560519_รายการวิถีอาริยธรรม โดยพ่อครู และส.ฟ้าไท _
เรื่อง กระบวนการสังขารสู่การพัฒนาจิต

                ส.ฟ้าไทเปิดรายการที่บ้านราชฯ

...อีกไม่กี่วันก็จะถึงวันวิสาขบูชาแล้ว เราควรใส่ในในการปฏิบัติบูชา เพื่อตอบแทน บุญคุณ ของพระพุทธเจ้า ที่ท่านให้ประกาศสัจธรรม ให้เราได้ออกจากทุกข์ ตามขั้นตอน ซึ่งเราต้องมาฟังจากสัตบุรุษ ที่ท่านมีสภาวะจริง มาอธิบายให้เราได้เข้าใจ และปฏิบัติต่อไป

พ่อครู...วันนี้ตั้งใจอธิบายธรรมะที่ยาก และเป็นอจินไตย (คือคิดสุดที่จะคิดได้) เพราะเป็นธรรมะ ที่จะต้อง เรียนรู้ถึงที่สุด เป็นขั้น อนุตริยะรรม (คือธรรมะที่เหนือ ไม่มีเหนือกว่านี้อีก) จึงค่อนข้างยาก ในการสาธยายธรรม ก็เห็นใจท่านที่มาแย้ง โดยเอาภูมิเดิม เป็นที่ตั้ง และก็ยังไม่เข้าใจ สิ่งที่พ่อครูอธิบาย และเขาก็ยังซาบซึ้ง กับของเดิม ก็ยิ่งไม่เข้าใจ เพราะมันคนละกระบวนทรรศน์ คนละกระบวนการ มันเลยไป

พ่อครู.. เอาพระไตรฯเป็นตัวยืนยัน แล้วขยายไปเรื่อยๆ เป็นการร้อยมาลัยธรรม คนที่ไม่รู้เรื่อง ก็จะไม่เข้าใจ ว่าเอาตรงนั้นมาใส่ตรงนี้ ซึ่งไม่เหมือนกับ การใส่จิ๊กซอว์ ซะทีเดียว เพราะร้อยมาลัยนั้น แต่งไปตามควร ที่จะเห็นว่าอันไหนควร ไม่มีกฎบังคับ ตายตัว แต่ผู้มาร้อยมาลัยธรรม ต้องเป็นศิลปิน ที่มีภูมิธรรม สมสมัย ไม่ตายตัว ผู้ที่ชาล้นถ้วยจะไม่เข้าใจ

วันนี้จะอธิบาย กระบวนการของอภิธรรม คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน จะมีลักษณะ สังขารขั้น อภิสังขาร คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอเนญชาภิสังขาร

อภิสังขาร คือการสังขารอย่างยิ่ง ขั้นอภิธรรม เป็นการทำใจในใจของเรา เป็นการจัดแจงจิตใจ ให้เป็น พัฒนาการเจริญได้ เหมือนแม่ครัว ปรุงอาหารอย่างเยี่ยม

เมื่อสามารถลดละจางคลายกิเลสได้ คือปุญญะ คือชำระจิตสันดานไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการเดินทางไปสู่ “นิโรธ” (ความดับ) “เกิดขึ้น” (อุปัชชติ) คำนี้ หมายความว่า “จิตกำลังเดินทางเข้าไปสู่ (อุปสังกมติ) นิโรธ” นั่นคือ “กิเลสเริ่มลดละ จางคลาย ไปตามลำดับ ก็มี “ส่วนแห่งบุญ” (ปุญญภาคิยา) ให้ “ผลแก่ขันธ์” (อุปธิเวปักกา) กระทั่งถึงขั้น “ดับ” (นิโรธ)ได้สำเร็จ เป็น สัจจะย้อนสภาพเช่นนี้

จึงเป็นการ สังขารที่มีฤทธิ์ คือ อิทธาภิสังขาร คือผู้ที่ทำได้จริงรู้ได้จริง คือ อิทธิบาท กับการสังขาร เรียกโดยภาษาว่า ฉันทาธิบาท วิริยาธิบาท จิตตาธิบาท และวิมังสาธิบาท โดยสั่งสมเป็น ฉันทะสมาธิปธานสังขาร วิริยะสมาธิปธานสังขาร จิตตสมาธิปธานสังขาร และ วิมังสามาธิปธานสังขาร เป็นสังขาร ๔ ที่เกิดขึ้น โดยเราเป็นผู้สังขาร จัดแจงเอง

สังขาร ๓ มี กายสังขาร จิตสังขาร วจีสังขาร

ใน วจีสังขาร ก็คือองค์ธรรมของสังกัปปะ ๗ โดยเฉพาะในขั้น ตักกะ วิตักกะ ที่จะอ่าน ลึกลงไปถึง กามสังกัปปะ (กามวิตก) หรือ พยาบาทสังกัปปะ (พยาบาทวิตก) วิหิงสาสังกัปปะ (วิหิงสาวิตก) เราต้องกำจัด กามกับพยาบาทเป็นหลัก ไม่ใช่ไปดับจิต หรือดับเวทนา ไปเสียหมด หรือสะกดจิตไปเสียหมด อย่างในมหาจัตตารีสกสูตรนั้น พ่อครู ได้เรียบเรียงมาบรรยายคือ

๐๙.๓๐ น. (พ่อครูไออยู่หลายครั้ง ส.ฟ้าไทจึงบรรยายแทรกก่อน เรื่องการคบสัตบุรุษ จึงนำสู่ การบรรลุธรรม)

                อภิธรรมบรรยาย
ดังนั้น ที่ท่านสรุปไว้ว่า เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ จึงพอเหมาะได้ (ปโหติ) ก็หมายความว่า เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ จึงปฏิบัติ “สังกัปปะ” ให้เกิดขึ้น (ปโหติ) เป็น “ สัมมา” หรือดำเนิน (ปโหติ) อย่างพอเหมาะ (ปโหติ) เพียงพอ (ปโหติ) สามารถ (ปโหติ) ทำให้เจริญพัฒนา ไปตามลำดับๆ

"สัมมาทิฏฐิ เป็นประธาน สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะ” ได้นี้ หมายถึง ผู้ปฏิบัติใดที่มี สัมมาทิฏฐิมาแล้ว เมื่อปฏิบัติก็คือ “อภิสังขาร“ (การจัดแจงกับจิตสังขารของตน หรือ การปรุงแต่งจิตสังขารของตน) ซึ่งเป็น “การทำใจในใจให้ถ่องแท้” (โยนิโสมนสิการ)นั่นเอง ให้พัฒนาไปสู่มรรคผลด้วย “ความพยายาม (สัมมาวายามะ) กับสติสัมปชัญญะ สัมปชาโน (สัมมาสติ)” ร่วมกันพร้อมกันทำงาน (อนุปรธาวติ อนุปริวัตตติ) เป็นไปตาม สัมมาสังกัปปะ (ในพระไตรปิฎก แปลว่า“ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตาม สัมมาสังกัปปะ” ช่วย“สัมมาทิฏฐิ” ให้สำเร็จผลอยู่ เป็นต้นกลกับต้นหล โดยมีสัมมาสติ เป็นตัวเชื่อม

กระบวนการของ "สัมมาสังกัปปะ ๗” (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๖๓) อันประกอบด้วย “ตักกะ-วิตักกะ -สังกัปปะ -อัปปนา -พยัปปนา -เจตโส อภินิโรปนา -วจีสังขาร” ก็เกิดขึ้น (อุปัชชติ) ซึ่งเป็นการเดินทางไปสู่ “นิโรธ” (ความดับ)

“เกิดขึ้น” (อุปัชชติ) คำนี้ หมายความว่า “จิตกำลังเดินทางเข้าไปสู่ (อุปสังกมติ) นิโรธ“ นั่นคือ “กิเลสเริ่มลดละจางคลาย ไปตามลำดับ ก็มี “ส่วนแห่งบุญ” (ปุญญภาคิยา) ให้ “ผลแก่ขันธ์” (อุปธิเวปักกา) กระทั่งถึงขั้น “ดับ” (นิโรธ)ได้สำเร็จ [แล้วมันเกิดหรือดับกันแน่? สัจจะย้อนสภาพเช่นนี้ ผู้สนใจ อ่านในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ ข้อ ๕๑๐]

        มีอุบาสกชื่อ "วิสาขะ" เป็นอดีตสามีของภิษุณีธรรมทินนา (เป็นอรหันตภิกษุณี) ซึ่งอุบาสก ก็มาหาอดีตภรรยา แล้วถามเรื่องธรรมะต่างๆ มีหมวดหนึ่งว่าด้วย

                เรื่องสัญญาเวทยิตนิโรธ
           [๕๑๐] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็การเข้า(อุปฺปชฺชติ) สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นอย่างไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าเรากำลังเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ว่าเราเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว ก็แต่ความคิด อันนำเข้าไปเพื่อ ความเป็นอย่างนั้น อันท่านให้เกิดแล้ว ตั้งแต่แรก. (ซึ่งเขาแปลกันมาอย่างนี้ ทำให้เข้าใจได้ยาก
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เมื่อภิกษุเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธธรรม คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร อย่างไหน ย่อมดับไปก่อน?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้น กายสังขารก็ดับ จิตตสังขารดับทีหลัง.
(เป็นเรื่องอจินไตย คือให้หัวแตก ก็คิดไม่ออก)

พ่อครูอธิบายแทรก ซึ่งจะไขความว่า ทำไมต้องดับตามลำดับ อย่างนั้น ....การจะให้เกิด ถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ ต้องเข้าสู่กระบวนการของ "สังกัปปะ๗" อ่าน ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา วจีสังขาร

ต้องอ่านปัจจุบัน ตอนกระทบผัสสะ ทำอิริยาบถ ขณะนี้ก็มีญาณปัญญา วิจัยอ่านอย่างเร็ว และก็มีการปหาน ไปในตัวเลย

เมื่อเราจับได้ว่า มีกามหรือพยาบาท มาสังขารร่วม คุณก็กำจัดตัวนี้ อย่างไม่ผิดตัว ไม่ใช่วิสามัญฆาตกรรม อย่างผิดตัว เราก็รู้กามวิตก ซึ่งขณะใด ที่มันปนกันอยู่ มันนึกคิดอยู่ เราก็แยกได้ เรียกว่า วิตักกะ แล้วแยกแยะ พฤติกรรมของมัน หรือวิจาร แล้วให้มันน้อยลง ไปร่วมปรุงแต่งน้อย หรือไม่มีเลย

คุณจะมีแรงต้าน ซึ่งจะต้องใช้ทั้งเจโตและปัญญา เป็นพลังบวกและลบ ไปสังเคราะห์ สังขารกัน เต็มที่ ออกมาเป็นวจีสังขาร

พอดับกามได้ ดับเหตุได้ ก็เป็นวจีสังขารที่ไม่เป็นกาม ต้องทำการวิจัย ตัวนี้ก่อน ซึ่งวจีสังขาร จะดับได้อย่างไร ดับเป็นครั้งๆ หรือดับได้ยาว ดับได้มากได้น้อย ก็จะออกมาจาก พลังจิตของคุณ ที่ทำได้มาก่อน เป็นวจีกรรม (วาจา) กายกรรม (กัมมันตะ) และเป็นอาชีพ (อาชีวะ)

วจีสังขารจึงดับก่อน เพราะดับกิเลสได้ก่อน จึงออกมาเป็นสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ ดังนั้น การขจัดกิเลส เราต้องดับที่ วจีสังขารก่อน แล้วจึงดับถึงกายสังขาร และเมื่อทำงานเสร็จแล้ว ทั้งหมดคือ จิตสังขารที่ดับรอบสำเร็จ

นอกจากว่ามีเหตุปัจจัยแรงมาก คุณดับก็ไม่ได้หมด คุณก็ทำ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะไม่ได้ ดังนั้น จิตสังขาร ก็ต้องทำงานต่ออีก จนสู้ได้หมด จิตสังขารก็ดับหมด แต่ว่าถ้าดับไม่ได้ จิตสังขารก็ต้องทำงานต่ออีก (มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา)

นี่คือการเข้าถึงกระบวนการพัฒนาจิต คือเข้าไปทำความดับ ต้องทำตามลำดับ มีทั้งเหตุนอกเหตุใน

     วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็การออก (วุฏฺฐานํ) จากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นอย่างไร?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้ออก (วุฏฺฐานํ) จากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ว่าเรากำลังออก (วุฏฺฐานํ) จาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ว่าเราออกจาก สัญญเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ก็แต่ความคิด อันนำเข้าไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น อันท่านให้เกิดแล้วแต่แรก.
(คือท่านได้ทำ มาตามลำดับ จนกิเลสลดลงๆ จนหมด ก็เสร็จแล้ว )
    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เมื่อภิกษุออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมคือกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร อย่างไหน เกิดขึ้นก่อน.
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขาร เกิดขึ้นก่อน ต่อจากนั้น กายสังขารก็เกิดขึ้น วจีสังขารเกิดขึ้นทีหลัง.

พ่อครูอธิบายแทรกว่า ในขณะเดินเครื่อง ก็ทำวีสังขาร ในสังกัปปะ ๗ คือกระบวนการ ของ จิตสังขารทั้งนั้น เป็นการทำใจในใจ เป็นวจีสังขาร ที่ซ้อนอยู่ในจิตสังขาร ตัวตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ คือตัวจัดการ เอากามกับพยาบาทออก แล้วก็มาร่วมอยู่กับ อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา เมื่อทำการดับ วจีสังขารได้ ก็จะออกมาเป็น กายสังขารที่ดี เป็นวาจา กัมมันตะ อาชีวะที่สัมมา พอออกมาเสร็จแล้ว วจีสังขาร จึงเป็นตัวท้าย ที่สำเร็จ สั่งสมกำลังของ วจีสังขารสูงขึ้น ตั้งมั่นเป็นสมาธิ

ต้องทำอย่างสดๆ จึงจะเป็นของจริง แต่การเอาสัญญามาระลึก เป็นการทำของแห้ง ก็ได้เป็นอุปการะแน่นอน ใครจะนั่งสมาธิ ก็ช่วยได้จริง เป็นประโยชน์มาก แต่ตอนนี้ พ่อครูเน้น ด้านปัญญา แต่ตอนแรก ในยุคแดนอโศก ก็มีการฝึกนั่งเจโตสมถะ ต่อมา ก็มีผู้รับช่วงไปทำ ซึ่งใครที่การฟังธรรมก็ไม่เอา การนั่งสมาธิก็ไม่เอา หลงเอาแต่ การทำงาน เป็นกัมมารามตา จะพร่าประโยชน์ตน เพราะประโยชน์ท่านแม้มาก ระวังจะเสื่อม

ผู้ที่มุ่งหมายได้มรรคผล ก็ต้องพยายามฟังธรรม หรือแม้แต่ผู้ที่ นั่งสมาธิอย่างเดียว ก็จะได้ เจโตสมถะ ไม่ได้โลกุตระ ซึ่งเดี๋ยวนี้ เขาได้แต่ โจโตสมถะกันมาก และเป็นมิจฉาวิมุติ แต่ผู้ลืมตาปฏิบัติ ถ้าไม่สัมมาทิฏฐิจริง จะบอกไม่ค่อยได้ ว่าตนวิมุติ ซึ่งต่างจาก สายสมถะ ที่มีสมถะลืมตาด้วย คือรู้นิ่งเฉย พวกนี้มีปัญญาพอสมควร อธิบายเก่ง หากินก็รวยมาก เป็นประโยชน์ระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่มีสัมมาทิฏฐิสมบูรณ์ จะไม่บรรลุจริง

     วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุ ผู้ออกแล้ว(วุฏฺฐานํ)จาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ?
    ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ผัสสะ ๓ ประการ คือ ผัสสะชื่อสุญญตะ (รู้สึกว่าว่าง) ผัสสะ ชื่ออนิมิตตะ (รู้สึกว่าไม่มีนิมิต) และผัสสะชื่ออัปปณิหิตะ (รู้สึกว่าไม่มีที่ตั้ง) ย่อมถูกต้องภิกษุ ผู้ออกแล้วจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.

พ่อครูแทรกว่า  แต่ถ้าปณิหิตะ คือตั้งจิตต่อภพภูมิโพธิสัตว์ ก็ต้องมีทรถา คือต้องมีทุกข์ ที่จะต้องหาอาหาร มาเลี้ยงกาย  สรุปคือมี ๑.จิตสุญญตะ ๒.จิตอนิมิตตะ ๓.จิตอัปปณิหิตะ (คือไม่ตั้งจิตต่อภูมิโพธิสัตว์)

    วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ภิกษุผู้ออกแล้วจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ. มีจิตน้อมไปในธรรมอะไร โอนไปในธรรมอะไร เอนไปในธรรมอะไร?
     ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้ออกแล้วจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีจิตน้อมไปในวิเวก โอนไปในวิเวก เอนไปในวิเวก.

นี่คือสัจจะของผู้บรรลุแล้ว จะมีจิตยินดีในเสนาสนป่า อย่างพ่อครู ต้องทำงาน ต้องไปที่สันติอโศก เป็นเมือง แต่ถ้าไม่ต้องไป ก็ยินดีอยู่ป่าดีกว่า ดังนั้นแม้ที่สันติฯ ก็สร้างป่า สร้างน้ำตก

               พ่อครูบรรยายจากที่เขียนไว้มาอ่านต่อ
                ด้วยนัยะนี้เอง เมื่อมี "สัมมาทิฏฐิ" "สัมมาสังกัปปะ"จึงพอเหมาะได้ ข้ออื่นๆของ “มรรค” เจริญขึ้นเป็น “ผล” ก็นัยเยี่ยงนี้
                เมื่อมี"สัมมาสังกัปปะ" "สัมมาวาจา"จึงพอเหมาะได้
                เมื่อมี"สัมมาวาจา" "สัมมากัมมันตะ"จึงพอเหมาะได้  ฯลฯ
                จนถึงเมื่อมี "สัมมาญาณ" "สัมมาวิมุตติ"จึงพอเหมาะได้
                ที่สุดก็คือ เมื่อ กำจัด “อกุศลเจตสิก” ได้สิ้น ก็ไม่มี “เหตุ” (สมุทัย) เข้าไปร่วมปรุงแต่ง ในจิตเจตสิกของเรา เพราะ“เหตุ” คืออกุศลจิตไม่มีแล้วใน“การปรุงแต่ง” (สังขาร) นี้
                ดังนั้น "วจีสังขาร" ของเรา ที่มี “ผลธรรม” ในการปฏิบัติ ก็เป็น "อภิสังขารหรือวิสังขาร" หากจะออกมาเป็น"วจีกรรม" ก็เป็น “การพูดจา” อันไม่มี“เหตุ” ให้เกิด วจีกรรมเป็น “มิจฉาวาจา" แต่จะเป็น “สัมมาวาจา” เพราะ“ใจเป็นประธาน” (มโนปุพพังฯ)
                นั่นก็คือ "สัมมาวาจา"จึงพอเหมาะได้
                ซึ่งผู้ที่ไม่รู้การปฏิบัติที่ "สัมมาปฏิบัติ" ก็จะทำได้แค่ “การควบคุมวาจา” ตามปกติปุถุชน เท่านั้น ศาสนาไหนก็ทำอยู่แล้ว หรือคนที่ใฝ่ดี เขาก็ทำเป็นธรรมดา ซึ่งยังไม่ใช่ "การทำใจในใจ" (มนสิการ) ดังที่สาธยายมา

จึงไม่มี"ธรรมะที่มีผล" (นัตถิ) แม้มี ก็ไม่แน่ไม่เที่ยงแท้เด็ดขาด ก็ได้ แต่ได้ระยะหนึ่ง จะแปรปรวนไปได้ตามกิเลส ที่ยังไม่ได้กำจัด เพราะไม่สัมมาทิฏฐิ จึงไม่หมดไป ไม่ลดไม่ละไป ชนิดที่ถูกตัวถูกตนของ“ตัวตนกิเลส” แท้ๆถึงขั้น "ปรมัตถธรรมแบบพุทธ"

ดังนั้น ผู้ที่อธิบายกันว่า " “ศีล” สามารถควบคุมได้แค่ กายกับวาจา เท่านั้น " ส่วน “ใจ” ให้ไปนั่งหลับตา ทำสมาธิเอานั้น จึงเป็นการปฏิบัติที่แยก “ไตรสิกขา” ออกเป็น ๓ ส่วน ต่างปฏิบัติกัน คนละอย่าง คนละส่วน ไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน

คนทั่วไปก็สามารถ “ควบคุมวาจา” ให้เป็น “วาจาสุจริต” ได้ สามัญคนทั่วไป ก็มีมารยาทสังคม ทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว หรือโดยสัญชาตญาณสามัญ ก็ควบคุม ระมัดระวัง กันอยู่แล้ว ตามแต่จะทำได้ จะได้มากหรือได้น้อยเท่าใดๆ ของตนๆ แต่ละบุคคล และแม้ควบคุมได้ ก็ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน เพราะไม่มีหลักประกัน

หรือแม้จะทำ “สมาธิ” แบบหลับตาสะกดจิตกัน แล้วเชื่อว่า สมาธิมีพลัง ควบคุมกาย และวาจาได้ “ใจ” อาจจะมีพลัง ออกมาบังคับควบคุม กายวาจาได้ ก็เหมือนคนทั่วไป ทำได้นั่นเอง ตามสัญชาตญาณ ตามมารยาทสังคม ที่ตนต้องระวัง ถ้านั่งสมาธิเก่ง ก็อาจจะทำ ได้ดีกว่า คนไม่ได้นั่งสมาธิ ก็อาจจะเป็นบ้าง ซึ่งแม้จะได้เท่าใดๆ ก็ได้เท่านั้นๆ

แต่กระนั้น ก็ไม่เที่ยงแท้ ไม่ถาวรไม่ยั่งยืนได้จริง เท่ากับผู้ “สัมมาทิฏฐิ” ที่มีวิธีปฏิบัติ เข้าถึงการสัมผัสตัวตน ของกิเลส แลัวกำจัดกิเลส อย่างถูกตัวตน ตัวตนลดลงๆ จนตัวตนดับ และสัมผัสความดับตัวตนชนิดที่รู้จัก รู้แจ้งรู้จริง “อัตตา ๓” (ตัวตน ๓) แท้ๆ ด้วยการสัมผัส “กาย” ของรูปนามทั้งหมด

ดังที่พระพุทธวัจนะที่ว่าไว้ ใน"ทักขิเนยยบุคคล ๗" ต่อให้มีอาสวะบางอย่าง สิ้นไปได้ เช่น "กายสักขีบุคคล" พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ชัดว่า ยังไม่ถึงขั้น “อรหันต์” เพราะมีผลแค่ “อาสวะบางอย่าง เท่านั้นสิ้นไป” ยังไม่ถึงขั้น “อาสวะของผู้นั้นสิ้นหมดแล้ว”

เพียงแค่เป็น “บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะ บางอย่างของผู้นั้น ก็หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา นี้เรียกว่า บุคคลผู้เป็น"กายสักขี" “ เท่านั้น

ก็เห็นชัดอยู่แล้วว่า "กายสักขีบุคคล" นี้มีโอกาสได้“สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย” อยู่บ้าง จึงเรียกว่า "กายสักขี" (พระไตรปิฎก เล่ม ๓๖ บุคคลบัญญัติ ข้อ ๑๔๙)

ถ้าผู้ปฏิบัติใด ต่อให้ปฏิบัติหนักแทบตาย นานแค่ไหน หากไม่ถูกต้อง หรือไม่สัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วเห็นด้วยปัญญาบ้าง ซึ่งจะเป็นปัญญาชนิด “สัมมัปปัญญา” ทีเดียว ก็แน่นอน ผู้นี้ไม่สามารถ “ดับอาสวะ” ใดๆได้เลย 

ท่านเจ้าคุณพรหมคุณาภรณ์ ให้ความหมาย "กายสักขี" ว่า “ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย” , “ผู้ประจักษ์กับตัว” , พระอริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนถึงผู้ตั้งอยู่ใน อรหัตตมรรค ที่เป็นผู้มี สมาธินทรีย์แรงกล้า ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ (เมื่อบรรลุอรหัตตผล กลายเป็น อุภโตภาควิมุติ)

นั่นคือ คำแปลของท่านเจ้าคุณ พรหมคุณาภรณ์ ยังยืนยันว่า ต้องได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ จึงจะบรรลุอรหัตตผล

ที่จริงต้องมีคำว่า “สัมผัสด้วยองค์ประชุม ทั้งภายนอกภายใน พร้อมทั้งหมด (กาเยน ผุสิตฺตวา วิหรติ) เห็นอยู่หลัดๆ” ด้วย ดังนั้น “กายสักขีบุคคล” ผู้ใด ถ้ายังไม่ได้ “สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย และเห็นด้วยปัญญาที่สัมมาพร้อม” ก็ทำให้ “อาสวะ” สิ้นไปไม่ได้

พระพุทธเจ้าจึงทรงยืนยันว่า "สายศรัทธา" ที่ปฏิบัติมาถึงขั้น “กายสักขี” ปานนี้ ถ้าไม่ “ถูกต้อง หรือสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วเห็นด้วยปัญญา” ก็ไม่สามารถทำให้ “อาสวะสิ้นไปได้” เลย

เพราะ “ถูกต้องหรือสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วเห็นด้วยปัญญา” นั่นแหละ จึงมีผล “อาสาวะบางอย่าง ของผู้นั้น ก็หมดสิ้นแล้ว” ดังนั้น แค่ระดับต้นขั้น "ศรัทธาวิมุติ" และ "ศรัทธานุสารี" จึงไม่มีปัญญา และไม่มีอาริยผล ยิ่งกว่าแน่

ส่วน “สายปัญญา“ นั้น ย่อม “สัมมาทิฏฐิ” มาแล้วแต่ต้น ตั้งแต่ “ธัมมานุสารี”

ก็ต้องมีอาริยผล มาตามลำดับ (เพราะถ้าขนาดสายปัญญาแท้ๆ ยัง“สัมมาทิฏฐิ” ไปตามลำดับไม่ได้ แล้วจะเป็น ทฤษฎีสัมบูรณ์ ได้อย่างไร)

ยิ่งถึงขั้น “ทิฏฐิปัตตะ” ก็เห็นชัดอยู่แล้วว่า ท่านเรียกว่า “ทิฏฐิปัตตะ” ซึ่งหมายถึง ผู้ที่ “บรรลุแล้ว, ถึงแล้ว” (ปัตตะ) จะบรรลุก็ต้องได้ด้วย “ความเห็น (ทิฏฐิ) ที่เป็นสัมมา” แน่นอน จึงจะบรรลุสัมมาผล ใช่มั้ย?

"สายปัญญา" จึงปฏิบัติโดยมี“สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย เห็นด้วยปัญญา” มาตั้งแต่ "ธัมมานุสารี" เมื่อถึงขั้น “ปัญญาวิมุติ” พระพุทธองค์ก็ตรัส ให้เห็นชัดว่า ไม่ต้องกล่าวหรอกว่า สายนี้จะต้อง“สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย”

พยายามทำความเข้าใจอย่างสำคัญ ตรงนี้ให้ดีๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ที่ได้ “สัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย” นะ จึงจะสามารถทำ “อาสวะบางอย่าง” สิ้นหมดไปได้บ้าง (อัฏฐ วิโมกเข กาเยน ผุสิตฺตวา วิหรติ ปัญญาย จัสส ทิสฺวา เอกัจเจ อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติ) แล้วจึงจะถึงขั้นทำ “อาสวะของผู้นั้น หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา”

สรุป...บรรยายมาถึงขนาดนี้ ก็จำเป็นต้องบรรยายลึก ไปเรื่อยๆโดยเอาหลักฐาน ในพระไตรฯ มาอธิบาย ซึ่งอธิบายยาก ต้องพยายามไม่ให้ผิดด้วย ผิดก็เป็นวิบาก แต่พวกคุณ จะซวยแต่ไม่บาป

ส.ฟ้าไทสรุป... พ่อครูขนาดเป็นโพธิสัตว์ มีสยังอภิญญา ยังกลัวอธิบายผิดเลย เราเป็นสาวกภูมิเล็ก ต้องพยายามตระหนัก สำนึกให้มาก ในการแสดงธรรม ว่าจะมีวิบาก แก่ตนเอง ผู้เป็นธรรมานุสารีย์ จะไม่บอกง่ายๆ ว่าตนบรรลุธรรม เพราะจะละเอียดลออ กับสภาวะตนเองมาก และถ้าจะถึงขั้น อนุตริยธรรมนั้น มันยาก พยายามทำความเข้าใจ ตามรู้ให้ได้ เราต้องมีสัมมาทิฏฐิ แล้วปฏิบัติให้จริง แล้วจะเข้าใจใน กายสังขาร จิตสังขาร วจีสังขารให้ได้ ...
จบ

      

 
๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานราชธานีอโศก