560429_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครู และอ.กฤษฎา
เรื่อง สมาธิจะต้องมีสัมมาทิฏฐิก่อนอย่างไร

        อ.กฤษฎา เปิดรายการที่ห้องกันเกราสันติฯ ...

ในช่วงที่ผ่านมา พ่อครูได้สาธยายธรรม เกี่ยวกับอิทธิบาท ๔ เป็นการถอดบทเรียน ของตลาดน้ำอาริยะ ๒๕๕๖ และมีงานต่อมา ของชาวอโศก คือค่ายยุวพุทธทายาท การงานที่เราทำนั้น ต้องมีอิทธิบาท ๔ และในวันที่ ๔-๖ พ.ค. ๕๖ ก็จะมีงานใหญ่ คืองานรวมชาติพันธุ์ วันฉัตรมงคลอีก ในเรื่องการงาน และความสำเร็จ ด้วยอิทธิบาท ๔ เป็นอย่างไร ก็ขอพ่อครู สาธยายธรรม เพื่อความเข้าใจ....

พ่อครู.......เรื่องนี้เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ คำว่าอิทธิบาท ๔ มี ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นเรื่อง ที่ต้องอธิบาย ถึงขั้นปรมัตถ์ ถึงจิตวิญญาณ และสรุปว่า ถ้าเป็นโลกียะ หรือโลกุตระ เป็นอย่างใด

ถ้าเป็นโลกียะ ก็เกิดจากจิต ที่ตั้งมั่น อย่างโลกๆเขาถือ สมาธิ คือความมั่นคง แน่วแน่ ของจิต คือ Concentration เป็น สมาธิ แม้ขณะลืมตา เป็นความมั่น ความไม่ส่ายไป แห่งจิต ซึ่งในพระไตรฯ ล. ๓๕ ข้อ ๕๐๕ พ่อครูอ่านเจอแล้วทำให้มั่นใจ ในเรื่องของ สมาธิและสังขาร เพิ่มขึ้น

                                    ๙. อิทธิปาทวิภังค์
  [๕๐๕] อิทธิบาท คือ
  ๑. ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขาร
  ๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย วิริยสมาธิปธานสังขาร
  ๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย จิตตสมาธิปธานสังขาร
  ๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย วิมังสาสมาธิปธานสังขาร
      [เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขาร]

        ซึ่งคนที่เข้าใจว่า สมาธิคือจิตที่เฉยๆ ปรุงอะไรไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้ นั้นไม่ตรงกับที่ พระพุทธเจ้าสอน และถ้าไปอ่าน ในความหมาย คำว่า สมาธิ ในพจนานุกรม ทั่วไป ก็จะมีความหมายว่า ความสงบ จิตไม่ส่ายไป จิตมั่นอยู่นั้น ถ้าเข้าใจ ความหมายเดียว ว่า สมาธิ คือนิ่งไม่ส่าย รู้อะไรอย่างเดียว รู้เป็นสองไม่ได้ อันนั้นไม่ใช่ แต่ สมาธิของพุทธ คือจิตสงบจากกิเลส ไม่มีกิเลสรบกวน ไม่ส่าย เพราะมีกิเลส หรืออกุศล กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ยังมีอยู่ เป็นสมาธิลืมตา ในมหาจัตตารีสกสูตร ท่านเรียกว่า สัมมาสมาธิ ไม่ใช้ General สมาธิ ที่ใครๆ เข้าใจกันทั่ว แต่เป็น สมาธิเฉพาะ ของศาสนาพุทธ

คำว่าสังขาร กับสมาธิ นั้นต้องเข้าใจให้ถูก ส่วนคำว่า ปธาน นั้นแปลว่า ความเพียร กับคำว่า อิทธิบาทนั้น ก็ไม่มีปัญหา เข้าใจกันได้ง่าย แต่คำว่า สมาธิ กับคำว่า สังขาร นั้นต่างหาก ที่เข้าใจ ยังไม่สัมมาทิฏฐิ ไม่ตรงตามที่พระพุทธเจ้าหมาย ซึ่งพระพุทธเจ้า ตรัสไว้ใน พระไตรฯ ล. ๑๔ ข้อ ๒๕๒ ว่า

        ๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
    [๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
        พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง สัมมาสมาธิ (อริโยสัมมาสมาธิ) ของ พระอริยะ อันมีเหตุ (สอุปนิโส) มีองค์ประกอบ (สปริกฺขาโร) แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟัง สัมมาสมาธิ นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
        [๒๕๓] พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิ ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่ จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (จิตฺตสฺส เอกคฺคตา) (แทรกว่า เอกคฺคตา แปลว่า ความยิ่งใหญ่ด้วย) ประกอบแล้วด้วยองค์ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิ ของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ (พ่อครูอธิบาย ว่า..ไม่ใช่อยู่นิ่งๆ อย่างเดียว ยังสามารถ คิด พูด ทำ ทำอาชีพได้ด้วย นี่คือจิตเป็น เอกคฺคตา นี่คือยอดของ สมาธิ หรือฌาน พระพุทธเจ้า ยืนยันว่า จิตเป็นเอกคฺคตา คือต้องประกอบด้วย องค์ ๗ เหล่านี้ เรียกว่า สัมมาสมาธิ ของพระอาริยะ ที่มีเหตุ มีองค์ประกอบ ไม่ได้ไปตัดทิ้งว่า เป็นสมาธินั้น พูดไม่ได้ คิดได้อย่างเดียว คิดสองอัน สามอันไม่ได้ อันนั้น มันพาซื่อเกินไป)

       [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง นั้น สัมมาทิฐิ ย่อมเป็น ประธาน ก็ สัมมาทิฐิ ย่อมเป็น ประธาน อย่างไร คือ ภิกษุรู้จัก มิจฉาทิฐิ ว่า มิจฉาทิฐิ รู้จัก สัมมาทิฐิ ว่า สัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็น สัมมาทิฐิ
      [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ มิจฉาทิฐิ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผลวิบากของกรรม ที่ทำดีทำชั่วแล้ว ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะ ไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศ โลกนี้โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี นี้มิจฉาทิฐิ

พ่อครูอธิบายว่า ๓ ข้อแรกของ สัมมาทิฏฐิ คือ ทาน - ศีล - ภาวนา หรือ บุญกิริยาวัตถุ ๓ นั่นเอง

        สัมมาทิฏฐิ ๑๐ มี
๑.ทานที่ให้แล้ว มีผล (ให้กิเลสลด) (อัตถิ ทินนัง)
๒.ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง) คือ ศีล นั่นเอง
๓.สังเวย(เสวย) ที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ หุตัง) คือปฏิบัติในศีล หรือทาน ก็คือ จิตคุณ ได้รับผลอย่างไร คือ ภาวนา หรือมีผลอย่างไร ซึ่งภาวนา ไม่ใช่ว่าไปบริกรรม อะไรกัน

ต้องทำใจในใจ (มนสิการ) ให้เป็น อย่างทั่วไป ทำทานไม่ถูกต้อง ต้องพยายาม จัดแจง ปรุงแต่ง (สังขาร) ใจเรา ให้จิตใจเรา เป็นอย่างที่เรามี มโนสัญเจตนา จะให้มัน ลดกิเลส ที่ว่าทำใจไม่เป็นชัดๆ คือ คุณทำทาน เอาของไปบริจาคให้คนอื่น แต่ใจคุณ ทำโดยอวิชชา คือแท้จริง การให้ คือการสละจิตขี้โลภ จิตเห็นแก่ได้ จิตมักได้ จิตจะเอา แต่คุณทำใจไม่ถูก คือ อย่างพอให้ปั๊ป คุณก็ทำใจให้ เพื่อจะได้คืนมา ทำกับพระนี้ จะได้รวย ได้ขลัง ยิ่งอธิษฐานจิตเลย พนมมือเลย เช่น ขอให้แฟนหล่อ อย่างผู้ชาย ที่ถูกเทรเทศ เพราะข้อหา หล่อมากเกินไป เป็นชาวดูไบ แต่เข้าประเทศซาอุฯไม่ได้ ขอให้ได้แฟนหล่อ รวย ขอให้ได้โลกธรรม

ถ้าทานอย่างไม่สัมมาทิฏฐิ ไม่มีทางได้ สัมมาสมาธิ ถ้าเข้าใจ เป็นสัมมาทิฏฐิ ก็จะได้ถึง นิพพาน ก่อนคุณจะมีฉันทะ มีวิริยะ (ปธาน) และก็กำลัง จัดแจง (สังขาร) ถ้าปฏิบัติ ให้ถูก ก็จะไม่เสียหลาย เพราะฉะนั้น เราทำทาน ก็อย่าตั้งจิต ได้อะไรคืนมา เราทำให้แก่ลูก ก็อย่าอยากได้ อะไรตอบแทนจากลูก ทำใจให้แยบคาย (โยนิโส) หรือ คุณทำทานแล้ว ก็ยังไปนั่งขอ ว่าจะได้อะไร มีแต่โลภจัด เข้าไปอีก นี่คือ มิจฉาทิฏฐิ

ทำทานคำเดียวนี้แหละ พยายามฟังให้ดี ทำให้เป็นมรรคผลให้ได้ ถ้าทำทาน เป็นสัมมาทิฏฐิ ก็สั่งสมมรรคผล เผลอๆ เป็นอรหันต์ไม่รู้ตัว ปฏิบัติธรรมก็มีแต่ ทำ ทาน-ศีล-ภาวนา แต่นี้ ทำทานคือเนกขัมมะ ให้ออกไป มีศีล คือมียิตถัง เป็นศีล เป็นวิธีปฏิบัติ ก็คือ ให้เอากิเลสออกไป ส่วนหุตัง คือสังเวยที่บวงสรวงแล้ว

ถ้าทำกาม ทำพยาบาท ออกจากจิตได้ นั่นคือการทำ เนกขัมมะ มีมรรคผล เรียกว่า อัตถิ

การปฏิบัติศีล หรือกรรมฐาน หรือวิธีปฏิบัติ คุณทำแล้ว จิตคุณได้เสวยผล หรือไม่ (สังเวย) ทำทานเสร็จแล้ว จิตได้รับการสังเวยไหม? จิตใคร ก็จิตเรานั่นแหละ เราเอาของ ไปให้เขา แต่เราได้สังเวย ที่จิตเรา ได้ผลที่จิตเรา ส่วนจิตเขา ไม่ต้องไปรู้หรอก สัมมาทิฏฐิ ๑๐ คือทำใจตนเอง ทั้งนั้น

พวกชาวอโศก ทำตลาดอาริยะ ทำอย่างมี อิทธิบาท ๔ ไม่ได้จ้างด้วย ทำเหน็ดเหนื่อย เต็มใจทำ มีวิริยะ จิตตะ มีการวิมังสา ตรวจสอบว่า ได้มรรคผลอะไร ก็มีอิทธิบาท ที่สังขาร อยู่ตลอดเวลา

       ขอสรุปว่า อิทธิบาท ๔ คือ
[๕๓๑] อิทธิบาท คือ
        ๑. ฉันทิทธิบาท
        ๒. วิริยิทธิบาท
        ๓. จิตติทธิบาท
        ๔. วีมังสิทธิบาท

ตกลงอิทธิบาท ๔ มีฤทธิ์ทั้งหมดเลย มีอำนาจพลังพิเศษเลย

       มาต่อเรื่อง สัมมาทิฏฐิ ๑๐ ต่อไป

เมื่อฟังเรื่องสัมมาสมาธิ นั้นถ้าทำความเห็นทั้ง ๑๐ ให้สัมมาทิฏฐิ ไม่ได้นั้น ก็ไม่มีทางได้ สัมมาสมาธิหรอก สมมุติว่า มีคนๆหนึ่ง ยืนยันว่า เป็นอรหันต์ แต่ว่าสอน การทำทาน ยังไม่เข้าสัมมาทิฏฐิ สอนว่า ทำทาน ก็ให้ขออีก ขอว่าให้ได้ ดังสมปรารถนา สาธุ แล้วก็ลูบหัว ถ้าพระอรหันต์ ยังสอนอย่างนี้อยู่ จะหมายถึงอรหันต์ ได้หรือไม่? ยังสอน ให้ทำจิต ให้โลภอยู่เลย นี่คือ สิ่งที่ชี้แสดงว่า คำสอนที่เป็น อนุสาสนีย์ ถูกต้อง หรือไม่

ส่วนทำทาน ถ้าทุกทีที่ทำทาน แล้วมีผล ลดละหน่าย จางคลายกิเลส หรือไม่? ถ้าไม่ลดจริง ก็มิจฉา ถ้าลดจริงก็สัมมา แม้แต่ ศีลพรต หรือ ภาวนา ก็เช่นเดียวกัน ว่า มี อัตถิ หุตัง หรือไม่ หรือแค่นัตถิ ไม่มีมรรคผล

๔. ผลวิบากของกรรม ที่ทำดีทำชั่วแล้ว มีแน่ (อัตถิ สุกฏทุกฺกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก) คุณจะทำดีหรือทำชั่ว ก็เป็นผลสั่งสม เป็นวิบากของคุณ นี่คือหลักเกณฑ์สำคัญ ของศาสนาพุทธเลย ไม่ว่าคุณจะทำ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ ก็เป็นกรรม จะดีหรือชั่ว ก็เกิดจากกรรม ทั้งสิ้น จะทานหรือศีล ที่มีผลอย่างไร ก็เกิดจากกรรม ทั้งสิ้น กรรมเป็นตัวตั้ง ใหญ่เลย ในการมีชีวิตเจริญ เป็นอาริยะ

๕. โลกนี้ มี (อัตถิ อยัง โลโก) หมายถึง วนในโลกีย์เดิมๆ .
๖. โลกหน้า มี (อัตถิ ปโร โลโก) หมายถึง โลกโลกุตระ

ผู้จะอธิบายโลกนี้โลกหน้าคือ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ - ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ - โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่ง ด้วยตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ)

คุณได้พบสัตบุรุษหรือไม่ หรือพบแล้วคุณไม่เชื่อ เพราะคิดว่า ไม่ใช่ เหมือนกับ กามนิต คุยกับพระพุทธเจ้า ทั้งคืน ก็ไม่รู้ ว่าเป็นพระพุทธเจ้า แต่ถ้าผู้ใดพบ ผู้นั้นสัมมาทิฏฐิ แต่ถ้ากลับว่า ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ว่าไม่ใช่ อันนี้ก็มิจฉาทิฏฐิ ซึ่งคนยุคปัจจุบัน ไม่เชื่อว่ามี อรหันต์หรอก ไม่เชื่อว่า มีอรหันต์ ก็คือปิดประตูเลย เขาก็ไม่แสวงหา แต่ผู้ที่แสวงหา ก็จะพบได้ แม้พบแล้ว แม้ได้พูดคุย โอภาปราศรัย แต่ก็ไม่เข้าใจเลย นั่นก็น่าสงสาร ดีไม่ดี ฟังแล้วก็ย่ำยี ด่าทออีกด้วย ที่พูดนี้ ไม่ได้โกรธเกลียด ชิงชังกัน แทนที่จะฟัง แล้วก็ถุย ด่าทอ ก็ฟังแล้ว หน่อยเป็นไร พ่อครูก็ไม่ได้พูดหยาบ พูดสบถ แต่อย่างใด

กรรมจะเห็นผลอย่างไร จะเป็นโลกียะผล หรือโลกุตระผล ก็เกิดจากกรรม ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ จะรู้โลกหน้า คือ ปรโลก

คำว่าโลกนี้มี โดยทั่วไป ก็ไปคิดว่า โลกนี้ ที่เราอยู่อาศัย แต่พระพุทธเจ้า ไม่ได้หมายถึง โลกอย่างนั้น ซึ่งพระพุทธเจ้า หมายว่า ความเป็นโลก คือ ชาติ ภพ เพราะฉะนั้น การล้างภพ หรือดับชาติ ไม่ให้มีความเกิด พอไม่เกิด ภพก็ไม่มี มันไม่เกิดในภพนั้น ภพนี้อีก โดยเกิดไม่มีภพ (จริงๆอรหันต์ ก็ยังเกิดอยู่ มีกายสังขาร หายใจเข้าออก เป็นต้น)

ภพหรือโลก แปลว่า สิ่งที่อาศัย โลกนี้หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นี่คืออาการของ การเกิดอยู่ การเกิดนั้น ขยายความไปถึง ชาติ ๕ อย่างได้

โลกนี้และโลกหน้า คุณจะต้องรู้ว่ามี แต่ในที่สุดจะต้อง ไม่มี ซึ่งสลับซับซ้อน ไปหลายชั้น

คำว่า โลก ในที่นี้ คือ ภพ ที่ท่านแบ่งไว้ ๓ ภพ คือ กามภพ รูปภพ หรืออรูปภพ หรือ จะเรียกว่า รูปโลก อรูปโลก ก็ได้ คำว่าภพกับโลก เป็นไวยพจน์กัน

เราเริ่มปฏิบัติที่กามภพ คือโลกที่เรามีสัมผัส ทาง ตาหูจมูกลิ้นกาย พอสัมผัส ก็เกิด (ชาติ) วิญญาณ ทางทวารทั้ง ๕ ซึ่งการเกิดวิญญาณ ถ้าผู้ศึกษาธรรมะ ก็จะทำใจ ไปอยู่กับวิญญาณ (คือตัวเรา เป็นธาตุรู้) ถ้ายังไม่ศึกษาอะไร มันก็รู้ เช่น ตาเรากระทบ ดอกสีแดง (ดอกลีลาวดี) สีสวย วิญญาณคือธาตุรู้ ก็รู้สีสวย เสร็จแล้วสเปค หรืออุปาทาน ที่เรายึดมั่น ถือมั่น เข้าใจว่า สวย เป็นความกำหนดไว้เลย ว่าสวย ตรงสเปค ก็ชอบ สังขารเลย มันเร็วมาก คุณก็เป็นสุข คุณก็อยู่ในโลก แห่งความสุข จิตคุณเป็นเทวดา จิตเรากำลังชื่นใจ ตรงอุปาทาน มีอาการ ความสบายใจ ชื่นใจ ยังไม่พอ อยากได้ ขอเถอะ (บอกไม่ได้ ต้องขาย) ขายเท่าไหร่? ก็ต้องซื้อ เท่าไหร่ก็เอา ได้มาก็เป็นของกู นี่คือ สังขารพาเกิด ตามอวิชชา

ก็อยู่ในโลกนี้เป็นเทวดา คือได้ชื่นใจ พอเจอดอกลีลาวดีนี้ โอ้โห ดีเลย คว้าหมับ พอเจ้าของเห็น ก็ทุบมือเลย ก็ทะเลาะกัน ก็ทุบตีกัน แย่งชิงกันเลย นี่คือการปรุงแต่ง กรรมกิริยา กาย วาจาใจ จนกระทั่งทำลาย ตีกัน เกิดทุกข์ เกิดจากจิต มีอุปาทาน อยากได ้มีตัณหา แล้วก็ไม่ทำตาม ทำนองคลองธรรม ก็เกิดเรื่องราว

พ่อครูเคยเล่านิทาน ประกอบเรื่อง... มีขนมหม้อแกงชิ้นเดียว สมัยก่อนราคาไม่กี่สตางค์ ซื้อแล้วก็ห่อไว้ แต่พออีกคนมา ก็มาซื้อขนมหม้อแกง แม่ค้าก็ว่าหมดแล้ว เหลือชิ้นเดียว ที่เขาซื้อไว้แล้ว จะมาเอาทีหลัง แต่คนที่มาใหม่ ก็ขอซื้อเลย แต่คนที่มาก่อน มาพอดี ก็เลยว่าของกู ทีนี้ก็เลย มีสองกู ก็เลยฆ่ากันเลย เพียงแค่ ขนมหม้อแกง ชิ้นเดียว ก็ฆ่ากัน ตายเลย เพราะความยึดถือ จะให้ได้ ฆ่าผัวมันเสีย เอาเมียมันมา

จิตเมื่อมันรู้จักอุปาทาน ตัณหา เรียนรู้อ่านจิตเป็น เห็นลีลา วนเวียนอยู่ ในโลกของจิต เกิดจากอุปาทาน (พลังงานศักย์) พอเคลื่อนที่ เป็นพลังงานจลน์ ก็ฆ่ากัน ด้วยตัณหา นี่แหละ เพราะฉะนั้น ตัวเหตุหลัก (สมุทัย) คือตัณหานั้นเอง ปฎิบัติธรรม พระพุทธเจ้า ต้องใช้ทวารทั้ง ๖ แล้วเรียนรู้ ตัณหา ๖ สัมผัส ๖ อายตะ ๖ เวทนา ๖ เรียนรู้ วิญญาณ ๖ คือ ตาหูจมูกลิ้นกาย ที่กระทบสัมผัส แล้วก็เกิดวิญญาณที่ใจ

สัมผัสของจริงสดๆ ที่เกิดเดี๋ยวนี้ มันชอบชัง ซึ่งก่อนจะชอบ มันก็จะมี อุปาทาน สเปคว่าเราต้องได้ อย่างนั้นอย่างนี้ คุณก็เรียนรู้จิต ต้องกำจัด ทั้งชอบและไม่ชอบ ตัวเหตุใหญ่คือ ตัณหา

ต้องเรียนรู้ อาการ ลิงค นิมิต ในนามรูป ต้องเรียนรู้ ตั้งแต่วิตก และวิจาร ซึ่งอยู่ใน วจีสังขาร ส่วนกายสังขาร และจิตสังขาร ขอข้ามไปก่อน

[๕๐๙] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สังขาร มีเท่าไร?
  ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สังขารเหล่านี้ มี ๓ ประการคือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร.
  วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็กายสังขาร เป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร จิตตสังขาร เป็นอย่างไร?
  ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ
  ลมหายใจออก และลมหายใจเข้า เป็นกายสังขาร
  วิตกและวิจาร เป็นวจีสังขาร
  สัญญาและเวทนา เป็นจิตตสังขาร.

เพราะลมหายใจเข้าออกนั้น ทำให้เกิดสังขารกาย ลมหายใจ เข้าออกสำคัญ ถ้าไม่มี ลมหายใจ ร่างกายก็สลายไป อย่างเดียว ไม่มีกายสังขาร

วิตกและวิจาร นั้นจะเกิดในวจีสังขาร คำสอนพระพุทธเจ้า ให้พิจารณาเห็น สังกัปปะ ๗ (ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ

ตักกะ คือ แรก ก่อนที่จะวิตักกะ ถ้าคุณมีญาณ อ่านจิตได้ แยกแยะจิตได้ ว่าจิตเริ่มดำริ คือเริ่มมีอาการของจิต เริ่มเกิด(ชาติ) หรือเริ่มปฏิสนธิ เมื่อมันเริ่มเกิด ก็สามารถรู้ได้ นี่คือคุณเก่ง แต่ถ้าไม่เก่ง คุณก็ต้องตามรู้ ทีหลังได้ ว่ามันปรุงแต่งอย่างไร ในสังกัปปะ

คนจะไปเริ่มรู้ตัวตักกะ ไม่ง่ายหรอก แต่ว่าคุณจะต้องอ่านรู้ สุขทุกข์ไป แล้วสาวหาเหตุ มีอุบายเครื่องอก คือมีศีล ได้งดเว้น เว้นขาด (อารติ วีรติ) คุณชอบอันนี้ คุณก็เว้นมันไว้ เช่น ชอบลีลาวดี คุณก็เว้นมัน อย่าไปเอา อยากได้อย่าเอาๆ แล้วอ่านจิต ว่าเห็นตัวอยากเลย ว่ามีอาการอยากได้ ซึ่งจิตหรือมโน ไม่มีรูปร่าง สีสัน เรียกมันว่า ผี หรือเปรต (อยากได้) ถ้ามันดิ้นรนเร่าๆ เรียกว่า (นิรยะ) หรือสัตว์นรก เหมือนคนเสี้ยน ยาเสพติด เปรตอ่อนกว่านิรยะ นี่แหละคือตัณหา

ที่จริงสังกัปปะ นี่คือสังขารแล้ว เป็นความนึกคิดแล้ว ถ้าคุณตั้งศีลแล้ว ว่าจะเว้นขาด ดอกลีลาวดี ถ้าสัมผัส คุณก็ต้องรู้ว่า กิเลส ตัณหา หรือความใคร่อยาก คืออย่างไร แล้วทำให้มันเห็นไปได้ ด้วยสมถะ หรือวิปัสสนาวิธี คือเห็นเลยว่า กิเลส หรือตัณหา อุปาทาน คือ มันไม่ใช่ของจริง มันเป็นแขก หรือผู้มาเยือน จิตเดิมแท้ ที่คุณมีมาแต่เกิด มีกิเลสทั้งนั้น แต่จิตเดิมแท้นั้น ไม่มีกิเลส คือจิตเพียวๆ

เมื่อคุณลดกิเลสได้ โดยเห็นว่า มันไม่เที่ยง แม้กิเลสบังคับคุณ คุณทุกข์กับมัน ความจริงแล้ว มันไม่ใช่สมบัติของคุณ เป็นตัววิบัติด้วยซ้ำ มันมาหลอกคุณเท่านั้น เดี๋ยวมันก็หายไป คุณสู้มันได้ ไม่บำเรอมันแล้ว เห็นว่ามันไม่เที่ยง จนมันลดลงได้ ในอานาปานสติสูตร คุณต้องตามเห็น วิปัสสี ๔ (อนิจจานุปัสสะ วิราคานุปัสสี นิโรธานุปัสสี ปฏินิสัคคานุปัสสี )

ซึ่งความไม่เที่ยงนั้น มันมีทิศทาง ทั้งกิเลสมากขึ้น หรือลดลง ถ้าคุณไม่บำเรอมัน มันก็จะพยาบาท หรือว่าถ้าคุณให้มัน มันก็อ้วนก็หนา คุณต้องไม่พยาบาท จองเวร คราวหน้า ก็จะเอา กิเลสก็หนา เช่น คุณถือศีล ๕ ได้ ๕ วัน เสร็จแล้ว วันที่ ๖ คุณก็ไปผิดศีล ดีไม่ดี เอาหนักกว่าเก่าด้วย นี่คือ พยาบาท จองเวร

ตอนแรก คุณจะเห็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ถ้ากิเลสอ้วน โต มาก ใหญ่ คุณก็เป็นปุถุชน ถ้าไม่สมใจกิเลส คุณก็พยาบาทต่อ พยาบาทก็อ้วนอีก ต้องเข้าใจว่าจิตคุณอนิจจัง มีแบบปุถุชน ทุกวินาที ที่เกิดกาม เกิดพยาบาท

ถ้าเห็นความไม่เที่ยง ในลักษณะ กิเลสลด เอาปัญญารู้เลย เห็นมันจางคลาย คุณทำบ่อยๆ ว่ามันไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เป็นผีหลอกเรา ก็เห็นอนิจจานุปัสสี ในทิศทางกิเลสลด จนกระทั่ง มันไม่มีอาการ อยากได้เลย ในสิ่งที่ปฏิบัติ

พระพุทธเจ้า ท่านให้ปฏิบัติธรรม ที่อาหาร คุณต้องกินทุกวัน เช่น ที่บ้านเขาซื้อมาทุกวัน เช่น ไม่กินเนื้อสัตว์ ที่บ้านเขากินกัน แต่เราไม่กิน เรานั่งโต๊ะเดียวกับเขา แต่เราไม่กิน คุณก็เห็นความอยาก ลดลง จนทำนิโรธได้ ที่บ้านเขาจะยั่วยุ อย่างไร ก็ไม่อยาก ได้ฐาน ฌานที่ ๔ เลย มีตักกะ วิตักกะ

วิตักกะคือตัวกลาง ตั้งแต่คุณตักกะแล้ว คุณเก่งในการดับ กามกับพยาบาทได้ คุณก็เริ่ม วิราคะเลย วิ คือทำให้ไหม้ไป ด้วยวิปัสสนาวิธี เห็นความจริง ไม่ใช่แค่คิด ว่ามันไม่เที่ยง มันลดลงได้ จนมันไม่มีตัวตน มีนิโรธได้ มีอนัตตา คือความไม่มีตัวตน ของอาการได้ อย่างนี้คือ มีภาวนาเกิด เราก็ อาเสวนา ภาวนา ทำให้ได้ผล อย่างนี้แหละ อย่าง พหุลีกัมมัง คือทำให้มาก นี่คือญาณข้อ ๒ ของโสดาบัน ให้ล่วงพ้น วีติกฺกมกิเลส จิตคุณก็เริ่มสู่ ปริยุฏฐานกิเลส คุณก็ทำอีก ทำซ้ำ เป็นญาณข้อ ๒ ในญาณ ๗ โสดาบัน ปฏิบัติให้มาก ให้แข็งแรง สั่งสมเป็น สมาธิ

สรุป เมื่อคุณสามารถเห็น อย่างอนุปัสสี ๔ คุณก็ทำ ปฏินิสสัคคานุปัสสี ทำซ้ำ ในสิ่งที่ได้ ดับภพชาติที่เกิด เมื่อดับเหตุ ก็ไม่เกิดสุขเกิดทุกข์ เป็นอุเบกขา คือฌาน ๔ พอเริ่มต้น ทำได้ ก็คือ เป็นบุญ แต่พอทำได้หมด ก็คือ อปุญ ถ้าทำได้เก่ง ได้แข็งแรง ให้อ่าน อาการจิต มันว่างจากกิเลส เรียกนิโรธ สุญญตา หรือ วิมุติ คือหลุดจากทุกข์ แม้จะสัมผัส กับเหตุ ทางทวาร เราก็ไม่สุขไม่ทุกข์ การทำได้แล้ว เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ถ้ายังทำอยู่ ยังไม่ถึงนิโรธ หรือปัสสัทธิ ก็เรียกว่า ปุญญาภิสังขา จนกว่าจะทำอย่าง สมุทเฉจปหาน ได้เด็ดขาด ก็ทำอย่างปฏินิสสัคคะ หรือ ปฏิปัสสัทธิ ทำสงบ ชนิดที่ไม่ได้อยู่นิ่ง แต่สงบ เพราะกิเลสตาย คือว่างจากกิเลส ผีหรือโจร แต่มีไม่ว่าง คือยังมีขันธ์ ๖ ยังมีอายตนะ ๖ ก็ยังต้องมีการรู้ แม้หมด ภวาสวะแล้ว ก็ตรวจสอบสูงไปถึง ไม่มีอวิชชาสวะ แล้วก็ตาม เป็นอรหัตตา แต่ก็มีสิ่ง ไม่ว่างอยู่ ก็คือ ทรถ (คือทุกข์อย่างอรหันต์) ทรถ คือความเกิด แห่งอายตะ ๖ ที่อาศัยกายนี้เกิด คือทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ ๖ อย่าง ....

จบ
.

 
๒๙ เมษายน ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานสันติอโศก