|
||
ส.ฟ้าไทเปิดรายการที่บ้านราชฯ มีคุณ 7935 sms มาว่า..... 0867935xxx ผมอยากทราบว่าผีมีจริงหรือไม่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เจ้าที่เจ้าทาง มีจริงหรือไม่ ตามศาสนาพุทธ สอนเรื่องนี้อย่างไรครับ ช่วยตอบหน่อยครับ ขอบพระคุณครับ ตอบ... คำว่าผี คือจิตใจ หรือจิตวิญญาณ หรือมโน ที่อยู่ในร่างกายเรา พระพุทธเจ้าท่านว่า ให้เรียนรู้ อิธะ พรหมจริยวาโส มาเรียนรู้เทวดา มาร พรหม ผี ที่อยู่ในกายนี้แหละ แต่มาถึงวันนี้ ก็เพี้ยนไปเป็น เทวนิยมแล้ว ผีคือนามธาตุ ในร่างกายเรา ผีที่อยู่นอกตัวเรา เห็นไม่ได้หรอก ที่เห็นน่ะของหลอก ผีเห็นอยู่นอกตัวไม่ได้ ที่ว่าเห็นไม่ได้ เพราะพระพุทธเจ้า ท่านตรัสชัดว่า จิตวิญญาณ ไม่มีรูปร่าง ที่เขาเห็นเป็นรูปร่างนั้นไม่มี พระพุทธเจ้าท่านปั้นสมมุติ เป็นบุคคลาธิษฐาน ให้คนตามสมมุติเท่านั้น ถ้าออกจากร่าง ก็เป็นเอกจรัง ไปเดี่ยวๆ ทูรังคมัง (เหมือนแสงกระจายไป ไม่มีที่สิ้นสุด) สรุปว่าผีคือ จิตวิญญาณ หรือมโน ที่มีนามธาตุ ที่มันเลวมันชั่ว ก็เรียกว่า มันคือผี มีจริงสิ ในคนที่อวิชชา เป็นผีทั้งนั้น และไม่รู้ตัวเองด้วย หลอกคนอยู่ทุกวัน เราตกนรกในจิตวิญญาณนั้น จะมีสภาพร้ายแรง ทุกข์ทรมาน มากกว่าตอน มีชีวิตมากนัก เทวดาก็อยู่ใน ร่างกายเราเช่นกัน เทวดามีสองอย่าง ๑.เทวดาโลกียะ คือพวกเสพสุขในโลกีย์ ในโลกธรรม ได้บำเรอกามคุณ ทุกคนเคยมีสวรรค์อย่างนี้ ซึ่งไม่จริงไม่เที่ยง เป็นของหลอกทั้งสิ้น ๒.เทวดาโลกุตระ คือพวกมีสุข ที่ได้ลดกิเลส สิ่งศักดิสิทธิ์เจ้าที่เจ้าทาง ตอบเบื้องต้นคือว่า ไม่มี แต่ในขั้นสูงขึ้นไป สิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยนามธรรม โดยปรมัตถธรรม โดยคุณค่าแท้จริง ในคุณธรรมทางนามธรรม ก็มีจริง ผู้สั่งสมบารมี ก็มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์จริง ที่จะมาช่วยตนเอง เพราะได้สั่งสมมาแล้ว ด้วยตนเอง แต่ไปขอคนอื่นไม่ได้ เป็นของๆตน (กัมมสกตา) ถ้าเป็นสิ่งไม่ดี ก็พาเราตกต่ำ ไม่ต้องไปอยากได้ อยากมีให้ทำไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องไปอยากรู้ อยากมีอยากได้ ให้ปฏิบัติธรรม ให้ได้มรรคได้ผล นั่นแหละคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สังขาร ที่อวิชชากับวิชชา เป็นไฉน [๒๕๗] สังขารเกิด เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย เป็นไฉน ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร กายสังขาร เป็นไฉน [๒๕๗] ตตฺถ กตเม อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชา คือ ความไม่มีปัญญาทางพุทธธรรมที่สัมมาทิฏฐิ ก็ขอพูดถึง สังขาร ๓ หมวดที่เป็นโลกียธรรม คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ก่อน กาย คือ องค์ประชุม, กอง, ฝูง, หมวดหมู่, ที่รวม, ชุมนุม แม้แต่หมวดแห่งเจตสิกธรรม คือ เวทนา สัญญา และสังขาร ก็คือ ความเป็น "กาย"ด้วย กายสังขาร คือ เครื่องปรุงแต่งกาย, ปัจจัยปรุงแต่งกาย กายสังขาร พระพุทธเจ้าตรัสว่า กายสญฺเจตนา กายสงฺขาโร วจีสญฺเจตนา วจีสงฺขาโร มโนสญฺเจตนา จิตฺตสงฺขาโร คำว่า "กายสังขาร" ในที่นี้ จะหมายเอา การปรุงแต่งเป็น "กาย"นั้น จะรวมเอาทั้ง กายสังขาร -วจีสังขาร -จิตตสังขาร ทั้งหมดเรียกว่า "กาย" กล่าวคือ กาย หมายเอา องค์ประชุมของสังขารหมดทั้ง ๓ สังขาร ไหมล่ะ ซึ่งในตอนนี้ ก็ขออธิบายตามที่ว่านี้ อาตมาเห็นตามภูมิของตน แม้คำว่า "กายสังขาร"ในความเป็น"อวิชชา"นี้ มันแยกกันไม่ได้ ต้องพัฒนาจาก "อวิชชา" ให้มันรู้ทั้ง"สังขาร" ทั้ง"วิญญาณ" เฉพาะอย่างยิ่ง ต้องรู้"นามรูป" นี่แหละสำคัญ ผู้จะสามารถรู้"นามรูป" จะต้องเรียนรู้และ สร้าง"ความรู้"ของตน ให้เข้าขั้นมี"ญาณ" หรือ"ปัญญา" จนเข้าขั้น "วิปัสสนาญาณ" (วิชชาที่ ๑ ของวิชชา ๘) ให้ได้ จึงจะสามารถ "สัมผัสรู้นามรูป" ขึ้นมาได้ แล้วจึงจะปฏิบัติ โดยมีทวารภายนอก คือ ตาหูจมูกลิ้นกาย "สัมผัส" (ผัสสะ) ภาวะภายนอก แล้วจึงจะเกิด "วิญญาณ ๖"อันเป็น"วิญญาณ"แท้ ที่รู้แจ้งเห็นจริง ได้ทุกคน หากเรียนรู้ให้"สัมมาทิฏฐิ" แล้วปฏิบัติให้ "สัมมาปฏิบัติ" และ"การรู้" ก็ต้อง"รู้"ด้วยการมี" สัมผัส ๖" แล้วจึงจะเห็นแจ้งรู้จริง ได้ครบทั้ง "วิญญาณ ๖ -อายตนะ ๖ -ผัสสะ ๖- เวทนา ๖- ตัณหา ๖ อุปาทาน ๔ -ภพ ๓ -ชาติ ๕" ตามที่พระพุทธเจ้าตรัส รายละเอียดในการปฏิบัติ "ปฏิจจสมุปบาท"ไว้ในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๖ ตั้งแต่ข้อ ๑ เรื่อยไปทีเดียว ก็จะค่อยๆรู้แจ้ง รายละเอียดครบหลักปฏิบัติ เมื่อสามารถมี "ญาณหรือปัญญา" ที่สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริง ความเป็น"นามรูป" ก็จะสามารถปฏิบัติมี "สัมผัส" (ผัสสะ) เป็นปัจจัยแล้ว "รู้จักรู้แจ้งรู้จริง" ตั้งแต่ "สังขาร" หรือ "วิญญาณ" ที่เป็น"นามธรรม" ไปตลอดทั้ง "เวทนา -ตัณหา -อุปาทาน -ภพ -ชาติ" ทั้งสายของ ปฏิจจสมุปบาท อย่างมีสภาวะจริง ในพระไตรปิฎกที่ท่านแปลเป็นไทย ว่า กายสัญเจตนา คือ ความจงใจทำด้วยกาย, ความจงใจทางกาย ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ในพระไตรปิฎก เล่ม ๓๕ ข้อ ๒๕๗ นี้ก็ต้องศึกษากัน ให้ชัดเจน ซึ่งหมวดแห่งเจตสิกธรรม คือ เวทนา สัญญา และสังขาร ก็คือ ความเป็นกาย (จากพจนานุกรมบาลีไทย ฉบับนักศึกษา ของพระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ) รศ.