ทำวัตรเช้า งานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ ๓๗ โดยพ่อครู
560411_
เรื่อง ตอบกันด้วยวิญญาณพุทธ ตอน ๕

สิ่งที่ผ่านไปก็ผ่านไป สิ่งที่ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ องค์ประกอบที่เราทำ มันก็มีสิ่งที่ตั้งอยู่ และดับไป อย่างอายตนะ มันไม่ตั้งอยู่ อายตนะเกิด เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย และก็มี นามรูปเกิด ถ้าเราสามารถรู้ได้เร็ว ก็จะรู้ว่า อายตนะเกิดขึ้น ในปัจจุบันขณะเท่านั้น พอหมดปัจจุบัน อายตนะก็หายไป

ทุกอย่างมีเหตุปัจจัย ดับเหตุปัจจัยแล้ว อะไรๆก็ไม่มี เป็นความลึกซึ้ง ที่พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ว่า จิตวิญญาณเป็นตัวรับรู้ และอายตนะเป็นเครื่องต่อ เมื่อเวลา มันหมด เหตุปัจจัยแล้ว มันก็ไม่มี ถ้าเราไปสำคัญมั่นหมาย ว่าเป็นเรา เป็นของเรา แต่ก็ไม่มีปัญหาว่า ถ้าเรารู้ว่า สิ่งไหนไม่ควรให้มี เราต้องเรียนรู้ว่า อาการราคะ-โทสะ-โมหะ เป็นอย่างไร เราต้องทำออก จนมันไม่เกิดอีก ทำให้มันไม่เกิด จนหมดชาติ อย่างแท้จริง อย่างนิจจัง ธุวัง สัสสตัง อวิปริณามธัมมัง นั่นคือผู้ที่ได้รับสัจธรรม ได้รับพุทธธรรม

พ่อครูเกิดมาในชาตินี้ปางนี้ พ่อครูมากับตัวเอง นอกนั้นก็อาศัยคนอื่น ที่เป็นมิตรดี สหายดี แล้วพ่อครูก็มาสัมผัสรู้ว่า คนนี้เขาเป็นเช่นนี้ได้ เช่นเห็นไอสไตน์ เห็นคานธี เห็นในหลวง ที่ท่านมีพฤติภาพ กับสังคมมนุษย์ ทั้งความคิดและพฤติกรรม ที่มีผลงาน กับมนุษยชาติ ก็ทำให้พ่อครู รู้ลึกซึ้งถึงธรรมะ และมีคนชาวพุทธที่บอกว่า ตนเป็นอรหันต์ หรือมีความรู้ความชำนาญ อย่างนั้นอย่างนี้ ก็เป็นเหตุปัจจัย ให้พ่อครู มาคำณวน รู้ความเป็นไป โดยเฉพาะพระไตรปิฏก ที่มีทั้งหลักฐานความจริง และสิ่งขาดเกิน อยู่ในนั้น มีข้อบกพร่องอย่างไร ก็นำมาเล่าสู่ฟัง ก็เล่าเท่าที่มีภูมิ

สิ่งที่เกิดจริง คือพวกเราได้ปฏิบัติตามที่พ่อครูได้อธิบาย ใครฟังดีฟังได้ เข้าใจ ก็ทำมา จนได้ผล ใจมันประทับใจ ซาบซึ้ง มีพลังพิเศษของพลังปัญญา ที่เข้าใจแล้ว จะมีพากเพียร ต่ออย่างไร คนนั้นก็จะรู้ว่า จะทำอย่างไร เป็นผลต่อกันไป เช่น เมื่อพลังปัญญาสมบูรณ์ พลังวิริยะ จะเป็นไปเลย จะไม่ขี้เกียจ รู้พักรู้เพียร จะจริงที่สุดเลย เรื่องอะไร เราจะไปขี้เกียจ ส่วนอนวัชชะ แปลว่าไม่มีการติเตียน ปราชญ์หรือผู้รู้ จะไม่ติเตียนการกระทำหรือพฤติ หรือจรณะ ทั้งกาย วาจา ใจ ปราชญ์จะเห็นดีเห็นงาม กรรมนั้นเป็นกรรมดีแน่นอน ไม่มีโทษภัยแน่นอน จะมีตัวเลือกเฟ้นตัดสิน ทำการงาน อันไม่มีโทษ ทำไปทำไม จะมีพลังสังคหะ คือทำมาใช้สอยอาศัย เราได้อาศัย สิ่งที่เราทำ แต่เราอาศัยแต่น้อย นอกนั้น ก็แจกจ่าย เกื้อกูลกันไป

ใครมองเห็นว่า องค์รวมอโศกเรา มีลักษณะที่มีพลัง ๔ ซึ่งท่านบอกว่า มีพลัง ๔ จะพ้นภัย ๕ จะไม่กลัว ว่าชีวิตจะเกิดจะตาย ชีวิตจะอยู่อย่างไร จะมีกินหรือไม่ จะมีเงินหรือไม่ จะมีบ้านหรือไม่ ก็หมดกังวล เหตุปัจจัยมันครบ มีแผ่นดินพุทธ มีสัปปายะ ๔ (เสนาสนะ -อาหาร -บุคคล -ธรรมะ) ใครอยากไปอยู่ ที่ไหนๆ ของอโศกก็ไป ไม่ว่าจะเป็น ฮอมบุญ ทะเลธรรม ชเลขวัญ จะลงใต้ขึ้นเหนือ ไปอีสาน ก็มีเยอะ มีบางแห่ง พ่อครูยังจำชื่อไม่ได้เลย

แต่ละชุมชนอโศก ใครจะไปอยู่ ก็ต้องมีพื้นฐาน ถือศีล ๕ ละอบายมุข กินมังฯ เราควร อยู่ตรงไหน ก็อยู่ที่ปัญญา เราสบายได้แล้ว รู้ว่าที่ไหนขาดแคลน เราควรไปช่วยเหลือ จะรู้ด้วยปัญญา ไม่ได้เอาอัตตาเป็นตัวตั้ง เอาประโยชน์คุณค่า เป็นตัวตั้ง มีมิตรดีสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี มีอาหารสัปปายะ ที่ทั้งอุปโภค บริโภค ที่ให้ชีวิตอยู่รอด และทำการงาน ซึ่งสัตว์เดรัจฉาน ไม่รู้จักทำงาน สัตว์กินเสร็จแล้ว ก็หมดกิจ แต่คนเรา มีคุณค่ามากกว่า ที่การทำงาน เรากินเหมือนเติมน้ำมันรถ แล้วก็ทำงาน และที่สำคัญคือ มีธรรมะสัปปายะ (ปายะหรืออายะ แปลว่าประโยชน์ )

เราพิสูจน์มาถึงทุกวันนี้ อโศกเรา ว่าตรงตามพระอนุสาสนีย์ไหม ใครพิสูจน์ได้ ก็ไม่กลัว ว่าชีวิต ไม่มีอะไรสะสม จะอยู่ได้ไหม ไปไหนก็มีสัปปายะ ๔ มันพ้น อาชีวิกภัย พ้นอาสิโลกภัย ที่คนไหน หรือใครจะติเตียนเรา ก็เข้าใจว่า อันไหน มันเกินไป เราก็ปรับปรุง สัตว์เดรัจฉานหรือคนไม่รู้เรื่อง ก็ไม่ติเตียน ซึ่งคนนี่ติเตียนได้ เราก็ไม่ทุกข์ กับคำติเตียน แต่ไม่หน้าด้านกับคำติเตียน เรารับคำติเตียนโดยไม่ทุกข์ และรับคำติเตียน มาเป็นประโยชน์ ใครติเตียนมา สาดเสียเทเสีย เราก็รู้ ใครติเตียน อย่างสร้างสรร เราก็รู้ อย่าง sms มานี่เราก็รู้เข้าใจ ว่าเขาเป็นอย่างไร เราไม่ตกใจ กับคำติเตียน เราใช้ประโยชน์ได้

แม้แต่ปาริสสารัชชภัย ก็เข้าใจ ซึ้งในเมืองนรก คือที่หาความปลอดภัยได้ยาก แต่เราก็มีการ ประมาณเลือกเฟ้น ในการไปช่วย อย่างมี มหาปเทส

ในมรณะภัย สำหรับผู้หมดภัย ในวัฏฏะสงสาร คุณจะเวียนเกิด-ตาย อีกเท่าไหร่ก็ได้ อรหันต์ เกิดแล้วตายได้นี่ เป็นความค้านแย้งกับเถรวาทเขา แต่พ่อครูเป็นโพธิสัตว์ ต้องมาอธิบาย สิ่งเหล่านี้ แต่จำเป็นต้องเปิดเผย ไม่อย่างนั้น ศาสนาไปไม่ได้ ทำงาน ถึงวันนี้ ได้ผู้คนมาเท่านี้ มีพฤติภาพเท่านี้ ก็ทำให้เชื่อมันว่า สัจธรรม เป็นไปได้ พอสมควร

แม้ทุคคติภัย คือความชั่วความไม่ดี เป็นไปต่อสิ่งที่ชั่ว เราก็มีปัญญารู้ ตัดสินว่า สิ่งนี้ ไม่ดีงาม สิ่งนี้ควรอนุโลมเพื่อเขา เราก็ลงไปลุยด้วยกับเขา เราก็เหมือนผู้ลดตัวลดตน ลดศักดิ์ศรี ลดฐานะไปช่วยเขา คนไม่รู้ ก็ว่าเราไปลดตัว อย่างนั้นได้อย่างไร สำหรับ ผู้ยึดถือ แต่คนเข้าใจ ก็จะรู้องค์ประกอบว่า เหมาะสม ยกตัวอย่าง พระสองรูป เจอผู้หญิงตกน้ำ พระรูปหนึ่ง ลงไปช่วยเลย อุ้มผู้หญิงขึ้นมาได้ ก็เสียวินัย แต่ก็อนุโลม เสร็จแล้วก็วาง จิตไม่ได้แปดเปื้อนไม่มีอยากอวดอ้าง หรือมีกิเลสอื่นใด แม้เราจะเสียฐานะ เสียศักดิ์ศรี ก็ต้องลดลงไปอนุโลม ให้สมสัดส่วน ใช้สัปปรุสธรรม ๗ กับมหาปเทส ๔ เราก็จะทำงานให้โลกได้อย่างประโยชน์สูง ประหยัดสุด

ต่อไปเป็นการตอบปัญหา(ละ)ดับชาติ กับตอบกันด้วยวิญญาณพุทธ รวมกันเลย

จากคนโง่ ....เมื่อก่อนมีใจเถียงพ่อท่านว่า ที่พ่อท่านสอนว่า ชายเป็นหนังควายหุ้มขี้ หญิงเป็นถุงขี้ผูกโบว์ ก็เห็นไม่ตรง กับพ่อท่าน และคิดว่า ชายก็มีคุณ หญิงก็มีคุณ จะทิ้งชายทิ้งหญิงไม่ได้ ทำงานร่วมกันได้ดีด้วย แต่ตอนนี้ ไม่เถียงแล้ว เพราะเข้าใจว่า ชายที่ต้องทิ้ง คือความมักมาก ในกามราคะ หญิงที่ต้องทิ้ง คือความผูกไว้ ความมีมายา เล่ห์เหลี่ยม ยินดีสมใจตน ที่ได้มาสมอยาก

ตอบ คุณไปเปลี่ยนชื่อเป็นคนฉลาดได้

ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ช่วยอธิบายด้วย

ตอบ ต้องตอบย่อๆหน่อย เพราะสองประโยคนี้ คือศาสนาทั้งหมด ซึ่งธรรมะ คือสิ่งที่ทรงไว้ คือสิ่งมีอยู่ ถ้าหมดธรรมะ ก็คือไม่มีอยู่ คำว่าสุญตธรรมนั้นเป็นภาษา แต่ที่จริง มันไม่มีอยู่ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต คือสิ่งที่มี เท่าที่เราจะรับรู้ได้ เราก็รู้ว่า มีอย่างอกุศล แล้วเราก็แก้กลับได้ ชัดเจนว่า ไม่ดีเอาออกหมด เหลือแต่ดี แม้เหลือดี ก็อย่ายึดว่าเป็นเรา เป็นของเรา อย่ายึดแม้ได้นิพพาน จะรู้เองว่าไม่ยึด แต่อาศัย แต่ที่เราพูดกันอยู่ คือเรายังไม่มีใคร ปรินิพพาน เราจึงพูดในภาวะที่ ต่างคนต่างมี แต่เราจะพูดถึง สิ่งที่ไม่ควรให้มี อย่างหยาบกลางละเอียด ไปแต่ละขั้นตอน อันไหน ที่ควรอนุโลม ช่วยเขาก็ทำ แต่เมื่อเราเป็น อรหันต์แล้ว เราก็ต้องร่วมอยู่กับ ผู้ไม่สะอาด นั้นแหละ นี่คือธรรมะของพระพุทธเจ้า ที่ย่นย่อลงมา ส่วนผู้บริสุทธิ์แล้ว เราจะไป ช่วยท่านได้อย่างไร ท่านมีหน้าที่ ช่วยคนต่อเท่านั้น คนที่พระพุทธเจ้าสร้าง นั้นท่านสร้างคน มาเป็นพระเจ้า ท่านสร้างคน มาช่วยคน ท่านมีชีวิต อย่างชีวิตนี้ เนื่องด้วยผู้อื่น เขาจะช่วยให้อยู่ ให้ทำงานไป แต่ละคน จะตรัสรู้นั้น ไม่เท่ากัน มีตั้งแต ่คนเล็กที่สุดไปถึงใหญ่ที่สุด ถ้าไม่ใช่คนก็เป็นสัตว์ ต้องเรียนรู้ ความเป็นสัตตาวาส ๙

