580206_สรรค่าสร้างคน (๒๖)
ทฤษฎีงาน ๑๙ ข้อให้รอพิสูจน์

พ่อครูว่า... วันนี้วันศุกร์ที่ ๖ ก.พ. ๕๘ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๓ วันนี้สรรค่าสร้างคน เราสร้างคน ให้เป็นคนดี เป็นคนอาริยะ ในรายการก่อนหน้านี้ อาตมาก็เอาคำว่า อาริยะคืออะไร มาขยายความ ไปก่อนหน้านี้แล้ว เรื่องสำคัญคือ เรื่องสร้างคน ให้เจริญอย่างเดียว ยิ่งเข้าใกล้กลียุค ยิ่งจำเป็น ให้คนได้ศึกษาฝึกฝน เพื่อตนจะได้ เป็นอาริยะ เป็นคนดี คนประเสริฐ ถ้าบ้านเมือง มีแต่คนดี จะไปได้ดีทั้งนั้น

พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ศึกษาเรื่องอะไร ท่านศึกษาเรื่องคน เรื่องสังคมคน นี่คือเรื่องหลัก แล้วคนก็ไปเกี่ยวข้อง กับสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ไฟ ลม และทุกอย่าง แม้แต่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมสัตว์โลก มนุษย์ มนุษย์จะต้องรู้ถึง จิต มโน วิญญาณ สามคำนี้ เป็นคำหลัก

ถ้าคนดีแล้ว ก็จะมาทำงาน ถ้าคนดีจะทำงานได้ดี สำคัญที่คน ไม่ต้องคำนึงถึงอื่นเลย อาตมาก็เคยเอา ทฤษฎีงาน มาอธิบาย ในหลวงตรัสไว้ ใน ๔ พ.ย. ๒๕๑๘ ว่า “เมื่อจะทำงาน อย่าหยิบยก เอาความขาดแคลน เป็นข้ออ้าง จงทำงาน ท่ามกลางความขาดแคลน ให้บรรุผล จงทำงาน ด้วยความเต็มใจ และซื่อสัตย์”

ไม่ว่า จะขาดแคลนทุน ที่เขามักอ้างกัน ขาดแรงงาน ขาดแคลนที่ดิน ขาดแคลนต่างๆนานา ไปโทษอันอื่น หมดเลย ซึ่งมันไม่มีความจำเป็นอะไร อาตมาว่า เราศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าแล้ว เราเป็นคนอาริยะ ทวนกระแสโลกเลย เรามามุ่งเอา แบบคนจน ที่ในหลวงตรัสไว้ แบบคนจน ที่คนสามัญฟังแล้ว ก็คิดไม่ถึงหรอก

ท่านเป็นพระมหากษัตริย์นะ ตรัสแล้ว เป็นคำที่ยิ่งใหญ่นะ ถ้าสามารถทำ แบบคนจน สำเร็จ แล้วเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ก็ตรัส เขาก็เฉโกว่า คนรวยก็พอเพียงได้ ผู้พูดเช่นนี้ เป็นคนใหญ่โตด้วย และข้อสำคัญ อาตมาพูด บรรยายแล้ว คนก็เข้าใจกันน้อย มาเป็นคนจนร่วมกัน มีชีวิตทำงานร่วมกัน เราพูดอย่างไร ก็ทำได้อย่างนั้น แบบคนจน แล้วเราทำได้จริง แล้วแบบคนจน ก็มีประสิทธิภาพด้วย อย่างเราสร้าง พืชผักไร้สารพิษ ให้มีคุณภาพดี สร้างแล้วเผื่อแผ่ ให้คนอื่นได้  แต่ไม่ได้แพร่หลาย แบบพวกทุนนิยม ที่เอานิสัยไม่ดีมาใช้ ทฤษฎีไม่ดี มาใช้กับสังคม เราต้องเอา ทฤษฎีบุญนิยม มาเป็นคนจน แบบเศรษฐกิจพอเพียง หรือ ขาดทุนของเรา คือกำไรของเรา

