560430_รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อครู
เรื่อง รู้มโนปวิจาร อภิสังขารถึงนิโรธ

           พ่อครูเปิดรายการที่ห้องกันเกรา สันติอโศก....

วันนี้ก็จะบรรยายต่อจากเมื่อวาน ที่ได้บรรยายค้างไว้ ในเรื่องของอิทธิบาท ๔ ที่ท่านวิภังค์ไว้แล้ว ซึ่งในการปฏิบัติ ท่านเรียกเต็มๆว่า ฉันทสมาธิปธานสังขาร -วิริยสมาธิปธานสังขาร –จิตตสมาธิปธานสังขาร -วิมังสสมาธิปธานสังขาร

สังขาร ในพจนานุกรม ฉบับภูมิพโลภิกขุ คือ การจัดแจง, การตระเตรียม, สัมประสิทธิทางใจ, การรวมการกระทำ การรวมของสภาวะ หรือสมบัติที่สำคัญ เพื่อกระบวนการ หรือผลบางอย่าง โดยมีตั้งต้น

ในความหมายของสังขาร แบบระบุสภาวะของขันธ์เลย เช่น สังขารขันธ์ในขันธ์ ๕ ก็คือธาตุแท้ ที่เกิดในชีวิตร่างกาย การสังเคราะห์ทางใจ เป็นล่ำเป็นสัน เป็นต้น มีแนวโน้ม คือที่รวมของการกระทำ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องของนามธรรม คนก็ไม่ค่อยรู้ไปถึงจิต ว่ามันทำงาน ร่วมกันอย่างไร สังเคราะห์กันอย่างไร ถ้าเป็นในจิต ก็เข้าใจยาก ถ้าเป็นรูปธรรม ภายนอกก็ง่าย

ผู้เข้าใจแล้ว ก็จะมีเจตนามุ่งหมาย ในการสังขาร ท่านเรียกว่า อภิสังขาร คือการใช้ ภูมิปัญญา อย่างมีประสงค์ หรือมุ่งหมาย ซึ่งเป็นความหมายใน พจนานุกรม ฉ.ภูมิพโลภิกขุ

พ่อครูอธิบาย อภิสังขาร ๓ (ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร) ไม่เหมือนกับ ท่านผู้รู้ทั่วไป พ่อครูแปลอย่างลึกซึ้ง ซึ่งใน พจนานุกรม ฉ.ภูมิพโลภิกขุ ท่านยืนยันว่า อภิสังขาร ๓ นี้ คือการรวมเป็นชั้น ๓ ชั้น ของอภิสังขาร ๓ ซึ่งตรงสภาวะ ที่พ่อครูมี ซึ่งก็คือ ภูมิปัญญาที่มีระดับชั้น

ท่านอธิบายอภิสังขาร นี้คือการรวมเป็นชั้นของ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ซึ่งเป็นความเข้าใจ ที่ถูกต้อง ซึ่งไม่ได้หมายความว่า สังขารอย่าง อวิชชา เท่านั้น

สังขารอย่างปุถุชน ก็ไม่มีเจตนามุ่งหมาย ที่ควบคุมด้วยปัญญา หรือความรู้ แต่จะถูก ควบคุม ด้วยกิเลส เพราะเราไม่สามารถ มีความรู้อ่านได้ว่า จิตเราขณะนี้ มีอะไร มาบงการ มาเป็นเหตุผลักดัน ให้เป็นไป

แต่ถ้าผู้ศึกษาปรมัตถ์ จนสามารถจัดการเหตุ ตั้งแต่ สมุทัย จนถึงเหตุที่มี องค์ประกอบ (อุปนิโน) ที่มีมากกว่า สมุทัย จะไปถึงเป็นปริขาโร เป็นปัจจัยเลยทีเดียว ถ้าเราเข้าใจ เนื้อแท้สภาวะ ก็จะเข้าใจภาษาไม่งง

ในสังขาร ที่มี ฉันทสมาธิปธานสังขาร –วิริยสมาธิปธานสังขาร -จิตตสมาธิปธานสังขาร -วิมังสสมาธิปธานสังขาร เป็นการจัดแจง การปรุงแต่ง กระทำการ รวมการกระทำ สังเคราะห์กัน ของสภาวะต่างๆ มีการมนสิการ (ทำใจในใจ) โดยเราสามารถรู้ จัดแจง (สังขาร)

ถ้าสามารถรู้ ตั้งแต่เริ่มตักกะ (ดำริ) ว่ามี กามหรือพยาบาท ที่เป็นมิจฉาสังกัปปะ ก็จัดการ อกุศลเหตุ คือ กามหรือพยาบาท เลย หรือแม้ไม่รู้ตั้งแต่ ตักกะ ก็ตามทันในภายหลัง

อภิสังขาร ที่ท่านอธิบาย ในไตรปิฏกก็มี ห้อยท้าย Footnote เกี่ยวกับอภิสังขาร ๓ ว่ามีการเกี่ยวเนื่องกับ ความเกิด ๔ อย่าง คือมี (ชราพุชโยนิ สังเสทชโยนิ อัณฑชโยนิ โอปปาติกโยนิ) ซึ่งพ่อครูไม่ได้เห็นว่า การเกิด ๔ อย่าง ที่แปลเช่นนั้นเป็น อภิสังขาร ๓ แต่พ่อครูหมายถึง การเกิดอย่างชาติ ที่มี ๕ คำของ ปฏิจจสมุปบาท คือ (ชาติ สญฺชาติ โอกฺกนฺติ นิพฺพตฺติ อภินิพฺพตฺติ) ซึ่งคือการเกิดอย่าง โอปปาติกโยนิ โดยเฉพาะ

ในสังขาร ๓ ที่พ่อครูเข้าใจนั้น เป็นระดับชั้นของ โลกุตระบุคคล อย่าง ปุญญาภิสังขาร ก็เป็นสังขารของ เสขบุคคล เป็นการปรุงแต่ง จัดการทำใจในใจ โดยการชำระกิเลส ถ้าทำได้ก็คือ ชำระจิตสันดานได้สำเร็จ ทำได้จนกระทั่งได้ ฌานที่ ๔ หรือ สมุจเฉทปหาน หรือเรียกว่า นิโรธ ที่มีเป็นครั้งคราวเรียก ตทังคปหาน ถ้าทำได้เร็วดี เด็ดขาด ก็เรียกว่า สมุจเฉทปหาน ทำถึงขั้นปลาย ถ้าทำได้ ฌาน ๑ ยังไม่เรียก สมุจเฉท ยังไม่เรียก นิโรธ แต่ถ้าทำ ฌาน ๔ ได้ก็ถือว่ามี นิโรธ เป็น อทุกขมสุข เป็น เนกขัมสิตอุเบกขาเวทนา

ถ้าผู้ใดสามารถเข้าใจสภาวะนี้ชัดเจน ก็จะรู้ว่า จุดดับ จุดพัก จุดหลุดพ้น จากโลกีย์ แม้ชั่วคราวเป็น ตทังคปหาน ก็ทำต่อจนได้ โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในฌาน ๔ คือวิตก วิจารได้เร็วจนถึง ฌาน ๔ เลย นี่คือจุดที่เรียกว่า เป็นขั้น นิพพาน ขั้น นิโรธ ขั้น ดับ ผู้ทำได้ จึงเรียกว่า จุดที่ไม่ต้องปรุง คือ อปุญญาภิสังขาร

และก็ต้องทำลักษณะ อปุญญา นี่แหละที่เป็น นิโรธ ทำให้ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่าง อเนญชาภิสังขาร อย่างพากเพียร จึงเรียกว่า อิทธิบาท คือการพยายามต่อ ซึ่งอิทธิบาท จะทำตั้งแต่เริ่มต้น จนทำได้ ทำต่อไปจนมีฤทธิ์ คือฤทธิ์ของ ฉันทิทธิบาท วิริยิทธิบาท จิตติทธิบาท วิมังสสิทธิบาท เป็นเช่นนั้นทีเดียว

นิโรธ หรือ อุเบกขาเป็นฐาน แล้วก็รักษาผล ด้วยอิทธิบาท เป็น สมาธิปธานสังขาร ทำอย่าง อาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง ทำให้มากให้บ่อย จนที่สุด เสร็จกิจเป็น กตญาณ สมบูรณ์แล้ว ก็เท่ากับ ที่คุณสามารถรู้ มโนปวิจาร ๑๘ และ ๓๖ ซึ่งมโนปวิจาร ๓๖ นี้เป็นโลกียะ ๑๘ (เคหสิต) เป็นโลกุตระ ๑๘ (เนกขัมมสิตะ) เคหสิตเวทนา คือของปุถุชน แต่เนกขัมสิตเวทนา เป็นของโลกุตรบุคคล ซึ่งในฐานของ อปุญญ นั้นเป็นฐานนิโรธ เฉยได้ ไม่มีนิวรณ์ได้ สั่งสมเป็น อเนญชาภิสังขาร เหมือนตอกเข็ม ให้แน่นหนา

          . สฬายตนวิภังคสูตร (๑๓๗) ล.๑๔
         [๖๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
         สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี  เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง สฬายตนวิภังค์ แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟัง สฬายตนวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป  ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
     [๖๑๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบ อายตนะภายใน อายตนะ ภายนอก หมวดวิญญาณ หมวดผัสสะ ความนึกหน่วงของใจ (มโนปวิจาร) ๑๘ ทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ ใน ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัย ทางดำเนิน ของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ และพึงทราบการ ตั้งสติ ประการ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ อันเราเรียกว่า สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่า อาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นี้เป็นอุเทศแห่ง สฬายตนวิภังค์ ฯ

สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ท่านไม่ได้จำเพาะ เฉพาะศาสดาเท่านั้น และท่านระบุ ให้ปฏิบัติ แบบลืมตาด้วย ดังหลักฐานที่ให้ทราบ อายตนะ ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ จึงจะเกิด มโนปวิจารได้ และพึงสร้าง สติ ๓ ประการ เมื่อเราได้เสวย เป็นอาริยะ เสพเสวยผลอาริยะ ก็ชื่อว่า เป็นครูอาจารย์สั่งสอนหมู่ แต่ว่าพระพุทธเจ้า คือสารถี ที่เลิศยอด ไม่มีใคร เท่าเทียม ยอดเยี่ยมกว่า อาจารย์ทั้งหลาย นั้นหมายความว่า คนอื่นก็เป็นอาจารย์ได้

ในมโนปวิจาร ๑๘ -๓๖ ก็มีให้เรียนรู้ สามารถทำ อุเบกขาเวทนา ในมโนปวิจาร คำว่า สติ ๓ ประการคือ สุข-ทุกข์-อุเบกขา ต้องเรียนรู้ตั้งแต่ เสพสุขเสพทุกข์ อย่างปุถุชน จนมาถึง ฐานอุเบกขา ที่เป็นเนกขัมมสิตเวทนา เราต้องปฏิบัติอย่างมี มโนสัญเจตนา จึงจะทำให้เกิด เนกขัมมสิตเวทนาได้ บรรลุผลได้ จึงเรียกว่า ผู้บรรลุธรรม อย่างรู้แจ้ง เห็นจริง อย่างไม่งมงายเลย

มีคนด่าพ่อครูว่า เป็นเดียรถีร์ พ่อครูก็ไม่แปลก พระพุทธเจ้า เรียกคนที่ เห็นต่างไปว่า คือเดียรถีร์ แต่ว่าพ่อครู ไม่เคยเรียกเขาว่า เป็นเดียรถีร์เลย ไม่ได้ไปว่าใคร แต่ว่าพูด ในสิ่งถูกผิด ตามที่พ่อครู มั่นหมายเข้าใจ พ่อครูมีสิทธิ์ชี้แจง หรือจะให้ชี้ ถูกผิด ไปตามที่เขาเข้าใจ อย่างนั้นไม่ใช่ พ่อครูก็ชี้ถูกผิด ตามที่พ่อครูเห็น แต่ว่ามัน ไม่ตรงกับ ที่เขาเป็น เมื่อชี้ว่าผิด แล้วคุณก็กระต๊ากมาเอง พ่อครูไม่ได้เอ่ยว่าใคร แต่ไปถูกเขา เขาก็ดิ้นเอง

พ่อครูปฏิบัติ ในร่องในรอยพระพุทธเจ้า ก็ต้องใคร่ครวญ ไต่สวนรอบคอบ แล้วจึง นิคฺคัณเห นิคฺคหารหัง (ติสิ่งที่ควรติ) ปัคคัณเห ปัคฺคหารหัง (สรรเสริญ สิ่งที่ควรสรรเสริญ)

ได้อธิบาย อิทธิบาท (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) ที่เป็นถึงขั้น อิทธิวิธี มี มโนมยิทธิ เป็นผลสำเร็จทางใจ มีอำนาจ มีฤทธิ์แรง ถึงขั้นเกิดจาก ปธานสังขาร คือ พากเพียร จัดการสังขาร ให้เกิดฤทธิ์ เริ่มแต่ ปุญญาภิสังขาร ก็ทำ อิทธิบาท ให้มีฤทธิ์น้อยๆ ไปจนมีฤทธิ์มาก จนถึง จุดที่ไม่ต้องชำระกิเลส คือ อปุญญาภิสังขาร แล้วก็ทำ อาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง ให้เป็นวิมุติ อุเบกขา หรือ สมุจเฉทปหานอย่างนี้ สั่งสมเป็น อเนญชาภิสังขาร คือเป็นชั้นที่ ๓

 

           ต่อไปเป็นการตอบประเด็น

sms จะเป็นไปได้ไหม เมื่อตายไป วิญญาณจะหลุดลอยไปนอกโลก ไปให้ลึก สุดขอบจักรวาล ไม่หวนกลับ ถึงนิพพาน คือสถานที่ไกลสุด ขอบจักรวาล ที่คนดีมีศีลเท่านั้น จะไปได้?

ตอบ ถ้าจะตอบก็ต้องเดา ไม่มีสภาวะของตัวเองเลย เพราะตนเอง ไม่เคยหยั่งรู้ เพราะไม่เคย มีจิตอย่างนี้ ที่ว่าหลุดโลก พ่อครูก็ว่า เป็นตามวิบาก และสัญเจตนา ที่ตั้งใจเป็นไป ตั้งจิตต่อพุทธภูมิไป แต่จะเลยเถิด ว่าออกนอกโลกนั้น ไม่เคย แต่ว่าจะออกนอกโลกนั้น เป็นไปได้ แต่ว่าต้องเป็นตามวิบาก ต้องมีเหตุปัจจัยเสริม กับวิบากเสริม กับอัตภาพ ถ้าไม่มีเหตุปัจจัย อยากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะเป็นนรก คือเสริม ความอยากได้อยากมี อยากเป็นอีก และนิพพานไม่ได้มีสถานที่ ไม่มีความใกล้ไกล นิพพาน คือจิตที่หมดกิเลส เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น นิพพานนั้น นัตถิ อุปมา สิ่งที่คุณเอาสถานที่ ระยะทางไปแล้วนึกว่า นิพพานอยู่ไกล นั้นไม่ใช่ แต่นิพพานคือ จิตที่กิเลสไม่เกิดอีก อย่างถาวรเลยวิมุติ นิโรธไปอีก เป็นปริโยสาน

เราจะวัดพัฒนาการ การปฏิบัติธรรมของตัวเราเอง ได้อย่างไร เช่นว่า ทำศีล ๕ แล้วพอไหมคะ ?

ตอบ เราต้องวัดตัวเองได้ เข้าใจตนเองได้ เข้าใจว่าศีล หรืออธิศีล เราปฏิบัติแล้ว มีนิโรธ อย่างไร ซึ่งไม่ต้องพูดถึงนิพพาน เพราะเป็นที่สุดแล้ว เป็นปริโยสาน ใน มูลสูตร ๑๐

๑.  มีฉันทะ เป็นมูล-รากเหง้า (มูลกา) แม้จะว่าโดนถีบ เข้ามาอย่างไร แต่ถ้าคุณ ไม่มีฉันทะ จะทำไม่ได้เลย พ่อครูถ้าไม่ถูกวิบากมา ก็ไม่อยากเป็นครูหรอก แต่ทุกวันนี้ ปากเปียกปากแฉะ ตลอดเวลา ไม่รักไม่ชัง ไม่ดูดดื่ม แต่มีฉันทะทำ  เช่นคุณอยู่ทางโลก ชอบในลาภยศ จะให้มาอย่างนี้ เราก็ยากก็ฝืน หรืออย่างเราชอบกิน ติดสิ่งนี้ จะให้เลิก นั้นยาก แต่ว่าถ้าเราเห็นว่า ติดอย่างนี้ มันไม่จบ เราต้องปล่อย ละวางให้ได้ ต้องเข้าใจ สภาพ การปรุงแต่ง รสโลกีย์ จนกว่าจะดับเหตุ ก็จะดับรสโลกีย์ได้ เราต้องเห็น ในความหมาย ความรู้ชัด อย่างพ่อครูพามาจน มันไม่น่า ยินดีเลย พวกเราอยู่ในนี้ เยอะที่จนไม่ลง พอจนได้บ้าง ก็จนต่อไม่ไหว ก็เลยต้อง ค่อยศึกษา สรุปแล้ว ต้องมีใจ เห็นดี คนมาอโศก อยู่ไป ก็ตรวจสอบตนเองให้ดี ว่าแต่ก่อน เราก็ยาก แต่ตอนนี้ เราทำได้ เฉยได้ และเข้าใจจิต ที่มันค้านแย้งอยู่ แต่เราก็ต้องทำ ให้หมด ยินดี นั้นไม่เป็นกิเลส แต่ถ้าไปปีติ นั้นก็มีกิเลสปน ยินดีนั้น น่าอนุโมทนา เห็นดี เห็นงาม

๒. มีมนสิการ เป็นแดนเกิด (สัมภวะ) ต้องเรียนรู้ ให้ถ่องแท้ ละเอียด แล้วก็กระทำ นี่คือ การมนสิการ คือการทำใจในใจ ทำใจเป็น จึงจะทำให้เกิด ให้ตายได้ (สัมภวะ) เกิดโอปปาติกโยนิ หรือจุติ หรือชาติ ก็ได้ เสร็จแล้วก็ถึงสัญชาติ โอกกันติ นิพพัตติ ที่เป็นการเกิด ที่มีการลดละ หน่ายคลาย จะถึงฐานวิมุติ สำเร็จ คือ อภินิพพัตติ ถ้าทำมนสิการ คุณก็ไม่เกิดเป็น อาริยบุคคล

๓. มีผัสสะ เป็นเหตุเกิด (สมุทัย) การปฏิบัติ จึงชัดเลยว่า ต้องมีผัสสะ ถ้าไม่มีผัสสะ ไม่ใช่ธรรมะ พระพุทธเจ้า ต้องมีตั้งแต่ วิญญาณ ๖ อายตนะ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖ ตัณหา ๖ ในปฏิจจสมุปบาท เพื่อยืนยันว่า คำสอนพระพุทธเจ้า ต้องครบนะ ผัสสะเป็นเหตุนั้น ไม่ใช่อย่างตัณหา แต่คือเหตุ ในการปฏิบัติ

๔. มีเวทนา เป็นที่ประชุมลง (สโมสรณา) เมื่อผัสสะแล้ว ก็จะไปเรียน ในเวทนา รู้มโนปวิจาร ทั้ง ๑๘ และ ๓๖  เป็นที่ประชุมลง ถ้าจับมโนปวิจารได้ จนเป็นเนกขัมสิต ก็สั่งสมเป็น สัมมาสมาธิ

๕. มีสมาธิ เป็นประมุข (ปมุขะ) ก็เป็นอธิจิตสิกขา ที่เจริญขึ้นๆ

๖. มีสติ เป็นใหญ่ (อธิปไตย = พลังอำนาจ)

๗. มีปัญญา เป็นยิ่ง (อุตระ = เหนือ)  

๘. มีวิมุติ เป็นแก่น (สาระ) สุดยอดที่จะรู้ยิ่ง ก็ถึงฐานสบายแล้ว กิเลสไม่เกิดแล้ว หลุดพ้น ล่วงพ้นจากโลกเก่า ซึ่งก็อยู่กับโลกเก่า แต่เรา สมติกม คือ ล่วงพ้น

๙. มีอมตะ เป็นที่หยั่งลง (โอคธา) ผู้วิมุติคือ ผู้ไม่เกิด ไม่ตายแล้ว กิเลสไม่เกิดแล้ว จะมีอะไรมาตาย จึงเรียกว่า อมตบุคคล แต่ท่านก็ยังอยู่กับโลก ต้องมีอนุโลม ปฏิโลม เป็นอตัมยตา จะเกิดหรือตายก็ได้

๑๐. มีนิพพาน เป็นที่สุด (ปริโยสาน) เป็นตัวที่สุดแห่งที่สุด ปรินิพพาน คือนิพพานโดยรอบ จบแล้ว อวสานแล้ว ปริ คือ รอบ อวสานคือ จบ ปริโยสานคือ จบโดยรอบ

จะวัดได้ ต้องค่อยศึกษา ทำศีล ๕ แล้วก็ต้องอ่านจิต แต่ก่อนไม่ชอบ สัตว์ตัวนี้เลย เราก็ปฏิบัติ จนเฉยได้ รู้ว่ามันคือสัตวโลก มีเมตตาได้ ทำศีล ๕ ได้ ก็ทำศีล ๖-๗-๘ ต่อไป แม้ตัวศีล แต่ละข้อ ก็มีอธิศีล หรือจะเพิ่มขั้น ของศีลใหญ่ๆ เลยก็ได้

ระงับจิตสังขารแปลว่าดับความคิดใช่หรือไม่ ?

ตอบ ไม่ใช่ สังขารไม่ใช่ การดับการปรุงแต่ง อย่างพาซื่อ การระงับจิตสังขาร นั้นมีนัยยะว่า ถ้าจะไม่นึกคิดอะไร เฉยๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข และก็ไม่คิดอะไรด้วย ก็คือ อย่างคุณเคยนั่งสมาธิ หลับตา ถ้าหลับตาจะรู้ได้ง่าย แต่ถ้าลืมตา จะรู้ได้ยาก หยุดคิดได้ยาก ถ้าฝึกดีแล้ว ถึงขั้นไม่หลับ แต่ก็กลางๆได้ แม้เห็นก็สักแต่ว่ารู้ ไม่ปรุงเลยได้ คือไม่คิด ไม่นึก แต่จริงๆแล้ว จิตสังขาร ในอานาปานสติสูตร ที่ว่า ระงับ จิตสังขาร คือระงับ อกุศลจิตที่มาสังขาร ปรุงแต่งได้ นี่คือ ความยากของธรรมะ ถ้าดับเวทนา ในมโนปวิจาร ๑๘ ก็ต้องดับที่ เหตุที่มาปรุงแต่ง และก็ต้องระงับ อุปกิเลสอีก อย่าให้มีปีติ มากมายเกิน ให้มันลดลง สรุปแล้ว ระงับจิตสังขาร ไม่ใช่หยุดความคิด อย่างพระพุทธเจ้า ท่านจะสอนคน ก็ต้องมีการคิด คุณก็ต้องอ่าน กามและพยาบาท ในสังกัปปะ ๗ ถ้าหยุดกามและพยาบาท ก็ยังสังกัปปะ ๗ ได้ แต่สะอาด

๕๖๖๒ ผีมีจริงไหม หากผีไม่มีจริง ทำไมมีคนเห็น ตายแล้วไปไหน วิญญาณที่สิงสถิต มีหรือไม่ ถ้าไม่มีจริง เราก็ไม่ต้องกลัว ใช่หรือไม่?

ตอบ ผีมีจริงไหม ผีที่มีหลอกก็จริง คือผีหลอก และผีจริงๆก็มีอีก ผีคือจิตวิญญาณ จิตวิญญาณที่หลอก คือทำสิ่งไม่จริง จิตวิญญาณเป็นผี อาศัยตาหลอก อาศัยท่าทาง หลอกว่าฉันดี ฉันเป็นเทพธิดาก็ได้ มาจากจิต จิตเป็นผีได้ กายเป็นผีไม่ได้ เพียงแต่จิต อาศัยกาย มาหลอกเท่านั้น ผีคืออกุศลจิต มีจริง แต่มันไม่ใช่ของจริง มันเป็นเพียง อาคันตุกะ มายึดครองเรา ชั่วคราว เรากำจัดกิเลสได้ เรายิ่งเจริญ

ทำไมจึงมีคนเห็น ..เขาเห็นเป็นรูปร่าง ผีตาโบ๋ ผีแยกเขี้ยวยิงฟัน คนเห็นได้ เพราะคนมี อุปาทาน จึงปั้นหลอกตนเองสำเร็จ คนที่ปั้นได้สำเร็จ คือคนซวย ธรรมดา คนปั้น ไม่ได้ง่ายๆ คนจึงไม่ค่อยเห็นผี มีแต่คนที่หมกมุ่น เรียนมา จึงเห็นผีได้ ภาษาแพทย์เรียกว่า ภาพหลอก อย่าว่าแต่เห็นเลย จับต้องตัวได้ อยู่กันอย่าง สมสู่ได้เลย มีทั้งผี ทั้งพรหม สมัยก่อน พ่อครูเคยรักษา คนมีผัว เป็นพระพรหม อุปาทานคือ พลังงานทางจิต มันหลอกได้ เหลือร้าย

คนตายแล้วไปไหน แม้แต่พระพุทธเจ้า ก็บอกไม่ได้ บอกได้แต่สภาวะ เช่นตกนรก นรกไม่มีสถานที่ ดินแดน แต่เป็นสภาวะ แต่ถ้าคุณติดยึด มั่นใจว่านรก เป็นสถานที่ อย่างกระทะทองแดง มีจริง ตายไปคุณก็ไปตกนรก กระทะทองแดง ที่คุณปั้นเอาได้ แม้ว่าไม่ปั้น ก็ต้องเดือดร้อน เป็นสภาวะจริง คนตาย ส่วนใหญ่ไปนรก เพราะไม่ได้ล้าง อนุสัยอาสวะ มันฝังอยู่นาน แน่นเลย คนจึงตกนรกมาก สวรรค์นั้น เป็นความจำเป็น ของแห้งอยู่ไม่นาน

วิญญาณที่สิงสถิตไม่มี เราไม่ต้องกลัว เมื่อก่อน พ่อครูก็ไล่ผี ที่ประจำต้นไม้มามาก ไม่เห็นผี มาจัดการเราเลย ยิ่งศาลพระภูมิ เรารื้อทิ้ง มามากแล้ว แถมตั้งศาลพระภูมิ อัญเชิญวิญญาณมาอยู่ แถมตั้งชื่อให้ด้วย แต่ตอนนั้นนึกว่า มันมีจริง แต่พอมาฟื้นธรรมะ ก็รู้ว่ามันหลอก
    
ความเห็นชอบกับดำริชอบ ต่างกันอย่างไร

ตอบ ในคำว่าชอบ ในมรรค ๘ มี ทิฏฐิ(เห็นชอบ) สังกัปปะ(คิดชอบ) พอมาปฏิบัติ เราต้องรู้ตักกะ วิตักกะ การดำริคือตักกะ คือริเริ่ม ส่วนความเห็น คือความรู้ ความเข้าใจ แต่ดำริคือสภาวะ

เมื่อตากระทบรูป ผลคือเกิดวิญญาณ ถ้าเราอวิชชา วิญญาณนี้คือผีมาร แต่ถ้าเรามีตัวรู้ มีปัญญา คือมีวิชชา วิญญาณนี้ก็คือ ญาณ ๑๖ ...

ตอบ วิญญาณตัวที่เป็นธาตุรู้ เกิดเมื่อสัมผัส ถูกแล้ว แต่ถ้าเรามีอวิชชา วิญญาณก็จะเป็นผี แม้ไม่เป็นผี ก็เป็นเทวดาปลอม สัมผัสแล้วสุขทันที คือจิตขึ้นสวรรค์ ส่วนสัมผัสแล้ว ไม่ชอบก็ทุกข์ หรือสัมผัสแล้ว อยากได้ อยากมีอยากเป็น อยากแต่ยังไม่ได้ มาเป็นของตน แค่สัมผัสไม่พอ ได้เสพต้องได้มานานๆ นั่นแหละผี คือกิเลส แต่ในกรณี ที่มีวิชชา วิญญาณธาตุรู้ตัวนี้ คือญาณ ๑๖

สัมประสิทธิทางใจคือสังขาร หรือผลลัพธ์ของสังกัปปะ  ผลที่เกิดคือ อภิสังขาร ๓ ใช้กับโลกุตระ เท่านั้น

ตอบ ถูกต้อง แต่ผู้ไม่รู้ จะเอาคำนี้ไปใช้ไม่ได้ แต่ผู้รู้จะเอาภาษานี้ มาใช้เป็น เข้าใจได้

กรุณาอธิบายการเกิด อย่างชาติ สัญชาติ โอกกันติ ต้องมีผัสสะเป็นปัจจัย ใช่หรือไม่?

ตอบ จริงๆแล้ว ต้องมีสัมผัส เป็นสมุทัย พระพุทธเจ้าท่านยืนยันว่าต้องมี วิญญาณ ๖ เวทนา ๖ ตัณหา ๖ ผัสสะ ๖ ต้องทำสดๆ ถ้าทำของแห้ง จะยากช้านาน

ชาติคือคำรวมๆ ไม่จำเพาะ แต่สัญชาติ คือ ตัวที่คุณเอง มีความรู้บ้าง มันจำเพาะกว่า ระบุกำหนดลงไป ส่วนคำว่า โอกกันติ คือเกิดแล้ว มีเรื่องแล้ว มันต่อเนื่อง ซึ่งตรงข้าม กับคำว่า ขณิกะ (คือขณะหนึ่ง) จะยาวนานแค่ไหน ก็โอกกันติ เท่านั้น จะต่อเนื่อง สั้นหรือยาวเท่าใด ก็คือโอกกันติ ถ้าหยุดเมื่อไหร่ มีขณิกะ เมื่อนั้น

ที่บ้านเขาทำขนมเค้กขาย ทำด้วยแป้งไข่เนย ทำให้มีผลเสีย ต่อสุขภาพ

ตอบ เปลี่ยนได้ก็เปลี่ยนไปให้ดีกว่าเดิม แต่ถ้าเปลี่ยนไม่ได้ ก็ยอมรับ อันไหนเป็นพิษภัย ก็ควรเลิก ตามฐานะบุคคล ตามเหตุปัจจัย ให้ศึกษาไป ก็จะมีทางออก โดยเฉพาะอโศก มีงานเยอะ เลือกได้ ไม่บาป

ถ้ามีคนมาชวนไปชุมนุม อย่าออกไปนะครับ เดี๋ยวพ่อครู จะถูกกล่าวหา พาคนไปตาย

ตอบ เตือนมาก็ขอบคุณ ใครจะไปชุมนุมก็คิดดีๆ

เวลาเราทำงาน มือกับใจก็ให้ตรงกัน นี้คือการทำสติ ใช่ไหม หรือว่าไม่ต้องขนาดนั้น ให้ใจกำหนดเอง

ตอบ ใช่ อะไรทุจริตอกุศล ใจรู้แล้วมืออย่าทำให้ตรงกัน แต่ถ้าใจรู้ว่าอกุศล แต่ให้มือมันทำ อันนี้ซวย ใจสำคัญต้องคอยกำหนด ไม่ให้ฟุ้งซ่าน แม้ชำนาญแล้ว ก็ทำอัตโนมัติ ใจก็ไปคิดอื่นได้ แต่ก็ให้เลิกสิ่งไม่ดี แล้วก็หมั่นทำสิ่งดี ปรุงแต่งหลายอย่าง ก็ทำได้ แต่ยากหน่อย พ่อครูดูโทรทัศน์ ๓ จอ และเขียนหนังสือด้วย ฉันอาหารด้วย ทำหลายอย่างได้ แม้ไม่รู้ละเอียดหมด แต่ว่าอันไหนสำคัญ ก็จะกำหนด รู้ละเอียด บางที ๕ อย่าง ก็รู้อันเดียวได้ นอกนั้น ก็ไม่รับรู้ได้ คนไปห้องพ่อครู บางคนบอกว่า อยู่ได้อย่างไร พ่อครูก็อยู่มา หลายสิบปีแล้ว

การเกิดของกิเลส เมื่อจมูกได้กลิ่นเหม็น ไม่ชอบ ทุกข์แล้วดูใจ เห็นว่าเหม็นควันรถ ใจไม่ชอบ

ตอบ ถ้าคุณต้องอยู่กับมัน มันอยู่ไม่ทนหรอก แต่ว่าถ้ามันอยู่นาน คุณก็ต้องทน ถ้าคุณไม่ชอบ ทนไปนานๆก็ชิน แต่ถ้ามันชอบ ก็ให้พิจาณา อย่างเดียวกัน

ช่วยอธิบาย สมมุติสัจจะกับ ปรมัตถสัจจะ

ตอบ สมมุติสัจจะ คือสัจจะโลกีย์ ที่คนรู้ร่วมกัน ส่วนปรมัตถสัจจะ คือสิ่งที่ลึกกว่า เราต้องอ่านจิต ลดอกุศลจิต กำจัดอกุศลจิต คือปรมัตถสัจจะ ทำได้ก็เข้าถึง ปรมัตถธรรม

...จบ

           

 
๓๐ เมษายน ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานสันติอโศก