FMTV
560329_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครูและส.ฟ้าไท
เรื่อง
ทุกขสัญญาพาให้เกิดสังขาร

        ส.ฟ้าไทเปิดรายการ ที่บ้านราชฯ

..ตอนนี้พ่อครูสอนธรรมที่ลึกซึ้ง ถึงขั้นนิพพาน ที่จะต้องรู้จิตเจตสิก รูป นิพพาน รู้ได้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ เราต้องเรียนรู้สังขาร ที่แบ่งได้เป็นหลายแบบ ตั้งแต่สังขาร ๓ (กายสังขาร จิตสังขาร วจีสังขาร) หรือว่า เป็น ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอเนญชาภิสังขาร ถ้าเราไม่ได้ฟังพ่อครู อาจเข้าใจผิดได้ เช่นเรื่อง อปุญญาภิสังขาร ที่เป็นสังขารของ ผู้ที่ไม่ต้องลดกิเลสแล้ว เพราะไม่มีกิเลสให้ลด เพราะทำมาแล้วใน ปุญญาภิสังขาร

พ่อครูขออธิบายแก่ประชาชน... มีผู้ที่รายงานว่า มีผู้ส่งข่าวว่า ขณะนี้ในโลกโซเชียลมีเดีย กำลังอึงมี่ ในการวิพากษ์วิจารณ์ การถูกแบนของ FMTV จากจานดาวเทียมไทยคม C - band เรื่องนี้ไปถึง คุณสุภิญญา กลางณรงค์ บอร์ด กสทช. แต่ก็ยังไม่มีปฏิกิริยาอะไร อยากทราบความรู้สึกพ่อครู ในเรื่องนี้

กรณีนี้ พ่อครูก็ได้ข่าว ก็ดำเนินไปตามความจริง ขอยืนยันว่าที่ทำนี้ เพื่อประโยชน์สังคม ด้วยความบริสุทธิ์ใจจริงๆ ไม่ได้มาเอาโลกธรรม แต่ก็ธรรมดา ในโลกเราพูดความจริง ก็ไปกระทบคนอื่น และคนไม่ดีคนชั่ว เขาก็ทำชั่วได้ เราจะไปทำชั่วตอบก็ไม่ได้ บุญใครบาปมัน เราเชื่อในกรรมในวิบาก เราเชื่อว่า สิ่งที่เราทำ เป็นเรื่องดี ไม่มีแฝงอะไร มีความจริงใจจะทำ ส่วนจะเกิดผล ให้ทำงานได้เท่าใด ก็ไม่เป็นอะไร เรายืนยันในธรรมะ ในสัจจะ คนที่เขาว่า เราทำไม่ดี เป็นบาปก็มีด้วย เราบังคับใครไม่ได้

พ่อครูก็รู้สึกว่า มันเป็นไปตามสัจธรรม ไม่ได้ดิ้นรนอะไรหรอก มีอะไรควร ก็ทำไปตามควร มากน้อยเท่าที่ทำได้ บอกตามความจริง

จะอยู่อย่างไร ไม่ให้ทุกข์เดือนร้อน กับการทำชั่วของคนชั่ว ...เราก็อยู่ไป เข้าใจเขา ว่าเขาต้องทำชั่ว เราจะไปฆ่าเขา เราไปทำรุนแรงกับเขา เราทำไม่ได้ เราจะเอาอะไรไปสู้เขาได้ เราไม่ทำหรอก เราเชื่อมั่นในธรรมย่อมรักษา ผู้ประพฤติธรรม มันจะเป็นไปตามธรรม ถ้าเราไม่มีบุญพอ ไม่มีใครช่วย ให้เราหยุด เราก็หยุด เราไม่งานอื่นทำมากมาย แต่งานนี้เราเห็นว่า จะมีประโยชน์ต่อมนุษยชาติ เราก็ทำ คนชั่วย่อมทำชั่ว เป็นธรรมดา เราอย่าไปยึดถือ ทำให้เราทุกข์ หัดวาง ไม่ใช่ว่าเราจะไปแกล้งคนชั่ว ที่เราไปขัดขวาง แต่เราไม่อยากให้เขาทำชั่วเพิ่มขึ้น เท่าที่เราจะทำได้ ทำไม่ได้เราก็วาง

0838677xxx เห็นแจ้งแล้ว แต่สอนตามที่เห็นแจ้งไม๋ได้ ต้องอาศัยคัมภ์ เขามาดัดแปลงสภาวะ แต่ใช้สอนไม๋ได้ ใช้อ้างตอน เถียงกับคนอื่น อย่างเดียว อัตตวาทุปาทาน เห็นเป็นอยู่คนเดียวตลอด แต่ชอบยัดเยียดให้คนอื่น

        พ่อครูก็ว่าสอนอยู่ แต่คนไม่รู้เรื่อง ก็ว่าไม่ได้สอน แต่คนรู้เรื่อง เขาก็ว่าพ่อครูสอน ก็ขอยืนยันว่า ธรรมะของพุทธนั้น เพี้ยนไปแล้ว อ้างอิงหลักฐาน ที่พระพุทธเจ้าตรัส เรื่องกลองอานกะ ตอนที่พระพุทธเจ้าตรัส ธรรมะยังไม่เพี้ยน แต่ท่านพยากรณ์ไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! กลองศึก เรียกว่า อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, ซึ่งเนื้อไม้เดิม ของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ ที่ทำเสริมเข้าใหม่ เท่านั้น; ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย, สุตตันตะ (ตัวสูตรส่วนที่ลึกซึ้ง) เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำ สุตตันตะเหล่านั้น มากล่าวอยู่; เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตน ควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรอง ประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะ อันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตร ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญไปว่า เป็นสิ่งที่ตน ควรศึกษาเล่าเรียน.

