|
||
ส.เพาะพุทธเปิดรายการที่สันติอโศก วันนี้จะได้เรียนรู้เรื่อง กายคตาสติ คำว่ากาย ปกติเราจะนึกถึงร่างกาย แต่คำอธิบาย ของพ่อครู มีรายละเอียดมากกว่านั้น เป็นเรื่องของภาวะจิตด้วย ได้ไปทบทวนคำถาม ที่มีคนถามว่า พ่อครูว่าพระพุทธเจ้า องค์ต่อไป ชื่อพระศรีอริยเมตไตรย พ่อครูตอบว่า ไม่ใช่ พระศรีอริยเมตไตรย เป็นชื่อตำแหน่ง เช่นเดียวกับ ตำแหน่งนายกฯ ดังนั้น ถ้ามีพระพุทธเจ้า องค์ต่อไป ก็คือ ตำแหน่งพระศรีอริยเมตไตรย แต่จะชื่ออะไร ก็แล้วแต่อีก พ่อครู...ว่า มีคนว่า สีของพ่อครูเปลี่ยนไป ท่านฟ้าไทว่า สีของท่านฟ้าไท ตกใส่พ่อครู ก็ว่ากัน แบบสนุกๆ แต่ที่จริง เพราะแดดที่บ้านราชฯ แรงมาก พ่อครูก็ไปดูแล ไปช่วยเหลือ วิ่งดูอยู่ในบ้านราชฯ ก็ผ่านงานที่เราถือว่า งานหนัก งานใหญ่เรา เราได้ขยาย ทั้งแนวกว้าง แนวลึก ทั้งในรายละเอียด และพวกเรา ก็ต้องเร่งรัด มีหลายอย่าง ต้องรีบทำ ให้ทันกับงาน เช่น พืชพันธ์ธัญญาหาร ที่เราไปบังคับไม่ได้ เร่งมันไม่ได้ เราก็ต้องหาวิธี โด๊ปมัน ทั้งสิ่งไม่มีชิวิต ก็ต้องเร่งทำ เช่นเรือใหญ่ และอุปกรณ์ต่างๆ ก็เหน็ดเหนื่อย พ่อครูก็ได้รู้ประสิทธิภาพพวกเรา เห็นถึงน้ำใจพวกเราด้วย ต้องขอบคุณ พระพุทธเจ้าด้วย เพราะที่เรามาทำร่วมกัน มาช่วยกันเป็นพันคน ก็ไม่ได้จ้างใครสักคน เขามาด้วยสมัครใจ ด้วยภูมิปัญญา พ่อครูก็บอกสิ่งดี เขาเห็นดี ก็มาช่วยกันทำ เราไม่มีอามิส ทั้งรูปธรรม นามธรรม เราใช้ความจริงแท้ๆ ประกาศออกไป เขาก็เข้าใจ เต็มใจมาทำเอง มีปัญญารู้เอง หนักหนาเร่งงาน ลำบาก แต่ก็เสร็จทัน พ่อครูซาบซึ้งเคารพ ในบุญบารมี กุศล คือ ตลอดงาน ไม่มีอุปัทวเหตุเลย แต่อาจมี บาดเจ็บ เล็กน้อยบ้าง แต่ว่าที่เป็นอุปัทวเหตุ น่ากลัวหนักหนา ไม่มีเลย อันนี้พ่อครูถือว่า เป็นทั้งจิตวิญญาณพวกเรา ที่ได้ฝึกฝนสังวรระวัง ไม่ประมาท ทั้งบุญบารมีกุศลด้วย ใครจะหาว่า หลงเทวนิยม หลงบุญบาปก็ได้ จริงๆคำว่าบุญนั้นลึกซึ้ง แปลอย่างแท้ๆว่า คือการชำระกิเลส กิเลสลดเท่าไหร่ ก็เป็นบุญ เท่านั้น แต่ว่าคนไม่ดี ก็อยากดี อยากละกิเลส ก็เอามาใช้ จนทุกวันนี้ อะไรก็เป็นบุญ ได้สมใจบำเรอกิเลส ก็เป็นบุญ ภาษาคำว่าบุญ จึงเปลี่ยนไป ดีที่พ่อครู ก็มีภูมิรู้ และได้ ค้นคว้ามา คำว่าบุญ มีภาษาบาลีว่า สนฺตานํ ปุนาติ วิโสเธติ คือการชำระ จิตสันดาน ให้หมดจด สันตานัง คือสันดาน ปุนาติ คือการชำระ วิโสเธติ คือหมดจด นี่คือ คำแปลจาก พจนานุกรม บาลี-ไทย ฉบับภูมิพโลภิกขุ เขาว่าได้สมใจกิเลส ก็ถือเป็นบุญของเขา ดีได้ทุจริต โกงเขามาได้ ก็ถือว่า คือผู้มีบุญบารมี ก็ผิดไปตั้งแต่ไหนๆแล้ว บุญนั้นต้องชำระกิเลส อย่างไม่ใช่แค่ กดข่ม ต้องมีวิปัสสนาวิธี ซึ่งไม่ง่าย เพราะจิตเป็น นามธรรม ไม่มีสรีระรูปร่าง ตัวตนโฉมกาย เส้นสีอะไรหรอก แต่คนก็ไปมี อุปาทานว่า มันมีรูปร่าง โฉมกาย แม้แต่จะเป็น แสงสีเสียง ก็เป็นสสาร หรือพลังงาน อยู่ในตัว ที่เป็นรายละเอียด ที่ยากจะเข้าใจ พ่อครูเรียกจิต ว่าเป็นพลังงาน เมื่อกล่าวแรกๆ พวกที่เล่นพลังจิต ก็ว่าพ่อครู ว่าพูดไม่ถูก พ่อครูก็อธิบายมาเรื่อยๆ คำว่าพลังงาน นั้นแม้แต่ธาตุวัตถุ ก็เป็นพลังงาน ไอสไตน์ ค้นพบพลังงาน ในระดับละเอียดลึกซึ้ง ไประดับ นิวเคลียส และก็สามารถรู้ว่า นิวเคลียสนั้น ไม่เที่ยง มันแตกตัวได้ มันสลายธาตุ ตัวนี้ได้ จึงเกิดพลังนิวเคลียร์ ที่เกิดจาก นิวเคลียส จนมาใช้ทุกวันนี้ เป็นสิ่งที่ ไอสไตน์ค้นพบ ของพระพุทธเจ้าก็ค้นพบ สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน มันสัมพันธ์ ต่อเนื่องกันอยู่ ฟักตัวอยู่ ซึ่งธาตุรู้ ที่จับกันอยู่ ด้วยอวิชชา ซึ่งอวิชชา เป็นพยัญชนะ แต่คนที่จะสลาย อวิชชา ทำให้ธาตุ อวิชชา แตกสลายนั้น สลายธาตุ จิตวิญญาณได้ พระพุทธเจ้า ค้นพบอันนั้น ที่พูดนี้ ไม่ใช่ว่า เอามาจากตำรา แต่ได้ปฏิบัติตาม พระพุทธเจ้า จนสลายธาตุ จิตวิญญาณนี้ ได้จริง แม้สลายได้ สลายเป็นแล้ว เราก็สามารถอยู่กับ สิ่งที่เราไม่รับมา เป็นตัวเราแล้ว และเรา จะต้องเกี่ยวข้อง หรือไม่ก็ได้ เราก็เลือก สิ่งที่จะเกี่ยวข้อง เราก็ถือว่า สัมพันธ์กันอยู่ หรืออาศัยกันอยู่ คำว่าอาศัยกันอยู่ คือเหตุปัจจัย ถ้าไม่อาศัยกัน ก็แยกสลาย จากกัน เพราะสุดท้าย สิ่งที่จะสลาย คือสิ่งที่อาศัยกัน เช่นดิน มันเกาะกันอยู่ ด้วยความเหนียว ของน้ำ ของดิน ของพลังงาน อย่างน้ำมัน เกาะกันอยู่เป็นก้อน แม้แต่ตัวน้ำเอง คือธาตุ H2O ถ้าใครแยก O กับ H ได้ มันก็ไม่มีธาตุน้ำ (เพราะน้ำคือ การรวมตัวกัน ของ H และ O) นี่คือความสัมพันธ์ ที่เกาะตัวกัน เมื่อไม่สัมพันธ์กัน ก็หายไป นี่คือการไขความ ตั้งแต่ภาวะของธาตุ ในนิวเคลียส ธาตุของจิต ก็เกาะเกี่ยวกัน สัมผัสสัมพันธ์ กันอยู่ จะเกิดตัวหนึ่ง เรียกว่า "อายตนะ" แม้แต่ มนายตนะ กับ ธรรมายตนะ มันไม่สัมผัสกันเลย แต่มันก็อยู่ด้วยกัน ธรรมะคือ สิ่งทรงไว้ ยังไม่สูญไป ยังมีอยู่ กับอีกอันหนึ่ง เราเรียกด้วยพยัญชนะว่า มนะ มันอยู่ด้วยกัน ไม่เรียกว่า สัมพันธ์กัน แต่มันอาศัยกันอยู่ พระพุทธเจ้า จึงไม่เรียกว่า อายตนะ พระพุทธเจ้าเรียก อายตนะ ว่ามันไม่ตั้งอยู่ มันเกิดขึ้น แล้วทำหน้าที่ของมัน แล้วก็สลาย แต่ในจิตนั้น มันอยู่ด้วยกัน มีมนายตนะ มันสัมพันธ์กัน โดยไม่สัมผัส แต่ทวารนอกนั้น มันต้อง สัมผัสกัน จึงจะมีสัมพันธ์ ดังนั้นในจิตนั้น มันอยู่ด้วยกันตลอด มันเกิดกว่า อายตนะ แต่ไม่มีภาษา จึงเรียกว่า มนายตนะ ญาณ คือจิตที่เป็นจริงได้ จะเป็นจริงได้ ต้องทำ ฌาน และสมาธิ คำว่า ฌาน ทุกวันนี้เพี้ยนไปแล้ว คำว่า ฌาน นั้น รากศัพท์เดิมคือ ไฟ เป็นไฟกองใหญ่ ไฟพิเศษ มีประสิทธิภาพสูง จนสามารถ ทำลายกิเลส มันมีคุณสมบัติสูง ที่จะสลายไฟ ราคะ-โทสะ-โมหะ ที่เป็นพลังงาน แต่ละชนิด เมื่อเราสามารถทำจิต ให้เกิดฌาน ฌานใดต้องมีปัญญา ถ้าไม่มีปัญญา ไม่เรียกว่าฌาน ถ้าไฟไม่มีปัญญา จะไหม้แหลกราญ เมื่อมีปัญญา ก็จะมีความรู้ ที่รู้ว่า ควรกำจัดอะไร ไม่ควรกำจัดอะไร เหมือนกับคน ที่เก่งเรื่องช่าง เขาก็ใช้ไฟ ควบคุมได้ ในการทำงาน เราก็ใช้ไฟฌาน แบบควบคุมได้ ตัวความร้อน ต้องอาศัยความรู้ ฌานต้องประกอบด้วย ความรู้ ที่เรียกว่า ญาณ หรือวิชชา ในการใช้ไฟฌาน กำจัดกิเลส เราเรียนมาว่า วิปัสสนาวิธี หรือ สมถะวิธี คืออย่างไร จนกำจัดได้ แยกเหตุปัจจัย ที่มันรวมกันได้ พระพุทธเจ้าว่า จิตมันเกิดเพราะ เหตุปัจจัย ไม่มีเหตุปัจจัย มันไม่เกิด ต้องพิสูจน์ แต่ของหยาบก่อน การไปนั่งสมาธิก่อนนั้น ผิดทาง มีคน Sms ว่า ชีวิตที่ถูกบงการ จะให้วิญญาณหลุดพ้นไม่ได้ สมาธิหลับตา อย่างเดียว นำพาจิต ถึงนิพพานได้ และกายนอก บงการจิต ทำใจในใจ ยังถูกบงการอยู่ดี อวิชชา ยากจะนำจิต ถึงว่างเปล่าได้ และก็ว่า กล้าอ่าน ออกอากาศไหม? พ่อครูอ่านแล้วก็ว่า โวหารบางอย่างถูกต้อง แต่บางอย่าง ก็ไม่อ่าน เพราะของคุณ 8705 นั้นหยาบคาย ขนาดหนักเลย คือแสดงถึง สัญชาติญาณแท้ ก็คิดว่า คงจบกันเท่านี้ ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับ 8705 ก็คบหากันมา พอสมควร แต่นี่หยาบมากเกิน ก็ต้องหยุดแล้ว (ท่านจันทร์ ก็เห็นด้วย ต้องวางพรหมทัณฑ์ ไม่ออกอากาศ แม้แต่ sms ก็ต้องคัดกรอง บอกไปยัง เจ้าหน้าที่ด้วย ) เป็นอันทราบว่า จะต้องพรหมทัณฑ์ 8705 เท่าที่คบมา บางอย่าง ก็เอามา เป็นประโยชน์ได้ แต่ต่อมา ก็เหลวไหล เลวร้าย ก็ต้องของด แต่ที่คุณ 8131 ยืนยันชัดเจนว่า สมาธิหลับตาอย่างเดียว นำพาจิตวิญญาณ ถึงนิพพานได้ โดยไขความว่า ถ้าสัมผัสกายนอก ก็ต้องถูกบงการ ไปที่ในใจอยู่ดี แล้วมันจะสงบ ได้อย่างไร ซึ่งเป็นความเห็น ที่น่าสงสารมาก เพราะความเห็นของ พระพุทธเจ้า ตรงข้ามเลย อย่างบางสาย สอนว่า อย่าส่งจิต ออกนอกตัว แล้วทำใจ ให้สะสมพลังงาน แต่ไม่มีพลังปัญญา ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่คือความจริง ที่พิสูจน์ได้ จิตวิญญาณ ก็พิสูจน์ได้ แต่อย่างเขาทำ มันคลุมเครือ ไม่ชัดเจนชัดแจ้ง ที่พ่อครูจะขยายนั้น ต้องมีการสัมผัสสัมพันธ์ ข้างนอกข้างในๆ อยู่ตลอดเวลา และคุณ 8131 ว่า สมาธิหลับตากับลืมตา ใครมีก่อน และใครจิตสะอาดกว่า และสมาธิไหน ต่อแดนนิพพาน จิตว่างกว่ากัน ถ้าแน่พอ ตอบมา หรืออวิชชา จนหลงลืมทารกเสียแล้ว พ่อครูว่าไม่เข้าใจคำว่า หลงลืมทารก แต่จะตอบ... พระพุทธเจ้าว่า ท่านไม่รู้จักที่ต้น เช่นว่าวิญญาณเกิด ตั้งแต่เมื่อไหร่ พระพุทธเจ้าว่า ท่านไม่รู้ที่ต้น แต่รู้ว่า มีอวิชชาเป็นเหตุปัจจัย ถ้ารู้แจ้งกำจัดอวิชชา ก็จะรู้จัดการ เหตุปัจจัย ถ้าสัมผัส สัมพันธ์แล้ว ไม่เกิดกิเลส ล่ะนี่สิ ยิ่งใหญ่ ไม่เกิดอวิชชา ไม่เกิดกิเลส ไม่เกิดผูกพัน แต่อาศัย เราก็รู้อาศัยได้ เราอาศัยจิตวิญญาณได้ ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนคำว่า อาลัย คือแปลว่า ที่อยู่ มีเชิงของอาศัย และปักอยู่ เป็นภาษาละเอียด พ่อครูว่า สมาธิหลับตากับลืมตา อันไหนมีก่อน ถ้าใครคิดว่า สมาธิหลับตา มีมาก่อน คุณก็หลงว่า สมาธิหลับตาชนะ แต่ที่จริง มันไม่แน่ ก่อนหรือหลัง ไม่จำเป็นต้องรู้ ที่จะต้องรู้คือ เมื่อสัมพันธ์แล้ว คุณติดยึดหรือไม่ คุณทำไม่ได้ ก็ถูกผูก (สังโยชน์)ไว้ คุณสามารถไม่ผูก ได้หรือไม่ เมื่อสัมผัสอยู่ ซึ่งเป็นภาวะจริงที่เกิด แม้ไม่รู้ มันก็ผูกอยู่ดี แต่คนที่รู้แล้ว เข้าใจแล้ว ไม่ผูกได้แล้ว ท่านทำลาย ความยึดในโลก ได้แล้ว ตั้งแต่โลก อย่างหยาบ ไปจนถึงละเอียด อย่างหยาบที่เราควรรู้ เป็นสมาธิที่รู้ อะไรควรทำ ก่อนหลัง นั้นคือ สมาธิที่ควรทำ ดั้งนั้น สมาธิหลับตา หรือลืมตา อะไรเกิดก่อน นั้นพระพุทธเจ้าสอน ให้ลืมตาทำ แล้วสบาย หลับตาทำ ก็สบายแน่นอน แต่ถ้าหลับตาทำ สบายได้ ลืมตาทำแล้วไม่สบาย อย่างที่คุณว่า กายนอกบงการจิต ทำใจในใจ ยังถูกบงการอยู่ดี ก็เพราะคุณ สู้มันไม่ได้ คุณอ่อนแอมากเลย จึงยืนยันชัดเจนว่า คุณไม่มีทาง ดับกิเลสได้เลย ธรรมะของพระพุทธเจ้า ต้องมี สติ องค์โพชฌงค์ คือมีสติก่อน แล้วจึงมีธัมวิจัย คือต้องมี สัมผัสก่อน การปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้า ต้องรู้จักชาติ ตัวชาติเป็นตัวศึกษา ท่านแบ่ง ชาติไว้ ๕ คือ (ชาติ สัญชาติ โอกกันติ นิพพัตติ อภินิพพัตติ) พ่อครูก็อธิบายตามความรู้ ของตัวเองว่า แต่ละความหมาย ของชาติ มีความหมาย อย่างไร ในพระไตรปิฏก ท่านแปล ชาติ คือความเกิด สัญชาติ คือความบังเกิด โอกกันติ คือความหยั่งลง นิพพัตติ คือการเกิด อภินิพพัตติ คือความเกิดจำเพาะ ภพ มี กามภพ คือภพที่เกี่ยวเนื่องกับ ภายนอก ทวาร ๕ เป็นภพหยาบ ที่ต้องรู้ก่อน เขาถามว่า สมาธิหลับตา กับสมาธิลืมตา อันไหนเกิดก่อน เพราะมันนานแล้ว ที่พระพุทธเจ้า สอนมา พระพุทธเจ้า ก็ปฏิบัติผิดมาก่อน ๖ ปี จนตรัสรู้ ท่านจึงมาสอน ลืมตา แล้วสอนให้รู้หยาบ กลาง ละเอียด พ่อครูก็เคยหลง ปฏิบัติผิด หลับตามาก่อน ในปฏิจจสมุปบาท ในพระไตรฯ เล่ม ๑๖ หลายสูตร ท่านอธิบายได้ มีข้อสังเกตว่า มีภพ ท่านแจกไว้ ๓ อย่าง คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ ส่วนอุปาทาน ท่านแจกไว้ ๔ (กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน ศีลพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน) แต่พอไปถึง ตัณหา ท่านตรัสถึง ตัณหา ๖ (แทนที่ท่าน จะตรัสถึง ตัณหา ๓) หมายความว่า จะศึกษา ปฏิจจสมุปบาท ต้องศึกษาตัณหา ๖ แต่ต้องเข้าใจใน ตัณหา ๓ ไปด้วย ก็คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ แต่ว่าคนไปจัด กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา คนมักแปลผิด เรื่องวิภวตัณหา ว่าเท่ากับอรูปภพ แต่ที่จริง วิภวตัณหา นั้นสูงกว่า อรูปภพอีก อายตะก็มี ๖ แล้วก็มีนามรูป ท่านก็ให้แยก มี ๕ อย่าง พอไปถึงวิญญาณ ก็วิญญาณ ๖ อีก หมายถึง ตาหูจมูกลิ้นกาย เป็นหลัก เพราะอายตนะ เกิดเพราะมีสัมผัส เมื่อสัมผัส ก็เกิดสัมพันธ์ ถ้ามีปัญญา ก็ควบคุมสัมพันธ์ได้ แต่ถ้าไม่มีปัญญา ก็จะมั่ว เอาตัวพิษภัย มาสัมพันธ์กัน ดีไม่ดี ก็ผสมพันธ์กันนัวเนีย เช่น มีกามมาผสม สังขารก็เป็น กามสังขาร เป็นอสุจิ (คือความไม่สะอาด) มันจึงเป็นรากศัพท์ ของการผสมพันธ์ ผู้ใดมีปัญญาแยกแยะ ตัวผีร้ายได้ คือตัวกาม ที่เกิดจากการสัมผัส ทวารนอก ท่านแบ่ง ที่หยาบมาก คือ "อบาย" คือแบ่งออกไป เป็นอันหยาบทำก่อน ทำทีเดียวไม่ไหว ต้องทำระดับ อบายก่อน เมื่อสัมผัสสิ่งนี้ แล้วก่อกิเลส ก็ทำก่อน ศีล ๘ ให้ระวัง ในรูปสวยรูปงาม เรายังไม่ไหว ก็เอาศีล ๕ ลดละ เรื่องหยาบก่อน ถ้าเพ่ง ที่เอาเรื่อง เพศผู้ชายผู้หญิง เรื่องเมถุนธรรมก่อน เราเอาแค่ มีผัวเดียว เมียเดียวก่อน ถ้ามากกว่านี้ ไม่ไหวแล้ว หยาบเกินแล้ว ที่มี ๖ คือ ต้องสัมผัสทาง ตาหูจมูกลิ้นกาย ส่วนใจนั้น มันโดยปริยาย อย่างคนตาย ไม่มีธาตุวิญญาณ แต่ว่า ตาหูจมูกลิ้นกาย เขาก็มีอยู่ แต่เขาสัมผัสแล้ว เขาก็ไม่รู้อะไร เพราะมันไม่มีใจ ดังนั้น คุณไม่ต้องแยกหรอก คือให้เข้าใจว่า เมื่อสัมผัสนอก ก็จะรู้โดย ปริยายในใจ แต่บางคน เป็นเอ๋อ เป็นบ้า เขาอยู่ในภพ เขาเห็นอย่างไร ก็ไม่เกี่ยว ได้ยินอย่างไร เขาก็ไม่รู้ด้วย คือมันไม่รับ แต่คนนั่งหลับตา เจตนาไม่รับ นอกจาก ไม่รับแล้ว ก็หลับตา ปากก็หุบ แต่หูแม้ได้ยิน เขาก็ตัดได้อีก รับเสียงมากระทบ แต่เขาสามารถดับ ไม่รับความรู้ จากหู จากกลิ่น จากเย็นร้อน อ่อนแข็ง แล้วเขาก็หลง ว่าเก่งอีก แต่มันผิดธรรมชาติ ไม่อยู่ในชีวิตปกติ แต่ว่าถ้าคุณอยู่อย่างปกติ แต่ไม่ให้มัน มีอำนาจเหนือเรา เราอยู่เหนือมัน และเรายังสามารถ อาศัยมันใช้ได้ เช่นคน สามารถจับงูได้ รีดพิษงู มาทำซีรั่มได้ รู้ว่าเกินไปแค่ไหน จะเป็นโทษ เอามาแค่ไหน มาใช้ประโยชน์ นี่คือ อำนาจปัญญารู้ สามารถกำหนดได้ นี่คือ การอยู่เหนือ การปฏิบัติพระพุทธเจ้า จึงให้ทำตั้งแต่ ของหยาบก่อน ต่อไปพ่อครูจะได้สาธยายเรื่องสำคัญ ทั้งหมดต้องมีสติ เป็นตัวนำก่อนเลย แต่ไม่ใช่ว่า มีสติ รู้ นิ่ง เฉย อย่างนั้นผิด เราต้องรู้รอบ รู้กุศลอกุศล และรู้ว่า ต้องกำจัดเหตุแห่งอกุศล แต่กุศล เราก็อาศัย แต่ไม่ยึด ถ้าไม่ชัดเจน แต่หยาบ-กลาง-ละเอียด ก็จะล้างไม่ได้หรอก ถ้าไม่ทำมา แม้อยาก จะเอาออก ในตัวละเอียด คุณก็ทำไม่ได้หรอก เพราะคุณไม่สามารถทำมา ตั้งแต่ตัวหยาบ เป็นเบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย คำว่า พุทธานุสสติ ท่านแยกว่า ต้องตามรู้อะไรอีก ธัมมานุสสติ... สังฆานุสสติ... เราจึงควรมีสติรู้กายคตะ คือมีการดำเนินไป กับองค์ประชุมหยาบ ก่อนเถอะ ก่อนไปเรียนรู้ ในภพที่ตายแล้ว คือตายแล้ว ต้องทิ้งทวาร ๕ หมดอยู่ดี เราจึงต้องเรียนรู้ กายคตาสติก่อน จึงจะไปเรียนเรื่อง ละเอียดต่อไป กายคตาสติ คือพยายามใช้ธาตุรู้ ของเราไปรู้ มีตั้งแต่ สติ สัมปชัญญะ รู้ว่าเรามีกิเลส แล้วมีวิธี จัดการกำจัด คนทั่วไป ก็ระงับได้ มีมารยาทสังคม ทำตามสัญชาตญาณ มันก็ทำการ กดข่มระงับ ให้ไม่ออกไป หรือออกไป พอสมควร จะให้ออกไป แค่ไหน จึงเหมาะ เป็นต้น สติจะต้องนำพาปฏิบัติ อยู่ตลอดเวลา เมื่อคุณมี พุทธานุสสติ เรียนรู้ความเป็น พุทธะตาม ตั้งแต่ปริยัติ เมื่อปฏิบัติ ก็ได้สิ่งทรงได้ไว้ เป็นธรรมะ คุณก็ตามรู้ สิ่งที่ได้นี้ ให้เป็นแก่นแกน เป็นกอง เป็นสังฆะ เมื่อได้สมบัตินี้มา ซึ่งเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกับ ของพระพุทธเจ้าได้ ก็เป็นคนที่มีธรรมะ อันเป็นของพุทธ ซึ่ง พุทธ-ธรรม-สงฆ์ นั้นแยกกันไม่ได้ คือ เอกธัมมาทิบาลี ต่อจากนั้นเป็น ศีลานุสสติ คือหลักเกณฑ์ปฏิบัติ ตามแต่ละคน กำหนด ถ้าเข้าใจว่า ทำเพื่อละ หน่ายคลาย ก็ต้องรู้ว่า ปฏิบัติศีล ให้เกิดอะไร ต้องปฏิบัติตามลำดับศีล พิสูจน์ศีล ไปทีละระดับ เพื่อให้เกิด การจาคะ คือการเอาออก เมื่อเอาออกได้ ก็มี จาคานุสสติ ก็มีจิตสูงจิตเจริญ ก็มี เทวตานุสสติ (เทวดา มีเทวดาหลอก กับเทวดาอุบัติเทพ และวิสุทธิเทพ) เทวดาหลอก คือสมมุติเทพ คือบำเรอกาม บำเรออัตตาตนเอง เราต้องเลิกจากเทวดาเท็จ ทางอบายมุขก่อน เมื่อลดละได้ เป็นเทวดาสูงขึ้น ก็จะถึง ความสงบ อุปสมานุสสติ คือผู้ถึงซึ่ง ความสงบ จากกิเลส ต้องละอัตตา คือโอฬาริกอัตตา มโนมยอัตา -อรูปอัตตา โดยต้องสัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย (กาเยน ผุสิตวา วิหรติ) สัมผัสให้ครบ คือสำเร็จอิริยาบถอยู่ และต้อง สัมผัสอยู่ ทุกอานาอาปานะ ทุกมรณสติ คือมีสติรู้ว่า ตายอย่างไร คือตายอย่างไม่ตาย ตายอย่างมรณะ หรือตายอย่างอรณะ (กิเลสตาย) ผู้อรณะคือ ผู้ตายที่ไม่ตาย เรียกอรณะว่า อมตะ คือ อมตะบุคคล [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่บริโภคแล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ไม่บริโภคแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด บริโภคแล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น บริโภคแล้ว คุณก็จะรู้จักมรณะ (การตาย) ตายอย่างร่างกายตาย ตายอย่าง กิเลสตาย ตายอย่าง คนที่ไม่ยอมตาย คืออมตะบุคคล แต่เป็นผู้ที่ รู้จักตาย เวทนาเป็นตัวหลัก เป็นแดนปฏิบัติ เป็นที่ประชุมลง เกิดเป็นเวทนา แล้วก็เกิดทั้งกาย ดั้งนั้น กายในกาย เกิดจากอะไร? เกิดจากกายนอก เมื่อเกิดสัมผัสกายนอก มันก็จะ มาเกิดกายใน คือเป็นความรวมกัน ประชุมกันอยู่ เป็นสภาวะ แต่ก็รู้ และไม่ทิ้งกายนอก ยังรู้อยู่ สัมผัสอยู่หลัดๆ ณ บัดนี้ วิหรติ (สำเร็จอิริยาบถอยู่) แม้สัมผัสอยู่ อย่าง กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ( คำว่ากาย คือต้องรวม ทั้งนอกและใน และมีนามกาย สุดท้ายทรงไว้ ก็คือธรรมกาย) (ทรงไว้) คำว่าธรรมกายนี้ ไม่ได้เห็นอย่าง มโนมยอัตตา ที่เป็นตัวใสๆ หรอก แค่ทรงไว้ซึ่งธรรมะ ทุกระดับ โสดาบันก็คือ มีจิตมีสภาวะ ของโสดาบัน เห็นด้วยอาการ ลิงค นิมิต ไม่ใช่เห็นเป็น วัตถุแท่ง ก้อนใสๆ อย่างนั้น ไม่ใช่ไปปั้น มโนมยอัตตา เป็นรูปใส แต่เป็นความสะอาด จากสิ่งที่เราล้างออก สำคัญคือ ต้องรู้ว่า เราล้างอะไร ล้างอย่างถาวรด้วย ไม่เหลือเลย ตรวจสอบได้ด้วย อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ คำตอบว่า ลืมตากับหลับตา อันไหนมาก่อน ก็ตอบว่า อันไหนมีประโยชน์กว่า ก็เอาอันนั้นก่อน ในความหมายคำว่า สติ ตามอนุสสติ สติจึงเป็นตัวที่ ต้องเข้าใจ อย่างละเอียดเลยว่า มีกายคตาสติ มรณสติ อานาปานสติ ซึ่งไม่ใช่อนุสสติ พ่อครูตั้งข้อสังเกต ให้ฟังว่า อันนั้นตามรู้ แต่อันนี้ตามเห็น อย่างอานาปานสติ คุณก็ต้องตามเห็น ต้องมีสติรู้ ลมหายใจเข้าออก แล้วคุณก็ต้องเห็น มรณสติให้ได้ มีสติรู้ การตาย ต้องรู้ว่าตายอย่างไร ที่คุณจะทำได้ จนเป็นอมตบุคคล ถ้าคุณมีจิตวิญญาณ ทำได้แล้ว คุณจะไม่กลัวตายหรอก การตายก็คือ สภาวะอย่างหนึ่ง เท่านั้นเอง แค่ร่างกายตาย ถ้าคุณมีจิตวิญญาณ ที่เข้าใจการตาย ดีพอ จนกระทั่ง สามารถควบคุม และทำมันได้ ว่าเป็นวิญญาณ ที่มีหลักประกัน ตั้งแต่โสดาบัน เป็นต้นไป คุณจะทำบาปน้อยลง เพราะคุณ ชำระกิเลสเป็น คุณจะเริ่ม ไม่ค่อยกลัวตาย ทางร่างกาย เพราะคุณ ทำตายเป็น ตายแบบ อสังกุปปัง ไม่กลับกำเริบ ไม่ฟื้นอีก ทุกลมหายใจเข้าออก คุณก็รู้ว่า ปฏิบัติอย่างไร ตามเห็นความสงบ อุปสมะ คือสงบที่ไม่ใช่ สงบหยาบ แต่สงบอย่าง สันตา ปณีตา นิปปุนา (ละเอียดลึกซึ้ง อย่างนิพพาน) สงบอย่าง ไม่มีตัวนิวแซน ให้ไม่สงบเลย มีองค์คุณ อุเบกขา ( ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา ) สว่างแจ้ง อยู่ตลอดเวลา ไม่มีมืดสักเวลา แม้แต่นอนหลับ ก็ไม่มืด คือ สว่างด้วยปัญญา คนที่มีฐาน อนาคามีขึ้นไป จิตสงบจากกิเลส ไปได้เยอะเลย โดยเฉพาะกามภพ หมดหยาบ ไปได้เยอะ จึงมีละเอียดให้รู้ อยู่ในภพเท่านั้น ก็จะรู้ว่า โลกโลกียะ ทางตาหู จมูกลิ้นกาย โลกธรรมนี่ ท่านหมดทุกข์หมดสุข กับมันแล้ว ท่านสัมผัสแตะต้องก็ อทุกขมสุข ท่านจะหลับตา หรือลืมตา ก็ไม่ทุกข์ไม่สุขแล้ว อนาคามี ดับแล้วใน กามานุสัย ปฏิฆานุสัย ทิฏฐานุสัย เหลือแต่มานานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย พระอนาคามี ก็ดับภพ กามราคะสังโยชน์ กับปฏิฆะสังโยชน์ เหลือรูปราคะ อรูปราคะ มานะก็อยู่ในใจเท่านั้น ทีนี้คุณเห็นผลว่า ที่ปฏิบัติมานั้นได้ดี ดีที่ได้ธรรมะ ดีกว่าได้ ยอดเพชร ยอดทอง ดีกว่าได้ มหาสมบัติในโลก ดีกว่าได้โลกทั้งโลกอีก แบกหนักตายเลย มันหลุดพ้นมา มันสบาย เพราะฉะนั้น ลืมตา คุณก็ไม่มีปัญหา คุณอยู่เหนือ มันแล้ว หลับตา มันก็ไม่เข้าไป กวนคุณแล้ว คนที่มี อนาคามีภูมิขึ้นไป นอนหลับจึงฝัน หรือมีนิมิต เรื่องราว ที่จะคิดจะนึก ตื่นอยู่ที่จะรับรู้ จะปรุงแต่ง จะคบหา สัมผัสสัมพันธ์ กันอยู่ ก็ไม่มีเรื่อง รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส หรือโลกธรรม เข้าไปยุ่งกับ อนาคามีภูมิ เรื่องพวกนี้ คุณไม่เอาเข้าไป ข้างในแล้ว หรือข้างในของคุณไม่มี หรือจะลืมตา สัมผัสอยู่กับ ลาภยศ สรรเสริญ โลกียสุข ท่านจะอาศัย ใช้สอยก็ได้ อนาคามี จะนอนสบาย ขนาดไหน แล้วถ้าอรหันต์ จะหลับสบายขนาดไหน ท่านจันทร์ว่า นอนสอนเทวดา เทวตานุสสติ คือจิตสูง ผู้ที่มีจิตสูง ในระดับอนาคามี พอนอน ก็มีแต่เรื่องธรรมะ มีแต่เรื่องดีๆ โดยเฉพาะ อนาคามี ที่ยังมีทรถา ยังมีความกระวน กระวายอยู่ ก็ยังมี สังโยชน์เบื้องสูง ก็จะมีแต่เรื่องดีๆ มาคุยกัน เราคุยกับเทวดา ในตัวท่านเอง พระพุทธเจ้า ท่านเหนือ เทวดามารพรหม จึงไม่มีว่า เทวดามาสอนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามีแต่ คุยกับเทวดา จิตหรือปัญญาอะไร จะสูงกว่าพระพุทธเจ้า ถ้าท่านจะคุยกับเทวดา ก็เทวดาของท่านเอง ที่ท่านตรัสว่า คุยกับเทวดา นั่นตรัสเป็น บุคคลาธิษฐาน เท่านั้น เพื่อสื่อให้เข้าใจ ท่านจันทร์สรุป ในอนุสสติ ๑๐ พุทธานุสสติ คืออะไร ก็คือสั่งสม ๙ ตัวหลัง ของอนุสสติ ที่เหลือ พุทธานุสสติ ไม่ได้แค่ระลึกถึง พระพุทธเจ้า แต่ว่าให้ตามรู้ ความเป็นพุทธะ ในตัวเราเอง เราปฏิบัติ จากนอกไปหาใน จากหยาบ ไปหาละเอียด การมีสติ ต้องมีปัญญา ไม่ใช่แค่รู้นิ่งเฉย นั่นไม่พาบรรลุธรรม คนจำนวนมาก คือคนตาย คือคนที่มี ลมหายใจ แต่ไม่ได้กำหนดรู้ ตามลมหายใจตนเอง ไม่ต่างจาก คนตายไปแล้ว เราได้เรียนรู้ ทั้งสัมผัส คือทางกาย สัมพันธ์ทางใจ เราต้องเรียนรู้ คู่กัน......... จบ |
||
|