ดร.จำลอง สารพัดนึก) หรือจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ก็ให้ความหมายว่า นามกาย หมายถึง นามขันธ์หมดทั้ง ๔ คือ ทั้งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือทั้งจิต และเจตสิก เพราะฉะนั้น "กาย"จึงหมายถึง "องค์ประชุมของทั้งรูปทั้งนาม ครบเป็นวิญญาณ" เรียกได้เต็มๆว่า "กายวิญญาณ ๖" (องค์ประชุมทั้ง ๖) ซึ่งเป็น"วิญญาณ" ที่ครบด้วย เจตสิก ๓ (เวทนา สัญญา สังขาร ที่สัมผัสรูป) อันเกิดจาก "โผฏฐัพพะ ๕" (การสัมผัส ทั้ง ๕ คือ ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย ที่สัมผัสรูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส รวมวิญญาณครบ) เมื่อเกิด "การสัมผัส" ก็จะครบด้วย "วิญญาณ ๖" ซึ่งนับทั้งการรู้ ที่เกิดพร้อม กล่าวคือ "วิญญาณ ๕" จากภายนอกที่ "สัมผัส"แล้ว ก็จะ"รับรู้" ด้วย"วิญญาณ" คือ "ธาตุรู้" ที่"รู้ทั้ง ๕ " รวมตัว "ธาตุรู้" คือ "วิญญาณ"เองด้วย จึงคือ "วิญญาณ ๖" นั่นคือ เมื่อคนที่ยังอวิชชาอยู่ ก็ย่อม "สังขาร"ด้วย "อวิชชา"ที่ตนยังมีแน่นอน ดังนั้น ความจงใจทำทางกาย หรือ ความจงใจทำด้วยกาย ก็เถอะ แม้แต่ วจีสัญเจตนา เป็นวจีสังขาร ก็มาจาก "มโนสัญเจตนา"นั่นเอง เป็น ตัวต้นทาง และแถมสังขาร ด้วยอวิชชาเสียอีก พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วว่า มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา ซึ่งหมายความว่า "ใจ"เป็นต้นทาง มาก่อนสิ่งอื่น หรือ เป็นประธาน ทั้งกาย-วาจา และ ใจเอง "ใจ"เป็นนาย "กาย"เป็นบ่าว แน่นอน เจริญประเสริฐได้ด้วย"ใจ" (มโนเสฏฐา) เพราะฉะนั้น ถ้ายัง"อวิชชา"อยู่แท้ๆ สังขาร หรือ การปรุงแต่งทั้งหลาย เป็นกายสังขาร วจีสังขาร -จิตตสังขาร ก็ล้วนมาจาก"ใจ" หรือ"มโน" สำหรับผู้ยังไม่ได้ศึกษา อย่างเอาจริง และทำ"สังขาร" ให้เป็น"อภิสังขาร" ที่เจริญสัมบูรณ์สูงสุดไม่ได้ ดังนั้น กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร จึงล้วนเป็นทุกข์ และก่อความลำบาก ยุ่งยาก ให้แก่ตน แก่สังคม เพราะยัง "อวิชชา" สรุป "สังขาร ๓"ที่เป็น"กายสังขาร -วจีสังขาร -จิตตสังขาร" ของคนที่ยังมี "อวิชชา"ทั้งหลาย จึงยังบริบูรณ์ด้วย "ทุกข์" บริบูรณ์ด้วย การปรุงแต่ง หรือ การจัดแจง (สังขาร) ที่มี "ความจงใจ" ให้เป็นไปตาม "ใจ"ที่มีกิเลสนั้นๆอยู่ จึงเป็นผู้ยังสร้างทุกข์ สร้างความลำบากยุ่งยาก ให้แก่ตน แก่สังคมอยู่ ตราบที่ยังเป็นคนมี "อวิชชา" จะมีมากหรือน้อยขนาดไหน ก็เป็นไปตามที่มีจริงนั้นๆ ปฏิจจสมุปบาท จึงเป็น สูตรแห่งการเรียนรู้และปฏิบัติ ให้ "อวิชชา"ลดลงๆ และที่สุด "หมดสิ้นอวิชชา" อย่างวิเศษ ถ้าปฏิบัติได้อย่าง "สัมมา" จนดับ"อวิชชา" หรือ "อวิชชาดับสนิท" ด้วยความสามารถของผู้ศึกษา และปฏิบัติกระทั่ง มีผลจริงจบ ยิ่งได้ศึกษาเข้าใจแจ่มแจ้ง "อวิชชาสูตร" ที่ตรัสถึง "อาหาร" ทางธรรม เป็นต้นว่า นั่นคือ ถ้าใครยังมี "อวิชชา" ก็จะมี "อาหาร" ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นั้น อยู่ตลอดเวลา แน่นอน จึงเจริญความรู้ ที่มี "อาหาร" เป็น"อวิชชา" หนาแน่นขึ้นทุกวัน ถ้าผู้ใดได้พบ "สัตบุรุษ" และได้ "คบคุ้นสัตบุรุษที่บริบูรณ์" ก็จะเป็นมนุษย์เจริญ ได้ตามที่พระพุทธเจ้า ตรัสใน "อวิชชาสูตร" นี้ได้จริง (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ ข้อ ๖๑) การคบคุ้นสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ผู้ใส่ใจศึกษาและปฏิบัติจริง จึงจะดับอวิชชา เจริญวิชชาและวิมุตติ ได้บริบูรณ์จริง แล้วลดทุกข์ และก่อความลำบากยุ่งยาก ให้แก่ตนแก่สังคม น้อยลงๆ จนกระทั่งที่สุด ดับทุกข์ และไม่ก่อความลำบากยุ่งยาก ให้แก่ตน แก่สังคม เพราะสัมบูรณ์ด้วยวิชชา ครบ ๘ ตามหลักสูตรของ พระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น จึงต้องตั้งใจศึกษา ปฏิจจสมุปบาท ให้สัมมาทิฏฐิ แล้วตั้งใจปฏิบัติ ให้เป็นสัมมาปฏิบัติจริงๆ ก็จะบรรลุมรรคผลได้จริง อาตมามั่นใจ สังขารจึงคือ การประชุมของสภาวะ ที่ปรุงแต่งกันขึ้นมา แล้วก็มีอำนาจ มีบทบาท ในความเป็นคน แล้วก็มีพฤติกรรม เกิดขึ้นในสังคม เป็นพฤติภาพในโลก อาตมาต้องการสำทับย้ำ คำว่ากาย ซึ่งเป็นองค์ประชุม ที่ต้องเข้าใจ ในการปฏิบัติธรรม ว่า เมื่อท่านหมายถึงกาย ที่รวมทั้งภายนอก -รวมทั้งภายใน ไม่ได้ขาดการเชื่อมต่อกันอยู่ นั่นแหละ ที่เรียกว่ากาย คือ องค์ประชุมของรูปของนาม ทั้งจากภายนอก ต่อเนื่องเข้าไปสู่ภายใน ก็รับรู้ติดต่อกันอยู่ เช่น อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ (วิโมกข์ ข้อที่ ๒) ซึ่งอาตมา ขอให้ความหมายว่า ผู้ที่เห็น(ปัสสติ) ด้วยการสัมผัสภาวะจริง เห็นทั้งรูปทั้งหลายภายนอก และเห็นทั้งรูปทั้งหลายภายใน แล้วลึกซึ้งเข้าไปเห็นทั้ง อรูปภายในไปทั้งหมด ด้วยสัญญา คือ ความรู้ที่สามารถ กำหนดหมาย สัมผัสรู้ภาวะ รูปทั้งปวง ตลอดไปจนถึง ภาวะอรูปทั้งปวง นั้นๆได้จริง โดยตัวเอง (เอโก) ของตนเอง ในตนเอง สำเร็จเอง (เอโก) ที่บาลีว่า "อิเธกัจโจ ปุคฺคโล อัฏฐ วิโมกเข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ปัญญาย จัสส ทิสฺวา อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติ" คำว่า ด้วยกาย ในที่นี้ ยืนยันให้เห็นชัด ว่าเป็นคำสำคัญ ที่จะละเลยไม่ได้ และอีกคำคือ "ถูกต้อง" หรือ "สัมผัส"(ผุสิต) ที่เป็นตัวชี้บ่งว่า จะเป็น"ความจริง" ที่เรียกว่า "สัจธรรม" ต้องมี "สัมผัสภาวะนั้นอยู่หลัดๆ" แม้จะเป็น "นามธรรม" หรือ "นิโรธ" ดังนั้น สังขารเกิด เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย เป็นไฉน ตามภูมิอาตมา ซึ่งจะเอาสภาวะธรรม ที่อาตมามีเป็นหลัก ก็เข้าใจได้ว่า กุศล นั้นคำหนึ่ง เจตนา นั้นอีกคำหนึ่ง ที่มีในประโยคนี้ ให้ความหมายอยู่ชัด ดังนั้น ปุญญาภิสังขาร จึงหมายความว่า ความจงใจ(เจตนา) ปฏิบัติตนให้เกิด ความดีงามถูกต้อง (กุศล) ที่ท่องเที่ยวไปใน แดนกามภพ (กามาวจร) และท่องเที่ยว ไปในแดนรูปภพ (รูปาวจร) ที่สำเร็จได้ด้วยทาน สำเร็จได้ด้วยศีล สำเร็จได้ด้วยภาวนา ซึ่งต้องเข้าใจ "ทาน-ศีล-ภาวนา" อย่างสัมมาทิฏฐิ แท้จริงเป็นสำคัญ จึงจะสามารถ "ได้บุญ" คือ ได้ "ชำระจิตสันดาน หรือชำระกิเลส สะอาดผ่องใส" ขึ้น "ได้บุญ"นั้น ไม่ใช่"ได้โลกธรรมมาให้ตน" แต่ได้ "ชำระกิเลสออกไป" ต่างหาก ดังนั้น "กุศล" ที่เราจงใจ(เจตนา) ที่เรามุ่งหมาย(เจตนา) และสำเร็จด้วย ทาน-ศีล-ภาวนา นั้น ทั้งที่ท่องเที่ยวไปใน แดนกามภพ (กามาวจร) และท่องเที่ยวไปใน แดนรูปภพ (รูปาวจร) ไม่ใช่หลับตาอยู่ในภวังค์ หมายความว่า ปฏิบัติธรรมแบบลืมตาปกติ ในชีวิตสามัญ ตามแบบพุทธ ที่สัมมาทิฏฐิ ทั้งทาน ทั้งศีล ทั้งภาวนา ล้วน "โยนิโสมนสิการ" บริบูรณ์ คือ ทำใจในใจ ได้ถูกต้อง ตามหลัก "ปฏิจจสมุปบาท" ตามหลัก "มรรค อันมีองค์ ๘" ที่สัมมาสมาธิ ไม่ใช่ปฏิบัติแบบนั่งหลับตาทำ "สมาธิ" ที่ไม่ได้ดำเนินตาม "มรรค ๗ องค์" ตามที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ใน "มหาจัตตารีสกสูตร " จึงได้ "สมาธิ"กันคนละอย่าง หรือสำเร็จ"อธิจิตสิกขา"ไม่เหมือนกัน "อภิสังขาร"บทนี้ ท่านตรัสสั้นนิดเดียว แต่ลึกซึ้งสุดวิเศษ เป็น"โลกุตระ" ที่ต้องมีสภาวะ ของ ปรมัตถธรรม กันอย่างสำคัญ ผู้ยังไม่มีปรมัตถ์ ก็เข้าใจได้ ในระนาบโลกีย์ คือ วนไป"กุศล"กับ"อกุศล" ที่วนไปวนมา ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง อยู่เท่านั้น ไม่สามารถสูง เลื่อนชั้นขึ้นสู่ที่สูงยิ่ง ที่เป็นสภาพหมุนรอบเชิงซ้อน (คัมภีราวภาโส) ที่ซับซ้อน สูงขึ้นๆจริง ไม่ใช่วนไปมาต่ำ -สูงอยู่ ไม่อาจล่วงพ้น ชั้นโลกีย์ที่หมุนวนไปได้ จึงเป็นเรื่องที่ "เห็นตามได้ยาก" (ทุทฺทส) "รู้ตามได้ยาก" (ทุรนุโพธา) จริงๆ อกุศลเจตนา เป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ก็อีกแหละ ตามภูมิอาตมาซึ่งจะเอาสภาวะธรรม ที่อาตมามีเป็นหลัก ก็เข้าใจได้ว่า อกุศล นั้นคำหนึ่ง เจตนา นั้นอีกคำหนึ่ง ที่มีในประโยคนี้ ให้ความหมายอยู่ชัด ดังนั้น อปุญญาภิสังขาร จึงหมายความว่า ความจงใจ (เจตนา) ปฏิบัติตนให้เกิด ความดีงามถูกต้อง (กุศล) ที่ท่องเที่ยวไปใน แดนกามภพ (กามาวจร) และแน่นอน ต้องสำเร็จได้ด้วยทาน สำเร็จได้ด้วยศีล สำเร็จได้ด้วยภาวนา ซึ่งต้องเข้าใจ "ทาน-ศีล-ภาวนา" อย่างสัมมาทิฏฐิ แท้จริงเป็นสำคัญ จึงจะสามารถ "ได้บุญ" คือ ได้ "ชำระจิตสันดาน หรือชำระกิเลส สะอาดผ่องใส" จนกระทั่ง ไม่ต้องชำระจิตสันดานนั้นอีกแล้ว เพราะ "อกุศล" เป็นเจตนา หรือตามที่จงใจ หรือมุ่งหมาย ได้ทำสำเร็จลง "อภิสังขาร" นี้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้อง"ทำบุญ"อีก เป็น"อปุญญ"แล้ว ใน"กามาวจร" หรือท่องเที่ยวไปในแดนกามภพ (กามาวจร)นั้นเอง บัดนี้ เป็น "อปุญญาภิสังขาร"แล้ว "ไม่ต้องชำระกิเลสกันอีกแล้ว" (อปุญญา)
ในวิโมกข์ ๘ ๒. ท่านแปลว่า ผู้หนึ่งไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (๑๐/๖๖) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ) แต่ (พ่อครูแปลว่า มีสัญญาใส่ใจในอรูป คือรู้ทั้งรูปภายนอก ไปจนถึงรูปภายใน ต้องเห็นทุกเวลา แม้ขั้นอรูป ก็ต้องใส่ใจกำหนด) ๓. ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ (พ่อครูแปลว่า เป็นโชคอันดีงาม ที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุหลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น) กายคือองค์ประชุม สัญญาคือตัวเข้าไปรู้ ถ้ากายคือวัตถุหยาบ ก็ไม่ยาก แต่ในปรมัตถ์ ต้องกำหนดกาย คือนามธรรม สามข้อแรกของวิโมกข์ ๘ หมายถึงรูปฌาน ส่วนข้อหลังหมายถึง อรูปฌาน มาอธิบายสัตตาวาส ๙ ๒. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน เป็นต้น เช่นพุทธสัมมาทิฏฐิ กับพวกมิจฉาทิฏฐ ก็สัญญาว่าไม่มีนิวรณ์ เหมือนกัน แต่ว่า พุทธแท้จะลืมตาปฏิบัติ แม้นั่งหลับตา ก็ไม่เหมือนกัน ๓. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสราพรหม (ว่าง..ใส.. สว่าง.. แผ่กว้าง) กำหนดความว่าง สว่างใสต่างกัน ยิ่งในบางสำนัก ใสอย่างนี้โสดาฯ ใสอย่างนี้อนาคาฯ แต่ละคนก็ต่างกัน มันจะสัญญาต่างกัน แต่องค์ประชุม ของความใสนั้นเหมือนกัน กายที่ได้ก็ใสเหมือนกัน ของพุทธนั้น องค์ประชุมของความใสเหมือนกัน แต่การกำหนดนั้นต่างกัน ของพุทธกำหนดขณะลืมตา ของฤาษีกำหนดขณะหลับตา ๔. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพ.. สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืดเป็นโชค) ได้ความไม่มีเหมือนกัน คือ ดับดำทิ้งมืด มีแต่ความสว่าง แต่ก็ได้สภาวะที่ ขจัดความมืดได้เป็นโชค เรารู้ความมืด แต่ไม่เอาความมืด ๕. สัตว์บางพวก ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ เช่น เทพจำพวก อสัญญีสัตว์ (อุทกดาบส ทำนิโรธสมาบัติ ดับจนไม่รับรู้อะไร) ๖. สัตว์บางพวก เข้าถึง.. อากาสานัญจายตนะ (พ้นรูปสัญญา) ๗. สัตว์บางพวก เข้าถึงชั้น.. วิญญาณัญจายตนะ (พ้นเสพความว่าง) ๘. สัตว์บางพวก เข้าถึงชั้น.. อากิญจัญญายตนะ (ดับดิ่งไม่มีอะไร) ๙. สัตว์บางพวก.เข้าถึงชั้น.. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ดับๆ รู้ๆ) ในสี่ข้อหลังของพระพุทธเจ้านั้น ก็ทำอย่างลืมตา อยู่ปกติชีวิตประจำวัน แล้วตรวจตัวเองดู พ่อครูผ่านมา ทั้งอย่างฤาษี และอย่างพุทธ แบบพุทธนั้นยาก แต่มั่นใจว่า ของพระพุทธเจ้านั้น คัมภีรา (ลึกซึ้ง) ทุททัสสา (เห็นตามได้ยาก) ทุรนุโพธา (บรรลุรู้ตามได้ยาก) สันตา (สงบระงับอย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่) ปณีตา (สุขุมประณีต ไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น) อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นเดามิได้) นิปุณา (ละเอียดลึก ถึงขั้นนิพพาน) ปัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต) พวกเรามาปฏิบัติแบบพุทธต้องรู้บุคคล ๔ ส.ฟ้าไท สรุปว่า เรามาเรียนรู้เรื่องสังขาร เน้นเรื่อง "กาย" คือองค์ประชุม ของรูป หรือนาม ตราบที่คนยังมิอวิชชา ก็จะสร้างทุกข์ ให้แก่ตนแก่สังคมไปตลอด เรามีกิเลสน้อยลง ก็ทุกข์น้อยลง และทำให้สังคมทุกข์น้อยลง พ่อครูเน้นย้ำ เรื่องอวิชชาสูตร การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ จะทำให้เกิดการฟังธรรมที่บริบูรณ์.... ต่อเนื่องไป ทำให้ วิชชาและวิมุติได้บริบูณณ์ พ่อครูเน้นย้ำเรื่องการทำบุญ ต้องเป็นการชำระจิตสันดาน ให้สะอาดผ่องแผ้ว และพ่อครูยังอธิบาย เรื่องวิโมกข์ ๘ และสัตตาวาส ๙ พวกเรายังอวิชชาอยู่ พ่อครูก็คงต้องอธิบายต่อไป ....พยายามตั้งใจฟัง แล้วพยายามทำ ให้เกิดนิพพานแก่เรา...
|
||
|