580210 พุทธชีวศิลป์(๒๗) อาริยะ คืออะไร ตอน ๑ |
พ่อครูว่า... ชาวพุทธที่มุ่งมั่น เข้าหานิพพาน ไม่น่าจะเป็นเช่น ที่เขาเป็นอยู่กัน ทุกวันนี้ หลงทางกันอย่าง หนักหนาสาหัส จนบัดนี้ อาตมาเอาคำว่า กาย และคำว่า บุญ มาเปิดเผย แค่สองคำนี้ เขาก็ไกลนิพพาน ปฏิบัติผิดๆ กายคตาสติ ก็ไปศึกษา แค่ร่างเนื้อ ก้าวหนอ ย่างหนอ ก็ไม่เกิดวิปัสสนา มีแต่ได้เจโตสมถะ ไม่ไปไหน เสียที อีกพวก หลงหลับตาสมาธิ ว่าจิตเป็นฌาน แล้วยกจิต ขึ้นสู่วิปัสสนา มันจะไปเห็นอะไร เพราะหลับตา ไม่มีวิโมกข์ ๘ ข้อแรกเลยก็ไม่มี รูปีรูปานิ ปัสสติ
วันนี้อาตมาได้พยายามร่าง ความเป็นอาริยะของพุทธ
อาริยะของพุทธ
๏ อาริยะ คืออะไร?
อาริยะ คือ ความดีความเจริญ ของคนอีกแบบหนึ่ง ที่เรียกว่า "อาริยะ"ในคน ผู้เกิดคุณสมบัติ ที่ถึงขั้น อุตตริมนุสสธรรม ที่เป็นความดีงาม ขั้นพิเศษกว่าปุถุชน ปุถุชนอาจเสแสร้งได้ แต่ไม่นาน เพราะไม่มีลักษณะ นิจจัง ธุวัง สัสสตัง ไม่จริงเป็นไปไม่ได้ วกวนกลับ
ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น ลาดลุ่มเหมือนฝั่งทะเล ไม่โกรกชัน เหมือนหุบเหว แล้วมีลำดับ เบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย คำนี้ลึกซึ้งนะ
อุตริมนุสธรรม นั้นประเด็นหลักคือไม่เห็นแก่ตัว เพราะปฏิบัติให้ความเห็นแก่ตัว ลดน้อยลงไปตามลำดับ เป็นเรื่องลึกซึ้งที่ไม่ง่าย ว่าเราเห็นแก่ตัว อาตมาเชื่อว่า พวกเราพอรู้ แม้ไม่ง่าย ตรวจดูดีๆ ว่าวันๆหนึ่ง ความเห็นแก่ตัวเราขึ้น ไม่รู้กี่ที ผู้ที่สามารถปฏิบัติ ลดความเห็นแก่ตัว จนหมด ความเห็นแก่ตัวเลย ก็คืออรหันต์ แล้วฆราวาส นี่แหละ จะเป็นอรหันต์ได้ มีจำนวนมากกว่านักบวช แล้วดูได้ยากด้วย ใครจะว่าท่าน เหยียดหยามท่าน ท่านก็ไม่สะดุ้งสะเทือน อย่างพวกเรา แม้ไม่ถึงอรหันต์ เขาก็ข้ามหัวไปมา อย่างอาตมานี่
แม้คนในสังคมปัจจุบัน ก็บรรลุพุทธธรรมได้ ไม่จำเป็นต้องมา เข้าวัดด้วย แต่ไม่ใช่ ให้หนี ออกข้างนอกหมด เพราะมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี จะสมบูรณ์แบบ กว่านะ
ยิ่งเป็นนักบวชนี่ มีอภิสิทธิ์หลายอย่าง พระพุทธเจ้าว่า บริสุทธิ์ดุจสังข์ขัด ต้องมา โภคักขันธัง ปหายะ ญาติปริวัฎฎัง ปหายะ ถ้าใจยินดีเลย มาถึงก็เข้าหลัก ตามแสงอรุณ ๗ เลย ลงมือเลย มีศีลธรรมนูญ ของนักบวช แต่ทุกวันนี้ ศาสนาพุทธ ไม่เหลือศีลกันแล้ว มีแต่พระวินัย พูดศีล ๕ ยังไม่รู้เรื่องเลย เชื่อไหมว่า พระเยอะแยะ จะรู้สึกตัวว่า โกหกไหม ท่านจะโกหกไหม วันๆหนึ่ง มันไม่ง่ายนะ จะรู้ว่าว่าโกหก หรือฆ่าสัตว์ ก็ไม่รู้สึกกันแล้ว สัตว์เล็กสัตว์น้อย หรือข้าวของ ก็ไม่รู้ว่าของใครของใครเลย ราคะนี่ ก็เสพรส ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย คิดดูสิ ว่าไม่น้อยเลย ถ้าไม่แบ่งเรียนเป็นขั้นตอน ก็ไม่ลาดลุ่ม เหมือนฝั่งทะเล ไม่เป็นลำดับขั้น ที่เราจะตัดกรอบเอา เพิ่มไตรสิกขาเอา
ในศีล ข้อ ๕ อบายมุข ท่านก็ยังไม่ค่อยรู้กันเลย ในภิกษุ ท่านอยู่ในบัลลังก ์ลาภ ยศ สรรเสริญ ท่านไม่รู้ว่า มันเป็นอบายมุขเลย ท่านแบก อุจจาสยน มหาสยนา หลงใหญ่โต หลงวิภูสนัฏฐานา เท่าไหร่ จ่ายเงินซื้อด้วย
อาริยะนี่มีในฆราวาสเยอะ อย่างโสดาบันนี่ ก็มีเยอะเลย พวกเรา หากไม่ชัดเจน ก็ปฏิบัติไป ให้ตรวจสอบ จิตของเราให้ดี โสดาบันเป็นคนเช่นไร ก็ให้ค่อย ตรวจสอบ แต่ไม่เป็นไร หากเราเป็นแล้ว ได้แล้ว อยู่กับหมู่ ก็เป็นหลักประกัน อย่างดี ถ้าไม่ถูกคนมอมเมา จูงลงต่ำ
ฆราวาสชาวอโศก กับนักบวชชาวอโศก โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี ในฆราวาส จะมีมากกว่า ในนักบวช เพราะฆราวาส เป็นคนส่วนมาก อรหันต์ก็จะมากกว่า โดยการศึกษา ให้สัมมาทิฏฐิ จัดการ สังขาร พัฒนาปรับปรุงจิต ถ้าสัมมาทิฏฐิ ก็เรียก อภิสังขาร เรียนรู้รูป ๒๘
รูป ๒๘ คือความเป็นกายที่ชัด เพราะรวมทั้ง ภายนอกและภายใน ภายในนั้น มีแต่ มนายตนะ กับ ธรรมายตนะ มีตัวตั้งไว้เป็น static พลังงานบวก คือ ธรรมายตนะ ส่วน kinetic พลังงานลบ ก็เป็น มนายตนะ สองสิ่งนี้ ก็อยู่ด้วยกันอยู่แล้ว ถ้าทำงาน สังขารร่วมกัน ก็เป็นวิญญาณขึ้นมา ผู้ใดชัดเจนเรื่องรูป ที่เป็นของหยาบ แล้วจิต เจตสิก ก็ค่อยรู้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง รู้ตัวดับ เป็นนิพพาน รู้ได้ด้วยปัญญา ความชาญฉลาด คือวิชชา ๘ ชนิดที่มี สัมมาทิฏฐิ ๑๐ นะ เป็นเรื่อง จิต(๑๒๑) เจตสิก(๘๙) รูป(๒๘) นิพพาน ถ้ารู้ได้อย่างนี้นะ เป็นอรหันต์ได้ ขอให้ได้จริง ก็แล้วกัน จึงสามารถลด ความโลภ โกรธ หลง ได้แท้ เปลี่ยนจากปุถุชน มาเป็น อาริยชน อย่างเป็นปาฏิหาริย์ ฟังๆดู เหมือนไม่น่าทึ่ง แต่คนทำได้จริง ก็น่าทึ่งมาก
ถ้าใครไม่มีบารมีเก่า คุณจะเห็นว่า มันจะลดได้ หรือมันมีอารมณ์อย่างนี้ แตะเหตุปัจจัย เมื่อไหร่ มันก็ขึ้นทันที บางทีกดข่ม จนหัวจะแตก มันก็จะลดได้ อย่างไร แต่คนมีบารมี ก็ไม่รุนแรง มีของเก่า คนมีบารมี ก็อย่าประมาทนะ ปฏิบัติให้เป็น อรหันต์ ให้ได้เลย
อาริยบุคคลของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่คนแปลกไปจากสังคม อาริยบุคคล คือคนที่ ทำงานให้สังคม มากกว่าเอาเปรียบสังคม ยิ่งเป็นอรหันต ์ยิ่งชัดเจน มีอาการ น่าเลื่อมใสจริง ถึงขั้นรับใช้สังคมอยู่ อย่างไม่น่าเชื่อ ลองมองไปที่ สังคมข้างนอก มันพอมีไหม? บางคนทำงาน สู้รับใช้สังคม เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย ก็มีอยู่ แต่เขา ไม่ค่อยชัด เท่านั้นเอง หากเขาชัดเจน เขาจะมีพลังทำงานมาก อย่างที่เราชัดว่า อันนี้เพชรพลอยนะ แต่คนไม่รู้จักเพชรพลอย แม้ได้มา ก็ไม่รู้จักรักษา เขาไม่รู้ค่า แต่ถ้ารู้ว่า นี่เพชร ใช้ให้ถูกค่า ของเพชรเลยนะ ก็ทำไปดีๆ พอถึงรอบ เปลี่ยนสถานะ เหตุปัจจัยครบนี่ critical point ก็คงเกิด แต่ถ้าไม่เกิดไว ก็สั่งสมสภาพ ไปเรื่อยๆไม่เกิดภาวะ ตื่นตูมขึ้นมา แต่ถ้าสภาวะกดดัน เช่นนี้ อย่างที่อโศกเป็น พอถึงจุด ก็ต้องระวังเลย คนจะแห่มาบ้าเลย
เมืองไทย มีความบ้านะ แม้แต่เรื่องเต้นกิน รำกินนี่ เขาก็บ้ากันแล้ว แต่ก่อนนี้ เป็นเรื่อง น่ารังเกียจนะ แต่เดี๋ยวนี้ ส่งเสริมกันนะ เมื่อก่อน ทาลิปสติกนี่ เขาว่าเป็น หญิงหากิน แต่ว่าเดี๋ยวนี้ ใครไม่ทาก็เรียกว่า ไม่มีชั้นเลย นี่เป็นเรื่อง กลับหัวเลย
อาริยบุคคลแท้นั้น ถึงขั้นไม่สะสม สิ่งที่เขามอมเมา ครอบงำความคิดกันมา ท่านก็ไม่สะสม ท่านเป็นอาริยะ ที่มีภูมิพอ มีโลกวิทู รู้ทันโลก โสดาบัน ก็รู้เท่าทันโลก ระดับโสดาบัน สกิทาฯ ก็สูงขึ้นอีก รู้ทันเพิ่มขึ้นอีก แต่เดี๋ยวนี้ เขาไม่เข้าใจกันแล้ว แม้เรื่องอบาย สมัยพระพุทธเจ้านั้น ยังไม่มีมาก เป็นยุค สมบูรณายาสิทธิราช นักการเมืองคือ ผู้ช่วยพระเจ้าอยู่หัว ไม่มีเงินเดือนแล้ว แต่ท่านให้ ก็มองไม่ออกหรอกว่า จะเป็นอบายอย่างไร แต่ทุกวันนี้ มาเป็นของ ประชาชนทั่วไป บริหารจริง ทำงานจริง ก็ราษฎรเลย จัดโครงการ เบิกเงินเอง ทำเอง จัดสรรเองเลย ไม่ผ่านในหลวง ก็เลยมีพฤติกรรม โกงกินในนั้น เป็นความเสื่อมต่ำ ที่ยิ่งกว่าอบายมุข การละเล่นพวกนี้ อย่างนักการเมือง ไปเป็นได้ ไม่เท่าไหร่ ไล่ไม่ทันหรอก คนไหน เด่นทางการเมือง แล้วเดี๋ยวนี้ อบายมุข ระดับหมื่นล้าน แสนล้านนะ เขาไม่รู้ว่า เป็นความเสื่อมต่ำ ที่เลวร้ายมาก เขาไม่เข้าใจกันว่า นี่คืออบายมุข เพราะในยุคพระพุทธเจ้า เลวไม่ถึงขนาดนี้
อาริยบุคคล แตกต่างกับ อารยบุคคล กับ อริยบุคคล ที่คนพากันยกย่อง เชิดชูกัน สังคมเขาไม่ยกย่อง อาริยบุคคลหรอก เขาไม่ค่อยรู้เรื่องกัน แต่เขาจะยก อารยบุคคล กับ อริยบุคคลกัน อาตมาไม่ได้น้อยใจ เสียใจ หรือกลัวเลย อาตมาตั้งใจ ที่จะสาธยาย ให้พวกเราได้รับผล ไปเรื่อยๆ ไม่ห่วงเลย ได้เท่าไหร่ ก็ขอให้เป็น ของจริงเลย มันจะจบเลย โสดาบันก็เที่ยงแล้ว นิยตะแล้ว ยิ่งสกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ ก็ยิ่งจริงไปเรื่อยๆ ยังไงๆ ก็ไม่เสียแรงแน่ ส่วนจะไปไกลแค่ไหน พวกคุณ ก็จะทำอย่าง อาตมาทำ ต่อไป
อาริยบุคคล ก็เหมือนคนปกติ ธรรมดา แต่ต่างจาก อารยบุคคล กับ อริยบุคคล เพราะความรู้จัก รู้แจ้งรู้จริง ในอาริยธรรมไม่มีแล้ว จนทุกวันนี้ อารยธรรม และ อริยธรรม เขาก็ถือเป็น คุณงามความดีไปแล้ว แต่อาริยธรรม เขาก็ยังไม่ได้ ให้ผุดให้เกิด ปรมัตถธรรม ของพระพุทธเจ้า หรืออาริยธรรม พระพุทธเจ้า ก็ได้ถูกลืมเลือนไปแล้ว เขาเข้าใจได้แค่ อารยธรรม หรือ อริยธรรม
เขาเข้าใจว่า ความเจริญของอารยบุคคล คือคนเก่ง สามารถเอาเปรียบสังคม ที่ไม่ผิดศีลธรรม จริยธรรมสามัญ ของสามัญ ไม่ผิดกฎหมายด้วย ก็ได้เป็น การใช้ความรู้ ความสามารถ ทำให้คนนับถือบูชา ความร่ำรวย แล้วสร้างความดี ฉาบพอกไว้ผิวเผิน เป็นบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ในสังคม เพราะมีความสามารถ คิดให้ตนได้เปรียบ อย่างที่คนในสังคมจำนน บกพร่องโดยสุจริต หรือแม้จะไม่สุจริต แต่ด้วยความเก่ง ฉลาดมากมาย เชี่ยวชาญจนใช้เล่ ใช้เชิงชั้น จนถึงสามารถครอบงำด้วยอำนาจ ในการบำเรอกิเลส ด้วยการบริจาค หรือใช้ กามคุณ โลกธรรม ครอบงำให้คน ตกใต้อำนาจ ถ้าจะยกตัวอย่างให้ชัด ก็คือ ธรรมกาย ที่ทำอยู่นี่ ครบเครื่องเลย เขาเอาทั้ง อารยธรรม และ อริยธรรม มาใช้เป็น การตลาด ทั้งสองอย่างเลย คนรู้ไม่ทัน เสร็จเขาหมด
อาริยบุคคล เป็นคนปกติ ไม่ได้มีอะไรวิเศษ เหมือนอารยะ หรืออริยะ แต่ทุกวันนี้ คนก็ไปเข้าใจเชื่อแล้วว่า อารยะหรืออริยะ นี่เป็นสิ่ง น่ายกย่องชูเชิด จนทุกวันนี้ ความดี แยกเป็นสองสาย นั้นแล้ว ความเป็นปรมัตถธรรม ของพระพุทธเจ้า จึงลืมเลือนไปจาก วงการศาสนาแล้ว แม้คนนั้น จะได้รับยกย่อง เป็นปราชญ์ ทางศาสนาพุทธ ก็ยังไม่สัมมาทิฏฐิ
เมื่อความเป็นทาสของ กามสุข กับ อัตตทัตถสุข มีมาก เขาก็จะใช้สิ่งเหล่านี้ มาเป็นอำนาจครอบงำคน ใช้อำนาจลาภ ยศ สรรเสริญ ทุกรูปแบบ ที่เกิดกัน ทั้งรูปงาม เสียงเพราะ กามคุณต่างๆสนุกเพลิดเพลิน เร้าอารมณ์ สารพัดจัดจ้าน บรรเจิด เลิศเลอไปด้วย กามคุณ ๕ หนาเปรอะ และบำเรออัตตา ๓ อย่างมืดมัว โมหัน แล้วสร้างภาพซ้อน ให้คนฉลาด ที่รู้ไม่เท่าทัน เป็นภาพหลอก ซับซ้อน ให้คนฉลาดรู้ไม่ทัน ตกเป็นเหยื่อ แข่งกันในสังคม ไม่ว่านักธุรกิจ ข้าราชการ นักการเมือง หรือนักบวช ทุกวันนี้ สร้างอารยธรรม สร้างอารยบุคคล ด้วยนัยะนี้ กันทั้งนั้น
ถามว่า นักบวชในประเทศไทย ที่ใช้อารยธรรม ความเจริญทางวัตถุ มามอมเมา ครอบงำ มีมากกว่าอริยะ ที่เก่งทางจิตนิยม อะไรมีมากกว่ากัน ก็อารยะ พวกวัตถุนิยม ก็มีมากกว่า ทำเช่นนี้มากเลย ธรรมกาย เขาใช้อารยธรรม มากกว่า อริยธรรม คือเขาเข้าใจ การตลาด
อารยบุคคล คือคนที่สะสมให้ตน ด้วยวัตถุวิสัย และโลกวิสัย objective และทั้งด้วย จิตวิสัยและอัตวิสัย subjective ด้วยการสะสมความเก่ง ทางวัตถุและจิต ความเก่ง ทางจิตนี้ เรียกว่า Psychology อารยบุคคล จึงมีความเจริญทางที่ ไม่มีทางจนลงๆ เขาใช้ทั้ง วัตถุนิยม ( subjective ) และ จิตนิยม (Psychology) เขาไม่ยอมสละ ทรัพย์สินของตน ไม่เสียสละ มีแต่จะเพิ่มขึ้นๆ เพราะตนเก่ง ที่สำคัญคือ ตนยังยึดติด จึงไม่กล้าจน จะไม่กล้ามีชีวิต มักน้อยสันโดษ อย่างเป็นจริงได้ เป็นอันขาด พระบ้านเป็นเช่นนี้ เสียส่วนใหญ่เลย ทฤษฎี เศรษฐกิจพอเพียง ที่ในหลวง พระราชทาน ให้แก่ข้าราชบริภาร แต่เขาได้บัลลังก์เสียแล้ว จะให้มา บังเกิดผล แก่สังคมไทย จึงเป็นไปไม่ได้ ด้วยประการฉะนี้
จริงๆปฏิภาณปัญญา เขาก็พอรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หรือแบบคนจน เขาพอรู้ แต่เขาก็มาจนไม่ได้ จะพอไม่ได้เลย เขาว่าจะมาจนทำไม? ขนาดพวกเรา เข้าใจ ซาบซึ้ง ยังจนไม่หมดเสียทีเลย กลัวนั่นกลัวนี่ กลัวประมาท ก็ไม่รู้ ประมาทอะไร ถ้าหมดเนื้อหมดตัวตอนนี้ มันจะประมาทนะ ผู้ที่กลัวเช่นนี้ ไม่ไว้ใจสังคมที่เราอยู่ หรือไม่ไว้ใจตนเองนะ .... ก็ไม่ไว้ใจตนเอง ส่วนใหญ่นะ กลัวตนเองอยู่ไม่ได้ แล้วไม่มีเงินเลย แต่ก็เชื่อว่าพวกเรา พอเข้าใจว่าสังคมอโศก พึ่งพากันได้แล้วนะ อาจมีบางคน ไม่เต็มก็รู้อยู่มีบ้าง แต่ที่เข้าใจเต็มแล้ว ก็เป็นสาธารณโภคี ที่พึ่ง เกิดแก่เจ็บตาย กันได้นะ
ต่อไปเป็นการตอบประเด็น
-พวกเรานี่เข้าใจแล้ว เรื่องเบื้องต้นหยาบๆ พวกเราไม่เอาแล้ว วัตถุธรรม ลาภยศ สรรเสริญหยาบๆ แต่ก็มีข้างในเรานี่ ยังไม่ขาดทีเดียว เป็นแต่เพียงว่า มาอยู่ที่นี่ ยังไงเขาก็ไม่ให้เงินเดือน ไม่มียศให้ ยศของเราคือ ให้รับใช้ตามยศนั้นๆ ไม่ได้มี อำนาจบาทใหญ่ ถ้ามาที่นี่ ก็ตั้งใจมาจนแน่ เขตนี้แหละที่อาตมาว่า พวกเรา เข้าข่ายเป็น อนาคามี คนชาวอโศก สาธารณโภคี คืออนาคามีกลายๆ เพราะไม่ได้ทำ เพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ มันเหมือนของสงฆ์ สมัยพระพุทธเจ้า มาบวชแล้ว ตัดญาติ ตัดทรัพย์สิน เป็นสาธารณโภคีในสงฆ์ หากอยู่ไม่ไหว ก็สึกออกไป แต่มาบวชแล้ว ตัดขาดญาติ แต่ไม่ใช่ว่าตัดทิ้ง ไม่ดูดำดูดี ไม่เอาใจใส่ ไม่ได้นะ มันมีอะไรลึกซึ้ง อีกเยอะ สรุปคำตอบคือ พวกเรามาอยู่ที่นี่แล้ว โดยรูปสามัญข้างนอก เหมือนอนาคาริกชน แต่ใจไม่ขาดบ้าง ก็กดข่ม พยายามเอา ถ้าอนาคามีจริง มันไม่ได้อยากจริงๆ มันเหลือแต่ข้างใน เป็นรูปราคะ อรูปราคะ คือเหนือกามภพ จริงๆ ตรวจให้จริง ที่มันตรวจได้ เพราะเราก็อยู่เกี่ยวข้อง ไม่ได้ทิ้งไปจนเราเข้าป่า สะกดจิต ไม่เกี่ยวเลยก็ไม่ใช่ ของเราก็ยังมีการงาน มีเงินทอง มียศศักดิ์ เหมือนข้างนอกด้วย ที่นี่บางที ให้สิทธิ์มากกว่า ข้างนอกด้วย ให้ศึกษาดีๆ นี่คือ ฐานหนึ่ง ที่ต้องอ่านจิต จะได้รู้ว่าหลายคน เป็นอนาคามีแล้ว นี่จะได้รู้ตัว
-มาอยู่ที่นี่ทำอาชีพเก็บผัก แล้วเห็นความเป็นนานาสังวาส ในเรื่องการเก็บผัก มักถูกคนปลูกผักว่าเราตัดเอาแต่สวยๆ
ตอบ... ก็ศึกษาความจริง ว่าอันไหนดีกว่า ก็พูดกันให้รู้เรื่อง อย่างที่คุณทำ แม้พูดด้วย เหตุผลหลักฐาน ว่าของคุณดีกว่า แต่คนปลูกไม่ให้ เราก็ต้องจำนน ถ้าพูดแล้ว เขาไม่รู้เรื่อง ก็ต้องแล้วแต่เขา หรือว่าเขารู้เรื่อง แต่ไม่ยอม เราก็ต้องจำนน
-ตอนอยู่โลกๆ ดิฉันก็มีสุขที่ได้สนองอารมณ์ตน แต่มาฟังธรรมพ่อท่าน ให้ละสุขละทุกข์ แต่ก็ละไม่ได้ มันทำใจเสพ มากกว่าทำใจลด ถามว่า เราอยู่ทางโลก ได้สุข แต่ว่าตอนมาทางธรรม ทำอย่างไร เราจะได้มีสุข จากการลดละได้
ตอบ... คุณหาโจทย์ที่ทำได้ อ่านใจว่าเรามีอาการ ใจที่หลงเสพสุข แต่เราก็ ไม่ให้มันเสพ มันไม่ใช่ของจริง การเสพสุข เป็นแค่รสสัมผัส ในขณะได้ข้าวของมา ก็ได้รสสุขสูง ในตอนแรก พอเก่าไป ก็ลดลงๆ ยิ่งนานไป ก็ชินชาไปเลย ก็เป็นเรื่องจริงที่ว่า มันไม่เที่ยง แล้วมันเป็นเหตุแห่งทุกข์ที่เราต้อง ยึดเอาเป็นเรา เป็นของเรา มายึดเป็นภาระ ในอนาคามี ก็เหลือแต่ กิเลสในจิต ที่น้อย เป็นเศษเหลือในใจ ท่านไม่เรียกว่าทุกข์ แต่เป็นกิลมถะ เป็นการลำบาก อนาคามี ขึ้นไป ไม่มีสุขหรอก มีแต่ความลำบาก แม้ที่สุดอรหันต์ ก็เหลือแต่ทรถะ มันเป็นภาระ สำหรับอรหันต์ ภาราหเวปัญจขันธา เป็นทุกข์เลี่ยงไม่ได้ ต้องอ่าน ความจริง จากกรอบที่เรากำหนด ให้รู้ว่าหมดทุกข์ หมดกิลมถะ จนถึงทรถะ คุณจะได้รู้ สภาวะเช่นนี้ อรหันต์เท่านั้น จึงมีสิทธิ์พูดว่า ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ได้มีแต่ทรถะ
-ปฏิบัติธรรม ต้องละสุขเท็จ หมดสุขเท็จ ก็เหลือแต่ทุกข์ทรถะ แล้วแม้อรหันต์ สุดท้ายก็เหลือ แต่ทรถะ ทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้
-ส.พอแล้ว...มีสงสัย...เรื่องอายตนะคืออย่างไร ในสภาวจิต แล้ว ดิน น้ำ ลม ไฟ ดับไม่ให้เหลือ แต่อายตนะ ที่ยังอยู่ ในภายใน เป็นอย่างไร สภาวจิตที่ยังอยู่ เป็นสภาวะแบบไหน?
ตอบ....สำคัญที่อายตนะ ถ้าเข้าใจอายตนะแล้ว คำว่าอายตนะ ผัสสะ กาย สามอย่างนี้ ไม่ใช่ตัวมันเอง จะตั้งอยู่ มันเกิดจาก เหตุปัจจัย ถ้าไม่มีเหตุปัจจัย มันตั้งอยู่ไม่ได้ มันจะเกิดได้ ต้องมีตั้งแต่ สิ่งสองสิ่ง ถ้ารูปกับรูป กระทบกัน ก็ไม่เกิดอะไร ที่เป็นเยื่อใย เป็นไปตาม เหตุปัจจัยธรรมชาติ แต่ดิน น้ำ ไฟ ลม มันจะดับ ไม่เหลือนั้น ไม่มีใครไปดับมันหรอก มันเปลี่ยนสภาพไป เท่านั้น แต่ที่หมาย ที่ถามว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม ดับไม่เหลือ ในพระไตรฯ ท่านไม่ได้บอกว่า ดับไม่เหลือ แต่ท่านบอกว่า ตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่ว่าดับ ไม่เหลือนั้น เธออย่ากล่าวเช่นนั้น ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีดับ มีแต่คุณจะดับไป ถ้าคุณปรินิพพานไปแล้ว ธาตุแยกทุกอย่าง ไม่เหลือ ต้องถามว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม ตั้งอยู่ไม่ได้ ในที่ไหน
ถ้าไปติดยึด ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นเรา ก็ตั้งอยู่ได้ แต่ถ้าไม่ยึดถือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ไม่ตั้งอยู่ได้ในจิตเรา ตั้งอยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่จิตเรา
อายตนะ เมื่อจะเกิด ตากระทบรูป มันก็จะเกิด อายตนะ มีสะพาน อายตนะคือ สะพานเชื่อมต่อ ระหว่าง สิ่งสองสิ่ง พอสิ่งสองสิ่งนี้ ขาดจากกัน อายตนะก็หายไป กายก็หายไป ผัสสะก็หายไป อายตนะ ไม่ตั้งอยู่ที่ไหน มันเกิดจาก เหตุปัจจัย เช่นเดียวกับ วิญญาณ เกิดจากเหตุปัจจัย ไม่มีเหตุปัจจัย วิญญาณไม่เกิด ไม่ตั้งอยู่ด้วย อายตนะจะเกิด เมื่อมีนามด้วย ถ้ารูปกับรูป กระทบกัน ไม่เกิดอะไร แต่ว่ามีธาตุรู้ ไปรับสัมผัส ก็เกิดอายตนะ เกิดวิญญาณ
อายตนะนั้น ต้องมีผัสสะจึงเกิด มีทวารนอก กระทบแล้ว ก็เกิดอายตนะ จึงเป็นสิ่งภายนอก ส่วนอายตนะภายใน ก็ต่อเนื่อง จากภายนอก แล้วถือว่า ไปรู้ข้างในอีกที เมื่อเราไม่เกี่ยวกับ ข้างในเลย ใช้สัญญา เป็นรูปสัญญาภายใน ในภายในเราเอง มันเกิดที่จิต ปรุงแต่งกัน ระลึกขึ้นมา ก็เกิดอายตนะ จนที่สุด ล้างกิเลส อนาคามี ล้างได้หมดเกลี้ยง เหลือปลายเศษสุดท้าย คือ มนายตนะ กับ ธรรมายตนะ กิเลสในระดับ อุทธัจจะ กับ อวิชชา อวิชชาก็คือ ความไม่รู้ เป็นนามธรรม ส่วนอุทธัจจะ เป็นรูปธรรม สองตัวสุดท้ายแล้ว เมื่อเกิดอายตนะ สองสุดท้าย เกิดการเรียนรู้ ระดับ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มันไม่มีแล้ว กิเลส ระดับหยาบ ทุกอย่าง เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา คือสัญญา กำหนดรู้ ตัวสุดท้าย ทุกอย่างก็คือ ความรู้สึก อรูปฌาน
๑.อากาศ (อากาสาฯ)
๒.ความว่าง (วิญญานัญจา)
๓. (อากิญจัญญาฯ) ความสะอาดของวิญญาณ มันจะมีอะไร นิดนึงน้อยหนึ่ง เศษนิดเศษหน่อย ก็ไม่ให้มี แล้วความสะอาดของ อุเบกขานั้น ต้องมีผัสสะ แล้วก็ยัง ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุกัมมัญญา ประภัสสรา
๔. ต้องตรวจรู้ให้หมด ไม่มีที่ไม่รู้ไม่ได้ ต้องรู้ทั้งหมด
อากิญจัญคือรูป เนวสัญญาฯคือนาม รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ เราก็รู้มัน ไม่ให้มีเศษเหลือเลย แล้วตรวจแล้ว ตรวจเล่า เป็นเวทนา ๑๐๘ ในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ที่กิเลสสูญอย่าง นิจจัง ธุวัง สัสสตัง...
-