560614_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครูและส.เดินดิน
เรื่อง รู้กายและสัญญาอย่างสัมมาพาวิชชาเกิด ตอน ๒


                ส.เดินดินดำเนินรายการที่สันติฯ.. คงมาต่อเรื่อง"กาย" มีผู้ทำป.เอก เขาทำเรื่อง รูปํ อย่างเดียวเลย ซึ่ง "กาย" เป็นสิ่งที่มีความลึกซึ้ง ที่พค.จะขยายความต่อ
                พ่อครู...เมื่อวานพ่อครูได้เอา วิญญาณฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ มาอธิบาย ที่มีความชัดเจนมาก เป็นความชัดเจน เรื่องที่ผู้ศึกษาปรมัตถ์ เรียนรู้รูป-นามอย่างดี ก็จะรู้ กายกับสัญญา มากำกับไว้
                คำว่า วิญญาณฐิติ คือ สภาวะนั้นๆขณะนั้นๆ มีวิญญาณอยู่ วิญญาณคือธาตุรู้ ผู้ใดก็ตาม ถ้ายังมีสติสัมปชัญญะ มีวิญญาณอยู่ มีความรับรู้อยู่ในตน นั่นเรียกว่ามี วิญญาณฐีติ ท่านก็ระบุให้รู้ว่า ผู้มีญาณปัญญา จะรู้ความเป็นกายกับสัญญา
                ส่วน สัตตาวาส ก็คือ จิตวิญญาณคือสัตว์อยู่ แต่จิตวิญญาณที่เป็นสัตว์นี้ ถ้าศึกษา ความเป็นสัตว์ ๗ ชนิดนี้ ก็จะสามารถบรรลุได้ แต่ถ้าทำให้ธาตุรู้ หรือวิญญาณนี้ ให้ไม่มีอาการของธาตุรู้ ไม่รับรู้อะไร ไม่มีสติไม่มีวิญญาณไม่รู้เรื่อง ซึ่งก็จะอยู่ใน สองสภาวะคือ อสัญญีสัตว์ และ เนวสัญญานาสัญญายตนสัตว์
                เนวสัญญานาสัญญายตนะ คือรู้ก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่ใช่ คือเกือบจะไม่รู้ คนที่ไม่สัมมาทิฏฐิ ก็จะเข้าใจว่าคือการดับจิต ไปสู่ความไม่รู้ เหมือนอุทกดาบส ก็ได้ฌานนี้ แต่ที่จริงอาฬารดาบส ก็ดับได้ถึง อากิญจัญญายตนฌาน
                คือมันแวบรู้ นิดหนึ่งน้อยหนึ่ง ก็มีภูมิขั้นอากิญจัญฯ เขาก็จะดับจิตต่อไป เพราะกำหนดหมายว่านิโรธคือการดับ ก็จะพยายามกดข่ม ธาตุรู้หรือวิญญาณ ไม่ให้จิต ทำหน้าที่ ให้มืดดำไปเฉยๆ แล้วก็ถือว่า ที่ดำมืดนี้เป็นนิโรธ มันก็ไม่ดับ อย่างแท้จริงหรอก  
                ซึ่งนิโรธของพจ.เรียกเต็มว่า "สัญญาเวทยิตนิโรธ" ไม่ใช่ไปดับสนิทอย่างนั้น ก็เข้าใจนิโรธผิดๆไปเข้าใจว่า จิตไม่มีรับรู้อะไรเลย ซึ่งวิญญาณฐีติ ๗ และสัตตาวาส ๙ จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ถ้าไม่ศึกษา ก็จะไม่บรรลุธรรมได้ ถ้าผู้ไม่สัมมาทิฏฐิ ก็จะไม่สามารถเข้าใจได้เลย
        รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ นามคือตัวรู้ และนามก็กลายเป็น ตัวถูกรู้ได้
                คำว่า "กาย" พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เมื่อมีผัสสะ หรือถูกต้องสัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย หมายความว่าอย่างไร ก็ถูกต้องโดย มีการสัมผัส
                ในสัตตาวาส ๙ ยกเว้น อสัญญีสัตว์ กับ เนวสัญญานาสัญญายตนสัตว์ แล้ว จะเหมือนใน วิญญาณฐิติ ๗ แล้วใน ๔ ของสัตตาวาส ๙ ก็คือ อรูปฌาน ที่เหลือ
