560514_รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อคร
เรื่อง อาหารเครื่องอาศัยไปนิพพาน

          พ่อครูจัดรายการที่ห้องกันเกรา สันติอโศก ...

พ่อครูก็ยังคงบรรยายเกี่ยวกับศาสนาที่เป็นพุทธแท้ๆ อยู่เช่นเดิม รายการนี้เปิดโอกาส ให้ผู้ฟัง ได้แสดงความเห็น หรือถามปัญหาได้ โดยส่งข้อความมา หรือโทรศัพท์ มาถามคำถาม หรือส่งประเด็นได้ ซึ่งพ่อครูจะตอบประเด็น ในช่วงหลังของรายการ

แต่ละคนก็มีความเห็นต่างกันได้เป็นธรรมดา ใครจะเห็นแย้งก็ว่ากันได้ แต่ถ้าเรารู้แล้ว ว่าท่านแย้งมานั้น พ่อครูก็รู้และเข้าใจ แต่ท่านก็ว่าพ่อครู ไม่รู้ไม่เป็น เช่น เขาว่าพ่อครู ไม่รู้ฌาน สมาธิ นิโรธ หรืออย่างที่เขาปฏิบัติ นั่งหลับตา ทำสมาธิ แต่ที่จริงพ่อครู เคยปฏิบัติมา ได้ผลมาแล้ว และก็ยืนยันว่า สิ่งนั้นผิด และพ่อครูก็รู้ สิ่งที่ถูกต้องกว่า เป็นอย่างที่ พระพุทธเจ้า ยืนยันไว้ในพระไตรฯ ก็ยืนยันอยู่ แต่ถ้าท่านจะยืนยันว่า อย่างเดิม ก็แล้วแต่ พ่อครูก็ไม่คิด จะกลับไปเห็นว่า อย่างนั้นถูก พ่อครูเคยทำ อย่างนั้นมาแล้ว และก็รู้ว่า ที่ท่านพูดมา เป็นอย่างไร พ่อครูรู้ทั้งสองอย่าง มีสภาวะ ทั้งสองอย่าง เคยผ่านมาแล้ว

พระพุทธเจ้าท่านก็รู้ว่า สิ่งที่ท่านปฎิบัติในป่า ทรมานตน ๖ ปีนั้น เป็นสิ่งผิด เป็นลิงลม อมข้าวพอง ซึ่งพ่อครูก็เป็นมา จะเมาไปกับโลก แต่ในที่สุด ก็จะฟื้นความรู้ขึ้นมา ก็จะมีไปตามบารมี มากน้อย ตามแต่บุคคล

ในสายเถรวาท เขามีกรอบอรหันต์รอบเดียว แล้วก็ตายแล้วสูญ ซึ่งเป็นอุจเฉจทิฏฐิ เขาเชื่อว่า โพธิสัตว์ เป็นคนไม่บรรลุธรรม หากบรรลุธรรม เป็นโพธิสัตว์ไม่ได้ ก็เข้าใจผิด ไปอย่างนั้นอีก พ่อครูไม่ขอเถียงกับเขา ถ้าเขาเถียงจะเอาชนะ พ่อครูขอแพ้

เมื่อวานพ่อครูก็ได้ลงรายละเอียดถึง อาหารสูตร ในพระไตรปิฎก ล. ๑๘ ซึ่งอาหารสูตร ก็เกี่ยวเนื่องกับ ปฏิจจสมุปบาทอย่างยิ่ง วันนี้จะขยายความ อาหาร ๔ อย่างสำคัญ ซึ่งอาหาร คือเครื่องอาศัย         

กวฬีการาหาร เกี่ยวเนื่องกับวัตถุข้างนอก หมายถึงสิ่งที่เรากิน หรืออาหารคือคำข้าว ในอาหารนั้นแหละ มันต้องผัสสะ ทางตาทางหูจมูกลิ้นกาย แล้วเข้าไปถึง ธาตุรู้ภายใน คือวิญญาณ  ส่วนมโนสัญเจตนาหาร และวิญญานาหาร อยู่ภายใน

ผัสสาหารเป็นกึ่งนามกึ่งรูป ในพระไตรฯล.๑๖ แจกนามไว้ว่า คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ซึ่งทั้ง ๕ คำนี้เรียกว่า นาม

ผัสสะ คือการกระทบสัมผัส และผัสสะท่านก็เรียกว่า การกระทบสัมผัสข้างนอก แต่ข้างใน ท่านไม่เรียกผัสสะ มันจะต้องมีสิ่งที่อยู่ข้างนอก มากระทบกับ ตาหูจมูก ลิ้นกาย แล้วเข้าไปข้างใน สัมผัสจากกายนอก เนื่องไปถึงความรับรู้ ทางใจข้างใน เพราะธาตุรู้ หรือวิญญาณนั้น เกิดภายใน

วิญญาณจะเกิดต้องมีผัสสะ ๓ คือ ตากระทบรูป แล้วจึงเกิดวิญญาณ สามอย่างนี้ เรียกว่า "วิญญาณ" เป็นธาตุรับรู้ตามจริง เป็นของจริงตามจริง กระทบอะไร ก็รู้อันนั้น ก็จบ แต่ผู้มีกิเลส ก็ปรุงต่อว่า ชอบหรือไม่ชอบ อร่อยไม่อร่อย ก็ชอบหรือไม่ชอบ ซึ่งคนทุกคน ทุกชาติ สัมผัสแล้ว จะเหมือนกันหมด แต่อธิบายเป็นภาษาต่างกันไป เป็นภาษาไทย-จีน-ลาว แล้วแต่

การมีความชอบหรือไม่ชอบ ก็เนื่องมาจากลักษณะ การยึดไว้ สเปคไว้ อุปาทานไว้ ว่าอย่างนี้ น่าได้น่ามีน่าเป็น อย่างนี้ชอบหรือชัง ถ้ากระทบแล้ว ได้ตามสเปค ที่เรากำหนดไว้ ก็ชอบ ถ้าไม่ตรง ก็ไม่ชอบก็ทุกข์

เรียนรู้ให้ได้ว่าสุขมันของหลอก ทุกข์มันของจริง ทั้งเกิดสุขเกิดทุกข์นั้นโง่ สุขมันแวบเดียว ที่มีของจริง ผ่านจากนั้นเป็นของปลอม มันไม่มีผัสสะแล้ว ถ้าเป็น อนาคามีแล้ว ไม่สุขทุกข์กับภายนอกแล้ว ก็มีความสบายเบาแล้ว ไม่บ้า ไปกับคนอื่น แต่บ้าส่วนตัว ส่วนไม่ใช่อนาคามี จะบ้าไปกับสิ่งอื่น กับคนอื่นด้วย วุ่นวายมากเลย อะไรไม่รู้ วุ่นไปหมด

ในชีวิตคน ถ้าไม่รู้สิ่งที่เรายึด เราอุปาทาน ก็ทุกข์ตลอด ถ้าติดมาก ก็อยากได้ มาเป็นของตัว ถ้าได้เสพสัมผัส ก็เป็นสุข เช่น คุณมีเพชรเม็ดงาม ได้มาเป็นของตัวมีสุข แล้วก็วางทิ้งไป แล้วก็ไปสุขกับสิ่งอื่น แต่เพชรก็ใส่เซฟไว้แล้ว แต่พอระลึกเอา (ของจริงฝากเซฟไว้) ก็ระลึกแล้วก็สุขดี กูมีไว้ อย่างนี้บ้าหรือไม่ เป็นตัวกูของกู แล้วคุณ จะตายจากมันไหม แล้วสะสมจัง แล้วก็มีสุขอย่างนี้ ถ้าอยากได้สัมผัสแตะต้อง ก็ถอนออกมาลูบ มาคลำมาใส่ อวดคนนั้นคนนี้ นี่คือตัวกูของกู แล้วก็ต้องอาศัย เป็นสุขอย่างนี้

วิญญาณที่ยึดที่ติดนี้คือผี พอได้สัมผัสเป็นสุข ก็เป็นสมมุติเทพ สุขเด๊ สุขจริงๆ สุขสัมผัสอยู่ ก็เป็นสุขสดๆ พอไม่มีสัมผัสแล้ว ก็เป็นสุขแห้งๆ เอาสัญญาออกมา ระลึกว่าสุข สัญญาเป็นอรูป ไม่มีของจริง มันไม่มีสัมผัส ไม่ใช่ของจริง แต่คุณปรุงเอง เป็นอายตนะ ๒ ไม่เรียกว่า ผัสสะ มันปรุงกันเอง เป็นสุขแห้ง ไม่ใช่สุขสดๆ

คนเคยมีสุขแห้งสุขสดๆทุกคน ถ้าฟังพ่อครูแล้ว ถ้าไม่อีเดียด โมล่อน ก็จะรู้ได้ คนสามัญ จะรู้ได้แน่นอน

เครื่องอาศัยหรืออาหาร พอวิญญาณเกิด เป็นวิญญาณผี เป็นวิญญาณเทวดา นี่คือ เทวดาแท้ ในตัวเอง ผีแท้ๆในตัวเอง เราจะรู้ชัดเลย

เทวดา ที่ว่านี้คือ เทวดาสมมุติ ซึ่งพระพุทธเจ้าอธิบายถึง เทวดา ๓ อย่าง
คือ สมมุติเทพ อุบัติเทพ วิสุทธิเทพ

ถ้าผู้ใดปฏิบัติ อย่างที่พระพุทธเจ้าสอน จะเกิดอุบัติเทพ ต่างจากสมมุติเทพ ซึ่งคือ สัตว์ชนิด สุขทุกข์ ที่ทุกคนเคยเป็นมาทั้งสิ้น พอมาปฏิบัติ ก็ล้างตัณหาอุปาทาน คือความอยากได้ อยากมีอยากเป็น ตามสเปค พอได้สมใจก็สุข เป็นเทวดา พอไม่ได้สมใจ ก็พยาบาทไว้

เมื่อเรามาฝึก เราต้องอ่าน เมื่อกระทบสัมผัส แล้วจะเกิดวิญญาณ เรียกว่า วิญญาณ ๕ ที่เกิดจาก การกระทบ ทางทวาร ๕ คุณก็เรียนรู้ ที่จะกำจัดผี คือตัวทำให้ทุกข์ เมื่อมันอยาก แล้วมันได้ เสพสม มันก็ปรุงปุ๊บเป็นสุข เราแก้โดยไม่ต้องไปเสพ ไม่ต้อง ให้มันได้ อย่างที่อยาก ทางตาหู จมูกลิ้นกาย คุณก็กำหนด ในสิ่งที่ตนยึด ก็ไม่ต้องไป กระทบหรอก มันเป็นสุขเท็จ

เราอ่านรู้ว่าอยากอย่างนั้น มันอยากอย่างผี อย่างอวิชชา ที่เราต้องปรุง ตามรสนี้เป๊ะเลย ต้องสัมผัส เย็นร้อน อ่อนแข็ง เย็นร้อนอย่างนี้ เบาแรงขนาดนี้ ก็ล้วนแล้วแต่ คุณไปตั้งไว้ กำหนดไว้ ถ้าได้มาก็สุข ไม่ได้อย่างที่ตั้งไว้ ก็ทุกข์

นี่คือความงมงาย ที่คนเรา วนเวียนมากี่ชาติแล้ว ส่วนผู้รู้ว่า มันพาทุกข์ เขาก็พาหนี ไม่กระทบสัมผัส ไปอยู่ป่า เขาพยายามปรุง พยายามสะกดจิต ไม่ให้มันปรุง เป็นวิธีฤาษี มันไม่ได้สัมผัส อาการจริง อ่านรู้สภาวะจริง แล้วลดละ อาการที่เกิดจาก กิเลสตัณหา อุปาทาน ที่มันฝังยึด ว่าเป็นตัวเรา ของเราเลย เราต้องรู้ว่า มันไม่ใช่เรา ทำให้มันลดละ จางคลาย มันไม่เที่ยง มันมาชั่วแว่บ เหมือนพยับแดด สุขชั่วครู่ แล้วก็ไปจำไว้ยึดไว้ จำไว้ไม่ลืมเลย เช่น ไม่ว่าจะกี่ชาติ เราก็จะเกิดมาพบกัน ผูกพันกันไป ตลอดกาลนาน

สรุปว่า ถ้าคุณรู้สภาวะ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ว่าตัณหาคือตัวเคลื่อน รู้ได้ง่ายกว่า อุปาทาน มันแสดงอาการ อยากดิ้นมาเท่าไหร่ เรียกสัตว์นรก เปรตก็คือ ความอยาก เดรัจฉานคือโง่ ไปอยากมากๆ ตัวอย่างเช่น เขาอยากได้ประเทศไทย อยากจนสร้าง เวรกรรมภัยไปทั่ว ทำให้เดือดร้อนไปหมด เป็นเวรภัยของเขา แม้แต่ผู้ที่เป็นพรรคพวก ได้เศษส่วนเนื้อข้างเขียง เขาก็ได้ประโยชน์ เขาก็ไม่ฟังพ่อครูหรอก

สรุปแล้วสรุปอีก ถ้าคุณสามารถรู้ตัวกิเลส ตัณหาอุปาทานได้ มันเป็นพลังงานเดียวกัน ถ้ามันนิ่งกบดาน เรียกว่าอุปาทาน หรืออาสวะ อนุสัย แต่ถ้ามันเคลื่อนมาทำงาน เรียก ตัณหา แล้วเราก็รู้ และมีวิธีกำจัด ว่ามันไม่เที่ยง เรายึดอยู่ก็เป็นสุขเป็นทุกข์ ถ้าไม่ยึดเลย ก็ไม่สุข ไม่ทุกข์ สุขกับทุกข์ เป็นของคู่ สุขเป็นของสด แป๊บเดียวหาย ส่วนทุกข์คือ อริยสัจ อยู่นานกว่า เพราะเกิดจาก อุปาทานไว้ไม่ปล่อย

อยากสุขสด ก็เอามาลูบมาคลำสัมผัส เมื่อไม่สัมผัสก็นึกเอา มีแต่สุขแห้งๆ ซึ่งเป็นของหลอก ทั้งสิ้น ผู้ที่เป็นอริยะ ตั้งแต่โสดาฯถึงอรหันต์ ก็จะหมดสุขหมดทุกข์ ไปตามลำดับ อย่างถาวร แล้วก็อยู่กับโลกเขา อย่างรู้ความจริงตามจริง เราเห็นดอกไม้ ก็ไม่สุขไม่ทุกข์ จะมีเงินมีบ้าน ก็ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่มีก็ไม่สุขไม่ทุกข์

คุณลดกิเลสได้ก็เรียกว่า อุบัติใหม่ แต่ก่อนคุณเป็นสัตว์นรก เพราะมีกิเลสอยู่ ถ้าล้างมันได้ ก็เกิดใหม่ ลดได้เป็นขั้นๆ เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ก็หมดเกลี้ยง อย่างอนาคามี ก็จะเหลือแต่ของแห้ง ไม่วุ่นวายไปกับโลกแล้ว เรียกว่ามีนิโรธแล้ว เป็นญาณสมาบัติ ที่แท้จริง

สมาบัติ แปลว่าการถึงพร้อมหรือการบรรลุ แต่ผู้ไม่เข้าใจ ก็ไปแปลว่า สมาบัติ คือการเข้าออก มีการเข้าฌาน ออกฌาน แต่ของพุทธนั้น เข้าสู่บทบาทเป็นอุบัติเทพ ไปเรื่อยๆ จนหมด ก็เป็น วิสุทธิเทพ เป็นโสดาบัน หมดภพไป หนึ่งในสี่ส่วน สกิทาคามีก็หมดไป สองในสี่ส่วน อนาคามีก็หมดภพไป สามในสี่ส่วน และอรหันต์ก็หมดภพ ทั้งหมดเลย

ทั้งหมดเป็นนามธรรม ที่ไม่มีสรีระสีสัน แต่รู้ได้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ ซึ่งกำหนดรู้ โดยนามธรรม รู้ทั้งนอกและใน คือรูปจิตอรูปจิต ผู้บรรลุแล้วจะมี เจตนา ที่ไม่มีตัณหาแล้ว อย่างลืมตา ก็มีเวทนาอย่างไม่สุขไม่ทุกข์  เป็นอุเบกขา และสั่งสมเป็น มัชฌิมา คือผู้ที่หมดสุข หมดทุกข์ เป็นสภาวะที่รู้ยาก แต่เขาแปล มัชฌิมาปฏิปทาว่า ทางสายกลาง เขาก็เลยปฏิบัติ ให้หมดกาม หมดอัตตาไม่ได้ ก็เลยไม่บรรลุ

ผู้รู้ภาวะของจิตเจตสิกรูปแล้ว ล้างวิญญาณชั่วได้ ก็เกิดเป็นอุบัติเทพ หมดแล้วก็เป็น วิสุทธิเทพ สัมผัสเมื่อไหร่ ก็ไม่สุขไม่ทุกข์ สัญญาก็กำหนดเป็นอุเบกขา และเจตนา ที่จะมุ่งหมายมาเสพ ก็ไม่ไปแย่งชิง กับใครแล้ว

ในโลกนี้ถ้าใครเป็นอนาคามี จะไม่ไปแย่งกับชาวโลกแล้ว อย่างพวกเรา เลิกจากโลกมา ก็ไม่ไปแย่ง ลาภยศสรรเสริญโลกียสุข แล้ว โลกก็สบายไปเยอะ ผู้ที่สละ อย่างคุณ สละเงินเดือนมา ชาวโลกเขาก็ได้เงินเดือน ที่เราสละไป เราก็มาอาศัย สาธารณโภคี อย่างชาวอโศก ก็อยู่ไป อย่างทุกคนมาลดละ มีสิ่งที่ควรสร้างควรทำ แจกจ่ายเจือจาน

สัญญา กำหนดหมาย ก็ไม่ต้องเสียเวลา ทุนรอนแรงงาน แต่เอาไปสร้าง สิ่งที่สมควร เช่นชาวอโศก จะทำร้านอาหาร ปรุงให้เขากิน ก็ไม่จี๋จ่าปรุงให้เขาติด แต่เราจะลดลงมาๆ อนุโลมเขาบ้าง ให้เขาเรียนรู้ ถ้าเราไม่อนุโลม ก็ได้แต่พวกกินฟรี คือพวกมาทำงาน ส่วนกลาง เขาก็ไม่ซื้อ ส่วนคนข้างนอก เขาต้องมาซื้อกิน เขามาซื้อ ก็ต้องปรุงให้เขา หรือแม้คุณ จะตัดผ้า ตัดเสื้อ ก็อนุโลมพอสมควร อย่าไปปรุงแต่งมากมาย เหมือนโลกเขา บ้าบอสารพัดสารเพ มีทั้งแบบสมัยใหม่ และสมัยเก่า มีทั้งแบบคนป่าคนเมือง เช่นกระโปรงยาวลากดิน แล้วก็มาสั้นเข้าๆ จนสั้นมากเลย ส่วนส้นสู งก็สูงมากๆๆ แล้วก็ไปเตี้ยๆๆ แล้วก็มาสูงๆๆๆ แล้วก็มาส้นตึก เขาไปหลงอะไร กันนักกันหนา หรืออย่างปีนี้ สีแดงมาแรง เขาก็ว่า แดงสวยไปหมด แต่พอปีหน้า เขาว่าเหลืองสวย ก็บ้าไปเหลืองสวยกับเขา แดงไม่สวยแล้ว อย่างนี้เป็นต้น พ่อครูก็เคยมาแล้ว

ปีนี้สีแดงสวยสีเหลืองจะไม่สวย จะบ้าหรือ สีแดงสีเหลือง มันก็เป็นของมัน แต่กูบ้าไปเองกับเขา สวยไปกับเขา ทั้งนั้น สุดฤทธิ์สุดเดช คุณสู้กับเขาไม่ได้หรอก แฟชั่น ยุคปัจจุบัน ไม่ต่างจาก คนป่าคนเขา ที่เขาแต่งกันเลย

ใครหลุดพ้นออกมาได้ คือมนุษย์อิสระ คือ ผู้หลุดพ้น หรือวิมุติ ไม่ไปสุขทุกข์ ไปกับเขาแล้ว อย่างพวกคุณ ก็หลุดมาจาก ที่เขาหลงแฟชั่น แล้วก็สงสารเขาด้วย ที่ต้องไปเหน็ดเหนื่อย เสียเวลาทุนรอนแรงงาน ใครออกมาได้แล้ว ไชโย ผู้ใดเลิกยึดถือ ยึดติดสิ่งเหล่านี้ได้ สบาย

บางคนอายุจะร้อยกว่าแล้ว ก็ยังส่องกระจกชื่นใจแต่งหน้าตา ว่าเราก็ยังสวยนะ สวยอย่างคนแก่ เอาตัวอย่าง มาพยายามอธิบายว่า การยึดถือคืออย่างไร คุณต้องทิ้งไป ตั้งแต่กามคุณ ๕ ถ้าลดได้ คุณก็เฉย แต่ก็อยู่กับโลกเขา สมัยใหม่ก็ยึดอย่างสมัยใหม่ สมัยเก่าก็ยึดอย่างสมัยเก่า

ถ้าไม่ติดในกามคุณ ๕ ภายในก็ไม่มี ก็เหลือตัวกูของกูในเรื่อง อัตตาตัวตน และความถือดี มีมานะอัตตา (มานะคือตัวถือดี อัตตาคือตัวกูของกู) ส่วนรูปราคะ อรูปราคะ คือของแห้ง ที่เบาบางลง พอหมด กามานุสัย ก็เหลือแต่การถือดีถือตัว ใครลดไป อย่างมีสัดส่วน ก็จะลดทั้งกาม และอัตตามานะ

อัตตากับกามจะเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกัน แต่ไม่อธิบายวันนี้

เมื่อผู้ใดหมดรูปราคะ อรูปราคะ เป็นอนาคามี เหลือแต่มานะ ถือดียึดดี ข่มคนอื่น แต่อนาคามีจริงมาตามลำดับ จะมีไม่มาก จนหมด เหลือแต่ธุลีละออง คือสังโยชน์ เบื้องสูง มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เหลือเศษส่วน ถึงขั้นอรูปฌานแล้ว จะเรียกว่า มันมีส่วนเหลือ ถ้าเป็นอนาคามี ถือว่าเป็นอุเบกขา หรือจะเหลือความยินดี ในเศษธุลีเป็นปีติ ก็ลดลงเข้าสู่สุข ก็เป็นฌานที่ ๓ และเริ่มเข้าอุเบกขา

แต่ถ้าไม่ยึดว่าต้องสุข (มาจาก สุ ที่แปลว่าดี กับคำว่า ข ที่แปลว่า ว่าง) สุขจริงๆคือสุขว่าง เป็นฌานที่ ๓ แต่ถ้าไม่ยึดว่า ต้องว่างหรือไม่แล้ว ขณะใด ในยุคนั้นกาละนั้น คุณก็ไม่อยู่ ในสภาพว่าง คุณก็ต้องปรุงแต่ง แต่คุณก็เฉย ถ้าคุณไปติดสภาพว่าง ก็เอียงไปทางอัตตา ถ้าติดมา ก็จะเอาอยู่แต่เฉย แต่ถ้าปรุงได้ ก็ปรุงอย่างไม่ติด ปรุงเพื่อคนอื่น เหมือนแม่ครัว ปรุงอาหารให้คนอื่น ที่ต้องอาศัย แต่ตนเองกินข้าวเปล่า เหมือนพ่อแม่ปรุงให้ลูก  ตัวเอง อย่างไรก็ได้ เขายังติด ก็ต้องอนุโลมเขา อย่างพ่อครูทุกวันนี้ ต้องอนุโลม แสดงออกมือ ออกไม้ ทั้งน้ำเสียงหน้าตา ไม่ชอบก็ทำหน้าตา ยี้ให้เห็น พ่อครูก็แสดง เป็นดารา ตุ๊กตาท้อง คือมันโตกว่าดาราตุ๊กตาทอง แสดงโดยสร้างภาพ คำพูดสีสันน้ำเสียง เพื่อสื่อให้เห็น ให้รู้ชัด แต่พ่อครูไม่มีรสหรอก มันเหนื่อย

คนไม่รู้ว่าพ่อครูมีสัจจานุโลมญาณ มีสังขารุเปกขาญาณ ซึ่งไม่ได้ยึด ไม่ได้แอบเสพ ไม่ได้หลอกคนอื่น เราต้องตรวจสอบ ว่าหมดเกลี้ยงแล้ว นั้นคือ อากิญจัญญายตนะ ต้องนิดหนึ่งน้อยหนึ่ง ก็ไม่มี แล้วก็เข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ทบทวน ทั้งอากาศ ทั้งวิญญาณ ทั้งอากิญจัญ ว่าว่างจริง สะอาดจริง แม้จะกระทบสัมผัส ก็ว่างตลอด ก็เข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ต้องกำหนดรู้ทุกอย่าง ไม่รู้ไม่ได้ ทุกอย่าง จะว่ารู้ก็ไม่ใช่ หรือไม่ครบไม่ได้ เมื่อพ้นบริบูรณ์ ไม่มีเศษเหลือ ของความไม่รู้เลย ต้องตรวจแล้ว ตรวจอีก ทำแล้วทำอีก เป็นกาละ ๓ ของเวทนา ๑๐๘ เป็นส่วนอดีต ส่วนปัจจุบัน ในอวิชชา ข้อ ๕-๖-๗

เมื่อกระทบสัมผัสปัจจุบันอย่างไร มันก็เป็นสูญ ในเวทนา ๑๐๘ สามกาละ คุณต้อง พิสูจน์ ความสูญ ไม่ต้องคิดถึงของแห้ง ถ้าคุณสัมผัสปัจจุบันเป็นสูญ ของแห้งไม่มีหรอก ให้มันสูญ อย่างแข็งแรง ทุกปัจจุบันให้ตั้งมั่น เป็นสมาหิโต เป็นกาละที่มันผ่านแล้ว ซึ่งความเป็นอดีต อย่างสมบูรณ์แล้ว เป็น past perfect tense จนเที่ยงแท้ จะกระทบอย่างไร ก็มี สังขารรุเปกขาญาณ จะสังขารเอง หรือมีการกระทบก็ตาม ก็อุเบกขาตลอด เราจะสัจจานุโลมมิกญาณ จะอนุโลมเท่าไหร่ ก็ไม่หวั่นไหว อเนญชา ไปตลอดกาล

ในอภิสังขาร ๓ ในอเนญชาภิสังขาร มีอกุศล เจตนา อรูปาวจร นี่คือ อเนญชาภิสังขาร ก็คือ การสั่งสมผลวิมุติ จนมันตั้งมั่นแข็งแรง ตกผลึกไม่เปลี่ยน เที่ยงแท้แน่นอน ยั่งยืน ตลอดกาลเลย ไม่มีแปรเปลี่ยน ไม่มีใครสามารถทำลาย สิ่งเป็นจริง ของคนนี้ได้เลย ตายแล้ว ไม่กลับกำเริบ อีกเลย นี่คือคุณสมบัติที่สูงสุด ในผลธรรมของ พระพุทธเจ้า นี่คือคุณภาพของ จิตนิพพาน หรือเป็นอมตะ ไม่เกิดไม่ตายแล้ว

ผู้ใดอ่านจิตเป็น ทำกิเลสให้ไม่มีได้ ในปัจจุบัน สั่งสมเป็นอดีตเรื่อยๆ ส่วนอนาคต ไม่เคยมีจริง ก็คือปัจจุบันทุกตัว อนาคตคือผลของปัจจุบัน ที่สั่งสมเป็นอดีต ให้เกิดสูญ อย่างเที่ยงแท้ ในอวิชชาข้อ ๗ นั้น ทั้งอดีตและอนาคตที่สูญ คือเสร็จกิจแล้ว

คำว่า เที่ยง คือผล วิมุติของเราสมบูรณ์ ไม่ได้หมายความว่า ทุกอย่างที่เคลื่อนอยู่ไม่เที่ยง แต่สิ่งที่เที่ยง ในมหาจักรวาล มีอย่างเดียวคือ นิพพาน แม้เป็นอรหันต์แล้ว กิเลสคุณไม่มี อย่างเที่ยงแล้ว แต่คุณปรุงไปตามบารมี อันไหนเราไม่มีบารมี เราก็ไม่ต้องยุ่ง

เหมือนคนจะช่วยคนตกบ่อ ต้องชั่งน้ำหนัก ว่าเราทำได้ อย่าประมาท ผู้ที่ฝึกมาแล้ว จากโสดาฯ สิกทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ ท่านก็ไม่ไปมีความเสี่ยง เพื่ออยากได้โลกธรรม  ก็ทำแต่อย่างที่ คุณก็ไม่เสีย เราก็ไม่เสีย ช่วยเท่าที่ช่วยได้ เรามีบารมีเท่านี้


                ต่อไปเป็นการตอบประเด็น

  • ๑.เมื่อวันอาทิตย์ฟังรายการวิถีอาริยธรรมนูญ พบประโยคโดนใจ ของพ่อครู ว่า "คนที่ไม่ต้องการโลกธรรมแล้ว เขาจะไม่เสี่ยง (จะเสียงไปทำไม) เพราะเขารู้ตามจริง ไม่มีกิเลสโลกธรรม ทำงานในจิตของเขา

ตอบ... พลาดพลั้งแล้วเสียทั้งคู่ พ่อครูทำงาน ถ้าประเมินแล้วไม่แน่ระดับ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ จะไม่เสี่ยง ได้ก็ได้ไม่ต้องการโลกธรรมแล้ว เสียก็เสียอย่าทำดีกว่า

  • อธิบายสุริยเปยยาลสูตร อย่างย่อให้ชัดเจน

ตอบ... ผู้จะปฏิบัติมรรค ๘ มีผล จะต้องเข้าใจ ๗ อย่างนี้ พระอาทิตย์เทียบเหมือน มรรคองค์ ๘ ซึ่งจะต้องมี แสงเงินแสงทองก่อน จึงจะมีพระอาทิตย์ มี
[๑๒๙]  มิตรดี เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค . จะต้องพบสัตบุรุษ เพราะธรรมะพระพุทธเจ้า ต้องรู้จากผู้รู้ รู้เองไม่ได้ ต้องรู้จากปัจจัตตัง สยัมภู สยังอภิญญา ซึ่ง สังสารวัฏ มีนับไม่ถ้วน ต้องมีสัตบุรุษ อย่างน้อยโสดาบัน
[๑๓๑]  สีลสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค ต้องมีข้อปฏิบัติ ทำไมต้องกำหนด เพราะคุณ จะไปทำ พรวดพราดไม่ได้ อย่างน้อยต้องกำหนด ศีล ๑ ข้อ ซึ่งศีล ๕ เป็นพื้นฐาน ต้องตั้ง ให้พอเหมาะกับตนเอง ปฏิบัติศีล เพื่อขัดเกลา กาย-วาจา-ใจ
[๑๓๒]  ฉันทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค  ต้องมีจิตยินดี ถ้าไม่ยินดี ก็ไม่ปฏิบัติได้ผล หรือแม้จะฝืน ในตอนแรก แต่ปฏิบัติไป คุณต้องมีฉันทะ
[๑๓๓]  อัตตสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค . ต้องรู้ความเป็นอัตตาคืออะไร คนที่ไม่ปฏิบัติธรรมทุกคน มีอัตตาทุกคน แต่แค่เขาเข้าใจว่า ทุกอย่างไม่ใช่ตัวตน แค่นั้นไม่ใช่ แต่คุณต้อง มารู้จักอัตตา แล้วล้างอัตตาในตน
[๑๓๔]  ทิฐิสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค . ต้องรู้สัมมาทิฏฐิ ๑๐
[๑๓๕]  อัปปมาทสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค ในทุกขณะอย่าประมาท เพ่งเพียร แต่อย่าเคร่งเครียด
[๑๓๖]  โยนิโสมนสิการสัมปทา เป็นนิมิตแห่งอริยมรรค ข้อนี้สำคัญมาก หากไม่แยบคายถ่องแท้ แล้วทำใจในใจเป็น ทำให้เหตุอกุศล ลดให้ได้ จึงทำใจในใจเป็น แต่ถ้าเข้าใจผิด ก็ทำใจในใจไม่เป็น ถ้าทำผิดๆ ปฏิบัติมรรคองค์ ๘ ก็ทำผิดๆ ไม่ได้ผล ทุกวันนี้ ก็แยกมรรคองค์ ๘ ออกเป็นสามส่วน แยกสำนัก ศีลคืออโศก สมาธิคือสำนักธรรมกาย ปัญญาคือสำนักท่านพุทธทาส แต่ว่าของเรา รวมศีลสมาธิปัญญา

  • ในชาติ ที่มี ๔ นัยยะ ผมเห็นว่าโอกกันติ ย่อมไม่เหมือนโอคทา ที่แปลว่าที่หยั่งลง

ตอบ.... มนสิการยังไงทำเป็นมนสิการ คุณต้องมีผัสสะเป็นตัวปฏิบัติ เป็นสมุทัย ในการปฏิบัติ แล้วจึงจะไปเจอ สมุทัยในอริยสัจ คือตัณหา เมื่อสามารถรู้ผัสสะ และกำจัด สมุทัยได้ จะมีเวทนา เป็นที่ประชุมลง จึงต้องพิจารณาเรียนรู้ เวทนาในเวทนา ๑๐๘ ได้ จนกระทั่งถึงอดีต ปัจจุบัน อนาคต ให้เป็นสูญ เมื่อทำเวทนาถูก จิตก็สั่งสมเป็นสมาธิ ตั้งมั่นเรื่อยๆ มีสมาธิเป็นประมุข จากสมาธิ ก็มีสติเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นยิ่ง  
๑.มีฉันทะ เป็นมูล-รากเหง้า (มูลกา)
๒.มีมนสิการ เป็นแดนเกิด (สัมภวะ)
๓.มีผัสสะ เป็นเหตุเกิด (สมุทัย)
๔. มีเวทนา เป็นที่ประชุมลง (สโมสรณา)
๕. มีสมาธิ เป็นประมุข (ปมุขะ)
๖. มีสติ เป็นใหญ่ (อธิปไตย = พลังอำนาจ) 
๗. มีปัญญา เป็นยิ่ง (อุตระ = เหนือ)
๘. มีวิมุติ เป็นแก่น (สาระ) . สุดยอดที่จะรู้ยิ่ง
๙. มีอมตะ เป็นที่หยั่งลง (โอคธา) คือเกิดก็ได้ตายก็ได้ (เกิดตายขันธุ์ ๕ แต่กิเลสตายสนิท อย่างนิจจัง ธุวัง สัสสตัง อวิปริณามธัมมัง อสังหิรัง อสังกุปปัง)
๑๐. มีนิพพาน เป็นที่สุด (ปริโยสาน) เป็นตัวอวสานรอบ

  • สัตตานัง หรือ สันดาน เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทหรือไม่

ตอบ ความสั่งสมสัตว์อยู่ในจิต เรียกว่าสันดาน คุณต้องชำระสันดาน หรือสัตว์ ในใจคุณ ที่ไม่ใช่ วิสุทธิเทวดา เป็นสัตว์บริสุทธิ์ (พ้นความเป็นสัตว์) ปฏิจจสมุปบาท คือ ล้างความเป็นสัตว์ ไม่ให้เกิด

  • ดิฉันมักจะง่วงนอนหลังอาหาร ไม่อยากง่วงเลยทำอย่างไร

ตอบ
1.โมคคัลลานะ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างใดแล้ว เกิดความง่วงขึ้น เธอจงทำไว้ในใจ ซึ่งสัญญา อย่างนั้นให้มาก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้
2.
ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรตรึกตรองถึงธรรม ที่ได้เรียนมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว ให้มาก จะเป็นเหตุ ให้ละความง่วงได้
3.
ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรสาธยายธรรม ที่ได้เรียนได้ฟังมาแล้วให้มาก จะเป็นเหตุให้ละ ความง่วงได้
4.
ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรยอนช่วงหูทั้งสองข้าง และลูบตัวด้วยฝ่ามือ จะเป็นเหตุให้ ละความง่วงได้
5.
ถ้ายังละไม่ได้ เธอจงลุกขึ้น แล้วลูบนัยน์ตา ลูบหน้าด้วยน้ำ เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาว จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้
6.
ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรทำไว้ในใจถึงอาโลกสัญญา ถือ กำหนดความสว่าง ไว้ในใจเหมือนกัน ทั้งกลางวันและกลางคืน ทำใจให้เปิด ให้สว่าง จะเป็นเหตุ ให้ละความง่วงได้
7.
ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรเดินจงกรม สำรวมอินทรีย์ มีจิตใจไม่คิดไปภายนอก จะเป็นเหตุ ให้ละความง่วงได้
8.
ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรสำเร็จสีหไสยาสน์ นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าให้เลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่า จะลุกขึ้นเป็นนิตย์ เมื่อตื่นแล้วควรรีบลุกขึ้น ด้วยตั้งใจว่า เราจะไม่ประกอบ ความสุขในการนอน และการเคลิ้มหลับอีก จะเป็นเหตุ ให้ละความง่วง ได้ พระพุทธองค์ ตรัสสอนอุบาย เพื่อบรรเทาความง่วง โดยลำดับจนที่สุด ถ้ายังไม่หายง่วง ก็ให้นอน แต่ให้นอน อย่างมีสติ

  • คนทำกุศลโลกีย์แต่ไม่ละกิเลส จะได้ผลอย่างไร

ตอบ. ก็ได้ผลโลกีย์ ได้ทรัพย์ คุณทำใจให้ในสว่างสวย เกิดมาคุณก็ได้ใสสว่างสวย เป็นภาวะโลกียธรรม คุณไปทำทานให้มาก ก็เหมือนคุณฝากออมสิน ที่จริง ไม่ได้มากหรอก คุณทำเท่าไหร่ ก็ได้เท่านั้น ไม่มีดอกเบี้ยหรอก คุณโกงเท่าไหร่ ก็ถูกโกงเท่านั้น ส่วนมากไม่รู้ตัวหรอก อย่างคุณโกงมา แสนหนึ่ง แต่ว่าได้มาห้าแสน ก็เอาหมดเลย แล้วยิ่งมาชาตินี้ คุณได้เงินมาก รวยมา แล้วคุณใช้อำนาจเงิน มาหลอกลวง กดขี่เขาซับซ้อน จนกระทั่งหยาบคาย ถ้าหน้าเงิน ดีไม่ดี ให้เงินมัน ก็เตะมันได้เลย ให้เขาไปตายได้เลย ใช้เงินจ้างนี่แหละ นี่คือคุณมีมาก เงินนั้นก็ทำบาปได้มาก เท่าทวี ไม่เป็นที่พึ่งอันเกษม แต่ถ้าคุณไม่อยากได้ แต่คุณก็ทำกุศล เราให้ตลอดเวลา สมบัติได้มา ก็ให้ตลอดเวลา ไม่สะสมเป็นของตนเอง ไม่ได้แย่ง อย่างคุณ เลิกแย่งเงินจากโลกแล้ว ก็สละให้เขา โลกก็ดีขึ้น แต่ถ้าคุณสะสม โลกก็ขาดแคลน

  • ผู้ปฏิบัติธรรมในวัด เอาเรื่องไม่ดีของญาติธรรม ไปพูดให้เสียหาย เมื่อดิฉันรับรู้มา ก็รู้สึกว่า ไม่ถูกต้อง พ่อครูจะบอกอย่างไร

ตอบ ก็ค่อยๆใช้ศิลปะบอก หรือให้ผู้ที่บอกได้ ให้ทำให้ บอกให้

  • เมื่อวานนี้มีคนอาราธนาพ่อครูไปสนามหลวง

ตอบ คือ ให้กำลังใจเต็มเปี่ยม และบอกให้คนที่จะไปได้ให้ไป ใครสมควรไปก็ไป อย่างพ่อครู ไม่สมควรไป ก็ไม่ไป

  • อ่านในหนังสือเจอคำว่า อบายภพอบายภูมิ ตัณหาต่างระดับ อธิบายว่าอย่างไร

ตอบ อบายภพ ซึ่งคำว่าภพ คือถิ่นที่อยู่ ที่ยึดอยู่ แต่คำว่าภูมิ คือความรู้ จะหมายว่า ที่อยู่ก็ได้ แต่มีความหมาย ยิ่งกว่าภพ คือมีความรู้ด้วย คุณรู้จักอบายภูมิ แต่คุณไม่รู้ ก็จมอยู่ในอบายภพ  ส่วนคำว่า ตัณหาต่างระดับ ก็มี กามตัณหา (คือตัณหาหยาบๆ) ภวตัณหา (รูปภพ, อรูปภพ) วิภวตัณหา (คือตัณหาที่ไม่มีภพ) 

  • อยากทราบว่าเพราะเหตุใดจึงย้าย อโศกรำลึก ไปบ้านราชฯ

ตอบ เพราะความเห็นของคณะจัด และผู้ประสงค์จะจัด เห็นได้อย่างนั้น ก็อยู่ในคณะ กรรมการ เห็นว่าอย่างนี้ รวมทั้งคณะปฏิบัติการด้วย ลงมติกัน

  • เด็ก ๗ ขวบ ฝากถามหลวงปู่ เวลาผมใส่บาตรหลวงลุง ที่สันติฯ ไม่เห็นหลวงลุง สวดให้เลย

ตอบ เพราะหลวงลุงท่านเห็นว่า การสวดก็เพื่ออนุโลม ให้เขารู้สึกว่าได้พร (คือคำดีสิ่งดี) ก็บำเรอ ใจเขาได้บ้าง เขาลูบใส่หัว แล้วก็ไปทำไม่ดีอย่างเก่า เขาก็ไม่เจริญ แต่ถ้าได้ฟังพร แล้วก็ไปปฏิบัติให้เจริญ ก็ได้พรแล้ว แต่คนที่ได้พรแล้ว ส่วนใหญ่ จะประมาท ไม่ทำดี หลวงลุงจึงไม่ให้พร เพื่อให้เขามาศึกษาพร ที่แท้จริง

  • เวลาดิฉันไปร่วมอนุโมทนางานบวช ในช่วงที่แห่นาครอบโบสถ์ เราไปแห่ด้วย จะได้บุญไหม เห็นเขาบวชแล้วสึก

ตอบ สิ่งเหล่านี้เป็นประเพณีนิยม ให้โน้มคนเข้ามาสู่พิธีกรรม อย่างน้อยคุณรำ ก็ได้ออกกำลังกาย แต่ก็ผิด ที่ไม่ศึกษา ว่างานพระงานเจ้า เอาแค่เดินสงบก็พอ อย่างนั้น มันบานปลายไป ก็อย่างเลยเถิด อโศกเราก็ลดลง ในพิธีกรรม และอนุโลมไปกับเขาบ้าง เช่น มีพระพุทธรูป มีแล้วก็ช่วยกันอธิบาย ก็ไม่มีใครเคารพ พระพุทธรูป อย่างเลอะเทอะ .............

จบ
   

              

 
๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานสันติอโศก