรรมชาติ ที่หวังดีต่อกัน อาตมาก็หวังดี อย่างหนึ่ง พวกท่าน ก็เห็นดีอีกอย่าง ก็ถ่วงไว้ เป็นเรื่องดี ของมนุษยชาติ ต้านกันไว้ แล้วส่งเสริมกันไป ต้านกันด้วยหวังดีก็มี ส่งเสริมเพื่อหวังร้าย เขาก็ยังมีเลย ส่งเสริม เพื่อหวังดี ก็มีแน่

พฤติกรรมที่เห็นกันนี่ อย่างพวกเรา อยู่ด้วยกัน ก็มีต้าน มีว่ากัน แต่เข้าใจแล้ว มันมีต้าน อย่างหวังดี พ่อแม่ด่าลูก ไม่ได้ปรารถนาร้าย ก็อยู่กันได้ บางครอบครัว พ่อแม่ดุด่าเก่ง แต่ลูกๆก็รักพ่อแม่มาก เพราะลึกๆ มันรู้ ปฏิภาณ ลูกรู้ว่า เขาด่าไม่ได้เกลียดชัง แต่เป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่ง เป็นการแสดงออก เพื่อกำราบ บางทีถึงตีด้วย ลึกๆก็รู้ว่า ไม่ได้ตีให้เสียหาย ให้ร้าย ทุกข์ร้อน แต่ปรารถนาดี จึงตีให้เข็ดหลาบ อาตมานี้ชีวิตนี้ แม่ตีอาตมา ๑ ครั้ง ตีด้วย ไม้บรรทัด เอาสันตี เขาคงสุดทนแล้ว คว้ามาตี แขนแดงเลย พอเขาเห็นแขน แดงแป๊ดขึ้นมา เขาร้องไห้เลย เขารักอาตมา อาตมาจำได้ เคยถูกตีครั้งหนึ่ง ในชีวิต ในชีวิตอาตมา แม่จะฟังอาตมา เวลาพูดกัน เห็นว่าดี มีคุณค่าราคา ก็เป็นชีวิตดี สนิทกับแม่ มากกว่าพ่อ

เรื่องมนุษยชาติ ก็เป็นเรื่องมิตรสหาย เป็นญาติ เป็นเพื่อนร่วมโลก อาตมามีความคิดอยู่ว่า ทฤษฎีของพระพุทธเจ้า มีความรักเกื้อกว้าง ออกไปสู่โลก รักทุกสรรพสิ่ง ไม่ได้เป็น ความรักดูดดึง แต่เป็นปิยกรณะ เป็นความรัก ช่วยเหลือกัน ไม่เห็นแก่ตัว แท้จริง

ต่อไปทฤษฎีวิชาการ ของพระพุทธเจ้านี้ ชาวโลกจะต้องอาศัย เพราะหมดความเห็นแก่ตัว ได้จริง เพราะของ พระพุทธเจ้า หมดความเห็นแก่ตัวแล้ว จะเห็นแก่คนอื่นเลย ส่วนทฤษฎีของฤาษี จะหนีโลก ห่างทิ้งผู้คน ออกไป คนก็มองตื้นๆว่า คนนี้ไม่มี ความอยากได้อะไร แต่โดยลึกคือความเห็นแก่ตัว เอาแต่อัตตา ตัวเอง เต็มๆ ไม่ยุ่งกับใคร ไม่เอาภาระใคร ถ้ามองด้วยชัดเจน ก็คือคนเห็นแก่ตัว เต็มบ้อง หรือใจดำที่สุด มันไม่ใช่ลักษณะ ไม่เห็นแก่ตัวเลย ดังนั้น ของพระพุทธเจ้านี่ ให้ล้างกิเลสจริง หมดความเห็นแก่ตัวจริง แล้วตนก็ยังมีความรู้ มีพลังงาน จิตวิญญาณจะรู้ เมื่อเราไม่ต้องการทำอะไร เพื่อตัวเอง ก็ทำเพื่อผู้อื่นเลยสิ ไม่ใช่ว่า หนีไปจากสังคม แต่ทีนี้ ต้องมีปัญญา จะช่วยคนอื่น ต้องมีสัปปุริสธรรม ๗  แล้วจะอยู่ได้ เพราะผู้อื่น เป็นคุณค่าแล้วจะเลี้ยงไว้ ไม่ต้องกังวลเลยว่า จะอยู่ได้อย่างไร คนอื่นที่เขาจะช่วย ก็ให้เขาช่วย เรามีอะไรที่เราควรทำ ที่เขาทำไม่ได้ เราเอาเวลา ทุนรอน ไปทำอย่างนั้นดีกว่า จึงเป็นทฤษฎี ที่ยิ่งใหญ่มาก ไม่ว่าจะเป็น หลักเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ก็ยิ่งใหญ่มาก ศาสนาพุทธ มีครบพร้อม แล้วรู้ว่า อะไรเป็นสาระ หรืออสาระ ก็รู้ อันไหนควรทำ หรือไม่ควรทำ ก็รู้ แล้วประมาณ ในการทำไป พูดไป แล้วเป็นรายละเอียด ของความรัก ทั้งนั้นเลย ที่เป็นผลของ สาราณียธรรม ๖
๑.      สาราณียะ (รู้จักระลึกถึงกัน คำนึงถึงคนที่ควรเอื้อ)
๒.     ปิยกรณะ (รักกันสัมพันธ์ดี - ปรารถนาดีต่อกัน) .
๓.     ครุกรณะ (เคารพกัน รู้จักฐานะ รู้จักคุณวุฒิ)
๔.     สังคหะ (สงเคราะห์เกื้อกูล ช่วยเหลือกัน) . . .
๕.     อวิวาทะ (ไม่วิวาท แตกแยกกัน) .
๖.      สามัคคียะ (พร้อมเพรียงกัน มีพลังรวมยิ่งใหญ่) .
๗.     เอกีภาวะ (เป็นปึกแผ่น มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน)
(โกสัมพีสูตร พตปฎ. ล.๒๒  ข.๒๘๒-๒๘๓)

ถ้าสังคมใด มีคุณสมบัติที่ว่า เกิน ๖๐ % สังคมนั้น สงบสุข สังคมเราเป็นได้จริงแล้ว เพราะเรื่องความรักในโลก เขามีแต่เห็นแก่ตัว จนเราก็มาคลี่คลายกรอบ จนเป็นความรัก ไร้กรอบ รู้ว่ารักคืออะไร ที่จะเป็นความดีงาม สูงส่งขึ้นไป เป็นลำดับ มันต่างกับเดรัจฉาน ที่เขาไม่ค่อยมี ความรู้เช่นนี้ พอมาเป็นมนุษย์แล้ว ควรมีความรู้เช่นนี้ แต่บางทีกลับกลายว่า มนุษย์กลับเลว ยิ่งกว่าเดรัจฉานอีก

-เคยปฏิบัติแบบ เจออะไรก็หยุดคิด จิตก็ว่างสบาย อย่างนี้ จะไปนิพพานได้ไหม?
ตอบ... พ่อครูว่า..อย่างนั้นไม่ใช่ความว่าง ของพระพุทธเจ้า มันก็ทำง่าย ไม่ต้องให้จิตปรุงแต่ง ไม่ต้องไปคิดต่อ อันนี้เรียนง่ายฝึกได้ แต่ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าให้ทำได้ เอาไว้อาศัยกดข่มไว้บ้าง มันก็ว่าง จากจิตไม่กวน แต่ว่าของพระพุทธเจ้า คือจับเหตุ ที่อยู่ในจิตเลย จิตกิเลสที่เป็นตัวกวน เราต้องกำจัดกิเลส ให้ละลาย หายไปเลย จนกว่าใจเรา ว่างจากกิเลส เช่น ศาลานี้ว่างจากช้าง เราก็กำจัดช้างออกไป จิตก็ว่างจากกิเลส จิตไม่เป็นภัย ต่อโลก ทำงานเป็นจักรผัน ช่วยโลกด้วย ไม่ใช่แค่ว่างอย่างที่ว่า  ตัวว่างคือจิตอยู่เฉยๆ ไม่ใช่ว่าง แบบพุทธ แบบพุทธคือ ว่างจากอกุศล ที่เป็นเหตุให้วุ่นวาย ให้จับออก ตัวไหนจับได้ก่อน เอาออกก่อน

สัตว์หลายอย่าง ทำงานให้ส่วนรวม เป็นธรรมชาติไป สัตว์หลายประเภท เป็นสัตว์โขลง ทำหน้าที่ไป ไม่ได้ไป แย่งชิงกันเลย ก็มี อย่างปลวก หรือผึ้งงาน ก็ทำไป อยู่กันมากมาย ทำไมไม่ทะเลาะกัน แม้แต่มด แต่คนมีความโง่ ที่อยากได้มาเป็นตน เป็นของตน หรือได้มาเสพรส สามได้นี่แหละ คือหลักๆ หรืออันที่ สี่ คือ อยากได้มา เพื่อทำลาย ก็เป็นอีกนัยหนึ่ง

การได้มาเป็นตน เป็นของตน ได้มาเสพรส แล้วอีกอันคือ ได้มาทำลาย ข้าอยู่เอ็งต้องไม่อยู่ ข้ามีเอ็งต้องไม่มี เป็นความเลวร้ายจัด ถ้าเราสามารถรู้ว่า เสพรสคืออย่างไร นี่คือตัวหลัก ที่คนเราหลงว่าสุข การได้รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ก็คือได้เสพรส แต่อีกอันคือ ได้มาเป็นของเรา เป็นโลภะ แล้ว ก็ของเราแค่นั้น ยึดว่าเป็นของเรา ก็สุขแล้ว ใครมาพรากจากเราไป ก็ทุกข์ แม้ตายไป ก็ยังยึดเป็นเรา เป็นของเรา แต่มันเอาไปไม่ได้ ก็มีอยู่เท่านั้น มันก็เลย เป็นภัยเป็นโทษ เป็นทุกข์ คนโลภมาก ก็เลยเอามา เป็นของตนเสียมาก กักกอบไว้เฉยๆ คนก็เลยเดือดร้อน เพราะขาดแคลน

สมัยโบราณเอามาได้มา ก็ใส่ตุ่มไว้ฝังไว้ แต่สมัยนี้เลวกว่าอีก คือเอาไปออกดอก ไปดูดมาให้ได้มากขึ้นอีก ก็เลยเลวร้าย ฉลาดร้ายเพิ่มอีก คนอื่นก็เลยขาดแคลน เดือดร้อน จนต้องฆ่าตัวตายกันไป ในพวกเรา ที่ได้มาศึกษาแล้วเห็นว่า เป็นของๆตนนี่ เราก็ลดลง

ส่วนตัวตนนี่ มันอยู่ลึกเข้าไปอีก พวกเราลดสิ่งที่ จะมาเป็นของตนได้มาก แต่ก็เกินเลย ไม่ค่อยเอาตาดู หูแล รักษากัน จนกลายเป็น สุรุ่ยสุร่าย ผลาญพร่า อันนี้พยายาม ปลูกฝัง ให้เด็กๆนะ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ ก็ต้องทำเป็นตัวอย่าง ยิ่งไปสอนว่า ไม่ให้ยึดเป็นเรา เป็นของเรา เสียหายช่างมัน ก็เลยกลายเป็น หยิบโหย่ง สุรุ่ยสุร่าย มือห่างตีนห่างไปนะ พวกเราค่อนข้าง เฟ้อเกินไปนะ หรือว่า ชุ่ย

พระพุทธเจ้าว่า สัมปรายิกัตถประโยชน์มี
๑.      สัทธาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
๒.     สีลสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศีล)
๓.     จาคสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการเสียสละ)
๔.     ปัญญาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยปัญญา)
         (พตปฎ. เล่ม ๒๑ ข้อ ๑๔๕)

ทุกวันนี้ คุณมาอยู่ที่นี่ ก็ด้วยคุณเชื่อว่า จะเจริญ แต่ว่าในทิศทางที่ว่า เช่น เรามาจนได้นี่ เราเจริญนะ เรามาอยู่ ในกรอบ ในหลักของที่นี่ อย่างคนที่จนได้แล้ว ไม่ต้องมีข้อกำหนด มีศีลให้ทำแล้ว จนได้แล้ว คนๆนี้ ก็อยู่กับใคร ที่ไหนก็ได้ มีสัปปุริสธรรม ๗ มหาปเทส ๔ ได้แล้ว มีศรัทธา มาอยู่ที่นี่ เขากินเช่นนี้ ทำงานเช่นนี้ ทำงานแล้ว ไม่ได้เงินได้ทองนะ ทำได้ดี ไม่ค่อยชมด้วย แต่ทำเสียนี่ รับรองโดนทันที อย่างนี้เราเอา มันเป็นทรัพย์

อาริยทรัพย์ ๗
๑.      ศรัทธา
๒.     ศีล
๓.     หิริ (ละลายต่อบาป) .
๔.     โอตตัปปะ (สะดุ้งกลัวต่อบาป)
๕.     สุตะ, พาหุสัจจะ  (รู้ธรรมที่แทงตลอดได้มาก)
๖.      จาคะ (การสละ ให้ - บริจาค  เอาออก) . .
๗.     ปัญญา (ธนสูตร พตปฎ. เล่ม ๒๓ ข้อ ๖)

ที่สุดแล้ว อยู่อย่างมีแต่ปัญญา ไม่มีปัญหา  อาตมาว่า อาตมาไม่มีปัญหา อาตมามีแต่ปัญญา เขาก็ว่า อาตมาเล่นลิ้น แต่อาตมาพูดจริง ไม่เห็นมีอะไร มีปัญหาเลย บางอย่า งมันทำไม่ได้ ก็ไม่ใช่ปัญหานะ เขาก็มีปัญญากันนะ แต่เขา ทำไม่ได้ สังคมเดือดร้อน เพราะต่างคน ต่างไม่ซื่อสัตย์ โกง คอรัปชั่น จะจัดการ แต่เขาทำไม่ได้ เขาไม่มีปัญหาหรอก แต่เขาทำไม่ได้ เขามีปัญญาอยู่

หากปัญหามีมาก เราก็ต้องกำจัด ออกจากตัวเรา กลุ่มเราก่อน แล้วก็ช่วยข้างนอก เท่าที่เราจะทำได้ ไม่ได้ดูดาย ในประเทศเราก็ช่วย แต่ต่างประเทศ แม้เดือดร้อนมากกว่าเรา เราก็ไปช่วยไม่ได้ แต่ถ้าเราสามารถ ที่จะมีอำนาจ หน้าที่สิทธิทำได้ เช่นเราไปอยู่ ระดับบริหาร รับผิดชอบประเทศ จนกระทั่ง เราสามารถ ทำให้ประเทศ ช่วยตนเอง พึ่งตนเองได้รอด เหมือนชาวอโศกนี่ การพึ่งตนเองรอด คือ เราไม่ขาดแคลน ในความเป็นอยู่

ต่อไป ถ้าเราได้รับความยอมรับ ยกให้เราไปทำต่อ สังคมวงกว้าง เราก็เชื่อว่า ระบบวิธี ที่เราจะเอาไปช่วยเขา ก็จะเชื่อว่าดี แต่ทุกวันนี้ เขาไม่เชื่อ หรือหลายคน มีอัตตา จะถูกให้ลดอัตตา ก็ไม่ยอม เราก็ทำไปตามลำดับ เราไม่บังคับใจใคร แม้ในอนาคต ถ้าสังคมระดับสูง ให้เราไปทำงานบริหาร จัดการประเทศ คนก็ต้องยอมรับแล้ว เราไม่ต้อง รบราฆ่าฟันเลย ไม่ต้องบีบบังคับ ให้ใครมาจน อย่างพวกคุณนี่ ไม่ได้บังคับ พวกคุณมา ตั้งใจจนเองนะ

ประเด็นนี้ไม่ควรทำ ในการบังคับคน แต่ให้ปัญญา จนเขาเต็มใจยินดี มาเป็นอย่างนี้ ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น คนเรา มีปัญญา รู้พิสูจน์ได้ แต่ข้างนอก เขามาเป็นไม่ได้ เพราะมีกิเลส หรือมีภาระมากแล้ว ก็เลยมาไม่ได้ แม้เห็นดีแล้ว ก็ตาม เมืองนอกเขาฆ่ากัน เป็นเบือนะ แต่เมืองไทย ก็ไม่แล้ว เหลือแต่แรงเฉื่อย ที่ยังมีเลวอยู่ ก็ฝากคสช. กวาดล้างเสียที

ต่อไปเป็นการตอบประเด็น
- รู้ได้อย่างไรว่า บุญ มีจริง บุญคือ การชำระกิเลสจากจิตใจ
ตอบ... บุญคือเครื่องชำระกิเลส รู้ได้อย่างไร ว่ามีจริง ก็ตัวใครก็ตัวใคร ต้องรู้ว่ากิเลส เป็นอย่างไร ไม่มีที่อยู่ แต่อยู่ในร่างกายเรา นี่แหละ มันมีจิตอยู่ ที่เป็นประสาท รับรู้ได้หมด มันอยู่ได้หมด หรือว่านึกไปก็ได้ อยู่ตรงไหนก็ได้ คือจิตเรา แล้วจิตเรา มีความเห็นแก่ตัว คือกิเลส อยากได้ตั้งแต่ของหยาบๆ อยากได้ ก็ไปแย่งเขาเอา เมื่อเราเห็นกิเลสตัวนี้ ก็อ่านออก แล้วเราก็ประพฤติให้กิเลส มันแรงขนาดไหนก็ตาม มันเกิดที่เรา จนเราเกิดปัญญา ว่ามันเป็นโทษ เราไปแย่งเขาก็เดือดร้อน ถ้าอยากได้ ก็สร้างเองสิ ได้แล้ว เราก็อาศัยใช้มัน ไม่ได้เบียดเบียนใคร แล้วอยากได้เราก็สร้าง แล้วก็มี แต่ถ้าเราสร้างมา แล้วเราหวงแหน ก็เป็นกิเลส แต่ถ้าเราเผื่อแผ่คนอื่น ก็เป็นความดีงาม อาการจิต ที่เราจะไปเอา ไปแย่งของคนอื่นนี่ เราไม่ทำอีก มันพาเดือดร้อน ตัวความฉลาดปัญญานี้ ที่ทำให้เราไม่ทำชั่ว กิเลสเราลดได้ นั่นคือบุญ จนมันไม่มี ไม่เกิดในใจได้ ก็คือ เป็นบุญ ต้องปฏิบัติสิ ถึงรู้ว่า บุญคืออย่างไร?

ชีวิตคนมีแต่หวงแหน เอามาเป็นของตน หลักการของพระพุทธเจ้า จึงให้เป็นผู้ให้ ให้ได้ ถ้าสร้างจิต ให้มีจิต เป็นผู้ให้ อย่างเห็นดีเห็นงาม ยินดี ได้จาคะ บริจาคแก่ผู้อื่นจริงๆ ก็เป็นผลสำเร็จของความเป็นคน เพราะคนที่ให้ คนอื่น สังคมจะเลี้ยงไว้ ไม่อยากให้ตาย เป็นผู้ทำงานให้กับคนอื่น มีชีวิตเป็นผู้ให้ ก็คือสุดยอดแล้ว

-ถ้ามีคนมาพูดหมิ่นเกียรติเรา มันทำให้เรารู้สึกแค้น ทำอย่างไรให้หายแค้น
ตอบ... เกียรติ มันเป็นตัวอย่างไรน๊อ...หลวงปู่คิดยาก ว่าเกียรติที่ว่านี้ ขนาดไหนอย่างไร? โดยความจริงแล้ว คนเรา ไปยึดถือ คำว่าเกียรตินี่ ข้า ใครอย่าแตะ ใครอย่ามาหมิ่นดูถูก ตั้งแต่ เหยียดว่า ไม่สวย หรือขี้เกียจ แม้เราขี้เกียจจริง แต่ไม่ได้ เรายึดถือ ถ้าสิ่งที่เรายึดถือ เป็นสิ่งดี ถือเป็นเกียรติ แล้วคนถือเกียรติ คนไปว่าก็ไม่ได้ ก็ยึดถือ ถ้าเราดี คนมาลบหลู่เกียรติ เราดี ๑๐๐ แต่เขาว่าเราดี ๕๐ ถ้าเราทำดีได้ ๑๐๐ จริง แต่เขาก็ว่า เรามี ๕๐ มันลบหลู่เรา ก็ไม่ได้ถือสา แต่ถ้าเราทำได้ไม่ถึง ๑๐๐ แต่เรานึกไปเองว่า เราได้ ๑๐๐ แต่คนเขาก็บอกว่า เอ็งดีแค่ ๕๐ ที่จริง เรายังดีได้ไม่เท่า เขาว่าด้วย เขาลบหลู่นี้ถูกแล้ว แต่เราโง่หลงเอง สรุป แม้เราจะมีคุณค่า มีเกียรติ เป็นได้เป็นจริง ก็ถือว่า ไม่มีใครมาลบหลู่ เกียรติเราได้ เราไม่ต้องไปถือ ศักดิ์ศรีหรอก ถือแล้ว จะทะเลาะกัน ใครมาว่าผิดลดจากจริง เราก็จะว่าเขา ดีไม่ดี เราหลงผิด ไม่ได้ดีถึง ๑๐๐ เขามาว่า ถูกด้วยนะ เรามีเกียรติแค่ ๕๐ แต่เราหลงว่า ตนมี ๑๐๐ แต่เขาก็ว่า เราดีแค่ ๖๐ แต่เราหลงว่า เรามีร้อย ก็โกรธ เราไปหลงว่าเรามี ๑๐๐ แล้วเขาว่า เรามี ๖๐ แต่ที่จริง เรามีแค่ ๕๐ เท่านั้น

สรุปว่า เราก็ทำดีให้ได้ หรือได้มากกว่าเดิม ก็ทำไป เขาจะว่าอย่างไร ก็แล้วแต่ อย่าถือเกียรติเลย เกียรติคือคุณค่า คือสิ่งที่ดีงามของเรา ถ้าไปว่าศักดิ์ศรี ตนเองยังไม่รู้เลย ว่าคืออะไร? สมมุติง่ายๆ เขามาหลู่ ศักดิ์ศรีเรา เช่นเขาว่า ไอ้ชาติหมา แล้วก็ถือว่า เขาลบหลู่เกียรติเรา เราไม่ใช่หมานะ เราไม่ได้เป็นหมา รูปร่างเราก็เป็นคน แต่นิสัยเรา เลวเท่าหมา เขาว่าเราเป็นหมา น่ะถูกแล้ว แต่เราหยิ่ง ว่าเราเป็นคน แล้วไม่รู้ตนเอง นึกว่าตนเอง มีเกียรติเป็นคน แต่แท้จริง ตนเองเลวเท่าหมาบางคน เลวกว่าหมาอีก มีไหมในสังคม รูปร่างมันไม่ใช่หรอก แต่เขาด่าว่า ชาติหมา นี่เขาไม่ได้ลบหลู่ เพราะถ้ามันเลวกว่าหมาอีก หรือเลวเท่าหมา

สรุป แล้วคนมา ลบหลู่เกียรติเรา ก็อย่าถือสา ถ้าเรายังทำ คุณงามความดี อันเป็นเกียรติ ไม่มีใครมาลบหลู่ เกียรติเราได้

- ถ้ามีคนฆ่าตัวตายเพราะเรา เราจะบาปไหม?
ตอบ... บาปสิ เพราะเราไปเบียดเบียน ให้เขาฆ่าตัวตาย ที่ว่าบาป เป็นเรื่องเวรภัย ผูกพัน เป็นกรรม ที่เราเป็นเหตุ ทำให้เขาตาย ถ้าเราไม่รู้ ไม่ตั้งใจ แต่คนนั้น เขายึดเอง ก็เป็นเรื่องของเขา เขามาผูกพัน คนที่เขาฆ่าตัวตาย จากคนนั้นเป็นเหตุ เขาก็ไม่ได้ทำอะไร แต่คนฆ่าตัวตาย ไปคิดเองแล้วตนเอง ก็เป็นภัยว่า เพราะคนๆนี้แหละ เขาไม่ได้สมใจ แล้วฆ่าตัวตาย อารมณ์นี้ มันผูกพันยึดติด อยากแก้แค้น เป็นเวรภัย ก็เป็นได้

-