560521_รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อครู _
เรื่อง อาหาร ๔ ที่เป็นไปเพื่อสัญญาเวทยิตนิโรธ ตอน 3


      พ่อครูจัดรายการที่บ้านราชฯ ....

ตอนนี้บรรยายเกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท ในพระไตรฯ ล. ๑๖ เป็นหลัก

ความมีนั้น เมื่อเรายังไม่ปรินิพพาน ที่จะจบรอบหมด เหมือนพระอรหันต์ และ พระพุทธเจ้า ที่ท่านไม่ตั้งจิต ต่อภพภูมิแล้ว ก็จะตายสูญ แต่ในความเห็น ของเถรวาทนั้น จะไม่เข้าใจจุดนี้

อย่างโสดาบัน ก็มีอรหัตผลในโสดาบัน ก็เป็นที่สุด (อันตะ) ของโสดาบันได้ ซึ่งเป็นนัย ละเอียด

ผู้ที่ยังไม่จบภพภูมิ ยังไม่ปรินิพพาน เป็นปริโยสาน (จบรอบไม่เหลืออะไรอีก) ผู้ที่บริสุทธิ์แล้ว จะมาต่อภพภูมิ ต่อไปได้ ซึ่งพ่อครู ก็นำทิฏฐินี้ มาเปิดเผย ในท่ามกลาง ความเชื่อที่ว่า อรหันต์ตายแล้วสูญ

พระธรรมกถึกคือ ผู้ที่รู้จักความเกิดความดับ ของจิตวิญญาณ และทำความเกิดดับ ของจิตวิญญาณแล้ว

[๔๖] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก

คือผู้บรรลุธรรมในปัจจุบันขณะ ในขณะยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่ตาย ก็เรียกว่ามี สอุปาทิเสสนิพพาน คือผู้ที่มีธาตุจิต ที่เข้าสู่นิพพานธาตุ เป็นลำดับ แต่ยังมีส่วนเหลือ

อนุปาทิเสสนิพพาน คืออรหันต์ตาย อย่างไม่เหลือขันธ์ ๕ เลย คืออนุปาทิเสสนิพพาน (แปลอุปาทิว่า ขันธ์ ๕)

ถ้าแปล อุปาทิว่า คือกิเลส ก็คือ พระโสดาบัน ที่ยังต้องทำการ กำจัดกิเลสต่อ เป็นสกิทาฯ อนาคาฯ  ต่อไปจนเป็นอรหันต์

อรหันต์ที่ท่านตั้งจิตต่อ ปณิหิตตัง คือยังไม่ดับ รูปนามขันธ์ ๕ ท่านก็จะต่อภพภูมิต่อ เป็นโพธิสัตวภูมิต่อไป อย่างเถรวาท ไม่เข้าใจจุดนี้ หาว่าโพธิสัตว์คือ ผู้จะบรรลุ เป็นอาริยะไม่ได้ ห้ามบรรลุธรรม แม้แต่โสดาบัน พอจะเป็นพระพุทธเจ้า ก็ปุ๊ปเลย ไม่ได้ลาดลุ่ม เหมือนฝั่งทะเล ตัดลัดเลย จากปุถุชน เป็นพระพุทธเจ้าเลย

                [๔๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกกัสสป ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า
ก็ข้าพเจ้าไม่ประสงค์ จะถามท่านพระโคดมมากนัก
ภ. ดูกรกัสสป ท่านจงถามปัญหา ตามที่ท่านจำนงไว้เถิด ฯ
. ข้าแต่ท่านพระโคดม ความทุกข์ตนกระทำเองหรือ
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
. ความทุกข์ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
. ความทุกข์ตนกระทำเองด้วย ผู้อื่นกระทำให้ด้วยหรือ ท่านโคดม
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
. ความทุกข์บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้หรือ
ท่านพระโคดม ฯ
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป ฯ
. ความทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม
ภ. ความทุกข์ไม่มีหามิได้ ความทุกข์มีอยู่ กัสสป ฯ
. ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์
ภ. เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นความทุกข์อยู่ กัสสป ฯ
. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ความทุกข์ตนกระทำเองหรือ  ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ความทุกข์ ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ความทุกข์ เกิดขึ้น เพราะอาศัยการที่ มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ความทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า ความทุกข์ไม่มีหามิได้ ความทุกข์มีอยู่ กัสสป เมื่อข้าพเจ้า ถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์ ท่านตรัสว่า เราย่อมไม่รู้ไม่เห็น ความทุกข์ หามิได้ เรารู้เห็นความทุกข์อยู่ กัสสป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค จงตรัสบอกความทุกข์ แก่ข้าพเจ้า และขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงความทุกข์ แก่ข้าพเจ้าด้วย
           [๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป เมื่อบุคคลถืออยู่ว่า นั่นผู้กระทำ นั่นผู้เสวย[ทุกข์] เราจะกล่าวว่า ทุกข์ตนกระทำเอง ดังนี้ อันนี้เป็น สัสสตทิฐิไป
           เมื่อบุคคลถูกเวทนาทิ่มแทง [รู้] อยู่ว่า ผู้กระทำคนหนึ่ง ผู้เสวยเป็นอีกคนหนึ่ง เราจะกล่าวว่า ทุกข์ผู้อื่นกระทำให้ ดังนี้ อันนี้เป็น อุจเฉททิฐิไป
               ดูกรกัสสป ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ ส่วนสุดทั้งสอง นั้นว่าเพราะ อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ความเกิดขึ้น แห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชา นั่นแหละดับ ด้วยสำรอก โดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับ แห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
          
เมื่อวานมี sms ของ 8705 มาว่า 0888705xxx  เวลาเดินไปบนพื้นหินขรุขระ เกิดทุกขเวทนา หากเดินไปบนพื้นนุ่มนิ่ม เกิดสุขเวทนา แต่ถ้าเดินไปบนพื้น ที่พอดี ไม่แข็ง ไม่นุ่ม จะเรียก อทุกขมสุขเวทนา ซึ่งเวทนาทั้ง 3 นี้ มิได้เกิดเพราะ อุปาทาน และเพราะยังเกิดดับ สลับไปมาด้วย หรือไม่เที่ยง.. จึงเรียกเวทนา ทั้ง 3 นี้รวมกันว่า ทุกขสัจจ์! ส่วนเมื่อเกิด สุขเวทนา แล้วจิตยินดี (เพราะอุปาทาน)..จะเรียกว่า โสมนัสเวทนา แต่ถ้าเกิดทุกขเวทนา แล้วจิตยินร้าย (เพราะอุปาทาน).. จะเรียกว่า โทมนัสเวทนา แต่ถ้าไม่ว่า.. จะเกิดสุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ก็ตาม.. ก็ยังรักษาจิต ไม่ให้ยินดียินร้ายอยู่ได้ หรือคือวางเฉยได้..จะเรียกว่า อุเบกขา เวทนา! ซึ่งโดยวิธีนี้ ยังแบ่งเป็น 2 คือ 1.ถ้าอุเบกขา โดยปราศจากอุปาทาน.. จะเรียกว่า วิปัสนา! หรือถึงนิโรธสัจจ์ได้ 2.แต่ถ้าอุเบกขา โดยมีอุปาทาน ประกอบด้วย.. จะเรียกว่า สมถะ! หรือนับว่า อยู่ในทุกขสัจจ์ ยังไม่ถึงนิโรธสัจจ์! ซึ่งที่เราอุตส่า อธิบายมานี้ เพราะเห็นพธรโง่ ! เพราะพธร ยังมีอุปาทาน ในอุเบกขาอยู่.. จึงต้องวิ่งวุ่น ไปตามกะแส การเมือง ไม่เคยอยู่สุข!

พ่อครูวิเคราะห์วิจัยต่อ sms ว่า พ่อครูไม่เคยว่าเขาโง่ทุกที แต่เขาก็ข่มเอาๆ ว่าพ่อครู โง่ทุกที ก็เริ่มต้นที่ท่านว่า ถ้าเดินไปบนพื้น ที่พอดี ไม่แข็งไม่นุ่ม จะเรียก อทุกขมสุข เวทนา ซึ่งเวทนาทั้ง 3 นี้ มิได้เกิดเพราะอุปาทาน และเพราะยังเกิดดับ สลับไปมาด้วย หรือไม่เที่ยง.. จึงเรียกเวทนาทั้ง 3 นี้ รวมกันว่า ทุกขสัจจ์!

ซึ่งพ่อครูก็ว่า ทุกขสัจจ์นั้น ไม่ใช่เรื่องของกาย แต่เป็นเรื่องของจิต ที่ไปเดินบนหิน ขรุขระ นั้นคือกาย แต่ถ้าไปแวบที่ใจ นั้นก็เป็นอุปาทาน ซึ่ง sms ก็ว่า ยินดียินร้าย เพราะอุปาทาน ก็เข้าท่า แต่ว่าที่ว่า เดินบนพื้นแล้วสุขหรือทุกข์ นั้นไม่ใช่ทุกข์สัจจ์ เพราะมันเป็น ทุกข์สามัญ ใครก็เป็นเช่นกันหมด จึงไม่ใช่ตัวพิจารณา แต่ต้องดูที่อุปาทาน ต้องแยกที่ อุปาทาน ทุกขสัจจ์อยู่ที่ ยินดียินร้าย ไม่ใช่ว่า ที่อ่อนหรือแข็ง อย่างนั้นมัน กายิกทุกข์

ถ้าได้สัมผัสอย่างที่ว่า ไม่ใช่ไปปิดตานั่งสมาธิ อย่างเดียว แต่ว่าต้องมีผัสสะ อย่างที่ sms มาอธิบายนี่แหละ และกายิกทุกข์ เป็นทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ เป็นธรรมชาติ พระพุทธเจ้า หรือปุถุชน ก็เป็นเช่นกัน แต่ว่าเมื่อมีผัสสะ ก็มีทุกข์หรือสุข แต่ถ้าไม่มีผัสสะ ก็ไม่มีทุกข์สุข

เมื่อมีผัสสะจะเกิดเวทนา เกิดวิญญาณ เกิดเวทนา สุข-ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข เราต้อง พิจารณาที่จิต แต่มีผัสสะอยู่กับของจริง เป็นเวทนาสดๆ การเหยียบหิน นั้นเลี่ยงไม่ได้ แต่ว่าเราไปชอบหรือชัง นั่นคือ สิ่งที่ต้องพิจารณา บางคน ชอบเดิน ขรุขระก็มี มันอยู่ที่การยึด แต่ถ้าเดินเหยียบหิน โดยสามัญ มันก็ต้องลำบากกว่า แน่นอน แต่ถ้าคน ไปชอบเจ็บๆปวดๆ อย่างนั้นก็คือ มาซูคิส เช่นคุณกินพริกเผ็ด ชอบซดน้ำร้อนๆ ให้คนเหยียบหนักๆ ถ้าเราเป็นคนทำ แล้วเราชอบ ก็คือ ซาดิสม์ แต่ถ้าเราเป็นคนถูกทำ แล้วชอบ ก็คือ มาซูคิสม์

มันจะชอบหรือไม่ชอบ จะทุกข์หรือสุข มันอยู่ที่อุปาทาน อย่างเช่น คุณชอบหินขรุขระ หรือ ชอบซดน้ำร้อน อย่างคนจีน ก็ซดแล้วบอกมีสุขๆ แต่เราไปซดดูสิ ก็ปากพอง และจะทุกข์ด้วย บางคนลุยไฟได้ เพราะมีพลังจิตมีจริง ทนได้จริง แต่ไม่ใช่การลดกิเลส ยิ่งเป็น อุปาทานซ้อน ซวยไปใหญ่เลย พระพุทธเจ้า จึงไม่เอาอิทธิปาฏหาริย์ เรื่องเวทนา ต้องมีผัสสะ

พระพุทธเจ้าท่านให้ศึกษาตามลำดับ อย่างเบื้องต้น มีผัสสะเบื้องต้นคือ กามภพ ซึ่งที่ต่ำที่สุด ของกามภพ คืออบายภพ เราต้องตั้งศีล ให้เวรมณี คือไม่ให้มันเสพ คุณจะเห็นจิตดิ้น เป็นสัตว์นรก หรือเรียกว่า ผีหรือมาร มันไม่มีตัวตนรูปร่าง แต่เป็น อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ ไม่ใช่เป็นตัวเป็นตน เป็นรูปร่าง อย่างนั้นเรียนรู้ไม่ได้ ต้องมา เรียนรู้จิต ด้วยอาการ ลิงค นิมิต อุเทศ ถ้าผู้ใด ไม่สามารถมี นามรูปปริจเฉทญาณ ด้วยอาการ ลิงค นิมิต อุเทศ แล้วแยกแยะ ในขณะกระทบกายนอก เหยียบหิน ก็จะเป็น เวทนา กำหนดรู้จากข้างนอก เรียกว่ากายนอก ซึ่งถูกรู้ แล้วก็รับรู้ไปถึง การรู้สึกข้างใน และก็เป็นอารมณ์ของเรา คือเวทนา ก็ต่อเนื่อง จากภายนอก มันก็จะปรุงแต่ง ทันทีเลย คือการสังขาร ซึ่งเป็นตัวเดียวกับเวทนา ก็ปรุงเลย ออกมาเป็นเวทนาสุข-ทุกข์

เวลาปฏิบัติต้องมีผัสสะ และจะมีอายตนะ และจะมีนามรูป (คือองค์รวมทั้งหมด) มันปรุงแต่ง สังขารกัน ซึ่งจะมีสัญญา ที่กำหนดรู้ นามธรรมเข้าไป เมื่อกำหนดรู้ ในสุขในทุกข์ ก็คือ มีญาณรู้นาม-รูป

รูปคือสิ่งที่ถูกรู้โดยนามธรรม เช่น ตากระทบรูป เรียกสิ่งที่ถูกรู้ว่ารูป หรือเสียงก็คือ รูปที่ถูกรู้ มันปรากฏให้เราอ่านได้ แล้วเราก็อ่านมัน มันถูกเรารู้ จากรูปธรรม เนื่องมาหา นามธรรม เราก็อ่านอาการ และมีเครื่องหมาย คือนิมิต บางคนต้องกำหนดลีลา มันไม่มี เส้นสาย สีเสียง มันอสรีรัง และอุเทศ ก็คือสิ่งที่อธิบายออกมา มีความแตกต่างกัน เรียกว่า ลิงค

วิจัยเวทนา ได้ว่า มีตัณหาที่ทำตามอุปาทาน ว่าอย่างนี้ชอบ อย่างนี้ไม่ชอบ อย่างนี้น่าได้ น่ามีน่าเป็น อย่างนี้ไม่น่ามี ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ถ้าไม่ได้สมใจก็ทุกข์ อนิฎฐารมณ์ ชอบก็เป็น อิฎฐารมณ์ สมใจก็เป็นเทวดา ไม่สมใจก็เป็นสัตว์นรก เรียกว่า โอปปาติกสัตว์ สัตว์ทางใจ

ตายไปจะไปตกนรก เป็นตัวเป็นตนก็ได้ เพราะคุณมีอุปาทานอยู่ เหมือนคุณนอนฝัน อย่างนั้นแหละ และตกนรกจริง จะนานกว่าฝันด้วย ตายไปจะขึ้นสวรรค์นั้น น้อยกว่าน้อย นอกนั้น ตกนรกซะมากกว่า

ในการเรียนรู้ของจริงสดๆ ต้องตัดนรกสวรรค์ ตอนเป็นๆ ถ้าไม่ตัดตอนเป็น ตอนตาย ก็มีนรกสวรรค์ ได้อย่างนั้น การปฏิบัติ เราไม่ต้อง คิดถึงตอนตายไป เพราะเป็นผลของ ปัจจุบันกับอดีต

พระพุทธเจ้า บริภาษภิกษุสาติว่า อย่าไปศึกษาวิญญาณ ตอนตายไปแล้ว ให้ศึกษา ตอนเป็นๆนี้ ถ้าเข้าใจไม่เพียงพอ ก็

พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อม รู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า  วิญญาณนี้ นั่นแหละ  ย่อมท่องเที่ยว  แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?   สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?  สาติภิกษุ ทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบาก ของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่ว ในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ ที่เราแสดงแก่ใครเล่า ดูกรโมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัย ประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้ว โดยปริยายเป็นอเนก มิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เรา ด้วยขุดตนเสียด้วย จะประสพบาป มิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิ ที่ตนถือชั่วแล้ว … ฯลฯ

ผู้ที่นั่งสมาธิ ไม่ค่อยปฏิบัติอย่าง วิปัสสนาวิธีชัดเจน อย่างมรรคองค์ ๘ สติปัฏฐาน ๔ ก็ไม่รู้จัก กายในกาย เวทนาในเวทนา ๑๐๘ (มโนปวิจาร ที่ท่านแปลว่า ความนึกหน่วง แต่ที่จริงคือ สภาวะของจิตสังขาร ในขณะมีผัสสะ ทางทวาร ๖ ที่แบ่งเป็น เคหสิตะ และ เนกขัมมะ) คือทำให้เกิด อุเบกขาลืมตา ไม่ใช่นั่งหลับตาฤาษี ไม่ได้ดูถูก การนั่งหลับตา แต่ก็ต้องพูด สิ่งที่เป็นหลัก

อย่างในบุคคล ๔ มีบุคคลที่ ไม่ต้องมีเจโตสมถะเลยก็ได้โลกุตระ พ้นทุกข์ บรรลุธรรมได้ แต่ถ้าจะแถม มีเจโตสมถะ ก็เป็นอุปการะ ก็สอน ก็แนะกันอยู่ แต่ก็ไม่ง่าย

                การจะรู้ในเวทนา ๑๐๘ ที่มี
               เวทนา ๒ คือ กายิกเวทนา-เจตสิกเวทนา คืออารมณ์ที่เกิดจากกาย-จิต
               เวทนา ๕ คือมีน้ำหนักของมัน คืออินทรีย์ คือ โสมนัส โทมนัส(ในใจ) และก็คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา ที่ต้องรู้น้ำหนัก ของเวทนาด้วย
               เวทนา ๖ ก็คือ การกระทบทวาร ๕ ส่วนทวาร ๖ มันเป็นเหตุปัจจัย แก่กันและกัน ถ้าไม่มีทวารที่ ๖ กระทบให้ตาย มันก็ไม่รู้เรื่อง อย่างอสัญญีสัตว์ ดับเวทนา ดับสัญญา ก็ไม่รู้เรื่องอะไร แม้แค่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ท่านก็ไม่ให้เอาเลย ถือว่าเป็นสัตว์ แม้จะเกือบพ้น อวิชชาสวะ ก็เป็นสัตตาวาส ๙
               ยิ่งหลงไปดับ ในอรูปฌานอย่างฤาษี ก็เป็นสัตว์ แต่ของพุทธนั้น บรรลุแล้ว จะเกิด จักษุ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
               เราต้องแยกมโนปวิจาร ๑๘ (จะเรียกว่า "นึกปรุง" ก็จะเข้าท่ากว่า นึกหน่วง) คือต้องแยก ระหว่าง เคหสิตเวทนา และ เนกขัมมสิตเวทนา ให้ออก

สรุป...ในเรื่องของผู้ที่จะรู้ทุกข์ แล้วไปรู้เหตุแห่งทุกข์ ต้องอ่านจิตว่า ทุกขเวทนา หรือ อารมณ์ทุกข์ ต้องมีญาณหยั่งรู้ เวทนาในเวทนา ซึ่งอาการของเวทนา ที่แบ่งออกเป็น ๑๐๘ ทำได้แล้ว ก็ต้องพากเพียร รักษาผล อนุรักขณาปธาน จนกระทั่ง อดีตและปัจจุบัน เป็นศูนย์ ให้มีเวทนาทั้ง ๓ กาละ คือ อดีตปัจจุบันเป็นศูนย์ เสมอ ก็จะมีอนาคต ที่กิเลสศูนย์ เสมอๆ เที่ยงแท้แน่นอน ไม่กลับกำเริบ

                ต่อไปเป็นการตอบประเด็น

  • ได้ข่าวว่าพ่อครูจะซื้อที่ดินที่อุบลฯ จะบริจาคทางไหน ดีที่สุด

ตอบ จะทำอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ทั้งนั้น แต่ต้องมีสิทธิ์บริจาคด้วย คือผู้ที่ต้องมา คบคุ้น มาวัด มาศึกษาอย่างน้อย ๗ ครั้ง เราถือว่า คนนอก ที่ไม่ได้คบคุ้นเราเลย เราไม่รับบริจาค แต่ก่อน ยังไม่มีโทรทัศน์ มีแต่เทป ต้องฟังเทป อย่างน้อย ๗๐ ม้วน อ่านหนังสืออโศก (เล่มโตหน่อย อ่านจริง) อย่างน้อย ๗ เล่ม เขาจะให้ ต้องแน่ใจว่า เป็นนาบุญ มาทำงานศาสนา ไม่ใช่ไปใช้ส่วนตัว ปู้ยี้ปู้ยำ อย่างนั้นไม่ใช่ คุณจะโอนเงินมา ก็เป็นจำนวน เรือนแสน แต่ก็ไม่รู้ว่าคุณจะเข้าข่าย ในการบริจาคหรือไม่ ของเรามีเงิน ๗ กองคือ
๑.กองสงฆ์ ๒.กองทุกข์ (ทุกๆอย่าง คือกองที่ลำบากลำบนมาก เป็นเงินกลางๆ) ๓.กองสุข (สุขศึกษาหรือสุขภาพ) กองสื่อ (สื่อสาร) กองกลาง กองศึก (ศึกษา) กองสาธ์ (คือสาธารณ คือใช้ทำงานข้างนอกอโศก ต้องเปิดให้คนนอก บริจาคได้)

  • ายแล้วเหลือวิญญาณ ยังเหลือสภาพแก่ได้ด้วยหรือไม่

ตอบ วิญญาณแก่ได้ คำว่าชราหรือแก่ แปลว่า เสื่อมไปจากสภาวะ เช่นคุณเป็นเทวดา คุณก็เสื่อม จากเทวดา จนหมดอายุเทวดา สุดท้าย เทวดาตายลงมา เป็นสัตว์นรก

  • ได้ไปล้างพิษที่เชียงใหม่กับคุณฟ้างาย (ค่ามะเร็งลดลง) แถมอธิบายธรรมะด้วย สอนลูกหลานอย่างไร ถึงมีธรรมะ และเป็นผู้ให้

ตอบ สอนตามพระพุทธเจ้า อย่างไรต้องตามฟัง

  • วิจิกิจฉา ในสังโยชน์ กับในนิวรณ์ ต่างกันอย่างไร

ตอบ ไม่ต่างกัน แต่วิจิกิจฉาในนิวรณ์ ต้องเป็นการสงสัย ในปรมัตถธรรม แต่ว่า เช่น สงสัยว่า คนนี้ทำไมรวย คนนี้กินข้าวกับอะไร จึงสวย ถ้าสงสัยในเรื่องโลกีย์ จะเป็น วิจิกิจฉา ที่ไม่ใช่ในทั้งสองอย่าง แต่ถ้าสงสัย ในปรมัตถธรรมนั่นคือ วิจิกิจฉา ในสังโยชน์กับนิวรณ์

  • คำว่าการติดอยู่หรือการจรไปนานๆ ก็ติดอยู่ทั้งนั้น ในพระไตรปิฎก แล้วตกลงว่าจะให้อยู่หรือจะให้ไป งงจัง

ตอบ โทษของการติดอยู่ก็มี ไปนานๆจรไปนานๆก็ติด หรืออยู่นานๆ ก็ติดเช่นกัน

  • อยากให้รายการสงครามสังคมฯ ให้มีในวันศุกร์อีก จะได้ถามตอบให้หายสงสัย

ตอบ แต่ก่อนก็มีรายการสงครามฯทั้งหมด แต่ตอนนี้ ก็เปลี่ยนไปตามกาละ

  • มีผู้หญิงบางคนตัดผมสั้น หน้าตาไม่สวย แต่ดันตัดผมสั้นอีก จะผิดสมมุติ ไปหรือไม่ เหมือนกับผู้ชาย ชอบไว้ผมยาว ดูๆเหมือน หัวมังกุท้ายมังการ หัวเป็นชาย กายเป็นหญิง ทำให้ถูก ไม่ได้หรือ เฮ้อกลุ้มใจจัง อโศกน่าจะมีมาตรฐาน การไว้ผม

ตอบ อโศกมีมาตรฐาน คือสั้นเข้าไว้ ไม่ว่าหญิงหรือชาย สุดท้าย ก็โกนเลย อโศกเรา จะตัดนั้น ผู้ชายจะสั้นกว่าผู้หญิง ดีไม่ดี ผู้หญิงบางคน ก็สั้นมาก ถ้าคุณไปติดสมมุติ จะทุกข์

  • คำว่าโง่เท่าที่ตัวเองฉลาด ฉลาดเท่าที่ตัวเองโง่ หมายความว่า

ตอบ มันมีทั้งฉลาดและโง่ในคน ขนาดพ่อคร ูก็ฉลาดเท่าที่มี และก็มีส่วนโง่ ที่ทำให้ เราไม่ฉลาด เราก็มีความฉลาด เท่าที่ตัวเองฉลาด เราก็โง่เท่าที่ตัวเองโง่ หรือมีบางคน นึกว่าฉลาด ก็ยังมีตัวโง่อยู่เลย พระอรหันต์ ก็ยังฉลาดและโง่ ที่ไม่รู้จักสมมุติ เราถือว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่รู้ทั้งหมด ในสมมุติสัจจะ ส่วนอรหันต์นั้นหมดโง่ ในปรมัตถธรรม เฉพาะของท่าน ท่านไม่รู้ของคนอื่นหรอก ส่วนสมมุติสัจจะ รู้มาก ยกให้พระพุทธเจ้า

  • ฟังธรรมแล้วหลับ ไม่ใช่เกิดจากความไม่เข้าใจ แต่ว่ายังทำไม่ได้ต่างหาก เลยเบื่อ ที่จะทำ รู้หมดแต่อดไม่ได้ ที่พ่อครูเทศน์ หนูฟังเป็นสิบๆ เที่ยวแล้ว

ตอบ ก็รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม รู้ไปก่อนก็จะเป็นไร ต้องฟังสดๆ นี่แหละ

  • การปฏิบัติธรรม คือการมาฝึก เพื่อขัดใจตน ใช่ไหม

ตอบ ใช่ มาเรียนรู้ความต้องการ โดยเฉพาะต้องการมาบำเรอตน ต้องการมาเป็น ของตน ให้มาศึกษาลดละ ไปตามลำดับ จนหมด ก็เป็นอรหันต์จ้อย

  • ถ้ารู้ว่าตนชอบสิ่งไหน แล้วเอาออกไป คือการเว้นขาด ใช่หรือไม่

ตอบ ใช่ เอาออก แล้วพยายาม อย่าไปหลงมาเป็นของเรา หรือเป็นเรา (โลภะ) หรือได้มา เสพรส (ราคะ) การเอาออก จะรู้ว่า ไม่มีแล้ว เราอยู่ได้หรือไม่ เรามาอยู่กับส่วนกลาง ก็ฝึกไม่ยึด เป็นของเรา เราช่วยกันสร้างให้มาก แล้วก็มาร่วมกัน เป็นส่วนกลาง ไม่สะสมเป็นของเรา ส่วนกลางจึงมีมาก เราไม่ขี้โลภ ไม่หามากมาย แต่ก็ยังเหลือ มารวมกันยิ่งมีมาก คือ เศรษฐศาสตร์บุญนิยม เราแก้ไขที่บุคคล ไม่แก้ที่วัตถุ เราจะออก กฏระเบียบอย่างไร คนก็หาวิธีโกงจนได้ ถ้าจิตใจลดโลภ จะไม่โกง และจะให้คนอื่นด้วย ถ้าพัฒนาประเทศ ถ้าไม่ลดกิเลส กู้ประเทศไม่ได้ ขอยืนยันเลย จะทำอย่างไร ให้ละกิเลสได้

  •   พ่อครูคิดเช่นไรกับคำนี้ ตราบใดที่สังฆมณฑล เป็นนักบวชยังปาราชิก และ ยังไม่สำนึกผิด ก็อย่างไปคิดถึงนักการเมือง ที่เลวทราม

ตอบ คนที่มีกิเลสเลวร้าย ว่า เราจะตั้งใจไม่ละเมิดในเมถุน (ศีล ๘ ) ก็ยังไปละเมิด ไม่สำนึกผิด ดังนั้น สังคมสงฆ์ ที่มีคนอย่างนี้ บริหารอยู่ ก็ไม่เจริญแน่

  • วิบากของคนที่ปล่อยข่าวลือ เลี่อยขากัน จะมีวิบากอย่างไรต่อไป ทำไมชีวิต ต้องเจอ ข่าวลือด้วย ทั้งที่ไม่เป็นจริง

ตอบ ไม่รู้มันไม่เดี่ยว มันมีองค์ประกอบมากเลย เป็นอจินไตย เป็นกรรมวิบาก

  • คนเก่าอยู่วัดบ้านโรงเรียน (บวร)มานาน แต่มาภายหลัง ก็ออกไปนอกวัด ได้แต่สัมภาษณ์ว่า ทำไมรู้ว่าดี แต่ทำไมออกไป มีเหตุผลต่างๆว่า หาเงินให้ลูก ผู้บริหาร เห็นคนใหม่ดีกว่า มีอคติ บางคนก็บอกว่า อยู่วัดนาน ก็สบายดีทุกอย่าง ไม่อยากติดสบาย บางคนบอกว่า อยากออกไปศึกษาข้างนอก บางคนบอกว่า ทำงานหนัก เวลาป่วยไม่มีใครดูดี พอไม่ทำ ก็หาว่าขี้เกียจ เลยออกไปข้างนอก

ตอบ เป็นข้อแก้ตัวของแต่ละคนทั้งนั้น ขอยืนยันว่า ที่คิดแต่ละคนๆ แต่ถ้าตั้งใจ ไม่ให้ข้อแก้ตัวเหล่านั้น ให้ตนเองออกได้ คนนั้นเจริญ ถ้าไม่อยู่กับมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี จะเจริญได้อย่างไร ถ้าจะหาข้อแก้ตัว จะหาได้อีก หลายหมื่นข้อ

  • การทำให้คนเกิด ได้บุญหรือได้บาป

ตอบ ได้บาป (คือกิเลส) ทำให้คนเกิด ก็เสริมกิเลส และยังมีภาระ เวรภัยอีกมากมาย พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนที่แต่งงานแล้วไม่มีลูก ก็เป็นกุศลแล้ว ป่วยการกล่าวถึง ผู้เป็นโสด และผู้ตั้งตนเป็นคนโสด คนเขาว่าเป็นบัณฑิต ส่วนคนโง่ ฝักใฝ่ในเมถุน ย่อมเศร้าหมอง (ตกนรก) นี่คือ คำสอนพระพุทธเจ้า ใครไม่เห็นด้วย ก็แย้งไป

  • ทำไมเวลาผู้ชายใช้ผู้หญิงยากๆ แต่ทำไมเวลาผู้หญิงใช้ผู้ชายง่ายๆ

ตอบ ผู้ชายก็มีปฏิภาณปัญญา ผู้หญิงไม่มีปฏิภาณปัญญามั้ง แต่ผู้ชายขี้หลีมั้ง เลยใช้ง่าย แต่ไม่รู้จริงๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น

  • สิกขมาตุอโศกเป็นอรหันต์ ระดับไหนคะ

ตอบ พ่อครูตอบแทนไม่ได้ ไม่รู้ การที่จะรู้ว่า ตนเป็นอรหันต์หรือไม่ ไม่ง่าย แม้รู้แทนกัน ก็ไม่ง่าย จะไปหยั่งรู้ใจคนอื่น ไม่ง่าย ขนาดพระสารีบุตร สอนลูกศิษย์อยู่ ลูกศิษย์ บรรลุอรหันต์ ก็ไม่รู้ ยังไปว่าลูกศิษย์ จนเพื่อนที่เป็นอรหันต์ บอกว่าอาจารย์ เขาบรรลุ อรหันต์แล้ว พ่อครูก็ยืนยันว่า การบรรลุธรรมเป็นได้จริง อย่างไม่งมงาย อย่างมีสิ่งรองรับ มาลดละ หน่ายคลาย ดับ นิโรธ โดยมีสิ่งยืนยัน คือเราอยู่กับโลก แต่กิเลสเราก็ดับ เพราะเรามีญาณ ๑๖ หรือมีวิชชา ๘ คุณจะรู้จริงๆ ในจิตเจตสิก รูปนิพพาน จะรู้ว่า อะไรควรดับ อะไรควรให้มีต่อไป

  • พ่อครูเคยบรรยายว่า เพราะจิตยังเป็นกรรมอยู่ จึงต้องเกิดเป็นหมา เพื่อชดใช้กรรม อยากเรียนถามว่า อาการของจิต เป็นเช่นไร จึงทำให้เกิดเป็นหมา แล้วเป็นจิตปัจจุบัน อย่างไร ขณะตาย

ตอบ..พ่อครูว่า ไม่เคยพูดเลย ว่าตายไปแล้ว จะไปเกิดเป็นอะไร มันเป็นเรื่องยากอธิบาย ถ้าเราฆ่าเขา ในชาตินี้ ชาติหน้าเขาจะมาฆ่าเรา ก็มีจริง แต่จะไปยืนยันว่า จะเป็นเช่นนี้ ตลอดไปไม่ได้ มันจะมีเหตุปัจจัย พออธิบายได้กลางๆ เท่านั้น ที่ตายไปใช้กรรม เป็นหมานั้น เอาตัวอย่างที่ อ.มั่นท่านพูดไว้ ก็เป็นเรื่องของท่าน

  • อาการของจิตที่ไม่มีชาติ หรือไม่มีความเกิด หรือไม่เกิดอีกแล้ว เป็นอย่างไร

ตอบ ที่เราเรียนชาติ ในปฏิจจสมุปบาท คือชาติของจิต (มีชาติ สัญชาติ โอกกันติ นิพพัตติ อภินิพพัตติ) การเกิดอย่างไม่มีชาติ คือ อภินิพพัตติ คือการเกิดจำเพาะ คือกิเลสตาย ไม่เวียนก ลับมาเกิดอีก จิตที่เหลือคือ จิตบริสุทธิ์ สะอาดจากกิเลส ไม่มีกิเลสเกิดอีกแล้ว อย่างนิจจัง ธุวัง สัสสตัง อวิปริณาธัมมัง อสังหิรัง อสังกุปปัง ตั้งแต่อบาย เราก็กำจัดมันได้ อย่างรู้ตัว มันเกิดในใจเราก็รู้ มันจางคลายเราก็รู้ มันดับเราก็รู้ แล้วรักษาผลให้ อเนญชาภิสังขาร ตั้งมั่น เป็นสมาหิโต

  • จิตของผู้ถึงนิพพานแล้ว สามารถดับจิตวิญญาณ ได้หรือไม่

ตอบ ถ้าหมายถึง ให้อาการธาตุรู้ ดับชั่วคราว เป็นนิโรธดับ ในขณะที่มีกายขันธ์อยู่ ก็คือ นิโรธฤาษี ดับจิต ดับความรับรู้ไปเลย ผู้ถึงนิพพานแล้ว ก็ทำนิโรธ ดับจิตไม่ได้ ก็มีเยอะ ทำไม่ง่ายต้องฝึก ถ้าไม่เข้าใจ แล้วก็ไปหลง นิโรธดับได้ แต่ถ้าการดับจิตนั้น ให้เลิกเลย ไม่ให้เหลือเลย เป็นนิพพาน คือปริโยสาน เหมือนพระพุทธเจ้าเลย เหมือนพวงมะม่วง หลุดจากต้น ไม่กลับคืน อย่างนั้นเรียกว่า ปรินิพพาน ก็ทำได้สำหรับ ผู้ที่ถึงนิพพาน คือ อรหันต์ทุกคน

  • รู้สึกเหนื่อยและเบื่อหน่ายกับจิตใจนี้เหลือเกิน เพราะมันนำทุกข์มาให้

ตอบ ก็ดีแล้วที่เห็นทุกข์ แต่ต้องทำอย่างสัมมาทิฏฐิ

  • ทำไมอโศกยุคนี้ คนฟังธรรมสดๆน้อย ท่านสมณะ-สิกขมาตุ ก็น้อย ไม่เหมือนยุคเก่า ที่ทุกคนฟังธรรม ในศาลากัน

ตอบ ก็ดีที่บอกเตือนมา ก็คงมีงานมาก แต่ถ้าคนใส่ใจ เขาก็มากัน จัดเวลาก็ทำได้ แล้วแต่ใคร จะเห็นความสำคัญ พ่อครูไม่บังคับ

  • สติปัญญาอยู่ในขันธ์ ๕ ตัวไหน

ตอบ อยู่ในขันธ์ ๕ ที่เป็นจิตทุกตัว นอกจากตัวรูป ถ้าไม่มีสติปัญญา ที่จะรู้เวทนา ก็เหลวไหลหมดเลย สัญญาก็เหลวไหล สังขารก็เหลวไหล

  • เลี้ยงเต่าจะได้บุญหรืออายุยืนเหมือนเต่าไหม หากปล่อยไป มันจะอดตาย

ตอบ คุณกันของคุณเสร็จเลยซวย ตอบว่าซวยต่อไป พระพุทธเจ้าไม่ส่งเสริม การเลี้ยงสัตว์ พระพุทธเจ้ากันไว้หมดเลย คุณเอาสัตว์มาเลี้ยง มันก็เสียสัญชาติญาณสัตว์ แล้วมันก็ ไม่ได้ใช้วิบาก ที่จะเป็นสัตว์ มันต้องต่อสู้ มันต้องตาย ก็ใช้วิบากไป อย่าไปเพิ่มวิบาก ของคุณเอง ก็มีวิบากมากแล้ว ยิ่งเอาสัตว์มาเลี้ยง ฆ่าหรือขาย พระพุทธเจ้าก็ห้าม เป็นสัตถวณิชชา มังสวณิชชา เป็นอาชีพที่มิจฉา อย่าทำ แต่พระพุทธเจ้า ท่านไม่ตรัสแข็ง คนติดก็ต้องทำไป ก็ว่ากันไปตามวิบาก ผู้ใด รักษาตัวรอดก็ดี แต่เลี้ยงสัตว์ ไม่ได้บุญ บุญคือชำระกิเลส ดีไม่ดี ติดยึดผูกพัน หรือ สัตว์กัดตาย หรือคนฆ่าตายอีก สัตว์มันเกิดมารับวิบาก สัตว์มันเกิดมา เพื่อวิวัฒนาการ และมีคนที่ตายไปแล้ว เกิดเป็นเดรัจฉาน ต้องรับวิบาก เราอย่าไปเพิ่ม วิบากแก่ตัว เราก็มีวิบาก มากอยู่แล้ว อย่าโง่ ก็เลี้ยงกันไป ทำไงได้

  • มีข่าวว่าโรงไฟฟ้าสามแห่งขัดข้องพร้อมกันเลย ดับไป ๓๐ นาที ตอนนี้ เริ่มใช้ได้แล้ว

........จบ


 
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานราชธานีอโศก