580224_ธรรมาธรรมะสงคราม ที่ สันติฯ ความมหัศจรรย์ของธรรมวินัย ๘ |
พ่อครูว่า... วันนี้วันอังคารที่ ๒๔ ก.พ. ๒๕๕๘ ก็จวนจะหมดเดือนแล้ว วันเวลาเคลื่อนไป เดี๋ยววันๆ แก่ไม่ทัน แต่ละวันไวเหลือเกิน ก็เลยคงที่ ใจเราไม่แก่ ร่างกายย่อมเสื่อมไปตามวัย เป็นรูปธรรม ที่สังเคราะห์กัน ก็เสื่อมไปๆ ร่างกายคนเรา ในภาษาไทยเรียกว่า ร่างกาย ที่จริงก็สมบูรณ์ดี เพราะคำว่า กายที่เป็นร่าง ของสัตว์โลก จิตนิยาม
ในนิยามชีวิต ๕ อย่าง อุตุ พีชะ จิต กรรม ธรรมะ
ตั้งแต่มีเกิด ระเบิดของ Bigbang แตกตัวในมหาจักรวาล เอกภพนี้ ก็มีอะไร มากมายก่ายกอง เราไปจับ หาความเป็นชีวะ ยังไม่ได้ เพราะว่า มันรวมแล้ว มีพลังงานสูง จนกระทั่ง ชีวะเกิดไม่ได้ อย่างในดวงอาทิตย์ ไม่มีชีวะเกิดได้เลย พลังงานหรือสสาร ที่เรียกว่า รูป กับ นาม
รูป นี่เบื้องต้น ท่านแยกเป็นสสาร แต่ว่า นามนี่ เกี่ยวข้องกับ ความเป็นรูปด้วย ก็เลยมีคำอีกคำ เรียกว่า กาย คำว่ากาย คือองค์ประชุมของรูป นาม ถ้ามีแต่รูปเลย อย่างดวงอาทิตย์ ตัวมันเอง ไม่รู้ตัวมันเลย เพราะไม่มีนาม ไม่มีธาตุรู้ ไม่เป็นชีวะ
โลกบางรูป ก็มีพลังงานพีชะ แต่ก็ยังไม่พัฒนา สู่จิตนิยาม ที่เรียกว่า สัตว์ ที่มีตั้งแต่ สัตว์เซลล์เดียว จนมีหลายเซลล์ จนโตถึงระดับ เป็นสัตว์โลก มีอวัยวะร่างกาย จนโตเป็นมนุษย์ พระพุทธเจ้า นับว่ามีอาการ ๓๒ ตั้งแต่ ผม ขน เล็บ ฟัน ผิวหนัง นับเป็นแต่ร่าง ไม่ใช่กาย เป็นแต่รูป ไม่มีนามธรรม มาเกี่ยวข้อง เช่น ผมนี่ พอยาวมาเกินขีด นามธรรมก็ไม่เกี่ยวข้อง เล็บ ฟัน ประสาท มันก็มีส่วนหนึ่ง ที่เลี้ยงมันอยู่ ท่านเรียกว่าเป็น ปสาทรูป แต่ปลายออกมา พลังงานก็ไม่มาทำงาน ร่วมด้วย เช่น ผม ตัดทิ้งได้ ไม่มีอะไร เล็บ ฟัน ผิวหนัง ก็เป็นแต่รูป
ถ้าเข้าใจคำว่ากาย ไม่รอบถ้วน เราจะไม่สามารถ ปฏิบัติธรรม ถึงนิพพานได้ เราจึงจำเป็นต้อง เข้าใจกาย พิจารณา กายในกาย ตั้งแต่กายภายนอก หยาบๆ แล้วเราจะรู้ ความเป็นกาย คือองค์ประชุม แล้วตัวรู้จริงๆ คือรู้โดยการเกี่ยวข้อง แต่อาการที่จะพิจารณา ลึกเข้าไป ต้องเรียนรู้ นามที่เกี่ยวกับรูป เป็นกาย เพราะถ้าไม่เกี่ยวกับ รูปภายนอกเลย ก็เป็นองค์ประชุมได้ ท่านเรียกว่า นามกาย มีแต่นาม แต่ว่าคำว่า นามกาย นั้น ก็ไม่ได้ขาดจาก ข้างนอกอีก ในการที่จะเรียนรู้
เบื้องต้นต้องเรียนรู้ ตั้งแต่มีส่วนที่เกี่ยวเนื่อง กับภายนอก พาเราเห็น เราเรียกว่า ปสาทรูป คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ถ้าไม่มีประสาทร่วมด้วย ไม่เรียกว่า กาย เพราะถ้าไม่มีนาม มาเกี่ยวข้อง ไม่เจ็บไม่ปวด ไม่รู้สึก การศึกษา ถ้าไม่ได้มีจิตเข้าไปร่วมด้วย ก็ศึกษารู้ทุกข์ สุขไม่ได้ และทุกข์เป็นอาริยสัจ แต่สิ่งที่มันเกี่ยว นี่แหละ พาทุกข์พาสุข ที่จริงดิน น้ำ ไฟ ลม แท่งก้อน ไม่ใช่ของเราเลย ผมขนฟันเล็บผิวหนัง แม้เป็นอวัยวะ ก็ไม่รู้สึกได้ มันก็ไม่เป็นเรา ยิ่งกว่า เพราะความเป็นเรา ของเรานี่ เรายึด ยิ่งข้างนอก เป็นธนบัติ แผ่นดิน ยิ่งไม่ใช่ของเราเลย แม้กระทั่ง ทิ้งวัตถุสมบัติข้างนอก ท่านก็บอกว่า กายไม่ใช่เรา ก่อนที่จะถึงกายไม่ใช่เรา ผมขนฟันเล็บผิวหนัง ก็ไม่ใช่กาย คุณไม่ทุกข์ไม่สุข ส่วนคนรักผม อย่างผู้หญิงนี่ รักผมมากนะ ที่จริง มันไม่เจ็บ ไม่ปวดอะไร แต่หวงเหลือเกินนะ นี่คือภาระ ต้องแย่งชิง ยึดหอบหวง แสวงหา โลภมาสารพัด การเรียนรู้พวกนี้ จึงลึกซึ้งมาก
พระพุทธเจ้าท่านว่า ต้องสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย หากไม่เข้าใจตรงนี้ ก็ไม่สิ้น อาสวะเกลี้ยง แม้จะทำได้ อาสวะบางอย่าง หมดไปได้ เอาแต่รู้ใน ปฏิบัติไป พยายามจริงๆ ก็อาจทำให้ อาสวะบางอย่าง ดับได้ แต่เมื่อไม่ออกมา เรียนรู้ของจริง ทำแต่ภายใน ก็จับอาการทุกข์ สุข ก็ได้แต่ได้ยาก ไม่ชัด เพราะความรู้ ไม่เป็นเบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย เรียนรู้ไม่เป็นลำดับ ตั้งแต่หยาบ ไปถึงละเอียด ก็จะยาก เช่น เอาใบมีดโกน ถากละเอียดได้ แต่ว่ามาถาก สิ่งหยาบ ทำไม่ได้ แต่ถ้าใช้มีดใหญ่ ถากหยาบก่อน จะมีปัญญา ที่เป็นไป ตามลำดับ ละเอียดไปเรื่อย เป็นปัญญา ที่พอถึงละเอียด ก็จะมีปัญญาตัดได้
ธรรมะพระพุทธเจ้า ไม่โกรกชัน เหมือนหุบเหว หรือขรุขระ แต่ว่าลาดลุ่ม เหมือนฝั่งมหาสมุทร ท่านเรียก อันนี้ว่า เป็นเรื่องของ ความอัจฉริยะ หรือภาษาบาลี อีกคำคือ อัพภูตธรรม อาตมาจะเน้น การปฏิบัติ เบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย สำคัญมาก เพราะทุกวันนี้ ปฏิบัติกันผิด แม้อาจารย์ ที่เขานับถือว่าอรหันต์ ก็ไปนั่งดับ หลับตา เอาแต่เฉพาะนาม ให้ตัดร่างกายออกไป จะพูดกันเรื่อง นามรูป หรือนามกาย ก็ยาก ไม่รู้เรื่อง รูปกายก็ไม่รู้เรื่อง จะเข้าใจแต่ร่างภายนอก ไม่เกี่ยวกับนามเลย ถ้าเป็นรูปรูป ก็เป็นกายไม่ได้
วิธีปฏิบัติของพระพุทธเจ้า จึงลืมตา เปิดรับสัมผัสปฏิบัติ เปิดหู แม้กิเลสภายนอกหมด ก็ลืมตาเห็นอยู่ กระทุ้งกระแทกอย่างไร ก็ไม่มีปฏิกิริยา กิเลสเกิด ผู้ที่จะมีนิโรธ ใช้สำนวนพระไตรฯว่า ต้องเป็นอนาคามี จึงเข้านิโรธได้ คือเข้าถึงผล บรรลุผล ดับกิเลสถึงนิโรธได้ ต้องเป็นอนาคามี คือดับจากกามภพแล้ว ซึ่งแต่อบายนั้น ก็ยังไม่ลึก โสดาบัน สกิทาคามี ก็ยังไม่ถึงนิโรธ ดับได้เด็ดขาดถาวร ไม่เวียนวนอีก เรียกว่า นิโรธ ถ้าเข้าใจสภาพของกาย ไม่สมบูรณ์ ก็จะเป็นการสร้างจิต ให้ไม่มีกิเลส แล้วจิตตั้งมั่น หากมีแต่วิธี นั่งสมาธิ ก็ไม่เกี่ยวกับ กายภายนอก ก็ไม่มีกายสักขี ก็จะมีแต่ กายวิญญาณ ที่ทำอาสวะ บางอย่างดับได้ แต่ก็ไม่ได้สมบูรณ์ เหมือนเอาใบมีดโกน หั่นกิเลสภายในได้ แต่เอามาหั่น กิเลสภายนอก ไม่ได้ ต้องเริ่มต้น แต่ภายนอก ถึงเข้าหาใน ได้ละเอียด และทำได้ อย่างมีเบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย เป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก
ที่นิยมกันทำกันมานี่ เพี้ยนไปแล้ว มันมีมาแต่ยุคไหนๆ พระพุทธเจ้า ถึงมาสอนว่า แบบนั้น ของกล้วยๆ แต่ไม่มี ประสิทธิภาพ ล้างอาสวะสิ้น แต่อย่างนี้สิ จะล้างกิเลสสิ้น ถ้าทำไม่ถูกอย่างนี้ ไม่สิ้น เป็นเรื่อง อัศจรรย์ ต้องเรียนรู้ สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย เป็นกายสักขี ต้องครบ รูปกาย นามกาย คำว่า รูปกาย นี่กินความถึง มีนามด้วย
รูปรูป รูปขันธ์ไม่มีกาย แต่ว่า รูปกาย มีนามมาร่วมแล้ว แต่ถ้ารูปกาย ไม่เกิดการสังขารกัน รูปกับนาม มาอยู่เป็นองค์รวม แต่ไม่สังขาร ก็ไม่เกิดวิญญาณไม่มีการรับรู้เลย เหมือนขนมชั้น แปะกันอยู่เฉยๆ ในขณะที่รูป กับนาม ประชุมกันอย่าง ไม่มีตัวที่ ๓ นั้น อาตมาแยกเป็น
๑. รูปรูป อันนี้ไม่มีนามแน่
๒. รูปนาม มีนามมาร่วมแล้ว แต่ไม่เกิดวิญญาณ ไม่เป็นกาย
๓. รูปกาย ก็เริ่มมีนาม มารับรู้แล้ว แต่เนื่องกับภายนอก เน้นภายนอก
๔. นามกาย อันนี้เป็นภายใน เน้นภายใน
๕. นามรูป อันนี้เป็นคำรวม นามธรรมจะรู้ทั้ง รูปข้างนอก ในพระไตร.ล.๑๖ ข.๑๔ เราเรียก นาม ว่า เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ในพระไตรฯ ล.๑๖ ข.๒๓๐ ว่า กาย นี่เราเรียกว่า จิต มโน หรือ วิญญาณ
โผฏฐัพพะนี่จะเน้นนอก ข้างในเรียกว่า ธรรมารมย์ ข้างนอกเรียก โผฏฐัพพารมย์ การทำใจในใจ คือ มนสิการ ในส่วนนี้ทั้งหมด ที่เรียกว่านาม ๕ ผัสสะเป็นตัวเชื่อม
นามมี ๕ แล้วรูป มีรูป ๒๘
๑.มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่ง ไปทันที
เวลาปฏิบัติเบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย มันเป็นลำดับที่ ถ้าจะให้เนียนเรียบนี่ พระพุทธเจ้าว่า เป็นอัจฉริยะ หรือ อัพภูตธรรม เป็นธรรมะอันน่าอัศจรรย์ ที่ยังไม่เคยมี มาก่อน ถ้าพระพุทธเจ้าไม่เกิด ลำดับ ที่ละเอียดลออนี้ ไม่เกิด ไม่มี ก็จะไปนั่งสมาธิ ไม่รู้กายสมบูรณ์ ปฏิบัติธรรม ไม่มีทาง บรรลุสูงสุด ต้องเข้าใจ แต่กายในกาย ที่เป็นสักกายะ องค์ประชุม ต้องไม่ขาดกาย
คำว่า ไม่ขาดกาย คืออย่างไร ...พระพุทธเจ้า พาปฏิบัติ มรรคองค์ ๘ ปฏิบัติมรรค ๗ องค์ สั่งสมเป็น สัมมาสมาธิ มีสุรภาโว สติมันโต อิธ พรหมจริยวาโส ถ้าปฏิบัติลืมตา ตีกรอบศีล ว่าเอาแค่นี้นะ โทสะ ราคะ ก็เอาแค่นี้นะ ถ้าจัดกว่านี้ไม่เอา หรือจะเอาสัมผัสเสียดสี กามคุณ ๕ ก็เกิดรส ประมาณหนึ่ง เช่นเรื่องเพศ ก็เอาแค่ ผัวเดียวเมียเดียว ส่วนข้อ ๔ ก็อย่าพูดปด ข้อ ๕ ก็เรื่องอบายมุข ที่มันพาตกต่ำ อย่างจัดจ้าน เรียกว่า อบายทั้งนั้น ที่เป็นสิ่งจัด กามก็ตาม อัตตาความใหญ่ก็ตาม ที่มากใหญ่จัดหนา เราก็ไม่เอา พอแล้ว คุณก็เริ่มต้น ปฏิบัติ ในกรอบนี้ก่อน ด้วยมรรค ๗ องค์นี่แหละ
ปฏิบัติเบื้องต้น ต้องตีกรอบ ศีล ๕ ต้องเป็นเวไนยสัตว์ จึงเรียนรู้ปฏิบัติได้ แต่ถ้าเป็น อเวไนยสัตว์ ก็เรียนรู้ ปฏิบัติไม่ได้ แม้ท่องจำ เป็นนกแก้ว นกขุนทอง ก็ไม่อาจปฏิบัติ เข้าถึงได้ ในวิโมกข์ ๘
๑. รูปี รูปานิ ปัสสติ คือ ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูป นั่นหมายถึง ผู้นี้ต้องมีทั้ง รูปและนาม มีนามจึงรู้รูปได้ คนสามารถ รู้จักรูปได้ ตาเห็น หูได้ยิน ก็ต้องสามารถ รูปีรูปานิ ปัสสติ สามารถ อ่านรู้รูปได้ รูปอันนี้ หมายถึง สิ่งที่ถูกรู้ โดยธาตุรู้ของเรา สัมผัสแล้ว องค์ประชุมเกิด เรียกว่า จิต มโน วิญญาณ ก็รู้ คำว่ากาย จึงเน้นที่ ธาตุรู้ เป็นสำคัญ
ละกิเลสเบื้องต้น ตั้งแต่อบายก่อน ล้างกามภพต่อมา จนกามภพหมด ก็เป็นอนาคามี ถ้าลืมตา แล้วสัมผัส พลังปัญญา มีสำนึก พอที่จะไม่เกิด สุขทุกข์ ละเมิดไม่ได้ เลวไม่เอา มีจิต หิริโอตตัปปะ ไม่เอา แต่มัน ระริกระรี้ เป็นรูปราคะ อรูปราคะอยู่ จึงเป็นกิลมถะ ลำบากใจอยู่ที่ เรายังเหลือเชื้ออยู่ แต่ก็เปิดทวาร สัมผัสทุกอย่าง แต่กิเลสที่เคยเกิด ที่จะต้องกระทำออก ภายนอกไม่ทำเด็ดขาด ถ้าละเมิดอยู่ ก็ยังไม่จริง ถ้าคุณกดข่ม ก็ไม่จริง แต่พลัง ที่เป็นปัญญา สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ รู้ด้วยปัญญา ที่ไม่ใช่ ฉลาดเฉโก แต่ฉลาดปัญญา จะมีพลังงาน ไปสลายกิเลส เป็นความจริง ที่ลืมตา มีกายตลอด เป็นอนาคามี ก็ลืมตา แม้เป็นอรหัตตมรรค คือสำเร็จอนาคามีผล นั้น รูปราคะหมดแล้ว อรูปราคะ ก็หมดแล้ว เหลือแต่ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หมดกิลมถะแล้ว จะเหลือแต่ทรถะ มันเป็นภาระ ส่วนมานะนั้น มีแต่ดี ไม่ใช่มานะชั่ว แต่ถ้ายึดว่า มานะเป็นเรา ถือว่ายังชั่วอยู่ สำหรับอนาคามี แต่ถ้าโสดาบัน นี่ต้องพยายาม ให้มีมานะ เพื่อจะให้อยากได้ อยากดี ไม่ใช่ได้ชั่วนะ ต้องมีมานะ แต่ถ้าระดับ อนาคามีเหลือมานะ น้อยลงแล้ว แต่ก็เป็นทุกข์นะ เพราะมันจะลาดลุ่ม เป็นลำดับ มานะของอนาคามี เหลือน้อยนะ แต่ท่านถือ เป็นเรื่องสำคัญ เรื่องใหญ่ แต่ถ้าเทียบกับทั่วไปแล้ว มันถือเป็นภาระ ของท่าน เมื่อหมดมานะ ก็คืออุปกิเลส ยังยึดดี เอาดี มันถึงจะเป็นสุข ถ้าได้สมใจขนาดนี้ อย่างนี้เป็นสุข ถ้าไม่ได้อย่างนี้ ก็ทุกข์ บางทีก็ดีใจ อนาคามี ถึงอรหัตตมรรค มีดีใจ แต่ไม่ออกมาถึงหยาบ อาจนอนไม่หลับ จะไปว่าเขานะ แต่คนอื่น ไม่รู้ด้วยหรอก แต่ตนเองสิ ถ้าเผื่อว่า ตัวคนนี้ไม่ลึกซึ้ง ละเอียดนะ อาจมีภาวะ ของจริตของท่าน ลดรูปราคะ อรูปราคะได้ แต่มานะมีอยู่ อุทธัจจะ ก็จะแรงฟุ้งแรง แต่ไม่มี ใครรู้ด้วยหรอก ติดอยู่ในใจ ถือดีอยู่ ปฏิบัติไปเถอะ ใครจริตอะไร ก็จะรู้ จนกว่าจะลดมานะ หมดอุทธัจจะ ก็เหลือแต่ตรวจสอบด้วย อรูปฌานไป
ก็คือเรียนรู้ เวทนา ๑๐๘ ให้บริบูรณ์ ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ทุกปัจจุบัน เป็นตัวปฏิบัติให้เกิด อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา แล้วให้เป็น นิจจัง (เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสสตัง (ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง (ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง (ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง (ไม่กลับกำเริบ) พิสูจน์ด้วย อดีต ๓๖ เวทนาก็สูญ อนาคตอีก ๓๖ ก็สูญ และทั้ง อดีตและอนาคต ก็สูญอีก ๓๖ จนหมดอวิชชาสวะ
ผู้ที่ทำถูกต้อง มีระบบ จะไม่ทิ้งกายเลย มีอิริยาบถ กาย วาจา ใจครบ มีอยู่ทุกปัจจุบัน เป็นวิหารติด้วย แต่อาการจิต คุณก็ตรวจ จนปฏิญาณตนได้ว่า เป็นกตญาณ สำเร็จเรียบร้อย หมดความยึดถือ เกลี้ยง ท่านใช้ศัพท์ สองตัว คือ สิ้นตัณหา และทิฏฐิ
สิ้นตัณหาคือ กามตัณหา ภวตัณหาก็สิ้น และสิ้น วิภวตัณหาด้วย แม้วิภาวตัณหา คือตัณหา อยากหมดภพด้วย แต่พระอรหันต์ ที่ยังไม่ตาย ต้องทำงาน รื้อขนสัตว์ และจะพัฒนาตน สู่สัมมาสัมโพธิญาณ แต่ท่านหมด ประโยชน์ตนแล้ว มีแต่ประโยชน์ท่าน ถ้าจะบำเพ็ญเป็น พระพุทธเจ้า ก็จะรู้โลกวิทู ต่อไปสั่งสม อย่างเป็น ของจริง อะไรสงสัยอยู่ ก็ไปเกิดเป็นได้ แม้สัตว์บางชนิด
แต่อัศจรรย์ที่ไม่ทิ้งกาย อยู่ตลอด แม้จะบรรลุ เป็นลำดับ ไปเรื่อยๆ จนหมดกิเลส ภายนอก เป็นอนาคามี ก็มีกายสักขี ครบหมด แม้เป็นอรหัตตผล ก็มีกายภายนอก สั่งสมบารมีไปอีก แต่ถ้าไม่ออกมา ภายนอกเลย ไม่มีกายสักขี จึงต้องสัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
อันนี้เป็นข้อ แรกเลยของ ลักษณะธรรม ของพระพุทธเจ้า
[๔๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้ มี ๘ อย่าง เหมือนกันแล ที่พวกภิกษุ พบเห็น แล้วพากันชื่นชม ในธรรมวินัยนี้ ๘ อย่าง เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทร ลุ่มลึกลาดลงไป โดยลำดับ มิใช่ลึก มาแต่เดิมเลย สิกขาตามลำดับ กิริยาตามลำดับ ปฏิปทาตามลำดับ ในธรรมวินัยนี้ ก็เหมือนกัน มิใช่แทงตลอด อรหัตผล มาแต่เดิมเลย ข้อที่สิกขาตามลำดับ กิริยาตามลำดับ ปฏิปทาตามลำดับ ในธรรมวินัยนี้ มิใช่แทงตลอด อรหัตผล มาแต่เดิมเลย นี้เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๑ ที่ภิกษุทั้งหลาย พบเห็นแล้ว พากันชื่นชม ในธรรมวินัยนี้ ฯ
[๔๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน มหาสมุทรตั้งอยู่ ตามธรรมดา ไม่ล้นฝั่ง สาวกทั้งหลาย ของเรา ก็เหมือนกัน ไม่ล่วงละเมิด สิกขาบท ที่เราบัญญัติแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุ แห่งชีวิต ข้อที่สาวก ทั้งหลายของเรา ไม่ล่วงละเมิด สิกขาบท ที่เราบัญญัติแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุ แห่งชีวิต แม้นี้ก็เป็น ความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๒ ที่ภิกษุทั้งหลาย พบเห็นแล้ว พากันชื่นชม ในธรรมวินัยนี้ ฯ
[๔๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทร ไม่ร่วมกับซากศพ ที่ตายแล้ว ซากศพ ที่ตายแล้วใด มีอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทร ย่อมนำซากศพ ที่ตายแล้วนั้น ไปสู่ฝั่ง ซัดขึ้นบกโดยพลัน บุคคลนั้นใด เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติ ไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการกระทำ มิใช่สมณะ ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่พรหมจารี ปฏิญาณว่าเป็น พรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่มด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมอง ก็เหมือนกัน สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับ บุคคลนั้น ย่อมประชุมกัน ยกเธอเสีย โดยพลัน ถึงแม้เธอนั่ง ในท่ามกลาง ภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอชื่อว่า ไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ ก็ไกลจากเธอ ข้อที่บุคคลนั้นใด เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติ ไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบัง การกระทำ มิใช่สมณะ ปฏิญาณว่า เป็นสมณะ มิใช่พรหมจารี ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่มด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมอง สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับ บุคคลนั้น ย่อมประชุมกัน ยกเธอเสียโดยพลัน ถึงแม้เธอ นั่งในท่ามกลาง ภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอชื่อว่า ไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ ก็ไกลจากเธอ แม้นี้ก็เป็น ความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้
เป็นข้อที่ ๓ ที่ภิกษุทั้งหลาย พบเห็น แล้วพากันชื่นชม ในธรรมวินัยนี้ ฯ
[๔๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่ บางสาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละนาม และโคตรเดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่า มหาสมุทรทีเดียว วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็เหมือนกัน ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัย ที่ตถาคต ประกาศแล้ว ย่อมละชื่อ และตระกูลเดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่า สมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร ทีเดียว ข้อที่ วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัย ที่ตถาคต ประกาศแล้ว ย่อมละชื่อ และตระกูลเดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่า สมณะ เชื้อสาย พระศากยบุตร ทีเดียว แม้นี้ก็เป็น ความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๔ ที่ภิกษุทั้งหลาย พบเห็นแล้ว พากันชื่นชม ในธรรมวินัยนี้ ฯ
[๔๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ บางสายในโลก ที่ไหลไป ย่อมไปรวม ยังมหาสมุทร และสายฝน ยังตกลงมา จากอากาศ ความพร่อง หรือความเต็ม ของมหาสมุทร ย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น ภิกษุจำนวนมาก ก็เหมือนกัน ถ้าแม้ยัง ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสส นิพพานธาตุ ความพร่อง หรือความเต็ม ของนิพพานธาตุ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น ข้อที่ภิกษุจำนวนมาก ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสส นิพพานธาตุ ความพร่อง หรือความเต็ม ของนิพพานธาตุ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น แม้นี้ก็เป็น ความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๕ ที่ภิกษุทั้งหลาย พบเห็นแล้ว พากันชื่นชม ในธรรมวินัยนี้ ฯ
[๔๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทร มีรสเค็มรสเดียว ธรรมวินัยนี้ ก็เหมือนกัน มีวิมุตติรส รสเดียว ข้อที่ธรรมวินัยนี้ มีวิมุตติรส รสเดียว แม้นี้ก็เป็น ความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๖ ที่ภิกษุทั้งหลาย พบเห็นแล้ว พากันชื่นชม ในธรรมวินัยนี้ ฯ
[๔๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทร มีรัตนะมาก มีรัตนะ มิใช่ชนิดเดียว รัตนะ ในมหาสมุทรนั้น เหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ธรรมวินัยนี้ ก็เหมือนกัน มีรัตนะมาก มีรัตนะ มิใช่อย่างเดียว รัตนะในธรรมวินัยนั้น เหล่านี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค มีองค์ ๘ ข้อที่ธรรมวินัยนี้ มีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่อย่างเดียว รัตนะในธรรมวินัยนั้น เหล่านี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ... อริยมรรค มีองค์ ๘ แม้นี้ก็เป็น ความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๗ ที่ภิกษุทั้งหลาย พบเห็นแล้ว พากันชื่นชม ในธรรมวินัยนี้ ฯ
[๔๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทร เป็นที่อยู่อาศัยของ สัตว์ใหญ่ๆ สัตว์ใหญ่ๆ ในมหาสมุทร นั้นเหล่านี้ คือ ปลาติมิ ... อสูร นาค คนธรรพ์ มีอยู่ในมหาสมุทร มีลำตัว ตั้งร้อยโยชน์ก็มี สองร้อยโยชน์ก็มี สามร้อยโยชน์ก็มี สี่ร้อยโยชน์ก็มี ห้าร้อยโยชน์ก็มี ธรรมวินัยนี้ ก็เหมือนกัน เป็นที่อยู่
อาศัย ของคนใหญ่ๆ คนใหญ่ๆ ในธรรมวินัยนั้น เหล่านี้ คือ โสดาบัน ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล สกิทาคามี ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งสกิทาคามิผล อนาคามี ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งอนาคามิผล อรหันต์ ผู้ปฏิบัติ เพื่อความเป็นอรหันต์ ข้อที่ธรรมวินัยนี้ เป็นที่อยู่อาศัย ของคนใหญ่ๆ คนใหญ่ๆ ในธรรมวินัย นั้นเหล่านี้ คือ โสดาบัน ... ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ แม้นี้ก็เป็น ความอัศจรรย์
ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๘ ที่ภิกษุทั้งหลาย พบเห็น แล้วพากันชื่นชม ในธรรมวินัยนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้ ๘ ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลาย พบเห็น แล้วพากันชื่นชม ในธรรมวินัยนี้ ฯ
พ่อครูว่า... ในวันวาเลนไทน์ ที่ผ่านมา เขาบอกว่า เป็นวันที่เสียตัว ของผู้หญิง แล้วผู้ชายนี่ มักบอกว่า ต้องพิสูจน์ ความรัก ว่าจริงว่าแท้ ด้วยการเสียตัว ..อาตมาก็ว่า เป็นความหลอก แท้ๆเลย เขาบอกว่า เขาฉลาด เขาหลอก ให้ผู้หญิงเสียตัว ให้นี่เขาว่า เขาฉลาด แต่แท้จิรง เป็นความโง่ ของความโกง เพราะถ้าเสียตัวขึ้นมา ความรักก็ไม่บริสุทธิ์แล้ว ด่างแล้ว แล้วคนเห็น ความไม่สะอาด มาเป็นความสะอาด นี่โง่ไหม? แล้วบอกว่า พิสูจน์ความรัก ต้องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ แต่แท้จริง พิสูจน์ความไม่บริสุทธิ์ ของคุณนั่นแหละ คนที่ไปหลอก คนเช่นนี้ คือคนโง่ มันเหมือนคำว่า หยาบละเอียดจังเลย โอ้โห นี่มัน น้อยมาก จังเลย หรือว่า มัน ร้อนเย็นจังเลย นี่ก็ยากแล้ว
การพิสูจน์ความสะอาด บริสุทธิ์ ด้วยการทำให้เกิด ความไม่สะอาด บริสุทธิ์ นี่ใช้ไม่ได้ วันวาเลนไทน์ ต้องพยายาม รักษาความสะอาด บริสุทธิ์ เอาไว้ต่างหาก ทั้งหญิงและชาย อย่าไปหลอกกันนะ จะพากันโง่ ซ้ำซ้อน
คำว่า วรรณะ นี่อยู่ในศาสนาพราหมณ์ แต่ว่า พุทธกับพราหมณ์ ก็เปลี่ยนไป เปลี่ยนมา ทำให้ในพุทธเอง ก็มีวรรณะ มีชั้นลำดับไปด้วย คนจะให้ทุกอย่าง เท่ากันหมด ไม่มีหรอก นอกจาก นิพพานเท่านั้น ที่สูญ และทั้งพลังงาน และสสารทั้งหมด ไม่มีสูญจริง จะมีทศนิยม ตลอดเวลา แม้ตนเอง ไม่มีแรงทำ ทศนิยม ให้ตน ก็ต้องถูกสิ่งอื่น ทำให้มีทศนิยม ยิ่งตนเป็น สวะลอยไป ก็ยิ่งถูก เตะไปเตะมา เหมือนอุกาบาต อย่างน้อย เราต้องเข้าสู่วงจร จึงไม่ถูกเตะมาก สิ่งมหัศจรรย์ คือพระพุทธเจ้า ท่านล้มล้าง ชั้นวรรณะ สิ่งที่ไม่เท่ากัน ก็ไม่เท่ากัน แต่นิพพานเท่านั้น ที่เท่ากัน สูญเท่ากันได้ แม้หญิงหรือชาย ก็นิพพานได้ ถ้ามีอะไร อย่างอื่นมา ก็ไม่เท่ากันแล้ว ถ้ามีสองแล้ว ไม่เท่ากัน จะเท่ากันได้ ต้องสูญเท่านั้น แต่รู้สมมุติว่า จะไม่เท่ากันตลอด
โสดาบันเสมอโสดาบัน สกิทาคามี เสมอสกิทาคามี อนาคามี เสมออนาคามี อรหันต์ เสมออรหันต์ แต่โสดาบัน ก็ไม่เท่ากับ สกิทาคามี ต้องรู้ คนทำหน้าที่ใด ก็ทำไป คนกวาดขยะ ก็ทำไป แต่จะไม่ไป ริสยาคน เป็นอย่างอื่น อาตมาแบ่งเป็น นักผลิต นักบริการ นักบริหาร นักบุญ (คือผู้ชำระกิเลสได้) คุณก็ทำหน้าที่ไป มันก็มีชั้นลำดับแน่ แต่มีสิทธิ์สูญได้ นักผลิตก็สูญได้ เราต้องการ นักผลิตมาก นักบริหาร ไม่ต้องมากหรอก ใช้สมอง สังคมใด นักบริหารมาก กรรมกรน้อย สังคมนั้นบรรลัย ถ้าสังคมใด มีกรรมกรมาก นักบริหารน้อย สังคมนั้นเจริญ จนกระทั่ง เกิดการบริหาร โดยไม่บริหาร เพราะแต่ละคน ก็ทำหน้าที่ ต่างประสานกัน ตามหน้าที่ ที่บริบูรณ์ โดยไม่ริสยากัน
นักผลิตต้องรวย เพราะต้องมีทุน ในการผลิต เป็นเจ้าของวัตถุ มากที่สุด ส่วนนักบริการ คือพวกทำงาน เชื่อมต่อ เอาผลผลิตไปขาย ไปทำต่อ ผู้ผลิตนี้หนัก ผู้บริการนี้เบากว่า ผู้ผลิตต้องมีรายได้ สูงสุด ผู้บริการ ก็ลดลง ผู้บริหารนี่ ไม่เอาเงินเลย ยิ่งนักบุญแล้วสูงสุด ไม่เอาอะไรกับใคร นี่คือสัจจะ ถ้าผู้ใดเข้าใจ ชัดเจน ตนเองจะรู้ แต่ละฐานะ ก็มีองค์ประกอบ ตามฐานะ คนเข้าใจ รายละเอียดนี้ไม่ได้ ก็เป็นพวก วัตถุนิยม ไม่เข้าใจจิตวิสัย พวกนี้สุดโต่ง ให้เสมอภาคกันหมด ให้มีเงินเท่ากัน มีลำดับเท่ากัน พวกนี้ โง่ไม่เสร็จ ยาก ยึดมั่นถือมั่น ไม่เข้าใจ ลักษณะลาดลุ่ม เหมือนฝั่งทะเล พวกนี้ส่วนใหญ่ หลงปัญญา ไม่เข้าใจ รายละเอียด แล้วตัวคน พวกนี้นี่แหละ ที่บอกว่า เสมอภาค นั้นให้ไปเป็นนักผลิต ก็ไม่ทำหรอก แล้วทำไม่เป็นด้วย มีแต่คิด คิดแล้วก็เอามา ระบายทางปาก จนทุกวันนี้ สังคมชักอวิชชา ก็ถูกพวกนี้ ครอบงำ ไปเป็นทาส พวกวาทกรรม สังคมแย่ลงทุกที
ในอนุปาทิสเสนิพพาน กับ สอุปาทิเสสนิพพาน
อนุปาทิสเสนิพพาน คือกายแตกตาย คือปรมัตถ์ องค์ประชุม แตกแยกกัน เด็ดขาดแล้ว แต่ไม่เกี่ยวกับร่างนะ มีแต่นามกาย แตกนะ ไม่เหลือ ไม่มีขันธ์เหลือ คือเหลือศูนย์ ในขันธ์ ๔ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แต่รูป จะเหลืออยู่ก็ได้
ส่วน สอุปาทิเสสนิพพาน นั้น ในเถรวาท หมายถึงว่า กิเลสตายไป บางส่วน เป็นโสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ แต่อาตมาว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ก็คืออรหันต์ ที่กิเลสตายแล้ว แต่ยังเหลือ รูปนาม ขันธ์ ๕ อยู่
มหาสมุทรมีรสเดียว คือรสเค็ม รสของธรรมวินัย คือ รสไม่สุขไม่ทุกข์