        มีคนส่ง sms แย้งมาว่า
0888705xxx นายกปูตายน้ำตื้น เพราะให้เงินกู้ฉันใด.. พธร.ก็ตายน้ำตื้น เพราะแปล อปุญญาภิสังขาร ผิดฉันนั้น! ส่วนที่พธร.บอกว่า ตนเองมีปัจจัตลักษณ์นั้น! แต่เราคิดว่า พธร. น่าจะมีอัปลักษณ์มากกว่า! เพราะพธร. ยังก้าวข้ามไม่พ้นทักษิณ (=อวิชชา).. เพราะยังคงติดใจ ยึดแนวทางของ 3 เกลออยู่! (=ปุญญาภิสังขาร, อปุญญาภิสังขาร, อาเนญชาภิสังขาร) ทั้งนี้ก็มิใช่เพราะอะไร! หากแต่ย่อมเป็นเพราะว่า.. พธร. ตั้งใจ จะแปลคำสอน ของพุทธเจ้า ให้กลายเป็นลัทธิม๊าคซิส คอมมูนิสต์ ก็เพื่อที่จะให้เกิด ปรโลก คือโลกสังคมนิยม คอมมูนนั่นเอง! แต่ถ้ามิใช่ดังนี้ละก็.. นั่นย่อมเป็นเพราะ พธร.เอง! ต้องเป็นโรคจิตประสาท ที่ชื่อว่า อรหันต์บ้องตื้นซินโดม! ที่ปราศจาก Common Sense ใดๆ เพราะมี IQ, EQ ต่ำที่สุด! ซึ่งชาวพุทธทั่วไป ที่ไม่ใช่ชาวอโศกแล้ว ย่อมจะมี Common Sense ที่ดีกว่านี้! และย่อมจะไม่หลงเชื่อ อรหันต์ติ๊งต๊อง อย่างพธร. เด็ดขาด! ฉะนั้นพธร. และชาวอโศก จึงเป็นชุมชนชาวพุทธกลุ่มน้อย ในสังคมไทย!

พ่อครูก็รับฟังด้วยดี ให้เขาได้ระบายออกมาก็ดี

ตอนนี้เราใกล้จะถึงงานมหกรรมสินค้า ราคาต่ำกว่าทุน ในงานเปิดตลาดน้ำ

เรามีงานปลุกเสกฯ วันที่ ๖-๑๒ เมษายน เรามาปฏิบัติธรรมกัน แล้วก็ต่อกัน ในงาน ตลาดอาริยะเลย ก็ต้องมาช่วยกัน เตรียมงานก่อน งานปีนี้ไม่เหมือนกับปีก่อน เพราะมีตลาดน้ำด้วย การจัดสถานที่ จะไม่เหมือนเดิม อย่ามัวแต่หลับใหล ต้องตื่นมาจัดงาน ยังไม่รู้ว่า จะจัดร้านตรงไหน อย่างไร เลยให้สัญญาณไป

D:\_@บันทึกปัจฉาฯ\_งานตลาดอาริยะ\PosterMarket_Tall3metๅ.jpg

 

มาเข้าเรื่องธรรมะ

ที่พ่อครูได้สาธยายเรื่อง สังขารที่อวิชชา กับวิชชาเป็นไฉน? ก็ได้บรรยายมา ในช่วงที่ผ่านมา พ่อครูก็เรียบเรียงอยู่เรื่อยๆ ยิ่งต่อเนื่อง ยิ่งละเอียดลออ แต่พวกเรา ฟังจะชัดเจน ขึ้นบ้างหรือเปล่า ที่เขาเข้าใจว่า ถ้าถามพวกคุณว่า พวกคุณเข้าใจไหม ใครตอบว่าเข้าใจ นั้นคือโกหก ก็เขารู้ใจคนอโศกได้ด้วย

หมอดูทำนายคนที่โลกุตระนั้น จะทำนายไม่ค่อยถูก เพราะคนโลกุตระ จะเปลี่ยนแปลง ฐานชีวิตเลย หมอดูตกกระป๋องเลย ถ้ามาดูคนโลกุตระ ขนาดวังคีสะ ว่าแน่ ยังทำนายไม่ได้
                คำตรัสของพระพุทธเจ้า มีว่า
                อกุศล เจตนา กามาวจรา นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร เท่านี้เท่านั้น
                อกุศลในภูมิ อปุญญาภิสังขารนี้ หมายถึง ผู้ที่ยังมีชีวิต กามาวจร ตามที่พระพุทธเจ้า ทรงยืนยันไว้ คือ คนที่ยังดำเนินชีวิต ท่องเที่ยวอยู่กับกามภพ นี่เอง
                ไม่ใช่หมายเอา คนที่เอาจิตเข้าไปจมอยู่กับ ภวภพ โดยไม่รับรู้ กามภ
                ซึ่งผู้ที่อยู่กับ กามภพ ก็คือ ชีวิตผู้อยู่กับภาวะ เปิดทวาร ๕ และมีสติรู้รอบ ด้วยทวารใจ ครบอยู่ตามสามัญของคนตื่น ทุกทวารทำงานปกติ รู้จักรู้แจ้งรู้จริง (คือใจรู้) ทุกอย่างที่ สัมผัสด้วยทวารนั้นๆ อันมี ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย
                ส่วนผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ไม่ได้ปฏิบัติ ไปจากเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องปลาย เป็นลำดับ ก็จะไม่เริ่มจาก เบื้องต้นคือ กามภพ จึงตัดลัดเข้าไป ปฏิบัติอยู่กับ ภวภพ เป็นชีวิต ผู้อยู่กับภาวะ ปิดทวาร ๕ สนิท ไม่รู้อะไร จากทวาร ๕ ภายนอกแล้ว มีรู้อยู่แต่กับทวารใจ อยู่กับภพของใจเท่านั้น
                ซึ่งได้แก่ ผู้ที่ปฏิบัติเอาแต่หลับตา นั่งทำสมาธิ หรือ ทำฌานแบบอยู่ในภวังค์ คือ ภวภพ นั่นแหละ เป็นหลักปฏิบัติ ที่มั่นใจว่าเป็น ทางเอก เพราะไม่เชื่อว่า สัมมาสมาธิ ของพระพุทธเจ้านั้น เกิดจากการปฏิบัติลืมตาด้วย มรรค ๗ องค์ เป็นทางเอก ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๕๒-๒๘๑ มหาจัตตารีสกสูตร  
                ผู้ที่ปฏิบัติเอาแต่หลับตานั่งทำสมาธิ หรือ ทำฌานแบบอยู่ในภวังค์ จึงปฏิบัติ ไม่ใช่ทำสัมมาสมาธิ ในขณะมีชีวิต ลืมตาสามัญ คนมีการกระทำ มีงานการ มีอาชีพปกติ
                คือ ไม่ได้ปฏิบัติสมาธิ ในขณะที่มี ความนึกคิดอยู่ก็มีสติ และพยายามให้เป็น สัมมาสังกัปปะ ในขณะที่มี การพูดอยู่ก็มีสติ และพยายามให้เป็น สัมมาวาจา ในขณะที่มี การทำงาน ทำการทุกอย่างอยู่ ก็มีสติ และพยายามให้เป็น สัมมากัมมันตะ ในขณะที่มี การทำอาชีพเลี้ยงตนอยู่ ก็มีสติ และพยายามให้เป็นสัมมาอาชีวะ
                ตาม สัมมาทิฏฐิที่ตนมี เป็นประธานของ มรรค ๘ นั่นเอง และวิธีปฏิบัติ (เหตุ) ก็คือ ปฏิบัติมรรค ๗ องค์ พระพุทธองค์ตรัสไว้ชัดๆ ไม่ใช่ เพ่งกสิณใดๆเลย
                ผลธรรม จึงจะเกิด สัมมาสมาธิที่เป็น อาริยะ (อริโย สัมมาสมาธิ)
                ดังนั้น ถ้าผู้ใดปฏิบัติด้วย วิธีนั่งเพ่งกสิณ แม้แต่เพ่ง ลมหายใจเข้าออก ก็ตาม ที่เรียกกันว่า เป็นการปฏิบัติ อานาปานสติ นั้นแหละ ก็เป็นการเพ่ง กสิณลมหายใจอยู่ดี เพราะ เหตุที่ปฏิบัติ ก็คือ เพ่งกสิณนี้เอง แล้วก็เข้าใจว่า ปฏิบัติแบบนี้แหละ จะทำให้เกิด สมาธิ เป็น ผลชำระจิตสันดาน ให้หมดจด
                ขอยืนยันว่า การปฏิบัติด้วยวิธี เพ่งกสิณนี้ ไม่สำเร็จเสร็จสัมบูรณ์แน่ เพราะไม่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง กายนอกกาย อันมีความจริง มากมายหลากหลาย ที่คนเกี่ยวข้อง และยึดติดอยู่จริง ซึ่งเป็น ขั้นต้นอีกด้วย อีกทั้งเป็นของหยาบ ที่จะรู้ง่ายก่อนขั้น รูปภพ-อรูปภพ อันเป็น ขั้นกลาง-ขั้นปลาย
                จึงเป็นผู้ไม่รู้จักรู้แจ้งรู้จริงความจริง ที่คนอยู่ ใน กามาวจรจริง เมื่อไม่ได้เรียนรู้ กามาวจรเลย แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า จิตสันดานทั้งหลายของตน ได้ชำระให้หมดจด สัมบูรณ์ในขั้นต้น ก็ขนาด จิตสันดาน หรือ อนุสัยขั้นหยาบขั้น กายนอกกายแท้ๆ อันได้แก่ "กามราคานุสัย" คุณก็ยังไม่ได้ฝึกฝน คุณยังไม่สามารถ ชำระอนุสัย ขั้นกามราคะนี้ได้
                นั่นคือ ยังทำ "ปุญญาภิสังขาร" ขั้น "กามาวจร" ยังไม่ได้
                ต้อง "ปุญญาภิสังขาร" กิเลสใน "กามาวจร" ได้แล้ว จึงจะ "ชำระจิตสันดาน" ขั้น "รูปาวจร" ต่อไป ให้หมดจดอีกที ซึ่งก็เป็น "อภิสังขาร" ขั้น "ปุญญาภิสังขาร" นี่เอง
                ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า กุศล เจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา นี้เรียกว่า "ปุญญาภิสังขาร"
                และขั้นต่อไป "อปุญญาภิสังขาร" จึงจะตรงตามที่พุทธวจนะที่ว่า อกุศล เจตนา เป็นกามาวจร นี้เรียกว่า "อปุญญาภิสังขาร"  
                แล้วขั้นปลาย "อาเนญชาภิสังขาร" จึงจะตรงตามที่พุทธวจนะที่ว่า กุศล เจตนา เป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า "อาเนญชาภิสังขาร"  
                เพราะ อรูปนั้นมัน ขั้นปลาย และอยู่ในจิตใจของตนเท่านั้น จึงมุ่งหมาย (เจตนา) ให้มีแต่ กุศลถ่ายเดียว เป็น ความไม่หวั่นไหว (อาเนญชา) ของจิตใจตนเท่านั้น ที่ยิ่ง "อภิสังขาร" ก็ยิ่งสั่งสมแข็งแรง มั่นคงยิ่งขึ้นๆ
                ซึ่งตั้งแต่ขั้นต้น-ขั้นกลาง ก็ต้องชำระกิเลสขั้นนั้นๆ มาตามลำดับ นั่นคือ "ปุญญาภิสังขาร" เป็น การชำระกิเลส จากจิตสันดาน มาตามลำดับ ที่ถูกต้อง ตามพระวัจนะ
                เมื่อสามารถ ชำระจิตสันดาน คือ ทำปุญญขั้นต้น-ขั้นกลาง มาได้แล้ว ก็ ไม่ต้องชำระ ขั้นต้น-ขั้นกลาง ภาษาบาลีก็คือ "อปุญญ" ที่แปลว่า ไม่ต้องชำระจิตสันดานอีกแล้ว เพราะ ชำระได้แล้วจริง อย่างรู้จักรู้แจ้งรู้จริง เป็นวิทยาศาสตร์
                และที่ชัดเจนยิ่งก็คือ ที่พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า ผู้ปฏิบัตินั้น ก็ยังมีชีวิตปกติ ท่องเที่ยวอยู่ใน กามภพ นั้นแหละ อยู่ตามเดิมนั่นแล จึงเรียกว่า กามาวจร ที่สำคัญ ยืนยันชัดก็คือ เมื่อมีการท่องเที่ยว (อวจร)หรือมีการ อาศัยอยู่ (อวจร)
                ใน" กามภพ" ก็ต้องได้ สัมผัสทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ครบถ้วน กายนอกกาย ทั้งหมด แล้วรู้แจ้งด้วย วิญญาณ ร่วมรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะมี สัมผัสด้วยปัจจัย ก็ย่อมมี วิญญาณ ๖ เกิดรู้เกิดเห็น ยืนยันของจริงแท้
                แต่ถ้าปฏิบัติไม่มี สัมผัสภายนอก วิญญาณ ๖ ก็ย่อม ไม่มีแน่นอน
                เมื่อไม่มี สัมผัสจริง วิญญาณ ๖ อันเกิดจาก เหตุปัจจัยนั้นๆจริงๆ ผู้ปฏิบัติ ก็ไม่รู้จริง แล้วผู้ปฏิบัติ จะรู้ได้อย่างไร ว่า จิตสันดาน หรือ กามจิต - รูปจิต - อรูปจิต ที่มันฝังอยู่ในขั้นไหน ของสันดาน ว่า มีหรือไม่มี
                ดังนั้น พระพุทธเจ้า จึงต้องให้ปฏิบัติตามลำดับ ขั้นต้น – ขั้นกลาง - ขั้นปลายครบ กามาวจร - รูปาวจร - อรูปาวจร ตามลำดับ ด้วยประการฉะนี้
                นี่คือ ลำดับขั้นต้น-ขั้นกลาง ในการชำระกิเลสของ อภิสังขาร ๓  
                ซึ่งการปฏิบัติที่ว่านี้ เป็นการปฏิบัติในชีวิตปกติ ขณะที่มี สติสัมปชัญญะ - สำรวมอินทรีย์ ๖ แล้ว พยายามจัดแจง หรือ ปรุงแต่ง (อภิสังขาร) ..อาชีวะ - กัมมันตะ - วาจา โดยเฉพาะสังกัปปะ ให้เกิดผลเป็น สัมมา คือ ให้พ้นมิจฉาอาชีวะ ๕ - พ้นมิจฉากัมมันตะ ๓ - พ้นมิจฉาวาจา ๔ - พ้นมิจฉาสังกัปปะ ๓ ให้ได้ทุกกรรมกิริยา ชนิดที่ สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ (อัฏฐ วิโมกเข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ) ตามที่พระพุทธเจ้า ตรัสยืนยันทีเดียว
                เฉพาะอย่างยิ่ง สังกัปปะ ๓ เพราะเป็น มโนปุพพังคมา ธัมมา หมายความว่า ต้องทำที่ จิตใจนี่แหละ ให้สำเร็จก่อนธรรมอื่น (มโนปุพพังคมา ธัมมา) และเป็น การทำใจในใจ (มนสิการ) ซึ่งก็คือ การจัดแจง - การปรุงแต่ง (อภิสังขาร) นั้นแหละ ให้ถ่องแท้ – ให้แยบคาย – ให้ลงไปถึงที่เกิด (โยนิโส) ในขณะที่ลืมตา มี กรรม - กิริยา สัมผัสสัมพันธ์ กับความเกี่ยวข้องทุกอย่าง ตามปกติสามัญ ชีวิตประจำวันนั้น ด้วยนะ
                เพราะ จิตใจเป็นประธานของ กรรมทุกอย่าง ไม่ว่า การพูดจา (วาจา) – การกระทำทุกอย่าง (กัมมันตะ) – การทำงานเลี้ยงชีพ (อาชีวะ) จะเจริญขึ้น ประเสริฐขึ้น ได้ด้วย จิตใจ (มโนเสฏฐา) จะสำเร็จได้ก็จาก จิตใจ (มโนมยา) นี่แหละ เป็นหัวใจสำคัญ เพียงแต่ว่า วิธีปฏิบัติของพระพุทธเจ้านี้ มันเป็น วิธีเฉพาะที่ พระองค์ตรัสรู้ หรือทรงค้นพบ ของพระองค์เอง (สัมมาสัมพุทโธ, สยัมภู) ที่ต่างจาก วิธีปฏิบัติ เพื่อให้เกิดสมาธิ ของแบบอื่น ของลัทธิอื่นทั้งหลาย แม้ วิธีปฏิบัติที่ผิดของพุทธ
                ต้องปฏิบัติอย่างที่ยืนยันนี้ คือ การทำ สมาธิตามแบบของ พระพุทธเจ้าให้ สัมมาทิฏฐิ จึงจะเกิด สัมมาสมาธิ ที่เป็นอาริยะ เป็นโลกุตระ
                เมื่อปฏิบัติตาม สัมมาทิฏฐิ ได้ไปตามลำดับ เป็นธรรมสมควรแก่ธรรม ก็ได้บุญ (ได้ชำระกิเลสในจิต) เป็น ส่วนแห่งบุญ (ปุญญภาคิยา) ให้ผลแก่ขันธ์ (อุปธิเวปักกา) ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน หาจัตตารีสกสูตร ชัดๆ จิตก็เกิดฌาน คือ ได้เผากิเลส (ฌาเปติ, ฌาม) ไปตามลำดับ จิตก็สะอาดขึ้นๆๆ ได้สั่งสมลงเป็น สัมมาสมาธิ
                นี่คือ จิตที่เป็นสมาธิ เพราะจิตที่เกิด สัมมาญาณ กับ สัมมาวิมุติ สั่งสมลงไป
                ส่วนผู้ปฏิบัติ สมาธิ แบบไม่ใช่สามัญของคนตื่นๆ ที่เอาแต่ ทวารใจเท่านั้น ส่วนทวาร ๕ ภายนอก ไม่รู้อะไรจาก สัมผัสทวารภายนอก สนิทแล้ว อยู่กับ ทวารภายนอก ก็จะสามารถรู้ได้ว่า ขณะที่เราอยู่กับภพ ภายนอกนั้น เรามี กายสังขาร – วจีสังขาร – จิตสังขาร อย่างไรบ้าง อย่างครบถ้วน ไม่ขาดไม่ตก
                ซึ่งผู้ได้เรียนรู้ฝึกฝน ก็จะได้ พ้นอวิชชา เพราะรู้จักรู้แจ้งรู้จริง สังขาร ๓ นี้
                คนที่ยังอวิชชา ย่อมไม่รู้ แน่นอน ว่า ชีวิตที่ อยู่กับภพ คือ ภาวะอย่างไร
                แม้แต่ ภพภายนอก ที่หยาบๆ และตื้นๆ มีสติได้เต็มๆ ผู้อวิชชา ก็ไม่รู้หรอก ว่า ภพคือภาวะอย่างไร ปรุงแต่ง (สังขาร) กันอยู่อย่างไร อาศัยอยู่นั้น..ไฉน
                ผู้ปฏิบัติ ผิดจากสัมมาทิฏฐิของพุทธ ภพภายนอกนั้น ไม่รู้แน่ๆอยู่แล้ว เพราะปิดทวาร ๕ ไปหมดแล้ว
                จึงไม่รู้ว่า สิ่งที่ปรากฏอยู่ (ภาวะ) เป็นอย่างไร อาศัยอยู่ ดำเนินไปอยู่ ท่องเที่ยวอยู่ (อวจร) ปรุงแต่งกัน (สังขาร) อยู่อย่างไรนั้น เป็นไฉน
                ซึ่งที่จริง ต้องเกี่ยวกับ วิญญาณ(ธาตุรู้)เสมอ จึงจะ รู้อะไรต่ออะไรได้
                ถ้าขาด วิญญาณร่วมรู้อยู่ด้วย ก็เป็นอันว่า ผู้นั้น ไม่รู้อะไรเลย ใช่ไหม?

               เช่น วิญญาณฐีติ ๗ (มีวิญญาณดำรงอยู่) ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ จึงจะสามารถมี การกำหนดรู้ (สัญญา) ต่างๆ ครบ กายทั้งหลายต่างๆ ได้สัมบูรณ์
๑.สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า
๒.สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน  เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิ ปฐมฌาน เป็นต้น .
๓. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพสว่าง อาภัสราพรหม (ว่าง ใส สว่าง แผ่กว้าง) . ขนาดในพวกนั่งหลับตา ทำสมาธิ ยังสัญญาต่างกัน เช่นธรรมกาย คนหนึ่งเห็น พระพุทธเจ้าหัวปุ้ม อีกคนหนึ่ง ได้หัวแหลม ทะเลาะกัน ก็แยกวัดกัน แต่เขาได้กายเหมือนกัน คือในเหมือนกัน แต่จะต่างกัน ตรงมุมเหลี่ยม
๔. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพมืด สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืดเป็นโชค) ฌานฤาษีกับพุทธ ก็ได้ความดับ ความไม่มีตัวตน เหมือนกัน แต่ของฤาษี ได้ความมืดเป็น กิณหพรหม เป็นความมืด แต่ของพุทธนั้น หายไปเลย ดับไปเลย ไม่มีตัวตนรูปร่าง มีกายอย่างเดียวกัน คือไม่มีเหมือนกัน วิญญาณผี หายไปเหมือนกัน ของพุทธเราลืมตา ก็ดับวิญญาณผีขาดเลย แต่ของฤาษีนั้น ได้เฉพาะ ตอนลืมตา และที่ดับคือ เป็นนิมิต ที่ปั้นเองทั้งนั้น เป็นโชคหรือสุภกิณหา เหมือนกัน
๕. สัตว์บางพวก ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ เช่น เทพจำพวก “อสัญญีสัตว์” (อุทกดาบส ทำนิโรธสมาบัติ ดับจนไม่รับรู้อะไร)
๖. สัตว์บางพวก เข้าถึง.. อากาสานัญจายตนะ (พ้นรูปสัญญา)
๗. สัตว์บางพวก เข้าถึงชั้น.. วิญญาณัญจายตนะ (พ้นเสพความว่าง)

                เพราะ วิญญาณคือ ธาตุรู้ ของความเป็นคน หรือของสัตว์โลก
                เมื่อ วิญญาณไม่ทำงาน หรือ วิญญาณไม่มี ย่อม ไม่มีภาวะการรู้ใดๆ
                จึง ไม่รู้สภาวธรรม ของอะไรต่ออะไรได้ แม้แต่ความเป็น กาย ซึ่งเป็นธรรม ขั้นหยาบแท้ๆ ก็ไม่ได้เริ่มต้นเรียนรู้ จึงไม่ต้องพูดไปถึง ความเป็น ใจ  ที่เป็นภาวะ นามธรรม ล้วนๆ ที่ไม่เกี่ยวกับ มหาภูตรูปเลย ซึ่งละเอียดยิ่งกว่า จึงรู้ยากเห็นยากกว่า กายที่เป็นองค์ประชุมรวมกันทั้ง ภายนอก และ ภายใน เป็นไหนๆ พยายามตั้งใจ ทำความเข้าใจ กับคำว่า กายให้ชัดๆ ดีๆ
                คำว่า กายนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดว่า กายนอกกายนั้น แน่นอนว่า คือ กาย แม้แต่ กายในกาย ก็ยังคือ กาย และถึงขั้น เวทนาในเวทนา หรือ จิตในจิต ก็เป็นภาวะ ที่เรียกว่า กาย คือ นามกาย นั่นเอง
                ที่สุดขั้น ธรรมในธรรม นั้นเป็นภาวะทั้ง รูปกาย และ นามกาย
                และตอนนี้เรากำลังพูดแค่ ภาวะภายนอก ซึ่งต้องเกี่ยวกับ วิญญาณอยู่ดี จึงจะรู้สิ่งที่ปรากฏ ถ้าปราศจากวิญญาณ ทำงานรับรู้ร่วมอยู่ ก็ไม่มีอะไร ทำหน้าที่ รู้
                คนผู้ยังมี อวิชชา คือ ไม่มีปัญญารู้ธรรมของพุทธ อย่างสัมมาทิฏฐิ คือ ไม่ได้เข้าใจว่า เราจะต้องตั้งใจเรียนรู้ ความเป็น-ความมี (ภาวะ) ต่างๆที่ปรากฏอยู่เสมอ ที่เกิดขึ้น – ตั้งอยู่ - ดับไปนั้น ว่า อะไรเป็นอะไร อย่างไร มันมีอะไร ปรุงแต่งกันอยู่ ตัวไหนพาให้ ทุกข์ ตัวไหนพาให้ สุขกันแท้ ควรดับตัวไหน ควรอาศัยตัวไหน
                เพราะ อวิชชานี้แหละ จึงเกิด สังขารที่เป็น ทุกข์ อันไม่รู้จักจบสิ้นไปได้
                ผู้จะรู้จักรู้แจ้งรู้จริง ทุกขสัจจะ ซึ่งหมายความว่า วามจริงคือทุกข์, ภาวะที่เป็นทุกข์จริง, ความจริงแห่งทุกข์ หรือ ภาวะที่มีลักษณะ ทุกข์ที่แท้จริง หรือท่านเรียกกัน ยิ่งกว่านี้ว่า ทุกขอริยสัจ อันหมายความว่า ผู้เป็นอริยบุคคลเท่านั้น จึงจะรู้จักทุกข์ที่ว่านี้ ได้จริง
                ดังนั้น ถ้าผู้ใดไม่มี ทุกขสัญญา คือไม่มี ความกำหนดหมายรู้ ว่าเป็นทุกข์ หรือไม่มี การกำหนดหมาย ให้มองเห็นสังขาร ที่เป็นทุกข์ได้จริง ผู้นั้นก็ ไม่สามารถ รู้จักรู้แจ้งรู้จริง ทุกขลักษณะ (เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดง ให้เห็นว่าเป็นทุกข์) ได้แก่
๑. ถูก การเกิดขึ้นและ การดับสลาย บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา [ผู้อวิชชาไม่รู้สึกหรอก ว่าภาวะเหล่านั้น บีบคั้นตน ยอมเป็นทาสให้บีบคั้น ไม่สามารถเลิก ความบีบคั้นนั้นได้] 
๒. ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ [ซึ่งหมายถึง อนิจจัง ผู้อวิชชาไม่รู้จักหรอก ว่า ภาวะเหล่านั้น มันเป็นดังที่ อาริยบุคคลรู้จัก ผู้รู้จักรู้แจ้งรู้จริง อนิจจังดังว่านี้ได้ ก็ต้องมีภูมิ อาริยบุคคล]
๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ [ผู้อวิชชานั้น รู้ไม่ได้หรอก ว่า ภาวะเหล่านั้น เป็นที่ตั้ง แห่งความทุกข์อย่างไร อยู่ที่ไหน และไม่คิดจะหาทาง ขจัดภาวะนี้ออกไป จากจิตให้หมดสิ้น]
๔. แย้งต่อสุข หรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข
                สภาวะที่ สุขปฏิเสธ ก็คือ ทุกข์นั่นเอง
                ทุกข์จึงตรงกันข้ามกับ สุขตลอดกาลนาน
                คนที่หลงติดสุข ว่าเป็นภาวะที่น่าได้ น่ามีน่าเป็น จึงดิ้นรนแสวงหา สุขอยู่ตลอดเวลา ไม่หยุดหย่อน แต่กระนั้นโดยธรรมชาติ มันก็ยังมีโอกาสที่ ไม่ทุกข์ ไม่สุข เป็นครั้งคราว
                ทว่าผู้หลงมัวเมาติด สุขก็ยังไม่เข้าใจ ความไม่ทุกข์ไม่สุข หรือ อุเบกขานี้ ว่าเป็น ความสงบจากทุกข์จากสุข (วูปสมสุข = อทุกขมสุข, อุเบกขา) แม้จะเป็น อารมณ์ที่เกิดโดยธรรมชาติก็ตาม
                ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ดีวิเศษกว่า อารมณ์สุข เพราะ อารมณ์สุข (สุขเวทนา) นั้นเกิดขึ้นเฉพาะ ขณะที่บำเรอ ตัณหา-อุปาทาน อยู่เท่านั้น แล้วมันก็หายไป เมื่อหมดสิ้น สัมผัส (ผัสสะ) ลงคราใด
                ซึ่งปราชญ์และศาสดาทั้งหลาย ต่างยืนยันตรงกันว่า ยิ่งกว่าสุข (ปรมัง สุขัง) หรือ สุขวิเศษกว่าสุขที่ไม่สงบ (วูปสมสุข) ผู้อวิชชา หรือ หลงติดสุขอยู่ นึกไม่ออกแน่
                เดาลักษณะ จิตใจของผู้เห็นจริงเป็นจริงแล้วว่า สุขสงบนี้แหละ วิเศษกว่า สุขแบบโลกีย์ หรือสุขที่ต้องบำเรออารมณ์ (โลกียสุข)นี้ ไม่ได้จริงๆ [อตักกาวจร]
                เพราะผู้ อวิชชา ไม่รู้หรอกว่า สุขนี้แหละตัวหลอก เป็นเท็จ (สุขัลลิกะ)
                ทุกข์ต่างหากที่มันเป็น สัจจะยิ่งกว่า พระบรมศาสดา จึงตรัสเรียก ทุกข์ ว่า ทุกขสัจจ์ มีคำว่า สัจจะ แต่ตรัสเรียก สุขว่า สุขัลลิกะ มีคำว่า อลิกะ
                เพราะ ทุกข์ที่มีเหตุแห่งทุกข์ ของผู้อวิชชา นี้ มันฝังอยู่ในใจคนผู้อวิชชา เรียกด้วยภาษาว่า อุปาทาน มันเป็น อนุสัย เชียวนะ
                อนุสัยนี้คือ กิเลสที่ฝังลึกอยู่ในก้นบึ้งของจิตใจ, กิเลสอย่างละเอียด ที่นอนเนื่อง อยู่ในสันดาน นี่แหละคือ จิตสันดาน ที่ต้องชำระให้หมด สิ้นเกลี้ยงให้ได้
                อนุสัยหรือกิเลสตัวอื่นๆ ก็ล้วนเป็น ตัวตนที่หยาบกว่า ตัวตน ที่เรียกด้วยคำว่า อนุสัย ทั้งนั้น
                จริงๆนั้น อนุสัย หรือกิเลสทั้งหลาย มัน ไม่ใช่ตัวตน ที่แท้จริงอะไรเลย มันแค่เป็น อาคันตุกะ แค่ตัวอื่น ไม่ใช่ตัวเรา แต่มันเข้ามาเยือนจิตใจเรา แล้วเราก็โง่ (อวิชชา)ไปหลงยึดว่า มันเป็น ตัวเรา มันจึง มีตัวตน (อัตตา) ฝังลึกอยู่ใน ตัวเรา ด้วยความโง่คือ อวิชชาแท้ๆ ที่เรียกว่า อนุสัยนี่ไง!
                คนที่ หมดสิ้นอวิชชาสวะ หรือ อวิชชานุสัย จึงจะ หมดสิ้นตัวตนเกลี้ยง
                ถ้าใครมัวไปหลงอยู่แต่ว่า กิเลสที่เราจะต้องเรียนรู้ ตัวตน (อัตตา) ของมัน ที่มันฝังตัวอยู่ในจิตใจเรา แม้เราจะเข้าใจ ในความหมายแล้วล่ะว่า มันไม่ใช่ตัวตน, มันไม่ใช่ตัวเรา อะไรนั่นหรอก แต่ มันมีตัวตน ในตัวเราไหมล่ะ?
                เราหมดสิ้นอวิชชาสวะ หรือ อวิชชานุสัยแล้วหรือ? กำจัดละล้าง ตัวตนขั้น อนุสัยสุดท้าย ออกไปไม่ได้หมดสิ้นเกลี้ยง จนเด็ดขาด กระทั่ง ไม่มีการวนกลับ มาเกิดอีก (อสังกุปปัง) ได้จริงแท้หรือยัง?  
                ถ้าผู้รู้จักรู้แจ้งรู้จริงว่า ในจิตใจเรานั้น หมดสิ้น อวิชชานุสัย แล้วจริง เราก็ ไม่มีตัวตนใดๆอีกแล้ว แต่ถ้าใครตรวจจิตใจ ตนเองได้ว่า ยังมี อนุสัย 
                ตราบใดที่ยังกำจัดชำระล้าง อนุสัยออกจากจิตใจไม่หมด ก็ยังไม่หมดตัวตน ยังไม่หมดสิ้น ทุกขอริยสัจ ยังไม่ชื่อว่า อรหันต์
                จึงยังเป็นผู้หลงใหล สุขโลกีย์นี้อยู่ ว่า สุขนี้แหละ ต้องได้ต้องมี ต้องเป็น เพราะไม่เห็นว่า สุขนี้เป็นเท็จ (อลิกะ) สุขนี้มันไม่ใช่ของจริง (อลิกะ) สุขนี้มันผ่านมา หลอกคน แล้วก็ผ่านไป ไม่มีอะไรเหลือ, ว่างเปล่า, ไร้ประโยชน์ (ตุจฉ)
                ทุกข์ต่างหากที่จริงกว่า บีบคั้นเราอยู่ประจำชีวิตของผู้ อวิชชา ตลอดที่มัน ยังไม่หมด ตัวตนสิ้นเกลี้ยง ไปจากจิตใจเรา แล้วมันก็บังคับ ให้ผู้อวิชชานั้น หลงเป็นทาส หาทางบำบัด ทุกข์ อยู่ทุกลมหายใจ ที่ยังมีตัวตน

 

                ส.ฟ้าไทสรุป.... ถ้าเราไม่มีผัสสะในกามาวจร ก็ย่อมไม่สามารถ เห็นกิเลสได้ ถ้าไม่ตั้งใจตั้งศีล ตามจรณะ ๑๕ ก็ไม่สามารถเรียนรู้ ปุญญาภิสังขาร ที่จะลดล้างกิเลส ได้แน่นอน ที่พ่อครูอธิบาย แต่ละเรื่อง เราก็ต้องไปตรวจสอบ ว่าสภาวจิตเรา เป็นอย่างไร อย่างสภาวะฤาษี เราก็ไม่เคยปฏิบัติ แต่ก็เทียบเคียบว่า การที่เราอยากเสพสบาย อยากอยู่คนเดียว นั่งสมาธิ มันจะสงบต่างจาก สภาวะแบบพุทธ แบบนั้น มันจะเห็นแก่ตัว ไม่อยากเอาภาระ ช่วยคนอื่น แต่ว่าแบบพุทธนั้นยาก แต่ว่ามีประโยชน์ ต่อสังคม แล้วเป็นได้จริง ไม่กลับกำเริบ

...จบ