ทฤษฎีงาน ๑๙ ข้อ
ข้อ ๑ถึง ๓ คือทุนแท้
๑. มีคนที่ดี 
๒.มีงานที่ดี  
๓.ความรู้ความสามารถที่ดี 
นี่คือทุนแท้

๔.เวลา โอกาส เราต้องดู กาลัญญุตา อันควร ถ้าทำผิดกาละ ก็พังได้ง่ายๆ
๕.ทุนที่เหมาะควร เป็นวัตถุ
เป็นทุนแถม

๖.สุขภาพร่าง กายกำลังกายดี
๗.มีความขยัน อุตสาหบากบั่น
เป็นทุนเสริม

๘.มีหลักเกณฑ์ มีระเบียบ มีเป้าหมาย
๙.มีการจัดสรรและจัดโครงการ
๑๐.มีการแบ่งงาน และ ประสานเนื่องหนุน

๑๑. มีกระจิตกระใจใส่ใจขวนขวายไม่ดูดาย
๑๒. มีการปรับใจกันให้เกิดความเข้าใจกันเสมอ
๑๓ . มีการปฏิบัต ิขัดเกลากิเลสเสมอ คือ ตำหนิติติงกัน พยายามมีศิลปะ ให้อีกคน เขาเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม กาย วาจา ใจ
๑๔. มีความเห็นดี ยินดี จะมีความเข้าใจว่า ดีอย่างไร
๑๕. มีความเห็นจริง ซาบซึ้งเชื่อมั่น
๑๖. มีสติ ปฏิภาณ ปัญญา
๑๗. มีฌาน สมาธิ อุเบกขา 
๑๘. มีความเสียสละแท้
๑๙. มีพลังเป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกัน (เอกีภาวะ ที่มีวิมุติเป็นพลัง)

มีการขัดกันบ้างในตัว แต่รวมแล้ว เป็นตัวเสริมให้เจริญ ไม่ได้ขัดแตก ขัดแยก แต่ขัดเพื่อเจริญ เป็นปฏิกิริยาซ้อน ทั้งวัตถุ และพลังงาน ทั้งนอกและใน

มีความเป็นเอกีภาวะ สามัคคียะ ความสามัคคี คือความขัดแย้ง อันพอเหมาะ อย่างชาวอโศกน ี่เป็นพลังรวม ของสังคม เป็นแบบคนจน ไม่กักตุน

ทฤษฎีงาน ๑๙ ข้อ เป็นทฤษฎี ที่รอการพิสูจน์ เท่าที่อาตมา ทำงานมา ก็เกิดผลได้อย่างที่ เป็นจริงปัจจุบันนี้ อาตมาเขียนไว้ นานแล้ว ให้มาปฏิบัติ ให้ลึกซึ้ง เป็นจริง ยืนยันว่าดีจริง ยั่งยืนถาวรไหม แล้วดีจริงที่ว่านี้ ดีอย่างไร

ดีจริงก็ดีเพราะ คนเป็นอาริยะ คือคนดี คนเจริญ คนประเสริฐ ที่ต่างจาก อารยะหรืออริยะ ประเทศไหนๆ เขาก็สร้างคน ให้เป็นอารยะกัน หรือบางที่ ก็ให้เป็นอริยะ

เราก็เห็นว่า อารยะที่เจริญกันนี้ เจริญแต่ทางวัตถุ มอมเมาในโลกธรรม เขาก็ก้าวหน้ามาก เช่น เขามีความสุข กับกามคุณ ๕ จัดจ้านมาก แล้วเจริญกันด้วยอัตตา อัตตาใหญ่สูง ซ่อนเร้น พยายามสร้างอัตตา ไม่ให้คนจับได้ เป็นมโนมยอัตตา เขาไม่รู้ตัว ว่าเขาสร้าง เขาเป็นมนุษย์ pretender อาตมาแปลว่า จอมโจรบัณฑิต พูดง่ายคือ โจรใส่เสื้อนอก สำนวนไทยๆนะ ดูเป็นคนชั้นสูง มีวาสนาบารมี ไปไหนใส่เสื้อนอก

พวกอริยะ บางพวก เขาก็มักน้อยมาก ไม่นุ่งห่ม เสื้อผ้าเลยก็มี มีชีวิตพยายาม ไม่เบียดเบียนใครเลย มีบาตรใบเดียว บิณฑบาต ได้แค่บาตรเดียว พอกินพอใช้ แค่นั้น เขามักน้อยได้จริง แล้วอดทน จะหนาวเย็น หรือที่พักแดดร้อน ฝนตก เขาไม่กลัวเลย อยู่ป่าเขาถ้ำได้ เขามักน้อย จริงๆเลย คุณสมบัติมักน้อยนี้ เห็นได้ แต่เขาสุดโต่ง ไม่เกิดประโยชน์สูง แม้จะประหยัดสุด ได้ก็ตาม สู้สัตว์เดรัจฉาน ไม่ได้เลย ยังมีประโยชน์บ้าง เขาไม่ผิด แต่ไม่สมบูรณ์ แต่ของพุทธนี้ พิสูจน์เลย ว่ามีไม่หนี สร้างด้วย แล้วไม่หวงแหน ให้คนอื่นจริง จิตไม่เอา เหมือนกันเลย แต่มีปัญญาเข้าใจ ความมักน้อย ไม่เอา จิตกล้าให ้แล้วรู้ว่า จิตเราไม่ต้องการ เอาเป็นเรา เป็นของเรา พระพุทธเจ้า ให้ศึกษา อัตตา อัตตนียา จริง แล้วจิตก็ ไม่มีความต้องการ อยากได้มาเป็นเรา เป็นของเราจริง มีพอกิน เหลือกินเหลือใช้ แจกจ่าย มีประโยชน์สูง ประหยัดสุด สุดยอดเลย เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ ไม่สุดโต่ง

พระพุทธเจ้าเรียนรู้ว่า มีสุดโต่งสองด้าน คือด้านโลกีย์ กับด้านอาตมัน หรืออัตตา พวกมักน้อยสุดโต่ง คือ เห็นแก่ตัว เต็มบ้องเลย จะเอาคุณภาพ คุณลักษณะว่า มักน้อยอย่างเดียว มาเป็นข้อยืนยัน อาริยะ หรือโลกุตระ ไม่ได้ เอาแค่ความมักน้อย มิติเดียว ที่ไม่เกี่ยวกับ มิติทางจิต ซึ่งทางที่เขา มักน้อยมากๆ เขามีมิต ิทางจิตนะ แต่ไม่มีทฤษฎี แบบพระพุทธเจ้า เขาเห็นว่า น้อยลงนี่ดี แต่ไม่คำนึงถึง มนุษยชาติ เขาหนีโลก เป็นทฤษฎีโลกันต์ คือหนีโลก คำว่าโลกันต์ คือนรก ความคิดที่เสื่อมต่ำที่สุด หรือ อบายนั่นเอง ของพุทธ มีแล้วไม่ติดยึด แจกจ่ายให้เขา ช่วยเขา นี่คือ ยิ่งใหญ่กว่าไม่มีเลย แบบนั้น

หวังอยู่ว่า ในโลกที่มีปัญญากัน ก็ยังมีอาริยบุคคลได้ ที่อยู่กับสังคมโลก แต่อยู่เหนือโลกได้ ไม่ใช่เป็นพวก หนีโลก หรือ พวกที่โลกีย์ จมอยู่ในโลกีย์ ไม่ได้ลดละ กิเลสเลย ส่วนอาริยบุคคล ของพระพุทธเจ้านั้น สามารถอยู่กับ สังคมที่มี ลาภ ยศ สรรเสริญโลกียสุข มีกาม มีอัตตาได้ อย่างปกติ ไม่ติด แล้วใช้สิ่งที่มนุษย์ เขาพึงมีกัน ไม่ว่าจะเป็น กาม หรือโลกธรรม หรืออัตตา นี่เราได้พิสูจน์เรียนรู้ จิตที่มันหลงติด จนทำให้ ไม่ยึดติดเลย สมบูรณ์แบบ ให้จิตเป็นกลาง คือมัชฌิมา จากเดิม ที่โน้มเอนไปทางกาม วัตถุสมบัติโลก กับฝ่ายอัตตา หรือ เขาแยกเป็น จิตนิยม กับวัตถุนิยม แต่รู้จักวัตถุ รู้จักจิต แล้วสร้างสรร วัตถุและจิต อยู่กับสังคม อย่างพอดี มีโลกวิทู มีจิตเหนือโลก เหนือสังคม มีประโยชน์คุณค่า ต่อสังคม โลกานุกัมปายะ อย่างแท้จริง

การเรียนรู้เรื่องกาม แล้วหลงว่าเป็นสุข มันคือสุขเท็จ ถ้าเรียนรู้สุขเท็จ ให้หมด เหลือแต่ความลำบาก เป็นอัตกิลมถะ อย่างอนาคามี พ้นกาม แล้วอยู่กับโลกธรรม อย่างได้ไม่แย่งชิง มีวรรณะ ๙ มีสาราณียธรรม ๖ มีพุทธพจน์ ๘  แต่ทุกวันน ี้คำว่า มัชฌิมาปฏิปทา เขาก็แปลเพี้ยนไป เขาแปลว่า ทางสายกลาง มันไม่ผิด แต่ผิดที่ เอาคำว่าทาง ไปใส่ แต่ถ้าแปลว่า ทางไปสู่ความเป็นกลาง นี่ถูก คือมีข้อปฏิบัติ ให้จิตเป็นกลาง ไม่โต่งไปทางไหน ที่เป็นอันตา (ส่วนเกิน) เอียงไปทางไหน ก็มีเศษ จนมันไม่เหลือเลย จิตเป็นกลาง จะอยู่กับทั้ง กามและอัตตา ได้อย่าง ไม่เสพติด ไม่มีความอยากได้ มาเป็นตน เป็นของตน เหลือแต่รูป นามขันธ์ ๕ ที่สะอาดจาก กามโลก เหลือแต่จิต ที่เป็นรูปภพ อรูปภพ แล้วจะรู้ว่า ลำบากเป็นภาระ ภาราหเว ปัญจขันธา เป็นเศษเหลือส่วนตัว แต่ท่านอยู่กับสังคม จะไม่มีพฤติกรรม ทำร้ายสังคม ไม่แย่งไม่ชิง เป็นอนาคามี มีประโยชน์ รับใช้สังคม คนอย่างนี้ ให้เป็นนักการเมือง นักธุรกิจได้ มีกิจการทรัพย์สิน มากมายได้ แต่จิตใจ ไม่ยึดติด เอาไปทำงานต่อ ช่วยสังคมได้

อย่างพล.อ.ประยุทธ อาตมาเห็นว่า แสดงออกได้ อย่างสมสัดส่วน สมสมัยนะ ทั้งกายวิญญัติ วจีวิญญัติ ท่าทีลีลา สุ้มเสียงสำเนียง การแสดงออก ซึ่งมาจากจิต เป็นประธาน แล้วมี สัปปุริสธรรม จัดสรร ซึ่งมี มหาปเทส ๔ อีก มหาปเทส นี่เหนือกว่า สัปปุริสธรรม ๗ อีก เราตรวจสอบ แล้วไม่มีทั้ง สิ่งที่พระพุทธเจ้า อนุญาตหรือห้าม เช่น พระพุทธเจ้า ไม่มีคำว่าการเมือง เราก็ต้อง ใช้วิจารณญาณ

สรุปว่า สรรค่าสร้างคน ให้มีประโยชน์คุณค่า ไม่โต่งเกินไป ในทางมักน้อยเกิน อาตมาเห็นว่า ทฤษฎีพระพุทธเจ้า สมบูรณ์แบบสุด ไม่ว่าจะทฤษฎีไหนๆ เท่าที่อาตมา มีภูมิปัญญารู้

มีคนให้ข้อมูลมาว่า
เงิน ซื้อบ้านได้ แต่ซื้อ ความอบอุ่นไม่ได้
เงิน ซื้อเตียงได้ แต่ซื้อ การนอนหลับไม่ได้
เงิน ซื้อยาได้ แต่ซื้อ สุขภาพไม่ได้
เงิน ซื้อหนังสือได้ แต่ซื้อ ความรู้ไม่ได้
เงิน ซื้อตำแหน่งได้ แต่ซื้อ ความนับถือไม่ได้
เงิน ซื้อSEXได้ แต่ซื้อ ความรักไม่ได้
เงิน ซื้อกระดาษปากกาได้ แต่ซื้อ ความเป็นกวีไม่ได้
เงิน ซื้ออาหารดีๆได้ แต่ซื้อ ความอยากรับทานไม่ได้
เงิน ซื้อความประจบสอพลอได้ แต่ซื้อ ความจริงใจไม่ได้
เงิน ซื้อการตามใจได้ แต่ซื้อ ความจงรักภักดีไม่ได้
เงิน ซื้อเพชรนิลจิลดาได้ แต่ซื้อความงามไม่ได้
เงิน ซื้อความสนุกชั่วครู่ได้ แต่ซื้อ ความสุขไม่ได้
เงิน ซื้อเพื่อนร่วมเดินทางได้ แต่ซื้อ เพื่อนแท้ไม่ได้
เงิน ซื้ออำนาจราชศักดิ์ได้ แต่ซื้อ ปัญญาไม่ได้
เงิน ซื้ออาวุธยุทธภัณฑ์ได้ แต่ซื้อ สันติสุขไม่ได้
เงิน ซื้อเมียที่สวยได้ แต่ซื้อ แม่ที่ดีให้ลูกไม่ได้.
เงิน ซื้อของทำทานได้ แต่ซื้อ บุญไม่ได้

พ่อครูว่าอันนี้ดี หรือ “เงินทำทานได้ แต่ซื้อบุญไม่ได้” ก็จะสั้นกว่า

ต่อไปเป็นการตอบประเด็น
_การที่เราจะบอกตำหนิแล้วเขาไม่ชอบใจ เราจะบอกดีหรือไม่ ? ถ้าจะไม่บอกเลยจะดีไหม?
ตอบ.. .ผลเสียคือ คุณอยากพูดอยากบอก แต่ไม่พูด เช่นถ้าเห็นว่า อันนี้ไม่ดี จะเสียหายมาก หากไม่บอก ก็เสียแน่ เราจริงใจ เห็นว่าอันนี้จะเสีย ก็ต้องห้าม ต้องบอก การไม่แสดงออก มีผลเสียแน่ ก็ต้องประมาณ ตามควร ศาสนาพระพุทธเจ้า ให้รีบบอก รีบตำหนิ บางทีเลย เหมือนด่า เช่น แม่จะห้ามลูก ไม่ให้ทำอะไร ด่วนๆก็เลย เหมือนคำ ตะหวาด พระพุทธเจ้า สอนให้ตำหนิได้ นิคคัณเห นิคหารหัง ไม่ใช่ว่า ไม่ดูดำดูดี ศาสนาพุทธ ไม่เอียงโต่ง ไปทางใดเลย พระพุทธเจ้าบอกว่า สิ่งที่จะเจริญ เป็นการให้ เป็นสังคหะ พระพุทธเจ้าว่า ทานบารมี นี่สุดยอดเลย ทานบารมี ในบารมี ๑๐ ทัศ เป็นข้อที่ยิ่งใหญ่ ของมนุษย์ ชีวิตนี้เราเป็นทาน ให้แก่มนุษยชาติเลย แล้วทานให้มีปัญญาด้วย การตำหนิ คือทานชนิดหนึ่ง ต้องการให้เขาดี ก็ต้องศึกษาศิลปะ ทุกวันนี้ โลกมีความผิด มากกว่าถูก จึงต้องตำหนิ มากกว่าชมเชยด้วย

_การที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์ได ้ต้องมีศีล ๕ ให้ครบใช่ไหม? แต่ทำไมมนุษย์ จึงเกิดมามากมาย จะล้นโลกแล้ว สัตว์ก็ลด จำนวนลงเรื่อยๆ
ตอบ... มนุษย์นี่จะเป็นได้ ก็เอาที่ใจสูงเป็นที่ตั้ง ไม่ได้เอาที่ว่า มีร่างเนื้อครบ ๓๒ ก็เป็นมนุษย์  เพราะสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เขาว่ามีใจสูง ก็คือ มนุสโส ก็เอาศีล ๕ เป็นเครื่องวัดที่ใจ ว่า ๑ ศีล ๕ ใจเขาไม่ต้องการ ทำร้ายสัตว์ ฆ่าสัตว์จริง และ เขาไม่ได้อยากได้ ของคนอื่น ที่ไม่ใช่ของตนจริง และสาม เรื่องเพศ เขาไม่นอกใจคู่คน ไม่ต้องพูดถึง นอกกายเลย หรือ กามคุณ ๕ ไม่จัดจ้าน เทียบเคียงเอาเองนะ ไม่พูดปด ไม่ติดอบายมุข

จิตมันไม่มีอาการ อยากทำร้าย หรือฆ่าเขาเลย แม้เขาทำร้ายเรา เรายังไม่ตอบโต้เลย หรือโสดาบัน อาจป้องกันตัว แต่ไม่แรง ราคะก็แค่นั้น กามก็แค่นั้น ซื่อสัตย์ ไม่พูดปด อบายมุขไม่เอาแล้ว มีปัญญารู้ว่า นี่คืออบาย จิตคนนี้คือ มนุสโส แต่ภาพที่เราเห็น ตอนโหวตโน ภาพนี้ สื่อความเป็นสัตว์ ในร่างคน

คนที่เกิดมา ได้ร่างกาย ไม่ได้หมายความว่า มนุษย์มาเกิด แต่อาศัยร่างนี้ ที่เป็นคน แต่ใจเลวกว่า เดรัจฉานอีก เยอะในยุคนี้ มีเยอะ จะเอาหมายที่ร่างนี้ มาตัดสิน ความเป็นมนุษย์ไม่ได้

_ดิฉันเคยได้ยินพวกเราบางคน เปรยๆว่า “เงินเดือน ๐ บาท จะทำอะไร มากมายนัก” อันนี้เขาจะพูดเล่น หรือว่าพูดจริง ก็ไม่รู้นะ องค์กรเรา จะเร่งรีบมากไปไหน ถ้าจิตเช่นนี้ จะหนักเหนื่อยไหม?
ตอบ... ก็หมายความว่า จิตของเรา ให้ระวังว่า บางอย่างไม่ควรพูด ทักท้วงออกไป เช่น เขาพูดว่า ทำงานเงินเดือน ๐ บาท จะทำอะไรนักหนา เราได้ฟัง ก็คิดว่า อยากจะบอกเขา อยากอวดของดีเขา อันนี้เป็น สาเฐยจิต เราก็ประมาณดูว่า น่าบอกไหม ควรไหม ในเวลานี้ ถ้าควรก็บอก ถ้าไม่ควร ก็อย่าทำ การที่แค่ว่า มันน่าบอกเขา จะบอกว่าอยาก เสียทีเดียว ก็ไม่ใช่ แต่ที่คุณ ไม่พูดออกไปนี่ ก็ดีแล้ว