งานพุทธาภิเษกสุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ ๓๗ ที่ พุทธสถาน ศาลีอโศก
 ธรรมที่เป็นพุทธ ตอนที่ 5 |
560301_สรุปเนื้อหา ทำวัตรเช้างานพุทธาฯครั้งที่ ๓๗ โดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์

พระพุทธเจ้า ท่านให้รู้เหตุที่แท้ คือกิเลส จับตัวกิเลสได้ แล้วปหานได้ ลดละจางคลาย ไปตามลำดับ เขย่าบัลลังก์มันได้แล้ว คือ อนิจจานุปัสสี เราทำให้มันลดได้ ใช้ฝีมือ วิขัมภนปหาน กดข่มไว้ก็ตาม มีญาณหยั่งรู้เลย กดข่มไว้ก็ตามมารยาท เป็นวิกขัมภนปหาน ก็ได้ชั่วคราว จนมันเกิดปัญญา เห็นความไม่เที่ยง เห็นรายละเอียด ของจิตวิญญาณ มันเกิดแล้วก็ดับ ในพวกที่เขาไม่รู้ตัว จะเห็นเป็นตรรกะ ฟังตามพยัญชนะภาษา เขาก็เดา เขานับเป็นครั้งๆเลย เขาว่าความเกิดดับๆ มันก็เคลื่อนไป เหมือนโฟตอน ไม่เห็นความขาดตอน ออกมาเป็นตัวตน เป็นชิ้นๆอันๆ ก็เห็นเป็นสองนัย เห็นมันเคลื่อนมันเกิด แล้วก็ดับ อันนี้ก็เป็นตรรกะ ที่จริงก็ใช่ แต่มันไม่ใช่เป้าหมาย จิตที่ควรให้ดับก็ทำให้ดับ

กุศลก็ควรให้เกิดมีต่อเนื่อง จิตที่เกิดดับ คือตัวอกุศลให้มันดับ แล้วเราก็เห็นภาวะ อกุศลดับ จิตที่มันเกิด ก็เป็นจิตเทวดา คือสัตว์นรกตาย เทวดาเกิด เกิดอย่างไม่มีซาก อสรีรัง ไม่มีตัวตน เป็นโอปปาติกโยนิ ถ้าไปเข้าใจว่า เกิดดับ วินาทีละ ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง อย่างนี้ มันจะเกิดกี่ครั้ง ก็ตาม ให้กุศลเกิด อกุศลดับไป ก็แล้วกัน

ถ้าพ่อครูหลงไปตามโลก ก็จะเสียดายชีวิตมาก ที่ไม่รู้จักคุณค่า ที่พระพุทธเจ้า ท่านได้ค้นพบ และมาเปิดเผยประกาศ เราก็เคยหลง วิ่งหัวซุกหัวซุน แย่งชิงไปกับเขา ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าก็ไม่รู้ ในพวกฤาษี ชีไพร เขาก็รู้ว่า ไม่ควรสะสมลาภ ยศ สรรเสริญ แต่ชีวิตเขา ไม่เป็นโลกะวิทู โลกานุกัมปา ชีวิตเขาหลุดพ้นได้อย่างเดียว แต่ไม่มีประโยชน์ต่อ หมู่ชนเป็นอันมาก การปฏิบัติ เขาหนีจาก รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส ซึ่งไม่ใช่หลุดพ้นที่แท้จริง

ผู้บรรลุธรรม เป็นผู้ลืมตาเปิด มีชีวิตอยู่ในกามาวจร แต่หลุดพ้น มาตามขั้นตอน หลุดพ้นอบาย เป็นโสดาบัน แล้วก็ทำต่อ ลดกามคุณ ลดโลกธรรม ลดอัตตาต่อ โลกเขามี แต่เราหลุดพ้นได้ เรามีอวจรไปกับเขา ดำเนินชีวิตไปกับเขา นั่นแหละ และก็จะไม่ไปแข่งกับเขา ไม่ฉลาดเอาเปรียบ และก็ไม่ได้ลดหย่อน สมรรถนะ จิตเป็นโลกะวิทู มากขึ้น และก็เป็นโลกานุกัมปา ช่วยโลก และก็ไม่ใช่ ไปสุขแบบบำเรอ เพราะแยกสุขแบบโลกีย์ กับรสสุข แบบโลกุตระออก เป็นวูปสโมสุข สุขสงบ ทั้งๆที่เขาเอะอะมะเทิ่ง เหมือนคนโหวกเหวกโวยวาย เหมือนวุ่นวาย จุ้นจ้าน มีบทบาท แต่สงบจากโลภโกรธหลง มีแต่วิภวตัณหา อยากช่วย อยากสร้างสรร มีประโยชน์ รู้การประมาณ มีสัปปุริสสธรรม ตามบารมี ตามฐานะ

พวกเรามาเจอมิตรดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี เป็นแสงอรุณ เป็นกัลยาณมิตโต มีจริตขัดแย้งกันบ้าง กิเลสยังไม่หมด ก็ขัดเกลากันไป เป็นธรรมดา แต่โดยกฏเกณฑ์หลักๆ ก็ได้กัน แต่จริตก็มีหลากหลาย มีแปลกๆ เราไม่มีก็แล้วไป แต่เขายังมีอยู่ ยังติดอยู่ อย่างพระสารีบุตร ยังมีกระโดกกระเดก ไม่เรียบร้อยสุภาพ เหมือนคนอื่น ถ้าคนติดใจถือก็มี แต่ท่านมีดีมีเก่ง และ พระพุทธเจ้าก็รองรับ คนก็ไม่กล้าถือท่านมาก มันเป็นวาสนาบารมีติดตัว ทั้งรู้ว่าไม่ดี แต่ก็เอาออกไม่ได้ เราต้องเข้าใจ สิ่งที่เรายึดถือ มันดีจริง แต่สิ่งดีเขามีเท่าไหร่ สิ่งไม่ดีเขามีเล็กน้อย อย่าเอาขี้หมา ไปแลกทองคำ ใครเอาขี้หมา เปื้อนทองคำนิดนึง ก็โยนทองคำทิ้ง

ชีวิตชาติชั่ว ถ้าเรายังมีกิเลสอยู่ พาชั่วทั้งนั้น มีหยาบกลางละเอียด คนที่พ้นมาจากหยาบได้ มันก็มีชาติชั่ว ที่สูงขึ้น (พ่อท่านหยุดไออยู่ ๕ ที) อย่างโสดาบัน เราเลิกหยาบมาได้แล้ว ที่เหลือก็คือ หยาบของเรา เราละอบายได้ แล้วละวิติกมกิเลสได้ เราก็มีปริยุฏฐานกิเลส เป็นอบายของเรา เป็นสกิทาคามี ตามลำดับ จนดับกามภพได้แล้ว ที่เหลือคือ รูปภพ อรูปภพ ก็เป็นอบายของพระอนาคามี เราชัดเจน ของใครของมัน อย่าเอาไปเทียบกัน คนไม่รู้ ก็เอาไปเทียบ กับกิเลสขั้นสูง เราละ ดับชาติได้

ในบทที่ ๓ ชาตินี้ของชีวิต ก็มาเรียนรู้ชาติ

บทที่ ๔ สิ้นชาติ ก็สิ้นชั่ว หมดชาติที่ชั่ว ก็เหลือแต่ชาติที่ดี เหมือนแม่หมา -ลูกหมา ไปเจอศพ ลูกว่าอยากกิน ส่วนนั้นส่วนนี้ของศพ แม่ห้าม ไม่ให้กินซักอย่าง ก็บอกว่า คนนี่ ไม่มีดีอะไรซักอย่าง ตกลง ชาติคนนี่ ไม่ดีซักอย่าง หมาเลยบอกว่า ชาติหมาดีกว่าชาติคน ยิ่งหัวใจก็ร้ายใหญ่ เป็นบทเรียนที่น่าคิด แต่พระพุทธเจ้า ท่านไม่ใช่แค่คิด แต่ท่านเรียนรู้ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ จนท่านเรียนรู้ สัตว์ที่ยิ่งใหญ่ เป็นสัตว์ทางจิตวิญญาณ คนไม่รู้ ก็ผูกสัตว์ไว้ เป็นสังโยชน์ เราเอง ก็ไม่รู้วิธีแก้ ในข้อ ๙ ของทิฏฐิ ๑๐ ต้องเข้าใจว่า สัตว์ที่ท่านหมาย คือสัตว์ทางจิตวิญญาณ (ความเป็นสัตว์ คือใจต่ำ) เป็นเทวดาเก๊ มีอาการอย่างไร ก็ให้รู้จริง อ่านให้ได้ มันไม่มีรูปร่าง เส้นแสงอะไร แต่มันมีอาการ ใครสามารถเห็น สัตว์เหล่านี้ ของตนบ้าง..... ยกมือ ........ อย่าไปสู่รู้ ของคนอื่น รู้ของตนว่า มันกำลังเกิด ก็เห็น ตอนมันไม่เกิด ก็ไม่เห็น พระพุทธเจ้า ท่านจึงมีอุบาย ให้มีผัสสะ จึงจะเกิดให้เห็นจริงๆ ผู้ใดยังไม่มี สัมมาทิฏฐิ แม้แต่สัตว์โอปปาติกะ ไปปฏิบัติก็ไม่แท้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า มโนนั้น อสรีรัง แล้วตัวอาการ เป็นอย่างไร ก็ให้ชัดเจน ไม่สงสัย แต่ที่เขาเขียนออกมา เขาจินตนาการว่า มีรูปร่าง สีสันตัวตน เราก็ไม่ไปสงสัยด้วย เราชัดเจน

สัตว์ที่เป็นพรหม เป็นสัตว์ที่บริสุทธิ์จากสัตว์ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นละเอียด หมดเกลี้ยง แม้นิดน้อยนึง ก็ไม่เหลือเศษ ความเป็นสัตว์เลย อากิญจัญญะเลย แต่จะนั่งหลับตา ก็มีประโยชน์

ในบุคคล ๔ มี
๑. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ แต่ไม่ได้โลกุตระ
๒. บุคคลผู้ได้โลกุตระ แต่ไม่ได้เจโตสมถะ นี่คือ แบบพุทธสายปัญญา
๓. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ และได้ทั้งโลกุตระ
๔. บุคคลผู้ไม่ได้เจโตสมถะ และไม่ได้ทั้งโลกุตระ

ในฌานลืมตากับหลับตา ผู้รู้พุทธชัดเจน ก็รู้ทั้งสองอย่าง อย่างหลับตาคือ แบบทำฌานให้เย็นๆ ไม่ใช่มีฤทธิ์แรง เป็นธาตุไฟ ที่ไปสลาย ราคะ โทสะ โมหะ ในภาษาวิทย์ ความร้อนกับความเย็น อันเดียวกัน ความร้อนมาก ความเย็นมันก็หายไป ความเย็นคือ ความร้อนที่หายไป มันเป็นพลังงาน ชนิดหนึ่ง คือ อุณหธาตุคือไฟ เป็นไฟชนิด ที่ทำลายกันได้จริงๆ มันไม่มีตัวตน ต้องมีองค์ประกอบ จึงทรงความร้อนเย็นได้ เขาพยายามจับมาศึกษา ในฟิสิกส์

เวลาปฏิบัติแบบพุทธ แม้อนาคาฯ ก็มีกามาวจร มีกระทบทวาร ๕ แต่เรื่องที่จะไปปรุงทางกาม ท่านอยู่เหนือแล้ว กิเลสไม่เกิดแล้ว ก็อยู่ในเมืองนรก เขาปรุงแต่งลาภยศ สรรเสริญ ท่านก็อยู่ร่วมด้วย ท่านก็อนุโลมกับเขาได้ อยู่กับโลกได้ ก็พาไปเรื่อยๆอยู่แล้ว ในแดนมหาอเวจีใหญ่ นรกใหญ่ หลุมคอรัปชั่นใหญ่ อย่างรัฐสภา ซักวันก็จะพาไป ยิ่งกว่าบ่อนการพนัน นรกมหาศาล

ฌานลืมตา สมาธิลืมตา ก็ไม่ได้ไปดูแคลน สมาธิหลับตา แล้วก็ทำฌานให้เป็น ฌานคืออะไร? คือปัญญา ยิ่งเป็นฌาน ยิ่งมีปัญญา เป็นคำตรัส พระพุทธเจ้า ถ้าไม่มีปัญญา ไม่เรียกฌาน เป็นพลังปัญญา ที่สามารถสลาย ธาตุที่ไม่ดี ได้อย่างแท้จริง

แต่จะนั่งหลับตาเป็นอุปการะ ก็ได้ เรียนรู้ตามเขาได้ ก็มีประโยชน์ การนั่งสมาธิ ได้ประโยชน์ มีสี่อย่าง คือ

๑. ได้พักผ่อนแบบสงบจิต
๒. ศึกษาเพิ่มทักษะในเจโตสมถะ และใช้ตรวจอ่าน ภาวะจิตต่างๆ ในภวังค์ ใช้ศึกษาปั้น มโนมยอัตตาก็ได้ ไว้ศึกษา
๓. เอื้อให้ปฏิบัติเตวิชโช (ทบทวน) ได้อย่างดี .
๔. สร้างพลังทางจิต ที่จะนำไปทำฤทธิ์ต่างๆ เอาไปใช้เป็นฤทธิ์เดช พระพุทธเจ้า ไม่ส่งเสริม แต่ก็มีได้จริง คนจะหลงติดได้ ถ้าไม่สัมมาทิฏฐิ มันเก่งกว่าคนธรรมดา คนก็หลงติดง่าย ถ้าอยากมี ให้เป็นอรหันต์ก่อน และจะสร้างได้ง่ายกว่า ปางนี้ตอนเป็นฆราวาส พ่อครูก็ฝึกอยู่ แต่มาบวชแล้วไม่ใช้เลย ในยุคนี้ ไม่ต้องใช้เลย

ในวิญญาณฐีติ ๗ ต้องดูความแตกต่าง ทางนามธรรม หรือ จิตวิญญาณให้ออก ในเรื่องกายนอก ก็ดูออกง่าย ในจิตนั้น แยกยากกว่า มันเป็นองค์ประชุม มีทั้งเทวดาและสัตว์นรก ที่ส่วนใหญ่ ก็เข้าใจว่า เทวดา สัตว์นรก เป็นสิ่งนอกตัว มีรูปร่าง แต่พอมาเรียนรู้ถูกต้อง ก็รู้ว่า มันเป็นอุปาทายรูป ที่เนื่องมาจาก การกระทบทวาร แม้จะกระทบ รูปหมาภายนอก แล้วเกิดเห็น รูปหมาภายในใจ มันก็ไม่ใช่ รูปธรรมภายนอก เรียกว่า เป็นนามกาย และมันไม่เที่ยง ได้ยิ่งกว่ารูปนอก สิ่งภายนอกมหาภูตรูปนั้น มันคงที่กว่า แต่ที่จำไว้ในใจนั้น ไม่เที่ยงกว่าข้างนอก บางคนจำได้ชัด บางคน จำได้ไม่ชัด แล้วแต่ใครจะกำหนด ได้ชัดกว่า แต่ทั้งหมดไม่ใช่สิ่งภายนอกนี้แล้ว

ในสัตตาวาส ๙ ข้อ ๑ และวิญญาณฐีติ ข้อ ๑ มี

๑. สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า คือเราเห็นรูปนอก ว่าต่างกัน แล้ว แต่การกำหนดสัญญาภายใน เป็นอุปาทายรูปภายใน ก็ไม่เหมือนกันอีก ขนาดฝาแฝด ยังไม่เหมือนกันหมดเลย

๒. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน เป็นต้น เช่น คนเรารู้จักคนนี้ เช่นคุณยิ่งรัก (ตั๊ก) ให้หลับตาลง แล้วให้สร้างภาพ ยิ่งรักในจิต ก็ไม่เหมือนกัน ในแต่ละคน ที่สร้างภาพยิ่งรักในจิต

และยกตัวอย่าง คนหลับตาสมาธิฌาน กับคนลืมตาสมาธิฌาน

เรามีจุดมุ่งหมายจะทำฌาน เหมือนกัน แบบฤาษีก็ทำฌาน แต่กายที่ได้ ต่างกันหมดเลย ไม่ว่าอาจารย์เดียวกัน หรือคนละสำนัก เช่น เขาสัญญาอย่างเดียวกันว่า ปฐมฌาน จะต้องไม่มีนิวรณ์ แต่เวลาคุณนั่งแล้ว ในจิตไม่มีนิวรณ์ แล้วความเคร่งคุม มันจะไม่เท่ากัน แล้วอารมณ์สภาพ ความคิด ก็จะต่างกันไป

ในโลกุตระลืมตาด้วย มีฌาน๑ ไม่มีนิวรณ์ เห็นกายต่างกัน อย่างน้อยลืมตา ถีนมิทธะ ก็ไม่เหมือนแน่ ลืมตานั้น กามกับพยาบาท จะเกิดอาการแท้ เกิดกามชัดกว่า และไม่มีกาม ก็จะชัดเจนกว่า พวกลืมตาว่าเราไร้กามแน่นอน สภาพจะไม่เหมือนกัน ไม่ใช่ไปนึกเอา กำหนดเอาเอง อย่างพวกหลับตา

ฌานพุทธมีโลกะวิทูด้วย และโลกุตระคือ ไม่มีนิวรณ์แน่นอน แต่เรามีโลกะวิทู ในโลกภายนอก แต่พวกหลับตา ก็มีโลกะวิทู แต่ภายใน และลีลาบทบาท ของฤาษีก็มีแต่นั่งหลับตา แต่ของพุทธจะรู้ ร่วมไปกับโลก รู้วรยุทธ์ต่างๆ รู้ว่า โลกจะกระแทกเรา ลีลาไหน เราก็จะทำฌานให้ได้ แข็งแรงๆ ได้มากขึ้นๆ ดังนั้น ฌานของพุทธ กับฤาษี จึงต่างกัน

ฌานของวิโมกข์นั้น ข้อ ๑-๓ เป็นรูปฌาน และข้อ ๔-๗ เป็นอรูปฌาน ข้อ ๘ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ

วิโมกข์ ๘

๑. ผู้มีรูป(รูปฌาน) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ) คือเห็นก็คือ ไม่ได้หลับตา ปิดจมูกหู คือมีรูป แล้วเราก็เห็นรูปทั้งหลาย อย่างไม่หลับตา

๒. *ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (๑๐/๖๖) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ) เอโก พ่อครูแปลว่า โดยส่วนตน ที่มีการรู้ การเห็นสัมผัส ที่มีทวารทั้ง ๖ ส่วนอัชฌัตตัง แปลว่า ภายในเหมือนกัน ส่วน คำว่า อรูปสัญญี พ่อครูแปลว่า ไม่ใส่ใจในอรูป และก็ พหิทธา รูปานิ ก็คือ รูปนอกก็ไม่ให้ทิ้ง ให้เห็นทั้งรูปภายนอกภายใน ต่อเนื่องกันหมด นี่คือ รู้นาม-รูป เราจะรู้ ทั้งภายนอกภายใน ละเอียดไปตามลำดับ วิโมกข์ข้อนี้คือ ตัวเนื้อของการปฏิบัติธรรม

๓. ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ) พ่อท่านแปลว่า เป็นโชคอันดีงาม ที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุ หลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น) สุภะ+อันตะ คือเจริญขึ้นดีขึ้น อย่างไม่มีที่สุดเลย

ในข้อ ๓ ของวิญญาณฐีติ คือ

๓. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสราพรหม (ว่าง..ใส.. สว่าง.. แผ่กว้าง) เช่น อาภัสสรา การจะได้รับแสงสว่าง ตอนลืมตา ก็จะเห็นแสง ตอนหลับตา คุณก็จะเอา แสงอย่างนี้ เข้าไปข้างในหลับตาให้เห็นแสง ก็ได้แสงต่างกันไป เป็นสัญญากำหนด ความสว่างภายใน ก็สัญญาว่าแสง แต่จะไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน จะอาภัสสรา คนละอย่างกัน อย่างในวิโมกข์ ข้อ ๓ นั้นบอกคุณภาพ เป็น สุภันเตวะ อธิมุตโต โหติ คือเจริญไปสู่สิ่งที่สูงสุด เป็นรูปฌาน แล้วจะตรวจสอบ ในอรูปฌาน ในวิโมกข์ข้อ ๔-๘ ส่วนสูงสุด ในรูปฌานฤาษี จะเหมือนกันหมด คือเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนสัตว์ เป็นสัตว์ดับดิ่ง สุภกิณหะ หรือ อาภัสสรา เป็นสายมืด กับสายสว่าง สำหรับ พวกนั่งหลับตา สายสว่าง เขาก็นั่งสบายๆ เบาๆนุ่มๆ ไม่ต้องไปอยากได้ เดี๋ยวมันมีเอง ไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็มีใสโสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ฯ จะไปถึงใสพระพุทธเจ้า คือกายอย่างเดียวกัน คือใส แต่ก็ใสต่างกัน คือสัญญาต่างกัน สุดท้ายไปเจอ พระพุทธเจ้าต่างกัน มีหัวปุ้มกับหัวแหลม ก็เลยมีธรรมกาย สองอย่าง ก็เลยทะเลาะกัน

เมื่อหลับตาไม่มีแสงสว่างแล้ว แต่ก็ไปปั้นให้มีแสงสว่าง สร้างใสสว่างกันเอง มันปั้นก็เป็น มโนมยอัตตา ได้ใสใครใสมัน กำหนดกายว่าอย่างเดียวกัน คือใส แต่ไปสำเร็จด้วยสัญญา มันสร้างขึ้น

๔. กายอย่างเดียวกัน สัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พรหม สุภกิณหา กิณหะคือความดำ ความมืด ยิ่งหลับตามืดแล้ว ก็ไปดับมัน ให้มืดต่อไปอีก ก็สัญญาว่านี่คือนิโรธ แต่อย่างพุทธมีดับไม่เหลือ แต่ลืมตาสว่าง และไม่มีแสงเลย ไม่มีเพราะมีทิพยโสติ มีตาทิพย์ สีแดง ตาของทุกคน ก็เห็นแดง แต่คนทั่วไป ก็จะมีแดงสวย ชอบแดง คนไม่ศึกษา ก็อ่านไม่ออก แต่คนที่ศึกษา จะรู้จะเห็นรูปทิพย์ ว่าเป็นความชอบ เป็นความปรุงแต่ง นอกเหนือของแท้ คนตาทิพย์จะรู้ แล้วก็ไม่ไปปรุงแต่ง ร่วมด้วยให้ทุกข์

อย่างสุภกิณหะ มีสัญญาอย่างเดียวกัน คืออย่างดับอย่างมืด เหมือนกัน แต่ได้มาคนละการดับ ของฤาษีได้มืด ได้บอด แต่เราทำให้ดับ ในสิ่งควรดับให้หมด ในสิ่งที่ไม่ควรมี ให้ดับมืดไปหมดเลย เขาไปได้มืด เขาก็ว่าดี ของเราได้ทั้งมืด ทั้งสว่าง เป็นอมตะบุคคล เป็นอตัมมยตา ทำให้มืดก็ได้ ทำให้สว่างก็ได้ เช่นเราจะหลับตา ทำให้มืดก็ได้ ทำให้สว่างก็ได้ เพราะเข้าใจแล้ว ผู้ที่มีเจโตสมถะ และโลกุตระ ทำได้หมดเลย

แต่คนที่ได้แต่เจโตสมถะ ทำได้แต่ความมืด แต่อย่างลืมตาทำให้สว่างได้ อย่างลืมตาเลย เพราะคนนี้ มีมรรคผล (โลเก อัตถิตา น โหติ) ผู้ที่บุคคล เห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงแล้ว ความมีในโลกย่อมไม่มี คือ มีโลกนิโรธ อยู่กับโลก แต่เหนือโลก ไม่มีอะไรก็ไม่มี โลกสมุทัย ดับได้เกลี้ยงสนิท โลเก นัตถิตา คือความดับ โลเก อัตถิตา คือความมีมรรคผล อนาคามี จึงจะมีโลกนิโรธได้ ในโลกๆเขาอธิบายว่า อนาคามี สามารถเข้านิโรธได้ ซึ่งจะเอาการนั่งหลับตา ไปวัดไม่ได้

ที่ตั้งข้อสังเกตว่า การปฏิบัติ ปฏิจจสมุปบาท ท่านให้ปฏิบัติ ในทวารทั้ง ๖ ท่านเอาหมวด ๖ มาใช้ทั้ง ตัณหา วิญญาณ เวทนา ก็ชี้บ่งว่า ท่านให้เรียนรู้ปฏิบัติ แบบลืมตา ๖ ทวารทั้งสิ้น แม้เป็นอนาคามี ถึงอรูปฌาน ก็ลืมตาปฏิบัติ สัมผัสหลัดๆ อนาคามีท่านก็เห็นว่า รูปราคะ อรูปราคะ แต่คนที่ไม่ถึง จะไม่เห็น อ่านไม่ออก ท่านดับรูปหมดแล้ว ก็เหลืออรูป ก็ยังลืมตาสัมผัส เปิดทวาร ๖ อยู่ในรูปาวจร อรูปาวจรก็มีการปฏิบัติ มรรคองค์ ๘ ไม่ได้หยุดกรรมกิริยา วาจา อาชีพเลย จะไปเตวิชโช ตรวจลงบัญชี ก็ให้ทำบ้าง เราขาดทุนหรือกำไร ผ่านมา มีผลได้ผลเสียอย่างไร

เห็นการเกิดดับกิเลส ทำให้จิตอกุศลดับ กุศลไม่ต้องดับ แต่จะให้ดับ ให้พักก็ได้ คืออมตะบุคคล สามารถกำหนด ให้จิตเรา ปรุงอย่างไรก็ได้ เป็นผู้อปุญญาภิสังขาร ทำสสังขารได้ ให้เหมาะควร และปรุงอย่าง ไม่ได้เสพรส ให้จิตทำงาน ทำประโยชน์ไป

............

จบ

อ่านต่อ ทำวัตรเช้า ๒ มีนาคม ๒๕๕๖