|
||
และท่านแจกวิภังค์ไว้ตั้งแต่ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา ภพ ชาติ ชรา มรณะ โศกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส แล้วท่านก็ทวนไปตั้งแต่ข้อ ๖ ว่า รูปธรรมก็เป็นองค์ประกอบ แต่จริงๆที่จะบรรลุธรรมนั้น ต้องเข้าถึงระดับ นามธรรม ซึ่งอย่างรูปธรรม ที่มันจะแปรเปลี่ยน สูญสลายไป ก็เห็นได้ก็ธรรมดา แต่ว่าต้อง หยั่งลงไปถึง ความไม่เที่ยงของนามธรรม เรียกว่า เจตสิกทุกข์ ให้ได้ ถ้าเกิดทุกข์ทางกาย ก็เป็นตัวเนื่องต่อ ถ้าตายไปแล้ว จิตวิญญาณไม่ต่อเนื่องกับกาย ใครจะทำลายร่างกาย อย่างไร จิตก็ไม่ทุกข์ ก็ไม่รู้เรื่องอะไร จะรู้เรื่องเพราะ เกี่ยวเนื่องกันอยู่ จากชราและมรณะจบแล้ว พระพุทธเจ้า ท่านมาเริ่มอธิบาย ข้อ ๗ ในวงเล็บ คือภาษาบาลีที่ถูกแปลมา ซึ่งพ่อครูนั้น แปลไม่เหมือน กับที่เขาแปลกัน ซึ่งที่พูดนี้ ไม่ได้มีสาเฐยะจิต คือจิตอยากอวดโอ่ แต่อย่างใด เมื่อจิตเราเกิดอาการอย่างใด ก็คือชาติ (การเกิด) แล้วทีนี้ คำว่า สญฺชาติ ท่านแปลว่า ความบังเกิด อ่านแล้วก็มึนๆ คำว่าเกิด กับคำว่าบังเกิด ต่างกันอย่างไรก็ไม่รู้ แต่พ่อครู เข้าใจคำว่า สญฺชาติ ก็พอจะเข้าใจว่า สญฺ แปลว่าการกำหนด เช่น สัญญา คือการเกิดที่มีการ กำหนดหมายรู้ด้วย ก็คือ เช่นคำว่า สญฺชาตญาณ ก็คือการปรุงแต่ง ที่มีอวิชชา มากำหนดหมาย ตัวสญฺชาติ นี่เรียก อีกอย่างว่า สันดาน เป็นตัวฝังอยู่ในจิต เมื่อผู้ใดสามารถเข้าใจภาษา แล้วเข้าใจสภาวะ ถูกตรง การปฏิบัติธรรม จึงเป็นไปได้ จึงเกิดผลจริง ไม่สะเปะสะปะ เลอะเทอะไป เรารู้ปริยัติจากการศึกษา เข้าใจความหมาย ของภาษา แล้วนำไปปฏิบัติ ก็ได้ประโยชน์ คนไม่เรียน ทำอย่างสะเปะสะปะ ก็ไม่เข้าร่องเข้ารอย การเรียนรู้คำอธิบายจากผู้รู้ พระพุทธเจ้า ท่านจัดให้มี ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ หรือมี ใน ปฏิจฺจสมุปฺบาท อวิชชาทำให้เกิด สังขาร และสังขารที่ว่านี้ คืออะไรบ้าง สังขาร ท่านแปลตื้นๆง่ายๆว่า "การปรุงแต่ง" การปรับปรุงจัดแจง การตกแต่ง เป็นอาการจิต อย่างหนึ่ง แม้ทางกายก็มีสังขาร การปรุงแต่ง แต่จะขอข้ามก่อน ในที่จะอธิบาย จะหมายถึง สังขารในใจ ถ้าเรามีการกำหนดมุ่งหมาย สญฺเจตนา ให้เกิดได้ ทั้งความดีความชั่ว คนที่เรียนรู้ธรรมะ ก็จะพยายาม ทำให้เกิดในทางดี ในพจนานุกรมบาลี ท่านแปลกัน ให้ความหมายลึกซึ้ง ในฉบับ ภูมิพโลภิกขุ ท่านแปล "สังขาร" ว่าเป็นสัมประสิทธิ์ทางใจ สัมประสิทธิ์ คือสิ่งลึกซึ้งมาก ทางฟิสิกส์ เขาใช้กันมา จากภาษาอังกฤษว่า Coefficiency มีสภาพเป็นตัวตั้ง หรือตัวหลัก เหมือนไฟฟ้า ที่มีตัวบวกเป็นตัวตั้ง มีตัวลบเป็นตัวแปร เกิดการพัฒนา เป็นตัวใหม่ คือสัมประสิทธิ์ ความจริงที่มีค่าคงที่ แล้วก็มีตัวแปร ทุกเวลาทุกปัจจุบัน ที่ทวารเรากระทบ ก็จะมี การเกิดรับรู้ แล้วก็จะมีตัวใหม่ มาเป็นตัวแปร นี่แหละที่ต้องเรียน ตัวที่จะเข้าไป มีพลังงานใหม่ ที่จะรับขึ้นมา แล้วเราสามารถแยกแยะ ว่ามีตัวการ คือกิเลส มาประสม นี่แหละ คือเคล็ดวิชาสำคัญที่สุดเลย ต้องอ่านตัวนี้ให้ได้ แม้ไม่มีสัมผัส มันดำริขึ้นมา เป็นตักกะ วิตักกะ ถ้ามีอาการของ กามและพยาบาทขึ้นมา ในนิวรณ์มีกาม และพยาบาท เป็นตัวหลัก ส่วนถีนมิทธะ คือการจับตัวเป็นก้อน ส่วนอุทธัจจะกุกกุจจะ คือการฟุ้ง จับไม่ติด จะลืมตาปฏิบัติก็รู้ ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ ส่วนวิจิกิจฉา คือตัวที่ตัดสินไม่ได้ ว่าอะไรกันแน่ ลักษณะของ ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ ซ้อนในกามและพยาบาท กาม คือ ใคร่อยาก ต้องการได้มา เสพสุข เป็นของตัวของตน พยาบาท คือจองเวรจองกรรม เมื่อได้อะไรมาก็แล้วแต่ ถ้าได้มาแล้วเป็นเรา เป็นของเรา คือการทำลาย เป็นสภาวะที่ มันเป็นภาวะทุกข์ หรือเป็นตัวตน เป็นปฏิปักษ์ของ ความสูญ เพราะทิศทางที่ พระพุทธเจ้าสอน คือต้องไปสู่สูญ ภาวะเป็นตัวตน ก็ไม่สูญ ผู้เข้าใจมุ่งหมายคือมี สญฺเจตนา กำหนดที่จะทำตามที่เรารู้ ซึ่งถ้าสัมมาทิฏฐิ ก็ต้องได้ มรรคผล แน่นอน แต่ถ้าไม่สัมมาทิฏฐิ ก็ปฏิบัติสะเปะสะปะ เลอะเทอะ แต่ถ้าเข้าใจได้ดี ก็จะกำหนดหมายคือ สญฺเจตนา หรือสัญญา เข้าไปจัดการทำการ สังขาร คือจัดแจง ปรุงแต่ง ปรับปรุง ของพระพรหมคุณาภรณ์ท่านแปลว่า สภาพปรุงแต่งกาย เท่านั้น แต่ว่าพ่อครูว่า ลมหายใจ ก็คือ องค์ประชุมอันหนึ่ง ของชีวิต ถ้าขาดลมหายใจ ก็คือตาย ชีวิตจึงต้องมี ลมหายใจ เข้าออก เป็นองค์ประกอบของกาย แล้วกายนี่ รวมทั้งลมหายใจ และรวมทั้งจิตด้วย ไม่ผิดที่ใครจะแยก กายเป็นอันหนึ่ง จิตอันหนึ่ง แต่ในภาคปฏิบัติ ต้องมีกายสังขาร ที่ต้องเอาทั้ง องค์ประชุมภายนอก ที่ทวารสัมผัส แล้วก็ต้องรู้เข้าไป ถึงข้างใน แต่ที่จะพิจารณา จัดการเผด็จศึก ต้องไปที่ใจ ไม่ใช่ไปฆ่าเหตุทางกาย เราทำที่ใจ ต่อเนื่องมาจากกาย ในพระไตรฯ ล. ๑๖ ที่พระพุทธเจ้า ท่านแยกให้ฟังว่า ถึงบริบทของ ปฏิจฺจสมุปฺบาท คือต้องทำตาม บริบทนี้ จึงเป็นปฏิจฺจสมุปฺบาท พ่อครูตั้งข้อสังเกตว่า ชาติหมายถึง อย่างนี้นะ ภพมี ๓ ภพ ที่ต้องเกี่ยวกับ ทวารนอก ไปถึงใจในภพใน ซึ่งภพ ๓ อย่างนี้ อยู่ในข้อ ๘ ของพระไตรฯ ล. ๑๖ คือ [๘] ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เรียกว่าภพ ฯ คือต้องเรียนรู้ เข้าใจความหมาย ของคำว่าอัตตา ซึ่งท่านผู้เรียนมามาก ก็ไปเรียนที่ พระพุทธเจ้าว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา คือทุกอย่าง ไม่ใช่ตัวตน คือตีทิ้ง ตัวตนเลย เขาว่า มันไม่ใช่อัตตา แต่ไม่พูดถึง ใช่อัตตา คือยิ่งแปลว่า ไม่ใช่อัตตา ก็คือเป็นคน อัตวาทุปาทาน อย่างยิ่งเลย เพราะเขายึดคำว่าไม่ใช่ โดยทิ้งคำว่า ใช่อัตตาไป ก็คืออย่าไปพูดถึง อัตตาเลย แม้แต่คำว่า ใช่ มี เป็น อยู่ ก็อย่าใช้กับอัตตา นั่นคือ นัตถิกะทิฏฐิ คำว่าสัมประสิทธิ์ทางใจ เป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการกระทำ ต่อพฤติที่เกิด และสังขารลึกๆ ท่านแปล ในพจนานุกรม บาลี-ไทย ฉบับภูมิพโลภิกขุ ท่านแปลไปถึง อภิสังขาร ซึ่งเป็นคำกลาง ไปทางดีหรือร้ายก็ได้ แต่พ่อครูจะหมายถึง การสังขารไปใน ทิศทางดี อภิสงฺขาร, ซึ่ง สงฺขาร เป็นสถานะทางใจ ที่มุ่งประสงค์ ที่จะชักนำการเกิดใหม่ โดยเฉพาะ; ซึ่ง ปุญฺญํ, อปุญญํ, อาเญญฺขํ สํ อภิสงฺขโรติ, ถูกจัดรวมเป็นชั้น ๓ ชั้น ของ อภิสงฺขาร ซึ่ง สํ เท่ากับ สญฺเจตนา; ซึ่ง สํ ในฐานเป็นขนฺธ ถูกใช้ เจตนา (ความจงใจ) แทน คำว่า ปุญญํ ท่านแปลกันทั่วไป คือแปลว่า ดี ซึ่งพ่อครูว่าไม่พอ ซึ่งในพจนานุกรมบาลี-ไทย ฉบับภูมิพโลภิกขุ ท่านแปล คำว่า ปุญฺญ คือ สนฺตานัง วิโสเธติ ปุนาติ แปลว่า ชำระจิตสันดาน ให้หมดจด ถ้าเข้าใจถูกต้องว่า บุญ คือการชำระจิตสันดานให้หมดจด ชัดเจนแล้ว ก็คือตั้งใจเรียนรู้ อย่างไร ที่จะชำระกิเลส อะไรเป็นเหตุสันดานที่ไม่ดีก็คือ กิเลส ถ้าล้างกิเลสออกไป ก็คือทำจิต ให้สะอาดหมดจด แล้วต้องรู้ว่า จะชำระอะไร ชำระทั้งตัวดีและไม่ดี ก็ไม่ใช่ เราต้องชำระแต่สิ่งที่ ทำให้เกิด อกุศล เมื่อเราสามารถศึกษา ทางจิตใจ และอ่านสภาวะได้ดี ก็พากเพียรไปเถอะ ๗ ปี ยกไว้ ไม่ได้อรหันต์ ก็ได้อนาคามี พ่อครูว่า ก็ไม่เก่งนะ บรรยายกันมา เกิน ๗ ปีแล้ว ยังไม่มีใคร ปฏิญาณตน ว่าเป็นอรหันต์เลย ก็ไม่ต้องรีบมาบอกอธิบายพ่อครูหรอก ปฏิบัติให้แน่ใจ ซึ่งเลข ๗ นี่มีความหมาย เช่น โสดาบัน เกิดอีก ๗ ชาติ เป็นโสดาบันขั้นที่ ๑ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ที่จริง มีต่ำกว่านั้น คือ วัฏฏภิรตโสดาบัน คือไปหลงติดสบาย ชอบความสบายใจ ก็นานจม หลงติดเป็นหลายชาติ โดยศัพท์คือ ยินดีในวัฏฏะ คือเป็นพวกติดภพ ติดแป้น สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน คือคนไปเข้าใจว่า เกิดตายทางร่างกายอีก ๗ ชาติ ซึ่งพ่อครูว่า ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องหมายถึง การเกิดแบบ อภินิพพัตติ คือการเกิดของ รอบของสังโยชน์ โสดาบันได้พ้นสังโยชน์ ๓ ก็ยังเหลืออีก ๗ สังโยชน์ เป็นการเกิดของ อภินิพพัตติ ไม่ใช่การเกิด ของร่างกาย (ไม่ใช่คลอดปุ๊ด จากท้องแม่ ๗ ปุ๊ด ก็ได้อรหันต์) ก็เช่น เกิดมาชาตินี้ ไม่ได้ปฏิบัติเลย เกิดมาอีก ๗ ล้านชาติ ก็ไม่ได้อรหันต์ ในรอบปรมัตถ์ที่เกิดคือ อภินิพพัตติ คือรอบที่เข้าสู่นิพพานแล้ว แต่ถ้าเกิดอย่าง โอกกันติ คือวนเวียนไปตลอดไม่จบ เราต้องกำหนดหมาย ให้เกิดไปในทางโลกุตระ ยิ่งอ่าน เจตสิกออก ก็ลดละ พอลดได้ ก็เกิดความจางคลาย เป็นขั้นๆ โดยสภาวะของ สัจจธรรม ไม่ต้องไปตั้งชื่อ เรียกอะไรก็ได้ นี่คืออภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร คือทำให้เกิดการชำระกิเลส ไปได้เรื่อยๆ เป็นเสขบุคคล ผู้ที่ไม่มีภูมิ ไปโลกุตระ จะปุญญาภิสังขารไม่ได้ เมื่อปุญญาภิสังขารได้ จนหมดกิเลส ก็ไม่ต้องชำระ กิเลสแล้ว คือ อปุญญาภิสังขาร คือพระอรหันต์ ถึงขั้นนิโรธ ถึงขั้นจบ เราก็ยังไม่จบทีเดียว ต้องทำต่อเป็น อเนญชาภิสังขาร ให้ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ทำอาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง จนได้ นิจจัง ธุวัง สัสสตัง อวิปริณามธัมมัง อสังหิรัง อสังกุปปัง สังขาร ๔ นั้นคืออิทธิบาท ที่มีสังขาร ๔ นี่คือสังขาร ๔ ฉันทิทธิบาท วิริยิทธิปาท จิตติทธิปาท วิมังสิทธิปาท คือสังขารต่อ พากเพียรต่อไป ให้เกิดผลของอิทธิวิธี คือมีหลากหลายวิธี ทำไป จะเก่งอิทธิวิธญาณ หรือจะแปลว่า สัมประสิทธิ์ทางใจ ก็คือสิ่งที่มีทั้ง ตัวคงที่ และตัวปรุงแต่ง รวมแล้ว เป็นสังขาร ที่จริงสังขารนี้ มีตัวเวทนากับสัญญา เป็นตัวทำงาน สภาพของสังขารคือ ปรุงแต่งให้ดีหรือชั่วได้ เป็นโลกียะหรือโลกุตระ ได้ทั้งนั้น สภาพปรุงแต่งใจให้ดี ในปรมัตถ์คือ สภาพเป็นอาริยะ สังขาร หมวดหนึ่งคือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร อีกหมวด คือ กายสังขาร จิตสังขาร และวจีสังขาร ซึ่งวจีสังขารนั้น ไม่ใช่วจีกรรม ส่วนจิตสังขารค ือการสังขารในจิตภายใน ซึ่งเนื่องมาจากกาย ส่วนวจีสังขาร ต้องเรียนรู้ใน สังกัปปะ ๗ (ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ อัปปนา พยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา วจีสังขาร) เราจะเรียนรู้คำพูดในจิต เราปรุงปุ๊บ ก็เป็นภาษาที่เรามีในจิตเลย เร็วไว คุณจะยับยั้ง หรือไม่ ก็อยู่ที่คุณ ถ้าไม่ยับยั้งออกมา ก็เป็นกายกรรม หรือวจีกรรมเลย เราต้องเรียนรู้ วจีสังขาร อย่างต้องรู้ดี ถ้ารู้ไม่ดี ก็กั้นไม่ทัน ซึ่งโดยอวิชชา เขาก็กั้นไว้ได้ แม้คนดีคนชั่ว ก็กั้นไว้ โดยสัญชาติญาณ ยิ่งผู้มีสำนึกมารยาทสังคม รู้ว่ากรรมอย่างนี้ไม่ดี ก็ไม่แสดง ออกมาได้ เราปรุงเป็นคำพูดในจิต ผู้ที่ศึกษา จะพยายามจัดการ คำพูดในใจ ให้เป็นสัมประสิทธิ์ ที่ไม่มีตัวแปร ที่เลวร้าย คือ ตัวกาม หรือตัวพยาบาท ไม่ให้มา ปรุงแต่งร่วม สังขารก็จะสะอาด วจีสังขารก็สะอาด เพราะคุณกำจัด ถูกต้นทาง ถูกสมุทัย ถูกต้นกำเนิด สังกัปปะ ๗ นี้คือตัวที่ต้องเรียนรู้ให้เป็น สัมมาทิฏฐิ ถ้าไม่เข้าใจ ก็ยิ่งโมเม จะเป็น วิกขัมภนปหาน เสียส่วนใหญ่ มันไม่รู้ตัวจริง ถ้าไม่ชัดเจนสัมมาทิฏฐิ นั้นยาก ที่ท่านว่า ๗ ปียกไว้ นั้นต้องเข้าใจ ชัดเจนอย่างนี้ด้วย พวกเราเข้าใจแล้ว ก็ไม่น่าจะช้านาน เหลือแต่เราพากเพียร เพียงพอไหม ถ้าพากเพียรได้แน่
ต่อไปเป็นการตอบประเด็น sms 7691 อยากได้หนังสือคำแปลภาษาบาลี จะหาได้ที่ไหน ตอบ ก็คือพจนานุกรมไทยบาลี ก็ตามร้านค้าหน้าวัดบวรฯ หรือร้านอื่นๆก็มี สงสัยว่าอภิสังขารมี ๓ คือ แล้วเหตุใดไปอยู่ในมาร ๕ ข้อ อภิสังขารมารได้ ตอบ ที่จริงมาร ๕ ที่แยกไปนั้น เป็นอรรถกถาจารย์ ในวิสุทธิมรรค มีคนๆหนึ่งเขากำลังฝึกสติปัฏฐาน ๔ แล้วเขียนข้อความนี้ "จงเลิกเป็นอะไรๆ ที่เคยเป็นมา ทั้งหมด เป็นรู้อย่างเดียวเท่านั้น" เป็นเคล็ดวิชา สำหรับเขา ตอบ ก็ไม่ง่าย รู้อย่างเดียวนี่ มีรู้ผิดรู้ถูกได้ทั้งนั้น ที่จริงต้องรู้ตั้งแต่กาย และแยกแยะ สมุทัยได้ รู้อันนี้แหละ ที่ควรรู้ ที่เรารู้มาตั้งมากมาย พาทุกข์ก็มากแล้ว 9689 นิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ คือผลของกรรม ที่มารบกวนใจใช่ไหม ตัวที่ทำเราทุกข์ รบกวนเรา คืออุปาทาน ใช่ไหม ตอบ นิวรณ์ ๕ จะบอกว่า คือผลของกรรมก็ถูก คือวิบาก ตัวที่สังสมยึดอยู่ ก็คืออุปาทาน มันขึ้นมา ก็รบกวนจิตใจ ขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็คือตัณหา ถ้ามันสงบ นิ่งอยู่ก็คือ อาสวะ อนุสัย ถ้ากำจัด ตัวเหตุได้ อุปาทานก็ลดด้วย อิตถีภาวะ ปุสิสภาวะ เกิดในเฉพาะหญิงหรือชายได้ไหม หรือมีทั้งสองอย่าง ในชายและหญิง และอยู่ในจิตระดับใด ตอบ อย่างหยาบคือ ผู้หญิงก็มีอิตถีภาวะ ชายก็มีปุริสภาวะ แต่ในความละเอียด ก็มีทั้งสองอย่าง ในคนเดียวเลย ซึ่ง conscious คือจิตสำนึกสามัญ subconscious คือ จิตใต้สำนึก Unconscious คือจิตไร้สำนึก ถามว่าสองอย่างนี้ เป็นจิตระดับไหน ก็เป็นได้ ทั้งสามระดับ พุทธเราเรียนรู้ จิตสามัญนี่แหละก่อน คือเรียนรู้ ในการสัมผัส ทวารนอก พอไม่มีกิเลสภายนอก จิตระดับใต้สำนึก ก็จะมาเป็น จิตสามัญสำนึก ในอนาคามี ท่านฆ่ากิเลส ระดับสามัญได้ ก็อยู่กับจิตใต้สำนึก ถ้าท่านฆ่ากิเลส ในจิตใต้สำนึกได้ จิตไร้สำนึก ก็จะมาเป็นจิตสำนึก จนล้างหมด อย่างอยู่กับโลก เปิดตา เปิดทวาร ๕ ในชีวิตสามัญเลย ทำไมพระเทวทัต จึงอาฆาตพระพุทธเจ้า ตอบ ถ้าคุณอ่านชาดก ๕๐๐ ชาติ จะรู้ว่าเทวทัต จองเวรจองกรรม กับพระพุทธเจ้า ไม่รู้กี่ร้อยชาติ จะเห็นเลยว่า ชาตินั้นชาตินี้ คนนี้คือเทวทัต คนนี้คือเรา คือทำชั่วทำเลว กับพระพุทธเจ้า นับครั้งไม่ถ้วนเลย เป็นเรื่องของ จิตของผู้อวิชชา แล้วไม่สำนึก ยิ่งอาฆาต มาดร้าย จองเวรจองกรรม อาฆาตผู้เจริญอีก ก็สุดท้าย หมดสิทธิ์เป็น พระพุทธเจ้าเลย เพราะทำ อนันตริยกรรม ก็ต้องไปถาม พระเทวทัตเอง ของใครกับใคร ก็ไม่ควร จองเวรจองกรรมกัน เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ คืออย่างไร ตอบ เป็นส่วนแห่งบุญ คือเกิดส่วนเกิด ภาคที่เป็นบุญ (ปุญญภาคิยา) คือส่วนที่ทำให้เกิด การชำระ จิตสันดานให้หมดจด เมื่อคุณเป็นเสขบุคคล ก็ได้ส่วนแห่งบุญ สะสมไป อย่างสัมมาทิฏฐิ จนกว่าจะเป็น อปุญญาภิสังขาร เป็นอเสขบุคคล ก็ได้ผลแก่ขันธ์ คือ ได้มรรคผล ได้ขันธ์ที่สะอาดขึ้นๆ สังคมนับแต่วันนี้ไปจะแย่ลงทุกวันๆใช่ไหม ตอบ ใช่ โลกกำลังเดินสู่กลียุค เดินสู่ไฟประลัยกัลป์ เพราะมนุษย์ ทำให้โลกเสื่อม เป็นตัวเหตุ พ่อครูเคยพูด แม้แต่การสร้างจรวด ออกนอกประเทศ ก็ทำให้ แกนโลกเปลี่ยน จรวดเป็นแรงขับโลกด้วย เป็นแรงสะท้อนกลับ ยิ่งแรงมาก ยิ่งมีการ แปรเปลี่ยนมาก มนุษย์ทำโลกให้วิกฤติ นั่นคือวัตถุ แต่เรื่องจิตใจคน จะเลวร้ายลงเรื่อยๆ เราต้องรีบปฏิบัติ จะได้ไม่เป็นเหตุ และไม่ตกในบ่วง จะไหลไปหามิตรดี พระพุทธเจ้าสอนว่า มนุษย์และสัตว์ เวียนว่ายตายเกิด ท่านสอนมา ๒๖๐๐ ปีแล้ว มาวันนี้ วิทยาศาสตร์ ก้าวหน้า กำลังส่งคน ไปดาวอังคาร หมายความว่า ใช่มีแต่โลกนี้เท่านั้น มีดาวอังคาร หรือว่าเวียนว่ายในดาวอังคาร ไปแล้วไปลับ วิทยาศาสตร์เจริญ สวนทางกับที่ พระพุทธเจ้าสอน ใช่ไหม ตอบ พ่อครูเคยอ่านพบว่า นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ชีวะมันเกิดก่อน โลกนี้เกิด ชีวะมีอยู่ ในมหาจักรภพนี้ นี่คือโวหารภาษา พ่อครูสื่อให้เข้าใจ ไม่ให้ติดยึดภาษา ต้องชัดเจนว่า โลกอย่างลูกโลกนี้ ที่หมุนเวียน ในมหาจักรวาล แต่จะมีโลกลูกไหนที่มี การเจริญจาก อุตุ พีชะ จิต กรรม ธรรมะได้ คำตอบก็คือ จะบอกว่า ที่พระพุทธเจ้าค้นพบ สวนทาง วิทยาศาสตร์ หรือไม่นั้น ไม่ใช่ วิทยาศาสตร์ ยังค้นไม่เจอต่างหาก พ่อครูคะวานนี้พ่อครูประชุม ๓ บริษัท ดิฉันเห็นกิเลสคน ที่แสดงให้ดู และคำสอนพ่อครู ได้ข้อสรุปว่า เรามาปฏิบัติธรรม เรามาเอาภาระตัวเรา ปฏิบัติที่ตัวเรา ฝึกตัวเรา กิเลสของเรา โดยมีเพื่อนร่วมทาง ที่มาทำร่วมกัน เราเอาภาระกิเลสตัวเอง ก็พอประมาณแล้ว การจะเอาภาระกิเลสคนอื่น ก็ต้องระวังใช่ไหม เอาแต่ชี้กิเลสคนอื่น จะพลาดกิเลสตน ตอบ ใช่ พระพุทธเจ้าสอนให้ทำนาตนเอง จะมีเมตตาอะไร ปานนั้น พระพุทธเจ้าว่า ให้ทำคุณอันสมควร ของตนก่อน พร่ำสอนคนอื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง แล้วให้พูด สิ่งที่ตนเป็น เป็นในสิ่งที่ตนพูด เด็กขี้เกียจทำไงดี ผีมีจริงไหมคะ ขี้เกียจมากๆก็ตี ตอบ ตีก็ต้องตีอย่างไม่มีอารมณ์โกรธ ถ้าจะตีต้องให้รู้ว่า จะตีนะ มีความผิดอย่างไร ตีให้เจ็บ เพราะที่จะให้เสียหายนั้น มากกว่าที่ตี ครูที่เป็นคู่กรณีเด็ก ก็ไม่ให้ตี โดยให้พิจารณากัน ในคณะประชุม แล้วกำหนดคนตี สัมมาสิกขาเรา มีการตี เด็กไม่ดี เราก็ตี เป็นการสอนธรรมดา ใช้สัญชาติญาณเจ็บ มาสอนคน แต่ถ้าตีด้วยสิ่งไม่ดี ก็ไม่ควรตี ผีคือจิตที่ไม่ดีไม่งาม ส่วนผีที่อยู่นอกตัว คือผีหลอก ผีเท็จไม่จริง ดังนั้น ผีคือ จิตวิญญาณไม่ดี มันไม่มีรูปร่างหรอก ผีหลอกจริงๆน่ะไม่มี ผีจริงๆนั้น ไม่มี ถ้าล้างแล้ว ก็ไม่มีในตัว ขณะนี้กิเลสกำลังแสดงฤทธิ์ มีกำลังมาก เราเฉโก ทำอย่างไร จะจัดการตัวเฉโก (เมาอาหาร ชอบนอน ไม่ชอบวุ่นวาย ชอบนิ่งๆ) ตอบ กำปั้นทุบดิน ให้มาเรียนรู้ธรรมะให้สัมมาทิฏฐิ สักกายะกับอัตตาต่างกันหรือไม่ ตอบ ต่างกันโดยพยัญชนะ คำว่าสักกายะ คือผู้ปฏิบัติ มีญาณปัญญา อ่านตัวตนนั้นออก คือรู้สักกายะ คือผู้พ้น สักกายะทิฏฐิ สักกายะคือวิสามัญนาม ส่วนอัตตา คือสามัญนาม เป็นตัวกว้าง สักกายะคือ กิเลสที่จับตัวมันได้ เมื่อมันเล็กลงก็คือ เห็นอัตตานุทิฏฐิ ...จบ
|
||
|