560502_รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อครู
เรื่อง สมาธิต้องมีสัมมาทิฏฐิก่อนอย่างไร? ตอน ๒


   พ่อครูจัดรายการที่ห้องกันเกรา สันติฯ ....

บอกกล่าวไปถึงศิษย์เก่าสัมมาสิกขา ที่กระจายในประเทศไทย เป็นพันคน ถึงงาน ที่พวกเราไปร่วม ช่วยทำงานด้วย เป็นแรงงานสำคัญ เราถือว่าเป็นงาน ที่สมควรอย่างยิ่ง ของประเทศ คืองานรวมพลังกลุ่มชาติพันธุ์ ฯ ซึ่งคนเขามองว่า งานนี้คือการเมือง พ่อครูก็มองว่า สังคมทุกวันนี้ ว่าตกอยู่ใต้อำนาจการเมือง ทั้งที่งานนี้คืองานการเมือง เป็นเรื่องของจิตวิญญาณแท้ๆ ของประเทศชาติ

เนื้อแท้อย่างชนเผ่าชาติพันธุ์ ที่มาพึ่งใบบุญ เขาตกระกำลำบากมา เขาไม่มีบัตรประชาชน เขาก็เป็นพลเมือง เขาไม่ใช่คนร้าย ไม่ใช่มีคนผิดหลบเลี่ยงแต่อย่างใด เขาก็ทำมาหากิน ของเขา แล้วเขาก็มาอาศัยใบบุญ ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวเรา ก็มีเมตตา เกื้อกูลอนุเคราะห์ แก่คนเหล่านี้ เขาก็ซาบซึ้ง พระมหากรุณาธิคุณ เขาก็จะมาแสดง กตัญญูกตเวที ก็มาไม่ใช่ง่ายๆ แต่ก็มีคนช่วย ซึ่งในหลวงก็ทรงชราภาพแล้ว คนเขาเห็นว่า เป็นแง่ของ การเมืองก็จริง เขาก็ระมัดระวัง ในผู้ที่ทำหน้าที่ แต่สื่อสารมวลชน ทำไมเขามองอันนี้ ไม่ออก แม้จะมีน้ำหนัก ของการเมืองบ้าง แต่เนื้อแท้สัจจะนั้น คืออะไร อันนี้น่าจะเป็น น้ำหนัก ที่สื่อสารมวลชน น่าจะเข้าใจอันนี้ได้ แต่ผู้ที่รักษาสถานะของ โลกธรรมมาก ความกล้าทำดีก็จะน้อย นี่คือกระแสของ สื่อสารมวลชน

งานรวมพลังชาติพันธุ์ จะมีในวันที่ ๕-๖ พ.ค. ๕๖ ส่วนเขาจะเดินทางเข้ามา ในวันที่ ๔ โดยเฉพาะวันที่ ๕ จะไปถวายพระพร และวันที่ ๖ จะไปขอพร วัดพระแก้วบ้าง ไปที่ รพ.ศิริราชบ้าง สรุปแล้วจะมีมวลชน มาหลายพันคน ในปีที่แล้วมา ๓,๐๐๐ คน แต่ปีนี้ จะมากัน มากกว่านั้นอีก ซึ่งกทม.นั้น เป็นเมืองที่ ถ้าเดินไม่ดีก็ตายได้ เหมือนเข้าป่าไม่เป็น ก็ถูกเสือ ถูกงูกัดตาย แต่มาในเมือง ก็มีเสือกรุง งูกรุงเช่นกัน ร้ายกว่าในป่า เยอะเลย

เราต้องการมดงาน ที่มาช่วยกันทำงาน ต้องการศิษย์เก่า มาช่วยกันหน่อย มาช่วยรับแขก อย่างน้อย เราก็รู้จักกทม. มากกว่าเขา หรือจะเป็นญาติธรรมก็ตาม ก็ขอแรงบ้าง มาทำประโยชน์ ต่อประเทศชาติ ถ้ามารวมกันได้สัก ๒๐๐ คนก็จะพอ ถ้ามากกว่า ๒๐๐ คนไม่เกี่ยงนะ โดยเฉพาะ ผู้ที่พูดภาษาชนเผ่าฯได้ น่ามาช่วยมากนะ ก็บอกประกาศไป ถึงลูกหลาน ศิษย์เก่า สัมมาสิกขา ใครจะมา ก็ติดต่อ สมัครมาเลย แจ้งไปที่อาเปิ้ม (ขวัญดิน) อาแซม (แซมดิน) ลุงใหญ่ (ถึงไท) เป็นผู้ที่ดูแล เป็นผู้รับใช้ทำงานอยู่ ถ้ามาตั้งแต่ วันที่ ๓ ได้ก็ดี เพราะเราจะเริ่มเตรียมงานกัน วันที่ ๓ พ.ค. ๕๖ ที่สนามเสือป่า สวนอัมพร ซึ่งตอนแรก ว่าจะเอาที่ลานพระบรมรูปฯ แต่ก็ติดขัด จึงขอใช้ที่สนามเสือป่า สวนอัมพรแทน

ทุกวันนี้พุทธศาสนา เพี้ยนไปมาก ซึ่งพ่อครูก็พูดสัจธรรม แต่เขาว่าพ่อครู รู้อยู่คนเดียว ได้อย่างไร เขาผิดหมด คณะใหญ่ผิดหมดได้อย่างไร แล้วก็ว่าพ่อครู ไปว่า ไปข่มเขา ซึ่งพ่อครูว่า กลุ่มเรามีเล็กนิดเดียวแล้วไปข่มเขาได้อย่างไร เราไม่ได้ข่ม แต่พูดสัจธรรม ซึ่งถ้าเขาถูกกระทบ เขาก็ขึ้น แล้วมันยืนยันว่า นั่นคือความถูก ยิ่งมั่นใจมั่นคง ยืนหยัด ยืนยันในสัจธรรม ก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมว่าพ่อครู ไปว่าไปติ ซึ่งไปติ ก็คือไปติสิ่งผิด แล้วไปยกสิ่งถูก

ซึ่งเรื่องของเรื่องคือ สิ่งผิดมันมาก พอพูดถึงสิ่งผิด ก็ไปถูกเขามาก พอพูดสิ่งถูก ก็เหมือน ชมตัวเอง หาคนถูกยาก ก็เลยต้องชมตัวเอง จริงๆพ่อครู นิคคัณเห นิคคหารหัง ปัคคัณเห ปัคคหารหัง (ตำหนิสิ่งที่ควรตำหนิ สรรเสริญในสิ่งที่ควรสรรเสริญ) ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร มันไม่มีทางเลี่ยง

เขาว่าทีคนอื่น เขาไม่เห็นติคนอื่นเลย เขาก็สอนของเขาไป พ่อครูก็ยืนยันว่า
            เหตุที่เขาไม่ติใคร นั้นคือ
๑.ไม่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด เพราะเขาไม่มีปัญญารู้ว่า อันนี้ถูก อันนี้ผิด เขาก็รู้ว่าอันนี้แหละถูก แล้วเขาก็ยึดของเขา เขาไม่รู้อีกอันหนึ่ง ว่าถูกหรือผิด เขาก็ติไม่ได้
๒.เพราะไม่กล้า ซึ่งเขาพอรู้อยู่ว่า อันไหนถูก อันไหนผิด แต่เพราะกลัวเขาโกรธ ซึ่งโกรธเพราะเขาเสียลาภยศสรรเสริญ เราก็กลัวถูกว่า เราจะต้องเป็นคนที่ไม่มีใครว่า ต้องรักษามาดไว้ รักอัตตาตัวเอง โดยไปเข้าใจว่าอย่าไปว่าใคร
๓.เพราะเป็นอย่างเดียวกัน เชื่ออย่างเดียวกัน เห็นอย่างเดียวกัน แล้วจะไปว่า ได้อย่างไรกัน ก็ต้องรุมว่าพ่อครูสิ เขาย่อมไม่ว่ากัน เป็นหมู่ใหญ่ด้วย เป็นโลกียะ ซึ่งถ้าโลกุตระ จะขัดกันได้
๔.เพราะรู้ว่ายังไม่สมควรจะติ ซึ่งเป็นคุณธรรมของผู้นั้น จะด้วยยังไม่มีข้อมูล หรืออะไรก็แล้วแต่ ถ้าจะติก็ต้องติด้วยศีล ติด้วยเมตตา
๕.ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนว่า นิคคัณเห นิคคหารหัง ปัคคัณเห ปัคคหารหัง (ตำหนิสิ่งที่ควรตำหนิ สรรเสริญในสิ่งที่ควรสรรเสริญ)

ไม่ใช่แก้ตัว แต่เป็นการอธิบายสัจธรรม ไม่จำเป็นต้องแก้ตัว ซึ่งพ่อครูรู้ว่า มีคนมาว่า มาด่า ก็เป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีปัญหา เป็นเรื่องถูกแล้ว พระพุทธเจ้า ก็สอนให้ติให้ว่า พ่อครูทำงานนี้โดยตรง ต้องติสิ่งควรติ ยกสิ่งถูก ซึ่งไม่ค่อย จะยกมาก เพราะต้องยกตัวเอง เพราะมั่นใจว่า พากันมาทำสิ่งถูก พ่อครูจึงชมน้อย แต่ต้องติมาก เพราะมันผิดมากด้วย แม้ติอย่างเดียวเช่น สมาธินั่งหลับตา ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า ก็เหมือนติเขา เต็มบ้าน เต็มเมือง ซึ่งพ่อครูไม่รู้จักเขาหรอก แต่รู้ว่า เขาทำกันแบบนี้ ส่วนใหญ่ ซึ่งแม้แต่เขาจะด่า จะว่า จะส่งข้อความ มาด่าอย่างไร พ่อครูก็ ไม่ถือสาเขา สงสารเขา ที่พูดนี้ เขาก็ว่า พูดทำโก้ แต่จริงๆ พ่อครูไม่ได้ถือสา โกรธเขา และ เมตตาเขาจริงๆ ซึ่งเขาเชื่อไม่ไหวเลย พ่อครูไม่ได้หวั่นไหว กับคำด่าเขาเลย ตอนนี้ เขาหาเรื่องพ่อครู ก็เลยไม่ตอบเขา ถ้าตอบ จะเป็นการโต้เถียง เขาก็ตอแยสารพัด ทั้งแหย่ หยาบสารพัด เห็นแล้วก็น่าสงสาร เหมือนเห็นเด็กที่ซน ดื้อด้าน พูดอะไรไม่ฟัง เราก็ไม่ได้ โกรธเกลียดเด็ก แต่ก็เข้าใจเขา อย่างมาก ก็ไม่ไปตอแยตอบโต้ เพราะเขาไม่รับเลย ต้องหยุด ปล่อยให้เขาทำ ได้ระบาย ฝ่ายเดียว ก็ทำมา แต่ก็น้อยลงนะ

เข้าสู่เรื่องเนื้อหา ซึ่งพ่อครูกำลังอธิบาย สาระสัจจะปรมัตถ์ เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท เพื่อให้คลาย ปลดอวิชชา ให้เกิดวิชชา ตั้งแต่ปริยัติ จนเกิดปัญญา แล้วเอาไปทำจนเกิด ภาวนามยปัญญา (คือเกิดมรรคผล)

ตั้งแต่ อวิชชา ไปถึงชาติ ชรา มรณะ โศก ปริเทวะ ทุกข โทมนัม อุปายาส นั้นได้อธิบาย ไปก่อนแล้ว ชรา นั้นคือความเสื่อม ที่ทุกอย่างต้องมี ไปถึง มรณะ ผู้ใดมี อวิชชา ไม่ได้หมายถึง ความรู้ทางโลกๆ หรือไปรู้วิชาการป.ตรี –โท -เอก ไม่รู้สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ นิยามของ "อวิชชา" แต่อวิชชา คือผู้ที่ไม่รู้โลกุตรธรรม ของพระพุทธเจ้า นั่นคือผู้ อวิชชา

อวิชชา คือไม่รู้ ส่วนคำว่า มิจฉาทิฏฐิ คือคุณก็พยายามศึกษา แต่รู้ผิด นั้นคือรู้ผิดๆ คุณว่าคุณรู้ คุณพ้นอวิชชา คุณมีวิชชา แต่ที่คุณรู้นั้นผิด อย่างนี้คือ มิจฉาทิฏฐิ

ในมหาจัตตารีสกสูตร [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง นั้น สัมมาทิฐิ ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิ ย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิ ว่ามิจฉาทิฐิ รู้จักสัมมาทิฐิ ว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ

พระพุทธเจ้าท่านบอก ทั้งโลกียะธรรม และโลกุตรธรรม แต่ว่าสิ่งที่ท่าน จะสอนนั้น คือ โลกุตรธรรม คือความพ้นทุกข์ อย่างอื่นท่านไม่ได้สอน แต่ท่าน ก็ต้องบอกบ้าง ท่านตัดทิ้งไปเยอะ แม้มีคนมาถาม แต่คนที่ไม่เข้าใจ รายละเอียดนั้น ก็จะโมเมว่า ธรรมะพระพุทธเจ้า มีทั้งโลกีย์และโลกุตระ อย่างนั้นมี แต่ไม่ถูก

วิชชาของพุทธ คือโลกุตระธรรม ส่วนวิชาของโลก ท่านก็บอกบ้าง แต่เจตนาของท่าน จะประกาศศาสนา คือโลกุตรธรรม คือวิชชา ถ้าไม่รู้อันนี้ คืออวิชชา

วันก่อน พ่อครูอธิบาย สัมมาทิฏฐิ ๑๐ ไป ๓ ข้อแล้ว สรุปทวนว่า

๑.ทานที่ให้แล้ว มีผล (ให้กิเลสลด) (อัตถิ ทินนัง) คือทานที่ทำเสร็จแล้ว รู้ว่ามีผลละหน่าย คลายกิเลสได้ ซึ่งจะทำได้ รู้ได้ ต้องมนสิการเป็น ซึ่งในมูลสูตร ๑๐ มีฉันทะเป็นมูล มีมนสิการ เป็นแดนเกิด ถ้าคุณทำใจในใจไม่เป็น ก็จบเห่ เช่นคุณทำทาน แต่คุณไม่เข้าใจ การทำใจ ต้องรู้ว่า ทำทานนี่ ให้ลดความโลภ ไม่ใช่ว่ามือให้ แต่ใจไม่ให้ อันนั้น ไม่ใช่ปรมัตถ์ เมื่อทำใจในใจไม่เป็น ทาน ก็ไม่เกิดผล

พระอรหันต์ให้ธรรมเป็นทาน ถ้ายังไม่เข้าใจ ไม่สัมมาทิฏฐิ ซึ่งบางท่าน มีคนว่าเป็นถึง อรหันต์ แต่ก็สอนทาน อย่างทำใจในใจไม่เป็น บอกให้ทำใจ ให้ได้ให้รวย ได้บุญมาบุญใหญ่ บางคนบอกว่า ตนเป็นอรหันต์ แต่ก็สอนบอกว่า ให้ตั้งหน้าตั้งตาทำดี จะได้รวย ให้สะสมโลกธรรม ก็คือ ยังไม่สัมมาทิฏฐิ

๒.ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง) คือ วิธีปฏิบัติ หรือศีลพรต นั่นเอง แล้วต้องรู้ว่า ใจเราลดกิเลสหรือไม่ ในการทำศีลพรต ถ้าไม่เข้าใจ ก็ปิดประตูนิพพานได้เลย

๓.สังเวย(เสวย)ที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ หุตัง) อย่างมิจฉาทิฏฐิ คือ นัตถิ หุตัง คือผลของทานของศีล ใจเรา ไม่ได้ลดกิเลสเลย ซึ่งการบูชายัญ บูชาเจ้า อย่างที่เขาทำกัน คุณรู้หรือไม่ ว่าเจ้าหรือเซียน ที่บวงสรวง ได้รับหรือไม่ แต่อย่างปรมัตถ์ คือต้องรู้ว่า ใจเราได้รับผล เสวยผลหรือไม่ เราตามเห็น อนิจจานุปัสสี วิราคานุปัสสี นิโรธานุปัสสี หรือไม่ แม้จะไม่ถึงนิโรธก็ตาม ก็มีผลวิราคะ

๔. ผลวิบากของกรรม ที่ทำดีทำชั่วแล้ว มีแน่ (อัตถิ สุกฏทุกฺกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก) ซึ่งความเกิดของ สุข-ทุกข์ นั้นก็เกิดจาก กรรมวิบาก ซึ่ง ชาติ ๕ อย่าง ในพระไตร ล. ๑๖ ท่านแจกแจงไว้อย่างดี คือ มี ชาติ สัญชาติ โอกกันติ นิพพัตติ อภินิพพัตติ และใน พระไตรปิฏก มีฟุตโน้ตไว้ถึงว่า ชาติ ๕ อย่างนั้น เทียบกับการเกิด ๔ อย่างคือ (สังเสทชโยนิ อัณฑชโยนิ ชราพุชโยนิ โอปปาติกโยนิ) ซึ่งท่านว่า อภินิพพัตติ นั้นแปลว่า โอปปาติกโยนิ อย่างเดียว แต่พ่อครูว่า ทั้ง ๕ อย่างของชาตินั้น คือการเกิดอย่าง โอปปาติกโยนิ ทั้งหมดเลย ไม่ใช่การเกิด อย่างอื่นหรอก ซึ่งในพระไตรปิฎก ก็แปล กันมาอย่างนั้น

ยืนยันว่า ชาติ ๕ อย่างนี้ ในวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าท่านยกคำว่า ชรา มรณะ ท่านก็อธิบาย อย่างตื้นๆว่าเกิดตายทางร่างกาย อย่างมีความแก่หง่อม มีหนอนไช เหลือแต่กระดูก มีการพิจารณา ๙ อย่างเป็นซากศพ(นวสีวถิกา) ซึ่งเป็นการอธิบาย รูปนอก แต่ที่จริงความชราและมรณะ นั้นคือ ความชราและความตายทางจิต

ถ้าเข้าใจว่า แม้แต่การเกิด(ชาติ) ว่าคือการเกิดอย่าง ชราพุชโยนิ ไม่ใช่แบบ โอปปาติกโยนิ นั้นเข้าใจผิด ซึ่งเพราะแม้แต่ภพ ที่ท่านอธิบายว่าคือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ และก็อธิบายต่อไปยัง ท่านก็ต้องการย้ำ ว่าเป็นปรมัตถ์ ที่ต้องมีการสัมผัส เพราะ ตัณหาก็มี ๖ เวทนาก็ ๖ วิญญาณ ก็มี ๖

เวลาปฏิบัติ ต้องปฏิบัติลดละล้าง กามภพก่อน ซึ่ง กามภพอย่างหยาบ คืออบาย มีทวาร ๕ กระทบแล้ว มีทวารใจรับรู้ ว่ามี ตัณหา ๖ เกิด มีเวทนา ๖ มีวิญญาณ ๖ ที่เกิดจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ซึ่งพระพุทธเจ้าว่า พระภิกษุสาติว่า เป็นโมฆะบุรุษ ที่บอกว่า วิญญาณ ล่องลอย แบบนั้นไม่ใช่ ไม่ใช่ตัวปฏิบัติ ตัวปฏิบัติคือ วิญญาณ ๖

แล้ววิจัย วิญญาณ ซึ่งวิญญาณมีลิ่วล้อ ๓ คือ เวทนา -สัญญา -สังขาร เพราะฉะนั้น วิญญาณคือ สังขารกับเวทนา นี่แหละ คุณก็ต้องใช้ สัญญา เป็นตัวกำหนด ในการรู้จัก สังขารและวิญญาณ

เวทนาและสังขาร คืออันเดียวกัน สังขาร คือมันปรุงแต่งกันเสร็จ ยังไม่เรียกว่าอารมณ์ สังขารคือคำรวม เรียกได้แต่สังขารกาย ไปถึงในจิต เป็นคำกว้างๆ ส่วนคำว่า เวทนานั้น คือมันปรุงแต่งสังขาร ด้วยอวิชชา เกิดเป็นเวทนาเลย อย่างรวดเร็ว

เช่นเห็นส้มโอ ก็ปรุงแต่งเลยว่าอยาก ต้องการใคร่รู้ ใคร่มี ใคร่ได้ ใคร่เป็น ปรุงไปว่า มีเนื้อดี หรือเนื้อเลว จะรสชาติอย่างไร นี่คือเทวดาเก๊ เทวดาหลอก ที่จริงคือผี คือ อร่อยยินดี นั่นแหละคือ เวทนา ก็คือสังขาร นั่นแหละ

สังขาร  คือ กายในกาย คือสัมผัสกับภายนอกเป็น กายในกาย แล้วเข้ามาเป็น อุปาทายรูป คือ กายในกาย มันต่อเนื่อง จากภายนอก แล้วปรุงมาเป็นอารมณ์ ต่อเนื่องกันมาตาม อิทัปจจยตา ถ้าเข้าใจแล้ว ก็วิเคราะห์สิว่าเป็น สราคะหรือสโทสะ อยู่ในจิต พอรู้แล้วว่า มีตัวผีมา ตัวนี้แหละ คือสมุทัย คือตัณหา ที่เราจะกำจัด

หรือ ตัณหา ก็คืออุปาทานที่เป็นพลังงานศักย์ ตัวนี้คือสมุทัย ถ้าฆ่าได้ อุปาทาน ภพ ชาติ ก็ดับหมด

 

ต่อไปเป็นการตอบประเด็น


๑. การฟังธรรมสำคัญที่สุด เพื่อนำสู่ความเข้าใจ เพื่อลดละกิเลส แล้วนำสู่ ความอยู่ร่วมหมู่กลุ่ม อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความขัดแย้ง อย่างพอเหมาะใช่หรือไม่ โดยไม่ยึดเป็นอัตตา ถ้าอีกฝ่ายสงบกว่า เพราะยอมได้วางได้ พูดให้เหตุผลกันดีๆ แต่ถ้าอีกฝ่าย ยึดอัตตาเหนียวแน่น ก็ดันทุรังทำกันไป บาปใครบุญมัน ใช่ไหม เขาผู้นี้ จึงสมควรน่าสงสาร ไม่ควรโกรธ เขาอาจฟังธรรมน้อยไป ทั้งที่พ่อครู ก็สอนอยู่ตลอด หรือเขาลดกิเลสไม่ทัน เพราะเขาอาจ ทำงานมากไป วัดนี้งานมาก เขาจึงเป็นเจโต ที่ขาดปัญญาอยู่ พ่อครูเห็นอย่างไร?

ตอบ.... ขนาดพระอรหันต์ ยังมีความขัดแย้งกันเลย อย่างมหายาน เขาก็มีอรหันต์ หีนยาน หรือเถรวาท ก็มีอรหันต์ สุดท้าย ก็ยังต้องแยกกันปฏิบัติเลย แต่ที่จริง ถ้าท่านเป็น อรหันต์แล้ว ท่านจะไม่ติดใจ แต่ว่าถ้าท่านไปเกิดตกอยู่ตรงไหน ท่านก็ต้องอยู่ อย่างพ่อครู อยู่ในธรรมยุติ ก็ไม่ได้อยู่กับมหานิกาย แต่ก็ไม่ติดใจ จนกระทั่ง เกิดเรื่อง แม้มีพระมหานิกาย มาศึกษาก็อยู่ได้ จนกระทั่ง ท่านไปแยก ตอนแรกพ่อครู ขออุปัชฌาย์ ไปอยู่ที่ แดนอโศก อุปัชฌาย์ก็ถามว่า มีมหานิกาย มาด้วยหรือไม่ ก็บอกว่ามี อุปัชฌาย์ ก็บอกว่า ไม่ได้ ปฏิบัติร่วมกันไม่ได้ ตอนหลังพ่อครู ก็ขออนุญาตว่า ขอไปปฏิบัติ ซึ่งอุปัชฌาย์ก็ว่า ต้องคืนใบสุทธิ พ่อครูตอนนั้นก็ว่า มาทำงานศาสนา ไม่ได้มาทำใบสุทธิ พ่อครูตอนนั้น ก็เลยคืนใบสุทธิ อุปัชฌาย์ท่านก็ไม่ว่า พ่อครูก็เลยไป  แล้วก็ไปเล่า ให้หลวงอาฟัง หลวงอาก็เลยบอก ให้สวดญัติให้อีกที แต่ไม่ได้สึก ตกลงพ่อครูบวช มีอุปัชฌาย์ทั้งมหานิกาย และธรรมยุติ แล้วได้ใบสุทธิ ๒ใบ ซึ่งคืนไปก่อน ๑ ใบ เสร็จแล้ว พอลาออกจาก มหาเถรสมาคม ก็คืนอีก ๑ ใบ จนมีใบสุทธิอโศก

สังคมพุทธ เมื่อมีความขัดแย้ง ก็ให้มี อธิกรณสมถะ คือให้เกิดความสงบเรียบร้อย ไปได้ด้วยดี ที่มีหลักตัดสิน หลักระงับ อธิกรณ์ต่างๆ จะมีขัดแย้งอย่างไร ก็ทำตาม หลักการ แม้จะมี
๑. วิวาทาธิกรณ์ คือเถียงเรื่องธรรม
๒. อนุวาทาธิกรณ์ คือ ทะเลาะกันด้วยเรื่องวินัย ยึดอาบัติ ตู่กันไปมาว่าผิด ก็ต้องให้ กรรมการตัดสิน
๓. อาปัตตาธิกรณ์ คือการจัดการกับอาบัติ ต้องพิจารณาความ
๔. กิจจาธิกรณ์ คือการจัดการงานทุกอย่างให้ดีขึ้น ให้เจริญขึ้น แม้จะมีการประชุม ก็คือ กิจจาธิกรณ์ แล้วก็มีมติกันไป

อธิกรณสมถะ การทำอธิกรณ์ให้สงบระงับ หมายถึง วิธีระงับอธิกรณ์
ตาม พระธรรมวินัย 7 อย่าง คือ

  • สัมมุขาวินัย ตัดสินในที่พร้อมหน้าทั้ง โจทก์และจำเลยพร้อมพยาน ตามพยานหลักฐาน
  • สติวินัย ถือสติเป็นหลัก การยกเลิกความผิด เพราะเป็นพระอรหันต์ หรืออริยบุคคล ที่จะไม่ทำผิดวินัย ในข้อนั้นได้
  • อมูฬหวินัย ผู้หายจากเป็นบ้า การเลิกความผิด เพราะผู้กระทำผิดนั้น วิกลจริต หรือ เป็นบ้า
  • ปฏิญญาติกรณะ ทำตามที่รับ การตัดสินตามการยอมรับผิด คำสารภาพ ของผู้กระทำผิด
  • ตัสสปาปิยสิกา ลงโทษแก่ผู้ผิดที่ไม่รับ การลงโทษ ผู้ที่ไม่ยอมพูด ในการสอบสวน ของคณะสงฆ์
  • เยภุยเยสิกา การตัดสินตามมติเสียงข้างมาก
  • ติณวัตถารกะ ดุจกลบไว้ด้วยหญ้า วิธีประณีประนอม การตัดสินยกฟ้อง เลิกแล้วต่อกัน (ในกรณีทะเลาะกัน) สมัยนี้ใช้คำว่า ซุกไว้ใต้พรม

คนฟังพ่อครูเหมือนกัน แต่ยึดต่างกัน เอาเข้าข้างตนเอง สรุปว่า ใครวางก่อน คนนั้น คือผู้เจริญ ใครไม่วาง เห็นการงาน มากกว่าธรรมะ คนนั้นไม่เห็นประโยชน์ตน มาก่อนประโยชน์ผู้อื่น ได้บาปไป ถ้ายังอยู่ในหมู่ เมื่อมีมติแล้ว เอาตามหมู่ ถอนอัตตา ถ้ายังเห็นว่ากูถูกอยู่ ก็ยังยึดอยู่ ขาดทุนทั้งนั้น เราต้องเคารพหมู่ เคารพกลุ่ม เพราะทุกคนปรารถนาดี

แม้จะเก่งไปหาบริวาร ไปล็อบบี้มาแล้ว คุณก็ไม่ได้ดีอะไรหรอก ถ้าเขายังประณี ประนอม ยังเมตตากัน สุดท้าย เขาให้คุณอยู่ได้ ก็อย่าหลงตัวว่าชนะ ถ้ายังหลงตัว คะนองอีก ยึดซ้ำอีก เขาให้แล้วก็ยึดว่า ตนชนะ คนนั้นซวย การปฏิบัติธรรม ต้องเอาหมู่ เป็นหลัก
           
เมื่อวานนี้รายการสิกขมาตุ สะท้อนกิเลสชัดๆ ต่อไปไม่ต้องถามพ่อครูแล้ว เห็นกิเลสชัดๆ เพราะได้คำตอบว่า ต้อง มีศีล ๕ ละอบายมุข พร้อมเสียสละ ดูท่านวิเคราะห์วิจัย กิเลสตน แล้วอบอุ่นใจ ก็เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ใช่ไหม?

ตอบ ดีจะได้แบ่งเบา ไปฟังคนอื่นบ้าง พ่อครูไม่กลัวไม่มีลูกค้า ซึ่งพ่อครูก็ไม่ต้อง ไปวน อธิบาย ว่าทำไม ต้องไม่กินเนื้อสัตว์ ซึ่งพ่อครูก็จะได้ ไปเจาะลึกปรมัตถ์ อย่างยึดว่า ต้องฟังพ่อครูอย่างเดียว บางคนว่า ต้องคุยกับพ่อครูอย่างเดียว ก็มีคน เขาคัดกรองให้ก่อน ก็ไม่ต้อง ถึงพ่อครูก็ดี ซึ่งจะบอกว่า สุขาปฏิปทา หรือ ทุกขาปฏิปทา ก็ยังตัดสิน ไม่ได้หรอก

ในปฏิปทา ๔
๑.ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก ทั้งบรรลุช้า) .
๒.ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่บรรลุเร็ว)
๓.สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่บรรลุช้า)
๔.สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก ทั้งบรรลุได้เร็ว)

การที่เรารับประทานเนื้อสัตว์ มีผลต่อการปฏิบัติธรรม

ตอบ มีผล
 ๑. อย่างน้อย คุณก็ยังต้องติดเนื้อสัตว์ คุณยังไม่ได้ลดละเว้นขาด จะได้เห็นกิเลสเลย
๒. มันเกี่ยวเนื่อง กับกรรมวิบาก พระพุทธเจ้าตรัสว่า การเกี่ยวเนื่องในจิตวิญญาณ ผู้ที่ฆ่าสัตว์ หรือทำให้สัตว์ลำบากทรมาน พระพุทธเจ้าว่า ถ้ายังตถาคน และสาวก ให้ยินดีด้วยเนื้อสัตว์ ก็บาปแล้ว คือเขาปรุงเนื้อสัตว์มา อย่างปราณีตนั้น คือบาปมาก ไม่ใช่บุญ เป็นอันมาก คือ ทำบุญแต่ได้บาป
๑. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา” (อุทิศ, อุททิสสะ คือ เจาะจง มุ่งหมายไปที่สัตว์ชื่อนั้น)
๒. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา  ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส
๓. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า  “ท่านทั้งหลาย จงไปฆ่าสัตว์นี้”
๔. สัตว์นั้น เมื่อกำลังถูกเขาฆ่า ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส
๕. ผู้นั้นยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีไปด้วยเนื้อ ย่อมประสพบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก (ตถาคตํ วา ตถาคตสาวกํ วา อุทฺทิสฺส ปาณํ อารภติ โส อิเมหิ  ปญฺจหิ ฐาเนหิ พหุง อปุญฺญํ ปสวตีติ) ชีวกสูตร ล.๑๓ ข.๖๐

ถ้าคุณเป็นพระหรือนักปฏิบัติธรรม ถ้าจะให้บริสุทธิ์ โดยส่วนสาม คุณก็กินไม่ได้อยู่ดี เพราะเห็น อยู่ทนโท่ ว่าเขาฆ่ามาให้เรากิน ไม่ใช่ปวัตตมังสะ คือสัตว์ตายเอง หรือ เดนสัตว์กิน แต่อย่างใด เพราะคนฆ่ามา หรือได้ยินข่าว จากเขียงหมู ก็รู้อยู่ว่า เขาฆ่ามาแน่ ถ้าชัดเจน เราไม่กินหรอก ที่กินอยู่ เบี้ยวบาลีหมดเลย ให้เลิกกินดู จะรู้ว่า เห็นเพื่อนกินเนื้อสัตว์แล้ว จะมีความรู้สึกอย่างไร ถ้าถูกคะยั้นคะยอให้กิน

ทำไมก่อนบวชพระต้องเป็นนาคก่อน

ตอบ นาคะคือผู้เจริญผู้ใฝ่ดี ผู้ที่จะมาเป็นสมณะ จึงต้องมาเตรียมตัวเจริญ จึงเรียกว่า นาค อย่างอโศกเรามีขั้นตอน เป็น ปะ นาค(กรัก) เณร ก่อนเป็นสมณะ ซึ่งทุกวันนี้ ที่เขาท่องกัน นัตถิ ๕ อามะ ๘ ก็ท่องกันไปไม่รู้เรื่อง รู้ความหมาย บางทีโกหกเลย พูด ราชปัตโต ทั้งที่ยังรับเงินเดือน ยังไม่ลาออกเลย ซึ่งจริงๆแล้วจะมาบวช ต้องมา โภคขันธาปหายะ มาสละโลกีย์ พ่อครูพาทำ อย่างเคร่งครัด เราแก้หมู่ใหญ่ไม่ได้ ต้องแยก นานาสังวาสมา ให้เข้าหลักเกณฑ์ ตามธรรมวินัย

สมณะที่มาบวชกับชาวอโศกเพื่อหลุดพ้น แต่ที่สึกไป จะไปหาความหลุดพ้นที่ไหน

ตอบ ที่สึกไป คือ ๑.มีอัตตามานะ ถือดี ก็ออกไป คนถือดี จะไปตั้งหมู่ใหม่ก็มี
๒.รู้ตัวว่าไม่ไหว ตอนแรกนึกว่าตนไหว อยู่ไปก็ไม่ไหว บางคนสึกก็ไม่กล้ามาอยู่กับหมู่ บางคน ก็อยู่กับหมู่ บางคนขอมาบวชใหม่ก็มี

จะทำยัญที่จะระงับอารมณ์ตนเองได้อย่างไร

ตอบ... ก็ต้องปฏิบัติธรรม อย่างที่หลวงปู่สอน พยายามจับประเด็นให้ได้ ว่าการอ่าน ใจตน เป็นอย่างไร รู้อารมณ์โกรธ-โลภ จับได้แล้วก็พยายาม มันเป็นกิเลส อย่าให้มันมี ในใจเรา มันไม่ใช่ตัวเราหรอก มันมาหลอกเราให้ทุกข์

ผู้ปฏิบัติธรรมชาวอโศกพูดกับคนอื่น อย่างกับรู้ว่ามีธรรมะ แต่เวลาปฏิบัตินั้นผิดศีล ไม่รู้ตัวเอง หากปฏิบัติในองค์กรอโศก จะมีสิทธิพัฒนาตนไหม ต้องรู้ตนเองก่อนไหม

ตอบ การหลงตนเองนั้นรู้ยาก หากเรายึดมั่นถือมั่นอยู่ ผิด-ถูกเป็นเรื่องลึกซึ้งมาก ความผิดความถูกนั้น ไม่มีจริง ถ้าสัญญาร่วมกัน อันนั้นถือว่า เป็นสมมุติสัจจะด้วยซ้ำ (คือรู้ร่วมกัน) แล้วเราก็ไม่ยึดของเรา นั้นคือ คุณมีปรมัตถ์สัจจะ ถ้าใครยึดแต่สมมุติ ก็ยาก ...

จบ   

     

 
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานสันติอโศก