560602_รายการวิถีอาริยธรรม โดยพ่อครูและส.ฟ้าไท
เรื่อง ดับอุปาทานในเวทนาขันธ์จึงเข้าขั้นนิโรธสมาบัติ ตอน ๒

                ส.ฟ้าไปเปิดรายการ ที่บ้านราชฯ วันอาทิตย์ที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๖

 วันนี้พ่อครูก็คงจะมีปรโตโฆษะ และโยนิโสมนสิการ เกี่ยวกับ sms ที่ส่งมา เกี่ยวกับเรื่อง อภิธรรม ที่จะได้อธิบาย แถลงไข ให้เกิดความเข้าใจ อย่างลึกซึ้งทั่วกัน

วันนี้พ่อครูก็จะได้ขยายความต่อ ในเรื่องที่ได้เรียบเรียงมา เพื่อให้เห็นเป็น ปรับปวาทะ (คือมีวาทะอันเป็นอื่น ไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็จะต้องจัดการ มาบอกแสดง เปิดเผยจำแนก แสดงธรรม อันมีปาฏิหาริย์ ในทางปัญญา ทางปรมัตถธรรม ไม่ใช่อิทธิปาฏิหาริย์ หรืออาเทสนาปาฏิหาริย์

0888705xxx ทุกข์อันเกิดจากรูป ดับไปแล้ว =ดับเฉพาะทุกข์ แต่รูปมิได้ดับด้วย อย่าโง่ซิ

                รูปมีทั้งที่เกิดจากรูปจิต อรูปจิตก็ได้ รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ เล่น ตาสัมผัสรูป หูได้ยินเสียง ซึ่งมันเป็นไตรลักษณ์ ตามธรรมชาติ เกิด-ตั้งอยู่-ดับไป อย่างธรรมชาติ แต่รูปที่ต้องรู้ คือรูปที่จิตเอาไปปรุงแต่ง เช่นตากระทบรูป หูกระทบเสียง ก็เป็นปัจจุบัน ที่ถูกรู้ แต่เมื่อผ่านไป ก็ไม่มีผัสสะแล้ว ของสดไม่มี คุณจะมีรูปได้ ก็ต้องเอาสัญญา ความจำ ดึงมาระลึกรู้ ถ้าคนที่สร้างรูป ก็เรียกว่า มโนมยอัตตา
                หรือไม่มีรูปก็มีแต่อาการก็ได้ เราก็กำหนดหมายได้ว่า เป็นอาการจิตอย่างไร เช่นนี้ทุกข์ นี้สุข ไม่ต้องมีรูปร่าง สีสันเส้นเสียงอะไร แต่เป็นอาการ มันก็รู้ได้ คือสิ่งที่ถูกรู้ นี่แหละ ที่เรียกว่า นามรูป คือนามธรรมที่ถูกรู้ เรียกว่า รูป
                ซึ่งนามรูปเหล่านี้ รู้ได้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ (ล.๑๖ ข้อ ๖๐)
                รูปที่คุณ 8705 หมาย คงหมายถึง กายหยาบเท่านั้น เช่นเห็นมังคุด มังคุดคือรูป แน่นอน เมื่อตากระทบไป ก็ดับแต่ทุกข์ แต่มังคุดไม่ได้ดับไปด้วย เพราะมันอยู่ที่เดิม เขาว่าดับเฉพาะทุกข์ แต่รูปหรือร่างกาย ไม่ได้ดับด้วย
                พ่อครูว่า... มังคุดมันจะดับหรือไม่ ก็คือรูป แต่ดับหรือไม่ดับนั้น ทุกข์อยู่ที่จิตเรา มังคุดไม่ได้ดับ แต่ทุกข์เราดับ เพราะเราดับเหตุ ที่ทำให้เกิดทุกข์ ที่เป็นนามรูป ก็คือ กิเลสตัณหาอุปาทาน
                ที่ว่าดับเฉพาะทุกข์ แต่รูปไม่ได้ดับด้วย นี่ก็ถูก แต่ว่าพ่อครูว่า รูปนี้ ไม่ได้หมายถึง สิ่งภายนอกเท่านั้น แต่ยังมีรูป ที่เป็นสิ่งที่ถูกรู้ในจิต ซึ่งคือทุกข์ ที่เป็นนามรูป ก็ดับไป รูปที่พ่อครูว่า หมายถึงรูปจิต เป็นสิ่งที่ถูกรู้ อยู่ภายใน ถ้า 8705 หมายความว่า รูปเป็นเพียงกายภายนอก นั่นก็คือ ยังไม่เข้าถึงปรมัตถ์ ที่มีรูป ที่เป็นตัวตน ของกิเลส ที่เป็นสักกายะ เป็นอัตตา ที่เราจับได้ และละล้างไปตามลำดับ

                และ 8705 ก็ว่า 0888705xxx  พธร.เข้าใจผิดว่า คำว่าตัวตน หมายถึงมีรูป ฉะนั้นถ้ามีรูป ก็คือยังมีตัวตน!

                พ่อครู ว่า ก็ถูก ถ้า รูปดับไป ก็ไม่มีตัวตนแล้วสิ ถ้ายังมีรูป ก็ยังมีตัวตน แต่ถ้าเราดับนามรูปหมด ก็ไม่มีตัวตนสิ และเขาสับสน เพราะเขาว่า ทุกข์อันเกิดจากรูป ดับไปแล้ว =ดับเฉพาะทุกข์ แต่รูปมิได้ดับด้วย ก็สับสนสิ

0888705xxx เมฆเป็นปัจจัยให้เกิดฝน แต่มิได้หมายความว่า เมื่อมีเมฆแล้ว ฝนจะต้องตก ทุกครั้งไป ก็หามิได้! ฉันเดียวกัน สำหรับผู้ที่หมดกิเลสแล้ว เช่นมหากัสสัปปะ เมื่อประสงค์ จะดับ กายิกทุกข์ จึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือตัดความเชื่อมต่อ ระหว่าง อายตนะ จึงไม่มีผัสสะเกิดขึ้น! จริงอยู่. .สฬายตนะเป็นปัจจัย ให้เกิดผัสสะ แต่ก็มิได้ หมายความว่า เมื่อมีสฬายตนะแล้ว ผัสสะจะต้องเกิดทุกครั้งไป! มหากัสสัปปะ ก็ยังมีสฬายตนะอยู่ แต่ผัสสะดับแล้ว!

พ่อครูว่า ของพระพุทธเจ้า ดับเมฆ คือเหตุปัจจัย ไม่เหลือเลยนะ การตัดความเชื่อมต่อ ระหว่าง สฬายตนะ ก็ไม่มีผัสสะก็ถูก แต่เขาเข้าใจว่า นิโรธต้องเข้าไปดับผัสสะ อยู่ในภพ และต้อง ดับเวทนา ให้เหลือเพียง 0.001 % เหมือนกับหมอ วางยาสลบ อย่างนี้ พ่อครูเข้าใจ และทำเป็น คุณก็ไม่เชื่อ และก็ท้าทายด้วย พ่อครูก็ว่า ไม่ได้ดับเก่ง อย่างฤาษี ดับได้เป็นวันได้ แต่หลายวันไม่ได้ คุณท้าทายมาก็ชนะสิ แต่อย่างนั้น ไม่ใช่ของ พระพุทธเจ้า แต่นิโรธแบบพระพุทธเจ้าสิ ถ้าไม่ได้ พ่อครูเสียใจ ไม่ได้อย่างฤาษี ก็ไม่เสียใจ ได้อย่างพระพุทธเจ้าสิ จึงจะน่าภูมิใจ

สฬายตนะเป็นปัจจัย ให้เกิดผัสสะ พระพุทธเจ้าตรัสว่า อายตนะจะเกิดได้ ต้องมีผัสสะ อายตนะเกิด เมื่อมีเหตุปัจจัย คือผัสสะ  

0888705xxx สฬายตนะภายใน หมายถึง ตาหูจมูกลิ้นกาย (5อย่างนี้ รวมเรียกว่ารูปกาย) และใจ (หรือนามกาย) ซึ่งทั้งมนุษย์ เทวดา รูปพรหม เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์นรก ล้วนแต่มี สฬายตนะภายใน คือมีทั้งรูปกาย และนามกาย ส่วนอสัญญีสัตว์ มีแต่รูปกาย ไม่มีนามกาย ส่วนอรูปพรหม มีแต่นามกาย ไม่มีรูปกาย ฉะนั้น ผีเปรตเทวดา ทั้งหลาย จึงมีรูปกาย ให้เห็นได้ด้วย! แต่เป็นรูปกายละเอียด ที่เห็นได้ด้วยใจ (SixSense) เท่านั้น! แต่คนที่เห็น ดันไปคิดว่า เห็นวิญญาณ!

พ่อครูว่า ถ้าแยกรูปกาย กับนามกายไม่ออก รูปกายนั้น คนหรือสัตว์ ที่มีธาตุรู้ คือนาม ก็จะรู้จัก องค์ประชุม คือนามกาย ส่วนพืชนั้น ไม่มีจิตวิญญาณ ไม่มีเวทนา ไม่มีวิญญาณ ซึ่งในรูปพรหม หรืออรูปพรหม ก็คือสัตว์ทางจิตวิญญาณ อย่างนี้ ไม่มีสรีระ ส่วนผู้ที่ปั้น ก็เป็น มโนมยอัตตา ก็รับรู้ได้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ

อสัญญีสัตว์ก็คือ สัตว์ที่ไม่มีสัญญา ก็มีแต่รูป ไม่มีเวทนา ไม่มีวิญญาณ ส่วนอรูปพรหม มีแต่นามกาย ไม่มีรูปกาย ก็คือรูปกายที่หยาบไม่มีจริง แต่สิ่งที่ถูกรู้ ด้วยญาณคือ นามกาย หรือนามรูป ขั้นอรูปอย่างนี้มี เป็นรายละเอียด ที่พ่อครูเห็น แน่นอนคำว่า รูปกาย ของ 8705 หมายถึง สิ่งที่มีสีสัน รูปร่างแน่นอน

เขาใช้คำว่า อรูปพรหมมีแต่นามกาย ไม่มีรูปกาย แต่ของพุทธนั้น เห็นได้ทุกอย่าง

0888705xxx พธร.ผู้โง่เขลาอยู่แล้ว ก็เลยอ้างพตปฎ. ว่าวิญญาณเป็นอสรีรัง ที่เห็นไม่ได้! จึงไปสรุปว่า ผีเปรตเทวดา ไม่มีจริงหรอก! ที่คนไปเห็นเข้า ก็เพราะอุปาทาน คิดจินตนาการ ไปเองตะหาก! แหม มันจึงน่าตี พธร.ยิ่งนัก

พ่อครูว่า คุณฉลาด แต่ทำไมคุณไม่ฉลาดอีกที พ่อครูไม่ได้บอกว่า ผี เปรต เทวดา สัตว์นรก ไม่มี แต่เห็นว่ามี และก็ดับไม่ให้มันมีในจิตได้ ทั้งรูปละนาม ก็ไม่มี ในจิตพ่อครู พ่อครูทำให้มันไม่มี ไม่ได้ปฏิเสธว่ามันไม่มี แต่สามารถทำ ให้มันไม่มี จึงรู้ได้

0888705xxx ก็อย่างที่เราเห็นคนกันเนี่ย เราเห็นวิญญาณคนกันหรือ? ซึ่งก็เปล่า! ฉันเดียวกัน ที่เราเห็นผีเปรตเทวดา เราเห็นวิญญาณผีเปรต เทวดากันหรือ? ซึ่งก็เปล่า เหมือนกัน! จริงไม๊ เพียงแต่คนทั่วไป ไม่รู้บัญญัต จึงพูดผิดไปว่า เห็นวิญญาณ!

พ่อครูว่า..เขาพูดถูก แต่เขากำหนดผิด เพราะสิ่งที่ถูกคือ วิญญาณไม่มีรูปร่าง (อสรีรัง) เห็นไม่ได้ (อนิทัสสนัง) แต่เขาก็เห็น แต่ถ้าเขาแยกแยะได้ เขาจะเข้าใจ

เขายังไม่มีความรู้ สัตตาวาส ๙ แม้แต่ข้อแรก คือ มีกายต่างกัน สัญญาต่างกัน คำว่า กาย คือองค์ประชุม ที่เกี่ยวกับ วัตถุรูปภายนอก กระทบเข้าไปเป็น องค์ประชุมภายใน

ถ้าหมายเอาแต่ใน คือนามธรรม ก็เห็นกายต่างกัน จะกำหนดว่า มนุษย์เปรต คนนี้ ก็จะมีกาย เป็นรูปร่างเปรต หรือเป็นนางนาค ต่างกันไป ตามแต่ละคนยึดถือ แล้วแต่ จะสมมุติกันไป ส่วนเทวดา ก็สมมุติต่างกันไป เทวดาฝรั่ง เทวดาไทย ก็ต่างกันไป สารพัด

ส่วนสัตตาวาส ข้อ ๒ กายอย่างเดียวกัน แต่สัญญาอย่างเดียวกัน เช่น ผู้ได้ปฐมฌาน หมายความว่า มีเงื่อนไขหลักคือ "ไม่มีนิวรณ์" แต่ฤาษีก็ไม่มีนิวรณ์ อย่าเดียวกับพุทธ แต่องค์ประชุม ของฌาน ก็ต่างกัน คือกายต่างกัน ตั้งแต่ฌาน ๑-๔ ก็ต่างกัน ของฤาษี ต้องอยู่แต่ในภวังค์ ไม่มีผัสสะกระทบ จึงเป็นฌาน แต่ของพุทธ กระทบอยู่ ก็มีฌาน

                ต่อไปก็อธิบาย สิ่งที่พ่อครูเรียบเรียงมา โดยเอานิโรธเป็นหลัก ถ้านิโรธพุทธ เรียกว่า สัมมาฌาน สัมมาสมาธิ เป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ แต่ถ้านิโรธของทั่วไป ก็เรียกนิโรธ แต่คนไม่เข้าใจพุทธ ก็ไปเอา สัญญาเวทยิตนิโรธ มาแปล ผิดๆอีก พ่อครูก็ต้อง ปรับปวาทะ ให้เรียบร้อยโดยสหธรรม

                สรุป “นิโรธ” แบบพุทธ เป็นการทำ“ความดับ” ซึ่ง “ดับเหตุที่เป็นกิเลส”
                ไม่ใช่แค่ทำ“ กิณห” เป็นแค่การทำ“ความมืด-ดำ” ใส่ใจตนได้เท่านั้น
                แต่เป็นการทำ “ความดับ” ที่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง “อัตตาที่เป็นตัวตนของกิเลส” อันคือ “เหตุ” (สมุทัยอริยสัจ) แล้วสามารถ กำจัด “เหตุ” นี้คือ “ตัวตนของกิเลสนั้นๆ” ลดละจางคลายไปเรื่อยๆ จนมีภาวะ “ตัวตนนี้ดับ” (นิโรธ) ก็มีปัญญาญาณ “ตามเห็น ความดับ” (นิโรธานุปัสสี) ไปตลอดแห่งสัจธรรม คือ สิ่งที่ทรงอยู่จริง
                และแม้จะ “ดับเป็นแล้ว” ก็ทำอีก ทวนให้แน่นอนมั่นคง ว่า เรา “ดับได้จริง” ถูกต้องแน่แท้ โดย “ตามเห็นการทำทวนนี้” (ปฏินิสสัคคานุปัสสี) ไปตลอดอีกด้วย
                จึงเป็นการทั้ง ตรวจสอบ ทำซ้ำแล้วซ้ำอีกด้วย “อรูปฌาน ๔” จนกระทั่ง ล่วงพ้น “เนวสัญญนาสัญญายตนฌาน” สู่ “สัญญาเวทยิตนิโรธ”
                ซึ่งไม่ใช่ การเวียนวนเป็นแค่ “กิณหะ” คือ ทำ “ความมืดดำ” ให้ตนอาศัย ได้ชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็ออกมาสู่ “ความสว่าง” (อาโลก) อยู่แล้วๆเล่าๆ เข้าๆ-ออกๆ” วนแล้ววนเล่า อยู่อย่างนั้น

                แต่เป็น “การดับตัวตนของกิเลส” จนกระทั่ง มั่นใจว่า “กิเลสมันได้ดับสนิท” ไม่เหลือเศษธุลี แม้นิดแม้น้อยเป็น “ความไม่มี” (อากิญจัญญ) เลยจริงๆ โดยการได้ปฏิบัติ ตรวจสอบด้วย “อรูปฌาน ๔” จนกระทั่งสัมบูรณ์
                เพราะ “ดับได้” สิ้นเกลี้ยงกิเลส “อาสวะ” สุดท้าย ไม่มีเกิดในจิตอีกเลย ตลอดไป กิเลสก็ดับสิ้นซาก สุดเกลี้ยงของ “ความไม่มีอะไรอีก” (พ้นอากิญญจัญญ)
                จึง “เข้าถึงภูมิ” (อุปัชชติ) ที่เรียกว่า “เนวสัญญานาสัญญายตนภพ”
                และท้ายสุดนี้ จึงจะหลุดพ้น (วิมุติ) หรือล่วงพ้น (สมติกฺกมติ)ได้จากภาวะ ที่เรียกว่า ฌาน หรือภพ ขั้น “อรูปฌาน” สูงสุด คือ พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (ต้องย้ำว่า แบบพุทธ) ซึ่งเป็น “ฌาน” ขั้นสูงสุดแล้ว ที่ยังไม่รู้ (อวิชชา) ถึงขั้นแจ้งจบ
                ผู้ที่สามารถ ล่วงพ้นหรือหลุดพ้น แม้แต่ “ฌาน หรือภพ” ขั้นปรมาภิธรรม ละเอียดสูงสุด คือ “เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน” (แบบพุทธ) นี้ไปได้แท้จริง ก็หมดสิ้น “เหตุ” เป็น“นิโรธสมาบัติ” ถาวร อยู่ในชีวิตประจำวันปกติ กิเลสดับ มี“นิโรธ” ในชีวิตสามัญ ตลอดไป ชื่อว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธ” ซึ่งเป็นของพุทธแท้ๆ ไม่ต้องเข้าๆ-ออกๆ อะไรแบบนั้น
                จึงเป็น การ “รู้” แจ้งจบครบหมดสิ้น ไม่มีเหลือ “ความไม่รู้” (อวิชชา) แม้แต่ขั้น ที่ชื่อว่า “เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ” สู่ “สัญญาเวทยิตนิโรธภูมิ”
                เป็นความรู้ที่เรียกว่า “อนุตตริยะ”  คือ เหนือกว่าเหนือ ไม่มีเหนือกว่านี้อีกแล้ว, ภาวะที่ยอดเยี่ยม, สิ่งที่ยอดเยี่ยม, สิ่งที่ไม่มีอะไรเปรียบ, ความเลอเลิศ
                เพราะ “มี ความหมดสิ้นภพชาติ” และสูงสุด “พ้นกิจ-จบกิจ” ที่เรียกว่า “ทำฌาน” จบสุดแล้ว คือได้ “เผากิเลสสุดท้ายในจิตใจ เกลี้ยงสะอาดสุด” ทั้งมี “ความรู้ ขั้นอนุตตริยะ ๓ “ แล้วบริบูรณ์ คือ ๑.ทัสสนานุตตริยะ = การเห็นอันเยี่ยม ๒.ปฏิปทานุตตริยะ = การปฏิบัติอันเยี่ยม ๓.วิมุตตานุตตริยะ = การพ้นอันเยี่ยม
                จึงเป็นการ สิ้นสุดแห่ง “อาสวะสุดท้าย” คือ “วิชชาสวะ” หรือ “อวิชชาสังโยชน์” ก็เป็นอันหลุดพ้น” หมดสิ้นสัมบูรณ์ ทุกประการ
                 “ความคิด” หรือ “ความรู้” แบบพุทธ นั้นอย่างนี้ หมายถึง “นิโรธ” ที่ได้ต้อง เห็นๆแจ้งๆ (สัจฉิ) เมื่อบรรลุจึงมี จักษุ-ปัญญา-ญาณ-วิชชา-แสงสว่าง (อาโลก)
                ส่วนอีก “ความคิด” หรือ “ความรู้” ที่ไม่ใช่พุทธ ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง คือ “นิโรธ” ที่ได้ต้อง ไม่รู้ไม่เห็น ไม่เป็นไม่มี เมื่อบรรลุ จึงมี “ความมืดดำ (กิณหะ)
                ฉะนี้แล คือ ภาวะที่เรียกว่า “นิโรธ” ๒ ขั้วสำคัญ ที่มีอยู่ในโลก ลองวิจัย แยกแยะ ความเป็น “นิโรธ” ๒ ขั้วนี้ กันละเอียดๆ ดูบ้างซิ
                (ก) “นิโรธ” ที่ไม่ใช่พุทธ หรือ ชาวพุทธที่ยัง “มิจฉาทิฏฐิ”
                ผลธรรมที่ได้ มักจะหมายถึง “มี” (โหติ) ภาวะอย่างหนึ่ง แต่ยังไม่ถูกต้อง ตามเป็นจริง เพราะ “ผลธรรม” ที่ได้ ยังไม่ใช่ผลธรรม ที่เข้าขั้น “ความไม่มีในโลก” (โลเก นัตถิตา) อีก “ตลอดไป” ที่สำเร็จเด็ดขาด อย่างเป็นจริง “ภาวะ” ที่ได้ที่ชื่อว่า “นิโรธ” นั้นจึงคลาดเคลื่อน คือผิดไปจาก ภาวะอริยสัจ ที่ชื่อว่า “นิโรธ”
                 “นิโรธ” ที่ได้ จึง ไม่ใช่ “นิโรธอริยสัจ” เพราะ สัญญา” ยังวิปลาส เมื่อวิปลาส “สัญญา” ก็กำหนดหมาย คลาดเคลื่อนไปจาก ความเป็นจริง ที่เป็นความจริงขั้น“อริยสัจ” หรือขั้น“ปรมัตถสัจจะ” (สิ่งที่เป็นจริงอันประเสริฐสุด)
                สัญญาที่มิจฉาทิฏฐิ จึงเป็น“คนละอย่าง” จากอริยสัจ เพราะจะกำหนด หมายรู้ (สัญญา) เอาตาม“ทิฏฐิ” ของตน (นานัตตสัญญิโน) ย่อมได้ผลตาม“ทิฏฐิ” ที่“ผิด” ไปจาก“อริยสัจ ๔” ก็จะได้ภาวะนั้นๆ ตามสมรรถนะ ของแต่ละคน
                 “กาย “ ที่ได้ก็เป็น “องค์ประชุมของรูปของนาม” (กาย) ที่แตกต่างกันไปตาม“สัญญา” ที่มีภูมิรู้ อย่างนั้นอย่างนี้ ของแต่ละคน “กำหนดหมาย” และเมื่อสร้าง หรือสังขารให้ได้ ก็ย่อมได้“กาย” ตามความสามารถต่างๆ (นานัตต กาโย)
                ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน “สัตตาวาส ๙” ข้อที่ ๑
                หรือ “วิญญาณฐิติ ๗” อันเป็นหลักธรรม ลึกซึ้งสำคัญ (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๕๓, ๔๕๗ และเล่ม ๒๓ ข้อ ๒๒๘ หรือในเล่ม ๑๑ ข้อ ๓๓๕ และเล่ม ๒๓ ข้อ ๔๑)
                เพราะฉะนั้น เมื่อทำสำเร็จ จึง“หลงยึดภาวะที่ได้ ที่มีที่เป็นนั้น” อยู่ แล้วหลงว่า ตนมี“ความไม่มี” สำเร็จแล้ว แต่แท้จริงก็ยัง“มี” อยู่แท้ๆ และภาวะที่ได้อยู่มีอยู่” นั้น ก็มิใช่ภาวะ“ไม่มี” (น โหติ) ที่ถูกต้องตามสัจธรรมจริงเลย
                ทั้งๆที่ภาวะของ “ผล” นั้น มิใช่ “ความไม่มี” ภาวะจริง ของ “นิโรธอริยสัจ” มิใช่“ความดับสนิทสิ้นซาก” มิใช่ความไม่เหลือแล้ว ของ“ภาวะที่จะมิให้มี” นั้น (คือการดับสิ้น กิเลสาสวะ) ซึ่งจะต้อง“ไม่มี” อีกแล้ว ในความเป็น“กาย” และ“ในโลก”
                ทั้งๆที่ ตน “หลงยึดความไม่มี” นั้นอยู่ ผู้หลงผิดนี้ ก็ไม่รู้ได้ว่า ตน “มี” (โหติ) ความยึดนั้น
                ฉะนี้แลคือ “ความไม่มีในโลก” (โลเก นัตถิตา) ย่อมไม่มี (น โหติ)
                 “โลก” ที่ว่า “ไม่มี” (น โหติ)นั้น ก็คือ ความไม่มี (นัตถิ) โลกนิโรธ เพราะเขายังมี “โลกสมุทัย” อยู่ เขาจึงไม่มี” ภาวะที่ “โลกทั้งโลกไม่ควรมี” [ผู้สนใจ ค้นคว้าได้จาก พระไตรปิฎก เล่ม ๑๖ ข้อ ๔๓]
                ซึ่งความเป็น “นิโรธอริยสัจ” นั้น ต้องเป็น “ความไม่มีภาวะนั้นอีกแล้ว” ในความเป็นโลก เมื่อเขา “สัญญา” ผิด หรือ “ปฏิบัติผิด” เขาย่อม “ไม่มี” (น โหติ) ภาวะที่ควร “มี” สมจริงตามความรู้
                เพราะยังไม่สามารถแยกความเป็น “กาย” ได้ จึง “ยึดกาย” ี่ไม่ใช่ “นิโรธอริยสัจ” นั้นเป็น “อัตตา” อยู่ เพราะ “สัญญา” ยัง“วิปลาส” (บาลีคือ วิปัลลาส = ความคลาดเคลื่อน, กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริต ผิดจากความเป็นจริง, ความเห็น หรือความเข้าใจ คลาดเคลื่อน จากสภาพที่เป็นจริง)

                 “เหตุ” ที่ทำให้มีความคลาดเคลื่อน ผิดพลาดอยู่ ก็เพราะ...
                ๑. หลงว่าตนปฏิบัติมี “นิโรธ” แล้ว แต่แท้จริงนั้น เพราะมิจฉาทิฏฐิอยู่ จึงสัญญาวิปลาส เพราะกำหนดหมาย "นิโรธ” ไม่เป็นบ้าง กำหนด “นิโรธ” ผิดพลาด คลาดเคลื่อน ไปจากภาวะที่เป็น “สัมมานิโรธ” บ้าง เพราะกำหนด วิธีปฏิบัติผิด คลาดเคลื่อนไปจาก มรรคอริยสัจ ของพุทธบ้าง

                ๒. ตนยังมีกิเลสอยู่ แต่หลงว่าตนเอง ปฏิบัติถึงขั้น “ดับกิเลส” แล้ว เนื่องจาก สัญญาวิปลาส เพราะเข้าใจความเป็น “สัญญา” คลาดเคลื่อนไปบ้าง จึงกำหนดหมาย ปรมัตถธรรม ไม่ถูกต้องได้แท้จริง
                เพราะกำหนดหมาย ความเป็น “กาย” คลาดเคลื่อนไปจาก สัจธรรมบ้าง ไม่ว่า “รูปกาย” หรือ “นามกาย” โดยเฉพาะ กำหนดหมาย “ตัวตนของกิเลส” (อัตตา) ไม่ถูก “นามกาย” ของมัน จึงล่วงพ้น (สมติกฺกมติ) แม้แค่กิเลสขั้นต้น คือ วีติกกมกิเลส ไปตามลำดับ ก็ยังไม่ได้ จึงไม่ถูกต้อง (คือผิด) ตั้งแต่เบื้องต้น

                ๓. กำหนดการเกิด (ชาติ) ยังไม่ “สัมมาทิฏฐิ” จึงยังผิดพลาด คลาดเคลื่อนอยู่ ก็ยังสัญญา วิปลาสอยู่ เช่น ต้องเข้า-ต้องออกอยู่ เมื่อ “เข้านิโรธ” ก็มี “การดับ” เมื่อ "ออกนิโรธ” ก็มี “การเกิด” นั่นคือ ยังวนอยู่กับ การเกิด-การดับ จึงยัง“ไม่มีความดับเหตุ ดับปัจจัย” กระทั่งสิ้น "ไม่เกิดไม่ดับ” อีก จึงไม่ใช่การดับ“ชาติ” จนสนิทเด็ดขาด
                เพราะยังมี“การเข้านิโรธ” แล้วยังมี“การออกนิโรธ” จึงยังมี“การดับ” แล้วก็ วนเวียนมามี“การเกิด” แล้วก็ยังมี“การดับ-การเกิด” อีก แสดงว่า ไม่รู้จักแม้แต่คำว่า “ชาติ” ที่เป็นปรมัตถธรรม

                ๔. ยังมีโลก (ภพ) เพราะไม่ได้ “ดับเหตุ” แห่งการเกิดโลก (ภพ) แบบอริยสัจ ๔ ยัง มีโลก (ภพ) เพราะ ยังไม่รู้จัก โลกหรือภพ เช่น โลกที่เป็นโลกียะ นั้นเป็นไฉน โลกที่เป็นโลกุตระ นั้นเป็นไฉน แม้แค่ความเป็น "โลกนี้ (อยังโลก) –โลกหน้า (ปรโลก)” ก็ยังไม่สัมมาทิฏฐิ จึงไม่สามารถปฏิบัติ “มรรค องค์ ๘” ให้เป็น “สัมมามรรค - สัมมาผล” (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๕๒ - ๒๘๑) จึงยังมี “โลกสมุทัย” อยู่ แน่นอน  “โลกนิโรธ” จึงยังไม่มีอยู่นั่นเอง

                ๕. ยังมีความเป็นสัตว์ มีสังโยชน์ มีความเป็น “สัตตาวาส ๙” อยู่ “สัตว์” ในที่นี้คือ สัตว์โอปปาติกะ สัตว์ทางจิตวิญญาณ จึงยัง“ไม่พ้นสังโยชน์” สัมบูรณ์
                เพราะ“ตัวตน” (อัตตา) ของสัตว์ ตั้งแต่“สักกายะ” อันเป็นตัวตน” (อัตตา) ของสัตว์เบื้องต้น ต่อไปจนถึง“ตัวตน” เบื้องกลาง และสุดท้าย“ตัวตนเบื้องปลาย” คือ“อาสวะ” ตามลำดับ ลาดลุ่มเหมือนฝั่งทะเล“กิเลสหรืออัตตา” จึงถูกกำจัด ได้ไม่ละเอียดชัดจริง บริบูรณ์
                นั่นคือ ยังไม่สิ้น “สังโยชน์ ๑๐” หรือ “อนุสัย ๗” บริบูรณ์ เพราะ ยังไม่สัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ถึงขั้น“เห็น” (ปัสสติ) ความจริง ด้วยปัญญายอดยิ่ง (สัมมัปปัญญา) ว่า “อัตตา” หรือ“ตัวตนของกิเลสหยาบ – กลาง - ละเอียดทั้งหลาย” ได้“ดับด้วยการสำรอก โดยไม่เหลือ” (อเสสวิราคนิโรธา)หมด แม้ที่สุด“อาสวะ” สิ้นแล้ว ชนิดที่ “รู้อยู่-เห็นอยู่เป็นปัจจุบัน” (ชานโต ปัสสโต วิหรติ) นั่นเทียว

                ๖. ยังมี “กาย” ที่ไม่สัมมาทิฏฐิ เพราะความเป็นนิโรธ ของคนผู้นี้ยัง “มิจฉาทิฏฐิ” จึงได้ “นิโรธ” ที่ยัง “สัญญาวิปลาส” อยู่ เช่น นิโรธที่มีองค์ประชุม (กายที่ประชุม เข้าไปอยู่ภายในใจ) เป็นความมืดดำ (กิณหะ) หรือ เป็นความสว่างใส (อาภัสสรา) ก็ยัง “หลง” กันได้ว่า เป็นแดนนิพพาน แดนพรหม ซึ่งเป็นองค์ประชุมในจิตใจ [มิใช่หมายเอา “ร่างกาย” (สรีระ) นะ]
                เพราะ ไม่ได้เรียนรู้ “ กายภายนอก กระทั่งถึงกายใน” ตามลำดับ ให้ครบถ้วน จึงไม่สามารถเข้าใจ ความเป็น “สัตตาวาส ๙” ได้จริง จึงยังทำ “อสัญญีสัตว์” ให้แก่ตน หรือยังหลง “เทพอาภัสสรา” กันอยู่ แม้แต่ “เนวสัญญานาสัญญายตนสัตว์” ก็ยังมืดยังดำอยู่ ไม่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง ด้วยปัญญา ตามความเป็นจริง
                ที่ยังหลงทำให้แก่ตนอยู่นั้น ก็ เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติ ชนิดที่มี “วิญญาณฐิติ ๗” ถูกต้อง บริบูรณ์ จึงไม่รู้จัก รู้แจ้งรู้จริง“ความเป็นกาย” บริบูรณ์ “สัญญา” ของผู้ยังอวิชชา จึงกำหนดหมาย ไปตามทิฏฐิ วิปลาสไปตามภูมิ

                ๗. เพราะ “สัญญา” ที่ “ควรมี” ก็ไป “ทำดับหรือสะกดไว้” ให้มัน “ไม่มี-ไม่ให้มันทำหน้าที่” เสียนี่ หรือไม่ก็รู้จัก “สัญญา” ชนิดที่ผิดเพี้ยน จึงมี “สัญญาวิปลาส” หรือ ไม่มี“สัญญา” ที่“ควรมี” เพื่อทำหน้าที่ กำหนดหมายรู้ ธรรมต่างๆ ได้ครบทั้ง“รูปธรรมและนามธรรม” สัมบูรณ์ แต่กลายเป็น“กำหนดผิดพลาด คลาดเคลื่อนไป”
(สัญญาวิปลาส) “กำหนดหมาย” ให้เกิด “อสัญญีสัตว์” แล้วหลงว่า นี่คือ “นิโรธ” เป็นต้น
                เพราะ ความรู้และคุณภาพของ“สัญญา” ยังคลาดเคลื่อน หรือยังมี“สัญญา” ทำงานไม่สามารถกำหนดรู้“กาย” ได้ครบ ทั้งภายนอกทั้งภายใน ถ้วนบริบูรณ์ เพราะ “สัญญาวิปลาส” อยู่แท้ๆ จึงไม่สามารถมี “สัญญา” สูงสุดถึงขั้น “อรูปสัญญา” ระดับ “เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา” (ความกำหนดหมายรู้ อรูปอัตตา ขั้นสูงสุด) ไม่ต้องพูดไปถึง“สัญญาเวทยิตนิโรธ”

                ๘. หรือแม้แต่ “เวทนา” ที่ “ควรมี” ก็ “ทำดับ หรือสะกดไว้” ให้มัน“ไม่มี” เสียนี่ จึงไม่มี “เวทนา” สูงสุด ถึงขั้นสัมบูรณ์ ด้วย “เวทนา ๑๐๘” ทั้งส่วนอดีต ทั้งส่วนอนาคต” ตามที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ใน “ อวิชชา ๘” ข้อ ๗ เพราะไม่ได้ปฏิบัติ ตรวจสอบด้วย “อรูปฌาน ๔” กระทั่งสัมบูรณ์ ถึงระดับ “จบกิจ” พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อย่างสัมมาทิฏฐิ ในการปฏิบัติสัมบูรณ์ ครบ ๓ กาลของเวทนา ๑๐๘ (ซึ่งมีความรู้ใน “เวทนา ๑๐๘” และปฏิบัติกระทั่ง มีสภาวะ ให้รู้จักรู้แจ้ง ในความรู้สึก ๒-๑๐๘) เพราะสัญญาวิปลาส เพราะมิจฉาทิฏฐิ เพราะอวิชชา

               ๙. ยิ่ง “ผัสสะ” ของ “นิโรธ” ที่ไม่ใช่แบบพุทธ เขา ปิดรู้ ปิดเห็น ปิดเป็น ปิดมี ไปเลย ทั้ง “ความรู้ความเห็น” (ทิฏฐิ) ทั้ง “สัญญา” ที่เป็นการกำหนดหมายรู้ จึงไร้ “จักษุ-ปัญญา-ญาณ-วิชชา-แสงสว่าง” มีแต่ “ความมืดดำ” (กิณหะ) แล้วหลงผิด (โมหะ) ว่าเป็น “โชค” (สุภ) ของตนแล้วหนอ ที่ตนได้เป็น พรหมสุภกิณหะ ก็จึงงมงายกัน ไม่เสร็จ ก็เพราะมี “สัญญาวิปลาส” แท้ๆ จึงแม้จะมี “สัญญาอย่างเดียวกัน” (เอกัตตสัญญิโน) กับผู้ “สัมมาทิฏฐิ” ว่าเขาได้

                ส.ฟ้าไทสรุป... นิโรธเป็นอนุตริยธรรม พ่อครูอธิบายเรื่องรูป ชัดเจน ว่าคืออะไร แม้แต่อรูป ก็เป็นรูปได้ เพราะรูปคือสิ่งที่ถูกรู้ นิโรธแบบพุทธ และนิโรธ แบบดับฤาษี เป็นอย่างไร ต่างกันอย่างไร ต้องทำการตรวจสอบ ทำซ้ำแล้วซ้ำอีก ด้วยอรูปฌาน ๔ จนล่วงสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ ...

พ่อครูเน้นในการพิมพ์ ทั้งตัวหนา ตัวเอียง แถมขีดเส้นใต้อีก ให้เข้าถึงใจ ซึ่งเหตุที่ทำให้ นิโรธวิปลาส มีถึง ๙ ข้อ....

จบ

              

 
๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานราชธานีอโศก