เรื่อง ดับนิโรธอย่างพุทธสูงสุดคือนิพพาน |
ส.เดินดิน เปิดรายการที่บ้านราชฯ... (จันทร์ ๒๘พ.ค.๒๕๕๖)
วันนี้ปกติ อ.กฤษฎา จะมาออกรายการ แต่วันนี้อ.ไม่อยู่ ก็เลยมาดำเนินรายการแทน พ่อครูตอนนี้ ตอนกลางคืน เทวดาก็มาคุย ส่วนกลางวัน ก็มีเรื่องจะต้องเขียน จนเวลาไม่พอ มีเรื่องที่พยายาม ทำความเข้าใจ ให้พวกเราสำรอก อวิชชากัน
นิโรธ ถ้าดับไม่ถูกวิธี ก็ดับไม่เป็นคุณค่าประโยชน์ต่อโลก เหล่านี้เป็นนัยยะ ที่ต้องติดตามฟัง และต้องโยนิโสมนสิการ ตามไปด้วย
พ่อครู..ก็ยังคงยืนหยัดในพระไตรฯ ล.๑๖ ในการอธิบาย เช่นใน สูตรที่ ๕ สิขีสูตร- ๙ กัสสปสูตร
[๒๕] พระปริวิตกของพระพุทธเจ้า แม้ทั้ง ๗ พระองค์ ก็พึงให้พิศดาร เหมือนอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าสีขี ... ทรงพระนามว่า เวสสภู ... ทรงพระนามว่า กกุสันธะ ... ทรงพระนามว่า โกนาคมนะ ... ทรงพระนามว่ากัสสป ... ฯ
เป็นเรื่องที่ดำเนินไป โดยมีคนที่เกิดไปยึด จึงเกิดเหตุ นิทาน ปัจจัย แต่ละคน ก็มีเรื่อง และในเรื่อง ก็มีอะไร อยู่ในนั้นอีกมาก เลื่อนไปไม่รู้จบ เพราะมีความยึด เมื่อยึดก็มีความรัก และความจองเวร เป็นพยาบาท ทั้งรักและพยาบาท เป็นเหตุ เป็นพลังงานที่เกิดจริง
ถ้าใครยังมีพลังงาน สภาพความรักและพยาบาทอยู่ และก็มีลีลามากมาย นับไม่ถ้วน เป็นนิทานล้านๆๆๆๆๆเรื่อง หลากหลายมากมาย วนเวียนอยู่ตลอด
ถ้าผู้ใดหลงไปกับเหตุ ก็วนเวียนกับรักและพยาบาท ความพยาบาท ต้องฆ่าให้ได้ แก้แค้นให้ได้ ส่วนรักก็ต้อง เอามาเป็นของเรา นิทานเรื่องไหน ก็มีเรื่อง ความรัก กับพยาบาท นี่แหละ
ผู้ใดรู้ว่าเหตุปัจจัยทำให้เกิดทุกข์ ทำให้เกิดรักหรือชัง รักหรือพยาบาท พอเราล้าง ต้นตอของรัก หรือพยาบาท ให้หมด แต่ก่อนหมด ก็ทำตามขั้นตอน เป็นโสดาบัน เรื่องก็น้อยลง เป็นสกิทาฯ อนาคาฯ เรื่องก็น้อยลงเรื่อยๆ จนเป็นอรหันต์ แม้แต่เป็น พระพุทธเจ้า ก็ยังมีวิบาก ต้องตามใช้ไป
แต่พอเป็นอรหันต์ ก็ไม่มีวิบากบาป เพิ่มแน่นอน ใครจะจบกิจ ไม่ต่อไม่เกิด ก็จบได้ ปรินิพพานเลย ยกเลิกเหตุปัจจัยไปเลย เหมือนละคร ในโลกนี้ ทุกเรื่อง ที่พระเอกตายแล้ว ก็จบ ไม่สร้างหนังต่อ เช่นเดียวกัน เป็นอรหันต์แล้ว ถ้าตายแล้ว ไม่ปราถนาตั้งจิตต่อ ก็จบ ถ้าล้างเหตุปัจจัย ล้างความโง่ หรืออวิชชาหมด
กระแสของเหตุปัจจัย ก็สังเคราะห์ตลอดเวลา ใครยึดปั๊ป ก็มีรัก หรือพยาบาทตลอด ทั้งรักผูกพัน ไม่ใช่แค่เรื่องกาม ส่วนชังก็มีลีลาต่างๆ ให้ศึกษาไป
๑๐. ปัจจัยสูตร
[๖๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ปฏิจจสมุปบาท และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น แก่พวกเธอ พวกเธอ จงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
[๖๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ ปฏิจจสมุปบาทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ พระตถาคต ทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึง ซึ่งธาตุอันนั้น
ครั้นแล้ว ย่อมตรัสบอก ทรงแสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น และตรัสว่า
ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ ...
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ...
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ ...
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน ...
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา ...
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา ...
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ ...
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ ...
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป ...
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ...
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
พระตถาคตทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้นคือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึง ซึ่งธาตุอันนั้น ครั้นแล้ว ย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น และตรัสว่า
ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น มูลเหตุอันแน่นอน ในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามา ฉะนี้แล เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
[๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา ชาติ ... ภพ ... อุปาทาน ...ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ...นามรูป ... วิญญาณ ... สังขาร ... อวิชชา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้นมีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น ฯ
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกเห็นด้วยดีซึ่ง ปฏิจจสมุปบาทนี้ และธรรมที่อาศัยกัน เกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงแล้ว
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น จักแล่นเข้าถึงที่สุด เบื้องต้นว่า ในอดีตกาล เราได้เป็นหรือหนอ ในอดีตกาล เราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาล เราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาล เราได้เป็นอะไร แล้วได้มาเป็นอะไรหนอ หรือว่า จักแล่นเข้าถึงที่สุด เบื้องปลายว่า ในอนาคตกาล เราจักเป็นหรือหนอ ในอนาคตกาล เราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาล เราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาล เราจักเป็นอะไรแล้ว จึงจักเป็นอะไรหนอ
หรือว่า จักยังมีความสงสัย ในปัจจุบันกาล เป็นภายใน ณ บัดนี้ว่า เราเป็นอยู่หรือหนอ หรือไม่เป็นอยู่หนอ เราเป็นอะไรอยู่หนอ เราเป็นอย่างไรอยู่หนอ สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ เขาจักไปในที่ไหน
ดังนี้ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุไร เพราะว่า อริยสาวก เห็นด้วยดีแล้ว ซึ่งปฏิจจสมุปบาท และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น เหล่านี้ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงฯ
จบสูตรที่ ๑๐
ความคิดและการกระทำของคุณ ทุกกาละปัจจุบัน คุณคิดในเหตุปัจจัย ที่เกิด กรรมดีหรือกรรมร้าย คุณคิดและทำ เหตุปัจจัยก็เกิด และมันก็ไม่เที่ยง ถ้าคุณกำหนดรู้ คิดถูก คิดดี คิดได้ และก็ทำได้ถูกและดี ก็มั่นใจว่าถูกต้อง ถ้ายึดเป็นตัวเราของเรา ก็เป็นตัวตนของเรา ถ้าไม่ยึดเป็นตัวเราของเรา ก็เป็นอรหันต์ หรือเป็นผู้อยู่ใกล้ นิพพานได้เลย
ความจริงนั้นเล็กกว่าปลายเข็ม อยู่ที่เราทำได้จริงหรือไม่ ทำแล้วยึดหรือไม่ ถ้ายึดก็เสียเวลา ก็ไปหลงว่าดี มันมีใหม่มาอีก ดีกว่าเดิมอีก จะยึดไว้ทำไม นอกจากว่า จะจำไว้ในสิ่งไม่ดี เพื่อเตือนตัวเอง ไม่ให้ทำอีกเท่านั้น
เรียนรู้เหตุปัจจัย ไม่ทิ้งสัมผัส ดับอย่างไม่ทิ้งสัมผัส ดับอย่างนิโรธ เป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็ไม่ทิ้งผัสสะ
ต่อไปพ่อครู จะอธิบายขยายความเกี่ยวกับ สัญญาเวทยิตนิโรธ
สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น สัญญา ตัวนี้ ทำหน้าที่ กำหนดรู้ มิใช่ดับสัญญา ให้เป็น อสัญญีสัตว์ และ เวทยิต นั้นก็เป็น ภาวะที่ถูกสัญญา
ทำหน้าที่เข้าไป กำหนดหมายรู้ ใน ความรู้สึกที่เกิดแล้วนั้นๆ (เวทยิต) หรือ ถูกสัญญาทำหน้าที่ เข้าไปกำหนดหมายรู้ เวทนาในเวทนา-จิตในจิต นั้นแหละ
เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถ กำหนดหมายรู้ ตัวตัณหาในอารมณ์ ได้ และ กำจัดตัณหาใน จิตใจ ได้ ก็จะทำให้ ความรู้สึกที่เกิดแล้วนั้นๆ (เวทยิต) เป็นอารมณ์ เนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา (อารมณ์เป็นกลางวางเฉย เพราะออกจากกามได้ อยู่ขณะนั้น)
ผู้ปฏิบัติก็มี สัญญา ทำหน้าที่ กำหนดรู้ (สัญญา) ภาวะของ เนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา นี้จึง ตามเห็น ความดับขั้นหนึ่ง คือ จิตใจวางเฉย เป็นกลาง เพราะ กิเลสตัณหา ระงับดับไป (นิโรธที่มิใช่ความมืดดำ) อารมณ์กลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ "ความเป็นกลาง" ฉะนี้เอง คือ อาการพื้นฐานแห่งนิโรธ หรือนิพพาน
เมื่อผู้ปฏิบัติทำ การ เกิดผลดับกิเลสได้ (ภาวนาแปลว่า การเกิดผล) อย่างนี้ ก็ต้อง ปฏิบัติให้ได้ผล เช่นที่ทำได้นี้ ทวนแล้วทวนซ้ำอีก (อาเสวนา) ทำให้มาก (พหุลีกัมมัง) เป็นการ พากเพียรรักษาผล (อนุรักขนาปธาน) เพื่อให้เป็น สมาธิ
คำว่า สมาธิ ก็คือ จิตที่ตั้งมั่น ทำเช่นนี้ก็เกิด การสะสม ผลจิต ให้เป็น สมาธิ จนกระทั่ง อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง, ความมีใจวางเฉย, จุดศูนย์ระหว่าง ความสุขกับความทุกข์) นั้นเจริญบริบูรณ์
ก็เป็น มัชฌิมา (ตรงกลาง, กลางๆ) นั่นคือ สัมบูรณ์ใน ความเป็นกลาง ไม่เหลือทั้งปลาย (อันตา) ที่เป็น กามสุขัลลิกะ แม้นิดแม้น้อย ไม่เหลือทั้งปลาย (อันตา) ที่เป็น อัตตกิลมถะ แม้นิดแม้น้อย
การทำจิตเกิด อุเบกขา สำเร็จ คือ การทำ ฌาน
ส่วนการ สะสม อุเบกขา (ผลจิต) คือ การทำ สมาธิ
และผลที่ได้ สมาธิ (ความตั้งมั่นของจิต) จึงตกผลึกลงไปเป็น อาเนญชา
อภิสังขาร คือ การทำปุญญาภิสังขาร จนได้ อปุญญาภิสังขาร สั่งสมผลเป็น อเนญชาภิสังขาร
ทำเช่นนี้ กระทั่ง ผลธรรม บริบูรณ์ ถึงขั้น ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อย่างเที่ยงแท้ (นิจจัง) - ยั่งยืน (ธุวัง) - ตลอดไป (สัสสตัง) - ไม่แปรเป็นอื่นอีก (อวิปริณามธัมมัง) - ไม่มีอะไรจะมาหักล้างได้ (อสังหิรัง) - ไม่กลับกำเริบ (อสังกุปปัง) ก็เป็นอัน จบกิจ
ฉะนี้เอง คือ ความเป็น นิโรธ ของพุทธ
จึงเรียก นิโรธ ชนิดนี้ว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ ที่เป็นแบบของพุทธ
โดยเฉพาะ ไม่มีในศาสนาอื่น แม้แต่ในวงการ ศาสนาพุทธเอง ทุกวันนี้ ก็ได้หลงเข้าใจ ผิดเพี้ยนไปจาก นิโรธ แบบพุทธนี้ กันมากกว่ามากแล้ว
แต่ก็คงไม่ยาก ที่จะทำความเข้าใจ ถ้าฟังด้วยดี ก็เกิดปัญญา แน่นอน
สุสสูสัง ลภเต ปัญญัง นอกจากจะฟังอย่าง ไม่ด้วยดี ก็ไม่ได้ปัญญาแน่
ชัดเจนหรือยังว่า นิโรธ ที่ปฏิบัติ ดับ จิต "เข้า" นิโรธสู่ ความมืดดำ (กิณหะ) แล้วก็ "ออก" จากนิโรธที่เป็น ความมืดดำ นั้น ไม่ใช่ นิโรธอริยสัจ อย่างไร
สรุป นิโรธ แบบพุทธ เป็นการทำความดับ ซึ่งดับเหตุที่เป็นกิเลสไม่ใช่แค่ทำกิณหะ เป็นแค่การทำ ความมืด-ดำ ใส่ใจตนได้เท่านั้น
แต่เป็นการ ทำ ความดับ ที่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง อัตตาที่เป็นตัวตน ของกิเลส อันคือ เหตุ (สมุทัยอริยสัจ) แล้ว สามารถกำจัด เหตุ นี้คือ ตัวตนของกิเลสนั้นๆ ลดละจางคลายไปเรื่อยๆ
จนมี ภาวะ ตัวตนนี้ดับ (นิโรธ) ก็มี ปัญญาญาณตามเห็นความดับ (นิโรธานุปัสสี) ไปตลอดแห่งสัจธรรม คือ สิ่งที่ทรงอยู่จริง
และ แม้จะ ดับเป็นแล้ว ก็ทำอีก ทวนให้แน่นอนมั่นคง ว่า เรา ดับได้จริง ถูกต้องแน่แท้ โดย ตามเห็นการทำทวนนี้ (ปฏินิสสัคคานุปัสสี) ไปตลอดอีกด้วย
จึงเป็นการทั้ง ตรวจสอบทำซ้ำแล้วซ้ำ อีกด้วย อรูปฌาน ๔ จนกระทั่ง ล่วงพ้น เนวสัญญนาสัญญายตนฌาน สู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ
ซึ่งไม่ใช่การเวียนวนเป็นแค่ กิณหะ คือ ทำความมืดดำ ให้ตนอาศัยได้ ชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็ออกมาสู่ความสว่าง (อาโลก) อยู่แล้วๆเล่าๆ เข้าๆ-ออกๆ วนแล้ววนเล่า อยู่อย่างนั้น
แต่เป็น การ ดับตัวตนของกิเลส จนกระทั่งมั่นใจว่า กิเลส มันได้ดับสนิท ไม่เหลือเศษธุลี แม้นิดแม้น้อยเป็นความไม่มี (อากิญจัญญ) เลยจริงๆ โดยการได้ปฏิบัติ ตรวจสอบด้วย อรูปฌาน ๔ จนกระทั่ง สัมบูรณ์
อรูปฌานที่ไม่ใช่ของพุทธ นั้นมีสองแบบ คือ แบบสว่าง และ แบบมืด
แบบสว่าง คือ อภัสรา คือ อากาสานัญจายตนฌาน และ วิญญานัญจายตนฌาน
ส่วนแบบมืดดับ คือ อากิญจัญญายตนธาน และ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ในวิญญาณฐีติ ๗ หรือ สัตตาวาส ๙ ข้อที่ ๓. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพสว่าง อาภัสราพรหม (ว่าง ใส สว่าง แผ่กว้าง) เพราะสัญญา ของแต่ละคน ที่ไปสว่าง ในภพของตน แต่ละคน ก็ไม่เหมือนกัน แต่ก็สว่าง เหมือนกันหมด แต่ว่าสัญญา จะไม่ตรงกันหมด
คำว่า กาย คือองค์ประชุม ซึ่งมีทั้งรูปธรรม และนามธรรม ในที่นี้เราหมายถึง นามธรรม ที่ไปสร้างภพ เป็นแดน อภัสราพรหม
พอ อรูปฌานที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนฌาน ก็คือมันจะว่างเบา ยกตัวอย่าง ในขณะที่เป็นรูปฌาน ก็เหมือนเราอยู่ในโลก มีอากาศ แต่พอไปสู่ อรูปฌาน ก็คือ เหมือนหลุดไปอยู่ นอกโลกเลย เขาก็จะเข้าไปหาภพสว่าง เบา สบาย และสว่าง กว่ารูปฌาน ซึ่งจะยังไม่รู้ตัว แต่ก็ซาบซึ้ง ซับซาบความว่าง รู้สึกสุขเหลือเกิน เบาดีเหลือเกิน เป็น อากาสานัญจายตนภพ
พอรู้ตัวว่า เราอยู่ในภพนั้น รู้ว่าเราไปอยู่ในเมืองอรูป ที่เป็นแดนแล้ว รู้ตัวเองเมื่อไหร่ก็คือ วิญญานัญจายนตฌาน แต่มันก็สว่าง แต่ความรู้แบบผิดๆ ก็รู้ว่า มันต้องดับ เขารู้ว่า การสว่างยังไม่ใช่ ก็ดับมันเลย จิตเราที่ฝึกมา มันจะมีความสามารถไปเรื่อยๆ ไปดับมัน ก็ดับได้ (จริงๆจะดับก็ดับ ตั้งแต่ฌาน ๔ ก็มืดได้แล้ว พ่อครูเคยทำดับ ตั้งแต่ฌาน ๔ เลย)
คนไหนทำอย่าง อาฬารดาบส ก็มี อากิญจัญญายตนฌาน ก็ทำดับ แต่ทำได้ตื้นกว่า อุทกดาบส แม้มีแวบก็ไม่รู้ ดับปี๋ไปให้นานที่สุด เขาว่า ทำดับ ได้นานเท่าไหร่ ก็เก่งเท่านั้น ส่วนอุทกดาบส เก่งกว่าที่รู้ได้ว่า มันยังมีแวบ แต่ก็พยายาม ดับมันอีก เป็น เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน คือรู้ก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่ใช่
พระพุทธเจ้าจัดวิญญาณฐีติ ๗ ข้อสุดท้าย คือ อากิญจัญญายตนฌาน ส่วนเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อยู่ในสัตตาวาส ๙ ข้อที่ ๙
ส่วนอรูปฌาน ๔ ของพุทธ นั้นไม่ใช่การสร้างภพ สร้างชาติ
ดูในวิโมกข์ ๘
๑. ผู้มีรูป(รูปฌาน) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ) จิตจะต้องรู้จักรูป (รูปคือสิ่งที่ถูกรู้) เมื่อเห็นรูป ก็อ่านกาย ตั้งแต่กายนอก (รูปรูป) มาสู่กายใน (คือนามรูป) แต่ก็ยังสัมผัสอยู่
กายในกายที่เรารู้นี่แหละ คือสังขารปรุงอยู่ เช่น มะละกอ สีสวย เราก็ชอบ น่าจะผ่าดู ชิมสักหน่อย ก็ปรุงไป ถ้าเราได้สัมผัส แล้วก็เกิดสุข เกิดทุกข์ คนไม่รู้ก็ปรุงเร็ว ชอบก็เอามาให้ได้ ถ้าได้ก็เกิดสุขเวทนา เราก็อ่านมัน ว่าเรากำลังหลงกับมัน จากกายในกาย หรือมันไม่สมใจ สวยแต่นอก แต่รสชาติ ไม่เอาถ่านเลย ตามสเปค ที่คุณกำหนดอุปาทานไว้ ว่าต้องมีต้องได้ อย่างสเปค
เราอ่านเวทนา ก็คือกายในกาย ที่เราอ่านเนื่องจากกายนอก แล้วกำจัดเหตุ แห่งเวทนา คือตัณหา มีการกดข่ม และวิปัสสนา ให้เห็นเป็นทุกข์ ไม่ใช่กามคุณ จนกระทั่งจิตมี นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณเห็นความน่าเบื่อ - หน่ายในกิเลส เพราะสำนึก เห็นทั้งโทษและภัย มีมุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณรู้เห็น การเปลื้องปล่อย ไปเสียจากโทษ-ภัยเหล่านั้น (อตัมมยตา)
จนจิตมีอุเบกขา จิตจะมีพลังงานที่เป็น ทั้งสภาพ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว กับสภาพที่ เคลื่อนที่ทำงาน จิตที่เคลื่อนไหวใน สังกัปปะ ๗ ก็คือ ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ ส่วนจิตที่ตั้งมั่น คือ อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา
สรุป วิโมกข์ ๘ ข้อที่ ๑. คือ ทำ รูปฌาน ก่อน
๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (๑๐/๖๖) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ) (พ่อครูแปลว่า มีสัญญา ใส่ใจในอรูป คือรู้ทั้งรูปภายนอก ไปจนถึงรูปภายใน ต้องเห็นทุกเวลา แม้ขั้นอรูป ก็ต้องใส่ใจกำหนด)
๓. ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ (พ่อครูแปลว่า เป็นโชคอันดีงาม ที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุหลุดพ้น ได้ยิ่งขึ้น) การทำความรู้ ให้หมดจากภพชาติ คือ อธิมุตโต จิตก็จะโน้มไปสู่ สิ่งที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เป็น รูปฌาน
วิโมกข์ ๘ สามข้อนี้ คือ "รูปฌาน" พอได้สามข้อนี้ เราถึงจะอ่าน นามกายออก รู้วิญญาณฐีติ
วิญญาณฐีติ ๗
๑.สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า
ความเป็นมนุษย์ คือคนจิตสูง คือต้องมีคุณธรรม ซึ่งมีหลากหลาย มันต่างกันไปหมด ในความเป็นมนุษย์
เทวดา มีสามอย่าง คือ สมมุติเทพ อุบัติเทพ วิสุทธิเทพ
คนที่ไม่เข้าใจในโลกทั้งหมดคือ สมมุติเทพ มีตกนรก ขึ้นสวรรค์ อยู่ตลอดกาล เช่นพระราชา เป็นสมมุติเทพ เป็นเจ้าแผ่นดิน สั่งฆ่าใครก็ได้ มีทั้งสมบัติและอำนาจ ยึดมากแล้ว ได้มากหรือน้อยตามใจ ก็เป็นเทวดาเท่านั้น
คนที่มาเรียนรู้ว่า การยึดอย่างนั้นไม่ถูก ก็มาฝึกลด แต่พวกฤาษี จะลดละ ไม่ถูกตัวตน การได้สุขในอบาย คือเทวดาในนรก เช่นเป็นเซียนไพ่ เป็นเซียนอบายมุข ต่างๆ พวกมิสทิฟฟานี่ พวกกระเทย ที่แปลงเพศ แล้วมาเต้นเปลือย คือมันอยากอวด เขาว่าเขามีของดี ก็อยากอวด พอได้อวด ก็เป็นสวรรค์ ในอบายภูมิ
ถ้าลดกิเลสได้ ก็เป็นสุข เป็นเทวดาแบบอุบัติเทพ ถ้าสมใจในกิเลส ก็เป็นเทวดาสมมุติเทพ
ใน มโนปวิจาร ๑๘ ที่มีเคหสิต-เนกขัมมะ ที่มี ๓ อารมณ์ คือ สุข-ทุกข์-อุเบกขา เกิดทาง ๖ ทวาร ก็คือ หกคูณสาม เท่ากับ ๑๘ นี่คือ การอ่าน เวทนาในเวทนา ต้องชัดทั้งสองข้าง รู้โลกโลกุตระ (เนกขัมมะ) และรู้โลกียะ (เคหสิตะ)
เราทำการลดกิเลส แต่ก็ทุกข์อยู่ ทำได้ไม่เก่ง ก็คือฌาน ๑ คือ เนกขัมสิตทุกขเวทนา ก็ทำให้เก่งให้ชำนาญ ก็เป็นฌาน ๒-๓-๔ มีเนกขัมสิตสุขเวทนา ก็ทำอุเบกขา ให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ
เมื่อได้อุเบกขา ก็ทำอาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง
อากาสานัญจายตนฌาน คือ ธาตุของความว่าง คือการรักษาผล ที่จิตเรา อุเบกขาแล้ว เราตรวจความว่าง และตรวจจิต ที่ไม่มีกิเลส เป็นธาตุรู้ ที่เป็นอาการจิต ปริสุทธา (ความว่าง) ปริโยทาตา (ความผ่องสะอาด) มุทุ กัมมัญญา มีปฏิสังขานุปัสสนาญาณ สังขารุเปกขาญาณ (พัฒนาการ ทนต่อสังขาร) พัฒนา สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ ไปเรื่อยๆ วิญญาณจะสะอาด บริสุทธิ์ อยู่หรือไม่ แม้คุณจะต้องมีสังขาร ปรุงแต่ง กระทบสัมผัสกับโลกเขา ก็ต้องปริโยธาตา เมื่อเจริญบริสุทธิ์ขึ้นก็ตรวจ
อากิญจัญญายตนฌาน ก็รักษาไม่ให้มีผี ไม่ให้มันมีแวบ ถ้ามันมีแวบ ก็ต้องทำอีก ต้องกำหนดรู้ ให้สำคัญสมบูรณ์เลย ว่างอย่างไม่สิ้นสุด วิญญาณก็ใสสะอาด มีองค์คุณอุเบกขา ๕ คือ
๑.ปริสุทธา (บริสุทธิ์ปราศจาก กิเลสนิวรณ์ ๕)
๒.ปริโยทาตา (ผุดผ่องขาวรอบแข็งแรง แม้ผัสสะกระแทก)
๓.มุทุ (รู้แววไว อ่อน-ง่ายต่อการดัด ปรับปรุงให้เจริญ) .
๔.กัมมัญญา (สละสลวยควรแก่การงาน อันไร้อคติ) .
๕.ปภัสสรา (จิตผ่องแผ้วแจ่มใส ถาวรอยู่ แม้มีผัสสะ)
ส่วนเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ก็คือไม่มีไม่รู้ จะว่ารู้ก็ไม่รู้ จะว่าไม่รู้ก็ไม่รู้ ไม่ได้ ต้องรู้ครบ สว่าง
๒.สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน เป็นต้น ฌาน มีเงื่อนไขหลักคือ ไม่มีนิวรณ์ เหมือนกันหมด แม้ฌานที่ ๑ ก็ไม่มีนิวรณ์
เมื่อเข้าใจตรงกัน รู้จักสัตว์ชั้นต่ำของเรา เหตุที่เป็นสัตว์ เราก็ล้างได้ จิตเป็นฌาน ในขณะที่จิตเป็นฌาน ไม่มีนิวรณ์ ๕ จากฌาน ๒-๔ ก็อยู่ในวิญญาณฐีติ ๗ ข้อ ๒ ก็ทำได้เก่งขึ้น จนเป็นอุเบกขา
๓. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพสว่าง อาภัสราพรหม (ว่าง ใส สว่าง แผ่กว้าง) เข้าสู่อรูปฌานแล้ว มีกายอย่างเดียวกัน คือสว่าง แต่สัญญาของคุณ จะไม่ตรงกันหรอก (อย่างโสดาฯ ของธรรมกาย ก็ใสต่างกัน)
๔. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพมืด สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืดเป็นโชค) พวกฤาษีจะดับมืดแข็ง แต่ของพุทธนี้ จะอธิบายได้ยากหน่อย
กายอย่างเดียวกัน คือองค์ประชุมของนิโรธนั้น อย่างเดียวกัน คือดับเหมือนกัน แต่มันต่างกันที่ ของพุทธก็อย่างหนึ่ง ของฤาษีก็อย่างหนึ่ง สัญญาอย่างเดียวกัน แต่มีนัยยะต่างกัน
คำว่า "ไม่มี" ของฤาษี เข้าไปในภพก็ "ไม่มี" ดับปี๋ แต่ ไม่มีจักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ซึ่งของพุทธ จะมี จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างรู้แจ้ง เข้าใจว่า การดับกิเลส เป็นอย่างไร เป็นนิโรธที่สัญญากำหนดรู้ชัดเลย เป็น สัญญาเวทยิตนิโรธ
ก็ตรวจในวิญญาณฐีติ ๗ หรือ สัตตาวาส ๙ อีกคือ
๕. สัตว์บางพวก ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ เช่น เทพจำพวก อสัญญีสัตว์ (อุทกดาบส ทำนิโรธสมาบัติ ดับจนไม่รับรู้อะไร)
๖. สัตว์บางพวก เข้าถึง..อากาสานัญจายตนะ (พ้นรูปสัญญา)
๗. สัตว์บางพวก เข้าถึงชั้น..วิญญาณัญจายตนะ (พ้นเสพความว่าง
๘. สัตว์บางพวก เข้าถึงชั้น..อากิญจัญญายตนะ (ดับดิ่งไม่มีอะไร)
๙. สัตว์บางพวก.เข้าถึงชั้น..เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ดับๆ รู้ๆ)
ต้องพ้นสัตตาวาส ๙ หมดเลย นี่คือของพุทธ เป็น สัญญาเวทยิตนิโรธ มี จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
ส.เดินดินสรุป...วันนี้พ่อครูพยายามสำสิ่งที่ยาก มาอธิบาย ให้เราเกิด ความกระจ่างมากขึ้น.....
จบ
|