สัตตาวาส ข้อ ๑ นั้นคือปุถุชน ไม่รู้หรอก มีกายต่างกัน สัญญาต่างกัน ถ้าสมบูรณ์ จะมีกายอย่างเดียวกัน สัญญาอย่างเดียวกัน คือเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระเจ้า อย่างอรหันต์ ท่านเรียกอนุพุทธ เป็นคนหนึ่งคน ที่ไม่ทำบาปทั้งปวง ทำแต่ดี มีจิตบริสุทธิ์ คนๆนี้ ไว้ใจได้ตลอด จะเป็นโพธิสัตว์ ไปอีกเท่าไหร จะไม่เปลี่ยนแปลง อนุพุทธ ที่บริสุทธิ์ที่สุด คืออรหันต์ ถ้าเริ่มเป็นอนุพุทธ คือโสดาบันเป็นต้นไป

ปฏิจจสมุปบาท อยู่ในอวิชชา ข้อที่ ๘ ก็ทุกอย่างเป็น Relative เป็นความสัมพัทธ มีสิ่งเชื่อมต่อ โยงใยกัน มีสิ่งนั้นจึงมีสิ่งนี้ ตลอดสายไป ตั้งแต่นอกไปถึงในจิตสูงสุด เริ่มต้น จะเข้าใจ ปฏิจจสมุปบาท ต้องเข้าใจสังขาร ที่ทุกอย่างในมหาจักรวาล คือการสังขาร ตั้งแต่เหตุปัจจัยภายนอก ยกตัวอย่าง มะระที่อยู่บนโต๊ะ ที่มีความสมบูรณ์ ถ้าเอาขึ้นห้าง จะลูกละ ๓๐-๔๐ บาท เห็นแล้วก็คิดว่าดีจัง แล้วคุณมีดูดดึงไหม คือเห็นว่าดี นี่คือสมมุติสัจจะ อุทานว่าดีจังเลย แต่ว่าเรามีอกุศล อยากได้มาเป็นเรา เป็นของเราไหม พ่อครูไม่ได้มีจิต อยากได้มาเป็นเรา ของเราเลย นี่คือปัจจุบันธรรม เราจะรู้ สังขารของเรา ว่ามีอะไรไปร่วมปรุง แต่อุทานไป คนจะคิดว่ามีกิเลส แต่ว่าอุทาน อย่างมีความนิยมชมชื่น ว่าเป็นวัตถุที่สร้างขึ้นมาดี แต่ไม่มีใจอยากได้ มาเป็นของเรา ไม่มี นี่คือจิตที่ปรุงอย่างสูง

คนอวิชชา ก็จะมีเราของเรา คือปรุงไปว่าอร่อย ปรุงเป็นรสเลย ถ้ามีเงิน ก็จะขอซื้อ ถ้าเขาว่า ๓๐ บาท เรามีเงิน สามพันล้าน ก็บอกว่า เอาไป ๕๐ บาทเลย

ในปฏิจจสมุปบาท เราเรียนรู้ชาติ ที่มีตรัสไว้ มี ชาติ สัญชาติ โอกกันติ นิพพัตติ อภินิพพัตติ อย่างอภินิพพัตติ คือการเกิดที่คุณเป็น อเสขบุคคล ส่วนโอกกันติ คือภาวะ ที่ปรุงแต่งกันไปเรื่อยๆ ก็เรียนรู้ให้เป็น นิพพัตติ ส่วนชาติ (เกิด) กับสัญชาติ (บังเกิด) คือการเกิดในโลก

ชาติ(ความเกิด) สัญชาติ(ความบังเกิด) ก็เป็นความเกิดทั่วๆไปในโลก ส่วนโอกกันติ คือการเกิด ที่ต่อเนื่อง คุณก็ต้องเรียนรู้ การตัดความเกิดที่นี่ จนทำได้ ก็มีนิพพัตติ จนหมด การเกิดได้เลย ก็มีอภินิพพัตติ ส่วนการชาติ สัญชาติ ก็เป็นการเกิดทั่วๆไป พระอรหันต์ ท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็ยังมีความกระวนกระวาย คือ ทรถ อย่างใน

จูฬสุญญตสูตร
[๓๔๑] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจ อากิญจัญญาตนสัญญา ไม่ใส่
ใจ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต จิตของเธอ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต เธอจึงรู้ชัด อย่างนี้ว่า เจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิตนี้แล ยังมีปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้ ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้นั้น ไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในญาณนี้ ไม่มีความกระวนกระวาย ชนิดที่อาศัยกามาสวะ ชนิดที่อาศัยภวาสวะ และชนิดที่อาศัย อวิชชาสวะ

มีอยู่ก็แต่เพียง ความกระวนกระวาย (ทรถ) (ท่านไม่ต้องทุกข์ในโลกีย์ แต่ท่านทุกข์ ในโลกุตระของท่าน) คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เอง เพราะชีวิตเป็นปัจจัย เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้ว่างจากภวาสวะ สัญญานี้ว่างจาก อวิชชาสวะ และรู้ชัดว่า มีไม่ว่างอยู่ก็คือ ความเกิด แห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เอง เพราะชีวิต เป็นปัจจัย ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณา เห็นความว่างนั้น ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ ในเจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัด สิ่งที่เหลืออยู่ ในเจโต สมาธินั้น อันยังมีอยู่ ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ เป็นการก้าวลงสู่ ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท คือรู้ความต่อเนื่อง และรู้สุญตธรรม ที่เป็นเอง ที่คุณสร้างเอง คุณสูญจากอบายมุข คุณจะสัมผัสอย่างไร จิตคุณก็สูญ ไม่หวั่นไหว หมด อโสก วิรชะ มีจิตเกษม (เขมัง) สิ่งนี้เป็นสุญตธรรม แต่คนที่ไม่รู้เหตุ ก็ปรุงแต่งไป หลงสุขทุกข์ หลงมีหลงได้ เป็นเราเป็นของเรา อยู่อย่างนั้น คุณรู้ปฎิจจสมุบาท ทำทั้งอนุโลมปฏิโลม คุณก็จบกิจ อุปทานก็เป็นสมาทาน ภพชาติก็เอาไว้อาศัย ไม่ชรา อย่างพ่อครูนั้นไม่ชรา แม้หมดลมหายใจวันนี้ พ่อครูก็ไม่ตาย แต่จะเจอกันอีกไหม วันว.เวลา น.ไหน

คนขี้ร้อน...พ่อครูเคยทราบเรื่องอันตรธาน ๕ มีอัตถาธิบายอย่างไร ทุกวันนี้ร้อนมาก ทำใจอย่างไร ทำไมคนชอบตัดต้นไม้

ตอบ คนเขาต้องการตัดก็อยู่ที่เขา ใครจะรักษาต้นไม้ไว้ก็ทำ คุณร้อน ก็อย่าทำใจร้อน ทำใจเย็น ฝึกหัดทนร้อนได้ อย่างนายตูน อยู่กลางแดดร้อน ไม่รู้จะร้อนอย่างไร ฝึกจน ถ้าไม่เจอแดดไม่เย็น ส่วนอันตรธาน ๕ ไม่รู้พยัญชนะใครเจอ ก็เอามาให้ดู

อันตรธาน ๕ มี
๑. อธิคมอันตรธาน คือการบรรลุธรรมไม่เหลือแล้ว ถึงยุคนี้มันเพี้ยนไปแล้ว
๒. ปฏิบัติอันตรธาน คือทุกวันนี้ มิจฉาทิฏฐิยังมีอยู่ ก็ปฏิบัติผิด แต่ก็ยังมีอยู่
๓. ปริยัติอันตรธาน คือคำสอนทุกวันนี้ มีพระไตรปิฏก หรือคำสอนอรรถกถาจารย์ ก็ยังเหลืออยู่
๔. ลิงคอันตรธาน คือมีกุศลกับอกุศล มีสิ่งจริงกับไม่จริง เป็นการเปรียบเทียบ ทุกวันนี้ มีแต่สิ่งผิด สิ่งชั่ว แต่ว่าใครผิดชั่ว มากน้อยกว่ากัน เท่านั้น แต่ดีไม่มีแล้ว หายไปแล้ว นี่คือกลียุค
๕. ธาตุอันตรธาน คือสุญญตา หมดจบทุกอย่าง ไม่มีเหลือเลย สุญตอันตรธาน

เรื่องน่าเศร้า หากดักดานอยู่กับที่

ตอบ พ่อครูทำงาน ตั้งแต่สร้างสันติอโศก พ่อครูให้เขียนไว้ บนคานว่า เราไม่หยุดอยู่ คือพระพุทธเจ้า ท่านไม่ส่งเสริม การหยุดอยู่ ท่านส่งเสริมการวุฒิ การเจริญ โน้มไปสู่นิพพาน ให้ได้เสมอๆ ถ้าเราเอง เราหยุดอยู่ โดยเฉพาะ เราอยู่กับหมู่ ถ้าหมู่เขาไป แล้วเราก็หยุดอยู่ ถ้าหมาไล่เนื้อมา มันคุณก็อยู่กับ หมู่หมาไล่เนื้อ ในมหาจักรวาล ไม่มีสิ่งใด ไม่เคลื่อนที่ และมีการเข้า การออก การขึ้นการลง อยู่ตลอดเวลา มีสิ่งที่ไม่เคลื่อนที่อย่างเดียว คือปรินิพพาน ถ้ายังมีธุลีละอองใด เป็นสัมพัทธภาพ เป็นปัจจยาการทั้งสิ้น

เรื่องจริงที่น่ากลัวมันไม่มี แต่นึกว่ามี

ตอบ อันนี้จริง อย่างสิ่งไม่มีเช่นผี แต่คุณก็กลัวมัน แต่ไอ้ที่มันมี แต่คุณไปนึกว่า มันไม่มี นี่สิ ยิ่งกว่าน่ากลัว คือหน้ามือ ลงนรกแน่นอน ถ้ามีกิเลส แต่นึกว่าไม่มี

ความสุขเอ๋ย ข้าขอลาก่อน

ตอบ อันนี้ดี ลาความสุข ให้กลายเป็น อทุกขมสุข

จากหลานปู่ ... การคิดบวกกับการปฏิบัติธรรม เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร คะ เมื่อการปฏิบัติธรรม ทำให้เราเปลี่ยน ก็น่าจะเหมือนกันนะ

ตอบ การปฏิบัติธรรม ถ้าไม่คิดทั้งบวกและลบก็ผิด อกุศลก็ควรเอาออก กุศลควรอาศัย อย่างแข็งแรง แต่ไม่ไปยึดมัน คุณสั่งสมความตกผลึก ก็จะแข็งแรงเอง เป็นที่อาศัย ต้องแยกความยึด กับความสะสม ออกจากกัน อย่างคุณทำทาน ใจคุณไม่ต้องยึด ว่าเป็นเราของเรา ทำแล้ววาง คุณทำกรรมดีแล้วก็จบ ไม่ต้องจำ แต่มันเป็น กรรมวิบากของคุณ แต่ถ้าไปยึด ว่าเป็นเราของเรา จะทวงคืนด้วย ก็ไปกันใหญ่

อยากถามเรื่องพระอรหันต์ ....ว่าเป็นผู้ที่ไม่ครองเรือนแล้วใช่ไหม เช่น คนจะเป็น อรหันต์ ต้องเป็นโสด ไม่ครองเรือน หรือว่าถ้าถึงเวลา จะหลุดพ้น การครองเรือน ยกตัวอย่าง การหลุดพ้นการครองเรือน ยกตัวอย่าง เขาไม่หาเราแล้ว ไม่ยุ่งกับเราแล้ว หรือว่าเราจะไม่อาลัยอาวรณ์เขาเลย ทำเฉยๆเหมือนไม่สะทกสะท้านเลย หรือเหมือนเย็นชา ชาเย็นหรือไม่

ตอบ คือจิตเรา คุณอ่านสัมพันธ์ภายนอก เช่นคุณแต่งงาน คุณต้องมีภาระที่เกิดแล้ว เอายางลบๆไม่ได้ ต้องดูเหตุปัจจัย ถ้าคุณเป็นผัวเมีย เป็นลูกเป็นพ่อแม่ มาร่วมหัว จมท้าย ก็ต้องพึ่งกัน จนแก่เฒ่า ตายจากกัน แต่ถ้าไม่ต้องช่วยเขาแล้ว เป็นภาระเขาอีก ก็ควรมา แต่ถ้าคุณเป็นหลัก เป็นตัวช่วยเขา ก็ต้องอยู่ช่วยเขาไปก่อน แต่ถ้าใจคุณขาด ไม่ได้ผูกพัน ก็เห็นดีไปตามโลก แต่ต้องทำตามสมมุติสัจจะ เราก็ต้องรับผิดชอบ แต่ว่าถ้าเขาช่วยตนได้ คุณจะไปดีทางธรรมได้ ก็มาเลย ถ้าภาระจำเป็น ก็ต้องทำตามภาระ ตามเหมาะควร

อยากให้อธิบายอาตนะที่ว่า เป็นปลายข้างหนึ่ง หมายความว่าอย่างไร

ตอบ ข้างหนึ่งคือข้างนอก กับอีกข้างหนึ่งคือข้างใน ที่จริงอายตนะปลาย คือข้างใน ไม่มีอธิบายนะ ผู้ที่เป็นอรหันต์ ท่านไม่มีความกระวนกระวาย อะไรเลย ที่จริงตั้งแต่ อนาคามี ท่านก็ไม่มีความลำบาก เดือดร้อนอะไรเลย แต่ก็ต้องมีการปรุงแต่ง อาจเรียกว่า ความกระวนกระวาย ความลำบาก (ทรถ) ก็ยังมีอยู่ ตามที่ท่านจะ สัจจานุโลมมิกญาณ หรือมี สังขารุเปกขาญาณ อย่างไร แต่ต้องไม่ประมาท ต้องใช้ตลอด ประจำเลย ทุกอย่างรวมที่ ความไม่ประมาท ที่คุณหมาย อาจหมายถึง อัตตา ๒ คือข้าง อัตกิลมถานุโยค กับ กามสุขัลลิกานุโยค แม้หมดสุขหมดทุกข์ ตั้งแต่อนาคามี ถึงอรหันต์ จะมีฐานที่ตั้ง แห่งจิตที่ตั้ง มันทนได้ หรือไม่ต้องทนได้ดีขึ้น แต่ต้องทน เพราะมีทุกสภาวะ คือมีขันธ์ ๕ อยู่ อากาศมันร้อน-หนาว ก็ต้องลำบากอยู่ ถ้าต้องทำงานกลางแดด คุณก็ต้องทำ แม้บางคน มาตอแยพ่อครู ยกตัวอย่าง 8705 ก็มาตอแย ใจเราต้องไม่รำคาญเขา คุณทำใจได้จริงไหม

ความโลภ เขาทำบุญทำกรรมมาด้วยอะไร เพราะคนโลภ มีแต่คนเมินหน้าหนี ไม่มีใคร อยากคบ เพราะคนโลภ ทำความเลวสุดขั้ว เหมือนตาบอด หูหนวก อยากรู้ว่า เขาทำกรรมอะไร จึงเป็นคนรวยน่ารังเกียจ

ตอบ อย่างที่คุณว่ามา ตอบว่า เขาทำกรรมชั่ว ก็เลยมีสารพัดชั่ว มากับเขา ต้องเรียนรู้ อย่างไปทำกรรมชั่วจริงๆ ไม่ต้องการคนชั่ว มาเป็นลิ่วล้อ

นิโรธ วิมุติ นิพพาน เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ตอบ ทั้งหมดเป็นไวยพจน์ใช้แทนกันได้

นิโรธ คืออาการดับ มืด ไม่มี สิ่งใด ที่เราจะให้สลาย ไม่มี ต้องรู้สภาวะนั้น ตั้งแต่กาย วาจา ไปถึงใจ แม้นิดหนึ่ง น้อยหนึ่ง ก็ไม่ให้ มี
วิมุติ คือหลุดพ้น ตั้งแต่โลกอบาย เราหมดสุขหมดทุกข์กับอบาย แต่เราก็ยังอยู่กับโลกอบาย แล้วช่วยเขาให้พ้นจากอบาย จิตคุณไม่มีกิเลส มีนิโรธแล้ว
นิพพาน นั้นคือมีทั้งนิโรธแล้ววิมุติ มีทั้งเจโตวิมุติหรือปัญญาวิมุติ จะอนุโลมเรียกนิโรธ ว่าเป็นปัญญาวิมุติก็ได้

เวทนาในเวทนา ต่างกับจิตในจิตอย่างไร

ตอบ เวทนาคือต้องรู้อารมณ์ความรู้สึก ต้องอ่านให้ออก อารมณ์ที่มีในมโนปวิจาร ๑๘ ที่เกิดจากการสัมผัสทวาร ๖ ต้องเรียนรู้ว่า มีอะไรเป็นเหตุ ต้องเรียนรู้ที่จะดับเหตุ จนมีเนกขัมสิตอุเบกขาเวทนา เรารู้ทั้งเนกขัมมสิตเวทนา และเคหสิตเวทนา ส่วนจิตในจิต คือมาตรวัด เป็นหลักวัด ว่าจิตมีราคะ-โทสะ-โมหะ ก็รู้ว่าจิตมี มีลักษณะอย่างไร มากน้อยแค่ไหน คุณก็ต้องทำออก ทำให้มันไม่มี จนกว่า มันจะหมดไป ต้องรู้ว่า มันเจริญหรือไม่ ทำให้มันจางลงๆ โดยแบ่งโลกอบาย กามคุณ โลกธรรม อัตตา มันก็เป็นในจิต เป็นองค์รวมมากกว่าเวทนา จิตมีทั้งปัจจุบัน อดีต อนาคต ก็ยังมีอยู่ จนสามารถ ทำให้มันลดลงได้ แล้วก็จะเป็นไปตามจริง จริตที่เห็น สายเจโต จะมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ตีไม่แตก แยกรายละเอียดไม่ออก คือ สังขิตตจิต แต่ถ้าฟุ้ง จับไม่ติด ก็เรียกว่า วิกขิตตจิต แล้วก็ทำต่อไป ให้มันดีขึ้นอีก จนเป็นจิตตั้งมั่น จิตหลุดพ้น ในที่สุด

ตอนกลางคืน หลังรายการภาคค่ำ พวกเราก็นั่งคุยกัน เรื่องธรรมะ ที่พ่อครูสอน ปรากฏว่า มีคนๆหนึ่ง มาบอกว่า หนวกหู คนจะนอน ดิฉันก็บอกว่า เดี๋ยวนะคะ สามทุ่มแล้วจะนอน ขอพ่อท่านตักกะ วิตักกะด้วยค่ะ

ตอบ ฟังแล้วเราก็เห็นว่า คนยึดถือ เขาจะนอนว่าหนวกหูก็มี แม้จะเป็นธรรมะ เขาก็ไม่ยินดีก็มี เขาจะนอน ก็มีจริง ส่วนพวกคุยธรรมะ ก็ไม่ดูสิ่งแวดล้อม สามทุ่มสี่ทุ่ม ก็ไม่นอน ก็ต้องประมาณให้พอเหมาะ มันจะเกินไป ยกตัวอย่าง น้องชายพ่อครู ที่ตายไปแล้ว น้องชายเขาบอกว่า รู้นะว่าน้ำตาลมันหวาน แต่มันเกินไป มันกินไม่ลง เหมือนกันนะ เมื่อเราไปสอนเขา อัดใหญ่ ตอนนั้นปฏิบัติธรรมเคร่ง เราก็จำได้เลยนะ อยู่ด้วยกัน ก็อนุโลม ปฏิโลมกันไป

....................จบ

 

 
11 เมษายน 2556 ที่พุทธสถานราชธานีอโศก