560520_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครูและ อ.กฤษฎา ให้วัฒนานุกูล _
เรื่อง สังคมประเทศไทยต้องบรรลัยถ้าไทยเฉย

        อ.กฤษฎา สไกป์มาจากสันติอโศก ส่วนพ่อครูบรรยายอยู่ที่บ้านราชฯ...

ในครั้งที่ผ่านมา พ่อครูบรรยายถึง ธรรมะที่ไม่มีธรรมะใด เหนือกว่าอีกแล้วคือ อนุตริยธรรม และสภาวะอุเบกขาจริงๆแล้ว ไม่ใช่เฉยๆแบบไม่รู้ไม่ชี้ หรือดับไปหมด ทุกอย่าง แต่มีนัยะลึกซึ้งกว่านั้นอีก

พ่อครู...คำว่า อุเบกขา มาเข้ายุคสมัยนี้เลย พ่อครูอธิบายถึง อุเบกขาที่เป็นโลกียะ และอุเบกขาแบบโลกุตระ พ่อครูเรียกพวกอุเบกขาโลกียะว่า "อุเบกขาเก" ซึ่งเข้ากับ ยุคสมัยเลย

ในช่วงนี้ใกล้จะถึงงานอโศกรำลึก ที่ปีนี้จะมาจัดที่บ้านราชฯ แต่ก่อน งานอโศกรำลึก ก็มีโรงบุญมังสวิรัติ เปิดให้กินกันตลอดงาน ที่ผ่านมาก็กินกัน อย่างมากมายเละเทะ แต่ปีนี้จะมีการกำหนด ให้มีการปฏิบัติ  โภชเนมัตตัญญุตา คือกำหนดมื้อคราว โดยให้กินกันสองมื้อต่อวัน ให้เปิดและปิดโรงบุญ เป็นเวลาเหมือนกันทุกโรงบุญ ไม่ใช่กินตลอดวัน เหมือนงานอโศกรำลึกปีที่ผ่านๆมา  ควรจะเปิดช่วงละ ๓ ชม. แล้ววรรคกลาง แล้วเปิดอีกทีตอนเย็น จะได้มีเวลามาสังสรร พูดคุยกันบ้าง ไม่ใช่กินกัน อย่างเดียว

พ่อครูอธิบายต่อเรื่องอุเบกขา ซึ่งอุเบกขาเป็นฐานนิพพาน ถ้าถึงขั้น เนกขัมสิตะอุเบกขา ถึงขั้นออกจากกาม ออกจากพยาบาท หรือออกจากโลกต่ำ มาตามลำดับๆ เรียกว่า ผู้เนกขัมมะ

จิตที่เนกขัมมะออกมาได้จะต้องเข้าใจ มโนปวิจาร นักปฏิบัติธรรมของพุทธ จะต้องอ่าน จิตออก ว่ามีอาการอย่างไร วิจัยธรรมออกจริงๆ เมื่อสามารถแยกแยะจิตได้ ซึ่งจะมีอาการ ทางจิต ที่เรียกว่า เวทนา

เวทนาท่านแบ่งออกเป็น สุข-ทุกข์-อุเบกขา ซึ่งโลกียะก็มีอุเบกขาเหมือนกัน เรียกว่า เคหสิตอุเบกขาเวทนา เป็นความเฉยๆกลางๆไม่ไปไม่มานี่ และที่ตอนนี้ กำลังเกิดเรื่อง เป็นโรคของไทยเฉย

อุเบกขาโลกีย์ แปลว่า ไทยเฉย ไม่เอาอ่าวกับใครเลย เป็นการเฉยอย่าง มิจฉาทิฏฐิ มีอวิชชา ไม่มีคุณธรรม ไม่มีภูมิ ซึ่งธรรมดาคนเรา มีสุข-ทุกข์-เฉยๆ มันเกิดตาม ธรรมชาติของคน คนก็เลยไปเข้าใจว่า ความเฉยๆทางธรรม ก็เหมือนกับเฉยๆ ธรรมชาติ

เฉยๆแบบธรรมชาติคือ รู้นิ่งเฉย ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไร มีแต่ติดอาการนั้น เหมือนพวก ออกป่าเขาถ้ำ นอกจากไม่คิดแล้ว ก็ไม่รู้สึกรักหรือชัง หนักเข้าเฉยๆ ควบคุมยาก ก็เลยหัดดับจิต บังคับหรือล่อให้มันดับ แล้วแต่วิธี ก็เรียกว่า "นิโรธ"

ถ้านิโรธแบบฤาษีแล้ว ก็ไม่นึกไม่คิดไม่รู้สึก เรียกว่า "อสัญญี" หรือในทางการแพทย์ เรียกว่า "วิสัญญี" คือไม่รู้เรื่องทางทวาร ๕ มีแต่ภพข้างใน จิตไม่รับรู้อะไร ดับสนิท จนเขานึกว่า เป็นเรื่องวิเศษ

ศาสนาพุทธก็รู้เรื่องนี้ และก็รู้ว่าเป็นโทษด้วย ทำให้คุณค่าประโยชน์ทาง กาย วาจาใจ ของคนเสียไปเลย คนเข้าใจผิด กายกรรมก็ไม่ทำงานอะไร อาจเรียนปริยัติมาว่า ความดี ความไม่ดีคืออะไร ก็เป็นศีลตื้นๆ ว่าโลภโกรธหลงไม่ดี

แต่ไม่เคยหยั่งเข้าไปเรียนรู้จิต อ่าน อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ ไม่มี นามรูปปริจเฉทญาณ ก็ได้แต่ความรู้เหตุผล ประมาณเอา ว่าเหตุผลความดี คืออย่างนี้ ควบคุมแต่กายวาจา แต่ใจก็ทำ อย่างกดข่ม ไม่มีภูมิรู้ถึงไตรลักษณ์ของจิต

ความเฉยของชาวโลก เขาเข้าใจเฉยว่า ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับอะไร แม้แต่การกระทำ ก็ไม่ต้องทำอะไร อย่างเช่น อยู่ในสังคม สังคมเขาจะมีข้างดีข้างชั่ว ก็ไม่ต้องเข้าข้างใคร อยู่กลางๆเฉยๆ เป็นกลางต้องไม่เข้าข้างใคร อย่างนั้นไม่ใช่ของพุทธ

ของพุทธนั้น ความเป็นกลาง ต้องเข้าข้างความดี ความถูกต้อง ต้องมีญาณรู้ว่า ความดีงาม ถูกต้อง ที่แท้จริง คืออย่างไร พระพุทธเจ้าให้คบบัณฑิต ไม่ให้คบคนพาล (คือคนโง่ คนเยาว์ คนเขลา) แค่บัณฑิตคือคนดี คนมีศีล อย่าไปส่งเสริมชั่ว อย่างนี้ เป็นต้น เรียกว่าเป็นกลาง

ความเป็นโทษของอุเบกขาที่มิจฉาทิฏฐิ

ที่เรียกกันว่า "ไทยเฉย" เพราะเหตุการบ้านเมือง มีความเลวร้าย ของผู้ปกครอง ก็แล้วแต่ปัญญาของคน ว่าอันไหนดี แล้วอย่าเฉย เห็นข้างไหนถูก ข้างไหนดี ไปรวมตัว ให้เต็มที่ ต้องพยายาม รวมตัวเป็นหนึ่ง

ประชาธิปไตย ต้องไปรวมตัวกับคนดี คนถูกต้อง ช่วยสังคมบ้านเมือง นี่คือ ประชาธิปไตย ไม่ใช่ใครจะเป็นอย่างไร ก็เฉย เป็นไทยเฉย จะบรรลัย           

คนฉลาดแกมโกง เขาจะใช้ความฉลาดอย่างมาก หลอกล่อลวง โฆษณาหามวล ทำแล้วมีผลทำได้ อย่างเหตุการณ์ ในเมืองไทยขณะนี้ คนชั่วลงแรง ร่วมมือกันเต็มที่ รวมหัวกัน แต่คนไทย เข้าใจอุเบกขาผิด มีคนไทย มากเลยที่รู้ว่า อะไรดีอะไรชั่ว แต่ก็อยู่เฉย

คนชั่วเขาไม่หยุดนะ ประเด็นหลักที่คนไทยเรา เข้าใจผิดเดือดร้อน มาจากตรงนี้ ที่เข้าใจว่า อุเบกขาคือไม่เข้าข้างใคร อยู่เฉยๆ ใครจะปู้ยี้ปู้ยำบ้านเมือง ก็ปล่อยเขาไป ส่วนคนชั่ว เขาก็ต้องเล่นเต็มที่ เขาไม่อุเบกขาเลย มีแต่เร่งเครื่อง ทุกอย่างเลย เขาทำ ก็มีผลต่อสังคม ตอนนี้โดนรุกหนักแล้ว ประเทศไทย จะบรรลัยจักรแล้ว ถ้าไทยเฉย อยู่ต่อไป บรรลัยแน่เลย

พ่อครูไม่ได้เข้าข้างใคร พูดกลางๆ ขณะนี้จะเป็นกลุ่มใด รวมตัวกันก็ตาม ก็เห็นกลุ่ม ที่รวมตัวกัน อย่างกระดี๊กระด๊า ขมีขมัน เขาก็ทำเต็มที่ ส่วนผู้ที่รู้ ธรรมะมิจฉาทิฏฐิ ที่เข้าใจความเป็นกลางผิดๆ เป็นไทยเฉย ซึ่งภาวะเฉยนี่แหละ พ่อครูยังเชื่อว่า คนไทย ยังมีวิจารณญาณ ว่าอะไรถูก อะไรผิด แต่เข้าใจผิด ก็ไปเสียท่าให้คนไม่มีธรรมะ ที่เขาจะต้อง เอาให้ได้

เขาทำจริงๆ เพราะความกระสัน ตัณหา ทะยานอยาก แต่คนที่ใฝ่ดีก็เฉื่อย ไม่เร่งเครื่อง ดีไม่ดี เข้าใจอุเบกขาผิดอีก ว่าเป็นคนสูงส่ง อีกต่างหาก ก็บรรลัยแน่

ดีใจที่หลายคนตื่นตัว ไม่เฉยแล้ว ทั้งที่มีทุนอิทธิพล คุณธรรมทางสังคม ที่เขายอมรับ ส่วนที่ไม่แสดงออก ทั้งที่ควรทำ ก็จะบรรลัยแน่เลย พูดโดยสัจธรรม

ผู้ที่กระสัน มีกิเลส อภิชาวิสมโลภะ หรือโกรธะ อุปนาหะ อภิชาวิสมโลภะ คือเพ่งเล็งโลภ ส่วนอุปนาหะ คือผูกโกรธ จะเอาให้ได้ เขาก็รุกอยู่ตลอดเวลา กรรมกิริยาเขา ก็เกิดผลเต็มที่เลย ก็ออกข่าวมามากมาย ยิ่งสื่อสารทุกวันนี้ มีมากมาย ทั้งสื่อสารมวลชน และส่วนตัว ก็ไปเต็มที่เลย น้ำไหลไปหาน้ำ น้ำมันไหลไปหาน้ำมัน ถ้าน้ำสะอาด ส่วนน้ำมันก็ไหลไปรวมกัน เต็มที่เลย เตรียมพร้อมระเบิด แต่น้ำ ไม่ไหลไปหาน้ำ เย็นชืดจืดไปหมดเลย อย่างนี้พังแน่ๆ

แม้แต่จะมีปัญญา ไม่ต้องการให้สิ่งเลวร้ายเกิด ก็ห้ามไม่ได้ เพราะมีไทยเฉยมาก ใจดำใจจืด หรือหาทางหลีกเลี่ยง เอาตัวรอดเป็นยอดดี ก็บรรลัยแน่ พระพุทธเจ้า ให้บัณฑิตคบบัณฑิต หลีกคนชั่ว

พระพุทธเจ้าให้ยกคนดี ตำหนิคนชั่ว ถ้าเข้าใจอุเบกขาเพี้ยนๆ มี กรณีไทยเฉย บรรลัยแน่เลย ประเทศไทย เขามีกลวิธีฉลาดเฉโก ส่วนฉลาดที่ไม่มีกิเลส เขาเรียกว่า "ปัญญา" แต่เขาไปปนกันหมดแล้ว ที่จริงผู้มีปัญญา คือผู้รู้ความจริง ตามความเป็นจริง เขาไม่ค่อยเอา คำว่าเฉโก คนชั่วก็มา ใช้คำว่าปัญญา ก็เลยเละเทะ

ผู้ใดที่มีภูมิธรรมฉลาดที่แท้จริง อย่าใจดำ อย่าเป็นไทยเฉย ควรออกมา ช่วยกันให้เต็มที่ พ่อครูว่า มันถึงจุดวิกฤติ แล้วจริงๆ ถึงแม้ว่ายังไม่ถึงขั้น ระเบิดก็ตาม แต่ก็ถึงจุด วิกฤติแล้ว จะต้องพยายามสุดเลยว่า ให้สำนึกหน่อย เห็นแก่บ้านแก่เมือง

ถ้าสิ่งไม่ดีไม่งาม มาครอบครองบ้านเมือง ก็จะเลวร้ายไปอีก อย่าไปหลงคารม ที่หลอกลวง ต้องเห็นให้จริง ว่าใครถูก แล้วรวมตัวกัน ความถูกต้องไม่ควรแพ้ ความผิด ไม่น่าจะชนะ ถ้าคราวนี้ แต่ละคน เป็นไทยเฉย กลัวเสียลาภ ยศ สรรเสริญ โลกธรรม ก็ละเว้นไปก่อนเถอะ เพื่อบ้านเมือง

แม้จะต้องเสียลาภยศสรรเสริญ ก็ทำเพื่อบ้านเมือง ส่วนรวมเถอะ เป็นเรื่องใหญ่ ถ้าอย่างนั้น ไม่รอดแน่นอน พ่อครูก็มีหน้าที่ ต้องบอกได้แค่นี้ แม้จะไปร่วมมือ ก็พอสมควร ไม่เหมือนกับฆราวาสเขา พ่อครูเป็นเจ้าสำนัก ก็ต้องระวังด้วย ไม่ใช่แก้ตัว จริงๆไม่ได้กลัว แต่ต้องทำตามสมควร

พ่อครูทำงานศาสนาด้วย ต้องรักษาสถานะ ศาสนาพุทธที่ดี ถ้าพลาดพลั้ง จะเสียหายเลย

มาเข้าปรมัตถธรรม ถึงอุเบกขา (ตอนนี้สไกป์ของเราสเก๊แล้ว จะแก้ไขทันหรือไม่ ก็ไม่รู้)

อุเบกขาในความรู้ทั่วไป คือความรู้สึกของคน ที่ท่านแบ่งไว้ ๓ ความรู้สึก คือ (สุข-ทุกข์-อุเบกขา) ซึ่งเป็นเรื่องปรมัตถธรรม หรือปรมัตถธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่า จิตอุเบกขา จะไม่รับรู้อะไร ไม่คิดอะไร อย่างนั้นเข้ารก เข้าพงเลย ไม่ใช่คุณธรรมของพุทธเลย

อุเบกขา จริงๆแล้วคือ ความไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่ใช้พลังที่จะผลักดัน ไปในทางไม่ดี ลึกๆคือ เฉยต่อการทำชั่ว ซึ่งในโอวาทปาติโมกข์ มี ๑.ไม่ทำบาปแล้ว (สัพพปาปัสส อกรณัง) ๒ .ทำแต่ดี(กุศล) คนจะมีกิเลสหรือไม่ ก็ทำกุศลได้ ยิ่งไม่มีกิเลส ยิ่งทำกุศลได้มากเพราะได้ ๓.ชำระกิเลสสิ้นเกลี้ยง จึงไม่มีพลังที่จะไป ทำชั่ว ทำอกุศลเลย หรือไม่ไปทำบาปเลย จึงมีแต่จิตที่เป็นพลังดี

พลังดี คือ พลัง ๔ (ปัญญา วิริยะ อนวัชชะ สังคหะ ) คือมีปัญญารู้ว่า อันไหนเป็นกุศล แล้วมีความเพียร ทำเพื่อผู้อื่นทั้งนั้นเลย พระอรหันต์มีอุเบกขา มีพลัง ๔ คือไม่สุขไม่ทุกข์ แต่มีวิมุติ เป็นพลังเต็มที่ มีอิทธิบาท (มีฉันทิทธิบาท) วิริยิทธิบาท จิตติทธิบาท วิมังสิทธิบาท) เป็นกำลัง ๔ ที่แท้จริง ไม่ใช่อยู่เฉย แต่มีการงานเต็มที่ ที่อนุเคราะห์ ช่วยโลก เต็มที่เลย

วรรณะ ท่านเว้นชั่วได้หมดถ้าเป็นอรหันต์ ถ้าเป็นโสดาบัน ก็เว้นชั่วในศีล ๕ ไปตามลำดับ ก็มีศีลเป็นเครื่องแสดงวรรณะ ว่ามีความสูงแค่ไหน

สุข คือมีฌาน คือการล้างนิวรณ์ เมื่อหมดนิวรณ์สมบูณร์ ก็คือผู้มีสุขถาวร ฌานคือ ไฟพิเศษ เผาราคะ โทสะ โมหะ

โภคะ คือผู้มีพรหมวิหาร ๔ (เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา) ซึ่งเป็นจิตสูง ระดับพรหม คือจิตสะอาดบริสุทธิ์ จึงมีเมตตาที่สะอาด มีจิตอยากช่วยคนอื่น อย่างไม่ต้องการ สิ่งแลกเปลี่ยน ทำเสร็จช่วยเสร็จ แล้วปล่อย ไม่ยึดเป็นบุญคุณ วางได้เป็นอุเบกขา

ผู้อุเบกขาได้คือผู้มีวิมุติ ซึ่งแบ่งในมโนปวิจาร ๑๘ แบ่งเป็นโลกียะ ๑๘ โลกุตระ ๑๘ ซึ่งเกิดจาก ความสุข-ทุกข์-อุเบกขา ทางทวาร ๖ (ตาหูจมูกลิ้นกายใจ) รวมเป็น ๑๘ เวทนา เราต้องอ่านอาการนี้ ให้เป็น แล้วกำจัด เหตุแห่งสุขทุกข์ ที่มาจาก การกระทบ ทางทวาร ๖ นั่นแหละ ก็ลดกิเลส ที่ไปร่วมปรุงแต่ง เมื่อเอากิเลสออกได้ ก็คือ เนกขัมมสิตเวทนา อีก ๑๘ เวทนา

เมื่อ เนกขัมมะ ก็มีสุข เพราะได้ลดกิเลส แต่ เคหสิตะ คือสุขเมื่อได้สมใจกิเลส ส่วนทุกข์นั้น เมื่อเราลดกิเลส ก็ตามเห็น มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันไม่มีตัวตน แต่ทางโลกียดีใจ เพราะได้ลาภยศสรรเสริญ กาม มาเสพสม ก็เป็นปุถุชน แปลว่า คนกิเลสหนา กิเลสก็อ้วน ไม่ว่าโลภโกรธหรือเฉยๆ กิเลสก็อ้วน อยู่ตลอดเวลา

การเฉยๆอย่างโลกีย์ ก็คือพักยกแค่นั้น เมื่ออยากอีก ก็ไปหาทุกข์สุข ใส่ตัวอีก เมื่อเรารู้ว่า เราจะไปบำเรอ กิเลสที่มีหลักๆของ มิจฉาสังกัปปะ คือ กามกับพยาบาท ส่วนวิหิงสา คือกิเลสที่เบาบางลงไปแล้ว

เราต้องเรียนรู้สองแง่ ของ กามและพยาบาท มี ผลักกับดูด ผู้ใดรู้จักอาการ ก็ลดละได้ ก็มี เรียกว่าเนกขัมมะ จะไม่เป็นกลางได้ ก็อุเบกขา

การโทมนัสอุเบกขาในขั้นต้น ที่ลดละได้ ก็ทุกข์อยู่ เช่นคนมีกาม ตอนแรกก็ต้องลำบาก เคร่งคุมอยู่ ยังเป็นอัตตกิลมถา ยังไม่ชำนาญ ได้ฌาน ๑ หรือได้ฌาน ๒ ก็มีปีติ แต่ก็รู้วิตก วิจาร รู้การทำกิเลสลดได้ แต่ก็ยังไม่เป็นอัตโนมัติ ยังต้องควบคุมดูแล ก็ต้องลำบาก แต่ก็ได้ผล ก็มีปีติซ้อน เหมือนคนหัดขับ จักรยานใหม่ๆ ดีใจที่ขึ้นจักรยานได้ แต่เดี๋ยว ก็ล้มโครม ก็ต้องทุกข์อยู่

จนกว่าจะลดได้ชำนาญ มีปีติ เราต้องไม่ไปยึดปีติ ว่าจะต้องได้อุพเพงคาปีติ เราให้เป็นแค่ ผรณาปีติ ไม่ต้องรุนแรง ให้สงบรำงับ ให้พอดีสำหรับตนเอง จนเข้าฌานที่ ๓ ก็มีสุขเป็น วูปสโมสุโข ไม่ได้บำเรอกิเลส สุขสงบกับ สุขบำเรอกิเลส ต่างกัน หรือเคหสิตอุเบกขา นั้นเฉย แบบไทยเฉย ไม่เอาถ่าน ไม่รู้ดีชั่ว ไม่เข้าข้างใคร ปล่อยให้คนชั่วรุก แล้วก็แพ้คนชั่ว เพราะไทยเฉยแบบมิจฉาทิฏฐิ

ถ้าทำ เนกขัมสิตอุเบกขา คือไม่โลภไม่โกรธ และมีพลัง ๔ ก็ทำงาน อย่างประมาณ เป็นสัปปบุรุษ มีสัปปุริสธรรม ๗ แล้วทำงานอย่างเหมาะสม ทำงานอย่างเข้าข้างคนดี จะมีมหาปเทศ ทำงานเป็นประโยชน์ช่วยโลก อย่างแท้จริงเลย

สรุปแล้ว อุเบกขาคือคุณธรรมวิเศษ แต่ถ้าเป็นโลกีย์ ก็แค่ธรรมชาติพักยก ต้องเข้าใจให้ได้ และปฏิบัติให้ตรง จะได้ตามอนุสาสนีปาฏิหาริย์ คนอุเบกขาคือ ไม่โลภไม่โกรธไม่หลง ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่มีส่วนปลาย หรืออันตาไปข้างไหนเลย นี่คือจิตอุเบกขา มีคุณค่าสุดยอด มีจิตบริสุทธิ์ มีพรหมวิหาร เป็นผู้สร้างสรรไม่อยู่เฉย นี่คือจิตพระเจ้า ถ้าใครทำได้ คือเป็น พระบุตรแท้ๆ ทางวิญญาณ เป็นลูกแท้ๆของพระเจ้า เป็น ดีเอ็นเอ เดียวกับ พระเจ้าเลย ทำจิตเช่นนี้ เราจะเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า สามารถเป็นได้ทุกคน ถ้าเข้าใจจริงๆ

การปฏิบัติธรรมแล้วจะช่วยโลก ถ้าเข้าใจไม่ถูก จะหนีสังคม ไม่มีประโยชน์ต่อสังคม บ้านเมืองพังด้วย ขอให้สติผู้เป็นไทยเฉย อย่าเกิดมา แล้วอาศัยประเทศ อาศัยโลก แต่ก็ไม่ช่วยชาติ ไม่ช่วยโลก มันจะพังก็พังไป บ้านเมือง ไม่ใช่ของข้าคนเดียว อันนี้คิดผิด

ผู้ใดได้ฟังเอาไปไตรตรอง และเข้าใจแล้วก็อย่าช้า บ้านเมืองไทย กำลังบรรลัย ให้จับไม้ จับมือ กันให้ดี ไม่ได้ชี้ว่าใครผิดใครถูก แต่ให้เข้าข้าง ผู้ทำถูกต้องตามธรรม ใช้ปัญญาตัดสิน

สังคมที่มีความฉลาดพอสมควรแล้ว ส่วนใหญ่ จะฉลาดเฉโก (มีกิเลส) แต่ไม่ฉลาด อย่างปัญญา (คือไม่มีกิเลส) คนที่ฉลาดทุกยุคสมัย ถ้าบ้านเมือง มีผู้ที่เข้าใจ อุเบกขาผิด คนฉลาดเฉโกจะชนะ ครองเมือง เพราะคนที่เข้าใจถูก เรื่องอุเบกขา หรือ ไม่ใช่คนใจดำ ไม่มีคุณธรรม มีกตัญญูกตเวที หรือไม่กลัวเสีย ลาภยศสรรเสริญ ก็จะช่วยบ้านเมือง ช่วยชาติแน่นอน เรื่องที่จะฉลาดรู้ว่า บ้านเมืองกำลังจะเสียหาย มันมองออกแน่ หรือ คนจะเข้าใจผิด ไปรวมกับคนชั่ว ก็ห้ามเขาไม่ได้ บังคับหมาไม่ให้กระดิกหาง บังคับโค ไม่ให้กินหญ้าไม่ได้หรอก

อ.กฤษฎา ส่งเสียงมาได้ ว่า ถ้าเราไม่เข้าใจอุเบกขา ก็ทำให้การเมืองแย่

....เสียงที่บ้านราชฯหลุดไปอีก พ่อครูว่า ตอนนี้ไม่รู้ว่า ออกอากาศใครอยู่ มันขลุกขลักน่าดูเลย

พ่อครูว่า ...อุเบกขาเป็นฐานนิพพาน คือไม่โลภไม่โกรธ ไม่มีนิวรณ์แล้วจริงๆ ซึ่งมีคุณสมบัติ ๕ ประการ คือ
๑. ปริสุทธา (บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนิวรณ์ ๕) เพราะไม่มีโลภ-โกรธ คือไม่สุขไม่ทุกข์
๒. ปริโยทาตา (ผุดผ่องขาวรอบแข็งแรง แม้ผัสสะกระแทก) มันจะประกอบการงาน อย่างไร จิตก็สะอาด ขาวรอบอยู่ แม้สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับใคร จิตก็บริสุทธิ์
๓. มุทุ (รู้แววไว อ่อน-ง่ายต่อการดัด ปรับปรุงให้เจริญ) จิตจะมีปณิหิตตัง มีจิตตั้งใจ ทำกุศลง่าย แม้จะล้างกิเลสก็ง่าย หรือไม่มีกิเลสแล้ว จะปรับจิตก็ง่าย มุทุภูเต คือจิตหัวอ่อน จะให้ไปทำอะไรง่าย ไม่ใช่จิตกระด้างดื้อดึง หรือแข็ง แต่ไม่อ่อนแอ อ่อนไหว เหมาะสมทำการงาน
๔. กัมมัญญา (สละสลวย ควรแก่การงาน อันไร้อคติ) มีการงานงานอย่างดี ประกอบด้วย "อัญญา" คือยอดปัญญาโลกุตระ  เมื่อทำงานที่มีปัญญาตัดสิน มีสัปปุริสธรรม กับมหาปเทส ๔ ดีแล้ว ถึงอย่างไร จิตก็ไม่ขุ่นมัว
๕. ปภัสสรา (จิตผ่องแผ้วแจ่มใสถาวรอยู่ แม้มีผัสสะ) แม้จะเกี่ยวข้องกับโลก ก็ผ่องแผ้ว  

อุเบกขาไม่ใช่เฉยๆไม่มีการงาน แต่มีการทำงาน อย่างเข้าใจสังคม จัดสัดส่วน ตามสัปปุริสธรรม และมหาปเทส ๔ นี่คือ คุณสมบัติของ ฐานนิพพาน คืออุเบกขา คือฌาน ๔

ก็ทำไปตามฐาน ตั้งแต่โสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ ก็จะมีอุเบกขาไปตลอด ซึ่งจะมีอรูปฌาน มาต่อ

ฌานของฤาษี ไปนั่งดับจิตเฉย แต่อยู่ภวังค์ในภพ ซึ่งเขามีรูปฌาน ก็ทำให้จิต ไม่นึกไม่คิด ถ้าใครทำจิตให้นิ่ง ก็ใช้วิธีสะกดคือกสิณ เป็นเครื่องล่อ ให้อย่าคิดอย่านึกอะไร จะเป็น วัตถุข้างนอก เพ่ง แล้วก็จำไว้ในจิต เพ่งต่ออีก เรียกอุคหนิมิต จนมันเฉย มันทำตามสั่ง ไม่วอกแวกมีนิวรณ์ ก็ชัดเจนทำชำนาญเก่ง ปีแล้วปีเล่า ไม่มีจบ

แต่ของพระพุทธเจ้ากลางอุเบกขานั้นถาวร ไม่ต้องไปนั่งเข้าภวังค์ แต่เปิดตาทำ มีอุเบกขาได้ด้วย
              (ตอนนี้สไกป์ได้แล้ว) 

อ.กฤษฎา ว่า อยากให้พ่อครูเชื่อมโยงอุเบกขา การที่จะแสดงธรรมมาถึง วจีสังขารนั้น อุเบกขา เข้าไปอยู่ ในขั้นตอนไหน ของสังกัปปะ ๗

พ่อครูว่า..ให้เรียนรู้ อาการของกิเลสในใจ ต้องอ่านให้เจอ ให้รู้ในอาการกาม หรือพยาบาท แล้วเราก็กำจัด ปหานกิเลสตัวนั้น เมื่อมันมีกามหรือพยาบาท ก็ไม่เฉย พอเราสามารถ กำจัดได้ ละหน่ายได้ จนมันดับ เรียกว่า มันไม่มีฤทธิ์ กิเลสตัวไหน ที่จับได้ เรียกว่า "สักกายะ"

ถ้าดับจนมันไม่เหลือ จนดับถึงอาสวะออกได้ มันก็ไม่มีกิเลสตัวนี้ เรียกว่า หมดฤทธิ์ ที่จะให้เรา ผลักหรือดูด เราก็ไม่สุขไม่ทุกข์ นี่คืออุเบกขา คือเฉยเพราะกิเลสมันตาย

คำว่าวางเฉยต่อกิเลสนี้ ใช้คำว่า "สังขารุเปกขาญาณ" คือวางเฉยต่อสังขาร ซึ่งสังขารคือ ไม่ใช่อยู่เฉยๆ แต่คือการทำงานปรุงแต่ง แต่ตอนนี้ เรากำจัดกิเลสได้ ถึงอุเบกขา จิตเราอยู่กับ การปรุงแต่งของโลกหรือเราจะใช้ จิตเราปรุงแต่ง แต่เมื่อไม่มีเหตุแห่ง อกุศล ก็มีแต่การปรุงแต่ง อย่างอุเบกขา เราสัมพันธ์กับสังคม มีผัสสะของโลกกระทบเรา เราจะเฉย ต่อการกระทบไหม ถ้าไม่เฉยกิเลสก็ขึ้น แต่ถ้าเฉย ไม่มีกิเลสขึ้น เราก็สามารถ ทำงานกับสังคมไป อย่างมีสังขารุเปกขาญาณ

              อธิบายโสฬสญาณ
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณจำแนกรู้รูป-รู้นาม และ นามธรรมก็เปลี่ยนเป็น “รูป” ให้ถูกจับมารู้อีกที . . . คือจิตเรากำหนดรู้ แยกแยะกิเลสได้ ว่าตัวนี้คือ อกุศลเหตุ คือกิเลส และก็กำจัดมันได้ เราจะรู้ไตรลักษณ์
๒. ปัจจยปริคคหญาณ ญาณรู้ปัจจัยของการก่อเหตุ ให้เกิดเป็นปัจจัย ของอะไรๆ ตามมา ให้เกิดเวทนาอีก .
๓. สัมมสนญาณ ญาณรู้เห็นรูป-นามของกิเลสตัณหา ซึ่งยังวนๆ อยู่อย่าง เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ไม่เที่ยง.. คือรู้ไตรลักษณ์ของกิเลสได้ แล้วกิเลสก็เกิด และก็ตั้งอยู่ และดับไป
๔. (๑)อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิด- ความเสื่อมไปของกิเลส ของชาติ เวทนาสุขทุกข์ต่างๆ มันเริ่มมีญาณปัญญา เห็นว่าสังขารในโลกนี้ เกิดขึ้นตั้งอยู่ และก็ดับไป ทุกอย่างมันก็สูญก็หายไป ทุกอย่างต้องพรากจาก ไปสู่ความไม่มี
๕. (๒)ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความสลายไป ของสังขารธรรม - ตัณหาปรุงแต่งทั้งหลาย เราบังคับ ให้มันเที่ยงไม่ได้ ให้มันนิรันดรไม่ได้ มันต้องเสื่อมไป ไม่ว่าชั่ว-ดี หรือถูก-ผิด ก็เสื่อมทั้งนั้น ถ้าเราไปยึด ว่ามันต้องอยู่ ก็คืออุปาทาน เราต้อง พิจารณาเห็นความจริง ถ้าเราไปยึด ก็เป็นภัย
๖. (๓)ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันเพ่งเห็น กิเลสสังขาร เป็นภัยอันน่ากลัว.. เพราะล้วนแต่ ต้องสลายไป ก็ต้องพยายาม ลดละล้างจริงๆเลย
๗. (๔)อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ . ต่อเนื่องมาจาก การเห็นภัย มันไม่ใช่คุณ เป็นภัยแก่ตน เป็นโทษแก่ผู้อื่นอีก
๘. (๕)นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณเห็นความน่าเบื่อ-หน่ายในกิเลส เพราะสำนึก เห็นทั้งโทษและภัย คือปัญญาที่จะเกิด จะมีภาวะจิตเกิดจริง จะฉลาดรู้ว่าตนยึดถือ จะต้องได้ ต้องมี ต้องเป็น เราโง่จริงๆเลย  
๙. (๖)มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณรู้เห็นการเปลื้องปล่อยไปเสียจากโทษ-ภัย เหล่านั้น (อตัมมยตา) ทำอย่างไม่กดข่ม มันจะวาง อย่างมีปัญญา คือเมื่อมีไฟราคะ-โทสะ แล้วเรา ก็มีไฟฌาน ที่เหนือชั้นกว่า ไฟราคะ-โทสะ เป็นอุณหธาตุ เป็นพลังงานที่มีฤทธิ์ สลายกิเลส เราทำตามขั้นตอนของ จรณะ ๑๕ จะเกิดฌาน แล้วเราก็รักษาผล จากการทำ สังวรปธาน ปหานปธาน ภาวนาปธาน จนถึงอนุรักขนาปธาน ตั้งแต่ ปุญญาภิสังขาร จนได้ อปุญญาภิสังขาร ก็จะสั่งสมผลของ อเนญชาภิสังขาร
๑๐. (๗)ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณพิจารณาทบทวนถึง . การปฏิบัติ ที่ปลดปล่อยได้ ก็ทำซ้ำอีก จนสำเร็จยิ่งขึ้น . คือไม่เอาทุกข์ ไม่เอาสุข ไม่เอากิเลสแล้ว เป็นฌานของ พระโสดาบัน
๑๑. (๘)สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไป โดยความเป็นกลาง วางเฉยต่อสังขาร ปรุงแต่งทั้งหลาย ไม่ว่าเราจะปรุงแต่งช่วยผู้อื่น หรือกระทบสัมผัส กับสังขารโลก จิตเราก็มีธาตุ อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา เราก็มีธาตุ ที่เที่ยงแท้ สถิตเสถียร เป็นพลังงานบวก (ศักย์) ที่มีพลังงานลบ (จลน์)
๑๒. (๙)สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ ญาณอันเป็นไป โดยอนุโลม ต่อชาวโลก ต่อสมมุติสัจจะ ทั้งหลาย โดยใช้ สัปปุริสธรรม ๗. ที่รู้จักประมาณ สัดส่วนต่างๆ  
๑๓. โคตรภูญาณ ญาณรู้หัวต่อ ตัดโคตรขึ้นสู่อาริยภูมิ จากปุถุชน เป็นโสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์ คือเปลี่ยนเชื้อ เปลี่ยนพันธุ์ เปลี่ยนโคตร สู่อริยะโครตร จากต่ำไปหาสูง พอไปถึงญาณ เราก็รู้ว่า เราเป็นโคตรไหน จิตก็เป็นจริง จึงมีทั้งโคตรภูญาณ และโคตรภูจิต
๑๔. มัคคญาณ ญาณรู้ภาวะของอริยมรรค แต่ละขั้นๆ
๑๕. ผลญาณ ญาณรู้ผลสำเร็จ แห่งการเป็นพระอาริยะ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ทบทวนตรวจสอบ มรรคผล และบริบทแห่ง ความสำเร็จ ทุกอย่าง รู้รอบ ซ้ำแล้วซ้ำอีก มากขึ้นๆ รู้รวมหมดเลย

ศาสนาพุทธคือศาสนาแห่งพุทธ คือผู้ตื่นรู้ ไม่ใช่ศาสนาโลกันต์คือ หนีโลก

สรุปว่า วันนี้มีเรื่องของสังคมไทยที่มี "ไทยเฉย" ถ้าขืนปล่อย ให้ไทยเฉย มีมากขึ้น ประเทศไทย ก็บรรลัยแน่นอน ขอให้สติแก่ไทยเฉย เปลี่ยนมาเป็น กตัญญูต่อแผ่นดิน ช่วยเหลือสังคม ที่เดือดร้อนบ้างเถอะ

อ.กฤษฎาสรุป..ประเด็นวันนี้ คืออุเบกขาที่แท้จริง อย่างโลกๆ เขาวางเฉย อย่างไม่รู้ไม่ชี้ แต่ว่าสัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์แห่ง พุทธศาสนา อยู่ในช่วง วันวิสาขบูชา ที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน เราควรรำลึก เฉลิมฉลอง โดยการเข้าใจอุเบกขา ให้ชัดเจน ว่าไม่ใช่เฉยอย่างเดียว แต่ต้องเข้าใจ คุณสมบัติ อุเบกขาให้ครบถ้วน แล้วปฏิบัติ อุเบกขา ให้ถูกตรง .

.............จบ
             

 
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานราชธานีอโศก