560603_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครู และอ.กฤษฎา
เรื่อง ดับอุปาทานในเวทนาขันธ์จึงเข้าขั้นนิโรธสมาบัติ ตอน ๓

              อ.กฤษฎา สไกป์มาจากสันติฯ วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๖....

ช่วงนี้ก็เป็นการเตรียมตัวรับงานใหญ่ ของชาวอโศก ที่จะมีงาน โฮมไทวัง งานบัณฑิต ศิษย์เก่า และงานอโศกรำลึก งานคืนสู่เหย้า นศ.ปธ. รายการนี้ ก็คงต้อง ตามประเด็น ที่พ่อครูอธิบาย มาอย่างยาวนาน เป็นธรรมะระดับ ปรมัตถ์ แบบเชื่อมโยงกันทุกอย่าง

                พ่อครูว่า ในมหาจักรวาลไม่มีอะไรที่ไม่เนื่องเกี่ยวกัน ไอสไตน์ก็พบทฤษฏี สัมพัทธภาพ ทุกอย่างก็เป็นเรื่องของ ความสัมพัทธ์ สัมพันธ์กัน เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว พระพุทธเจ้า ท่านรู้วิธีตัดต้นตอ หรือตัดเหตุตรงไหน พอตัดเหตุ ตัวที่จะต่อไปก็ดับ ถ้าไม่ดับเหตุก็ไม่จบ

                อ.กฤษฎา นิโรธคือการดับ ในศาสนาพุทธจะพูดถึง การปล่อยวาง เป็นสุญญตา หรือว่างเปล่า ซึ่งสภาวะเหล่านี้ คืออาการของ พระอรหันต์ เป็นสภาวะอนุตตริยะ ทั้งหมดคือ เนื้อเดียวกัน มีความเนื่องต่อกัน อย่างคนที่ sms มาแย้ง ก็ทำให้เราได้ประโยชน์ รู้มิติของนิโรธมากขึ้น
                กระบวนการนิโรธเป็นอย่างไร พ่อครูจะได้อธิบาย ในรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
                พ่อครูว่า เตรียมงาน ตั้งแต่ตีสามครึ่ง ถึงเวลานี้ มาถึงก็หอบเลย รู้สึกว่า มีแรงบรรดาลใจ อะไรมาก ที่อยากจะขยายรายละเอียด ในสิ่งที่จะอธิบาย เมื่อมาก ก็เลยเรียบเรียงยาก แก้ไปแก้มา แต่มันก็จำเป็น ที่จะต้องย้อนไป ย้อนมาหน่อย
                ภาษาที่สื่อสภาวะนี้ จะหยาบกว่า สภาวธรรม นำมาเปรียบได้ยาก แต่เราไม่มีทางเลือก ก็ต้องใช้ภาษา เราใช้ภาษาไทย ส่วนบาลี เขามีภาษา สื่อสภาวะ ได้มากกว่าภาษาไทย ของภาษาไทย ไม่มีภาษาสื่อ สภาวะมากนัก พ่อครูก็เลย ใช้บาลีให้มาก พ่อครูพอสัมผัสบาลี ก็เข้าใจ เพราะมีสิ่งเก่าที่พาไป แต่ก็ยังไม่ออกมาเต็ม พ่อครูก็ไม่ค่อย ไปขุดคุ้ยด้วย ไม่ใช้พลังเหนือปกติ ก็ใช้พลังงานตามปกติ
                ผู้ฟังด้วยดี จะได้ความรู้ ที่ลึกละเอียด และก็จะต้องทำให้ ละเอียดมากขึ้นอีก ตอนนี้ ค้นคว้าไปถึง พระอภิธรรมได้ ก็ค่อยๆดึงออกมาบ้าง ก็จะมีมากขึ้น ซึ่งไม่ง่าย ก็ทำความเข้าใจ ไปตามขั้นตอนก็ได้
                มี sms ของ 0894979xxx คำอธิบายนี้ อยากได้ ติดต่อได้ที่ไหน ผมชอบมาก ละเอียดลุ่มลึก ไม่ค่อยมีใครอธิบาย แบบนี้มากนัก เห็นมีท่านครูนี่แหละ ขอกราบนมัสการครับ

                หนังสือเล่มที่อธิบายนี้ชื่อว่า "รู้คนขังสุข รู้ทุกข์ขังสัตว์" ยังไม่ออกตอนนี้ อาจจะออก ตอนตุลาคมนี้ หรือปีหน้า
                การ ขังสุข คนเราก็ต้องแสวงหาความสุข (กามสุขขัลลิกะ) เป็นความสุขเท็จ คนอวิชชา ก็ขังมันไว้ นึกว่ามันเป็นเพื่อนสนิท เมื่อรู้ว่ามันเป็นความเท็จ ไม่ควรหลงมี หลงได้ แต่คนเราเมื่อรู้แล้ว จะเลิกทันที ก็ลงแดง ไม่มีใครเอา พระพุทธเจ้าก็ใช้ จิตวิทยาขั้นสูง ให้คนมาพิสูจน์ทีละขั้น จนเป็นคนที่ ไม่สุขไม่ทุกข์ หรืออุเบกขา
                อุเบกขา เป็นอารมณ์ที่เราต้องรู้ ทั้งที่สัมผัสทางทวาร ๖ เมื่อก่อนก็รู้สึก สุข-ทุกข์-เฉยๆได้ เราต้องดับเหตุแห่งทุกข์ ก็ดับสุขดับทุกข์ ดับไปถึงอุเบกขา ก็เป็นฐานนิพพาน ที่จะไปสู่ความสูงสุด ซึ่งไม่เรียกว่าอุเบกขา จะเรียกว่า มัชฌิมา ก็คือ อาการกลางๆ คำว่ามัชฌิมา เป็นความกลางที่ครบ ที่พระพุทธเจ้า เอามาเทศน์ กัณฑ์แรกเลย คือไม่มีทั้งสุขและทุกข์ สุขหลอกก็ไม่มี ทุกข์ที่เป็นความทรมาน ก็ไม่มี เป็นกิลมถะ เป็นความลำบากยากแค้น
                คนที่ศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้า ก็พ้นทั้งสุขและทุกข์ หมดทั้งกาม และอัตตา หมด เป็น มัชฌิมา เป็นกลาง และก็มีทางปฏิบัติ เรียกว่า ปฏิปทา คือมรรคองค์ ๘
                ทุกวันนี้เขาแปลคำว่า มัชฌิมา เพี้ยนไป ก็เลยไม่เจออุเบกขา ที่เป็นการดับ สุขทุกข์ อย่างรู้เหตุแท้เลย เห็นอาการจริงเลย จนดับได้จริง อย่างรู้ๆ ซึ่งจิตเป็นนามธรรม ที่รู้ได้ยาก ไม่มีสีสันตัวตน และก็มีความพิเศษ ที่หลอกคนได้ คือที่ไม่มีตัวตน สีสันรูปร่าง ก็ไปหลอกว่า มีสีสันรูปร่างตัวตน           
                คนจะทำความเข้าใจว่า จิตไม่มีรูปร่าง ตัวตนก็ยาก และยิ่งจะทำความเข้าใจ จิตวิญญาณ ว่าเป็นอาการอย่างไร ลีลาอย่างไร เรียกว่าอะไร เป็นสุขหรือทุกข์ เป็นต้น มันเป็นอาการรูป อภิธรรม เขาแตกเป็น ๒๘ อย่าง

                นิโรธ เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ของศาสนาพุทธ นิโรธ คือการดับ หรือตาย เป็นฐาน จุดหมายปลายทาง ของการปฏิบัติ ศาสนาเพี้ยนมาถึงปัจจุบันก็ ปฏิบัติไม่ได้นิโรธพุทธ แต่กลายเป็นนิโรธ ที่เพี้ยนไปจาก สัจธรรมพระพุทธเจ้า
                นิโรธของพระพุทธเจ้า เรียกเต็มว่า "สัญญาเวทยิตนิโรธ" ต้องชัดเจน จนกระทั่ง สมบูรณ์ด้วย

                อนุตตริยะ ๖ มี (อนุตตริยะ ๓ ก็คือ ๓ ข้อแรกของอนุตตริยะ ๖)
1. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ การเห็นพระตถาคต และตถาคตสาวก รวมถึงสิ่งทั้งหลาย ที่จะให้เกิดความเจริญ งอกงามแห่งจิตใจ) คือเราต้องได้ข้อปฏิบัติ แล้วก็เอาไปปฏิบัติ จนหลุดพ้น ผู้ที่ม
2. สวนานุตตริยะ (การฟังอันเยี่ยม ได้แก่ การสดับธรรมของพระตถาคต และ ตถาคตสาวก )
3. ลาภานุตตริยะ (การได้อันเยี่ยม ได้แก่ การได้ศรัทธาในพระตถาคต และตถาคตสาวก หรือ การได้อริยทรัพย์)
4. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันเยี่ยม ได้แก่ การฝึกอบรมในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา)
5. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำเรออันเยี่ยม ได้แก่ การบำรุงรับใช้พระตถาคต และ ตถาคตสาวก)
6. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันเยี่ยม ได้แก่ การระลึกถึง พระตถาคต และ ตถาคตสาวก)

อนุตตริยะ ๓
1. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ การเห็นพระตถาคต และตถาคตสาวก รวมถึงสิ่งทั้งหลาย ที่จะให้เกิดความเจริญ งอกงามแห่งจิตใจ) คือเราต้องได้ข้อปฏิบัติ แล้วก็เอาไปปฏิบัติ จนหลุดพ้น คือต้องหาผู้รู้ ที่อธิบายว่า ศีลคืออย่างไร ฌาน สมาธิ นิโรธ คืออย่างไร ซึ่งฌาน สมาธิ นิโรธ ก็ทำที่จิต ไม่ใช่ทำที่อื่น เราก็นำมาปฏิบัติ นำความคิด ความรู้แบบพุทธ มาปฏิบัติให้จิตเป็นนิโรธ เป็นฌาน
                ฌานคือปฏิบัติทำลายตัวเหตุ ที่พาเราไม่นิโรธ จนกำจัดได้ (ฌาน คือไฟกองใหญ่) เป็นอุณหธาตุ ที่ไปเผากิเลส กิเลสก็เป็นไฟ ราคะก็เป็นไฟ โมหะก็เป็นไฟ โทสะก็เป็นไฟ แต่สู้ไฟฌานไม่ได้ ใครทำฌานเป็น ก็สร้างจิต ให้มีอุณหธาตุ ที่มีพลังยิ่งกว่า ไฟกิเลส สภาวธรรมเป็นจริง จะเป็นเช่นนี้
                นิโรธแบบพุทธ คือนิโรธที่เห็นแจ้ง แบบสัจฉิ (คือแจ้งใสสว่าง) เมื่อบรรลุแล้ว ก็บรรลุอย่างมี จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
                การบรรลุนิโรธ ก็อย่างลืมตา มีผัสสะ มีนิโรธอย่างมี จักขุมาปรินิพพุโพติ คือนิพพานชัดๆ อย่างมีดวงตาเห็น
                ซึ่ง ความดับคือความไม่มี ท่านก็เลยเข้าใจไปว่า ให้ดับอย่างไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ดับมืดเลย ไม่มีธาตุรู้อะไรเลย มาทำงาน นี่คือหลงผิด ว่าอย่างนี้คือ นิโรธพุทธ ซึ่งมันผิด เป็นนิโรธที่บรรลุความมืด ความดำ(กิณหะ)
                ฉะนี้แล คือ ภาวะที่เรียกว่า “นิโรธ” ๒ ขั้วสำคัญ ที่มีอยู่ในโลก ลองวิจัย แยกแยะ ความเป็น “นิโรธ” ๒ ขั้วนี้กันละเอียดๆ ดูบ้างซิ
                (ก) “นิโรธ” ที่ไม่ใช่พุทธ หรือ ชาวพุทธที่ยัง “มิจฉาทิฏฐิ”
ผลธรรมที่ได้ มักจะหมายถึง “มี” (โหติ) ภาวะอย่างหนึ่ง แต่ยังไม่ถูกต้อง ตามเป็นจริง เพราะ“ผลธรรม” ที่ได้ ยังไม่ใช่ผลธรรม ที่เข้าขั้น “ความไม่มีในโลก” (โลเก นัตถิตา)อีก “ตลอดไป” ที่สำเร็จเด็ดขาด อย่างเป็นจริง “ภาวะ” ที่ได้ที่ชื่อว่า “นิโรธ” นั้น จึงคลาดเคลื่อน คือผิดไปจาก ภาวะอริยสัจ ที่ชื่อว่า “นิโรธ”
                นิโรธ” ที่ได้ จึงไม่ใช่ “นิโรธอริยสัจ” เพราะ “สัญญา” ยังวิปลาส เมื่อ วิปลาส “สัญญา” ก็กำหนดหมาย คลาดเคลื่อนไปจาก ความเป็นจริง ที่เป็นความจริงขั้น“อริยสัจ” หรือขั้น“ปรมัตถสัจจะ” (สิ่งที่เป็นจริง อันประเสริฐสุด)
                สัญญาที่มิจฉาทิฏฐิ จึงเป็น “คนละอย่าง” จากอริยสัจ เพราะจะ กำหนดหมายรู้ (สัญญา) เอาตาม“ทิฏฐิ” ของตน (นานัตตสัญญิโน) ย่อมได้ผลตาม“ทิฏฐิ” ที่“ผิด” ไปจาก“อริยสัจ ๔” ก็จะได้ภาวะนั้นๆ ตามสมรรถนะของแต่ละคน
                “กาย” ที่ได้ก็เป็น “องค์ประชุมของรูปของนาม” (กาย) ที่แตกต่างกันไปตาม“สัญญา” ที่มีภูมิรู้อย่างนั้นอย่างนี้ ของแต่ละคน“กำหนดหมาย” และเมื่อสร้างหรือสังขารให้ได้ ก็ย่อมได้“กาย” ตามความสามารถต่างๆ (นานัตตกาโย)
                ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน “สัตตาวาส ๙” ข้อที่ ๑
                หรือ “วิญญาณฐิติ ๗” อันเป็นหลักธรรมลึกซึ้งสำคัญ (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ ข้อ ๓๕๓, ๔๕๗ และเล่ม ๒๓ ข้อ ๒๒๘ หรือในเล่ม ๑๑ ข้อ ๓๓๕ และเล่ม ๒๓ ข้อ ๔๑)
                ๑.สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า ผู้มีญาณ จะอ่านอาการออก ว่าเป็นสัตว์นรก หรือเทวดา อ่านอาการ ความรู้สึกสุข ต่างจากความรู้สึกทุกข์ (ลิงค) และก็ทำเครื่องหมาย ของตนเอง (นิมิต) ผู้มีญาณปัญญา จะทำการกำหนดเครื่องหมาย ของตนเอง ที่ได้จากการฟัง อุเทศมา
                ผู้ที่ไปติดยึดเทวดา ผี เป็นตัวตน ซึ่งเขากำหนดหมายต่างกันไป ตามแต่ละคน ยึดถือ รูปเทวดาก็ต่างกันไป แต่ถ้าเข้าใจสัมมาทิฏฐิ จะใช้รูปร่างหรือ มโนมยอัตตา เป็นสิ่งสำรอง ก็ใช้ได้ แต่อย่าหลงเป็นของจริง คือใช้เป็นสิ่งแทน เหมือนพระพุทธรูป ที่มีแตกต่าง กันมากมาย เราก็เคารพเป็น รูปพระพุทธเจ้า ก็เป็นสิ่งแทน ที่เราเข้าใจ ด้วยปัญญา
                พระพุทธเจ้า ไม่ถือให้มีจริง มันเป็นอุปาทาน มันเหมือนกระจกเงา ที่กระทบ แล้วสะท้อน มันก็งง เหมือนมีอยู่จริง แต่มันไม่จริง
                พอเราเข้าใจว่า จิตวิญญาณ ว่ามีคุณสมบัติคือ
๑. อนิทัสสนัง ไม่อาจมองเห็นได้ ไม่อาจชี้บอกได้  
๒. อนันตัง
ไม่มีขอบเขต ไม่มีที่สุด
๓. สัพพโต ปภัง แจ่มใส, แผ่กระจายไปโดยทั้งปวง  
๔.ทูรังคมัง
ไปได้ไกล (เดินทางไวกว่าแสง)
๕.เอกจรัง ไปแต่เพียงผู้เดียวไม่เกี่ยวกับใคร  
 ๖. อสรีรัง ไม่มีรูปร่าง หน้าตา หรือรูปทรง
๗. คูหาสยัง อาศัยกาย เป็นขอบเขตคูหากำบังอยู่
                ตายแล้วจิตวิญญาณเรา ก็ท่องเที่ยวไป แต่เดียวกาย (เอกจรัง)
                ผู้ที่อ่านวิญญาณออก อย่างเรียกว่า วิปัสสนา ปัสสะคือเห็น โดยการสัมผัส (ทัสนะคือรวมทั้ง การเห็นและความคิด) เป็นนามธรรมละเอียด ทางจิตวิญญาณ ก็สัมผัสเห็น จึงเรียกว่า "วิปัสสนา" คือ ยิ่ง ถ้าคนไม่ถึงขั้น ก็จะเห็นไม่ได้ ต้องคนที่ยิ่ง คนที่เหนือมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์ธรรมดาไม่เห็น คนที่เห็นคือ อุตตริยะ (เหนือ)  แต่ถ้าอนุตตริยะ คือไม่มีอะไรเหนือกว่าอีก
                คนที่ วิปัสสนา ก็ต้องเห็นสภาวจิตได้ ถ้ามีการกระทบทางทวาร ๖ ก็จะเกิด สภาวะจริง เป็นของสด ไม่ใช่ไปนั่งนึกปั้นเอา ในความคิด ซึ่งปั้นไปได้มากมาย เพ้อเจ้อเอาเอง แต่สัมผัสนี้ ต้องมีสิ่งจริง และในความจริงนี้ มีกิเลส เข้าไปร่วมปรุง ด้วยหรือไม่
                ทวาร ๕ กับทวารใจ ร่วมกันรับรู้อยู่ตลอด ยกเว้น แต่ตอนนอนหลับ ที่ปิดทวาร ๕ ก็มีแต่ทวารใจ ปรุงแต่งกันเอง แต่ว่าเรื่องสัมผัสทวาร ๕ นั้นจริง ทั้งปรมัตถ์ และสมมุติ
                เมื่อมีสัมผัสแล้ว ต้องอ่านตัวกิเลส ที่จะเกิดร่วมด้วย โดยใช้ ทิพยโสต

        คนที่ประสาทรับรู้ยังปกติ ก็จะมีการรับรู้ ที่เหมือนกันทุกคน เช่น เห็นมะระ (พ่อครู ชูมะระผลโต บนโต๊ะให้ดู) และเล่าอดีตว่า สมัยเป็นหนุ่มจะไปที่ร้านอาหารประจำ เขาจะจัดให้เลย กินแกงมะระสด กับเครื่องในไก่ เขาจะรู้ไม่ต้องสั่งเลย กินประจำเลย
                เมื่อตาเห็นรูป จมูกได้กลิ่น ก็รับรู้ได้เหมือนกันหมดทุกคน แต่เรารับรู้ เสียงทิพย์ได้ เราชิมมะระอันเดียวกัน ก็ขมเหมือนกันหมด แต่ที่ไม่ชอบหรือชอบ ลงนรกหรือขึ้นสวรรค์ ก็แล้วแต่คน
                คนไหนรู้ว่าชอบหรือชัง ก็มีตาทิพย์หูทิพย์ จะเห็นว่า ใจดูดหรือผลัก องค์ประชุม มันปรุงเลย ถ้าได้ตามชอบก็สุข ไม่ได้ตามชอบก็ทุกข์      
                ต้องเรียนรู้ทุกการกระทบสัมผัส ไม่ว่าจะเป็น โลกธรรม (ลาภยศ สรรเสริญ) หรือกาม ถ้าเป็นอัตตา จะยากหน่อย คือนอกไปจากทวาร ๕
                ต้องอ่านรูปทิพย์ เสียงทิพย์ ออก เราก็รู้ว่าดูดหรือผลัก แล้วก็ล้าง ตัวดูดตัวผลัก ไม่ต้องให้อยากได้ น่าได้น่ามีน่าเป็น โดยมีวิธีล้างของพุทธ
                ถ้าล้างได้หมด กิเลสดับหมด ก็เรียกว่า นิโรธ ก็ต้องอ่านกิเลสออก อ่านสภาวะ ตัวตนกิเลสออก อย่างมีวิปัสสนา มีตาทิพย์เห็นตัวกิเลส เมื่อมีผัสสะ เริ่มมีนามรูปปริจเฉทญาณ คือจับตัวตนได้ เราเห็นทุกข์ คือเห็นอริยสัจจ์ แต่ถ้าเห็นสุข ก็ต้องรู้ว่า นี่คือตัวหลอก ก็อย่าไปให้มัน มันคือตัวเหตุร้าย
                วิธี คือต้องตั้งศีล อารติ วิรติ ปฏิวิรติ เวรมณี คือ เว้นขาดเลิก ก็จะเห็นอาการ จิตมันดิ้น ดิ้นมาก็เรียกว่า นิรยะ ถ้าหยาบๆไม่ดิ้นมา ก็เรียก เปรต แต่ถ้าไม่รู้ ว่ามันดิ้นอยู่ ก็เรียกว่า เดรัจฉา แต่ถ้ามันนรก ไม่รู้ว่าอะไรเลย ต่ำสุดก็เรียกว่า อติวินิปาต
                เพราะฉะนั้น เมื่อทำสำเร็จ จึง “หลงยึดภาวะที่ได้ ที่มีที่เป็นนั้น” อยู่ แล้วหลงว่า ตนมี“ความไม่มี” สำเร็จแล้ว แต่แท้จริงก็ยัง“มี” อยู่แท้ๆ และ ภาวะที่ได้อยู่ “มีอยู่” นั้น ก็มิใช่ภาวะ “ไม่มี” (น โหติ) ที่ถูกต้อง ตามสัจธรรมจริงเลย

                เริ่มต้นแต่เห็นความไม่เที่ยง (อนิจจานุปัสสี) ทุกอย่างต้องพรากจาก ไม่เที่ยง สุขหรือทุกข์ ไม่ได้อยู่กับเราตลอด สุขมันหายไปเร็ว แต่ทุกข์นี้ ถ้าไม่ดับเหตุ ก็มีการจองเวร ทีนี้ไม่ได้ คราวหน้าต้องได้ มันอาจหายชั่วคราว แต่ก็จะจริงกว่า เรียกว่า ทุกข์อาริยสัจจ์
                สุขมันแวบเดียว ยิ่งกว่าปลายเข็ม แต่คุณไปเลี้ยงไว้ มันเลยนาน พอไม่สัมผัส มันก็หายไปแล้ว แต่คุณก็ยังบอกว่า มันยังอยู่ ซึ่งมันเหลือแต่ของแห้งแล้ว
                เมื่อคุณทำถึง นิโรธ อะไรดับ สมุทัยอาริยสัจจ์ ดับ แต่อย่าไปดับหมด ต้องดับเป็นลำดับ ตอนแรก เห็นอนิจจัง ต่อมาก็เห็น มันเป็นทุกข์ จะมีญาณ ๑๖ ข้อที่
๔. (๑)อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิด- ความเสื่อมไปของกิเลส ของชาติ เวทนาสุขทุกข์ต่างๆ
๕.(๒)ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความสลายไปของสังขารธรรม -ตัณหาปรุงแต่งทั้งหลาย
๖.(๓)ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันเพ่งเห็น กิเลสสังขาร เป็นภัยอันน่ากลัว.. เพราะล้วนแต่ต้องสลายไป
                ญาณเหล่านี้คือปัญญา คือ ฌาน เป็นอุณหธาตุ ที่จะกำหราบกิเลส ตัณหา อุปาทาน พอเราทำให้มันจางคลายได้ เราจะเห็นสภาวะกิเลส มันจางคลายลง (วิราคานุปัสสี) พอจางคลายไปจนหมด ก็เห็นความดับ (นิโรธานุปัสสี) ไม่ใช่ดับหมด ทุกอย่าง แต่เราต้องเห็น สิ่งที่ต้องดับ อย่างเห็นๆเลย
                การนั่งหลับตาจะทำได้ พระพุทธเจ้าก็ส่งเสริม แต่ต้องนั่งให้ถูก ใช้ทำ เตวิชโช (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ, จุตูปปาตญาณ, อาสวักขยญาณ)
                ซึ่งคนที่ไม่ต้องนั่งหลับตา ก็บรรลุได้ มีดังที่พระพุทธเจ้าตรัสใน
บุคคล ๔
๑. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ แต่ไม่ได้โลกุตระ
๒. บุคคลผู้ได้โลกุตระ แต่ไม่ได้เจโตสมถะ .
๓. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ และได้ทั้งโลกุตระ
๔. บุคคลผู้ไม่ได้เจโตสมถะ และไม่ได้ทั้งโลกุตระ (คือคนที่มีมากอยู่ทั่วโลก ฆ่าแกงกันทั่วโลก)

                พ่อครูไม่ได้เน้นเจโตสมถะ เน้นโลกุตระ แต่เจโตสมถะ ก็เป็นอุปการะ ทำการปฏิบัติของแห้ง แต่ถ้าผัสสะเปิดทวาร ก็บรรลุอย่างสดๆเลย
                ผู้ที่ไม่รู้องค์ประชุมใน สัตตาวาส ๙ หรือวิญญาณฐีติ ๗ คือทำนิโรธ แบบฤาษี ก็จะได้ผล อย่างฤาษี              
                ทั้งๆที่ภาวะของ “ผล” นั้น มิใช่ “ความไม่มี” ภาวะจริง ของ “นิโรธอริยสัจ” เพราะ มิใช่ “ความดับสนิทสิ้นของ กิเลสาสวะ” เพราะ “ภาวะที่จะไม่ให้มี” นั้น (คือกิเลสาสวะ) ไม่ได้ถูกกำจัด จนกระทั่ง ไม่เหลือในจิตแล้ว ซึ่งจะต้อง ไม่มี” (น โหติ) ความเป็น “กาย” ของ “ภาวะที่จะไม่ให้มี” อยู่ “ในโลก”  “ผล” ที่ได้จึงเป็น“ผล” ที่“ผิด”
                ทั้งๆที่ตน “หลงยึดภาวะ ความไม่มี ที่ผิด” นั้นอยู่ ผู้หลงผิดนี้ ก็ไม่รู้ได้ว่า ตน “มี” (โหติ) ความยึดนั้น

         ฉะนี้แลคือ “ความไม่มีในโลก” (โลเก นัตถิตา) ย่อมไม่มี (น โหติ) “โลก” ที่ว่า “ไม่มี” (น โหติ)นั้น ก็คือ ความไม่มี (นัตถิ) โลกนิโรธ เพราะเขายังมี “โลกสมุทัย” อยู่ เขาจึง “ไม่มี” ภาวะที่ “โลกทั้งโลกไม่ควรมี“ [ผู้สนใจค้นคว้าได้ จากพระไตรปิฎก เล่ม ๑๖ ข้อ ๔๓]
                ซึ่งความเป็น “นิโรธอริยสัจ” นั้น ต้องเป็น “ความไม่มีภาวะนั้นอีกแล้ว” ในความเป็นโลก เมื่อเขา “สัญญา” ผิด หรือ “ปฏิบัติผิด” เขาย่อม “ไม่มี” (น โหติ) ภาวะที่ควร “มี” สมจริงตามความรู้
                เพราะ ยังไม่สามารถแยกความเป็น “กาย” ได้ จึง ยึดกาย” ที่ไม่ใช่ “นิโรธอริยสัจ” นั้นเป็น “อัตตา” อยู่ เพราะ “สัญญา” ยัง “วิปลาส” (บาลีคือ วิปัลลาส = ความคลาดเคลื่อน, กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริต ผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจ คลาดเคลื่อน จากสภาพที่เป็นจริง)
                 “เหตุ” ที่ทำให้มีความคลาดเคลื่อนผิดพลาดอยู่ ก็เพราะ...
๑. หลงว่าตนปฏิบัติมี “นิโรธ “ แล้ว แต่แท้จริงนั้น “นิโรธ “ ี่สามารถทำได้ ยังไม่ใช่ “สัญญาเวทยิตนิโรธ” ที่เป็น “ความดับสิ้น อวิชชาสังโยชน์ หรือ อวิชชาสวะ”
                เพราะมิจฉาทิฏฐิอยู่ จึงสัญญาวิปลาส เพราะ กำหนดหมาย“นิโรธ” ไม่เป็นบ้าง กำหนด“นิโรธ” ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากภาวะที่เป็น“สัมมานิโรธ” บ้าง เพราะกำหนดวิธีปฏิบัติผิดคลาดเคลื่อนไปจากมรรคอริยสัจ ของพุทธบ้าง
๒. ตนยังมีกิเลสอยู่ แต่หลงว่าตนเอง ปฏิบัติถึงขั้น “ดับกิเลส” แล้ว เนื่องจากสัญญาวิปลาส เพราะเข้าใจ ความเป็น“สัญญา” คลาดเคลื่อนไปบ้าง จึงกำหนดหมายปรมัตถธรรม ไม่ถูกต้องได้แท้จริง เพราะกำหนดหมายความเป็น“กาย” คลาดเคลื่อนไปจากสัจธรรมบ้าง ไม่ว่า“รูปกาย” หรือ“นามกาย” โดยเฉพาะ กำหนดหมาย “ตัวตนของกิเลส” (อัตตา) ไม่ถูก“นามกาย” ของมัน จึงล่วงพ้น (สมติกฺกมติ) แม้แค่กิเลสขั้นต้น คือ วีติกกมกิเลส ไปตามลำดับ ก็ยังไม่ได้ จึงไม่ถูกต้อง (คือผิด ) ตั้งแต่เบื้องต้น
        ในทวาร ๖ แม้แต่ธรรมารมณ์ ท่านก็ยังเรียกว่า เป็นกายอยู่ และก็ยังเป็น ผัสสะอยู่ (ซึ่งต้องอธิบาย ละเอียดอีก)
๓. กำหนดการเกิด(ชาติ) ยังไม่ “สัมมาทิฏฐิ” จึงยังผิดพลาดคลาดเคลื่อนอยู่ ก็ยังสัญญา วิปลาสอยู่ เช่น ต้องเข้า-ต้องออกอยู่ เมื่อ “เข้านิโรธ” ก็คือมี “การดับ” เมื่อ “ออกนิโรธ” ก็คือมี “การเกิด” เมื่อมี “การดับ-การเกิด” แล้วก็ต้อง “ดับอีก-เกิดอีก” ไม่มีการหยุดดับ-หยุดเกิด เด็ดขาด นั่นคือ ยังวนอยู่กับการเกิด-การดับ จึงยัง  “ไม่มีความดับเหตุ ดับปัจจัย” กระทั่งสิ้น “ความไม่เกิด-ไม่ดับ” อีกแล้ว จึงไม่ใช่การดับ “ชาติ” จนสนิทเด็ดขาด
                เพราะยังมี “การเข้านิโรธ” แล้วยังมี “การออกนิโรธ” จึงยังมี “การดับ” แล้วก็วนเวียนมามี “การเกิด” แล้วก็ยังมี “การดับ-การเกิด” อีก แสดงว่า ไม่รู้จัก แม้แต่คำว่า ชาติ” และ “ชาติดับ” ที่เป็นปฏิจจสมุปบาท
๔. ยังมีโลก(ภพ) เพราะไม่ได้ “ดับเหตุ” แห่งการเกิดโลก(ภพ) แบบอริยสัจ ๔ ยังมีโลก(ภพ) เพราะยังไม่รู้จักโลก หรือภพ เช่น โลกที่เป็นโลกียะ นั้นเป็นไฉน โลกที่เป็นโลกุตระ นั้นเป็นไฉน แม้แค่ความเป็น  “โลกนี้ (อยังโลก) -โลกหน้า (ปรโลก)” ก็ยังไม่สัมมาทิฏฐิ จึงไม่สามารถปฏิบัติ “มรรค องค์ ๘” ให้เป็น “สัมมามรรค - สัมมาผล” (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๕๒ -๒๘๑) จึงยัง “มี” โลกสมุทัยอยู่ แน่นอน  “โลกนิโรธ” จึงยัง “ไม่มี” อยู่นั่นเอง
๕. ยังมีความเป็นสัตว์ มีสังโยชน์ มีความเป็น สัตตาวาส ๙” อยู่ “สัตว์” ในที่นี้คือ สัตว์โอปปาติกะ (สัตตา โอปปาติกา) อันเป็น “สัตว์” ที่หมายถึงใน “สัมมาทิฏฐิ ๑๐” ข้อที่ ๙ สัตว์ทางจิตวิญญาณ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในการปฏิบัติ “มรรค อันมีองค์ ๘” จึงยัง “ไม่พ้นสังโยชน์” สัมบูรณ์ เพราะ “ตัวตน” (อัตตา) ของสัตว์ ตั้งแต่ “สักกายะ” อันเป็น “ตัวตน” (อัตตา) ของสัตว์เบื้องต้น ต่อไปจนถึง “ตัวตน” เบื้องกลาง และสุดท้าย “ตัวตนเบื้องปลาย” คือ “อาสวะ” ตามลำดับ อย่างลาดลุ่ม เหมือนฝั่งทะเล “กิเลส หรืออัตตา” จึงไม่ถูกกำจัดหมดสิ้น ละเอียดจริงบริบูรณ์ นั่นคือ ยังไม่สิ้น “สังโยชน์ ๑๐” หรือ “อนุสัย ๗” บริบูรณ์
                เพราะยังไม่สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ถึงขั้น “เห็น” (ปัสสติ) ความจริง ด้วยปัญญา อันชอบยิ่ง (สัมมัปปัญญา) ว่า “อัตตา” หรือ “ตัวตนของกิเลสหยาบ –กลาง -ละเอียดทั้งหลาย” ได้ “ดับด้วยการสำรอก โดยไม่เหลือ” (อเสสวิราคนิโรธา) หมด แม้ที่สุด “อาสวะ” สิ้นแล้ว ชนิดที่ “รู้อยู่-เห็นอยู่ เป็นปัจจุบัน” (ชานโต ปัสสโต วิหรติ) นั่นเทียว ความเป็น “สัตว์” ในตน จึงยังไม่หมดสิ้น
๖. ยังมี “กาย” ที่ไม่สัมมาทิฏฐิ เพราะความเป็นนิโรธ ของคนผู้นี้ยัง “มิจฉาทิฏฐิ” จึงได้ “นิโรธ” ที่ยัง “สัญญาวิปลาส” อยู่ เช่น นิโรธที่มีองค์ประชุม (กายที่ประชุม เข้าไปอยู่ ภายในใจ) เป็นความมืดดำ( กิณหะ) หรือเป็น ความสว่างใส (อาภัสสรา)ก็ยัง “หลง” กันได้ว่า เป็นแดนนิพพาน แดนพรหม ซึ่งเป็นองค์ประชุม ในจิตใจ [มิใช่หมายเอา “ร่างกาย” (สรีระ)นะ]
                เพราะไม่ได้เรียนรู้ “กาย (ที่ชื่อว่า) ภายนอก กระทั่งถึงกาย (ที่ชื่อว่า) ภายใน” และ “ สัญญา ที่กำหนดหมายรู้ รูปกายและนามกาย ทั้งที่เป็นองค์ประชุม อันมีสัมผัส พร้อมด้วย วิญญาณ ๖ อายตนะ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖ ตัณหา ๖ อย่างครบถ้วน ตามคำสอน อันเป็นพระวัจจนะ ของพระพุทธเจ้า (พตปฎ. เล่ม ๑๖ ข้อ ๑๐-๑๕)   
                จึงไม่สามารถสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วย “กาย” สำเร็จอิริยาบถอยู่ ย่อมไม่“เห็น” (ปัสสโต) ด้วยปัญญาอันชอบยิ่ง (สัมมัปปัญญา) จึงไม่สามารถ“เห็น” (ปัสสโต) แจ้ง (สัจฉิ) นิโรธหรือวิมุติ ซึ่งเป็นขั้น“สิ้นอาสวะ” ได้ (พตปฎ. เล่ม ๓๖ ข้อ ๑๔๙ และ ๑๕๑)
                เพราะไม่มี “ปัญญา” หรือแม้แค่ไม่มี “สัญญา” (ถึงจะมี ก็ใช้ไม่เป็น ใช้ไม่ถูก เช่นตัวเราเอง เป็นคน เป็นสัตว์นรก ก็กำหนดผิด ว่าตนเป็นเทวดา เป็นต้น) ที่จะกำหนดหมายรู้ ความเป็น “สัตตาวาส ๙ หรือวิญญาณฐิติ ๗” หรือแม้จะ “กำหนดหมายรู้” ได้ ก็เป็น “สัญญาวิปลาส” แน่นอน จึงหลงผิด “อสัญญีสัตว์ “ ว่าเป็น “สัญญาเวทยิตนิโรธ”
                ดังนั้น “นิโรธ” ที่ได้ ก็ยังมี “กาย” ที่มืดดำ (กิณหะ) ไม่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง ด้วยปัญญา ตามความเป็นจริง เพราะไป“ดับสัญญา” ให้ตนกลายเป็น“อสัญญีสัตว์” จึงไม่รู้แจ้งว่า อะไรเป็น “ผล” ได้“ความว่าง” แบบไหนกันแน่
                จริงอยู่ในขณะนั้นอาจจะ“ว่างจากกิเลสปรุงแต่งอยู่ ณ บัดเดี๋ยวนั้น (สัมปติ)” เพราะได้ “ถึงพร้อม, กลายเป็น, สำเร็จ” (สัมปัชชติ) ความมืดดำ (กิณหะ) นั้น หรือบางทิฏฐิ ยึดความสว่างใส อยู่ในภวังค์” (อาภัสสรา) เป็นวิมุติหรือนิโรธก็มี

อ.กฤษฎาสรุป....ประเด็นที่สำคัญคือ วันนี้ถ้าตีตั๋วรถไฟผิด ขึ้นรถไฟก็ผิดขบวน ปลายทางก็ผิดเพี้ยนไป ซึ่งมีคนที่sms มาว่า ฟังเรื่องนิโรธมาสามครั้งแล้ว เกิดความเข้าใจ ๙๐ %
        การดับแบบฤาษี มีมานานแล้ว ก่อนพระพุทธเจ้าอีก แต่พระพุทธเจ้าค้นพบ นิโรธแบบพุทธ ที่เรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจ วิญญาณฐีติ ๗ และสัตตาวาส ๙ ก่อน
                เหตุที่ทำให้เกิดนิโรธวิปลาส มีอยู่หลายข้อ ที่พ่อครูได้อธิบายมา ...สำคัญอยู่ที่ สัมมาทิฏฐิ ...

จบ

รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ และอ.กฤษฎา ให้วัฒนานุกูล

 

 
๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานราชธานีอโศก