560522_รายการขอบุญโฮมศีรษะอโศก โดยพ่อครู
เรื่อง นิโรธแบบพุทธ วิโมกข์แบบพิศดาร

           พ่อครูวิ่งไล่เวลา ตอนนี้ได้พบข้อมูลต่างๆ จากพระไตรปิฎก ก็มีพวกเรา ที่มีธรรมะ พอสมควร ก็เอาไปอธิบายแทน เป็นธรรมกถึก ก็ช่วยกันได้มากคน ก็ขอบคุณมากเลย

อย่างธรรมกถึก ก็เอาจากพระไตรฯล.๑๖ ยืนยันว่า พระธรรมกถึกคือ ผู้ที่รู้จักกิเลส และทำให้กิเลสละหน่าย คลายจางลงได้ เมื่อทำกิเลสลดละ จางคลายได้จริง ก็คือธรรมกถึก อย่างแท้จริงสมบูรณ์

พวกเราสามารถมีได้ และก็ภาคภูมิใจ ในรายการที่สมณะ สิกขมาตุ แม้แต่ฆราวาส พวกเรา ก็เป็นธรรมกถึก สามารถพูดเป็นกถาวัตถุ คือพูดเพื่อเป็นไปเพื่อ ความละหน่ายคลาย จากกิเลส

ถ้าเทศน์แล้วเป็นไปเพื่อเพิ่มกิเลส เช่นสอนเรื่องทาน ใส่บาตรทัพพีเดียว คิดราคาให้เลย ๕ บาท ก็มีคนลงในหนังสือพิมพ์ เรื่องก๋วยเตี๋ยวชามละ ๘๐ บาท ก็ขายกัน คนเข้าคิวกัน แน่นเลย แต่ละชาม ก็ไม่เล็กไม่ใหญ่ ก็พอดีกิน พ่อครูว่า ชามเดียว ยังไม่อิ่มเลย มีทั้งตับไส้ ปอดหัวใจ เครื่องใน โปะไม่เห็นเส้นเลยนะ มันก็คือกินกับ ล่อหลอก คนก็ชอบ แต่มันชามละ ๘๐ ก็คงอย่างนั้น ซึ่งราคาก๋วยเตี๋ยว ในท้องตลาด ชามละ ๓๐-๔๐ บาท แต่ก่อน พ่อครูกินก๋วยเตี๋ยว ชามละสลึง

ก็ไม่ประหลาดหรอก แต่ก่อนก๋วยเตี๋ยวชามกาไก่ ตัวเลขจะสูงหรือต่ำ ก็อยู่ที่การหมุนเวียน ในสังคม ว่าจะจำหน่าย ได้มากหรือไม่ แต่ราคาถ้าถูกของดี ก็ขายได้มาก ยิ่งของแพง แล้วไม่ดีอีก ก็ขายยาก มันก็แข่งกัน คือแข่งขายถูก หรือให้คนหลงว่า ของดีราคาแพงจึงดี นี่คือฝีมือคนหลอกกัน ว่ามีของไม่ค่อยดี แต่ราคาแพงให้ขายได้ นี่คือพวกทุนนิยม

ของเราชัดเจนจริงใจ ของดีราคาถูก ซื่อสัตย์มีน้ำใจ ขายสดงดเชื่อเบื่อทวง ปวดท้อง การขายเงินสดนี่คือ การแก้ไข ปัญหาเศรษฐกิจ อย่างแท้จริง รัฐบาลไหนมา พัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างสินเชื่อ ให้มนุษย์หลงเงินเชื่อ เป็นหนี้ อย่างนี้พัฒนาไม่ได้ เป็นวิธีการบริหาร ที่ล้มเหลวที่สุด มันไม่มีท่า ยิ่งเอาเงินส่วนกลางมาแจก สร้างประชานิยมอีก หาเสียง ประเทศนั้นแหลกราญ เป็นการสร้างหนี้ ให้แก่ลูกหลาน ไปตามใช้กัน ในอนาคต เป็นวิธีตื้นๆ เขารู้กัน แต่ไม่มีทางเลือก เป็นวิธีหลอกที่ตื้นมาก แต่คนก็กระไร ถูกหลอกได้

ทุกวันนี้พยายามให้ความเข้าใจ เรื่องเศรษฐกิจ สอนและพาฝึก จนพวกเราสามารถเข้าใจ ลดกิเลสในจิต ไม่ต้องอยากได้ อยากมีอยากเป็น หรือได้เปรียบสะสมกอบโกย ไม่ต้องร่ำรวย

และมาเป็นคนจน พ่อครูภาคภูมิใจว่า พ่อครูนำธรรมะพระพุทธเจ้า มาบรรยาย และก็มีคน สามารถเข้าใจความจริงนี้ได้ อย่างชัดเจน แล้วก็พอใจยินดี ที่จะมาเป็นคน ชนิดนี้ โดยล้างกิเลสได้ และเอาชีวิตมาจน สละออก ไม่สะสม จนถึงสาธารณโภคี สมบัติอะไร ก็ไม่ต้องยึดเป็นของตน ให้เป็นของส่วนกลาง และก็ช่วยกันทำงาน เอาเข้าส่วนกลาง แบ่งกันกินใช้ เราก็ลดความติดยึดของตน กินใช้น้อยลง ก็ทำได้ อย่างละหน่าย จางคลายจากกิเลส จนกิเลสดับ เรียกว่า "นิโรธ"

เราก็นิโรธได้จริง ละจางคลาย ปหานกิเลส วิราคะคืออะไร เราก็อ่านจิตใจเรา ที่เราพาลดละ จางคลาย เราจะได้รู้จัก หน้าตากิเลส และก็รู้การดับของกิเลส ซึ่งการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ที่เราควรทำ คือเรื่องเกิด-ดับของกิเลส

ส่วนการเกิดดับของชีวะนั้น มันก็เป็นไปตามอัตภาพ อย่างระดับพืช ก็เป็นพลังงาน ที่ก่อตัวกัน ในมหาจักรวาล เกิดเมื่อไหร่ไม่รู้ พระพุทธเจ้า ท่านแบ่งนิยามของชีวิต เป็น ๕ นิยาม
อุตุ-พีชะ-จิต-กรรม-ธรรมะ

กรรมและธรรมะ คือสถานะของมนุษย์ ซึ่งแบ่งเป็น เวไนยสัตว์ และ อเวไนยสัตว์ คือ สัตว์ที่สอนไม่ได้ เรียนรู้ธรรมะไม่ได้ หรือเรียนได้ แต่มีอัตตาถือตัวถือดี ก็ไม่รับฟัง สัทธรรม ก็เลยไม่รู้กรรมที่ชัดเจน จะไม่รู้กุศลธรรม อกุศลธรรมชัดเจน จะสั่งสม ธรรมะไม่ได้ พัฒนาจิตตนไม่ได้ ก็กลายเป็นสะสม สิ่งที่เป็นปหายะ พาฉิบหาย ไม่เป็นสิ่งดี สิ่งพัฒนา

ทุกวันนี้วันๆ พ่อครูเปิดพระไตรฯเต็มโต๊ะ ขยายกันและกันยิ่งชัดเจน ดีทั้งนั้นเลย น่าเอามาบรรยายมากเลย ก็บันทึกไว้ ให้ละเอียดลออ พวกเราก็จะได้ ตามเอาไป เรียบเรียบ รวบรวมไว้ ในอนาคตต่อไป

ก็ตามฟังพ่อครูให้ดี ผู้ใดปราถนานิพพาน ให้ติดตามฟัง แล้วรู้ตนให้ชัด ว่าตนอยู่ฐานไหน อย่าละเลยการฟังธรรม แล้วพยายามเก็บประเด็น ที่ตนจะเอาไปใช้ได้ แม้ไม่เทศน์ ก็พูดลำลอง เทศนาธรรมไปเรื่อยๆ ไม่มีเวลาไปแย่ง ลาภยศสรรเสริญสุข

อย่างนั้นมันเป็นทุกข์จริงๆ ได้มาก็สะสมวิบาก เป็นทุกข์ไปอีก ไม่รู้กี่ชาติ คนที่บรรลุธรรมพระพุทธเจ้า หมดกิเลสเป็นอรหันต์ จะมีชีวิตอยู่นานเท่าใดก็ได้

มีคนพยายามแย้งพ่อครู แล้วก็ให้ข้อคิดอะไรมาเสมอ คือคุณ 8705 ก็ไม่ติดตาม ว่าเป็นใคร บางครั้ง พ่อครูก็พรหมทัณฑ์ บ้าง เพราะเขาหยาบมาก ลามกด้วย แต่เขาก็ตั้งใจฟังดี และตอนนี้ ก็ส่งประเด็นมาดี ตอนนี้รับว่า ปฏิบัติธรรม ต้องมีผัสสะ ยกตัวอย่างมา เช่นว่า
0888705xxx เวลาเดินไปบนพื้นหินขรุขระ เกิดทุกขเวทนา หากเดินไปบนพื้นนุ่มนิ่ม เกิดสุขเวทนา แต่ถ้าเดินไปบนพื้น ที่พอดี ไม่แข็งไม่นุ่ม จะเรียกอทุกขมสุขเวทนา ซึ่งเวทนาทั้ง 3 นี้ มิได้เกิดเพราะอุปาทาน และเพราะยังเกิดดับ สลับไปมาด้วย หรือไม่เที่ยง.. จึงเรียกเวทนาทั้ง 3 นี้รวมกันว่า ทุกขสัจจ์! เขาว่าอย่างนั้นเป็นทุกขสัจจ์ ซึ่งจะทุกข์หรือไม่ มันอยู่ที่ผัสสะ

อย่างคนมีอุปาทานนั้น ถ้าเป็นมาซูคิสม์ (ตนเองรับทุกข์แล้วชอบ) ก็เหยียบหินแข็ง แล้วสุขก็ได้ แต่พวกซาดิสม์นั้น จะชอบจะสุข ถ้าทำให้คนอื่นทุกข์ร้อน ไปยินดีกับ สิ่งรุนแรงพวกนี้ก็มี แล้วแต่อุปาทาน แก้ไขได้ก็เปลี่ยนแล้ว

สรุปแล้วอยู่ที่อุปาทาน ไปตั้งค่าไว้เอง เป็นเจตสิกทุกข์ คือทุกขอาริยสัจจ์ คืออาริยะ เท่านั้น ที่จะเรียนรู้ ทุกข์นี้ได้ ซึ่งที่เขาว่าเหยียบหินแข็งก็ทุกข์ อาจจะเรียกว่า ทุกขสัจจ์ก็ได้ แต่ผู้ที่เป็นอาริยะ จะรู้สุขทุกข์อย่างเป็นปรมัตถธรรม และจะรู้สมมุติ ได้ด้วย เราก็จะล้างอุปาทาน ที่จะทำงานในรูปของตัณหา ที่เป็นแรงเคลื่อนออกมา ให้เราจับได้อ่านได้ จะอ่านง่ายกว่าพลังงานศักย์ แต่มันก็ไม่ใช่หยุด มันยังมีการปรุงแต่ง เคลื่อนเป็นอาสวะ ในตัวเหมือนกัน ตัณหาและอุปาทาน ก็เป็นตัวเดียวกัน แต่คนละ สถานะ ดับตัวไหนก็ได้ กิเลสก็หมด กำจัดมันได้จริง ก็หมด ก็ไม่มีเหตุแห่งทุกข์อริยสัจจ์

การเหยียบหินก็แข็ง แต่เราไม่มีว่า จะชอบจะชัง หรือจะสุขจะทุกข์ เป็นอุเบกขา เป็นฐานนิพพาน เป็นนิโรธ ทำให้กิเลสลดไปเรื่อยๆ จนแข็งแรง เป็นวิมุติ เป็นนิโรธ

ต่อมา 0888705xxx ทุกขสัจจ์ย่อมรวมไว้ ทั้งกายิกทุกข์ กับกิเลสทุกข์ (เพราะอุปาทาน) อรหันต์ แม้หมดกิเลสทุกข์แล้ว แต่ยังเหลือกายิกทุกข์! เช่น สารีบุตร เวลาเดินบิณฑบาต ต้องเข้ามหาสูญญตวิหารธรรม

พ่อครูว่า การเข้าคือ เข้าไปสู่ความเจริญของธรรม เข้าไปได้เรื่อยๆ แล้วก็จบสมบูรณ์ ก็ไม่ต้องเข้า ต้องออกแล้ว ไม่ใช่เข้าหรือออกอยู่ในภวังค์ อย่างธรรมทินนาภิกษุณี อธิบายว่า ไม่ต้องเข้าต้องออก ในสัญญาเวทยิตนิโรธ

ผัสสะอย่างสุญญตะ ผัสสะอย่างอนิมิตตะ ผัสสะอย่างอปณิหิตตะ (คือไม่ตั้งปราถนา ต่อภพภูมิ) พระอรหันต์ที่มีนิโรธ เมื่อมีผัสสะ แล้ววางเฉยอยู่ที่ สุญญตะ อนิมิตตะ มีอัปปณิหิตตะ ก็อยู่เฉยได้ แต่เมื่อปรุงแต่ง ก็มีปณิหิตตะ มีนิมิต ก็กำหนดเครื่องหมาย ก็ไม่ว่างสนิท ก็ไม่สุญญตะ ก็ปรุงแต่งอย่างอภิสังขาร  แล้วเกิดกรรมที่ชำนาญ ที่สามารถสร้างผล เป็นอเนญชา สั่งสมผลไปเรื่อยๆ

นิโรธของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ต้องเข้าต้องออก แต่ว่าสั่งสมผลไปเรื่อย จนเต็ม มีหลักฐานที่ท่าน ภิกษุณีธรรมทินนาอธิบาย และมีท่านอื่นๆอีก ที่อธิบายคล้ายกันนี้

อย่างที่คุณ8705 เขียนมาว่า จึงเหลือทุกข์อันเกิดจากผัสสะ (=สอุปาทิเสสนิพพาน) เท่านั้น.. ซึ่งเป็นทุกขเวทนา ที่เบาบางมาก ส่วนมหากัสสัปปะ เข้านิโรธสมาบัต 7 วัน (=ไม่มีผัสสะ) ฉะนั้น ทุกข์อันเกิดจากผัสสะ จึงมิได้มี! (=อนุปาทิเสสนิพพาน) ส่วนอรหันต์พิมพา ไปทูลลาพุทธเจ้า เข้าปรินิพพาน!

0888705xxx   ทั้งๆที่อายุสังขาร ก็ยังไม่หมด โดยอ้างกับพุทธเจ้าว่า เพราะอรหันต์ มีเยอะแล้ว! ฉะนั้น จึงเห็นชัดว่า อรหันต์ทั้งหลาย ย่อมทำให้ทุกข์เหลือน้อย! เช่น ที่สารีบุตร เข้าสูญญตะ หรือที่กัสสปะเข้านิโรธ ดับผัสสะเลย ทำให้หมดทุกข์ไป 7 วัน! หรือที่อรหันต์พิมพา ขอละสังขารทั้งหมด เพื่อดับทุกข์สิ้นเลย! จึงมีก็แต่อรหันต์เก๊พธร. เท่านั้น ที่จะสืบต่อภพชาติ หรือคือสืบต่อทุกข์ โดยอ้างว่าจะเป็นพุทธเจ้า! สรุปพธร. หลอกได้แต่คนโง่ๆ.. ห้วย! สงสัยจะเป็นคนอีสาน

0888705xxx พธร.กับแม้ว เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือไม่เชื่อว่า มีภพนรกภพสวรรค์ ที่เฉกเช่นเดียวกับที่มีภพมนุษย์! หรือไม่เชื่อว่า มีชาติหน้านั่นเอง ฉะนั้นทั้งพธร.กับแม้ว จึงมีทิฐิแรงกล้า ทั้งคู่จึงทำทุกอย่าง เพื่อชาตินี้เท่านั้น! ต่างกันที่ แม้วทำเพื่อเงินกับอำนาจ เพื่อความยิ่งใหญ่ทางโลก! ส่วนพธร.ทำเพื่อ ชื่อเสียงสักการะ  เพื่อความยิ่งใหญ่ทางธรรม (ระดับน้องๆพุทธเจ้าเลย!) ฉะนั้นทั้งคู่ จึงอุเบกขาไม่เป็น! แถมกลับไปว่าคนอื่น เฉยเด๋อ!

พ่อครูว่า พ่อครูยังไกลจากพระพุทธเจ้า เป็นระดับเหลนหลานโน่น

พ่อครูจะได้อธิบายเรื่องอุเบกขา ให้เข้าไส้เลย เข้าไส้นี้มากกว่า เข้าใจอีก

คนฉลาดจะไม่มา ถ้าพ่อครูหลอก แต่คนโง่นั้น เป็นตระกูลเดียวกับคนซื่อ คนโง่ โกงไม่ได้หรอก ดังนั้น คนที่โกงบ้านโกงเมืองอยู่นี่ พ่อครูไม่ฉลาดอย่างนั้นจริงๆ คนที่มาอย่างพ่อครูนั้น มีแต่คนโง่ๆ นั้นถูกแล้ว ส่วนคนฉลาด จะอยู่ตระกูลเดียวกับ คนโกงด้วย อย่างนั้น พ่อครูหลอกไม่ได้หรอก

ก็พอได้เข้าใจ พอได้เห็นภูมิของเขา ที่แสดงมา ก็เห็นว่าพัฒนาขึ้น เขาเชื่อการมีผัสสะแล้ว แต่เขายังเข้าใจว่า นิโรธไม่ต้องมีผัสสะ แต่ว่าพ่อครู มีตัวอย่าง หลายอย่าง ที่นิโรธต้องมีผัสสะ แต่อย่างท่านกัสสปะท่านก็สายป่า เป็นจริตที่เข้านิโรธ แบบดับ ก็ช่วยคนได้ไม่มาก พ่อครูไม่ใช่สายพระกัสสปะ

ตอนนี้พ่อครูใช้เวลาบรรยาย ขอบุญโฮมไป ๔๕ นาทีแล้ว ต่อจากนี้ จะเป็นการขอบุญ แท้ๆเลย ถ้าจะบอกว่า ขอบุญเฉยก็ได้ แม่พ่อครูชื่อว่าขอบุญโฮม คือมารวมกัน แล้วตั้งใจเรียนรู้สร้างบุญ จนสามารถทำบุญมาอยู่ในความเฉย ปุญญะคือ สันตานัง วิโสเทติ ปุนาติ คือชำระให้หมดจด นี่คือรากศัพท์ ของคำว่าบุญ หรือปุญญะ เป็นรากศัพท์เดียวกัน

ในตำราไทย มีแปลคำว่า ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร ท่านจะแปล อปุญญาภิสังขาร ว่าสังขารเป็นบาป ซึ่งเขาแปลคำว่า อปุญญะคือบาป ก็แปลอย่าง กลับกันกับคำว่า บุญ นั่นเอง แต่บุญคือเขาแปล ไม่ใช่เพื่อความละหน่ายคลาย คือเข้าใจ สัมมาทิฏฐิ ๑๐ ไม่ได้ คือ

ทินนัง หรือการทาน เช่นทำทานแล้วได้บุญ แต่เขาให้ทำทานแล้ว ส่วนใหญ่ จะเพิ่มกิเลส หรือปฏิบัติแล้ว ก็ไม่ได้มรรคผล เติมกิเลสอีก เช่นเข้าใจนิโรธผิด เข้าใจว่า นั่งหลับตา เข้าภพ ไม่มีผัสสะ นี่คือนิโรธ เป็นการกำหนดยิฏฐัง ที่ไม่ลดกิเลส เสริมกิเลส อย่างท่าน กัสสปะ จะว่าไปท่านก็ติด การเข้านิโรธ อย่างนั่งหลับตา ประโยชน์จึงไม่เกิด แก่ชนหมู่มาก แต่ท่านกัสสปะ ก็มีสัมมาทิฏฐิ ดับกิเลสได้ แต่ท่านก็มีจริต หรือ วาสนาอย่างนั้น แต่ท่านก็บำเพ็ญ บุญบารมีมาก หลายชาติ ท่านจึงมีสิ่งสะสม เป็นกุศลมาก ก็พอไปได้

ยิฏฐัง เช่นว่า ปฏิบัติธรรมนิโรธผิดทาง เรียกว่า นัตถิ ยิฎฐัง จึงหนีเข้าป่า เข้ารกเข้าพง ไปมากเลย พยัญชนะนั้น สื่อความหมาย แต่ถ้าเข้าใจ มีสภาวะแล้ว จะพูดอย่างไรก็ได้ อย่างคุณ 8705 ว่ามาว่า พ่อครูไม่มีอุเบกขา แล้วพ่อครูก็ไม่โต้ตอบ เพราะไม่มีคันหัวใจ จึงยอดอุเบกขา คือไม่ว่าตอบ แต่ว่าคุณ ที่เมื่อถูกตอบกลับไป ก็ไม่มีจิตอุเบกขา ตอบมา อย่างหยาบเลย ธรรมดาไม่มีใครอยากโชว์ สิ่งน่าเกลียด คนที่โชว์ คือคนที่หยุดไม่ได้ ยิ่งแสดงออกกับผู้รู้นี่ เขายิ่งจับได้นะ ถึงคุณจะว่าพ่อครู ไม่รู้ว่าที่แสดงออก หยาบๆมา พ่อครูจะไม่รู้ นั้นคุณรู้จักโพธิรักษ์น้อยไป อันนี้เอาไปออกให้คุณ 8705 ดูว่า เขาจะขึ้นไหม แต่พ่อครูก็ชม ว่าเขาพัฒนาขึ้นอยู่ แต่เขาก็ติดนิโรธ อย่างนั่งหลับตาดับอยู่

 อย่างคุณ 8705 เป็นผู้มีความเห็นออกนอกพุทธเป็น ติตถิยเดียรถีย์ พ่อครูก็ต้องทำ ปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรับปวาทะ ให้เรียบร้อยโดยสหพรหมจรรย์ ก็ค่อยๆติดตามฟังไป เชื่อว่าคุณ 8705 ใส่ใจธรรมะ ฟังติดตามอยู่ตลอด ก็อนุโมทนาด้วย คุณจะว่าพ่อครู โง่หรือฉลาด ก็เป็นของพ่อครู ก็โง่เท่าที่พ่อครูฉลาด ฉลาดเท่าที่พ่อครูโง่

ตอนนี้จะเอาวิโมกข์ ๘ มาอธิบาย ต่อไปถึงบุญเฉย คือชำระจิต ให้ถึงอุเบกขา

[๖๖] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ประการเหล่านี้ ประการเป็นไฉน คือ
๑. ผู้มีรูป(รูปฌาน) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย  (รูปี รูปานิ ปัสสติ) จิตจะต้องรู้จักรูป (รูปคือ สิ่งที่ถูกรู้) ผู้ที่มีภูมิธรรม ผู้ที่มีฌาน เริ่มต้นคือผู้เห็น นามรูป และรู้ในขณะปัจจุบัน เปิดทวารพร้อม แต่ถ้าปิดทวาร ก็ใช้สัญญา ไปสร้างอรูป เพราะไม่ใช้รูปจริง ที่ผัสสะสดๆ แต่คุณปรุงอรูปหรือรูป มาอย่างไรก็ได้ เช่นเทวดาฝรั่ง หรือเทวดาไทย ก็ต่างกันไป สร้างไปคนละอย่าง เป็นอรูปที่ปั้นเอง เป็นมโนมยอัตตา สรุปแล้ว ผู้ที่มีรูปให้สัมผัส ก็ต้องเห็นรูปนั้น

๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (๑๐/๖๖) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอก (อัชฌัตตัง(ภายใน) อรูปสัญญี  เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ)  (พ่อครูแปลว่า กำหนดหมายรู้ ไปถึงอรูป คือรู้ทั้งรูปภายนอก ไปจนถึงรูปภายใน ต้องเห็นทุกเวลา แม้ขั้นอรูป ก็ต้อง ใส่ใจกำหนด) ผู้มีการกำหนดรู้ จะกำหนดรู้ไปถึง อรูปภายใน ย่อมเห็นรูป ภายนอกด้วย เพราะต้องผัสสะ จากภายนอก จากมหาภูตรูป แล้วก็อ่านกายในกาย ไปถึงนามรูป ที่เป็นเวทนา ที่เป็นความรู้สึก หรืออารมณ์อย่างไร

๓. ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ  (พ่อครูแปลว่า เป็นโชคอันดีงาม ที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุหลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น) ก็คือ การหลุดพ้น จากกิเลส นั่นแหละ ส่วนผู้ที่เพ่งกสิณ แล้วได้จิตสงบ ก็ไปเข้าใจผิด ว่าการติดอย่างนั้น เป็นของงามอีก ซึ่งไม่ใช่เป็นไปเพื่อ ความละหน่าย คลายจางกิเลส แต่ว่าไม่ใช่ หลงกสิณเป็นของงามอีก

ผู้ใดเรียนรู้ผัสสะแล้ว ก็จะเห็นรูป (รูปี รูปานิ ปัสสติ) ให้เอาตัวนี้เป็นตัวตั้ง แต่มาก็เอา เอามาสำคัญ มั่นหมายในภายใน จนถึงขั้นอรูป ย่อมเห็นรูปภายนอก ไปพร้อมกันด้วย เพราะของพระพุทธเจ้านั้น ให้เรียนรู้กายไปด้วย ไม่ตัดขาดกัน

การตัดขาดกายกับจิต คือนิโรธดับ แต่ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า ของพระพุทธเจ้านั้น กายกับจิต ต้องสัมพันกัน ต้องสัมผัสแต่ภายนอก เป็นของสด แล้วเข้าไปรู้ในภายในเป็น เป็นกายในกาย ก็คือเวทนา นั่นเอง ในขณะผัสสะเดี๋ยวนี้ ก็วิจัย เวทนาในเวทน และจิตในจิต แยกแยะตัว กามกับพยาบาท ออกจากจิต นี่คือ ความหมายของ พระพุทธเจ้า กำจัดให้ถูกตัว เป็นความสำคัญ มั่นหมาย

ให้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง -ทุกข์ -ไม่มีตัวตนของกิเลส ว่ามันอยู่ไม่นานหรอก ติดมาก ก็อยู่นาน แต่มันก็จะหายไป ในที่สุด เราไปหลงยึดติด มานานแล้ว เราสามารถชนะ มันเรื่อยๆ กิเลสมันจะแพ้พลังปัญญา มีอุณหธาตุของพลังฌาน ที่จะทำลาย ความยึดติดความหลง ทำลายราคะ-โทสะ นี่คือพลังปัญญาทำลาย ไม่ใช่สมถะไปกดข่ม

ฌานต้องมีปัญญา ฌานที่ไม่มีปัญญา ไม่ใช่ฌานของพุทธ พลังของฌาน ทำลายกิเลส ให้จางคลาย หรือถึงขั้นดับเลย ดับราคะ-โทสะ อย่างนี้แหละคือสุภะ คือโชคของเรา คือสิ่งที่น่าได้ น่ามีน่าเป็น เป็นของสุดงามเลย ไม่ใช่ว่า ไปเข้าใจกสิณ เป็นของงาม ไปเพ่งของเน่าเป็นศพว่างาม ทำไมเพี้ยนไปอย่างนั้น แต่ถ้าเห็นว่า เป็นของน่าเบื่อหน่าย เป็นอศุภะ ถ้าคุณเกิดความรู้ความจริง พิจารณาถูกต้อง จิตคุณจะน้อมไปทางเจริญ ไปสู่นิพพาน ไปสู่ความหลุดพ้น หรือวิมุติ (อธิมุตโต อธิโมกโข) จิตจะมีแนวโน้ม ไปทางนี้

สรุปแล้ว คุณทำอย่างนี้ได้คือ รูปฌาน ๓ ข้อ จนกระทั่ง ดับกิเลสได้ จิตก็จะเฉย จะลด ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น จนเฉย เป็นอุเบกขา เป็นฌานที่ ๔ ซึ่งในวิโมกข์ ๓ ข้อแรกนั้น เป็นฌาน ๔ ข้อแรกในรูปฌานได้เลย ซึ่งวิโมกข์คือ ความรู้สู่ความหลุดพ้น อย่ายึดแต่ภาษา ว่าวิโมกข์มีแค่ ๓ ข้อ

จากฐานนิพพาน ก็ตรวจสอบอีก หรือ อนุรักขณาปธาน ถ้าทำได้ก็รักษาผล มันว่าง วางเฉย มันสัมผัสอยู่ก็ว่าง เป็นอากาสานัญจายตนฌาน คือตรวจสอบสภาวะว่าง จิตคุณว่าง ก็เรียนรู้ให้ลึกซึ้ง ให้ว่างอย่าแวบ ว่างอย่าแวบ มีแต่ว่างๆๆๆๆ คุณก็ศึกษา ความว่าง

ต่อมาศึกษาใจตนเองอีก คือ วิญญาณคุณขณะนี้ อุเบกขาจากเหตุแล้ว คือ วิญญานัญจายตนฌาน ก็ตรวจธาตุรู้ คือวิญญาณ ว่ามันใสอยู่หรือไม่ ในขณะผัสสะอยู่ มีกัมมันยา คุณก็สามารถทำงานปรุงแต่ง อภิสังขาร กิเลสก็ไม่เข้า วิญญาณก็ยังสะอาดอยู่ แยกให้ดี ความว่างก็อย่างหนึ่ง วิญญาณก็อย่างหนึ่ง จน อากิญจัญญายตนฌาน คือ นิดหนึ่ง น้อยหนึ่ง ก็ไม่มี ไม่มีการแวบเลย แม้นิดแม้น้อย ตรวจการหรอย ที่จะแอบมาปรุงแต่ง คุณก็ต้องไม่ให้มี

ซึ่งอาฬารดาบส จะได้แค่การดับ แม้เล็กแม้น้อย มันก็ต้องดับ ได้ แค่อากิญจัญญายตน ฌานฤาษี แต่อุทกดาบส นั้นดับได้อีก ดับได้แม้เล็กแม้น้อย แม้แวบก็ดับมันอีกเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนฌานฤาษี คืออุทกดาบส รู้ได้มากกว่า อาฬารดาบส ซึ่งอรูปฌาน คือมีสองสาย สายอภัสราคือสว่าง ส่วนสายกิณหะ คือสายมืด คืออาฬารดาบส และอุทกดาบส เป็นสุภกิณหพรหม เป็นสัตตาวาสอยู่

พระกัสสปะท่านก็มีวาสนา ไปติดในอรูปฌานของฤาษี ส่วนสารีบุตร ท่านก็ติด หลุกหลิก ไม่นิ่ง ส่วนโมคคัลลานะ ก็ติดในการใช้ฤทธิ์ แต่ท่านมีสัมมาทิฏฐิ ทุกท่าน ที่เป็นอรหันต์ จึงปฏิบัติได้ ไม่ติด ไม่หลง เอามาใช้ประโยชน์ได้

ในวิโมกข์ ข้อที่ ๘ จะมีสัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งมีเฉพาะศาสนาพุทธ แต่ว่าถ้าฌาน ๔ ฌาน ๘ ที่ไม่มีสัญญาเวทยิตนิโรธ นั้นก็จะพูด อย่างไม่เป็นพุทธ ต้องแยกแยะให้ได้ ว่าเป็นแบบ ติตถิยเดียรถีย์ หรือแบบพุทธ เขาจะหมาย คนละอย่างกัน ไม่ต้องเถียงเอาชนะ แต่ว่าแย้งได้ เพื่อวิจัยวิเคราะห์กัน

สัญญเวทยิตนิโรธ คือไม่ใช่ไปดับสัญญาและเวทนา แต่ควรแปลว่า เอาสัญญาทำงาน ตรวจเวทนา ๑๐๘ ให้ละเอียด จนรู้ความดับ ว่าดับได้สนิท หลุดพ้นจาก เนวสัญญานาสัญญายตนะ (รู้บ้างไม่รู้บ้างในสัญญาต่างๆ) จะรู้บ้างไม่รู้บ้างไม่ได้ ต้องรู้ให้ครบ ทั้งนานัตตสัญญา กำหนดรู้ทุกอัตตา ที่แตกต่างกัน ไม่มีอะไร ที่จะไม่รู้ รู้หมด เรียกว่าหมดอวิชชาสวะ หรือหมดอวิชชาสังโยชน์ พ้นความเป็นสัตว์ทั้งหมด ในสัตตาวาส ๙ ก็พ้นแล้ว แม้ที่สุด เนวสัญญานาสัญญายตนสัตว์ ซึ่งเป็นสัตว์ เพราะไม่รู้จักวิญญาณ

คนไม่เรียนรู้วิญญาณ ที่คุณยังเกิดอยู่ คุณจะมีวิญญาณเมื่อมีผัสสะ คุณจะเรียนรู้ตั้งแต่ กามาวจร แล้วไปเรียนรู้ใน รูปาวจร อรูปาวจร แต่ก็อยู่ในกามาวจรนี่แหละ กระทบแล้วกิเลสจะขึ้น แต่อนาคามี จะไม่ออกมา แสดงภายนอก มีนิโรธแล้ว แม้สัมผัสแล้ว ก็จะรู้ว่า มีรูปราคะอรูปราคะ อยู่ภายใน เมื่อดับรูปราคะ ก็เหลือแต่ อรูปราคะ คือ มานะอุทธัจจะอวิชชา เป็นอนุสัยภายใน เหลือภวราคานุสัย กับอวิชชานุสัย ใน
อนุสัย ๗
๑. กามราคานุสัย (ความดึงดูดกำหนัดในกาม)
๒. ปฏิฆานุสัย (ความผลักไส ขัดเคือง ขึ้งเคียด)
๓. ทิฏฐานุสัย (ความยึดถือความเห็นเป็นตนของเรา)
๔. วิจิกิจฉานุสัย (ความลังเลสงสัย)
๕. มานานุสัย (ความถือตัวทั้งหลาย)
๖. ภวราคานุสัย (ความใคร่อยากในภพละเอียด)
๗. อวิชชานุสัย (ความไม่แจ้งในอาริยสัจ)

เรียนรู้อนุสัยก็ต้องลืมตา มีผัสสะเปิดทวาร จึงชัดเจน

สรุปเข้าเรื่อง ที่ผ่านมาลึกสู่ปรมัตถ์ ต่อมาก็ออกมาข้างนอกบ้าง พวกเรา ถึงอนาคามีโดยสมมุติ เพราะเราไม่ใช้เงินใช้ทอง เอาเข้ากองกลางหมด แต่อนาคามี แต่ภายนอก แต่ในใจยังมีตุกติกๆ ก็เรียนรู้ล้างไป เมื่อผัสสะแล้ว มันมีอกุศลเจตสิก ก็กำจัดมัน ให้มันพัฒนาขึ้นมา

อโศกเรามีฆราวาส ที่ถือศีล ๑๐ ได้ อาจมีเม้มเข้าส่วนตัวบ้าง ไม่ดี เป็นบาปส่วนตัว เอาไว้ให้ลูก ให้หลาน ก็ส่วนตัว แต่ถึงขั้นส่วนตัว ก็ยกเข้ากองกลาง หมดเลย ก็ดีกว่า

พวกเรากินอยู่หลับนอนไม่ต้องกังวล แต่ก่อนต้องคำนึง ว่าเงินจะพอไหม จะใช้หนี้เขา กี่บาท จะแบ่งเงินไปใช้อย่างไร นี่มันทุกข์ ยุ่งเรือหายเลย แต่พอมาอยู่กับสาธารณโภคี เราก็ไม่ต้อง ไปยุ่งเกี่ยววุ่นวาย เรื่องเงินทองเลย มันก็ทนได้ไม่ยาก ไม่ลำบาก ก็หลายสิบปี ก็อยู่ได้ หน้าตาผ่องใส

แม้ผู้ที่เป็นโสดาบัน ก็มาอยู่สาธารณโภคี และโสดาบัน ก็มีเม้มไว้ส่วนตัว แต่ไม่โกงแล้ว ยังมีอคติ ลำเอียง ไม่ให้กองกลางหมด แต่ถ้าคุณเห็นว่า ให้กองกลางมากขึ้น ก็จะดีกว่า

สรุปแล้ว พวกเราเป็นหมู่กลุ่ม สาธารณโภคี พ่อครูก็พาเรียนรู้ ธรรมะลึกซึ้ง พวกเราจิตที่ อนาคามี ก็ให้เรียนรู้ ที่จะสั่งสมผล เป็นอเนญชาภิสังขาร มีอัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา จะสั่งสมเป็นแรง ที่จะไปเอื้อมเอื้อ เกื้อกว้าง ที่จะมีเจโต ที่จะอนุโลมเขาได้ ตามสมควร

เราจะช่วยคนตกบ่อ ต้องรู้ว่า เรามีหลักยึดเท่าไหร่ ถ้าไม่ไหว เขาก็ดึงเราตกบ่อ แต่ถ้ามีแรงพอจะดึงได้ อย่างไรก็ต้อง ประมาณตนเอง ถ้าเราแข็งแรงมาก ก็ช่วยได้มาก นี่คือประโยชน์ต่อโลก ต่อสังคมได้จริง

คนที่หมดประโยชน์ตน จะมีประโยชน์ต่อผู้อื่น ได้สูงมากขึ้นๆ เราก็เพิ่มภูมิของเรา ไปเรื่อย จึงเป็นกองทัพธรรม ที่จะไปช่วยเหลือสังคม ไม่ใช่กองทัพ ที่ไปตีเขา แต่เป็นกองทัพ ที่ไปช่วยสังคม ไม่ไปเอาของเขา เราสะสมทหาร (ทหแปลว่ากล้า) ทหารที่มีความกล้า ทางธรรม เป็นวีระ (ความกล้า) ที่จะเสียสละกล้า ในสิ่งที่คนกล้า ในสิ่งที่คนกล้าได้ยาก ทนในสิ่งที่คนทนได้ยาก สละสิ่งที่คนอื่น เขาสละได้ยาก

สังคมพวกเรา ที่พ่อครูได้พูดไล่เลียง ให้ตรวจว่า เรามีของจริงหรือไม่ หรือว่าพูดลอยลม โกหกทาง สไกป์ แต่นี่คือเรื่องจริง ไม่ได้มุขปั้นเรื่อง พวกเรามีชีวิตเช่นนี้ ใครพอใจก็อยู่ ใครไม่พอใจก็ไป ไล่เลยนะ คนที่พอใจอยู่ และเขาก็ไม่มีความผิด ไล่อย่างไร เขาก็ไม่ไป แต่คนมีความผิด เขาก็ต้องไล่ ให้ออกไป คนเรามันรู้อะไรสัปปายะ มีเสนาสนสัปปายะ อาหารสัปปายะ บุคคลสัปปายะ ธรรมะสัปปายะ

อาหารทั้งนอกและใน ทั้งอาหารใจอาหารกาย ดีทั้งนั้นเลยที่นี่ มีอาหารทั้ง ๔ เจริญ เพราะมีบุคคลสัปปายะ มีคนที่มีคุณธรรมจริง มารวมกัน รวมแล้ว ล้วนแล้วแต่ เป็นธรรมะ เป็นสมบัติเป็น อนุตตริยธรรม เป็นธรรมะที่ไม่มีธรรมะใด เหนือกว่าอีก มันเป็นธรรมะอย่างนั้น

คนที่รู้อย่างนี้ ย่อมไม่หนีจากบ่อซับบ่อสมบัติ เป็นคุณภาพของชีวิต ที่ประเสริฐ สังคมเรา จะเป็นเช่นนี้ กล้าพูดว่า สังคมเราเป็น "แผ่นดินพุทธ" เรามีพฤติภาพที่สัมผัสได้ สำหรับ คนมีดวงตา จึงกล้าพูด เมื่อมีปัจจัยพอเพียง ตอนแรก จะตั้งที่ปฐมอโศก เป็นแผ่นดินพุทธ เสร็จแล้ว ปฐมอโศก ยังติดป้ายไม่ได้ ก็ไปติดบนหลังคา ที่บ้านราชฯเลยว่า แผ่นดินพุทธ

อย่างสันติอโศก ก็มีคุณธรรมแบบพุทธ แบบในเมือง ปฐมอโศกก็ดี ศีรษะอโศกก็ขึ้น แผ่นดินพุทธ ได้ทุกแห่งเลย อาจไม่ดูหรูเขื่อง แบบโลกเขา แต่หรูนี่คือ คุณธรรม นี่คือ สิ่งที่นำมาพูด

ผู้ใดฟังธรรมด้วยดี ใครนั่งแล้วเข้าใจลึกขึ้น ยกมือซิ.... มีคนยกมือพอสมควร ส่วนนร. ไม่ค่อยยกมือ แต่พ่อครูว่า ทุกอย่างที่ฟังไป ก็บันทึกไว้ในสัญญาหมดเลย ถึงเวลา ก็เอามาใช้ได้ บันทึกของดี ไม่เสียเวลาหรอก แม้ใช้ไม่เป็น ก็ไม่เป็นไร ต่อไปในอนาคต จะได้ใช้..........

จากขอบุญโฮมมาถึงบุญเฉย ....จบ    

           

 
๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถาน ศีรษะอโศก