560426_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครู และอ.กฤษฏา
เรื่อง รู้จักสังขารและการเกิดอย่างพุทธ

   
อ.กฤษฏา เปิดรายการที่ห้องกันเกราสันติอโศก

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา พ่อครูได้อธิบายเรื่องของสังขาร และขยายความ สังขาร แปลง่ายๆคือ การปรุงแต่ง และอะไรคือการปรุงแต่ง และมันมีกระบวนการ ปรุงแต่งอย่างไร เท่าที่ติดตามพ่อครูมา เรื่องการปรุงแต่ง พ่อครูอธิบายถึง คำที่เรียกว่า ความจงใจ ความตั้งใจหรือ สญฺเจตนา หรือคำว่า สัมประสิทธิ์ทางใจ ซึ่งจะมีความลึกซึ้ง อย่างไร ก็ต้องนิมนต์พ่อครู อรรถาธิบาย

พ่อครู...สังขารนั้น พ่อครูได้ขยายความว่า.. คำว่าสังขารนั้น พ่อครูได้ใช้คำว่า สัมประสิทธิ์ทางใจ ซึ่งเป็นศัพท์วิทยาศาสตร์ เราเอามาใช้ทางธรรม สัมประสิทธิ์ มีค่าที่คงที่ อันหนึ่ง และก็มีส่วนที่ทำงาน ร่วมกันกับสัมประสิทธิ์ เรียกว่า เป็นตัวแปร คือมีสิ่งคงที่ตัวเสถียร เป็นจำนวนจริง แล้วมาขึ้นอยู่กับตัวแปร ที่จะเกิดปฏิกิริยา ไม่ว่าจะเป็น ทางวัตถุ หรือนามธรรม ก็เรียกว่าการปรุงแต่ง นำเอาคำว่า สัมประสิทธิ์มาใช้

คำว่าสังขาร ความหมายนั้น หลากหลาย ในพจนานุกรม บาลี-ไทย ฉบับภูมิพโลภิกขุ ท่านอธิบาย ขยายความไปมาก ว่าเป็นสภาวะสัมพันธ์ ที่เกิดขึ้นก่อน หรือกระทำร่วมกัน

สังขารนั้นมีสญฺเจตนา มาร่วม แต่โดยปกติคนทั่วไป ไม่ได้เรียนรู้จิต จะอ่านและควบคุม สัญเจตนาไม่ได้ แต่มันก็ทำงาน โดยอัตโนมัติ ทีนี้ตัวสัญเจตนา มีอะไรเป็นเหตุปัจจัย

เหตุปัจจัยของสัญเจตนา ถ้ามีอกุศลเหตุ ก็ทำให้ความมุ่งหมายนั้น เดินไปสู่ อกุศลกรรม แต่ถ้าศึกษาฝึกฝน จิตเจตสิก จนกำจัดอกุศลได้ แม้จะมีเจตนาอะไร ก็ไม่มีอกุศล เป็นเหตุไปปรุงร่วม เพราะได้กำจัดเหตุแล้ว

ในการปรุงแต่ง (สังขาร) จะประกอบด้วย สังขารที่ท่านอธิบายไว้ ถ้าเป็นจิตสังขาร ก็ประกอบด้วย สัญญาและเวทนา ในพระไตรฯล. ๑๒ ข้อ ๕๐๙ อธิบายสังขารไว้ว่า
[๕๐๙] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สังขาร มีเท่าไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สังขารเหล่านี้ มี ๓ ประการคือ กายสังขาร วจีสังขาร
จิตตสังขาร.
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็กายสังขาร เป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร จิตตสังขารเป็น
อย่างไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ
       ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เป็นกายสังขาร
       วิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร
       สัญญาและเวทนา เป็นจิตตสังขาร.

คำว่า "กายสังขาร"ที่ภิกษุณีบอกนางวิสาขาทำ ไม่มีแต่ลมหายใจ ก็เพราะในอาริยะ ด้วยกัน ก็ละไว้ ในฐานที่เข้าใจแล้ว ว่าหมายถึง กายนอกทั้งหมด รวมถึงลมหายใจ

ส่วน "วจีสังขาร"นั้น เป็นเรื่องลึก จะอธิบายต่อไปภายหลัง

และ "จิตสังขาร" ท่านหมายเอา เวทนา และสัญญา หมายความว่า สังขารก็เกิดจากเจตสิก ด้วยกันนี่แหละ

สังขารคือ สภาวะที่มีปฏิกิริยาอยู่ตลอดเวลา ของเหตุและปัจจัย ซึ่งทางวัตถุธรรม ดินน้ำลมไฟ ก็สังขารกัน อยู่ตลอดเวลา แต่ที่สำคัญคือ เราต้องมาเรียนรู้สังขาร ที่เป็นปรมัตถธรรม คือข้างใจ ส่วนข้างนอกก็ให้รู้ประกอบ อย่างพิจารณากายคตาสติ ท่านก็อธิบายภายนอกหมด แต่ก็เกี่ยวกับตัวคน แม้แต่อธิบาย นวสีสถิกา ก็อธิบายถึง ๙ ลักษณะ ของความสลาย ความไม่เที่ยงของกาย ให้พิจารณาเป็น กายคตาสติ หรือ สติปัฏฐาน คือให้พิจารณากาย คือกายนอกและกายใจ แต่ที่จริง กายนอกก็เปลี่ยนแปลง มีการเน่าสลาย มีหนอนเจาะ คือมันเปลี่ยนแปลง แยกธาตุ ลักษณะอย่างนั้น คือความไม่เที่ยง ก็ได้ความหมาย อย่าไปยึดมั่นถือมั่น ซึ่งวัตถุเราเห็นได้ชัด

เช่นเดียวกับนามธรรม ก็ไม่เที่ยง แตกสลาย ก็น้อมให้เห็น เช่นเดียวกัน เมื่อเห็นทางวัตถุแล้ว ก็ต้องมาเห็นนามธรรม เห็นว่ามันไม่เที่ยง แต่ว่าเป็นการเห็น ด้วยตาปัญญา ต้องมีการกำหนดรู้ ใช้จิต คือสัญญา ซึ่งเป็นเจตสิกสำคัญ ในการฝึกปรือ กำหนดรู้

เมื่อรู้ว่านามธรรมก็ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไป ก็คือการเห็น องค์ประชุมของกาย นี่แหละคือ การเห็นกายทิพย์ เห็นอนิจจัง ขององค์ประชุม เห็นความไม่เที่ยงของ กายทิพย์ ซึ่งไม่ใช่ เข้าใจกายทิพย์ เป็นการเนรมิต เห็นเป็นตัวตนอย่างนั้น ไม่ใช่

เมื่อพูดถึงว่า อะไรก็ไม่ใช่ตัวตน คนที่มีปัญญาชัด ก็จะเห็นว่า ทุกอย่าง ในมหาจักรวาล ไม่ใช่ตัวใช่ตน ก็เลยคิดว่า ทุกอย่าง ไม่ต้องศึกษาเลยสิ แต่ว่าจริงๆแล้ว ความยึดติดใน ตัณหาอุปาทาน นั้นมีจริง ดังนั้น ถ้าคุณมีตัวตน แต่คุณนึกว่า ตนเองไม่มีอุปาทาน ก็เลยไม่ศึกษา ที่จะล้างอุปาทาน ก็ไม่มีทางหลุดจาก อุปาทานได้ ไม่ได้ไปศึกษา จนรู้แจ้งเห็นจริง ในนามธรรม

คุณต้องอ่านให้เห็นชัด ในความยึดติด ของคุณจริงๆ แม้คุณจะเข้าใจว่า อุปาทาน ความติดยึด ไม่มีจริงไม่มีตัวตนไม่ใช่ตัวตน ก็เลยคิดว่า ไม่ต้องศึกษา คนที่ยึดอย่างนี้ จึงชื่อว่า "อัตวาทุปาทาน" คือยึดคำว่าอัตตาได้แค่วาทะ คือเข้าใจแค่เหตุผล แต่ไม่รู้ว่า ตนเองมีอุปาทานติดยึด จริงไหม เพราะไม่เรียนรู้ว่า อุปาทานความติดยึดในตน เป็นอย่างไร ได้แต่ท่องพยัญชนะ

 ถ้าไม่ศึกษาจนมีตาทิพย์ และล้างอุปาทาน ตามหลัก อริยสัจ ๔ ได้ อุปาทานคือตัวยึด ที่มีภพเป็นปัจจัย ซึ่งตัณหา มีอุปาทานเป็นปัจจัย ถ้าคุณอ่านภพเป็น ความเป็นภพ คือเป็นที่อาศัยอยู่ ซึ่งในภพของกามคุณ ได้ศึกษาหรือไม่ แม้แค่ขั้นอบายภพ ที่เกิดจากการสัมผัส ทวาร ๕ ที่คุณฝังเป็นอุปาทานในภพ

เรียกว่ากามภพ ต้องประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย คุณได้เรียนรู้หรือยัง อุปาทานหรือตัณหา คุณต้องเรียนรู้ อ่านให้ออกว่า อุปาทานคืออาการอย่างไร แต่อุปาทานนั้นอ่านยาก เพราะเป็นตัวนิ่ง เป็นตัวฝังลึก ส่วนตัวที่มัน แปลงตัวเคลื่อนไหว คือตัณหา จะมีอาการตัณหา เราจะเรียนรู้ กำจัดตัวนี้แหละ

เมื่อเราดับตัณหา กำจัดได้จริง ทีละเล็กละน้อย จนดับได้สนิท อุปาทานก็หมดไปได้

ในวิภังคสูตร พระไตรฯ ล. ๑๖ อธิบายไล่ไปตั้งแต่ อวิชชา ไปจนมีสังขาร วิญญาณ.... พอเราเริ่มศึกษา ว่าเราจะเรียนรู้สังขาร ท่านก็บอกเอาไว้ ในบริบทของ ปฏิจจสมุปบาท ท่านตรัสถึง ชาติไว้ ๕ อย่างที่ท่านแปล จากบาลีมาว่า
       ๑. ความเกิด (ชาติ)
       ๒. ความบังเกิด (สญฺชาติ)
        ๓. ความหยั่งลง (โอกฺกนฺติ)
        ๔. เกิด (นิพฺพตฺติ)
        ๕. เกิดจำเพาะ (อภินิพฺพตฺติ)

คนปุถุชนจะเกิดอยู่แค่ ชาติ สัญชาติ คำว่าสัญชาตญาณ ก็คือการเกิดจากสัญญา คือมีทั้ง เดรัจฉานและมนุษย์ ใช้สัญชาตญาณ ที่ฝังมาแต่เดิม แต่พอมาเกิดใหม่ ในปัจจุบัน ก็คือ โอกกันติ

ส่วนความหยั่งลง หรือโอกกันติ นั้นคือการเกิดใหม่ ถ้าเกิดอย่างอวิชชา คนมีกิเลสมาก กิเลสก็บงการ ให้เกิดอกุศล แต่ถ้ากิเลสน้อย จิตตัวโอกกันติ ก็เกิดจาก การสัมผัส และปรุงแต่ง จากฐานเดิม ที่มีสัมประสิทธิ์ (ธาตุเดิม) และจะมีตัวปรุงแต่ง เป็นตัวแปร ถ้าจิตคุณอุปาทาน หรือตัณหา มีมาทำงาน มันก็อัตโนมัติทำงาน คุณจะไม่สังวรระวัง แต่ว่าลึกๆ คนก็พอรู้ ว่าไม่ดี คนจึงไม่แสดงราคะ โทสะ อย่างโจ่งแจ้ง คนจะมี มารยาทสังคม ไม่แสดงออกรุนแรง แต่ถ้าแต่ละคนแสดง ถ้ามีราคะก็แสดง ก็บอกว่า ฉันจริงใจ ฉันมีโทสะ ก็บอกว่า จริงใจ ก็เป็นได้

เมื่อเราสามารถรู้อาการ "ชาติ" (ชาติปิทุกขา การเกิดใดๆ เป็นทุกข์)  เมื่อเรามีวิชชา ก็จะสามารถเกิดอย่างนิพพัตติ คือมีวิชชา เข้ามาร่วม ก็จะมีโอปปาติกะโยนิ (สังขาร คือ การเกิดทางใจ ที่มีอาการจัดแจงทำงานร่วมกัน มีสัมประสิทธิ์ทางใจ ฯ) พอมาถึง นิพพัตติ ก็จะรู้การเกิด และก็จะศึกษา เหตุที่พาให้เกิด ถ้าเหตุที่เป็นอกุศล คือกิเลส นิวรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะ กามและพยาบาท เป็นตัวหลัก

เมื่อรู้ว่าเป็นกามหรือพยาบาท คุณก็ต้องรู้จักมีสติ และสัมปชัญญะ สัมปชานะ มีนามรูปปริเฉทญาณ ปัจจยปริคหญาณ ในสภาวะที่เป็น ปัจจุบันธรรม ตาเรากระทบรูป มีวิญญาณเกิด ถ้ามีอวิชชา ก็ปรุงแต่งปุ๊บเป็นอารมณ์ หรือเวทนา ถ้าคุณไม่ได้ฝึก ให้สัญญากำหนดรู้ แต่เมื่อสามารถฝึก ให้สัญญากำหนดแยกแยะ ว่า เป็นเวทนาสุข หรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ แล้วรู้ว่า มันมีเหตุที่มา จากไหน

เหตุที่ทำให้สุข คือตัวต้องการได้มา เป็นของตน หรือได้เสพรส ถ้าได้มาเป็นของตน ก็เป็นอัตตา หรือ อัตตนียา แต่ถ้าเสพรส ได้สมรสราคะ หรือกาม คือความต้องการ เสพรส เสวยรส

ถ้าโลภมาเป็นตนคือโลภ ถ้าราคะหรือกาม คือได้มาเสพรส (ใคร่อยากมาเป็นตน คือโลภะ ใคร่อยาก มาเสพรส คือราคะ)

พอสัมผัสก็มีภาวะในปัจจุบัน เช่นเรากำลังดูภาพ ดูความสวย อาการขณะที่ตั้งอยู่ สัมผัสเกิดเวทนา ที่ชื่นใจสมใจ ต้องตามอุปาทาน ว่าน่าได้น่ามีน่าเป็น ต่อเนื่อง ตั้งอยู่ ก็คือคนต้องการ การเกิดอันนี้ พอหมดจากสเปคนี้แล้ว ก็ไปสเปคอันอื่น ขณะที่ตั้งอยู่ ก็คือ โอกกันติ คนก็เพลิดเพลิน สนุกสนาน ถ้าขาดตอน ก็ไม่ต่อเนื่อง แล้วก็ไม่ต่ออันอื่น ต่อไป

พอดูอันนี้มีการเพลิดเพลิน ดูความเคลื่อนไหวลีลา ก็ชอบใจ การชอบใจนั้น เกิดขณะสัมผัส แต่พอหยุด ก็ไม่มีแล้ว นี่คือ ความไม่มีตัวตน ของเทวดา สมมุติเทพ คือเทวดากามเทพ (เทพที่เสพกาม) มันมีความจริง อยู่แค่สัมผัส ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป (นี่คืออนัตตา) แต่สิ่งที่คุณชอบใจ ติดยึดนั้น ไม่หายไป ฝังเป็นสันดาน เป็นอุปาทาน ก็ติดยึด ว่าน่าได้ น่ามีน่าเป็น และปรุงแต่งเพิ่มได้ เพราะฉะนั้น อารมณ์สุข ปรุงแต่งนั้น เดี๋ยวเดียว ก็หายไป ท่านบอกว่า ไม่มีแก่นสาร ที่เหลือคืออุปาทาน ยึดฝังไว้ในใจ เป็นเหตุแห่งทุกข์

         คนเราถ้าเห็นจริงเห็นจัง ในสภาวะนั้น ก็จะเห็นว่า สิ่งที่เราไปไล่หานั้น มันเหมือน พยับแดด เดือนสุดท้าย แห่งฤดูร้อน ฟองน้ำที่ฝนตกนำมา ฟองคลื่น เป็นของว่างเปล่า คุณสุขตรงพยับแดด พอหมด สุขก็หายไป เกิดทางสัมผัส ทางทวาร ๕ เหมือนเรา ดมยาดม ชื่นใจ

ที่นี้เป็น รสโลภะจะอยู่นานกว่า เช่นคุณได้เงินได้ทอง คุณก็เอามากอด เป็นของฉัน ฉันก็กอด อยู่อย่างนี้ ว่าเป็นของฉัน พอมันจะเคลื่อนไป จากของฉัน ก็ดิ้นพราดๆ ทุกข์ทันที แต่ถ้ามันไม่หายไป ใส่เซฟไว้ แล้วฝากธนาคารไว้ ก็เลยเหมือนว่า ความสุขนี้ยังอยู่ นี่คือ โลภมาเป็นของฉัน

ตอนตายแล้ว คุณก็กองไว้ในโลก แล้วคุณก็เอาสิ่งนี้ มาบ้า ซื้ออะไร มาใส่ตนอีก ก็แล้วแต่

ทีนี้ในยศชั้นที่เราได้เรามี มันก็เป็นของฉัน พอเขาปลดยศ ที่นี้ก็ไม่มีของฉัน ก็ทุกข์อีก

ขณะเขาสรรเสริญยกย่อง ก็คิดว่า กูมีสิ่งที่เขาสรรเสริญ แต่พอเขาเปลี่ยนแปลง ไม่ยกย่อง ก็คิดว่า ทำไมเขาไม่สรรเสริญ แล้วก็ทุกข์อีก นั้นคือคนเสพรส แล้วเอามาเป็นเรา เป็นของเรา

คนเข้าใจแล้วก็ว่า เขาหลอกเรามาสุขมาทุกข์ แม้การเสพสัมผัส ก็ต้องได้ตามต้องการ ได้เสพสีอย่างนี้สุข แต่คนอื่นไม่อยากอย่างคุณ ก็ไม่แย่งกัน แต่ว่าถ้าเสพตรงกัน ก็แย่งชิงกัน สารพัด ถ้าคนไหน จิตเข้าใจว่าไม่ต้องไปเสพสุข ไม่ต้องได้รูป เสียงกลิ่น รสอย่างนี้ จิตเห็นเลยว่ามันหลอก เป็นพยับแดด ฟองน้ำ มันชั่วแวบที่สัมผัส ถ้าเกิดต่อเนื่องก็คือโอกกันติ แต่ถ้ามันหยุดต่อเนื่อง ก็มีขณะนั้นเท่านั้น พอขาดสัมผัส ก็หมด หรือกลบเกลื่อน เป็นอย่างอื่นไป พอยืนสบายดี หมดไคลแมกซ์ แล้วก็ไปนั่ง สบายดี พอจบไคลแมกซ์นั่ง แล้วก็ไปนอน สบายดี ก็เสพอยู่ไม่รู้เรื่อง ธรรมดาชีวิต ต้องเปลี่ยนไป ตามเหตุปัจจัย โดยไม่ต้องเสพรส คนที่เข้าใจว่า เดินนี่แหละ ทำงานนี่แหละ คนชอบทำงานก็ดูว่า ตนเองเพลินสนุก เรามีองค์ประกอบ ที่เพลิดเพลิน สนุก หรือว่าเราจะปรุงแต่ง สร้างสรร จัดแจง ให้เกิดประโยชน์ ไม่เกิดโทษให้เราได้อาศัย หรือคนอื่นอาศัย

ถ้าคนที่ติดยึดน้อย ท่านก็จะรู้ว่า สุดท้ายเราจะอาศัย เพื่อทำงาน คุณจะมีอิริยาบถ มีกรรมกิริยา ทางกาย-วาจา-ใจ ที่กรรมได้ก่อ ผลผลิตของงาน เช่นทำกสิกรรม ก็ได้ผลผลิต เป็นอาหาร สิ่งอาศัย หล่อเลี้ยงชีพ ถ้าอุปโภค ก็เป็นสิ่งที่ใช้จำเป็น หรือบริขาร คุณก็ทำ แม้ที่สุด คุณเองไม่ใช้ แต่ทำให้คนอื่นใช้ ก็สมควรทำ เช่น เราไม่นอนแล้วอู่ แต่เด็กต้องนอนอู่ เราก็ทำอู่ ให้เขาเลี้ยงลูก หรืออื่นๆ เป็นประโยชน์ สร้างสรร

ถ้าเราไม่ทำกสิกรรม แต่เราทำเสียมได้เก่ง เราก็ทำเสียมให้เขา ให้เกิดประโยชน์ เรารู้ว่า อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ ชีวิตจึงรู้แก่นสารสาระ รู้องค์ประกอบปรุงแต่ง คนหลงติด เป็นการบำเรออารมณ์ พระพุทธเจ้าสอนว่า ไม่ต้องบำเรออารมณ์ ก็อยู่ได้ หลงบำเรอนั้น เปลืองเวลาทุนรอน แรงงาน จึงเป็นคนที่รวย รวยอาริยทรัพย์ รวยแรงงาน ที่จะเอามาสร้างสรร นี่คือเศรษฐี หรือเสฏโฐ คือผู้เจริญอย่างแท้จริง แม้ไม่มี ข้าวของมาก แต่เป็นผู้ที่ทำงาน เพื่อคนอื่น แม้บริขารบางอย่าง เราทำให้คนอื่น ไปใช้ประโยชน์ โดยตนเอง ไม่ต้องใช้เลย

ชี้ให้เห็นว่า คนเราหลงเสพรส หลงเสพยึด ว่าเป็นของกู ผลที่เป็นโทษ คือเมื่อยึด ไม่ได้เป็นของเรา ก็โกรธอาฆาต ต้องแย่งชิง จึงเกิดสงคราม เรียกว่า สรณะ (ประกอบไปด้วย สงคราม) คือคนที่ ยังไม่เข้าใจ ยังต้องพึ่ง สิ่งที่ต้องแย่งชิง จากคนอื่น เอาจากคนอื่น อาศัยสิ่งที่ตนไม่มี

ถ้าเราสร้างอันนี้ได้ไปตีราคา ทั้งวัตถุ ความรู้ วาจาก็ตาม ถ้าเป็นสิ่งประเสริฐดีงาม ก็เป็นสิ่งแพงค่า ยิ่งสร้างสิ่งประเสริฐ ยิ่งแพง ถ้าตีราคาแล้ว มันคุ้มกับ ที่เขาเอามา ให้เรากินเราใช้ คือผู้ที่มีค่า มีราคาสูงกว่า ที่คนเขาเอามาให้ใช้ จึงเป็นคนที่รวย อย่างเศรษฐี

สรุปคือเราพึ่งกรรมการงานของเรา แล้วเราก็รวย ตามที่คิดค่าเฉลี่ย เราอาศัยกินใช้ เล็กน้อย ผู้นี้ไม่ยึดเป็นของตน ไม่เสพรส เป็นผู้เพียรรู้ การงานอันไม่มีโทษ มีพลัง ๔ มีพลังปัญญา รู้อะไรควร ไม่เป็นโทษ แล้วมีพลัง ขยันหมั่นเพียร สร้างสรรแต่ความเจริญ ดีงาม มีแต่คุณไม่มีโทษ มีแต่ทำการงาน อันไม่มีโทษ รู้งานเอกงานรอง ควรทำอะไร ตามกาละ ทำแล้วไม่ยึดเป็นเรา เป็นของเรา สังคหะ มี ปะระปฏิพัทธา เม ชีวิกา มีชีวิตเนื่องด้วยคนอื่น เราก็ทำงานไป มีแต่กำไร มีแต่เหลือเฟือ แจกจ่ายเจือจาน นี่คือ คนที่เป็นอาริยะ ที่พระพุทธเจ้าสร้าง

ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ของพวกเรา เขาจึงเต็มใจทำ เพราะเขาเชื่อว่า พ่อครูพาทำพลัง ๔ แน่ และก็รู้ว่าหมู่นี้ไม่โง่หรอก เขามาอยู่ มามีชิวิตเช่นนี้ เขาก็จะเชื่อหมู่ เชื่อตัวเอง ว่ามีปัญญาตัดสิน ว่าอย่างนี้ใช่ ทั้งผู้นำ - หมู่กลุ่ม  - ตัวเอง ก็มีน้ำหนัก ที่จะมารวมกัน อโศกเรามีน้อย ถ้าอโศกมีมาก แล้วคุณจะตกใจ ปีนี้มี ๒๐๐ ปีต่อไปมี ๒๐๐,๐๐๐ คน จะมหัศจรรย์มากเลย แต่ก็เป็นได้ยาก เพราะคนที่มาไม่ได้ถูกหลอก ไม่ได้มาด้วยโง่ พูดชัดๆว่า อาตมาไม่ต้องการฝูงควาย ใครจะมาก็ต้อง มีปัญญามา

พระอรหันต์ไม่เอาความโง่ หรือความหลอกมาสอนคน ก็ได้ฝูงควายมา เราหาคนฉลาด มาช่วยกัน เราไม่ต้องจูงกัน ทิ่มกันด้วยปฏัก ไม่ทำหรอก แต่ทุกวันนี้ ก็เฆี่ยนให้สำนึก พูดให้เข้าใจ ให้สะดุ้งสะเทือน ว่า เราต้องปรับปรุง อยู่ตลอดเวลา

ธรรมะพระพุทธเจ้าท่านประกาศ ไม่ใช่หาบริวาร เพื่อหลอกล่อ ประเล้าประโลม ไม่ทำ แต่เอามาเปิดเผยเท่านั้น ไม่ทำเพื่อให้คนมา เคารพนับถือ หรือเป็นบริวาร คุณมานี่ ไม่ใช่มาเป็นบริวาร แต่มาเป็นเจ้าภาพ พูดอย่างนี้ เหมือนหลอกล่อจิตวิทยา แต่ไม่ใช่ เราทำอย่างซื่อๆ ยิ่งจะทำเพื่อแลก ลาภยศสรรเสริญ สักการะ ทิ้งไว้ไกลๆเลย หรือแม้แต่ จะมาเป็นเจ้าลัทธิ ไปล้มล้างลัทธิก็ไม่ใช่ ให้เขามีความคิดอิสระ คุณจะมาร่วมกัน เราจะมาเดี่ยว หรือมากลุ่ม ก็แล้วแต่ มีวิถีของแต่ละคน เราไม่ไปล้มล้างคัดค้านเขา แต่พูดเลี่ยงไม่ได้ว่าขัดแย้ง เราเลี่ยงไม่พูดอันนี้ ว่าดีหรือไม่ดีไม่ได้

อันนี้สุดยอดเลย เรามาทำงานนี่ไม่ต้องการ ให้คนเข้าใจว่า เราเก่งเราสามารถ แต่เขาจะยกให้เอง เชื่อไหมว่า พ่อครูไม่อยากได้ ให้คนมาชม หรือให้คนมาเข้าใจว่า พ่อครูเก่ง พ่อครูดี แม้แต่ที่สุด พ่อครูวิเศษ คุณจะเข้าใจ ไม่มีใครบังคับ แต่เราต้อง อ่านใจตนเอง ว่าเราต้องการ เราอยากหรือไม่ คุณอวิชชา มองไม่เห็นก็ได้ คือคุณอยากได้ สรรเสริญ แต่คุณก็หลอกว่า ไม่ต้องการ ก็เป็นกรรมของคุณ

สังขารเกิดจากวิชชาหรืออวิชชาก็ได้ พ่อครูจะย่นจากชาติ ไม่พูดถึงชรามรณะ ย่นมาถึง สังขาร คือเมื่อเกิดการปรุงแต่ง ก็คือการเกิด มีตัวจิตเป็นประธาน ผู้ใดเริ่มรู้ สัมมาทิฏฐิ ก็จะมีจิตเลือกเฟ้น (วิจาร) ส่วนวิตกคือ รู้จักจิตที่เริ่มดำริ เขาแปลภาษาหยาบๆ ว่าวิจารณ์ ต้องแยกแยะ ว่าอันไหนถูกหรือผิด ซึ่งวิตก วิจารเป็นองค์ฌาน แล้วก็อ่าน วิจารจิตคุณเอง รู้ว่าตัวนี้เป็นกิเลส รู้ว่าเราตั้งใจจับมันให้ได้ คือรู้สักกายะ แล้วก็กำจัดมัน ด้วยกดข่ม หรือปัญญา คุณชัดเจนว่า มันคืออกุศลจิต เรามีพลังปัญญาที่มีอำนาจ มีฤทธิ์ มีพลังงานสูง คือความร้อน คือไฟ คือ ฌาน

เมื่อรู้จักวิจารกิเลสออก ก็ทำฌาน ซึ่งต้องมีปัญญาด้วย ฌานที่ไม่มีปัญญาไม่ใช่ฌาน ฌานคือความรู้เป็นพลังไฟ พลังสัมประสิทธิ์ มีความจริงที่คงที่ และมีทั้งพลังใหม่ ที่มีประสิทธิภาพ ที่จะทำลายกิเลส มันก็จะมีอำนาจ มีฉลาด สามารถทำลายพลัง ที่เป็นโทษ เป็นสัจจะของสัจจะว่า ถ้ามันมีพลังพอ มันจะทำลายกันได้ เป็นตัวแปร เชิงบวก

สังขารหรือสัมประสิทธิ์ทางใจ ก็จะทำงานตามฐานะ ความรู้ความสามารถ ของแต่ละคน จิตก็จะมีบทบาทของ อภิสังขาร แต่จะมีได้ ต้องฟังธรรมจากสัตบุรุษ เมื่อสามารถรู้ ความเกิด เมื่อกิเลสเกิด คุณก็จับตัวกิเลสได้ ทำลายกิเลสได้ (ปหาน ๕ ได้) มีวิขัมภนปาหน ตทังคปาหาน ต่อเนื่องเป็น สมุทเฉจทปหาน ทำได้เด็ดขาด ทำให้หายไป จากจิตได้ทุกครั้ง เมื่อทำได้แล้ว ก็ต้องทำอีกทำซ้ำ (อาเสวนา) ทำให้สำเร็จ และเพียร เพื่อรักษาผล (อนุรักขณาปทาน)

โสดาบันขั้นแรก ในญาณข้อ ๑ ของโสดาบัน ต้องทำกิเลสลด แล้วก็รักษาผลไว้คือ ปฏิปัสสัทธิปหาน โดยทำทวนทำซ้ำ ทำอาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง จนได้อย่างเป็น ปกติ คือ นิสสรณปหาน นี่คือญาณปัญญาข้อ ๒ ของโสดาบัน ก็จะยิ่งได้ประโยชน์ ได้คุณธรรม ได้สิ่งที่เป็น เมื่อได้มากขึ้น ก็เกิดเป็น โอกกันติ แต่ถ้าทำได้ มากกว่ากึ่งหนึ่ง ก็เกิดใหม่เป็น นิพพัตติ เป็นคนใหม่เกิดใหม่ ที่คุณจะอาศัยสังขาร อาศัยวิญญาณที่เป็นโลกุตระ อารมณ์เสพที่จะปรุงแต่ง คุณจะเห็นความต่าง เมื่อก่อน เราวนเวียนในอารมณ์ สุขทุกข์โลกๆ ตอนปุถุชน เราไปหลงอย่างนั้น เราไปเสียเวลา แรงงาน ทุนรอน ในภพอบาย ต้องสุขทุกข์ ทั้งที่ทุจริตเลวร้ายด้วยโลภโกรธแย่งชิง

อย่างที่ท่านเสวยสุขโลกีย์ อยู่ในชั้นบนไฮโซ แต่ต้องได้ลาภยศได้ชนะ แม้ต้องข่มขี่ ทำร้ายโกงกิน ทำไปทำไม ทั้งที่เงินที่มีกินใช้ กี่ร้อยชาติก็ไม่หมด เขาไม่เชื่อกรรมวิบาก เขาไม่รู้ว่า เขาทำอะไร ต้องชนะคะคาน สร้างบริวาร ให้คนหลงชื่นชม ว่ากูมีอำนาจ คนเชิดชู แต่ไม่เข้าใจว่า ทำกรรมเลวร้าย เดี๋ยวก็ตาย แล้วมีแต่กรรม ที่เป็นทรัพย์ ได้วิบากเลวร้าย ให้ตกนรกอเวจี น่าสงสาร

แล้วก็มีคนหลง ไปทำเลวร้ายตาม เขาคงไม่มาฟัง ที่พ่อครูพูด จะมีซักกี่คน เขามีชิวิตที่ หลงระเริงกันอยู่จะมีสักเสี้ยวครึ่ง คนที่จะมาฟัง อย่างที่พ่อครูพูดไหม?

เมื่อสังขารปรุงแต่งเป็นนิพพัตติ ก็สังขารดีขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นอภินิพัตติ ซึ่งจะมีความลึกซึ้ง ของสังขาร อย่าง สังขาร ๓ มี ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร

ซึ่ง อปุญญาภิสังขาร ท่านทั่วไปแปลว่า สังขารที่เป็นบาป (คือไม่ใช่บุญ) ความเข้าใจ อย่างนี้ ไม่พ้นความวนเวียน ของบุญและบาปได้ แต่ว่าพ่อครู ต่างไปจากท่านทั่วไป

ปุญญาภิสังขาร คือปรุงเพื่อชำระกิเลส จนกิเลสหมด ก็ไม่ต้องปรุงหรือชำระ ก็คือ อปุญญาภิสังขาร แล้วก็ต้องสั่งสม รักษาผลให้เกิด อเนญชาภิสังขาร ให้ตกผลึกแน่นเข้า จนสมบูรณ์

มีอภิสังขารอีก ๔ ในพระไตรฯ ล. ๓๕ ท่านอธิบายได้ละเอียดดี คือ
               อภิสังขารในอิทธิบาท ๔
               ฉันทสมาธิปธานสังขาร วิริยสมาธิปธานสังขาร จิตตสมาธิปธานสังขาร วิมังสาสมาธิปธานสังขาร

เมื่อสั่งสม อเนญชาภิสังขาร ก็จะสั่งสมเป็นสมาธิ คือเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย

ฉันทสมาธิปธานสังขาร คือยินดีในการสังขารอย่างนี้ ซึ่งถ้าคนอวิชชา เขาก็สังขาร เขาก็ยินดีพากเพียรด้วยนะ แต่เขาอวิชชา เขาก็ทำอย่างมีอกุศลเหตุ ทำบำเรอกาม กับอัตตา เขาก็จะได้สมาธิ ได้จิตที่ตั้งมั่น (สมาธิคือจิตที่ตั้งมั่น) ถ้าเป็นคุณสมบัติ ก็เป็นเรื่องดี แต่ถ้าเป็นโทษสมบัติ ก็สั่งสมวิบัติแก่ชีวิต

เมื่อเรามีโยนิโสมนสิการ ได้แล้ว ฉันทะที่เราจะทำ ก็จะสั่งสมสมาธิที่ตั้งมั่น ไปทางกุศล ถ้าเริ่มจากปุญญาภิสังขาร ก็พยายามสร้างฉันทะ ให้มีสมาธิ ด้วย ปธานสังขาร เมื่อสร้างสำเร็จ ท่านก็เรียกว่า
               ฉันทิทธิบาท –วิริยิทธิบาท –จิตติทธิบาท -วิมังสิทธิบาท

เป็นความเจริญของฤทธิ์ (อิทธิ) ที่ได้สั่งสมด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขาร วิริยสมาธิปธานสังขาร จิตตสมาธิปธานสังขาร วิมังสาสมาธิปธานสังขาร ก็คือการสั่งสม อิทธิบาท ๔ ให้เป็น อิทธิวิธี ก็จบ เป็นการเกิดที่สมบูรณ์ ด้วยอภินิพพัตติ เป็นอเนญชาภิสังขารเต็ม เป็นสมาธิ ฉันทสมาธิ วิริยสมาธิ จิตตสมาธิ วิมังสาสมาธิ ด้วย ปธานสังขาร

เขาว่าพ่อครูอธิบายนี้ไม่รู้เรื่อง และดูถูกพ่อครูด้วย ซึ่งพ่อครูเห็นสังสารวัฏ คือเขาต้อง ตกนรกอเวจี เพราะเขาลบหลู่ ละเมิดสัจธรรม เขาก็ย่อมได้นรก เห็นเขาที่ต้องวนเวียน

ชาติ ภพ อุปาทาน นั้นเราไม่ต้องทำ เป็นเพียงเหตุปัจจัย แต่สิ่งที่ต้องทำ เป็นตัวเหตุหลัก คือ ตัณหา เมื่อตัดตอนตัณหาได้ ชาติ ภพ อุปาทานก็ดับได้ ท่านให้ศึกษาตัณหา แต่ข้าม นามรูปไป เพราะคนสามารถสร้างตาปัญญา รู้นามรูป ความเป็นนามธรรม คือสิ่งที่รู้ สิ่งที่ถูกรู้คือรูป หูเรากระทบเสียง เสียงก็เป็นรูป กลิ่นที่จมูกกระทบรู้ กลิ่นก็คือรูป รสที่ถูกเรารู้ ก็คือรูป เราแยกรูปแยกนามได้ จนกระทั่ง รู้นาม-รูปได้

เวทนาก็คือนามธรรม เราสามารถมีญาณ อ่านรู้ได้ สุขหรือทุกขเวทนา ก็ถูกรู้ จึงเรียกว่า นามรูป นี่คือสภาวะของผู้มี นามรูปปริเฉทญาณ จากมหาภูตรูป เนื่องมาหาอุปาทายรูป จากกายในกาย สัมผัสด้วยตาเห็นสีแดงข้างหน้า มันปรุงแต่งเป็นสุขเวทนา เพราะสมใจ เกิดสุขเวทนา ก็อ่านสุขเวทนาเป็นปัจจุบันธรรม มีชะวะนะจิต อ่านทันว่า เรามีอุปาทาน เคลื่อนเป็นตัณหา ว่าเราได้ตรงสเปค คนไม่ตรงสเปค ก็ไม่ชอบ เราก็อ่าน รู้ว่ามันเคลื่อน จากอุปาทาน มาเป็นตัณหา เราก็รู้ว่า มันสุขแค่สัมผัส พระพุทธเจ้า ท่านให้อ่าน เวทนา ๖ ตัณหา ๖ วิญญาณ ๖ ต้องปฏิบัติที่ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ว่ามันไม่เที่ยง เดี๋ยวมันก็หายไป สีแดงมันก็เป็นของมันอย่างนี้ เราจะไปบ้าชอบใจ ยินดีไปทำไม เกิดผลักเกิดดูด แค่นี้แหละ คุณเคยบ้ามา กี่ชาติแล้ว

อ่านจิตให้เป็น ว่าเรายังเสพสุข หรือเราไม่ค่อยสบายใจ ยังมีทุกข์ แม้ถึงขั้น อนาคามี อรหันต์ก็ยังมี ทรถ (ในจูฬสุญญตสูตร) ให้ปฏิบัติตามบริบท ปฏิจจสมุปบาท ต้องปฏิบัติ ทางทวาร ๖ เมื่อมีกระทบทวาร ๕ ก็ต้องมีทวารใจ คอยรับรู้ มันจะเกิดเห็นของจริง ว่าเรายึดติดหรือไม่ ถ้าเราทำให้ไม่เกิดสุขทุกข์ เป็นเนกขัมมสิตอุเบกขา คุณต้องทำให้ได้ ตามลำดับ เช่นอบายมุข ผู้หญิงที่นี่ แต่ก่อนติดลิปสติก ชื่นใจเลย แต่เดี๋ยวนี้เฉยๆ เห็นเสื้อสวยๆ แต่เดี๋ยวนี้ สวยก็สวยไป บางทีไปลบหลู่เขาอีก ก็ยังไม่ดี ควรสงสารเขา แม้แต่หลงใหลในการได้ ข้าวของเงินทอง ทั้งที่รู้ว่า บารมีเรา ไม่ได้หมื่นล้าน แสนล้านหรอก แต่ทุกวันนี้ เราใจพอ สันตุฏฐีแล้ว

อ.กฤษฏา สรุป วันนี้ถ้าติดตามดู จะได้รู้คำว่า นิพพัตติ อภินิพพัตติ วันนี้ได้เข้าใจมากขึ้น ในกระบวนการเกิด ที่ทำให้รู้สังขาร เราได้เรียนรู้ ความเป็นสัญญา ได้เรียนรู้อย่าง บุพเพนิวาสานุสติญาณ ทำให้สามารถได้คำตอบ ได้ทะลุทะลวง ในรายละเอียด ของการปฏิบัติธรรม ...

จบ

 

 
๒๖ เมษายน ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานสันติอโศก