![]() |
![]() |
580214_พ่อครูเทศน์ก่อนฉัน วันวาเลนไทน์ ที่สีมาอโศก |
พ่อครูว่า... วันนี้ฤกษ์งามยามดี พอมาถึง คนก็รายงานเลยว่า พ่อท่านมาพร้อมกับความชุ่มชื้น พ่อท่านมา ก็พาฝนมาเลย คือตกก่อนที่อาตมาจะมา ทำความชุ่มเย็น ก่อนอาตมามาเลย อากาศก็เลยพอดี ไม่ร้อนไม่หนาวเกิน คนเราก็ถ้าอยู่ในความพอดี ก็ดีทั้งนั้น วันนี้วันวาเลนไทน์ คนไทยเรา ๙๕% นับถือศาสนาพุทธ แต่วันสำคัญ ทางศาสนาพุทธ ไม่ค่อยสนใจ แต่ถ้าเผื่อวันสำคัญของฝรั่ง ก็เห่อจัง วันตรุษจีนก็ครึกครื้นกัน ดอกกุหลาบตอนนี้ ราคาขึ้นไปดอกละ ๕๐ ดอกละ ๑๐๐ แล้ว
ความจริงวาเลนไทน์ เป็นชื่อนักบวชชาวคริสต์ ที่ปฏิบัติได้ดีเลย ทำให้เกิดความรัก เป็นความรักมิติที่สูง ซึ่งอาตมาได้ทำเป็น ทฤษฎีความรัก ๑๐ มิติ แล้วจัดเป็นวิชาเรียนเลย แต่ก่อนให้นร. สัมมาสิกขาเรียน ม.๕ เรียนมิติ ๗-๘ ม.๖ เรียนมิติที่ ๙-๑๐ เขาก็เรียนกันบ้าง ไม่เรียนบ้าง แต่ต่อมามีว.นบ. ก็เลยนำไปเป็นวิชาการ ในการศึกษาความรัก ๑๐มิติ
ความรักเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ แต่คนเข้าใจเพี้ยนไป เช่น ความรักของนักบุญวาเลนไทน์ เป็นความรักมิติที่ ๗ เป็นความรักเพื่อมวลมนุษยชาติ เพื่อช่วยเหลือสงเคราะห์ แต่คนเรามีกิเลส ก็เลยดึงความรักลงมาต่ำ เหลือเพียงมิติที่ ๑ เป็นความรักเรื่องเพศ มีเฉพาะความรักของเราสองคน คู่รักของเรา เป็นความรักที่แคบมาก เป็นมิติกามนิยม หรือเมถุนนิยม อาตมาตั้งชื่อ เป็นความเห็นแก่แค่พ้นจากตัว แล้วเผื่อไปนิดเดียว ที่จริงมีความรักชนิดที่เห็นแก่ตัวคนเดียวเลย อาตมาไม่ได้จัดเข้ามา ซึ่งจริงๆคือ ความรักมิติที่ ๐ ไม่ได้เผื่อแผ่ความรัก ไปให้ใครเลย เป็นความรักตัวเอง คือความรักในศาสนา หรือลัทธิที่หนีไปคนเดียว ปลีกเดี่ยว อยู่ป่าเขาถ้ำ ตัดหมด ไม่ต้องเห็นแก่ใคร เหมือนศาสนาพุทธที่ ทุกวันนี้มีความเห็น ความเข้าใจเช่นนี้ ที่ผิดเพี้ยนไปแล้ว ยุคพระพุทธเจ้าตอนนั้น มีแต่ศาสนาเทวนิยม เอาแต่ตัวเอง หนีเข้าป่าเขาถ้ำ อาตมาเรียกว่า เห็นแก่ตัวเต็มบ้อง ไม่มีประโยชน์กับใครเลย ยิ่งกว่าก้อนดินก้อนหิน ยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน เป็นลัทธิที่เสียหายมาก ให้นิ่งอยู่แต่กับตนเอง ไม่ต้องไปนึกคิดอะไร เป็นความหลงผิดที่มหามหันต์เลย
ที่พูดนี้ไม่ได้โกรธเกลียดนะ ที่จริงท่านที่หนีเข้าป่าเขาถ้ำ ไม่ได้เกี่ยวกับพวกเรานะ ท่านก็อยู่ส่วนท่าน แต่มันเป็นความเห็นแก่ตัวเต็มบ้อง แต่ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ล้าง ความเห็นแก่ตัว ปหานความเป็นแก่ตัว selfishness killing เป็นศาสนาที่มีผลถึงอย่างนั้นเลย ตรงกันข้ามกันกับ ที่อาตมาอธิบายว่า ศาสนาพุทธ มิจฉาทิฏฐิแล้ว ไปนับถือพระที่ปฏิบัติแบบนี้กัน ถือว่าเป็นพระที่บรรลุอรหันต์ไปโน่นเลย ก็ต้องขออภัย คนที่นับถือบูชากัน แต่ก็พูดเป็นวิชาการ ตามที่อาตมาเห็นด้วย จริงใจว่าเป็นสิ่งผิด ในฐานะพุทธด้วยกัน ถ้าเขาผิด เราก็ต้องวิจารณ์วิจัย พระพุทธเจ้าว่าให้ นิคคัณเห นิคคหารหัง ก็ต้องว่ากันได้ แต่ว่ากันได้ถึง ปฏิโกสนา โต้ต้านกันแรงได้เลย แต่อย่าได้ตีทะเลาะกัน ให้เป็นแค่โวหารเหตุผล ว่ากันแรงๆได้ แต่อย่าให้เป็นภาษาหยาบโกหก ไม่ให้เป็นมิจจา ๔ ของวาจา ให้ได้เแค่มุขสตี ได้แค่ปากหอก ศาสนาพุทธ ไม่ใช่เป็นศาสนาที่ติ ที่ว่าใครไม่ได้เลย แต่เป็นศาสนาขัดเกลา ให้รีบบอกกัน มีอะไรผิดให้รีบติงเตือนกัน เพราะความผิดความชั่ว อยู่กับใครนิดนึง นานเท่าไร ก็เสียหายเท่านั้น ต้องเอาออกให้เร็ว ส่วนความดี ไม่ต้องบอกก็ได้ เขาทำดีอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเป็นอะไร ทำดีไม่เสียหาย ไม่ต้องไปยกยอยกย่องก็ได้ แต่จะยกย่องก็ได้ ต้องยกย่องบ้าง ก็ไม่ต้องมาก แต่ติเตียนต้องทำให้มากๆ เพราะมันเสียหาย มันอยู่ก็พาเราทำผิดทำไม่ดี ตามที่ติดเราอยู่ ก็ให้มั่นใจว่า ที่ทำนี่ถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย แต่คนก็ไม่เข้าใจ หาว่า อาตมาไปติ ว่าเขาทำไม และผู้ที่จะติคนอื่น ตนเองต้องดีก่อน ถ้าตนเอง ยังเป็นอยู่ ดีไม่ดี เป็นมากกว่าที่ตนไปติ ไปว่าเขาอีก มันก็ไม่ควร พระพุทธเจ้าสอนว่า ต้องทำคุณอันสมควรก่อน แล้วพร่ำสอนคนอื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง แต่ทุกวันนี้ ตนเองยังมีกิเลสเต็มบ้อง แล้วก็ไปว่าเขา เลอะไปหมด
ความรัก ๑๐ มิติ
๑. กามนิยม (เมถุนนิยม)
๒. พันธุนิยม (ปิตปุตตาฯ)
๓. ญาตินิยม (โคตรนิยม)
๔. สังคมนิยม (ชุมชนนิยม)
๕. ชาตินิยม (รัฐนิยม)
๖. สากลนิยม (จักรวาลฯ)
๗. เทวนิยม (ปรมาตมันฯ)
๘. อาริยนิยม (อเทวนิยม)
๙. นิพพานนิยม (อรหันตฯ)
๑๐. พุทธภูมินิยม (โพธิสัตวภูมินิยม)
มิติที่ ๓ ญาตินิยม ก็เห็นแก่ญาติทางสายเลือด ก็ช่วยเลี้ยงดูกัน เห็นแก่ตัวแคบๆ เท่านั้น
มิติที่ ๔ สังคมนิยม ก็เกื้อกว้าง กระจายมากขึ้น เป็นสังคมนิยม ชุมชนนิยม ก็กว้างกว่าญาติ มีมิตรสหาย เป็นชุมชนหมู่กลุ่ม
มิติที่ ๕ เป็นชาตินิยม รัฐนิยม กว้างขึ้นอีก
มิติที่ ๖ เป็นสากลนิยม จักรวาลนิยม
มิติที่ ๗ เป็นเทวนิยม หรือปรมาตมันนิยม ศาสนาอื่นเขาก็พากเพียรปฏิบัติ แต่เขาไม่รู้จัก จิตเจตสิกรูปนิพพาน แบบพระพุทธเจ้า ที่มีความสามารถวิเคราะห์จิตได้ อย่าง psychoanalysis แล้วทำจิตในจิต เป็น moral doing เป็นการกระทำ ประพฤติที่จิต ทำจิตในจิตได้ เป็นถึงขั้นจิต สังสัตถปหานนะ คือ Moral killing ถึงขั้นทำลายอกุศลจิต ฆ่าอกุศลจิตได้เลย ศาสนาพุทธได้ถึงอย่างนั้น แต่ศาสนาอื่นได้ถึงแค่ เทวนิยม เป็นปรมาตมัน เขาสร้างอัตตา สร้างจิตที่งดชั่ว ประพฤติดี เขาก็พยายามฝึกจากจิต ที่เขาเข้าใจของเขา แต่ความจริง เขาไม่ได้รู้จิต ถึงระดับ conscious doing เข้าไปทำถึง จิตสำนึก จิตใต้สำนึก และจิตไร้สำนึก คือจิตระดับต้น กลางปลาย เป็น conscious killing รู้จักตัวชัดเป็น genesis killing เข้าไปฆ่าตัวต้นทางเลย genesis คือเชื้อจิตตัวยีนส์ ตัวต้นเชื้อเลย เข้าไปรู้ตัวจริงเลย ทางวิทยาศาสตร์ เขาไปจัดการยีนส์ได้ แต่ไม่สามารถทำ โยนิโสมนสิการ ซึ่งก็คือ genesis doing เข้าไปทำถึงที่เกิดในจิตเลย โยนิโสมนสิการ มีญาณปัญญาอ่านจิต เจตสิก แล้วรู้แยกแยะ กำจัดตัวอกุศลเหตุได้ ทำ psychoanalysis ได้ แยกแยะว่า ตัวนี้คือยีนส์ gene ไม่สับสนไปฆ่าเลอะเทอะ อย่างการไปนั่งหลับตา สะกดจิตหยุด ไม่ให้ทำงานเลย ดับจิต ดับความคิด ใช้พลังงานไปหยุด ฝึกได้ จนดับ เรียกว่านิโรธ เป็นลัทธิพุทธ ที่ทำกันทุกวันนี้ แบบนี้พระพุทธเจ้ารู้มาก่อน เคยผ่านมาหมด ท่านผ่านมาไม่รู้กี่ชาติแล้ว เป็นลัทธิครองโลกมาตลอด ศาสนาพุทธ เดี๋ยวนี้ ก็เพี้ยนไป ไปเข้าใจผิดแบบเก่าอีก
อาตมาดำเนินตามที่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ! พรหมจรรย์ เราประพฤติ มิใช่เพื่อ...
หลอกลวงคน ให้มาเคารพนับถือ (น ชนกุหนัตถัง)
มิใช่เพื่อเรียกคน มาเป็นบริวาร (น อิติ มังชโน)
มิใช่เพื่ออานิสงส์ เป็นลาภสักการะ และเพื่อเสียงสรรเสริญ มิใช่เพื่อจะได้เป็นเจ้าลัทธิ หรือค้านลัทธิอื่นใดให้ล้มไป มิใช่เพื่อให้มหาชนเข้าใจว่า.. เราได้เป็นผู้วิเศษอย่างนั้น ก็หามิได้
ภิกษุทั้งหลาย ! ที่แท้ พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสำรวม เพื่อละ, เพื่อคลายกำหนัด, เพื่อดับทุกข์สนิท ฯ (พรหมจริยสูตร พตปฎ.เล่ม ๒๑ ข้อ ๒๕)
ธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านั้น ลาดลุ่มเหมือนฝั่งทะเล ไม่โกรกชันเหมือนหุบเหว ตั้งแต่มิติที่ ๗ ขึ้นไปเป็นสัมมาทิฏฐิ เราก็ศึกษามา ตั้งแต่มิติที่ ๑ แล้วเรียนรู้ว่า เหตุปัจจัยอะไร ที่ทำให้ไม่เกิดความรักที่กว้างเกื้อ สามารถมีจิตวิเคราะห์ รู้นาม รูป
รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ เรามีนามไปรู้รูปได้ แม้นามธรรมก็ถูกรู้ได้ เรียกว่า “นามรูป” สามารถมี ญาณปัญญารู้ได้ เช่น ผู้อวิชชา จะไม่รู้จักสังขาร วิญญาณ นามรูป ได้
สังขาร วิญญาณ ก็เป็นนามขันธ์ เราก็อ่านสภาวะของสังขาร ของวิญญาณ การอ่านออกได้ก็คือ เรามีญาณ อ่านอาการของวิญญาณ ของสังขาร มันเป็นนามธรรม ไม่มีเส้นสีแสงอะไร ให้จับต้องได้หรือเห็นได้ แต่เราอ่านได้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทส เมื่อฟังอาตมาอุเทส ก็ไปอ่านอาการ อย่างนี้เรียกว่าโกรธ อย่างนี้เรียกว่าโลภ มันโกรธแล้วใจมันร้อนเร่า ใครอ่านออกอาการมัน ก็คือมีญาณ ก็ทำเครื่องหมาย เป็นนิมิตมันได้
ที่เขาว่า เขาเห็นเทวดา ก็เห็นเป็นตัวตน ใส่ชฎา ทำมืออ่อนช้อยเลยนะ เทวดาหญิง ก็ใส่สังวาลย์ เป็นรูปร่าง พอบอกเห็นผี ก็มีเป็นตัวตนรูปร่าง หลอกกัน ไปสร้างหนังมากมาย ก็หลอกให้คนติดยึด เห็นผีมารเทวดา เป็นรูปร่าง นี่ก็ปิดประตูรู้เลย ไปเห็นของหลอก พระพุทธเจ้าว่า จิตวิญญาณไม่มีสรีระ ไม่มีรูปร่าง พระพุทธเจ้าว่า การจะรู้นามรูปได้ ต้องรู้ได้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ใครอ่านเห็นเป็นรูปร่าง ก็หมดทางไปนิพพาน
มิติที่ ๗ อเทวนิยม ก็ไม่ได้ไปศึกษา อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต ก็เลยไม่รู้ของจริง ในภาวจิตที่เรียกว่า consciousness ก็ไม่มีญาณอ่านรู้ได้ ซึ่งจะอ่านรู้ได้ ตอนมันเกิดการสัมผัส มีตากระทบรูป เกิดวิญญาณ มีผัสสะ ๓ เราก็จะเห็นวิญญาณ อ่านวิญญาณได้ แต่เดี๋ยวนี้สับสน ไปนั่งหลับตาทำสมาธิเสียอีก ก็เลยไม่ได้เรียนรู้ แบบพระพุทธเจ้าสอน เพราะไม่มีตากระทบรูป ก็ไม่เกิดอายตนะ หูไม่กระทบเสียง ก็ไม่เกิดอายตนะ ….
ในเจตสิก ๓ ที่เป็นนาม ท่านแบ่งเป็น เวทนา สัญญา สังขาร ซึ่งเวทนามันจะเกิดจาก การปรุงแต่งปุ๊บที่สัมผัสเกิด เราก็มาเรียน วิเคราะห์จิตเป็น psychoanalysis เช่นนี้ จึงเกิด consciousness analysis ถ้าเรียนรู้ consciousness ที่เป็นตัวงานในจิตจริง เป็นสามัญสำนึก มันก็เป็นปกติของคนทุกคน ส่วนที่คุณจะสำนึกว่า อย่างนี้ดีนะ จะได้เปรียบ ถ้าโกงโดยเขาไม่รู้ มันก็จะได้ ก็เป็นสามัญสำนึกของคน ที่เป็นสิ่งเลวเช่นนี้ เป็นสามัญสำนึก เราก็ทำไปตามกิเลสมันสั่ง กิเลสมันสั่งให้เอามาให้ได้ ไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็ด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ ก็ด้วยคาถา ก็สามัญสำนึกทั่วไป
แต่พอสำนึกสูงขึ้นมา ก็จะรู้ว่าสิ่งนี้ชั่วไม่ทำ สิ่งนี้ดีก็ทำ แต่ถ้าอำนาจกิเลสมันมาก แม้รู้ก็ทำ คนที่จะข่มขืนคน รู้ว่าชั่วแต่กิเลสมาก มันก็ทำ พอข่มขืนเสร็จ แล้วก็รู้ว่า เดี๋ยวมันไปบอกใคร ก็ฆ่าเสียอีก ทำบาปซ้ำ แล้วก็ปกปิดอีกโกหก คนจับได้ ก็ปฏิเสธอีก ไม่ยอมรับ เขาประหาร แล้วก็ตายตกตามกัน ชั่วไปไม่รู้กี่ทอด
คำว่าสำนึก consciousness จึงต้องศึกษา จึงต้องเรียนรู้ตัวนี้ แล้วอาการสำนึก พระพุทธเจ้านี่สอนให้รู้จัก จัดการกับความสำนึกแรก conscious subconscious และ unconscious ซึ่งตรงกับกิเลส ๓ ระดับ ของพระพุทธเจ้า คือ อย่างหยาบอย่างต้น คือ วีติกกมกิเลส และระดับกลางเรียกว่า ปริยุฏฐานกิเลส และกิเลสระดับปลาย คือ อนุสัยกิเลส
พระพุทธเจ้าสอนให้จัดการ วีติกกมกิเลสก่อน โดยการมีผัสสะนี่แหละ แล้วเกิดกิเลสก็อ่านรู้ เราจะมีสามัญสำนึก ก็เรียนรู้ว่าอันนี้ดี อันนี้ไม่ดี เราก็จับอ่านเหตุ แล้วล้างเหตุ ให้มีปหาน ๕ ท่านให้กำจัดให้ถูกตัวตน เราก็จะรู้ว่าทำถูกต้อง เป็นปหานเด็ดขาด สมุทเฉทปหาน ทำได้แล้วก็ทำต่อ ปฏิปัสสัทธิปหาน แล้วทำซ้ำทำทวน เป็น อาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง ทำอย่างที่ได้ผลนี้ ทำซ้ำทำทวนไป เป็นปัญญาของโสดาบัน ข้อที่ ๒
ญาณ ๗ พระโสดาบัน
ข้อที่ ๑ คือรู้จักวีติกมกิเลส ทำจนพ้นได้ เหลือปริยุฏฐานกิเลส ก็ทำต่อไป
ข้อที่ ๒ อาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง
ข้อที่ ๓ รู้ว่าญาณปัญญานี้ ไม่ใช่มีในลัทธิอื่น ลัทธิอื่นไม่ครบไม่ชัด อย่างพุทธจะรู้เห็นเลย ใครที่ไปเรียนกับสำนักอื่น ศาสนาอื่น แล้วมาเรียนของพุทธ อย่างสัมมาทิฏฐิ จะรู้ว่ามีของจริง ไม่ใช่แค่ตรรกะ แต่ของพุทธ เป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตเลย
ข้อที่ ๔ มีศีล ถ้าอาบัติขึ้นมา จะรู้ว่าเราผิด จะเดือดร้อนใจเลย เหมือนเด็กไปจับไฟร้อน ก็หดมือเข้ามาเลย แก้กลับ ทำผิดจากสิ่งที่ตนทำได้ดี แล้วก็จะเดือดร้อนใจ เหมือนคนรักเพชรพลอย แล้วมีรอยขีดข่วน
ข้อที่ ๕ เป็นผู้มีประโยชน์ ทั้งทำจิตตน แล้วทำงานรับใช้สังคม กับเพื่อนสหพรหมจรรย์ เป็นประโยชน์สองอย่าง อุภยัตถะ ศาสนาพุทธต้องเป็นแบบนี้ ไม่ใช่ว่าลดกิเลสได้แล้ว ไม่เกี่ยวกับใคร ไม่ใช่ แต่เป็นคนมีน้ำใจ ขวนขวายทำงานให้สังคม ดูแลงานน้อยใหญ่ พร้อมปฏิบัติอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาของตน เหมือนแม่โค เล็มหญ้าไป ก็เลี้ยงลูกไป ไม่ได้แยกจากกันเลย
ข้อที่ ๖. มีพลังทำประโยชน์ ทำไว้ในใจ กำหนดด้วยจิตทั้งปวง เงี่ยโสต ฟังธรรมวินัยของตถาคต อันบัณฑิตแสดงอยู่
ข้อที่ ๗. ได้ความรู้อัตถะ-รู้ธรรม ปราโมทย์ รู้จริงครบถ้วนธรรม
จะมีจิตทั้งเจโต และมีปัญญา มีประโยชน์ต่อตนและโลก ไม่ใช่ว่าไปนั่งหลับตา ไม่เกี่ยวกับใคร อย่างไปนั่งในป่าช้า เหมือนหลวงพ่อเกษม อาตมาไปว่าท่าน คนก็หาว่าอาตมาบาป แต่อาตมานี่ กลัวบาปนะ เรียนรู้ว่าไม่ทำอกุศลกรรม มันทำแล้วเป็นจริงของเรา ทำแล้วเอาลิควิดลบไม่ได้ เป็นผลวิบากของเรา สุกฏทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก ตนทำต้องเป็นของๆตน ไม่เอาไม่ได้ มิมีระเหิดระเหย อยู่กับเราครบไปชั่วกาลนาน
มิติที่ ๗ ,๘ ,๘ จึงรู้ว่า กิเลสคือตัวมาร คืออาการผีตัวร้าย ที่ต้องจัดการ แล้วมันมีเทวดาปลอม เป็นเทวะเก๊ เพราะไม่รู้อาการสุขเวทนา ที่เป็นเคหสิตเวทนา เป็นอารมณ์ความรู้สึกสุข แบบโลกีย์ คือเทวดาปลอม ซึ่งพุทธให้ศึกษา มโนปวิจาร มีเคหสิตเวทนา และ เนกขัมสิตเวทนา
เคหสิติเวทนา คือเวทนาของปุถุชน แต่เนกขัมสติเวทนา คือเวทนาของอาริยชน คุณต้องอ่านมา ตั้งแต่เวทนา ๓ สุข ทุกข์ อุเบกขา แล้วมาทางทวาร ๖ เป็นเวทนา ๖ อีก ใน ๖ นี้ เกิดสุข ทุกข์ อุเบกขาได้อีก ก็เป็นเวทนา ๑๘ แล้ว ๑๘ นี้แยกเป็น เคหสิตเวทนา และ เนกขัมสิตเวทนา ที่ต้องแยกออกให้ได้
ของพุทธมีจิตวิเคราะห์ จับอาการอกุศลจิตได้ ลดอกุศลจิตได้ เห็นมันดับก็เกิดปีติ โสมนัส ดีใจ ซึ่งต่างจากดีใจที่ได้เกิดจากสุข แบบได้เสพสมกิเลส เป็นสุขเท็จ สุขอัลลิกะ เป็นสุขปลอม ไม่เที่ยง สุขตอนสัมผัสผัสสะ พอหมดสัมผัสแล้วก็ไม่มี แต่เขาก็จำความรู้สึกดีๆนี้ไว้ แล้วจำใส่อนุสัยไว้ ไม่ลืม แล้วก็ผูกพันไป จนเป็นกามนิต-วาสิฏฐี ไม่ได้จากพรากกันเลย เป็นความรักผูกพัน พระพุทธเจ้าว่า รัก ๑ ทุกข์ ๑ รัก ๑๐ ทุกข์ ๑๐ รัก ๑๐๐ทุกข์ ๑๐๐ ไม่รักเลย ไม่ทุกข์เลย
เมื่อสามารถรู้เวทนา ๑๐๘ แยกเป็น ๑๘ เคหสิตเวทนา และ เนกขัมสิตเวทนา ออกนี่คือ ผู้ที่เข้าสู่ภูมิโลกุตระได้ ต้องรู้จักเวทนาในเวทนา ดังกล่าวนี้ หากอ่านไม่ได้ ก็ทำใจในใจ moral doing ก็ทำไม่เป็น ทำในเบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย เป็น conscious subconscious และ unconscious ตามลำดับ ฆ่ากิเลสได้อย่างถูกตัวตน ดับเชื้อต้นตอ genesis killing เป็นการทำใจในใจ การมนสิการอย่างโยนิโส ถ่องแท้ถึงตัวต้นตอยีนส์ ของมันเลย เป็น DNA ใหม่ เป็น DNA อรหันต์ ของพระพุทธเจ้า เป็นวิทยาศาสตร์เช่นนี้
เวทนาที่แยกเป็น ๑๘ เคหสิตเวทนา และ เนกขัมสิตเวทนา ที่มีสุขทุกข์ อุเบกขา ผ่านทวารทั้ง ๖ นี่ก็จะชัดเจน ชัดแจ้ง ชัดจริง อ่านอาการ ลิงค นิมิต อุเทส ทำได้ทั้งหยาบ กลาง ละเอียดได้จริง ทำได้ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ เป็นจิตที่แน่วแน่ แนบแน่น ปักมั่นเลย เป็นสัมมาสมาธิ เป็นความตั้งมั่นของจิต อย่างบริบูรณ์สูงสุด หากเราสามารถแยก แล้วทำได้ แยกเคหสิตเวทนา และ เนกขัมสิตเวทนา แล้วทำให้เกิดฐานนิพพาน เป็นอุเบกขาแบบเนกขัมมะ ที่ต่างจากอุเบกขาแบบเคหสิตะ ที่เฉยเด๋อ ดับ ไม่ได้ดับเหตุไปนั่งหลับตาดับ เป็นเคหสิตอุเบกขาเวทนา ทั้งนั้น เราต้องทำให้เกิดเป็น เนกขัมสิตอุเบกเขาเวทนา ทำได้อย่างมั่นคง ถาวรยั่งยืน ก็ทำเพื่อรักษาผล ที่เป็น ภาวนาปธานแล้ว โดยทำซ้ำทำทวน อนุรักขนาปธาน ก็ได้ฐานนิพพาน แข็งแรง เป็นคุณสมบัติอุเบกขาที่แข็งแรง ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ประภัสสรา สัมผัสสังขารใดๆ จัดจ้านอย่างไร ก็ไม่หวั่นไหว แข็งแรง แม้จะสังขารเอง ปรุงเองก็ได้ เพื่ออนุโลม มีสัปปุริสธรรม จัดสรรได้อย่างเหมาะควร จัดสรรความคิด คำพูด การกระทำ อาชีพได้อย่างสัมมา ก็ทำได้ทุกปัจจุบัน สั่งสมเป็นอดีต อนาคตก็สูญแน่นอน ไม่เปลี่ยน
แม้ไม่มีโทมนัสแล้ว มีแต่โสมนัส ก็ไม่ให้ติด ให้เป็นแค่ผรณาปีติ พออาศัย ท่านจะรู้ว่า อาการอาศัย กับอาการยึดติด อาทานที่แปลว่า การยึด หรือการอาศัย ต่างกันอย่างไร อาทานคือ การยึดมั่นถือมั่น แต่อาศยะ คือใช้อาศัย ปัญญาปฏิภาณของผู้ปฏิบัติ จะรู้ว่ายึดอย่างอาศัย ไม่ได้ยึดอย่างอาลัย หรืออาทาน ที่ยึดมั่นถือมั่น เราจะรู้อาการจิต ที่ยึดถือมั่น กับอาการที่ยึดไว้อาศัย จะเป็นปัญญาญาณที่รู้เลยว่า เราวางได้ จะปล่อยว่างได้ มีญาณรู้อาการปล่อยวาง เกิดมุญจิตุกัมยตาญาณ โดยไม่ต้องไปกดไปข่ม แต่มีญาณปัญญารู้ อย่างจริงยิ่ง
คนยึดอย่างโง่ คืออุปาทาน แต่ถ้ายึดอย่างสมณะ คือยึดอย่างสมาทาน นี่คือสัจจะ ที่เป็นเรื่องของจิตใจ ผู้ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า ที่มีฐานอุเบกขาแล้ว มีธาตุ ๕ ของอุเบกขา ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ประภัสสรา
ที่อาตมาเทศน์ ขึ้นต้นเรื่องความรัก นักบุญวาเลนไทน์ ท่านก็มีความรักที่ไม่ใช่ตื้นๆนะ อย่างน้อยต้องมิติที่ ๔ จนถึงมิติที่ ๗ นะ ไม่ใช่ความรักแคบๆ ระหว่าง มิตรสหายหรือญาติ แต่เป็นความรักสากลจักรวาล ส่วนจิตท่านก็รู้ แบบเทวนิยม ลักษณะเทวนิยม ก็รู้จิตพอสมควร ก็มี psychoanalysis มีจิตวิเคราะห์ได้พอสมควร แต่ไม่ละเอียด ไม่รู้จิตอย่างเป็นปรมัตถ์ เข้าใจจิต เจตสิก ไม่เข้าใจสิ่งที่ถูกรู้อย่าง รูป ๒๘ ที่ตั้งแต่ดิน น้ำ ไฟ ลม จึงถึงรูป ๒๔ เขาไม่ชัดเจน อ่านไม่ออก ของพุทธปฏิบัติรูป ไปจนถึงอากาศ จิตมันว่างจนถึง ปริเฉทรูป หรือปฏิบัติอาหาร ๔ พระพุทธเจ้าสอนไว้ละเอียดหมด ก็เป็นคำสอนที่ครบครัน แต่ถ้าเรียนไม่ครบ ก็ปฏิบัติไม่ครบ แต่ถ้าเรียนจิตวิเคราะห์ ของพระพุทธเจ้านี้ ก็จะได้ครบ
มิติที่ ๘ ก็เป็นมิติที่เป็นอาริยะ เป็นอเทวนิยม Theism ไม่งมงายกับเทวะ แต่ไม่ปฏิเสธเทวะ เคหสิตะเป็นเทวะเก๊ แต่เนกขัมสิตะเป็นเทวดาจริง สมมุติเทพ เป็นเทวดาสมมุติ ได้สุขในลาภ ยศ สรรเสริญ ได้บำเรอกาม อัตตา ได้สุขชั่วคราว เหมือนพยับแดด ฟองคลื่นวับๆหาย แล้วก็สั่งสมเป็นอุปาทาน เป็นอนุสัย นานนับชาติ วนเวียนอยู่อย่างนี้ พระพุทธเจ้า ให้มาลดละพวกนี้
พอจับกิเลสได้ แล้วลดได้ ก็เป็นเทวดาอุบัติเทพ ถ้าทำกิเลสลดได้ เป็นเทวดาแท้ เป็นเทวดาอาริยะ เป็นการสูง เจริญขึ้นของจิตวิญญาณ แต่ถ้าหลงเสพสุข กับเทวดาเก๊ คือโลกีย์ก็คือโง่ ไม่รู้จักกิเลสตัวการ แต่ถ้าจับตัวการได้ ทำให้มันลดละ จางคลาย ก็เริ่มเกิดเป็นอุบัติเทพ ลดได้อย่างมีไฟฌาน มีไฟปัญญา ลดละกิเลส ไม่ต้องไปนั่งเข้าฌาน แต่อยู่ในชีวิตประจำวันได้ มีไฟฌาน ที่มีพลังทำลายไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะได้ คำว่า ฌา นี่แปลว่า ไฟ เป็นไฟกองใหญ่ไฟวิเศษ ที่สู้ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะได้ พลังงานทางนามธรรม ก็คือไฟ มีทั้งอกุศล และกุศล
การทำฌาน ต้องเริ่มตั้งแต่ถือศีล แล้วมีการสำรวมอินทรีย์ แล้วปฏิบัติลดละไปตามลำดับ ลดกิเลสได้ ก็เป็นเทวดาอุบัติเทพ ลดได้หมดก็เป็น เทวดาวิสุทธิเทพ แต่สมมุติเทพ เป็นเทวดาเก๊ ซึ่งเทวดาเก๊ มี ๖ ชั้น
เทวดามี
๑.จตุมหาราชิกา ๒.ดาวดึงส์ ๓.ยามา ๔.ดุสิต ๕.นิมมานรดี ๖.ปรนิมมิตวสวตี
คือจิตนี่แหละ มันเป็น ผู้ไม่เข้าใจจะหลง
๑.จตุมหาราชิกา คำว่า จตุ คือ สี่ทิศ เหนือใต้ออกตก ครบทุกทิศ เป็นผู้เก่ง ผู้ได้อำนาจ เป็นธรรมาธิปไตย เป็นอำนาจทางธรรม ไม่ใช่อำนาจทางโลก หรืออำนาจทางอัตตา พวกอัตตาธิปไตย คือมุ่นแต่ในจิต ไม่เกี่ยวกับใคร ส่วนโลกาธิปไตย คือใช้อำนาจลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข มาเป็นอำนาจล่อให้คนหลง แต่อัตตาธิปไตย เอาแต่จิตตน ทำฤทธิ์เดช หรือได้สงบนิ่ง ไม่เอาอะไร ไม่เอาเรื่องเอาราวกับใครเลย นี่คือ เห็นแก่ตัวเต็มบ้องเลย
ส่วนอาริยะของพุทธ จะต่างกับ อารยะกับอริยะ ผู้ไม่รู้จะไปจมกับความเป็น จตุมหาราชแบบโลกๆ ทุกวันนี้ เขาจะเป็นจ้าวโลกกันด้วย อารยธรรม แต่ละประเทศ ก็พยายามเป็นจ้าวแห่ง ลาภ ยศ สรรเสริญ กาม อัตตา ควบคุมได้หมดเลย อยู่ใต้อำนาจฉัน ข้านี่แหละใหญ่ เป็นมหาพรหม เป็นจ้าวโลก เขาจะเอาเช่นนั้น จตุมหาราชิกาโลกีย์ เป็นเช่นนั้น แต่ของพุทธ เป็นธรรมาธิปไตย เป็นอำนาจทางธรรม ของอาริยบุคคล รู้จักโลก รู้จักจิต รู้จัก objective คือวัตถุวิสัย และ subjective คือจิตวิสัย รู้อย่างสภาวะจริง แยกออกด้วย ต้องยอมรับว่า ต้องมีทั้งโลกและจิต ต้องมีทั้งวัตถุและจิต แล้วจะเป็นจตุมหาราชิกาด้วย เอาตั้งแต่อบาย ที่เราจะตัดขอบเขต ปริเฉทของตน ปฏิบัติแค่นี้ เจียมตัวแค่นี้ ปฏิบัติทั้งโลกและอัตตา ก็กำจัดอกุศล ตั้งแต่อบายให้ได้ ก็เป็นตัวอย่างแก่เรา
๒. ดาวดึงส์ คืออาการทางจิต เป็นอาการที่ ๓๓ ที่ทำงานร่วมมาจาก อาการ ๓๒ ที่รวมกันเป็นคนนี่แหละ ตั้งแต่ผม ขน ฟัน เล็บ ผิวหนัง ... ไปจนถึง ขี้อ่อนขี้แก่ ไส้ ฯลฯ... อาการสุขนี้ ทางโลกก็มี แต่ทางธรรมก็มี ทางธรรมเป็นสุข เป็นเนกขัมสิตโสมนัสเวทนา แยกออกว่า ต่างกันนะ กับ เคหสิตโสมนัสเวทนา เราทำได้รู้เอง เป็นปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ รู้แทนกันไม่ได้ด้วย ช้อนนี้อยู่ในชามแจ่ว จะไปรู้รสแกง อย่างกับช้อนในชามแกงไม่ได้ ต้องมามีเหตุปัจจัย สัมผัสครบจึงรู้
๓. ยามา คือเวลา ถ้าทำได้นาน ก็เป็นดาวดึงส์โลกีย์นานๆ รักษาอารมณ์นี้ไว้ ที่จริงไม่มีสัมผัส ก็ไม่มีอารมณ์จริง แล้วแต่คุณสั่งสมไว้จำได้ เป็นอนุสัยอีก ของพระพุทธเจ้าให้ล้าง ไม่จำมันเลยได้ก็ดี อารมณ์โง่ๆ ยามาคือระยะของเวลา ถ้าทำได้นาน ก็เป็นเทวดานาน
๔. ดุสิตา คือแดนสงบแดนพัก เป็นแดนพักยก ไม่ได้ดีดดิ้นกับสุขทุกข์ เป็นโดยธรรมชาติ คุณก็อยู่ดุสิตได้ ดุสิตโลกีย์ ก็พักโดยไม่รู้ตัว มันเมื่อยก็พัก แต่ดุสิตของโลกุตระ คือหยุดได้พักได้ เพราะดับเหตุได้ เป็นดุสิตที่แท้จริง ถ้าทำซ้ำทำทวน ก็เป็นนิมมานรดี ถ้าพักได้มากอย่างพุทธ ก็เป็นบารมี คนอื่นเห็นดีด้วย ก็มาช่วยสร้างความสงบ เป็นปรนิมมิตวสวตี เป็นหมู่กลุ่ม ที่สงบสุข มีลูกหลาน ลึกซึ้ง จนมีพลังวิเศษคุ้มกัน เพราะได้สร้าง อาริยสมบัติมา จนเป็นคุณรังสี มีหมู่พวกเป็นจักรวาล ใหญ่ขึ้นๆ ที่มีพลังอำนาจ เรียกว่า ปรนิมมิตวสวตี
๖.ปรนิมมิตวสวตี
มาดูคำแปล ของท่านทั่วไปนะ
๑.จาตุมหาราชิกา คำแปลของท่านอื่นๆ เรียก จาตุมหาราชิกา ว่าเป็นสวรรค์ชั้นที่ ท้าวมหาราช ๔ ปกครอง
๒.ดาวดึงส์ ท่านแปลว่า แดนแห่งเทพ ๓๓ มีท้าวสันดุสิตเป็นใหญ่ ก็เป็นบุคลาธิษฐาน
๓.ยามา คือแดนแห่งเทพ ผู้ปราศจากความทุกข์ ปราศจากความทุกข์แบบโลกีย์ก็ได้ แต่ถ้ายิ่งปราศจากทุกข์ อย่างโลกุตระก็ได้
๔.ดุสิต คือแดนแห่งเทพ ผู้เอิบอิ่มด้วย สิริสมบัติของตน ที่จริง สิตะแปลว่าเย็นนะ มันเป็นการเย็น การพัก ไม่เร่าร้อน
๕.นิมมานรดี ท่านบอกว่า เป็นแดนแห่งเทพผู้ยินดีในการเนรมิต คือสร้าง ก็กลางๆ เป็นชาวโลกก็ได้ มีแบบเลวด้วยก็ได้ แม้สร้างอย่างโกงด้วย ก็น่าหวั่นเกรง กลัวถูกจับได้ แต่ถ้าสร้างได้อย่างสุจริต ก็ยินดี อย่างไม่น่ากลัว
๖.ปรนิมมิตวสวตี แดนแห่งเทพ ที่ยังสมบัติให้เป็นไป อย่างผู้อื่นเนรมิตให้
ความหมายของท่าน ที่แปลมา ก็ไม่ต่างกัน แต่อาตมาขยายให้ได้ ทั้งโลกียะ และโลกุตระ
ลักษณะโลกุตระ คือคุณธรรมที่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วเอามาประกาศ แต่ทุกวันนี้ โลกุตระเพี้ยนไปมาก เหมือนกลองอานกะ ที่ไม่เหลือ เนื้อกลองเดิมแล้ว อาตมานำธรรมะ ที่เป็นโลกุตระ ที่หายไปแล้ว มาประกาศ ก็อยู่ได้ เพราะว่าธรรมรักษา ผู้ประพฤติธรรม ธัมโม หเว รักขติ ธัมมจาริง ไม่ได้มีอย่างอื่น มาช่วยเลย ไม่มีปริญญา ไม่มียศ ไม่มีลาภ ไม่มีตัวช่วยอื่นๆเลย นอกจาก ธรรมะแท้ๆ ที่พิสูจน์ยืนยันมา
...ฟังธรรมแล้วเอาไปทำ อย่าฟังธรรมแล้วเอาไปทิ้ง
ปฏิบัติธรรม ให้ได้ประโยชน์กันเทอญ...
ตรวจทานใหม่ 20ก.พ.2568