560422_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครูและอ.กฤษฏา
เรื่อง ถอดบทเรียนตลาดอาริยะอย่างไร ทำไมจึงไปรอด

         อ.กฤษฏา เปิดรายการที่ปฐมอโศก

ในช่วง ๒ สัปดาห์ที่ผ่านมา  มีตลาดน้ำอาริยะ ที่ยิ่งใหญ่ เป็นปีใหม่ไทย ๒๕๕๖ ประเด็นสำคัญ ที่อยากจะพูดคุยกัน วันนี้คือ อยากถอด บทเรียน ตลาดอาริยะ และวันนี้ ที่ปฐมอโศก มีค่ายยุวพุทธทายาท ครั้งที่ ๒๘ วันที่ ๒๒-๒๖ เม.ย. ๕๖

พ่อครูว่าเด็กตั้งแต่ ๗-๒๕ ขวบก็มาร่วมกัน แต่ตอนนี้เด็กกว่า ก็มาได้แล้ว เราสอนเด็ก ทำกิจกรรม มาสามัคคีกัน ก็ยาก เพราะเด็กเป็นร้อย  ปีนี้ ๘๐ กว่าคน  แต่ก่อนเราจัด มีคนมามาก บางปี เคยสูงถึง ๔๐๐ คน ให้เขาได้เรียนรู้ ให้เกิดปัญญา ให้เด็มมาฝึก เข้าหมู่ชน เป็นเรื่องศีลธรรม ไม่ค่อยมีวิชาการ ให้รู้จักสังคม ให้ฝึกเรื่อง คุณธรรมจริงๆ ให้ทำเป็นตั้งแต่ หุงข้าวด้วยฟืน  พ่อครูว่า เอาก้อนเส้ามาตั้ง จะได้กินหรือไม่ ก็ไม่รู้ แต่เขาก็ทำมาใส่บาตรได้

เด็กมาอยู่ ๕ วัน ก็อย่างน้อยดีกว่า มาวิ่งเล่นเปล่าๆ มีการฝึกเด็กทำขนม และทำอาหารด้วย เด็กได้เรียนรู้ การเป็นอยู่ เป็นวิถีภูมิปัญญาไทย พ่อครูว่า เขามีค่าย ชีวิตดีทีละก้าวด้วย สำหรับผู้ใหญ่ มาเข้าค่าย ถือศีล ๘ เหมือนทางสันติฯ เรียกค่ายศีล ๘ บางคนเอาลูกมา เข้าค่ายยุวพุทธฯ ตัวเองก็มาเข้าค่าย ถือศีลด้วย ไม่ได้เก็บสตางค์ ในการมาเข้าค่าย ที่นี่บรรยากาศดี

ในเรื่องของตลาดอาริยะ อ.กฤษฏา ดูในโทรทัศน์ก็คิดว่า ผู้ที่ทำตลาดอาริยะ เขาได้อะไร และผู้ซื้อได้อะไร ถ้าเรามีวิธีคิด อย่างตลาดทั่วไป อยู่ๆคุณมาขายลดราคา ก็ยังต้อง มีกำไรอยู่ ถ้าความเข้าใจในกำไร ไม่ถ่องแท้ ก็ไม่เข้าอาริยะ และอะไรคือกำไร ที่ถ่องแท้ ของคนขาย และคนซื้อ

พ่อครู ว่าประเด็นคำว่า "กำไร" ภาษาบาลีท่านว่า "อัตถะ" หรือประโยชน์ หรือรายได้ อีกอันหนึ่งใช้คำว่า "ปฏิลาโภ" หรือ "ปฏิลาภ"

คนเราถ้ามีอวิชชา จะมองเห็นการได้เปรียบ ว่าเป็นกำไร เป็นประโยชน์ เป็นรายได้ ของชีวิต คนเราถ้าได้เปรียบคนอื่น แล้วเรียกอันนี้ว่ากำไร อันนี้เป็นอวิชชา ถ้ามองตื้นๆ ก็เป็น สมมุติสัจจะ คนมองทั่วไปว่า เราได้รับผลประโยชน์ เป็นกำไร เป็นสมมุติที่ คนเห็นรับได้ ร่วมกัน

แต่โดยปรมัตถสัจจะ (คือประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่) ถ้าจะเจาะคำว่ากำไร คือผลได้ อย่างที่ ควรจะเป็น ความจริงที่ยิ่งใหญ่ แทนที่เราจะดีใจสมใจ ที่ได้เปรียบ เมื่อเราดีใจ สมใจ กิเลสเรามีอยู่ กิเลสมันก็อ้วน กิเลสไม่ได้สมใจ ก็ดิ้นรนเดือดร้อน พยาบาทไว้ อยู่ตลอดเวลา มันก็เกิด การสมราคะ หรือพยาบาท กิเลสของผู้อวิชชา ก็เกิดอยู่ ทุกอิริยาบท มีชีวิตที่ได้เปรียบ คือน่าเกลียดมาก คนทั่วไป ก็มีแต่เอาเปรียบ มากกว่า มาเสียสละ

เช่น ถ้าทำทานไปสละ ก็เอาวัตถุไปสละ เอาข้าวของเงินทองไปสละ แต่เสร็จแล้ว ใจไม่ได้สละ ทำใจในใจไม่เป็น คือโยนิโสมนสิการ ทำใจในใจไม่ถึงจิต เจตสิก แล้วก็ทำให้ไม่เกิด กามกับพยาบาท แต่มนุษย์เราอวิชชา ก็จะสะสม กามกับพยาบาท ตลอดเวลา

ผู้ที่รู้แล้ว ต้องทำใจในใจให้ถูก แม้แต่สอนทำทาน บางคนบอก ตนเป็นอรหันต์ แต่บอกให้ ทำใจในใจ ให้บำเรอกิเลส สมมุติว่า ให้ผลไม้ พ่อครู เอาลูกเกาลัด ปลูกที่เนินพอกิน ปฐมอโศก แล้วเราปลูกหรือซื้อมา เราก็ไปทำทาน เอาไปให้พระ คั่วไปเลย อย่างดี พอเอาไปทำทาน  แล้วก็สาธุ ขอให้ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ มีกรรมกิริยา ทางกายให้ เปล่งกล่าววาจาว่า ทำทาน (อิมินา สักกาเรนะ.... นิพพานัง ปัจจโย โหตุ) แต่ของจริงในใจกลับโลภ ตั้งจิตขอให้ถูกหวย ขอให้ได้พันล้าน แสนล้าน จิตไม่ได้ละโลภ มีแต่โลภ มากกว่าเก่า เอากำไรมากกว่าเก่า ได้เปรียบมามากๆ จิตเป็นจริง มีมโนกรรมจริง

อ.กฤษฏา ว่ามีธุรกิจน้ำเมา จะโฆษณาว่า ตนเองบริจาคผ้าห่ม แล้วมีตราของบริษัทไป ก็คือเขาหาทางเอาเปรียบ ทุกอย่าง พ่อครูว่า คุณจะบริจาคอะไรก็แล้วแต่ คุณก็ต้องการ เอามา มากกว่าเก่า อย่างบริจาคสร้างกำแพงวัด คุณก็เขียน ชื่อตนเองติด โฆษณาตนเอง คุณก็ไม่ได้ทำใจในใจ (มนสิกโรติ) ให้ละกิเลส

โยนิโสมนสิการ ท่านทั่วไป แปลว่า ทำไว้ในใจ หรือทำใจในใจ แล้วทำเป็นไหม? คือทำให้ มันล้างกาม ล้างพยาบาท ซึ่งเป็นกิเลสหลักของชีวิต หรือละโลภ ละโกรธ หรือ รู้จักอาการ โลภ-ราคะ-กาม คืออย่างไร แล้วได้ทำ ให้อาการจิตนั้น ออกไป คือเนกขัมมะ

เอาออก ไม่ใช่เอาเข้า ว่าเราต้องได้ ต้องมี ต้องเป็น แล้วจิตมีมโนกรรม อย่างนั้น คือปรมัตถสัจจะ ที่ต้องรู้จักกำไร รู้จักประโยชน์ที่แท้ เราให้แล้ว ใจเราต้องสละด้วย

ยิ่งเราเอาวัตถุ ไปแลกวัตถุ เราก็ต้องให้เขา ได้วัตถุที่เราให้ มากกว่าที่เราได้กลับมา เราจ่ายไป ๑๐๐๐ เขาคืนเรามา ๘๐๐ เราก็ได้เสียสละ ๒๐๐ นี่คือ เราทรงไว้ซึ่ง ปรมัตถสัจจะ ปรมัตถธรรม นี่คือกำไร ที่เราควรได้ เราจะทำอย่างไร

แล้วมาอธิบายความหมาย คำว่าประโยชน์ หรือ อัตถะที่เราควรได้

ถ้าเข้าใจความหมาย ของจิตจริงๆแล้ว เราก็มีสติสัมปชัญญะ ให้ละกาม ละพยาบาท ได้อย่างแท้จริงทุกคราวที่เรา ได้เกี่ยวข้องสัมผัส ถ้าเรารับ เราก็จะรู้ว่า เราเอาเปรียบนะ โดยปรมัตถ์ เราจะต้องเอา สิ่งที่ได้มาไปสละต่อ ไม่ใช่ว่า มาบำเรอตน เราเอาไปทำ เป็นเนื้อนาบุญ ไม่ใช่ว่าเอาเป็นทรัพย์ เป็นทุนของเรา เป็นอัตตา อัตนียา สะสมเป็นของๆ ตน หนักหน้า ผู้ไม่ศึกษาความจริง จะไม่เข้าใจเรื่องซับซ้อน ทวนกระแสนี้ (ปฏิโสตัง)

อ.กฤษฏา ว่าตนพยายามทำความเข้าใจ ในตลาดอาริยะ มองรูปธรรม ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ปรากฏการณ์ ที่ทำให้เกิดขั้น เป็นรูปธรรม ที่ค้าขายจริง เห็นตัวเลขจริงเลยว่า ขายทุนเท่าไหร่ กำไรอาริยะ เท่าไหร่ กับเห็นนามธรรม ว่าในแต่ละชุมชน เดิมเรา เคยขายที่ ๒๘๐ ตอนนี้เราขาย ๑๘๐ ก็ต้องมาประชุมกัน  เป็นเครื่องวัดนามธรรม ที่ต้องรู้ร่วมกัน

พ่อครูว่า มันซับซ้อนหลายชั้น เอาผู้ให้ตั้งใจจริง ว่าเราจะเป็นผู้ให้ผู้สละ ได้เสียสละ นี่แหละคือเราได้ ทีนี้พวกเรา ก็ดูตัวเอง ว่าเรามีทุนเท่าไหร่ ถ้าเรามี ๕๐๐ เราจะสละ ๑๐๐๐ ก็ทำไม่ได้ แต่ถ้าเรามี ๕๐๐ เราจะเสียสละ ๔๐๐ แล้วเราอยู่ไม่ได้ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น

การประมาณสำหรับตนเอง ก็ประมาณว่า ตนเองมีเท่าไหร่ เรามาประชุมกัน ว่าเรา จะกำไรอาริยะ หรือเสียสละ เท่าไหร่ พูดตัวเลขจริงๆเลย ในตลาดน้ำอาริยะ ที่ผ่านมา

เราเตรียมงานร่วมลงขัน มีเงินประมาณ ๖ ล้าน แล้วพ่อครู มีคนมาให้อีก พ่อครู ก็สมทบอีก ๑ ล้านเป็น ๗ ล้าน แล้วเราจะขาดทุนเท่าไหร่ สินค้าเราจะขายเท่าไหร่ บวกลบคูณหาร รวมแล้ว ถ้าสินค้า ที่เราซื้อมา เท่าไหร่ แล้วเราจะขาดทุน ๓.๕ ล้าน ก็จะเหลือ ๓.๕ ล้าน แล้วอาหาร  เราขายจานละ ๑บาททุกอย่าง ทั้งสองฝั่งเลย เราจะขาดทุนอาหาร อีกเท่าไหร่ เราคิดสรตะมา

ก็กะกันว่า จะเอาเงินก้อนนี้ ไปจ่ายสำหรับขาดทุน สำหรับทุน ที่เราต้องไปซื้อมาก่อน บางอย่าง คืนได้ ถ้าขายไม่หมด บางอย่างเขาไม่ให้คืน เราก็ต้องซื้อไว้ ทั้งส่วนกลาง และของส่วนตัว ของแต่ละคน ของส่วนบุคคล เราไม่ได้คิด

ปีนี้เราจะขาดทุนประมาณ ๗ ล้าน กำไรอาริยะ แต่ที่จริง เราขาดทุน มากกว่านั้น อาจเป็น ๑๐ ล้านเพราะเราไม่คิด ค่าแรง ค่าเครื่องเสียง ค่าเต๊นท์ ค่าสถานที่ ค่าเรือ ค่าน้ำมัน เราไม่คิด แต่ถ้าที่อื่นทำเ ขาต้องไปเช่าสถานที่ เช่าอุปกรณ์ คนมาเป็นแสน ในสามวัน คนมาเป็นแสน ถ้าทางธุรกิจเขาคิด พ่อครูว่า ลักษณะที่ขาดทุน ให้เห็น ๗ ล้านนี่ คนที่ช่วยกันทำเป็น ๑๐๐๐ คน คิดค่าแรง วันละ ๓๐๐ ยังมีเราแจกอีก ในสินค้า หรือพืชพันธ์ ธัญญาหาร ดนตรีเราก็ไม่ได้จ้าง รวมงบที่จัดจริงแล้ว ๓๐ ล้านไม่อยู่ ถ้าให้ทางการเขาจัด อาจถึง ๕๐ ล้านบาท

แต่ที่เราได้ คือจิตเราได้เสียสละ พฤติกรรมที่เราได้เสียสละนั้น มีคุณค่ามหาศาล รายได้หลักเราคือได้ละกิเลส และเรายังได้อดทน ได้สามัคคี ได้สังคม คิดเป็นมูลค่า มหาศาล ร้อยล้านพันล้าน ซื้อไม่ได้เลย

งานนี้สังเกตว่า ลานจอดรถ มีรถจอดเป็นพันคัน พอเสร็จงาน ไม่ต้องเก็บกวาด ขยะไม่ค่อยมีเลย มันเป็นไปได้อย่างไร มันก็มีเศษนิดหน่อย ทั้งข้างในข้างนอก เราจัดมา ๓๔ ปีแล้ว สร้างนิสัย ให้ผู้ที่มา รู้แล้ว

คนที่มาเป็นแกนรู้แล้ว เขาชวนกันมา ก็จะรู้ว่า ควรทำอย่างไร เรื่องสังคมศาสตร์นี้ ตีราคาไม่ได้  เสร็จงานแล้ว ไม่ต้องเก็บกวาดมาก หาได้ที่ไหนในโลก

เขาส่งตำรวจมาให้สองคน คนมาเป็นแสนนี่ แล้วเขาก็มี อปพร.อีก ๑๐ คน เราก็ไม่ว่าอะไร และก็ไม่เกิดเรื่องเลย แม้แต่มิจฉาชีพ ล้วงกระเป๋า ขโมยของ คนแน่น ขนาดนี้ ไม่ค่อยมีเลย ของหายได้คืน

เป็นพัฒนาการของ สังคมศาสตร์ มีคน sms มาว่า ไปสอนให้คนขี้โลภ ขายถูก เขาก็ต้องมาเอาเปรียบให้คนอยากได้ พ่อครูว่า จริงเขาอยากได้ แต่เขาก็ต้องมีสำนึก คนให้เข้าคิว ไม่แย่งกัน มีมารยาทสังคมน่าเอ็นดูมากเลย ผู้ซื้อได้ขัดเกลากันจริงๆ ถ้าคนมองตื้นๆ ก็มาว่าสอนให้คน โลภมากขึ้น ก็ธรรมดา คนที่เขามา ก็ต้องอยากได้ ของถูก แต่แนวลึก เขาก็มาลดละ คนที่มา มีพฤติกรรมองค์รวม ให้เขาไม่ทำพฤติกรรม เอาเปรียบ กิเลสเขามี อยากเอาเปรียบ แต่พฤติกรรมสังคม เขาไม่ทำ อยากทำ ก็ไม่กล้าละเมิด

ไม่ได้หมายความว่า เขาล้างกิเลสหรอก อ.กฤษฏา ว่าเอาความโลภ มาเรียนรู้ วิถีความเหมาะสม ของอาริยะ พ่อครูว่านี่แหละ คือกำไรอาริยะ ให้เขาได้ฝึกอดทน มีมารยาท พวกเราได้ฝึกแน่คนขาย แต่คนซื้อเขาก็ได้ฝึกด้วย

อ.กฤษฏา เคยไปซื้อของที่สันติฯ ไปเจอของ ที่ติดราคาต้นทุน แล้วมีคนสงสัยว่า ทำไม อันนี้ขายแพงกว่าล่ะ ซึ่งคนจะมอง ในเชิงลบ ว่าเป็นไปได้อย่างไร ที่จะขายขาดทุน

พ่อครูว่า คนไม่เข้าใจเขาว่า เราทำอย่างนี้ เป็นเชิงหลอก แต่ให้ตั้งใจ ติดตามเถอะ ว่านี่คือเศรษฐศาสตร์บุญนิยม ซึ่งเขาคิดว่า เป็นไปไม่ได้ แต่ก็ขอยืนยันว่า เป็นไปได้ และยั่งยืนได้ ยืนยันว่า ไม่ใช่เรื่องฝืนใจ จริงมีคนที่ฝืนบ้าง แต่ก็ส่วนใหญ่ทำได้

คนพวกเรานี่ ที่มาปฏิบัติลดละ เป็นคนมักน้อย เป็นคนชีวิต ไม่มีอะไรมาก ไม่เปลือง กินใช้น้อย แต่เป็นคน มีสมรรถนะ เช่นเดียวกับที่เขามี ไม่ใช่ศาสนาฤาษี ที่ไปนั่งหลับตา หมดสมรรถภาพ ที่มีอยู่แต่เดิมไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า ที่ทุกวันนี้เสื่อม แล้วคิดว่า แบบฤาษีคือพุทธ พ่อครูก็เอามาเปิดเผย และมีคน ทำได้อีก เขาก็เข้าใจไม่ได้

พวกเรามามักน้อย ตาม กถาวัตถุ ๑๐ (เรื่องที่ควรกล่าวชักชวน)
๑.      เรื่องที่ชักนำให้มักน้อย กล้าจน (อัปปิจฉกถา)
๒.     เรื่องที่ชักนำให้สันโดษ ใจพอ (สันตุฏฐิกถา)  เท่านี้ก็พอแล้ว
๓.     เรื่องที่ชักนำให้สงัดจากกิเลส (ปวิเวกกถา) แค่นี้ใจก็สงบแล้ว แต่ไม่ใช่อยู่นิ่ง ไม่คิดอะไร แต่สงบนี้คือกิเลสไม่มากวน ทั้งกายและใจ ไม่มีอกุศลกาย-วาจา-ใจ ไม่มีตัวทำลาย มีแต่ตัวดี อันนี้คือ ความลึกซึ้งของความสงบที่แท้จริง สงบคือกิเลสตาย
๔.     เรื่องที่ชักนำไม่ให้คลุกคลีกับหมู่กิเลส (อสังสัคคกถา) ทั่วไปแปลว่า ไม่คลุกคลี ด้วยหมู่ ถ้าแปลอย่างนี้ มาทำตลาดอาริยะไม่ได้ คำว่า สัง คือประกอบขึ้น สังสัคคะ คือทำให้ก่อกอง เป็นสวรรค์ และถ้าปรุงเป็น สวรรค์โลกีย์ ก็ก่อกองหมู่กลุ่ม ที่เป็นไปเพื่อเสพ

ถ้าชีวิตนี้เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในอนุบุพพิกถา (ทาน ศีล สัคคะ กามาทีนวะ เนกขัมมะ) ถ้าคนเรียนรู้ธรรมะพระพุทธเจ้า จะไม่เอามาเสพสมใจ อย่างสวรรค์ลวง แต่จะเอาออก คือเนกขัมมะ ควรแปลว่า ไม่คลุกคลี ด้วยหมู่กิเลส จึงถูก เราจะไม่ประกอบ สวรรค์โลกีย์ ที่เป็นสุขเท็จ การรู้ชัดเจน แล้วล้างสวรรค์ ลดทุกข์ลดสุขได้ คืออทุกขมสุข คืออุเบกขา เป็นฌาน ๔ ถ้าทำให้แข็งแรง เป็นเวทนาในเวทนา ในมโนปวิจาร ๑๘ ที่เรารู้ว่า เคหสิตะ ที่เป็นเวทนาแบบโลกๆ (ไม่ใช่แปล เคหสิตะ ว่าไม่อาศัยเรือน) คือ สุข-ทุกข์ -ไม่สุขไม่ทุกข์ ทางทวาร ๖ รวมเป็น ๑๘ ปฏิบัติให้เป็น เนกขัมมสิตเวทนา จนกระทั่ง จิตหน่ายคลาย ลดละจริง อสังสัคคะจริง และไม่ลดความขยัน ไม่ลดความเพียร จะมีปัญญารู้ว่า เราจะลดละอะไร

มีอินทรีย-พละ ๕ สมบูรณ์ แล้วจะมี ปัญญาพลังเป็นหลัก เป็นตัวเลือกว่า จะทำกรรมที่ดี จะมีพลังการประกอบกรรม ที่เรียกว่า ปราชญ์ตำหนิไม่ได้ (การงานอันไม่มีโทษ) เช่นพ่อครู พาพวกเรา ไปประท้วง เจตนาไปสร้าง การชุมนุม อย่างอาริยะ แสดงพฤติกรรม ของมนุษย์อาริยะ ไปต่อต้าน สิ่งควรต่อต้าน ในเชิงประชาธิปไตย คัดค้าน ต่อพฤติกรรม ของผู้บริหารบ้านเมือง ทำไม่ดี เราออกไปประท้วง เพื่ออยากดัง อยากได้อามิส เราไปทำในฐานะมนุษย์ ที่ต้องดูแลประเทศ เขาก็บอกว่า ธรรมะอย่ายุ่ง กับการเมือง แต่พ่อครูว่าธรรมะไม่ได้ห้าม ไม่ได้ให้ทำ เราทำตามหาปเทส เมื่อเราทำแล้ว เราเชื่อว่า เราทำได้ โดยไม่ให้เสียหาย ซึ่งคนที่รู้ เป็นปราชญ์ จะไม่ตำหนิ แต่คนไม่รู้ จะตำหนิ

จะมีสังคหพละ คือการงานที่เกิดจาก ความขยันหมั่นเพียร ความขี้เกียจ ไม่มีแต่ โสดาบันแล้ว แต่อาจเห็นแก่ตัวบ้าง แต่เราก็จะทำอย่าง เราไม่พัก เราไม่เพียร เราข้ามโอฆะสงสารได้ เราทำตาม กถาวัตถุ ๑๐
๕.     เรื่องที่ชักนำให้ปรารภความเพียร (วิริยารัมภกถา) .
๖.      เรื่องที่ชักนำให้บริสุทธิ์ในศีล (สีลกถา)
๗.     เรื่องที่ชักนำให้จิตตั้งมั่นในสมาธิ  (สมาธิกถา)
๘.     เรื่องที่ชักนำให้เกิดปัญญา (ปัญญากถา)
๙.      เรื่องที่ชักนำให้หลุดพ้นจากกิเลส  (วิมุติกถา) 
๑๐.   เรื่องที่ชักนำให้เกิดความรู้แจ้ง เห็นจริงในความหลุดพ้นจากกิเลส (วิมุตติญาณทัสสนกถา)
(พตปฎ. เล่ม ๒๔ ข้อ ๖๙)

พวกเรามาทำได้ อย่างกถาวัตถุ ๑๐ มามักน้อย ปัจจัย ๔ เราก็ต้องเบิกส่วนกลาง เครื่องมือ เครื่องใช้ใด ถ้าคุณไม่มีสรรถนะจะทำ เขาก็ไม่ให้ แต่ถ้าคุณเหมาะสม เขาก็ให้ทำ

แล้วเราก็มีสมรรถนะ ในการสร้างทำ ทำผลงานนั้น มันเกินกิน เกินใช้ของตน แต่ละวัน รวมแล้ว มันก็เหลือทุกวัน เราทำงานได้เกินทุกวัน มารวมกัน เป็นร้อยคนพันคน แล้วเราเอา ส่วนเกินเราที่ทำ มารวมกัน มาเสียสละให้คุณ ก็ต้องทำได้สิ เอามาลดต้นทุน ซื้อมา ๑๐ ขาย ๕ ก็ทำได้สิ เพราะเขากินน้อย ใช้น้อยด้วย เขาทำงานฟรี ไม่เอาค่าแรงด้วย

อย่างพืชผัก ที่ปลูกริมมูน ใช้แรงงานเรา พื้นที่เรา มีต้นทุน ไม่เท่าไหร่หรอก จึงมีส่วนเกินมาก มีส่วนเหลือมาก แล้วก็เอาไปแจกจ่าย ให้คนอื่น มาลดต้นทุน แล้วก็อยู่ได้ ของที่เรามี เป็นพื้นฐานของเรา ก็ยังอยู่

เศรษฐศาตร์แบบนี้ เขาทำมา อย่างกดข่มก็มี แต่เราทำอย่าง ล้างกิเลส เราล้างความขี้เกียจ แต่ไม่ล้างความขยัน อย่างมีปัญญา สุดยอดเลยว่า กูจะขี้เกียจทำไมวะ ๑.แรงก็มีอยู่ เมื่อยก็ไม่เมื่อย ป่วยก็ไม่ป่วย แล้วเห็นเขาทำอยู่ เราจะไม่ช่วยทำ อยู่ดูดายทำไม พระพุทธเจ้า จึงตรัสคำว่า อปติถัง อนายูหัง ( เราไม่พัก เราไม่เพียร) 

พระพุทธเจ้าท่านคุยกับเทวดา ในพจนานุกรม ของท่านเจ้าคุณ พรหมคุณาภรณ์ฯ แปลไว้ดี มีเทวดาถามพระพุทธเจ้าว่า การข้ามโอฆะสงสาร ทำอย่างไร พระพุทธเจ้าว่า เราไม่พัก เราไม่เพียร  คือรู้จักควรพัก รู้จักควรเพียรอย่างไร ควรมีเพียรมากกว่าพัก อย่างเต็มใจเพียร นี่คือ ท่านคุยกับเทวดา

อ.กฤษฏา อธิบายต่อว่า มีอนุสสติ ๑๐ ข้อหนึ่งคือ เทวตานุสสติ ตรงนี้ท่านเจ้าคุณพรหมฯ ท่านว่า เทวตานุสสติ คือ การน้อมจิตระลึกถึงเทวดา ที่ตนได้รู้ แล้วพิจารณา ให้ถึงธรรม ที่ทำให้คน เป็นเทวดา ตามที่ตนมีในตน ซึ่งตรงกับ ที่พ่อครูอธิบายไว้ ว่าพระพุทธเจ้า ท่านสูงสุดแล้ว เหนือกว่าเทวดา มารพรหม แล้วเทวดาที่ไหน จะมาสอนท่าน ก็ต้องเป็น เทวดา ในพระพุทธเจ้าเอง คือจิตใจที่สูงขึ้น ของท่านเอง ท่านยังไม่ได้คิดตรงนี้ พอได้คิด เช่นว่าความหมายอันนี้ ถ้าเผื่อว่า ท่านจะอธิบายอย่างนี้ ในเรื่อง เราไม่พัก เราไม่เพียร ท่านก็คิดว่า ถ้ามีคนถามสั้นๆ ในเรื่อง ความบรรลุนิพพานแล้ว จะมีประเด็นอะไรสั้นๆ เหมือนปรารภ กับตนเอง  ว่าจะสื่ออย่างไร ให้คนเข้าใจได้ เหมือนตอบเทวดานั้นเอง คำว่าเทวดา ถ้าเข้าใจแล้ว จริงๆแล้ว พระพุทธเจ้าคุยกับเทวดา ท่านตอบปัญหาเทวดา เทวดากับพระพุทธเจ้า ใครสูงกว่ากัน ถ้าพระพุทธเจ้าสูงกว่า แล้วเทวดามาถาม ก็คือว่า อันนี้น่าจะเป็นประเด็น ที่ควรถาม แล้วคนที่จะมาถาม พระพุทธเจ้า ต้องมีภูมิสูง ก็ถามตัวเอง ในภูมิที่สูงขึ้นๆ เทวดาถามเทวดา

อธิบายได้ยากอยู่ แต่ก็คิดว่า ถูกต้องที่สุดแล้ว เท่าที่พ่อครูมีปัญญา อธิบายแล้ว และ ก็เข้าใจว่า (ขออวดตัวว่า) ที่พ่อครูพูด ก็พูดจากความจริงที่ว่า พ่อครูก็คุยกับเทวดา ก็ได้เรื่องที่จะมาบอก สู่คนฟัง และก็เทวดาที่ว่านี่ คือจิตสูงของเรา ให้จิตเราสูงขึ้น เราก็ตอบตนเอง ถามตนเอง ในมุมในประเด็น ที่สูงขึ้น

พระพุทธเจ้า ท่านบางทีก็อธิบาย เป็นบุคคลาธิษฐาน เช่นคืนนี้ มีเทวดาตนหนึ่ง มีรัศมี สว่างไสว ทั่วเชตวัน ถ้าคนเทวนิยม ก็จะคิดว่า เทวดาเป็นตัวตน แต่ที่จริงคือจิตสูง ท่านมาสนทนา มาให้อธิบาย มุมธรรมะสูงขึ้น

พระพุทธเจ้าท่านบางที ก็เรียกสาวกมาฟัง ก็คือท่านได้เตรียมไว้แล้ว ที่จะสอน เป็นบัญญัติ ตามที่ท่านมีสภาวะ แล้วแปลให้คนอื่นฟัง

อ.กฤษฏา ว่าเช่นผมจะมาจัดรายการ เราไม่ได้เตรียม อะไรมาก่อน ผมต้องถามตนเอง มาก่อน ว่าจะถามอะไร นี่แหละคือ เหมือนเทวดาคุยกัน เพราะว่ามันไม่ง่าย ที่จะจัดรายการ ธรรมะอย่างนี้

พ่อครูว่า เทวดาก็คือ จิตอันเจริญอันสูง ของเราเอง คือนามธรรม ชนิดหนึ่ง ที่ไม่มี สรีระตัวตน แต่ถ้าเผื่อว่า เป็นความรู้ ก็เป็นเทวดา ที่เป็นความรู้ ทั้งนั้น ถ้าเป็นตรรกะ ก็คือความรู้เหตุผล ซึ่งคนเรา ก็คิดกันได้มากมายอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นสภาวะธรรมะ ซึ่งก็จะมีเหตุผล เหมือนกัน แต่มันมีสภาวะรองรับ ไม่ใช่ว่ามีแต่ เหตุผลเปล่าๆ เอาแต่ตรรกะ มาต่อสู้กันเฉย

พ่อครูเคยพูดว่า ถ้าคนพูดโวหารเก่งๆ มาโต้วาทีกัน คนมีวาทะกรรมดี ก็จะเป็นผู้ชนะ ไปหมดเลย ทุกวันนี้ ถ้าเข้าใจวาทะนี้แล้ว จะเข้าใจคำว่า อัตตวาทุปาทานได้ดีเลย ซึ่งทุกวันนี้ คนมีแต่ วาทะกรรม มีเหตุมีผล แต่ไม่มีสภาวะ ที่เจริญจริงเลย บางวาทะกรรม ไม่เข้ากับกาละ ไม่เข้ากับความจริง ที่จะเป็นได้เลย

ยกตัวอย่าง จะกู้ ๒.๒ ล้านๆ ยังไม่เคยทำวิจัยเลย ว่าจะเอาไปทำอะไร เสร็จแล้วก็อ้างว่า จะทำรถไฟหัวกระสุน เอามาล่อคนขี้โลภ คนเข้าใจตื้นๆ ทั้งๆที่เขาอ้างอิงว่า ถ้าคุณ จะทำจริง ไม่ต้องใช้ ๒.๒ ล้านๆหรอก ในฐานะประเทศจน กู้มา ๒.๒ล้านๆในอนาคต ดอกเบี้ย มีแต่จะเพิ่ม ไม่มีลด มีแต่ฉิบหาย วายป่วย

ถ้าเราคิดว่า จำเป็นจริงๆ เราจะสร้างรถไฟหัวกระสุน จีนเขาก็ว่า จะสร้างให้ และขอเก็บ ค่าโดยสาร เราก็ทำได้ โดยไม่ต้องสร้างหนี้ ให้ลูกให้หลาน โครงการหรือการวิจัย คุณก็ไม่มี มีแต่โครงการใหญ่ อันเดียวนี้ จะบ้าหรือ?   พ่อครูก็ว่า นี่เห็นทุจริตในใจคน

คนเราถ้าเผื่อว่า มีจิตเป็นกุศลแท้ จะรู้ความเป็นเทวดา จะคิดแต่เรื่องดีๆ แก่ตนแก่ผู้อื่น ไม่คิดเรื่องที่จะทำให้ หนักหน้า สาหัส คนคิดกู้ ๒.๒ล้านๆ เขาก็คิดว่า อีกหน่อย เขาต้อง ถูกล้มล้าง ก็ให้คนรุ่นต่อไป ล้างหนี้ เราไม่เกี่ยว อันนี้เป็นความคิด ไม่รับผิดชอบ ไม่มีวิสัยทัศน์ แล้วคิดหลายคนนะ ไม่ใช่คิดคนเดียว พ่อครูไม่เชื่อว่า นายกหญิงคนนี้ ไม่มีความกล้า จะกู้เงินมา ๒.๒ล้านๆ มาทำประโยชน์ แก่ประเทศชาติ แล้วก็มาขาย ขี้เท่อ ว่าเอาไปขนผักหรอก เอามาขนทองคำ ก็ว่าไป แต่คิดว่าขนผักนี่ ไปขายขี้เท่อ ปล่อยออกไป ได้อย่างไร ขออภัยที่ต้องพูด เหมือนเหยียดหยาม คือมันน่าสงสาร ตลกเชิญยิ้ม อย่างนั้น ประเทศไทย น่าสงสาร

อ.กฤษฏา ว่าประเด็นที่เราจัดมา ตั้งปีที่ ๓๔ แล้วยิ่งมีปริมาณ คุณภาพมากขึ้น ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มากขึ้น เป็นศัพท์วิชาการเลย เห็นได้ว่า จากเดิมตลาดปีที่แล้ว ก็ขนาดหนึ่ง แต่ปีนี้ มีตลาดน้ำด้วย มีรองผู้ว่าฯ มาเปิด ที่จริงเชิญผู้ว่าฯ แต่ว่าติด ไปรดน้ำพระ จึงให้รองผู้ว่าฯมาแทน

เรือ เราก็ต้องซ่อมเรือ ก่อนลงน้ำ ซึ่งไม่ง่ายเลย แม้ใช้เครื่องกลก็ไม่ง่าย ต้องใช้คน ใช้ความชำนาญ เราไม่มีอุปกรณ์ เครื่องมือที่ดี เราใช้แรงงาน ทั้งนั้นเลย เอาเรือลงน้ำนั้น ยากมากเลย กระบวนการทำงาน มีเบื้องหลัง นี่คือการลงทุน ที่จะฝึกคนเป็นอาริยะ ต้องใช้อิทธิบาท ๔ ให้ครบ

อ.กฤษฏา ว่าปีนี้จัดใหญ่มาก และยังมีความไม่เข้าใจอีก อย่าง sms มีไม่เข้าใจมาก็ว่า คือก็สงสารว่าเขายังไม่เข้าใจ คำว่าอาริยะ

พ่อครูว่า ผู้ซื้อก็เข้าใจ (ผู้ขายเข้าใจแล้ว) ผู้ซื้อก็จะมาทน ต่อแดดร้อน ปีนี้เป็นการ ทดสอบ คนซื้อด้วย คือทั้งไกล จากที่จอดรถ คิดว่าเขาจะไม่มากัน แต่ว่าวันแรก คนมากเลย วันต่อไป ก็ยังมีคนมากอยู่ บอกได้เลยว่า คนต้องการมากขึ้น สังคมเดือดร้อน มากขึ้น

พ่อครูว่า เชื่อมเข้าไปถึงในเมือง ไปออกร้านที่จังหวัด สินค้าเรา เป็นของชนบท ไม่เหมาะกับ ในเมืองเท่าไหร่ แต่ถ้าปีต่อไป เราปรับปรุงสินค้าอีก เพื่อให้เหมาะกับ สังคมเมือง แต่มีสลัมด้วย เขาไม่ค่อยตื่นไม่รู้ข่าว แต่พอเขารู้ข่าว เขาก็มากันมาก เราไม่เอาของระดับไฮโซ หรือระดับกลางหรอก เราจะช่วย คนสลัม คนระดับล่าง

 และมันจะทำอย่างนี้รอดได้อย่างไร พ่อครูเห็นว่า นายกฯเรา ไม่มีการใส่เสื้อผ้าซ้ำกัน สักวันเลย แต่พวกเรามักน้อย มันพอ และเราเป็นคนจริง คือ
๑. เรากินใช้ไม่มาก มักน้อยสันโดษ
๒. เราไม่สะสมกักตุน
๓. เราสร้างสรรขยันเพียร
๔. คุ้มกินคุ้มใช้ เหลือกินเหลือใช้
๕. เราสะพัดออก แจกจ่ายเจือจาน
        สังคมเศรษฐศาสตร์บทนี้ ต้องศึกษา แล้วอยู่ได้ อยู่อย่างไม่ต้องกดข่ม ไม่ต้องทรมานด้วย หรือว่าอยู่อย่าง เมื่อไหร่จะหมด ความอดทน ก็ไม่ใช่ เราอยู่อย่าง  ทำอย่างมีเอนดอร์ฟีน  คนก็จะเจริญ เรียกว่า "อาริยะ" เป็นคนมีความรู้ ความสามารถ แบบนี้ ประเทศชาติ จะเอาหรือไม่? หรือจะปราบ?

อ.กฤษฏา เห็นการประชุม การแก้ไข อ.กฤษฏา ว่าคนคิดได้อย่างไร ว่าจะเอาสินค้าไหน เราจะตอบโจทย์ใคร พ่อครูว่า เรารู้อุปสงค์ อุปทาน เราทำมาหลายปี ก็เข้าใจไปเรื่อยๆ และปีนี้ เราไปจัด ตลาดน้ำด้วย เราจะไม่ตาม สังคมทีเดียว เราจะดึงเขาขึ้นด้วย และเราก็รู้ ความจำเป็นของสังคม เราไม่เอาแบบ ตามน้ำเขาอย่างเดียว

เรารู้โดย ๑.สามัญสำนึก เช่นเราคิดไม่ถึง คือปีที่แล้ว เราเอาเตาอั้งโล่มาขาย ๕๐๐ เตา พรึบเดียวหมด ยายแบกไปสองเตา ว่าเอาไปใช้ ปีนี้เราจึงเพิ่มเป็น ๕๐๐๐ เตา

อ.กฤษฏา ว่าทุกวันนี้ คนไม่ค่อยใช้ เตาอั้งโล่ แต่พ่อครูว่า ชนบทเขาใช้กันมากนะ อ.กฤษฏา ว่านี่เป็นการให้ ธุรกิจเตาอั้งโลไปได้ เป็นการได้วัฒนธรรมคืนมา อย่างหวด กระติ๊บ ก็จะคืนมา วิถีไทย ก็จะคืนมา พ่อครูว่า เป็นการเหมาะสม กับสถานภาพ องค์รวมสังคมด้วย ที่จริงคือ งานการเมือง ถ้านักบริหารประเทศ เข้าใจ มาทำประชานิยม อย่างเรา ประเทศจะเจริญ อย่างมากเลย แต่เขาทำยาก เขาต้องทำอย่างเฟ้ออย่างเกิน จะได้ชักไส้ ไปกินได้

สรุปอยู่ที่ฐานรากของคน ว่ามีกิเลสมากหรือน้อย ถ้าการศึกษา ไม่ทำคน ให้ลดกิเลส จนมา บริหารบ้านเมือง ก็ไปไม่รอดหรอก มั่นใจว่า ศานาพุทธ เป็นศาสนา บริหารบ้านเมือง ไม่ใช่ไปหลีกหนี อย่างฤาษี เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ถ้าฟื้นศาสนาไม่ได้ ไม่มีทางฟื้น เพราะไทยเป็นประเทศ เอาตามอย่างเขา เป็นบ้าเป็นหลัง ไปไม่รอดหรอก ถ้าไม่เอา ความเป็นตัว ของตัวเองกลับมา ประเทศข้างเคียงเรา ไม่ไปเห่อตามเขามาก อย่างไทยเรา

ทุกวันนี้เข้ามาในไทย ยังมีการแต่งตัวแบบไทย มีไหม ตอบว่า ไม่มีแล้ว อยากดูชุดไทย ก็มีแต่ชุดไทยประดิษฐ์ ประดอย ชุดไทยราชสำนัก อย่างโน้น แล้วชุดไทย อย่างสามัญ ทั่วไป มีไหม ? อย่างไปพม่า ญวน เขาก็มีชุดของเขาอยู่ นี่แสดงว่า ไทยเราทิ้งรากไปแล้ว

พ่อครูตั้งโรงเรียน ไปขอให้เด็กใส่ผ้าถุง ใช้ชุดไทย ก็ขอยากเย็น เขาว่าทำไม ไม่ใส่เหมือน รร.ทั่วไป เราก็ไปขอ เขาก็จะไม่ให้ พ่อครูก็ไปถามว่า จะทำให้เป็นแบบไทย มันผิดนักหรือ ที่จะให้ชุดของไทยๆ ให้นร.เราใช้ สุดท้าย เขาก็จำนน เรื่องรักษา วัฒนธรรมไทย จะเห็นว่า ชุดนร. สัมมาสิกขาเรา เด็กนุ่งผ้าถุง กางเกงไทย เสื้อแขนกระบอก มีตกแต่ง ผ้าพันคอบ้าง ในบางเวลา

ก็เห็นว่าลูกหลานที่เกิดที่นี่ นุ่งผ้าถุงเป็น พ่อครูว่า วันที่ ๔-๖ พ.ค. ๕๖ จะมีงาน รวมชาติพันธ์ เราเผ่าอโศก ก็ถือว่าเป็นชาติพันธ์หนึ่งนะ มีชุดของเราไปด้วย เริ่มแต่วันที่ ๔ พ.ค. ๕๖ เลย ปีกลายเราทำอย่างฉุกละหุก แต่คราวนี้ ชาวชาติพันธ์ เขาก็อยากมา มีคนสปอนเซอร์ ให้เขามา ซึ่งการมาของ พวกชาติพันธุ์ ธรรมดามายาก ปีกลายมาแค่ ๓๐๐๐ คนเศษ แต่ปีนี้ถึง ๕๐๐๐ คนแน่ เพราะปีที่แล้ว มาแล้วได้ผลดี เขาไปเล่าสู่กันฟัง ก็ไปจัดที่ ลานพระรูปฯเลย

คนในเมือง ก็ให้ซับซาบว่า นี่คือปรองดอง รักกันไว้เถิด ไม่รังเกียจ เดียดฉันท์ เราก็เป็น ชาติพันธุ์หนึ่ง เราเป็นเจ้าบ้าน ถือว่าเขาเป็นแขก เมื่อสังคมกลุ่มอื่น ไม่ทำ เราก็ทำ ที่จริง เราไม่ได้เป็นคนดำริ

อ.กฤษฏา.สรุป ...เราได้เรียน การถอดบทเรียน กำไรอาริยะที่แท้จริง และความเป็นไป ของ กถาวัตถุ ๑๐ ที่ก่อให้เกิด ตลาดอาริยะ นำไปสู่พลัง ๔ และเราได้เรียนรู้ สภาวะเทวดา ที่แท้จริง...

จบ

 

 
๒๒ เมษายน ๒๕๕๖ ที่พุทธสถานปฐมอโศก