18 เมษายน 2556 _รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อครู
เรื่อง มีสติอย่างไร จึงได้อาหารสู่วิชชา


วันเวลาก็ล่วงไปๆ แต่ละวันๆ ใครได้พยายามที่จะมี สติสัมปชัญญะ แล้วสำรวม กาย - วจี - มโนกรรมของตน เพื่อจะให้เป็นกุศล เราได้สังวรสำรวมไหม? อันนี้ก็ขอเตือน ขอบอกว่า จุดสำคัญของการบำเพ็ญธรรม ตลอดเวลา ต้องมีสติสัมปชัญญะ แล้วต้อง สำรวมสังวร ไม่ให้เป็นไปตาม อำนาจกิเลส ไม่ใช่มีสติ แต่ทำตามกิเลส อยากได้ลาภได้ยศ ว่าน่ามีน่าเป็น กามคุณ ๕ เห็นแล้ว ก็น่ามี น่าเป็น น่าได้ ก็มีสติ แต่ไม่ได้สังวรสำรวม ไม่ได้ตั้งจิตอธิษฐาน -ปณิธานเอาไว้ว่า เราจะทำตามใจ ความอยากได้ หรือตามใจกิเลส ตลอดเวลาหรือ อันนี้เป็นจุดเริ่มต้น ที่สำคัญ สำหรับ ผู้ที่หวังดีต่อตน ที่น่าจะปฏิบัติ แต่แค่นี้ ก็มีประโยชน์มาก และถ้ายิ่งได้เรียนรู้ รายละเอียด ต่อไปอีก ก็จะยิ่งดี

การมีสติสัปชัญญะรู้ตัวทั้วพร้อม ที่จะควบคุมกาย-วาจา-ใจ ซึ่งใจเป็นสิ่งสำคัญมาก ใครไม่ชัดเจน จะทำใจในใจไม่เป็น ควบคุมใจพอได้ ทำตามสัญชาติญาณสามัญ ที่คนส่วนใหญ่ จะทำได้ ไม่ให้มันแสดง อารมณ์ออกมา เรียกว่า มารยาทสังคม คือควบคุม ไม่ให้มันสั่งออกมา ข้างนอก แม้มีราคะ โทสะ ใจก็กดข่มไว้ได้ ตามสัญชาติญาณ สามัญทำได้ ก็เรียกว่า การทำใจในใจ เหมือนกัน

แต่แบบนั้น มันไม่พอ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าคือ "มนสิการ" หรือ มนสิกโรติ คำนี้สำคัญมาก ในการปฏิบัติธรรม เพื่อบรรลุได้ ถ้าไม่เข้าใจเพียงพอ อย่างสัมมาทิฏฐิ ที่จะสามารถ ทำใจในใจ ได้อย่างถูกต้อง ละเอียดแยบคาย และใจเราก็ได้รับการทำ ด้วยสามารถของเรา ถ้าไม่อย่างน ี้จะไม่ได้ประโยชน์สูง หรือไม่สามารถ บรรลุธรรม ตามแบบพุทธได้ ไม่ถึงนิพพานได้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในพระสูตร ล. ๒๔ ข้อ ๖๑ คือ

อวิชชาสูตร
[๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชา ย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน แต่นี้อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้ อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชา มีข้อนี้เป็นปัจจัย จึงปรากฏ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น อาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่า นิวรณ์ ๕
แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น อาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓
แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น อาหารของทุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์
แม้การไม่สำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น อาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า ความไม่มีสติสัมปชัญญะ
แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น อาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การกระทำไว้ในใจ โดยไม่แยบคาย
แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น อาหารของการทำไว้ในใจ โดยไม่แยบคาย ควรกล่าวว่า ความไม่มีศรัทธา
แม้ความไม่มีศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น อาหารของความไม่มีศรัทธา ควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม
(บางคนฟังมาก ศรัทธามาก แต่ไปเข้าใจ อสัทธรรม ว่าเป็นสัทธรรมก็มี)
แม้การไม่ฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น อาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ

ผู้ที่จะปฏิบัติมรรคองค์ ๘ ได้ต้องมีทิฏฐิทั้ง ๑๐ ที่สัมมาก่อน ต้องทำความเข้าใจ ให้ตรง แล้วปฏิบัติให้ตรง คำว่าสัตบุรุษ คือผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีมรรคผล ท่านตรัสใน พระไตรฯ ล. ๑๔ ข้อ ๒๕๕ ดังนี้

[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผลผล วิบากของกรรม ที่ทำดี ทำชั่วแล้ว ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็น อุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศ โลกนี้โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่ง ด้วยตนเอง ในโลกไม่มี นี้มิจฉาทิฐิ

คือไม่มีดวงตาเห็นได้ ไปคบอสัตบุรุษแล้วเห็นเป็นสัตบุรุษ แล้วได้รับคำสอน เป็นอสัทธรรม แล้วก็จะมีศรัทธา อย่างไม่สัมมาทิฏฐิ ก็มีอโยนิโสมนสิการ ก็เลยไม่มี สติสัมปชัญญะ ที่เป็นสัมมาสติ เพราะปริยัติก็ไม่ถูก ไปปฏิบัติก็ไม่ถูก คือ

นตฺถิ โลเก สมณพฺราหฺมณา สมฺมคฺคตา สมฺมาปฏิปนฺนา เย อิมฺจ โลก ปรฺจ โลก สย อภิฺา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺตีติ อย ภิกฺขเว มิจฺฉาทิฏฺิ ฯ

ที่จำเป็นต้องว่า คืออาจารย์ที่สอนกันนี้ผิด ต้องขออภัยจริงๆ ที่ต้องว่า แต่ช่วยตรวจ ดูหน่อย ว่าจริงอย่างที่ พ่อครูพูดไหม? ได้อธิบาย และพาปฏิบัติ อย่างพ่อครูไหม? ได้ทำใจในใจ อย่างที่พ่อครู พาทำไหม? แต่ละอาจารย์ ที่เรียนที่สอนกันอยู่ ถ้ามันไม่ตรง พ่อครูก็ยืนยันว่า พ่อครูถูก พ่อครูยืนยันว่า เป็นสยัง อภิญญา เป็นสมณพราหมณา สัมมัคคตา ด้วย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
- การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรม ให้บริบูรณ์
- การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธา ให้บริบูรณ์
- ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ให้บริบูรณ์
- การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะ ให้บริบูรณ์
- ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ ให้บริบูรณ์
- การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
- ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์
- นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ


เพราะเมื่อไม่ปรโตโฆษะ และก็ยังโยนิโนมนสิการ ก็จะไม่มีสัมมาทิฏฐิ ก็ไปนั่ง หลับตา ทำสมาธิ ไม่รู้จักองค์ของ สังกัปปะ ๗ วิจัย ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ ไม่ออก แล้วแยกกาม หรือพยาบาท ออกจากตักกะไม่ได้ คุณก็สังขารอย่าง อวิชชาเรื่อยไป เพราะอวิชชา เป็นเหตุให้เกิด การสังขาร ดังนั้น คุณจะทำจิต ให้ปราศจาก นิวรณ์ได้ ก็ต้องรู้ว่า นิวรณ์คืออะไร กาม-พยาบาท -ถีนมิทธะ-อุทธัจจะกุกกุจจะ (คือจิตฟุ้งกระจาย จับไม่ติด หงุดหงิด รำคาญ) -และมีวิจิกิจฉา เพราะไม่รู้ หรือรู้คลุมเครือ หรือปฏิบัติผิดๆไปเลย จึงไม่ได้ผล

เหตุเพราะไม่คบสัตบุรุษให้บริบูรณ์ ก็ได้ฟังอสัทธรรม ก็ไม่เกิดศรัทธา ที่สัมมาทิฏฐิ แล้วก็จะไม่รู้ การทำใจในใจให้บริบูรณ์ จึงทำให้ไม่มี สติสัมปชัญญะ ที่ถูกต้อง บริบูรณ์ จึงทำให้ไม่มี การสำรวมอินทรีย์ บริบูรณ์ ต่อเนื่อง ทำให้เกิด ทุจริตกรรม ๓ ซึ่งเป็นอาหาร ของ นิวรณ์ ๕

ต้องสัมมาทิฏฐิแต่ต้น ที่จะพยายามปฏิบัติมีสติ กำหนดรู้ การสัมผัส ทางทวาร ๖ แล้วจะเกิด อาการทางจิต หรือวิญญาณ แล้ววิจัยให้ออกว่า มีโทสะ - ราคะอย่างไร นี่คือ เราต้องเดิน สติสัมโพชฌงค์ คือ สติที่พยายาม พากเพียร คือมีสัมมาวายามะ เป็นเครื่อง ห้อมล้อม มีสติสัมปชัญญะ ถูกต้อง แล้วเชื่อมต่อเป็น สัมปชานะ ก็รู้ว่ามีกิเลส ก็จะจัดการเลย แยกแยะ มีธัมวิจัย แยกแยะกิเลสได้ ก็ทำการกำจัดกิเลส ซึ่งจะทำได้ สองนัย คือ ๑ .กดข่มแบบสมถะวิธี ๒.วิปัสสนาวิธี คืออ่านรู้ ความไม่เที่ยงของมัน เช่น ตัณหาเกิด เราไม่ให้มันเสพ มันก็ลด เราต้องเห็นว่า มันไม่ใช่เรา เป็นแขกจร ไม่ใช่ตัวจริง เป็นอาคันตุกะ และมันไม่เที่ยง มันไม่คงทน เราอย่างน้อยสู้มัน ดูมัน มันจะเก่งอย่างไร เราไม่ตามใจมัน มันจะหายไปเอง ถ้าเราไม่ตามใจมัน มันจะหายไปก่อน เราไม่ตายก่อนหรอก มันเป็นทุกข์ เพราะมันไม่ตั้งอยู่ตลอด แต่เราจะไป ยอมแพ้มัน ไปบำเรอ ให้อาหารมัน ก็ได้สุขหลอก แต่ตัวจริงคือ มันทุกข์ มันคือเหตุแห่งทุกข์ ถ้าเราดับเหตุ ทุกข์ก็หาย มันเป็น อิทัปปัจจยตา ดับเหตุแห่งทุกข์ แล้วทุกข์ก็หมด

นี่คือสัมพัทธภาพ ทางนามธรรม ที่พระพุทธเจ้า ค้นพบก่อน ไอสไตน์ พระพุทธเจ้า เอามาประกาศ ถ้าผู้ใดสามารถปฏิบัติ อย่างน้อยกดข่ม อย่างน้อยก็เห็น มันจางคลาย ทีหลังก็สู้มันอีก เราก็จะสู้มันได้ดีขึ้น จนมันดับ

การกดข่มทำลืม ไม่ดีเท่าสู้ด้วย พลังปัญญา ให้เห็น อนิจจัง -ทุกขัง จนมันหายไป เป็นอนัตตา เรานึกว่ามันจริง ที่แท้มันไม่ใช่ของจริง มันเป็นของหลอก การอธิบายว่า เห็นไตรลักษณ์ เห็นอนิจจัง -ทุกขัง -อนัตตา

ก็เอาไปปฏิบัติทำงาน อย่างมีสติ ถ้าทำได้สำเร็จ เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ คือสติที่พาสู่ การตรัสรู้ สู่การบรรลุธรรม ในสัมมาสติ คือคุณกำลังทำให้ สติสัมมา พยายามให้ สัมมาเสมอ อย่าให้มิจฉา ไปอยู่กับกิเลส ถ้ามีสติรู้เลยได้ต่อสู้ ดับกิเลสได้ นั่นคือ สัมมาสติ เมื่อสัมมาสติเกิด ก็จะมีสัมมาอื่นๆ ตามมา

เพราะสติเป็นสัมภวะ ไปถึงที่เกิด ถึงแหล่งตัวการ ของจิตวิญญาณเลย กำจัดได้อย่างจริง จึงสำเร็จ

ศาสนาพุทธจึงมีญาณปัญญารู้จักจิตเจตสิก

สติที่พ่อครูอธิบาย มานี้ คุณจะต้องเข้าใจสติอีกอย่างคือ
กายคตาสติ ที่อยู่ในอนุสสติ ๑๐ (อนุแปลว่าตาม) คือมีสติ ตามรู้ความสงบ
๑.ธัมมานุสสติ (ระลึกถึงพระธรรม)
๒.สังฆานุสสติ (ระลึกถึงพระสงฆ์)
๓.พุทธานุสสติ (ระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
๔.สีลานุสสติ (ระลึกถึงศีล)
๕.จาคานุสสติ (ระลึกถึงจาคะ)
๖. เทวตานุสสติ (ระลึกถึงคุณธรรม ที่ทำให้มีจิตใจสูง)
๗. อานาปานสติ (มีสติอยู่ตลอดลมหายใจเข้าออก)
๘. มรณสติ (ระลึกถึงความตาย เร่งขวนขวาย อริยผล)
๙. กายคตาสติ (ระลึกถึงกายว่า.. เป็นของที่ไม่เที่ยง ควรละหน่าย)
๑๐.อุปสมานุสสติ (ระลึกถึงนิพพาน อันเป็นที่ระงับกิเลส และความทุกข์)
(พตปฎ. เล่ม ๒๐ ข้อ ๑๘๐)

อุปสมานุสสติ คือสติที่ทำให้กิเลสดับ กิเลสสงบ คือตามรู้สติ ที่ได้ปฏิบัติ ที่ได้เรียนรู้สติ ตั้งแต่ใน อวิชชาสูตร เข้าใจปริยัติ แล้วไปทำให้เกิด สัมมาสติ และก็เกิด สติสัมโพชฌงค์ (ทำโพชฌงค์ ๗ ทั้งหมด)

สติเป็นธาตุที่จะพา ให้เกิดญาณปัญญา ที่จะเห็นความจริง อนุสสติ คือตามรู้เห็น กันสดๆ เพราะปฏิบัติ กายคตาสติ สมบูรณ์ คือ มีสติที่จะตามรู้ ความเกิดขึ้น ความเป็นไป ของกาย ซึ่งคำว่า "กาย" นี้ลึกซึ้งมาก

 

ต่อไปเป็นการตอบประเด็นหรือปัญหา

ในพระไตรฯ หากมีคำว่า มนสิการ เมื่อไหร่ แม้ไม่มีโยนิโสฯ ก็หมายถึง โยนิโสมนสิการ ใช่ไหม?

ตอบ.. จะพูดอย่างนี้ก็ได้ แต่จริงๆคำว่า มนสิการ ก็คำหนึ่ง โยนิโส ก็คำหนึ่ง แต่จะถือว่า เข้าใจต่อเนื่องก็ได้ อย่างในมูลสูตร ท่านใช้คำว่า มนสิการ เป็นแดนเกิด มีผัสสะ เป็นเหตุเกิด (สมุทัย) แต่ถ้าทำใจในใจ แต่ไม่ถ่องแท้ ไม่ลงไปถึงที่เกิด ก็ไม่ได้ผล แต่ถ้าบางที่ เราจะกล่าวถึงแต่มนสิการ อย่างในมูลสูตร ก็อธิบายแค่ว่า การทำใจในใจ ซึ่งมีทั้งโยนิโสฯ และไม่โยนิโสฯ ก็ได้ จะไปตีว่า ถ้ามนสิการที่ไหน จะเป็นโยนิโสฯ ก็ไม่ได้

พ่อครูเคยบอกว่า เรียนหมอ เป็นอาชีพบาป

ตอบ....พ่อครูไม่เคยบอกเลยว่า เรียนหมอ เป็นอาชีพบาป พ่อครูเคยไป บรรยายว่า อาชีพแพทย์ เป็นเป็นเดรัจฉานวิชชา พอไปบรรยาย ตั้งชื่อเรื่องนี้ ที่คณะแพทยศาสตร์ ก็มีคนมาฟัง แน่นเต็มโรงเลย พ่อครูก็ได้อธิบาย ให้เข้าใจ พ่อครูก็อธิบายว่า อาชีพใด ถ้าอวิชชา ก็ไม่ดีทั้งนั้น ซึ่งเดรัจฉานวิชชา ถ้าไม่เข้าใจ คือเอาอาชีพ ทุกอาชีพ ไปทำเดรัจฉานวิชชา ไม่ว่าเฉพาะ อาชีพแพทย์ เดรัจฉานคือ สัตว์ที่ไม่พ้น สังโยชน์ เล่นโลภจัด โกงจัด พึ่งจะอ่านบทความ ในดอกบัวน้อย มีแพทย์ชื่อริชาร์ด แกสำนึก ก่อนตาย แกเป็นคนเก่ง มีผลสำเร็จในวิชาแพทย์ ก็รวยมาก แต่เสร็จแล้ว มาสำนึก ก็ต่อเมื่อ เป็นมะเร็ง ก็เลยบรรยายก่อนตาย ขอสารภาพบอกว่า อย่ามาหลง อย่างผมเลย สุดท้าย ก็ตายเพราะมะเร็ง แม้เป็นหมอก็ตาม หรือเป็นพระก็ตาม ถ้าไม่ทำไม่ถูก ก็เดรัจฉานวิชชา

ทำอย่างไรจะละมโนมยอัตตา

ตอบ... มโนมยอัตตายากยิ่งกว่า อรูปอัตตา โอฬาริกอัตตา ซึ่งมโนมยอัตตา คืออัตตา ที่สร้างรูปในจิต ทั้งกาม ทั้งอัตตา อย่างกายในกาย ที่จะสอน คุณต้องอ่านกาย ที่มันสำเร็จ คือรูปที่สำเร็จด้วยจิต เป็นรูปที่มีสีสัน ตัวตนก็ได้ แต่เป็นที่ไม่มี สีสันรูปร่างก็ได้ แต่ต้องแยกให้ได ้ว่ามันมีความเป็นสัตว์ คือกิเลสสังโยชน์หรือไม่ แม้อนาคามี ก็มีสัตว์อยู่ ต้องอรหันต์ จึงจะพ้นความเป็นสัตว์ แม้เป็นสัตตาวาส ก็คือสัตว์อยู่

ขอชื่นชมพ่อท่าน ว่าพ่อท่านเก่งจริงๆ งานใหญ่ๆ สำเร็จได้ด้วยดีค่ะ

ตอบ พ่อครูไม่เก่งหรอก ทำไปหกคะเมน ตีลังกาไม่ได้ อย่างเขา ไปหาเสียง ไม่เก่ง อย่างเขา งานที่ผ่านมา ถือว่าใหญ่ ลุล่วงด้วยดี แต่ว่าพ่อครูไม่เก่ง เป็นแต่เพียง บอกเขา พ่อครูทำเองน้อย มีคนอื่น เขาช่วยทำ จนสำเร็จ พ่อครูแค่ ชี้โบ้ชี้เบ๊ ขอบคุณ ที่ตั้งใจ จะชมพ่อครู

0897934xxx มีพันธมิดรมาช่วยงาน ตลาดอริยะ บ่นว่า ชาวอโศกบางคน ในเรือนหยังกิน พูดจาเหมือน ไม่ได้ปฎิบัติ ห่วงของกินที่แจก อย่างไม่น่าดู...

ตอบ... ผู้ที่มาบางทีไม่รู้ตัวเอง ว่าตะกละ ละโมบมาก เขาก็ให้สติเตือน เมื่อเตือน เขาก็ถือสาสิ มันมาก ก็ขาดเกินบ้าง จะไม่ให้มีขาดเกิน ก็ยาก นี่ไม่ใช่แก้ตัว

0850287xxx จงอธิบาย 2 ด้าน : ดีไม่ดี -อโศกกับมหานิกาย

ตอบ อโศกกับมหานิกาย ดีไม่ดีอย่างไร ..อโศกไม่ได้เป็นนิกาย ใครจะเป็นนิกาย ไม่ดีทั้งนั้น แต่เขาเป็นไปแล้ว ก็อย่างไปยึดนิกาย ต้องเอาอันไหน เป็นสัจธรรม คนแยกนิกาย เป็นอนันตริยกรรม พ่อครูไม่ได้แยกนิกาย พ่อครูกลัวบาป แยกนิกาย คือตัดขาด จากกลุ่มพุทธ โดยสัจธรรมคือ ถ้าผู้ใดนึกว่าตัวแน่ แล้วก็แยกตัว ตีทิ้งคนอื่นหมดเลย ไม่สมานสังวาส กับใครเลย อย่างอโศก เรามีการเชื่อมโยง กับสงฆ์อื่น อย่างไร ตามนานาสังวาส ก็ทำอยู่ แต่ก่อนนี้ มีธรรมยุติ กับมหานิกาย ไม่ยอมกันเลย นั่นแหละ อนันตริยกรรม แต่ตอนนี้ดีขึ้น หลายอย่าง ร่วมกันได้แล้ว ก็ให้เดินตาม พระพุทธเจ้าเสีย ของเราจะมี สงฆ์จากหมู่ใหญ่ มาอยู่กับเราก็มี แต่สงฆ์ที่เป็นนิกาย ในมหายาน ที่ถึงขั้นมีเมียได้ หยาบมา พ่อครูก็ว่า ต้องขออนุญาต ว่าร่วมไม่ได้ เพราะผิดวินัยเกิน วันนี้ก็มีสงฆ์ของ ติชนัทฮันท์ มาขอพัก ก็บอกว่า มาเลย ไม่มีปัญหา ก็คงตอบได้เท่านี้ ส่วนดีหรือไม่ดี ก็อยู่ที่สัจจะ แม้คุณจะอยู่ใน มหานิยกาย มีชื่ออยู่ ก็ให้ศึกษา ให้สัมมาทิฏฐิ พ่อครูตอนแรก บวชในธรรมยุติ อุปัชฌาย์องค์แรก เป็นธรรมยุติ แต่ตอนหลัง พ่อครูแยกไปสวดญัติ มหานิกายอีกที โดยไม่ได้สึก ก็เลยสวด สองญัติเลย

ปลายฝน จะอ่านใจในใจ งดกินไอติม ๑ เดือน

ตอบ.. ก็ดี ดีกว่าไม่ดี แล้วก็อ่านใจ ว่าผีมันมา เราพยายามเอาชนะ จะเห็นความไม่เที่ยง ของกิเลส

ทำไมสมณะชาวอโศก จึงไม่เรียกว่าพระ อาจจะเพราะ ถูกห้าม ไม่ให้เรียก สมณะ เหมือนยา ไม่ผ่านอย.

ตอบ.... ไม่เรียกว่าพระ เพราะท่าน ทางมหาเถระฯ ท่านไม่ให้เรียกว่าพระ ก็ต่อรอง ถ้าไม่ให้เรียกพระ จะเรียกว่าอะไร ซึ่งเขาก็คุยกัน จะเอาอย่างไร จะเรียก พระ, ภิกษุ นักบวช นักพรต ก็ไม่ได้ พ่อครูก็เลยว่า เรียกสมณะได้ไหม? ซึ่งไม่มีในคำของ กฎหมาย ก็บอกว่า ได้ เราก็จำเป็น ต้องเรียกสมณะ มาตั้งแต่บัดนั้น เรามีอย.นะ เขาให้เรียกสมณะ

ผมติดตามรายการพระโพธิรักษ์มา ๔ ปี ขอบอกว่า ท่านสอนถูกหลัก ถูกวินัย ทุกรายการ ผมไม่สนใจ ผมดูแต่ รายการท่าน เท่านั้น ช่องนี้มีพรรคมีพวกมาก ผมได้ข้อสรุปว่า ถือศีล ๕ แล้วกินข้าว กับผลไม้จิ้มเกลือ ก็จะรู้อะไรอีกมาก อะไรที่ไม่รู้ ก็จะรู้หมด

ตอบ. เรื่องโภชเนมัตตัญญุตา เป็นเรื่องปฏิบัติไม่ผิด ให้ศึกษาต่อไป ดีแล้ว

ขอพ่อครูกรุณาวิจารณ์ท่าน โอโช ที่ท่านเป็นผู้นำลัทธิ มนุษย์พันธ์ใหม่ ที่ปฏิบัติ แบบตื่นตัว ให้คนมีความสุข ทั้งโลกียะและโลกุตระ ไปในตัว ผมฟังแล้ว ขัดแย้ง ให้กรุณาวิจารณ์

ตอบ.. การที่จะได้ความสุขโลกีย์ ในระดับโสดาฯ ยังมีสุขโลกียะ แต่จะรู้ว่า เป็นทุกข์แท้ แต่เป็นสุขเท็จ ถ้ากำจัดเหตุ ที่ทำให้หลงติด สุขทุกข์ ให้อุเบกขา ผู้นั้นต้องรู้ มโนมวิจาร ที่ท่านแปลว่า จิตนึกหน่วง แปลอย่างนี้ ก็รู้สึกหนัก ที่จริงมโนปวิจาร คือองค์ประกอบ ของพฤติจิต ถ้าเข้าใจสภาวะของ มโนปวิจาร ที่ปรุงเป็นสุขหรือทุกข์ หรืออุเบกขา ที่เกิดจากทวาร ๖ แล้วแยกแยะ อย่างเคหสิตะเวทนา (ท่านแปลว่า ประกอบด้วยเรือน) อย่างเคหสิตะโสมนัสเวทนา ท่านแปลว่า สุขอันประกอบด้วยเรือน คือโลกีย์ แล้วก็มี อีกฝั่งหนึ่ง คือ เนกขัมสิตเวทนา ผู้ใดบอกว่า สุขโลกีย์กับสุขโลกุตระ ไปด้วยกัน ผู้นั้น ยังไม่เข้าใจ อย่างศาสนาบาไฮ จะเอาศาสนา ทุกศาสนา มารวมกัน พ่อครูว่า ให้เอาของคุณ รวมกันก่อนให้ได้ ซึ่งถ้าเอามารวมกันหมด โลกแตกพอดี มันเป็น ความคิดดี ที่จะพยายาม จะได้อย่างผิวเผิน แต่เนื้อแท้ ทำไม่ได้ พระพุทธเจ้า ไม่เคยคิด และมีหลักเกณฑ์ ให้ระมัดระวัง แต่ท่านประสาน ทุกศาสนา แม้แต่พุทธ ที่แตกนิกาย อย่างท่านโอโชนั้น ท่านเข้าใจโลกุตระ ยังไม่ได้

ความรู้กับความจำ อย่างไหน คือสัญญา

ตอบ ความรู้คือคำกลางๆ ความจำที่ระลึกได้ เอามาใช้ คือความรู้ ส่วนความจำนั้น ระบุชัดว่า คือสัญญา เช่นสัญญาทำหน้าที่ในปัจจุบัน คือกำหนดหมายรู้ อ่านรู้ ก็คือ สัญญาทำหน้าที่ ส่วนคำว่า ปริญเญยยะ คือควรกำหนดรู้ ส่วนสัญญาคือ กำหนดหมาย กำหนดรู้ ให้สัญญาทำงานเลย จากสัญญา จะสั่งสมเป็นปัญญา เป็นความรู้ได้

หนูดูพ่อครู แต่ต้องทำงานค้าขาย หนูใจดี แต่มีเพื่อนน้อย เพราะส่วนมาก ให้แล้วไม่รู้จักพอ จะทำอย่างไรดี

ตอบ... คุณไปบำเรอความต้องการ ความโลภคน ไม่พอหรอก ต้องมีศิลปะวิธี มีผู้ว่าเลยว่า ต่อให้ฝน ตกลงมาเป็นเงิน ก็ไม่พอ และคานธี บอกว่า ทรัพยากรในโลก มีมากพอ ที่จะเลี้ยง คนทั้งโลก แต่มีไม่มากพอ สำหรับความโลภ ของคนหนึ่งคน ถ้าเห็นโลภมากเกิน ต้องมีศิลปะ ในการห้าม

โยนิโสมนสิการ จะทำลายกิเลสตัวจริงได้ อย่างไร

ตอบ.. กิเลสไม่มีตัวจริง มีแต่ตัวปลอมได้ คนที่เริ่มรู้กิเลส คือผู้มีมรรค สักกายะคือ ตัวกิเลส ที่เรารู้ตัวตนของมันได้ กิเลสเรียกรวมว่า อัตตา พอเราไปปฏิบัติ แล้วเรา ก็อ่านจิต จับกิเลสในจิตได้ เริ่มต้นเลย อ่านกิเลสได้ แล้วเห็นได้ว่า มันไม่เที่ยง
๑. รู้เห็นด้วยองค์แห่งสัมผัส รูป->ตา->จักขุวิญญาณ รู้อยู่ เห็นอยู่ แม้สุข - ทุกข์ - ไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดโดยจักขุสัมผัส ฯลฯ ซึ่งเห็นโดยความไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงละมิจฉาทิฏฐิได้.
๒.ซึ่งรู้-เห็น ฯ โดยเป็นทุกข์ (ทุกขโต) จึงละสักกายทิฏฐิได้
๓.ซึ่งรู้-เห็น ฯ โดยอนัตตา (อนัตตโต) จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ .
(พตปฎ. เล่ม ๑๘ ข้อ ๒๕๔ - ๒๕๖)

จบ.....

 

 
๑๘ เมษายน ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานสันติอโศก