560516_รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อครู
เรื่อง ดับกิเลสด้วยอาหาร ๔ ต้องมีผัสสะ


        พ่อครูจัดรายการที่บ้านราชเมืองเรือ ...บ้านไม้เมืองหิน บ้านดินเมืองน้ำ บ้านงามเมืองพุทธ บ้านพิสุทธิ์เมืองอมตะ

เรื่องที่บรรยายต่อเนื่องมาคือ ปฏิจจสมุปบาท ที่นำมาจากพระไตรฯล.๑๖ ตอนนี้ขึ้น อาหารวรรค อาหาร คือเครื่องยังชีวิต ให้มนุษย์อาศัยอยู่ มี ๔ อย่างคือ

กวฬิงการาหาร เป็นอาหารหยาบ คืออาหารที่เคี้ยวกลืนเป็นวัตถุธาตุ

ผัสสาหาร คืออาหารที่เกิดจากการกระทบสัมผัส ตาสัมผัสรูป หูสัมผัสเสียง จมูกสัมผัสกลิ่น ลิ้นสัมผัสรส กายกระทบเย็นร้อน อ่อนแข็ง

ส่วนใจไม่เรียกว่ามีสัมผัส มันปรุงแต่งโดยไม่ต้องสัมผัส เพราะมันอยู่ด้วยกัน มันเหมือนกับไส้เดือน ที่มีเพศผู้เพศเมีย อยู่ด้วยกันเลย จึงเรียกว่า ธรรมารมณ์ ไม่เรียกว่า โผฏฐัพพารมณ์ ถ้าไม่มีสภาวะจริงแล้ว จะปฏิบัติได้ยาก หากปฏิบัติ ไม่เป็นลำดับ เอาแต่ปฏิบัติจิตจะยาก ไม่ได้จริง

วิญญาณ เกิดจากการกระทบสัมผัส เช่น ตากระทบรูป เป็นต้น เราจะเรียนรู้ใจ หรือ วิญญาณต้องมีการผัสสะ ตั้งแต่หยาบ กระทบแล้วก็เนื่องไปสู่จิต จิตมีการผัสสะ เป็นเครื่องอาศัย การปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้าอยู่ที่ผัสสะ ถ้าทิ้งผัสสะ ก็เป็นของแห้ง ปรุงอยู่ภายใน เรียกว่าธรรมารมณ์

เมื่อมีการปรุงแต่งอยู่ภายใน แต่มันเผินไปว่าทำง่ายๆ ทำนั่งหลับตาทำสมาธิ ที่เป็นลัทธิ มีอยู่ประจำโลก แต่ธรรมะพระพุทธเจ้า ละเอียดลึกซึ้ง เห็นตามได้ยาก รู้ตามได้ยาก ถ้าทำไม่ถูกต้อง มีลำดับ ก็ยาก

มโนสัญเจตนาหาร จิตมีการตั้งใจ กำหนด(สัญญา) ตามความจงใจ มุ่งหมายเจตนา ในคนที่ไม่รู้เจตนา ปล่อยให้กิเลสเป็นเจ้าเรือน ก็ทำไปตามกิเลสบงการ ตามตัณหา มีสองอย่างคือ อยากได้มา และอยากเอาออกไป ส่วนความหลงไม่รู้ชัด (หรืออาจเรียกว่า อัพยากฤต)

ถ้าเราไม่รู้จริงว่า จิตเรามีเจตนาอะไร เป็นอกุศลเจตนา ไม่ดี ก็ปรุงแต่งสังขารออกไป ไม่ดี มีพิษภัยมีโทษ แต่ถ้าเป็นกุศลเจตนา ก็ออกไปเป็นวาจา เป็นกายกรรม เป็นการงาน เป็นอาชีพ ตามมรรคองค์ ๘

การทำฌาน สมาธิ นิโรธ แบบพระพุทธเจ้านั้นทำลืมตา มีสติสัมโพชฌงค์ ธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ต้องมี วิตก (จิตมีดำริอะไร)  มี วิจาร (พฤติกรรมจิต) ต้องจับตัวอกุศลเหตุ หรืออกุศลเจตนา จิตใจเราก็สะอาดก็ดี นี่คือ เป้าหมายสำคัญ ของศาสนาพุทธ ซึ่งส่วนใหญ่ พุทธเราเพี้ยนไปมาก

การกินการอยู่ บริโภคอุปโภค ก็ทำให้เกิดกิเลสอย่างร้ายกาจ อาหารทั่วโลก ปรุงแต่ง หลอกล่อ มากมาย ชาวอโศกเรา พยายามไม่ปรุง หลอกล่อ แต่ปรุงอนุโลมให้เขา

อาหาร ๔ มี อาหารคือคำข้าว อาหารคือผัสสะ อาหารคือเจตนา อาหารคือวิญญาณ ถ้าเราไม่รู้คำว่า วิญญาณ ก็ไม่รู้แจ้งได้ พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า ต้องกระทบสัมผัส จึงเกิดวิญญาณ หากฝึกตนให้อ่านนามรูป คืออาการของ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ

ผัสสะเป็นต้นเค้า เห็นเหตุแห่งการปฏิบัติธรรม ถ้าไม่มีเหตุคือผัสสะ ก็ไม่รู้จริง เพี้ยนผิด ไม่ครบได้

มนสิการ คือการจัดการ จัดแจง หรือการทำใจในใจ ต้องศึกษาฝึกฝน ในขณะลืมตา แต่ถ้าหลับตา ทำใจในใจ นั้นไม่ใช่ทางเอก ถ้ามีสัมมาทิฏฐิ ก็ใช้เป็นอุปการะได้ คนที่ฝึกฝน ได้แต่เจโตสมถะ แต่ไม่ได้โลกุตระก็มีใน บุคคล ๔  สงบแบบพุทธ คือ กิเลสตายสนิท ไม่ใช่สงบนิ่งเฉย ไม่ทำอะไรดับหมด อันนั้น ไม่ใช่สงบแบบพุทธ
๑. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ แต่ไม่ได้โลกุตระ  
๒. บุคคลผู้ได้โลกุตระ แต่ไม่ได้เจโตสมถะ

๓. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ และได้ทั้งโลกุตระ              
๔. บุคคลผู้ไม่ได้เจโตสมถะ และไม่ได้ทั้งโลกุตระ

โยนิโสมนสิการ เป็นแสงอรุณ ก่อนจะปฏิบัติมรรคองค์ ๘ ถ้าไม่มีแสงอรุณ จะทำมรรค องค์ ๘ ไม่ได้ หรือทำแบบผิดๆ  แสงอรุณคือสิ่งที่ต้องรู้ ก่อนมีพระอาทิตย์ (มรรคองค์ ๘)

ต้องรู้เจตนา ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ถ้าแจกเจตนาออกเป็น ๓ (ตัณหา ๓)

ในวิญญาณ คือธาตุรู้ ซึ่งจะต้องเรียนธาตุรู้ ที่เป็นเครื่องอาศัยในชีวิต จับวิญญาณ แล้วแยกแยะ อกุศลเจตนาออก แล้วกำจัดมันเลย แต่ถ้าเป็นกุศลเจตนา ก็ให้มันเจริญไป

การทำใจในใจ จึงไม่ใช่ว่าดับตะพึด ดับจิตไม่ให้รับรู้อะไร ต้องเปิดทวาร จึงรู้วิญญาณๆได้ ซึ่งมันจะมีเจตนาแฝงอยู่ เป็นกุศลหรืออกุศล ซึ่งท่านแจงเจตนา หรือตัณหา เป็นสามอย่าง คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ที่ท่านทั่วไปแปล วิภวตัณหาว่า ไม่อยากมี ไม่อยากได้ ซึ่งแปลอย่างนั้น มันจะไม่มีสภาวะ ที่อยากกำจัด ตัณหา ซึ่งพ่อครูแปลวิภวตัณหาว่า ตัณหาล้างภพ ตัณหาไม่มีภพ คือกำจัด กามภพ ภวภพ วิภวภพ ล้างให้หมด ซึ่งคนเรา ถ้าไม่ตั้งใจทำอะไร ไม่ปราถนาอะไร เฉยๆ ไม่มีทิศทาง มันจะไม่เข้าเรื่อง มันปฏิบัติไม่ได้

พ่อครูต้องตำหนิ คนเขาก็ว่าพ่อครูว่าเขา ซึ่งพ่อครูก็ไม่ได้เลี่ยง ว่าข่ม ว่าตำหนิจริง แต่สิ่งที่ตำหนินั้น ที่คนเขารับไม่ได้ เพราะตำหนิแล้วไปถูก พ่อครูตำหนิถูก ไปกระทบ คนที่เป็น อย่างที่พ่อครูว่า ซึ่งมีจำนวนมาก และส่วนใหญ่ เป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม นับถือว่าเป็นครูบาอาจารย์ ที่นับถือกันในสังคม พ่อครูไปค้านแย้ง เหมือนว่า ใหญ่มาจากไหน ไม่มีอะไรรองรับ ไม่มีหลักประกัน ก็เลยยิ่ง หนักหนาสาหัส ก็เข้าใจ รายละเอียดดี ก็ทำอย่างถนอมตัว ถ้าไม่ถนอมตัว ดีไม่ดีก็ตายไปแล้ว ขนาดพระโมคคัลลานะ ช่วยพระพุทธเจ้าสร้างศาสนา ยังต้องตาย ด้วยศัตรูผู้ไม่ชอบใจ ที่ท่านไปแสดงธรรม มาฆ่าท่านให้ตาย พ่อครูก็ต้องพยายาม เจียมเนื้อเจียมตัว พยายามทำงานไป ระมัดระวัง ซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่าย

เจตนาที่เป็นกุศลเจตนา เราก็ใช้อยู่ เป็นวิภวตัณหา เป็นตัณหาไม่มีภพ ก็บอกอย่าง เต็มๆว่า พ่อครูมีวิภวตัณหา เป็นตัณหาที่ ไม่มีภพแล้ว เขาก็ตู่ว่า พ่อครู ต้องตกนรก เพราะรู้และสอนผิดๆ ซึ่งพ่อครูก็รู้ว่า ใจที่มีอกุศลเจตนา นั่นคือนรก แต่พ่อครูรู้ใจตน ว่ามี นามรูปปริจเฉทญาณ รู้วิจัยจิตตน ว่ามีกุศล-อกุศลเจตนา เมื่อผัสสะ เขาติเตียนมา หรือผัสสะกับทวาร ๕ ก็ต้องรู้จักวิญญาณ เพราะนามรูป เป็นตัวชี้บ่ง ความเป็นวิญญาณ ซึ่งวิญญาณ หรือนามรูป ก็อันเดียวกัน แต่ว่าต่างสภาวะกัน เล็กน้อย

เราต้องรู้สิ่งอาศัย คืออาหาร ๔ ที่มีลักษณะของกิเลสหลักคือ ต้องกำหนดรู้ เบญจกามคุณ ใน กวฬิงการาหาร

การสังวรสำรวม ในเรื่องอาหาร ท่านเรียกว่า โภชเนมัตตัญญุตา คนเราต้องกินทุกคน จะทำงานหรือไม่ทำงาน ก็ต้องกินอาหาร จะต้องรู้ ความเมา (มัตตะ) เราต้องรู้ว่า เราเมาอาหารหรือไม่ เมาก็คือไม่มีสติสัมปชัญญะ ว่าเรากินอย่าง มันมอมเมาเรา หรือเราอยู่เหนือมัน ซึ่งมันจะมอมเรา ว่ากินอาหารอย่างกาม หรือกินอย่างอัตตา กินอาหารอย่างอวดอ้าง เช่นฉันว่ากินของแพง กินหรู กินของหายาก  อาหารธรรมดา ไม่กิน ก็สร้างอัตตา แต่ถ้าไปติดรูปรสกลิ่น ในอาหารก็สร้าง กาม

อาหารคือคำข้าว ไม่ใช่หมายเอาว่า ข้าวอย่างเดียว แต่คือทุกอย่างที่บริโภค เมื่อผัสสะ ก็ต้องรู้เจตนา เรากำหนดอ่านใน เบญจกามคุณ ที่เป็นผีใหญ่ ที่เกิดจากการ กระทบสัมผัส ทางทวาร ๕ แล้วเราก็แจก เวทนาเป็นเวทนา ๓ (สุข-ทุกข์-อทุกขมสุข) แล้วก็แจกตัณหา เป็น ๓ (กาม-ภว-วิภวตัณหา)

ต้องอ่านนามรูปให้ออก คือเวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ

เวทนา เกิดมาจากสังขาร เมื่อสังขารปรุงแต่ง ก็เกิดเวทนา ถ้าได้สมใจก็สุข เป็นเทวดา สมมุติเทพ ถ้าไม่ได้สมใจ ก็เป็นสัตว์นรก เป็นผี ท่านแจกเวทนา เป็น ๑๐๘

ชาวอโศกเราไม่กินเนื้อสัตว์ ก็ตั้งศีลไม่กินเนื้อสัตว์ เมื่อสัมผัส ก็เกิดความอยาก เป็นตัณหา แต่ถ้าเราตั้งศีลแล้ว ถึงอยากก็ไม่ให้ งดเว้น เว้นขาด พอไม่ให้ ก็เห็นอาการ ของตัณหา ที่มุ่งมั่นอยากได้อยากกิน เมื่อเห็นอาการ ก็พิจารณาว่าไม่เที่ยง เอาอย่างอื่น แทนได้ ตามโภชนาการ แล้วเราก็ปหาน ๕ หรือทำวิปัสสนาวิธี คือพิจารณา แต่ไม่ใช่แค่คิด

ดูเหตุแห่งทุกข์ว่ามันไม่เที่ยง แล้วมันก็พาเราทุกข์ยาก พาไปเสาะแสวงหา เช่น อยากกิน ส้นตีนหมี เขาบอกว่ากินตีนหมี ชั้นหนึ่งเลย อยากกินหัวใจเสือ สมองลิง กิเลสพาหลง เลอะเทอะ อาหารที่เขามาปรุงแต่งหลอกล่อ มันอร่อยก็ตาม มันก็หลอก คุณกินอร่อยเมื่อใด ก็ถูกหลอกทุกอร่อย ถูกหลอกทุกตัว

ความอร่อย คือสิ่งที่เป็นกาม เป็นตัณหาอุปาทาน เป็นกิเลสที่เราต้องล้างมัน คือ เหตุแห่งทุกข์ มันคือความโง่ของเรา พอล้างได้ มันจะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ แม้มี ก็ไม่สุขไม่ทุกข์ แม้ไม่มี ก็ไม่สุขไม่ทุกข์

ใครสามารถปฏิบัติได้ มีเนื้อสัตว์เราก็ไม่สุขไม่ทุกข์ กินก็ได้ไม่กินก็ได้ แต่ถ้าเลือกได้ เราก็ไม่กิน เพราะเนื้อสัตว์ มีโทษมากกว่าประโยชน์ มีวิจัยทั่วโลกดูได้

เมื่อเราตั้งใจเลิกเนื้อสัตว์ ดูในสังคมเราก็ต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อสัตว์ ถ้าสัมผัสแล้ว ถ้าเรายังมี กามตัณหา ถ้าดับกิเลสข้างนอกได้ ก็เหลือแต่ ภวตัณหาอยู่ในใจ ข้างนอก วางได้สบาย ไม่ทุกข์ไม่ยาก แต่มันมีรูปตัณหา ในจิต ผู้ที่ล้างกามตัณหา ก็เข้าสู่ภูมิ อนาคามี

ถ้าเราไม่กินเนื้อสัตว์ เราก็อยู่ในสังคม เจอเนื้อสัตว์ ก็ต้องพิจารณา ว่าถ้าไม่กิน เราตายไหม มันพาเราเป็นภาระไหม ทั้งที่มันมีให้เรากินมากมาย ถ้าปัญญาไม่มี ก็ว่ามังสวิรัติหากินยาก ทำไมฉลาดน้อยจัง ข้าวเปล่าก็มังฯ พระพุทธเจ้าตรัสว่า  กินข้าวสุก กับขนมสด กินข้าวกับผลไม้บ้าง ถ้ายังต้องติดในรสบ้าง เยอะแยะ มีมากในสังคม มันมีมากกว่าเนื้อสัตว์ด้วย เช่น ขนมมีมากกว่าอาหารหวานคาว แต่เพราะ คุณไปติด สิ่งที่เรียกว่า อาหารคาว ถ้ากินข้าวกับขนม ก็ไม่ได้ติดยึดในอาหารคาว

เมื่อมีผัสสะ จิตเรามีกิเลสตัณหา ตัวแรกคือ กามตัณหา เป็นตัวแรกของ มโนสัญเจตนาเลย เราต้องปหานมัน ว่ามันไม่เที่ยง มันไม่ตายหรอก ถ้าเราตามใจมัน เราก็ทุกข์ไม่รู้จบ เราต้องมีสัมมัปปัญญา เห็นว่ากิเลสไม่ใช่ตัวตน รสสุขก็ไม่ใช่ตัวตน เป็นตัวปลอม ที่คุณ นิมิตมันเอาเอง ต้องอ่านนิมิตของกิเลส ของความอร่อย (อัสสาทะ) หรือสุขเวทนา มันไม่มีจริง พิสูจน์ไป

ถ้าพิสูจน์เห็นจริงว่าไม่มีตัวตน จะเห็นความจางคลาย ความดับ ของอาการสุข อาการทุกข์ เมื่อกิเลสหมด สุขก็หมด ทุกข์ก็หมด อัสสาทะก็ลดลง จนไม่มีในจิต คือไม่มีตัวตน คือ อนัตตา

เห็นไตรลักษณ์ ต้องเห็นอย่างสภาวะจริง เห็นว่ามันไม่จริง รสสุข รสอร่อย อัสสาทะ ไม่มีจริง มันจะรู้สึกว่าจริงก็คือ ตอนสัมผัส การจะเกิดญาณปัญญา ที่จะรู้ว่ามันไม่เที่ยง มันเป็นตัวเหตุแห่งทุกข์ ถ้าเราไม่มีเหตุที่ต้องได้ ต้องมีต้องเป็น คือหมดตัณหาอุปาทาน จะเห็นว่า เราเบาภาระ ตัวอนิจจังก็หายไป มันก็อยู่กลางๆ เฉยๆ มีก็เฉยไม่มีก็เฉย สุขแบบสงบ ไม่บำเรอกิเลส เป็นปรมังสุขขัง ยิ่งกว่าสุข

เราจะเข้าใจว่าโลกียสุข ต่างกับโลกุตรสุข เพราะเราได้ศึกษาเวทนา ๑๐๘ คือมโนปวิจาร คือสภาวะของจิต ที่มันนึกคิด ให้เรามีความหนัก ความวุ่นวาย จนมันหมดแล้ว มันก็ไม่สุขไม่ทุกข์

ในมโนปวิจาร มีเวทนา ๓ คือสุข -ทุกข์ -ไม่สุขไม่ทุกข์ และเมื่อเรากำจัดเหตุ มันก็ ไม่สุขไม่ทุขก์ ในทุกสัมผัส การลดละเหตุได้ การไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกว่ากิเลสดับ เรียกว่า นิโรธ ซึ่งเกิดในขณะมีผัสสะ

ผัสสะดับ โดยไม่ใช่ไปดับผัสสะ หรือปิดกั้นไม่ให้มีผัสสะ แต่เป็นการดับ ราคะ นันทิ (เพลิดเพลิน) ตัณหา (ทะยานอยาก) ที่มีอยู่ในผัสสาหารนั้น คือเราต้องมีเครื่องอาศัย ที่จะมี ราคะ นันทิ ตัณหาปนมา เราก็ดับตัวนี้ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหาดับ วิญญาณ ก็ไม่ตั้งอยู่ ไม่งอกงามในอาหารนั้น ในที่ใดวิญญาณไม่ตั้งอยู่ ไม่งอกงาม (วิญญาณผีดับ) ไม่ได้หมายความว่าไม่รู้ แต่รู้ด้วยสัมมัปปัญญา และไม่มีการหยั่งลง แห่งนามรูป และ ไม่มีการเจริญของสังขาร ที่มีเหตุพวกนี้ปรุงแต่ง แต่มีแต่สังขารอย่างยิ่ง และย่อมไม่เกิด ในภพใหม่ต่อไป สรุปคือ เรากำจัด ล้างตัวเหตุได้หมด อาการทางเรา ที่เป็นมโนปวิจาร ที่เกิดจาก การกระทบสัมผัส ทางทวาร ๖ ก็จะอ่านชัดว่า เมื่อกระทบแล้ว มีตัวเหตุ ที่พาทุกข์ คือกาม พยาบาท เมื่อรู้เหตุแล้วก็กำจัดเหตุ ที่จะมาปรุงแต่งร่วมด้วย

ล. ๑๖ ข้อ [๔๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง คือ ความมี  ๑ ความไม่มี  ๑ ก็เมื่อบุคคล เห็นความเกิดแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็น ความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงแล้ว ความมีในโลก (โลกสมุทัย) ย่อมไม่มี

โลกนี้โดยมาก ยังพัวพันด้วยอุบาย อุปาทานและอภินิเวส แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบาย และอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวส และอนุสัย  อันเป็นที่ตั้งมั่น แห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัย ว่าทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ พระอริยสาวกนั้น มีญาณหยั่งรู้ ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล กัจจานะ จึงชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ

แม้ผู้ที่หมดอาสวะแล้ว เป็นขีณาสพ ก็ยังมี ทรถา (ท่านผู้รู้แปลว่า ความกระวนกระวายใจ ที่ยังมีขันธุ์ ๕ อยู่) ก็คือทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องอาศัย อายตนะอยู่

ภาวะที่ไม่มีหรือ นิโรธ เราต้องชัดเจนแม่น ว่าจะต้องกำจัดอะไร ให้ไม่มี เมื่อได้แล้วอย่าง นิจจัง ธุวัง สัสสตัง อวิปริณามธัมมัง อสังหิรัง อสังกุปปัง คือเที่ยงในความไม่มี ซึ่งกิเลส ตัณหาอุปาทาน
               
                ต่อไปเป็นการตอบประเด็น

  • ช่วยอธิบายต้น-กลาง-ปลาย ของ

๑. บุคคลาธิษฐาน คืออะไร
ตอบ คือเอาบุคคลเป็นที่ตั้ง เช่นยกชี้บุคคลตัวตนให้รู้ ซึ่งเป็นสมมุติสัจจะ ถ้าเป็นธรรมฐิษฐาน คือเอานามธรรม เอาปรมัตถ์ ไม่เกี่ยวกับตัวตน บุคคลเราเขา แต่บุคคลาธิษฐาน จะเอาตัวตน บุคคลเราเขา มายกอ้าง เช่น ท่านยกผี เทวาดา ว่ามีรูปร่าง เหมือนคน แต่ที่จริง ลีลาของนามธรรม ไม่ใช่ตัวตน บุคคลเราเขา ไม่มีรูปร่าง แม้จะเรียกว่าเทวดา ก็คือความสุข ไม่มีรูปร่าง อ่านได้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ ถ้าไม่เข้าใจ ก็อ่านไม่ได้ ก็ไปปั้นรูปในจิต เป็นเทวดา ผีสัตว์นรก ก็ไปติดเป็น มโนมยอัตตาในจิต เป็นของปลอม แทนที่จะเรียนรู้ ธรรมาฐิษฐาน ในขณะที่มีผัสสะ จะได้เรียนรู้อาการ เทวดา ผี ในตน กำจัดผีก็เป็นเทวดาอุบัติเทพ เป็นวิสุทธิเทพ ได้ในที่สุด ซึ่งคนเรามีความเคยชิน ติดเป็นรูปเป็นร่าง ซะเยอะ เราใช้นิมิต พอรู้ว่า อะไรเป็นอะไร พอเราหมดกิเลสไปตามลำดับ จะเห็นความหมดกิเลส เห็นอาการผี เทวดา อย่างไม่ต้องเป็นตัวตน แต่ใช้อาการ ลิงค นิมิต อุเทศรู้

  • ๒. อาเทสนาปฏิหาริย์คืออะไร ๓.อิทธิปาฏิหาริย์คืออะไร

ตอบ ในปาฏิหาริย์มี ๓ อย่าง ๑.อาเทสนาปาฏิหาริย์ คือเหนือมนุษย์สามัญแต่เป็นโลกีย์ สามารถใช้พลังงานจิต ไปหยั่งรู้อะไรนอกตัวได้ ๒.อิทธิปาฏิหาริย์ คือความสามารถ เหนือมนุษย์ เดินน้ำดำดินหายตัวเป็นต้น ซึ่งทั้งสองอย่าง พระพุทธเจ้ารังเกียจ ไม่ถือว่า เป็นคุณสมบัติของ อาริยะของพุทธ แต่ท่านที่เป็นอาริยะนั้น ท่านอาจได้ฝึกมา ก็จะมีบ้าง แต่ท่านก็ไม่ไปใช้ พระพุทธเจ้าท่านใช้บ้าง ในการปราบมาร แต่ในยุคนี้ ยิ่งไม่ต้องใช้เลย มันจะมีเอง ตามธรรมบ้าง ส่วนปาฏิหารยิ์ที่ต้องมี และสำคัญที่สุดเลย คืออันที่ ๓ คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือสอนให้บรรลุธรรม สอนธรรมะ คำสอนของ พระพุทธเจ้า ให้ทำได้ตรงธรรม ทำได้แล้วจึงเป็นปาฏิหาริย์ เช่นศีล ๕ ทำได้ก็เป็น ปาฏิหาริย์ หากได้แค่ กายกับวาจา ก็เป็นได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าได้ทั้งใจเลย ยิ่งปาฏิหาริย์ ในศีลข้อ ๑ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่กินเนื้อสัตว์เลย ศีลข้อ ๒ ก็สละของส่วนตัวออก จนไม่ต้องมี ของตัวตนเลยได้ยิ่งดี ศีลข้อ ๓ ยิ่งหมดกามได้เลยยิ่งดี ศีลข้อ ๔ ก็ให้มีแต่วาจาสัจ ศีลข้อ ๕ ก็ให้หมดความเมา ทั้งหลายได้เลย

  • วิสุทธิ ๗ มีที่มาอย่างไร
    ๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล
    ๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิตต์
    ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
    ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
    ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
    ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ อันรู้เห็นทางดำเนิน
    ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ กล่าวคือ มรรคญาณ

ตอบ พ่อครูว่าต้องใช้เวลาค้นดูก่อน

  • ทำไมสมณะบวชมาตั้งหลายพรรษาถึงได้สึก ทั้งที่ผ่านการขัดเกลา อบรมฝึกฝน อบรมแล้วอดทนอีก กลั่นกรองทั้งหยาบกลางละเอียด บางรูป สึกอย่างหมดท่า บางรูปมีท่า ทำไมการฝึก ไม่มีผลหรืออย่างไร

ตอบ พระพุทธเจ้าอยู่ทั้งองค์ยังมีสึก บางรูปทำลายศาสนาด้วย มันเป็นไปไม่ได้ มันมีรายละเอียดของอจินไตย ถ้าเรียกรวมก็อยู่ที่ บุญบารมีของตน ผู้ใดฝึกฝนถึงขีดขั้น ก็อยู่ได้ ผู้มาบวชเป็นเพศสมณะ แต่จิตใจไม่บรรลุธรรม แต่อยู่ในศีลในวินัย อดทน ท่านก็อดทน หน้านองน้ำตาอยู่ พระพุทธเจ้าก็เรียกว่า ทักขิเนยบุคคล คือผู้ที่เป็น โคตรภูบุคคล คือตัดหีนเพศ มาสู่เพศพรหมจรรย์ จนกว่าจะมีโคตรภูจิต คือจิต ลดละกิเลส เป็นโสดาฯ สิกาทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ฯ มีโคตรภูญาณ คือญาณตัดโคตร คือมันไม่เอาแล้ว โครตรที่เราเลิกมา เป็นหีนเพศ ในอบายภพ กามภพ เราตัดแล้ว มาได้แล้ว ก็บรรลุมาตามลำดับ มีญาณรู้ว่า จิตเราตัดขาด ขุดโคตรความเป็น สัตว์เดรัจฉาน สัตว์กาม สัตว์อบาย จนถึงรูปสัตว์ อรูปสัตว์ ก็ต้องพากเพียรดู อย่ามาลงโทษพ่อครู

  • โทษแห่งการจาริกไปนานๆ จะเสื่อมจากธรรมที่บรรลุ ถามว่า ถ้าบรรลุแล้ว จะเสื่อมได้อย่างไร

ตอบ ถ้าบรรลุขั้นต้น ก็มีโอกาสเสื่อมได้ ถ้าไม่รักษาผล อย่ายึดในภาษาเป๊ะๆ ในโสดาบัน ถ้าได้แค่ โสตาปันนะ อวินิปาตธรรม ก็มีโอกาสแปรเปลี่ยนได้ แต่ถ้าไป นิยต  หรือ สัมโพธิปรายนนะ นั้นก็มีของจริง ไม่ตกต่ำ

  • ไม่ยากตอบปัญหาพ่อครู เพราะกลัวพ่อครูหยิบไม่ได้ และบางทีพ่อครูตอบยาว ปัญหาคือ ดิฉันอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องชาดก มี บัญญัติพหุโล ปริยัติพหุโล พราหมณ์มหาศาโล

ตอบ บัญญัติคือการสมมุติแต่งตั้งอะไรขึ้นมา ปริยัติคือทฤษฏี พราหมณ์มหาศาโล คือพราหมณ์มหาศาล ในยุคพระพุทธเจ้า เป็นยุคศาสนาพราหมณ์ ท่านก็เรียกนักบวช ว่าพราหมณ์ พวกมหาศาลคือผู้ที่เต็มไปด้วย ลาภยศสรรเสริญ มีอำนาจศักย์มาก ซึ่งฟังดูดี แต่ไม่มี ในยุคนี้ก็เรียกว่า พระมหาศาล คือพระที่เต็มไปด้วย ลาภยศสรรเสริญ ถ้ามาเป็นพราหมณ์ หรือพระ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ก็ไม่ต้องสะสม ไม่ต้องไปพวก บัญญัติ หรือ ปริยัติพหุโล คือผู้สะสมปริยัติมา ก็ไปปฏิบัติ ก็จะบรรลุได้

  • มีช่วงที่มีงานในชุมชนอโศก แต่ผมก็ต้องทำงาน ต่อเติมบ้านของตน แต่มีคน มาถามว่า ทำงานอะไรอยู่ ก็ตอบไปว่า ทำงานต่อเติมบ้าน

ตอบ ถ้ามีพลเมืองเพิ่มมีทรัพย์สินเพิ่ม ก็ควรต่อเติม ถ้าเป็นไปเพื่อส่วนกลาง ไม่ใช่ส่วนตัว แต่ถ้าไม่มีพลเมืองเพิ่ม ไปต่อเติมทำไม

  • ทำไมหนูกลัวผี และกลัวความมืด

ตอบ ผีมีสองอย่าง คือผีหลอกและผีจริง ผีหลอกหลวงปู่เห็นมาเยอะ ตอนเป็นฆราวาส หลวงปู่ สู้กับผีมาเยอะ อยู่บนต้นไม้ อยู่ศาลพระภูมิ ก็โง่ถูกผีหลอก ไปตั้งหลายปี คือมันปั้น อยู่ข้างในใจ เห็นรูปร่างเป็นมโนมยอัตตา จนกระทั่ง ผีไปแอบแฝง ในศาสนาพุทธ ถึงขั้นรูปพรหม อรูปพรหม

ผีจริงๆมีอยู่ในตัวคนทุกคน ที่ไม่เป็นอรหันต์ ในอนาคามีเหลือรูปผี อรูปผี ส่วนโสดาฯ สิกทาฯ ก็มีผีกามในส่วนที่ตนเหลือ ส่วนปุถุชนก็มีผีชั้นต่ำ คือผีอบาย กิเลสชั้นต่ำ คือผีชั้นต่ำ ไม่ต้องไปยุ่งกับผีนอกตัวตน มันเป็นผีหลอก ถ้ามาเรียนรู้ มีปัญญาแบบพุทธ จะไม่เห็นผี ไม่กลัวผี

ยกตัวอย่าง ถ้าผีมีตัวตนจริง ถ้าคนตายแล้วรักกัน จะมาหากันไหม แล้วมาไหม? ถ้าอาฆาตกัน ตายไปจะมาฆ่ากันไหม ถ้ามีจริงก็หมดไม่เหลือ แต่นี่พอศัตรูตายไป ก็โล่งเลย นี่แหละคือ มันไม่มีจริง ถ้ามีจริงมันมาแล้ว อย่างซึนามิ คนตายเป็นหมื่นคน กองซากศพมากมาย ถ้าเป็นผีก็จะมาบอกว่า ฉันอยู่นี่ ฉันกองอยู่นี่ ตายอยู่นี่ แต่ว่าไม่เห็นมี มีแต่ผีหลอก ที่เป็นมโนมยอัตตา พวกเราก็ไปปักกลด อยู่ข้างหลุมศพ ก็ไม่มี

ทำไมกลัวความมืด เพราะมันไม่รู้ นึกว่าผีอยู่ในความมืด และในที่มืด อาจมีพิษมีภัย เช่น งูเป็นต้น แต่ไปสมมุติว่ามีผี

จิตวิญญาณตายไปแล้ว อยู่เดี่ยวๆไม่เกี่ยวกับใคร จะสวรรค์มีหลอกมีน้อย ส่วนมาก เป็นนรกอยู่นาน เพราะเป็นอุปาทาน ติดยึดในอนุสัย ส่วนสวรรค์ มันไม่มีผัสสะ มันปรุงแต่งกันเองได้น้อย

ผีจริงๆคือจิตมีกิเลสของเรา ผู้ที่จะรู้จักผีที่แท้จริงคือ พระพุทธเจ้ากับอรหันต์ เท่านั้น นอกนั้นหลอกหมด

  • นามรูป คืออะไร

ตอบ รูป คือสิ่งที่ถูกรู้ รู้ด้วยตาหูจมูกลิ้นกาย คือมหาภูตรูป ส่วนข้างในคือ อุปาทายรูป เราก็รู้ได้ อ่านอาการออก มันคือนามรูป ต้องมีนามรูปปริจเฉทญาณ แยกนามรูปได้ การรู้อาการโลภ โกรธหลงได้ คือนามรูป เป็นผี หลงสุขก็เป็นเทวดา ไม่มีรูปร่างสีสัน รู้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ มันมีความต่างกัน แล้วเราต้องจำได้ มีนิมิต

  • ถ้าเราชอบดูพ่อครู ชอบกราบสมณะสิกขมาตุ ชอบในอากาศเย็น ชอบทำกสิกรรม

ตอบ การชอบในกุศลไม่เรียกว่ากิเลสทีเดียว แต่ถ้าไปยึดว่าไม่มีไม่ได้ ก็เป็นกิเลส เช่นชอบขยัน จะเดือดร้อน ทั้งตัวเองและผู้อื่น ก็ไม่เหมาะควร ถ้ากิเลสจริงๆ คือ ไม่ดีไม่งาม เป็นโทษ สรุปคือไม่รู้หรือวิชชา ว่ามันมีโทษ แต่ถ้าเป็นกุศล ต้องรักษาไว้ พออาศัย มนุษย์ต้องอาศัยกุศล ผู้ล้างกิเลสแล้ว ก็หมดบาปหมดกิเลส ทำแต่กุศล ล้างกิเลส ไม่ให้เกิดอีก มีชีวิตทำแต่กุศล ช่วยโลก

  • เมื่อตากระทบรูป เห็นหญิงสวย ก็รู้สึกชอบก็สุข ทำอย่างไร

ตอบ เมื่ออ่านเวทนาชอบ ก็อ่านต่อว่าชอบอะไร ชอบถุงขี้ผูกโบว์ ซึ่งในตัวเรา สิ่งใดเสื่อมสลาย ก็คือขี้ทั้งนั้น ร่างกายก็สลาย สิ่งเสื่อมเป็นขี้ทั้งนั้น นี่เป็นเรื่องหยาบ มันชอบใน รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส บางคนก็ชอบ คุณธรรมความเก่ง เป็นอัตตา ถ้าเรารู้ แล้วก็รู้ว่า เป็นผู้สร้างประโยชน์ร่วมกัน ไม่ต้องไปชอบทางเพศ เพราะถ้าชอบแล้ว ก็จะมีชังด้วย ถ้าไม่ชอบไม่ชัง ก็มีแต่ความเกื้อกูล ช่วยเหลือ

  • สงสัยว่าพระพุทธเจ้า มีผมหรือไม่ ทำไมพระพุทธรูป มีผมต่างกันไป พระพุทธเจ้า โกนผมหรือไม่

ตอบ ธรรมดาคนก็มีผม นอกจากหัวล้านเหน่งเลย พระพุทธเจ้าไม่หัวล้าน ก็มีผม คนก็ไป ประดิษฐ์ พระพุทธรูปไป ตามใจตน ปั้นมาสมมุติไป  และพระพุทธเจ้า โกนผมด้วย อย่าให้ยาว เกินองคุลี

  • กิเลสเข้าขณะที่ป่วยเหนื่อย อัตตาจัด แต่กิเลสก็ลด ในขณะขวนขวาย จนเหนื่อยได้

ตอบ กิเลสไม่ลดหรอก แต่กิเลสแค่หมดแรงไป ไม่ทำงานเท่านั้น คนเราถ้าป่วย หรือเหนื่อย จะออเซาะต้องการคนเอาใจ ป่วยนิดก็ต้องการมาก เหนื่อยหน่อย ก็ต้องการมาก เราต้องเรียนรู้ สิ่งแฝงในนั้น

  • คนที่เป็นเกย์มีวิบากอย่างไร มีโอกาสหายไหม

ตอบ  พระพุทธเจ้าท่านว่า กระเทยมาบวชนี่ให้สึก แม้รู้ทีหลัง กระเทยจริงๆนั้น จะเป็น เอียงข้างหญิง ชายเรียกเกย์คิงเกย์ควีน ก็คือผู้วิตถาร เรื่องเกี่ยวกับเพศ ผู้ชายในธรรมชาติ ก็ต้องชอบผู้หญิง แต่ไปชอบผู้ชาย เพราะจิตที่ชอบเสียดสี หรือจริตจก้าน เพศคือเสพรส สัมผัสเสียดสี กระเทยจะแต่งตัวให้มีกาม แสดงออก รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส พวกนี้ จะเก่งแต่งตัว ทำอาหารเป็นต้น

ธรรมดาการสัมผัสเสียดสี ในผู้หญิงผู้ชาย ก็เป็นธรรมชาติทางเพศ แต่ผู้ที่ไปยึดกิเลสหนัก วิตถาร ไม่ใช่เรื่องสามัญทางโลก ก็ไปสร้างการติดสัมผัส โดยแท้เลย เกินขอบเขต ผิดเพี้ยน เกิดจากจิตที่ติดกามจัด ท่านจึงไม่ให้มาบวช เพราะมาบวชแล้วยุ่งวุ่น ถ้าวัดนั้น ปล่อยให้ กระเทยมาบวช ก็ปาราชิกทั้งวัดเลย ทั้งๆที่รู้ เขาก็ว่า ผู้ชายด้วยกัน ไม่เป็นไรหรอก แต่เขาไม่เรื่องจิตวิตถาร ติดหนัก
กระเทยจะฉลาดทางโลกได้ แต่ฉลาดทางธรรมยาก

  • พาหุง ๘ แปลอย่างไร

ตอบ  เป็นบทแต่งของโบราณาจารย์ พวกเราก็ใช้สวดกัน เป็นภาวะของพระพุทธเจ้า ที่ชนะทั้ง ๘ อย่าง พ่อครูเคยแปล ขยายความ เป็นหนังสือเล่มเล็ก

............จบ
            

 
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถาน ราชธานีอโศก