|
||
พ่อครูจัดรายการที่บ้านราชฯ.... พ่อครูกำลังเจาะลึกเรื่องอภิสังขาร ในเรื่องรูปกาย นามกายเป็นต้น ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง ไม่ใช่สามัญปุถุชน วันนี้จะนำเอา sms ของคุณ 8705 ในวันที่ ๑๒ มี.ค. ๕๖ ที่ผ่านมามาอ่านดังนี้ 0888705xxx เพราะว่า..ธรรมชาติของสังขารทั้งหลาย ต้องอาศัยกันและกัน.. ถึงเกิดขึ้นได้! ฉะนั้นจึงไม่มีสังขารอันไหน ที่จะมีความเป็นเอกเทศ! หรือที่จะสามารถ เกิดขึ้นได้เอง หรือเป็นขึ้นเอง หรือเป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะ ก็หามิได้! ดังที่ปฏิจสมุปปาท ก็แสดงอยู่แล้วว่า.. เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นจึงเกิด และเหตุนี้.. สังขารทั้งหลาย จึงหาตัวตนที่แท้จริงบ่ได้! หรือก็คือที่เรียกว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา นั่นเอง เพราะมีอวิชชา จึงมีสังขาร3 ฉันใด เพราะมีทักษิณ จึงมี3เกลอ ฉันนั้น ชิมิ จิตสังขารเท่านั้น เกิดที่ภายใน ส่วนวจีสังขาร + กายสังขาร เกิดที่ภายนอกจ๊ะ! ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาหลงว่าตนเป็นโพธิสัตว์ ชาติหน้าบ่ายแก่ๆ พธร.กำลังตีความ ปฏิจสมุปปาท ก็เหมือนเด็กอนุบาล กำลังตีความทฤษฎี E=mcกำลัง2 พธร.เรียนมากรู้มาก แต่ไม่ปฏิบัติ.. จึงไม่มีสภาวธรรม เลยตีความธรรมะผิดหมด! ฅำสอนต่างๆ นำไปเทียบว่า ลงได้กับพระวินัย และพระสูตร ถ้าลงกันได้คือคำสอน ของพรพุทธ อย่ามั่ว ทำไมถึงไม่ยอม ให้SMSเพื่อนๆขึ้นจอเลย.. หรือว่ากลัวเสีย เรตติ้งอรหันต์จ๊ะ! ตอบประเด็นคุณ ๘๗๐๕ (12มีค.56) ที่คุณ ๘๗๐๕ แสดงความเห็นมาแล้วว่า "รูปนามเกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา" เป็นธรรมชาติ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป เป็นสันตติ ไม่ใช่ตัวตน ก็เท่ากับว่า ถ้าผู้ใดขืนเห็นว่า "มีตัวตน" ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิแล้ว "ผู้เห็นว่ามีตัวตน" แล้วก็ไปวุ่นวาย ทำให้ "ตัวตน"หมดไปหรือ "ดับไป" นั้น ยังมิจฉาทิฏฐิอยู่ นิรัตตา แปลว่า ไม่มีตัวตน ผู้ยึดถือ "ความไม่มีตัวตน" แบบนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ผู้สัมมาทิฏฐิ จะต้องมี "ปัญญาอันเฉียบแหลมยิ่ง" เห็นแจ้งใน "ความไม่ใช่ตัวตน" เท่านั้น จึงจะสัมมาทิฏฐิ เพราะ "อนัตตา"แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน อย่าไปแปลว่า "ไม่มีตัวตน" จะเป็นคนโง่ และโง่มากๆอย่างที่คุณ 8705 เคยว่าอาตมานั่นแหละ การเห็นความ "ไม่ใช่ตัวตน" ของคุณ ๘๗๐๕ นั้น คือ เห็น "ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ -ดับไป" มันก็ "เกิด-ดับ เกิด-ดับ" ต่อเนื่องกันอยู่อย่างนี้แหละ ไม่ขาดสาย เป็นอยู่นิรันดร ใครจะไปจับ ให้มันเป็นตัวตนได้ ในเมื่อมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วมันก็ดับไป เป็นสามัญลักษณ์ เป็นธรรมชาติ ใครอย่าไปแปล "อนัตตา"ว่า "ไม่มีตัวตนเชียว" มิจฉาทิฏฐิแล้ว ความเข้าใจในคำว่า "นิรัตตา"กับ "อ"นัตตาของคุณ ๘๗๐๕ กับความเข้าใจของอาตมา กลับขั้วกัน หรือคนละความหมาย มีนัยสำคัญคนละอย่าง ทั้งการใช้ภาษา อธิบายความ เป็นนิรัตตา และอนัตตา โดยเฉพาะการมีสภาวะ อาตมาก็เห็นสภาวะ คนละอย่าง ต่างกับคุณ ๘๗๐๕ ถ้าคุณ ๘๗๐๕ จะมีสภาวะนะ ท่านก็เห็นสภาวะของท่าน อย่างที่ท่านว่านั่นแหละ คือ เห็นแต่มันเกิดดับ เป็นสายต่อกัน อยู่อย่างนี้ แยกอะไรไม่ได้ แยกรูปแยกนาม ไม่ได้ โดยเฉพาะแยกความเกิดของรูป ความตั้งอยู่ของรูป ความดับไปของรูป ที่เป็นมหาภูตรูป และอุปาทายรูป ความเกิดของนาม ที่เป็นเวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ จนสามารถการสัมผัสเห็น "ความเกิด" ของรูปนั้นๆ และความดับ ของรูปนั้นๆ ท่านแยกไม่ได้ ท่านเห็นแต่ว่า มันต่อเนื่องกัน เป็นสันตติ เห็นไหมว่า สันตตินี่แหละ มันบังความเป็นรูปนาม โดยเฉพาะการเห็นความเกิดของนาม เห็นความดับของนาม ที่เป็นเวทนาเกิด เวทนาดับ ซึ่งพระพุทธเจ้า แจกเวทนานี้ไว้ "มี"ทั้ง เวทนา ๒ เวทนา ๓ เวทนา ๕ เวทนา ๖ เวทนา ๑๘ เวทนา ๓๖ เวทนา ๑๐๘ และเมื่อทำให้เวทนา ที่เราสำคัญมั่นหมายนั้น จนมัน "ไม่มี" ก็คือทำให้เวทนานั้นๆ "ดับ" ได้สนิท ไม่เกิดอีก นั่นแหละ คือ ผู้เห็นแจ้ง ความเกิด-ความดับ ของปรมัตถธรรม เป็นต้น สัญญาก็เห็นแจ้ง ในความเกิด-ดับได้ เจตนาก็เช่นกัน ผัสสะก็เช่นกัน มนสิการนั่นแหละคือ การทำใจในใจ หรือทำนามธรรมตัวตนนั้น ให้มันไม่เกิด หรือตัวตน มันดับได้สำเร็จ คุณ ๘๗๐๕ ก็ต้องเข้าใจว่า อาตมาอธิบายเอาเอง แน่นอน เพราะยังไม่มีใคร อธิบายอย่างนี้ ให้คุณ ๘๗๐๕ ได้ยินมาก่อนแน่ อาตมาจึงค่อนข้างจะเชื่อว่า คุณ ๘๗๐๕ จะไม่เข้าใจ ที่อาตมาพูดไปนั้น เพราะเข้าใจ ที่อาตมาพูดนี้ไม่ได้ เนื่องจากคุณ ๘๗๐๕ ไม่มีสภาวะ ตามที่อาตมาพูดนี้แน่ๆ คุณ ๘๗๐๕ จึงสรุปว่าอาตมาเข้าใจ ธรรมะของพุทธผิด เพราะอาตมา "มี"ความเข้าใจแบบพุทธไม่เหมือนกับคุณ ๘๗๐๕ มัน "ผิด"กัน มันก็ต้องต่างกัน ก็ต่างคนต่างเห็น มันก็เป็นธรรมดา อาตมาไม่เห็นแปลกอะไร คุณเข้าใจอย่างหนึ่ง อาตมาก็เข้าใจ อีกอย่างหนึ่ง ต่างก็แสดงความเห็น และคุณ ๘๗๐๕ แสดงความเห็นมาอีก ในวันที่ ๑๒ มีค.นี้ว่า เพราะว่า.. ธรรมชาติของสังขารทั้งหลาย ต้องอาศัยกันและกัน.. ถึงเกิดขึ้นได้! ฉะนั้น ไม่มีสังขารอันไหน จะมีความเป็นเอกเทศ! หรือที่จะสามารถเกิดขึ้นได้เอง หรือเป็นขึ้นเอง หรือเป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะ ก็หามิได้! ดังที่ปฏิจจสมุปบาท ก็แสดงอยู่แล้วว่า.. เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เพราะสิ่งนั้นเกิด สิ่งนั้นจึงเกิด และเหตุนี้.. สังขารทั้งหลาย จึงหาตัวตนที่แท้จริงบ่ได้! หรือก็คือที่เรียกว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา นั่นเอง เพราะมีอวิชชา จึงมีสังขาร ๓ ฉันใด เพราะมีทักษิณ จึงมี ๓ เกลอ ฉันนั้น ชิมิ จิตสังขารเท่านั้น เกิดที่ภายใน ส่วนวจีสังขาร + กายสังขาร เกิดที่ภายนอกจ๊ะ! ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาหลงว่าตนเป็นโพธิสัตว์ ชาติหน้าบ่ายๆ พธร.กำลังตีความ ปฏิจจสมุปบาท ก็เหมือนเด็กอนุบาล กำลังตีความทฏษฎี E = mc กำลัง ๒ พธร.เรียนมากรู้มาก แต่ไม่ปฏิบัติ.. จึงไม่มีสภาวธรรม เลยตีความธรรมะผิดหมด! ก็ที่คุณ ๘๗๐๕ ว่า "ไม่มีสังขารอันไหน ที่จะเป็นเอกเทศ! หรือที่จะสามารถเกิดขึ้นได้เอง หรือเป็นขึ้นเอง หรือเป็นตัวของตัวเองโดยเฉพาะ ก็หามิได้"นั้น ก็หมายความว่า ต้องอาศัยอันอื่นเป็น "เหตุ"ใช่ไหม? จึง "มีการเกิดขึ้น การเป็นขึ้น -การเป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะ"..ได้ ก็นั่นแหละ คุณเองก็บอกว่า "ไม่มีสังขารอันไหน ที่จะเป็นเอกเทศ!" เกิดเองไม่ได้! เป็นขึ้นเองก็หามิได้! หรือเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะ ก็หามิได้! ก็แสดงว่ามันต้องมี "เหตุ" ต้องอาศัยมีปัจจัย จึงจะเกิดขึ้นได้ เป็นขึ้นได้ กระทั่ง (หลงยึด) เป็นตัวของตนเอง โดยเฉพาะ.. เข้าไปจนได้ ดังที่ปฏิจจสมุปบาท ก็แสดงอยู่แล้วว่า.. เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เพราะสิ่งนั้นเกิด สิ่งนั้นจึงเกิด ก็ต้องศึกษาตามหา "สิ่งนี้"ที่มันเป็นเหตุปัจจัยให้ "สิ่งนั้นจึงมี" นั่นแหละให้ได้ แล้วถ้าเห็นชัดเจนแล้วว่า มันเป็น "อกุศลเหตุ" เราก็กำจัด "เหตุ"นี้ให้ดับสนิท หรือให้ "ไม่มี" จนสำเร็จเสียซี สำเร็จอย่างถาวร ยั่งยืนให้ได้ การเกิดขึ้น การเป็นขึ้น ที่คุณ ๘๗๐๕ ยัง "อวิชชา"ว่า เป็นตัวของตัวเองโดยเฉพาะ ก็จะหมดไป เพราะคุณ ๘๗๐๕ ไปเอา "ตัวจบ"มาเป็น "ตัวต้น" คือ ไปรีบเอา "สัพเพ ธัมมา อนัตตา อันเป็น "ตัวจบ"มาเป็น "ตัวต้น" จึงยึดได้แค่ภาษาว่า ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน แล้วก็เชื่อว่า และเหตุนี้.. สังขารทั้งหลาย จึงหาตัวตนที่แท้จริงบ่ได้! คนที่ "อวิชชา" ก็หา "ตัวตน"บ่ได้นั้นแน่นอน หรือคนที่ไม่ได้ศึกษา ค้นหา "ตัวตน" ก็หา "ตัวตนบ่ได้"! แน่เสียยิ่งกว่าแน่ แต่คนที่มี "วิชชา" หรือมีสัมมาทิฏฐิ จะไม่รีบด่วนหลงเข้าใจผิดว่า "ตัวตนมีหรือไม่มี" จะเริ่มปฏิบัติ "ตามเห็นตัวตน" (อัตตานุทิฏฐิ)ให้ได้ ก็คำว่า "อัตตทิฏฐิ" (ความรู้อันเกี่ยวกับตน, ความเห็นว่ามีตน) ก็มีอยู่โต้งๆ แสดงว่า มันมีสภาวะนี้ และในบทศึกษาของพุทธ ก็มีอยู่โต้งๆ และคำว่า "อัตตานุทิฏฐิ" (ความตามเห็นว่า เป็นตัวตน) ก็มีอยู่ในหลักศึกษาของพุทธ เฉพาะอย่างยิ่งคำว่า "อัตตสัมปทา" นั้น ยิ่งเป็นคำที่พระพุทธเจ้า ตรัสว่าเป็น "แสงอรุณที่จะมาก่อน พระอาทิตย์ คือมาก่อน การเข้าถึง มรรคองค์ ๘ พระอาทิตย์ ท่านเปรียบกับ มรรคองค์ ๘" ก็ชัดเจนยิ่งว่าต้องเข้าถึง ความเป็นอัตตา (อัตตสัมปทา) เป็นแสงอรุณ ไม่ใช่เข้าถึง "อนัตตา" เป็นแสงอรุณ ก็มันเป็นคนละ สภาวะอยู่โต้งๆ "อนัตตา" มันมิใช่แสงอรุณ ท่านไม่ได้ตรัสว่า "เข้าถึงอนัตตสัมปทา"เลย ผู้ปฏิบัติก็จะปฏิบัติ จนกระทั่ง "ตามเห็นความ ไม่เที่ยงในตัวตน ของเหตุที่เป็น ปรมัตถธรรม ได้จริงกันเลย" ที่บาลีว่า "อนิจจานุปัสสี" แปลว่า "ตามเห็นความไม่เที่ยง ในตัวตน ของเหตุที่เป็นจิต เจตสิก -รูป" แล้วจึงจะ "ตามเห็นความจางคลาย ของกิเลส หรือ ตัวตนของเหตุที่เป็น ปรมัตถธรรม ได้จริงกันเลย" ที่บาลีว่า "วิราคานุปัสสี" แปลว่าตามเห็น "ความจางคลายในตัวตน ของเหตุที่เป็น จิต-เจตสิก-รูป" กระทั่ง "ตามเห็นความดับ ของกิเลสในใจ" ที่บาลีว่า "นิโรธานุปัสสี" แปลว่า "ตามเห็นความดับในตัวตน ของเหตุที่เป็น จิต-เจตสิก-รูป" เป็นต้น แต่เพราะคุณ ๘๗๐๕ ไม่ยอมศึกษา "ค้นหาความเป็นตัวตน"เลย เนื่องจากไปจับเอา "ตัวปลาย" มาเป็น "ตัวต้น" แล้วหลงว่าบรรลุ "ความไม่ใช่ตัวตน"แล้ว จึงไม่ต้อง ไปศึกษาค้นหา "ตัวตน" มาเห็นจริงว่าเออ.. "เรามันยังมีตัวตน" อยู่จริงๆว่ะ! เพราะไป "รู้แจ้งจริงจบ" ด้วยภาษาว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา นั่นเอง จึงสรุปให้อาตมาด้วยคำว่า เพราะมีอวิชชา จึงมีสังขาร ๓ ฉันใด เพราะมีทักษิณ จึงมี ๓ เกลอ ฉันนั้น ชิมิ จิตสังขารเท่านั้น เกิดที่ภายใน ก็นี่แหละ ถ้าขืนใครเอาแต่ "อวิชชา"อยู่ มันก็มีสังขาร ๓ อยู่ อย่างไม่รู้จักสังขาร ๓ กันสักที จึงมีลูกน้องเหมือน ๓ เกลอนี่อยู่แน่นอน สังขาร ๓ นี้คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร มันก็จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมชาติ เป็นสามัญลักษณ์ ตามประสาไตรลักษณ์ ของปุถุชน อยู่นิรันดร์ ที่เขาเรียนกันอยู่ทั่วไป ก็คือเรียนสามัญลักษณ์ทั่วไป จึงถูก "สังขาร ๓"นี้หลอกหลอนอยู่เป็น "สามัญลักษณ์" ตามไตรลักษณ์ ที่เป็นของปุถุชนทั่วไป ไม่สามารถทำให้เกิด "ปัจจัตตลักษณ์" ตามไตรลักษณ์ ที่เป็นปรมัตถ์ ของอาริยชนสำเร็จ ยิ่งใครยัง "อวิชชา" อยู่ ก็ยิ่งไม่รู้ว่า สังขารมัน "มี" และแยก "สังขาร ๓" นี้ไม่เป็น จึงทำ "อภิสังขาร" ให้เป็นบุญไม่ได้ "อภิสังขาร"ที่เป็นบุญ ในภาษาบาลีคือ "ปุญญาภิสังขาร" หมายความว่า สังขารที่พิเศษยิ่ง หรือปรุงแต่ง ที่พิเศษยิ่ง และทำได้อย่างเป็นบุญ คือ ทำได้อย่างมีการชำระ "บุญ"หมายถึง เครื่องชำระกิเลส การชำระกิเลส มาจากภาษาบาลี "ปุญญ" รากแห่งความหมายเดิม จริงๆนั้น คือ ชำระจิตสันดานให้หมดจด เป็นภาวะของ "ปรมัตถธรรม"โดยแท้ สังขาร มีคำแปลอยู่มาก เช่นว่า การจัดแจง, การตระเตรียม ,การรวมการกระทำ, การรวมเหตุ, ศักยภาพที่ประกอบกันขึ้น, สิ่งที่เกิดร่วมกันทางใจ, การประกอบขึ้น, ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ ทางใจกับทางกายด้วย "อภิ"นี้ มีความหมายลึกซึ้ง เท่าที่ประมวลได้ ก็คือ เผชิญหน้าไปยังที่, มีอำนาจเหนือ, ทับ, ข้างบน, เพิ่มให้มากขึ้น, มากมาย, ใหญ่หลวง, เข้าครอบครอง, เป็นเจ้าของ, เป็นใหญ่, อุบัติขึ้น, งอกขึ้น "ปุญญาภิสังขาร" เป็น "สังขาร"ขั้น "อภิ" คือ สังขารอย่างเป็น "บุญ" การรู้จักรู้แจ้งรู้จริง ความเป็น "บุญ"หรือ "ปุญญ" อันเป็นการชำระกิเลสที่เป็น "เหตุ"นั้นๆ เมื่อชำระได้หมด สิ้นบาปในตนเกลี้ยงแล้ว ก็ไม่ต้องชำระอีก นั่นคือ ไม่ต้องทำบุญนั้นอีก ซึ่งจะพูดว่า "ไม่ทำบุญ"ก็ดี "ไม่ต้องชำระกิเลสนั้นอีกแล้ว" ก็ดี นี้แหละคือคำว่า "อปุญญ" การ "อภิสังขาร" ที่เป็น "อปุญญ" ไม่เป็นบุญ จึงที่ประกอบไม่ต้อง "ทำบุญ" ถ้าจิตของผู้นั้นยัง "สังขาร" คือ ยังมี "การปรุงแต่ง" มี "ศักยภาพประกอบกันขึ้น" อยู่ จึงเกิดผลของการปรุงแต่ง เป็นแต่ "กุศล" คือ เกิดผลแต่เป็นประโยชน์ เป็นคุณงามความดีโดยเฉพาะ ท่านจะทำเพื่อทุกคน ไม่เจาะจง ไม่หลงยึดว่า เป็นตัวตน เป็นของตน เฉพาะตนเท่านั้น ใจกว้าง ไม่ยึดความเป็นของตนจริงใจ ยิ่งคำว่า "กายสังขาร" ที่เป็น องค์ประชุมของใจ ที่เป็น "นามกาย" ที่สังขารอยู่ในใจ หรือ "ประชุมของนามธรรม" ที่มีอยู่ในใจ และเป็นการสังขาร ที่ยังมีการเชื่อมต่อ การสัมผัสภายนอก ไม่ขาดสายอยู่ด้วย ยิ่งพูดกันไม่รู้เรื่องแน่ กับคุณ ๘๗๐๕ เพราะเป็นเรื่องของจิต เจตสิก รูป หรือปรมัตถธรรมแท้ๆ ที่ถ้ายังพูดถึงความเป็น "กายสังขาร" ขั้นนี้แล้ว คุณ ๘๗๐๕ กับอาตมา มีสภาวะ คนละอย่างกันแน่ๆ ขอยืนยันว่า ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงสภาวะของจิต เจตสิก หรือความเป็น "รูป"ที่ หมายถึง "สิ่งที่ถูกรู้"โดยเฉพาะ สิ่งที่ถูกรู้ ที่เป็นนามธรรม คือ จิต เจตสิก ซึ่งได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่นแหละเป็นต้น ในปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้า ก็ระบุ "นาม" ตัวสำคัญไว้ให้ เช่น เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ผู้ที่ไม่มีสภาวะ จะไม่รู้ความจริงของความเป็น "วจีสังขาร" จึงเดาเอาเท่านั้น ผู้จับตัว "อัตตา"ได้ เรียกว่า "พ้นสักกายทิฏฐิ" นับว่าพ้นมิจฉาทิฏฐิ เพราะเห็นว่า เจ้าตัวนี้เองที่ "หลอก"เราอยู่ได้ ที่แท้มันไม่เที่ยง เดี๋ยวก็มี คือ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป วนเวียนอยู่อย่างนี้ เป็นความวนไม่จบ นั่นคือ ยังเป็นโลก หรือเป็นภพ เมื่อผู้ที่จับ "ตัวสักกายะ"ได้ คือ ตัวตนของตัณหา หรืออุปาทาน ทั้งตัณหา และอุปาทานนี้ คือ กิเลสนั่นแหละ เมื่ออยู่ในฐานะอุปาทาน มันก็เป็นธาตุ "ยึดมั่นอยู่" ซึ่งเป็นอาการที่ "นิ่งๆอยู่" พอมัน "ไหวตัวออกมา" มันก็กลายเป็นฐานะของ "ตัณหา" เป็นอาการที่เห็นได้ง่าย ได้ชัดกว่าฐานะ ที่เป็นอุปาทาน พระพุทธเจ้า จึงทรงให้กำจัด "ตัวตัณหา"นี้แหละ เพราะมันง่ายกว่า ไปกำจัดอุปาทาน มันเป็นเหตุแห่งทุกข์แท้ ต้องกำจัดตัวนี้ คือ ปหานมันตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน จนมัน "ดับสนิท" ก็ไม่มีตัวตนมาเกิดขึ้น มาตั้งอยู่ มาให้ดับไปกันอีกเลย จึงสิ้นภพ จบชาติ "ไม่มีตัวตน"ตัวนั้น มาอาศัยกันเกิดอีกแล้ว เพราะสิ้น "ตัวตน" จะเกิดขึ้น -ตั้งอยู่ -ดับไปเรียบร้อยแล้ว ผู้เห็น "ไตรลักษณ์" ที่ครบทั้งเห็นแจ้ง "ความไม่เที่ยง" (อนิจจัง) เห็นแจ้ง "ความเป็นทุกข์" (ทุกขัง) อีกทั้งตามหา "ตัวเหตุแห่งทุกข์" พบแล้วกำจัดตัวเหตุอริยสัจ นี้ได้จริง ความเป็นอนัตตา (ความไม่มีตัวตน) จึงปรากฏให้เจ้าตัว ผู้ปฏิบัติ ถึงขั้นบรรลุผล อนัตตาจริง อย่างเห็นแจ้งๆ โต้งๆชัดๆ สัมผัสอยู่ๆ (สัจฉิ) ผู้บรรลุผลเอง เห็นภาวะนั้นๆเอง ในตนเอง ของตนเอง เช่นนี้แลที่ชื่อว่า เป็นผู้เห็น "ไตรลักษณ์" ชนิดที่เรียกว่า "ปัจจัตตลักษณ์" คือ เห็นอย่างสูงส่ง ละเอียดไปถึงปรมัตถธรรมขั้น อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา จึงสำเร็จขั้นมี ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ คือ เห็นด้วยความรู้ยิ่ง เห็นจริง อย่างรู้จัก (ตัวตน) ชนิดที่รู้แจ้งรู้จริง ในของจริง สภาวะจริง "เฉพาะตน" (ปัจจัตตัง, ปัจเจก)ในปรมัตถ์ของตนเอง ไม่ต้องเชื่อใคร เชื่อความจริงของจริงนั้นๆเอง ของตนเอง ที่ปฏิบัติได้เอง ในตนเอง โดยตนเอง (เอโก) จึงไม่ใช่เพียงแค่เห็นความ "เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป" อย่างต้นๆตื้นๆ ง่ายๆหลวมๆ เป็นตรรกะ หรือเห็นแค่ จินตามยปัญญา ที่ไม่มีภาวะของ "ภาวนามัย" ไม่มีความสำเร็จ ขั้นเกิดผลธรรม มาให้เห็นแจ้ง ก็ไม่ถึงขั้นมี "ภาวนามยปัญญา" การเห็นไตรลักษณ์ แค่ขั้นเห็นความ "เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป" ในลักษณะนี้ ก็เป็นเพียง ผู้เห็นไตรลักษณ์ที่เป็น "สามัญลักษณ์" ซึ่งเป็น ลักษณะ "เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป" ที่ยังไม่ถึงขั้น ผู้ปฏิบัติหยั่งรู้แจ้ง ใน"ปรมัตถธรรม" นั่นคือ ไม่เข้าถึงการ "สัมผัส" สภาวะจริงของ "จิต-เจตสิก-รูป" จนกระทั่งเห็น "อนิจจัง" เห็น "ทุกขัง เห็น "อนัตตา" และที่สุดสัมผัสภาวะของ "นิพพาน" ปรากฏให้เห็นได้เอง อยู่เป็น "ตถตา" การเห็นได้รู้ได้ อย่าง "สามัญลักษณ์"นั้น มันเป็นความเข้าใจทั่วไป ที่ปุถุชนก็เข้าใจได้ทั้งนั้น จึงเรียกว่า "สามัญลักษณ์" ซึ่งเป็นแค่ตรรกะ เป็นเพียงความรู้ ความเห็นทั่วไป ที่ร่วมรู้กันได้ เป็น "สามานยนาม" ใครๆก็เข้าใจกันเป็น สาธารณะของปุถุชน ที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ แต่ไม่ใช่ "วิสามานยนาม"ที่เฉพาะเจาะจง มีการระบุ "ตัวตน"ได้ ในขณะที่มี "ธาตุรู้ของเรา สัมผัสภาวะนั้นๆ หลัดๆ รู้จักรู้แจ้งรู้จริง "ตัวตน" นั้นอยู่ทีเดียว" ซึ่งเป็นการรู้ขั้น "ญาณหรือปัญญา" ที่เป็นอาริยะ เป็นโลกุตระ "ไม่สาธารณะ กับพวกปุถุชน" (อสธารณํ ปุถุชฺชเนหิ) หรือไม่ทั่วไป กับพวกปุถุชน (อสธารณํ ปุถุชฺชเนหิ) เป็นญาณข้อที่ ๑ ใน ๗ ของพระโสดาบัน ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ ข้อ ๕๔๓ การรู้หรือมีความรู้ว่า "ทุกสรรพสิ่งล้วนไม่ใช่ตัวตน" นั้น เป็นสาธารณะกับปุถุชน ปุถุชนทั่วไปพอรู้ได้ รู้อย่างซาบซึ้งก็ได้ แต่ "การรู้หรือมีความรู้" ว่า "ทุกสรรพสิ่ง ล้วนไม่ใช่ตัวตน อย่างเป็นอาริยะ เป็นโลกุตระ"นี้ "ไม่ใช่สาธารณะ กับพวกปุถุชน" (อสธารณํ ปุถุชฺชเนหิ) หรือไม่ทั่วไป กับพวกปุถุชน (อสธารณํ ปุถุชฺชเนหิ) ซึ่งมีนัยสำคัญ ที่ผู้มีจริง จะรู้แจ้งเห็นจริงเอง ปัจจัตตัง การสามารถสัมผัสรู้จัก "ตัวตน"ของกิเลส แล้วเราก็กำจัด ซึ่งเป็นการจัดแจง (สังขาร) เป็นการทำใจในใจ (มนสิการ) ของตนโดยตน เป็นการรวมการกระทำ หรือเป็นการจัดแจง ที่เรียกว่า "สังขาร" ของพระโยคาวจร ที่มีภูมิเข้าขั้น อาริยบุคคล อาริยบุคคล จึงจะทำ "สังขาร" ขั้น "อภิ"ที่เป็น "บุญ"ได้ ดังนั้น "สังขาร ๓"ที่เป็น "ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร -อเนญชาภิสังขาร"นั้น จึงเป็น "อภิสังขาร" ขั้นโลกุตระ มิใช่ "สังขารธรรม" ที่เป็นการกล่าวถึง "สังขาร ๓"ทั่วไป ซึ่งแค่สามานยนาม เป็นคำนามที่ กำหนดกันกลางๆทั่วไป เช่น กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร เท่านั้น ผู้ปฏิบัติที่มีภูมิเข้าขั้นโลกุตระ เป็นอาริยะเท่านั้น จึงจะสามารถมี อภิสังขาร ๓ ได้ เพราะผู้จะสามารถ ปฏิบัติสัมมามรรค องค์ ๘ ถึงขั้นทำวจีสังขาร เป็นอภิสังขารได้สำเร็จ เป็นลำดับๆไป ต้องเป็นอาริยบุคคลจริง เพราะสามารถทำใจในใจเป็น "สัมมาปฏิบัติ" ได้แล้ว จึงสามารถทำ การจัดแจง หรือ การรวมการกระทำ ขั้น "อภิสังขาร" ที่ปรุงแต่ง "สังกัปปะ ๗" จนกระทั่งทำให้ "วจีสังขาร"เกิด จาก "ปุญญาภิสังขาร"ไปจนถึงผล อปุญญาภิสังขาร คือ จัดแจงปรุงแต่ง สำเร็จได้ถึงขั้น "ไม่ต้องชำระกิเลสในใจอีกแล้ว" เพราะ "ดับสนิทไม่เกิดอีกแล้ว" ซึ่ง "ไม่เกิดอีก" ชนิดที่ กระทบสัมผัสโลกธรรมใด ในใจก็ไม่เกิด แม้แต่แค่ "การหวั่นไหวอย่างใด ก็ไม่มี" (ผุฏฐัสสะ โลกธัมเมหิ จิตตัง ยัสส น กัมปติ) จึงเรียกว่า "อเนญชาภิสังขาร" (สภาพปรุงแต่งภพ อันมั่นคง ไม่หวั่นไหว) ได้บริบูรณ์สัมบูรณ์เป็นที่สุด คุณ ๘๗๐๕ sms ว่า "คนที่ไปเป็นสาวก บริวารให้พธร.. นั่น=ว่าพวกคุณ หนุนให้พธร. หลงผิดยิ่งขึ้น" คุณ ๘๗๐๕ ไม่เชื่อหรอกว่า อาตมาแสดงธรรม หรือสาธยายธรรม อยู่ตลอดเวลานี้ อาตมาทำใจในใจได้ อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ได้ทำเพื่อ ให้คนมานับถือ หรือไม่ได้ทำเพื่อ จะได้บริวาร ไม่ได้ทำเพื่อ โลกธรรม ๘ จะได้ลาภสักการะ เสียงสรรเสริญ ไม่ได้ทำเพื่อ จะได้เป็นลัทธิใหญ่ แล้วไปล้มล้างลัทธิอื่นๆ ไม่ได้ทำเพื่อ จะได้ให้ใครๆ มาเห็นว่า เราวิเศษเก่งกล้า ชาวอโศกที่เขามาปฏิบัติ ตามที่อาตมาสาธยายไป ก็เพราะเขาฟังรู้เรื่อง เขาเข้าใจซาบซึ้ง จึงได้กล้ามา ปฏิบัติลดละ ทิ้งโลกธรรม มาอยู่อย่างคนจน ตามที่เป็น ที่มีอยู่นี้ เขาทั้งหลาย ไม่ได้มา หนุนให้อาตมาหลงผิด แต่เขามาหนุน เพิ่มขึ้นมากเท่าใด ก็ยิ่งเป็นหลักฐาน ให้อาตมาเห็นจริงว่า ธรรมะที่ทวนกระแสโลก ที่โลภในลาภยศ สรรเสริญ สุขโลกีย์ กลับมาลดละ จนจางคลาย ถึงขั้นดับความเป็นโลกได้กัน ไปตามธรรม สมควรแก่ธรรม อย่างที่เห็นได้ เป็นจริงอยู่นี้ บรรดาเขาทั้งหลาย ยิ่งมาสนับสนุนอาตมา ก็ยิ่งเป็นเครื่องแสดง เป็นหลักฐานยืนยัน ให้อาตมา เห็นความจริงว่า "ความเห็น" หรือ "ทิฏฐิ" แบบคุณ ๘๗๐๕ นี่แหละคือ การหลงผิด จริงยิ่งๆขึ้น ต่างหากเล่าคุณ ๘๗๐๕ แม้จะได้แค่ที่ได้เท่าทุกวันนี้ มันก็เป็น "อนุสาสนีปาฏิหาริย์" น่ามหัศจรรย์ ที่ยังมี ผู้มีธุลีในดวงตาน้อย ในยุคนี้ สามารถ มองเห็นพุทธธรรม ที่เป็นโลกุตระได้ อาตมาก็จะทำงาน ประกาศศาสนา ของพระพุทธเจ้าต่อไป อย่างมั่นใจนี่แหละ คุณ ๘๗๐๕ ก็พยายาม ตามพิสูจน์นะ! อย่าเพิ่งรีบถอย ไปไหนเสียล่ะ และที่อาตมาสาธยายธรรม อยู่ในขณะนี้ โดยเอา sms ของคุณ ๘๗๐๕ มาเป็นประเด็น ในการสาธยายนี้ ก็ไม่ใช่เป็น การถกเถียงกับคุณ ไม่ใช่เป็นการโต้แย้งกับคุณ แต่เป็น การแสดงธรรม มีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ "ปรัปปวาท" ที่บังเกิดขึ้น ให้เรียบร้อย โดยสหธรรม หมายความว่า เมื่อมีผู้ทำคำสอน ให้คลาดเคลื่อน หรือวิปริตผิดเพี้ยน ไปเป็นอย่างอื่น (ปรัปปวาท) ก็จำเป็นที่อาตมา จะต้องแสดงธรรม ให้มีปาฏิหาริย์ข่มขี่ "หลักการที่เป็นอย่างอื่น ไปจากของพระพุทธเจ้า" (ปรัปปวาท) ให้กลับสู่ความเป็น ของพระพุทธเจ้า "อย่างเดิม" ให้เรียบร้อยโดยสหธรรม โดยสหธรรม ก็คือ "กับธรรมะ"นี่แหละ หรือมีธรรมะนี่แหละ "พร้อม" หรือ "ธรรมะนี่แหละร่วมกัน" ซึ่งทั้งรูปธรรม และนามธรรมทั้งหลาย ที่อาตมาสามารถ ทำให้เกิดขึ้นมา ก็ยืนยันพร้อม รวมกันร่วมกัน ทั้งผู้คนที่แสดงตัวเป็นมวล รวมกันร่วมกัน ทั้งแสดงความเป็นพฤติพุทธ รวมกันร่วมกัน ทั้งการดำเนินไป พร้อมกับธรรมะ ที่สามารถพิสูจน์ ตามคำสอนของ พระพุทธเจ้าได้จริง ว่า ไม่ใช่เพื่อโลกธรรม หรือไม่ใช่เพื่อ ให้ใครมาเป็นบริวาร สนับสนุน แต่เป็นการเกิดมวล ตามสหธรรมเอง จะเป็นการหนุน ไปในทางใด คือ หนุนกันไปในทางผิด หรือหนุนกันไปในทางถูก ก็เป็นไปตามสัจธรรม ที่เป็นจริง ของสัจธรรมแท้ๆ ใครเป็นสัจธรรม ก็ฝ่ายนั้นแหละ อาตมาอาจจะเป็นผู้ผิด ตามที่คุณ ๘๗๐๕ ว่าก็ได้ เพราะไม่มีใคร สามารถตัดสิน สัจธรรมได้หรอก สัจธรรมเท่านั้น ที่ตัดสินความเป็นสัจธรรมเอง ก็พิสูจน์กันไป ขอให้คุณ ๘๗๐๕ อย่าเป็นผู้หลงผิดเลย ขอให้เป็นผู้สัมมาทิฏฐิจริงเทอญ อาตมาพูดด้วยความจริงใจนะ แต่คุณ ๘๗๐๕ คงจะรู้ความจริงใจอาตมา ได้ยากยิ่ง เพราะดูท่าทีคุณ ๘๗๐๕ จะไม่เชื่ออะไร จากธรรมะที่อาตมา แสดงออกไปเอาเสียเลย ก็ไม่เป็นไร ด้วยความปรารถนาดี ก็ขอแสดงความจริงใจไว้ กันอย่างนี้ก็แล้วกัน อย่างน้อยเชื่อสักนิดได้ไหมว่า ที่อาตมาพูดว่า "ความจริงใจ"นี้ เป็น "ความจริงใจ" ที่อาตมาสามารถ "อ่านใจตนเองได้" จึงพูด ตามจริงนั้น? และขอยืนยันว่า ที่อาตมาสามารถ "อ่านใจตนเองได้"นี้ จนสามารถ นำมาประกอบ การอธิบายธรรม กันตลอดมานี้ ก็เพราะอาตมามี "ทิฏฐิ" ที่คุณ ๘๗๐๕ เชื่อมั่นว่า อาตมา "มิจฉาทิฏฐิ" นี่แหละ อาตมาก็ไม่มีสิทธิ์จะอวยพร ว่า ขอให้คุณโชคดี เกิดสัมมาทิฏฐิเถิด อาตมาก็ทำไม่ได้อีกแหละ เพราะอาตมาเชื่อว่า คุณ ๘๗๐๕ ฉลาดหลักแหลมอยู่แล้ว ก็ต้องรู้ว่า อวยพรด้วยปากอย่างไร มันก็เป็นไปไม่ได้ นอกจากคุณ ๘๗๐๕ เอง ตนเองต้องเรียนรู้ เชื่อเอง และสัมมาทิฏฐิเอง หรือมิจฉาทิฏฐิเอง.
ต่อไปเป็นการตอบประเด็น การทำความเข้าใจในวิโมกข์ข้อที่ ๑ คำว่า รูปี รูปานิ ปัสสติ แม้เป็นคำสั้นๆ แต่มีสิ่งที่เกี่ยวข้อง กับรูปเยอะครั้ง พระพุทธองค์ สอนให้เบื่อหน่ายจากรูป การพิจารณาว่า รูปทั้งหลาย....ก็ถูกต้อง คำว่าอัตตาที่ปุถุชนเห็นว่า เป็นสิ่งเที่ยงแท้ ๑.ชีวิตที่มีค่า คือชีวิตที่เรามีคุณค่า และทำให้คนอื่นมีคุณค่าใช่ไหม? คุณ 8705 สับสนในตัวเองหรือเปล่า ตอนต้นบอกว่า ธรรมะทั้งหลาย อาศัยกันต่อเนื่อง จึงเกิด แต่ตอนท้ายกลับเห็นว่า ทุกอย่างไม่มีตัวตน พ่อท่าน ช่วยดูพระไตรฯ ล. ๒๓ หน้า ๑๑๗...ว่า เพื่อเป็นการยืนยันว่า ธรรมะเป็นสิ่งที่ เป็นไปตามลำดับ ไม่ใช่ว่า เริ่มที่อะไร ก็ไม่ใช่ตัวตนเลย ตอบ... ปหาราทสูตร ป. มี ๘ ประการ พระเจ้าข้า ๘ ประการเป็นไฉน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาสมุทรลาด อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่ อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะในมหาสมุทร คลื่นย่อมซัดเอา อีกประการหนึ่ง แม่น้ำสายใหญ่ๆ บางสาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู อีกประการหนึ่ง แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนจาก อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่ มหาสมุทร มีรสเดียว คือ รสเค็ม นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ประการที่ ๖ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัย ของพวกสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ และสิ่งมีชีวิตใน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุทั้งหลาย ย่อมอภิรมย์ ในธรรมวินัยนี้บ้างหรือ ฯ พ. ดูกรปหาราทะ ภิกษุทั้งหลายย่อมอภิรมย์ ในธรรมวินัยนี้ ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาสักเท่าไร พ. มี ๘ ประการ ปหาราทะ ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรลาด ลุ่ม ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง ฉันใด สาวก ทั้งหลายของเรา พ่อครูแวะ....คนทุกวันนี้สาบานไปทั่ว ขอให้ฟ้าผ่า ขอให้ฉิบหาย ทั้งที่มีหลักฐานว่าผิดๆ ก็ยังกล้าสาบาน เป็นยุคคนไม่กลัวบาป ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะในมหาสมุทร คลื่นย่อมซัดเอา ดูกรปหาราทะ แม่น้ำสายใหญ่ๆ บางสาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ดูกรปหาราทะ แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนจากอากาศ ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ฉันใด ดูกรปหาราทะ ฉันนั้น ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรมีรัตนะมากมาย หลายชนิด รัตนะในมหาสมุทรนั้น มีดังนี้ คือ ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัย ของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร ดูกรปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัยนี้ เป็นที่พำนักอาศัย แห่งสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งชีวิตมี ในธรรมวินัยนี้ มีดังนี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อความเป็นพระอรหันต์ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ประการที่ ๘ ใน ดูกรปหาราทะ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ จบสูตรที่ ๙ คุณแม่ทำขนมขายที่ชมร. มีคนชมว่าขนมอร่อย คุณแม่จะเป็นคนที่มอมเมาคน ให้ติดอร่อยหรือไม่?... กายสังขารที่เป็นองค์ประชุมของใจ ที่เป็นนามกาย คืออะไร? ที่เขาเรียนมาก็มีแต่ ไปนั่งหลับตาสะกดจิต จะพามาทำอย่างพุทธ แบบลืมตา ก็ไม่ง่าย ดีที่มีพระไตรฯ การปหานกิเลส ในตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ เป็นการทำฌาน เพื่อสะสมสมาธิพุทธ คือ อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา ใช่หรือไม่... ช่วยแนะการทำใจในใจ โดยเฉพาะรัฐบาล กำลังขายชาติ ทั้งเขาพระวิหาร และน้ำมัน.. การเสี่ยงทายตอนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ แล้วลอยถาดทองคำ หากผมจะเสี่ยงเซียมซี จะได้ไหม? ตอบ... คุณไปรู้ใจพระพุทธเจ้าได้อย่างไรว่า ที่ท่านลอยถาดทวนน้ำ คือการเสี่ยงทาย แต่ถ้าเป็น บุคคลาฐิฏฐาน การลอยถาดทวนน้ำ คือ ท่านเกิดสภาวะ อันทวนกระแส ท่านจะบรรลุ หากผมจะสรุปว่า ละชั่ว ทำดี ทำจิตให้สะอาด จะบรรลุธรรมได้ไหม? อรูปที่เป็นภายนอกคืออะไร? ตั้งแต่เปลี่ยนเป็นจานดำ มีพธม.ดูเอฟเอ็มทีวี มากขึ้นอีก... อยากให้พ่อท่าน แนะนำ ส.ขจ. ครับ พ่อครูสรุปว่า... ธรรมะทุกวันนี้ ที่พ่อครูพยายามอธิบาย แจกละเอียด รู้สึกว่าเหนื่อย แต่มี เอ็นโดฟีน พ่อครูตั้งใจทำงานเหล่านี้ ก็ให้ตั้งใจฟังดีๆ ใช้สมาธิให้ดี พวกเราก็ฟังกันดี ตั้งใจฟังกันดี อันนี้ก็ดี ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรม เป็นการมาอย่างสมัครใจ ก็เกิดกำลังใจ ที่ไม่เสียเปล่า ที่ทำงานมา แม้ยากแม้ละเอียด ก็ยังมีคนฟัง แล้วเกิดธรรมรส ก็ขอบคุณทุกคน ที่มารับฟังธรรมะ พระพุทธเจ้า แล้วเอาไป ทำให้เกิดผล สืบทอดชีวิต พระพุทธศาสนาต่อไป.... จบ
|
||
|