                จะศึกษาสัตว์ในวิญญาณนั้น ภาษาบาลีเรียก "สัตว์โอปปาติกะ" จะอุบัติเกิด หรือปฏิสนธิ ก็เกิดแบบ โอปปาติกโยนิ ซึ่งไม่เหมือนกับ การเกิดอย่างอื่น ต้องเกิดโดย มีเหตุปัจจัย สำคัญคือ มีสัมผัสเป็นเหตุปัจจัย จะมีวิญญาณ ต้องมีผัสสะ ๓ ต้องมีรูป มีนาม ถ้าไม่มี ก็ไม่สามารถรับรู้ได้
        ในวิโมกข์ ๘ มี
๑. ผู้มีรูป(รูปฌาน)  ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย  (รูปี  รูปานิ  ปัสสติ) จิตจะต้องรู้จักรูป (รูปคือ สิ่งที่ถูกรู้)
๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (๑๐/๖๖)  ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอก (อัชฌัตตัง  อรูปสัญญี เอโก  พหิทธา รูปานิ  ปัสสติ)  (พ่อครูแปลว่า มีสัญญาใส่ใจในอรูป คือรู้ทั้ง รูปภายนอก ไปจนถึงรูปภายใน ต้องเห็นทุกเวลา แม้ขั้นอรูป ก็ต้องใส่ใจกำหนด)  คือตัวเราเอง เห็นรูปของเรา เช่น เห็นมะม่วง เห็นดอกไม้ เห็นลองกองบนโต๊ะพ่อครู สัมผัสอยู่ ให้เราเกี่ยวข้อง แต่ถ้าไม่มีรูป ก็ไม่ต้องผัสสะ ก็ปรุงอยู่ภายในของคุณได้ ก็ปรุงเป็นสัญญา แต่พระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้เอาตรงนั้นอย่างเดียว ท่านให้ปฏิบัติมีผัสสะ ให้เห็นภายนอกด้วย
                ต้องรู้ว่าตนเป็นอริยะขั้นไหน ถ้าเป็นอนาคามี ก็จะไม่สุขทุกข์ กับกิเลส ภายนอกแล้ว ก็มีแต่กิเลสภายใน แต่ก็เนื่องกับ ภายนอกอยู่ อยู่กับชีวิตประจำวัน อย่างที่ มีคนแย้งว่า ให้ปิดทวาร ๕ เหลือไว้แต่ทวารเดียว เหมือนฤาษีจับเหี้ย แต่ไม่เห็นว่า ในพระไตรปิฎก มีอย่างนั้นเลย มีแต่ในอรรถกถาจารย์ ในชาดก แต่ที่ว่า พรากไม้ ที่ชุ่มด้วยยางนั้น มีในพระไตรปิฎก คือให้เรามีศีล เท่าที่เราจะทำได้พอเหมาะ ทำเท่าที่ เราจะมีอินทรีย์พละ ทำได้
                เรื่องกายคือ ต้องเป็นองค์ประชุม ทั้งรูปและนาม ตามวิโมกข์ข้อที่ ๒ ต้องมี รู้นอกรู้ใน ไปถึงรู้ อรูป ซึ่งมันยาก เพราะท่านสอนกันมา ให้ดับไม่รู้ ให้อยู่ในภวังค์ เท่านั้น
                ต้องสัญญา หรือกำหนดหมาย ให้ถูกต้อง โดยสร้างสัญญาเจตสิก ให้ทำหน้าที่ มีคุณสมบัติ กำหนดหมายรู้ ซึ่งสัญญา ก็ทำหน้าที่อยู่แล้ว แต่เราไม่กำหนดรู้ อย่างเช่น นี่ลองกอง นี่ดอกไม้ นี่สมเด็จปู่ วิชิตอวิชชา เป็นต้น คือมันทำงาน กำหนดรู้ ตามหน้าที่ แต่ถ้ามันกำหนด รู้แต่ข้างใน ก็รู้แต่ใน แต่ถ้ากำหนด รู้สัมผัสนอกด้วย ก็รู้ไปหมดครบ ส่วนข้างใน ก็กำหนดรู้ใน
                ซึ่งการกำหนดรู้ใน นี่แหละยาก และที่กำหนดรู้นอก เนื่องเข้าไปข้างในนี้แหละ ภาพมันอยู่ข้างใน วิญญาณก็อาศัยสมอง ทำงานร่วมกัน ไปรู้มาเป็นภาพ
                ภาพ คือภาวะติ คือที่ปรากฏอยู่ เป็นกิริยาอยู่ในนามธรรม ใครสามารถอ่าน อาการกิริยา นามธรรม ก็กำหนดหมาย หรือสัญญานามธรรม ของเราภายในได้ องค์ประชุมภายใน เรียกว่า กายในกาย ซึ่งกายถูกรู้ ตัวรู้นี้เป็นนาม ตัวถูกรู้คือรูป 
                ตัวที่จะปรุงแต่งตัวแรกเลย คือ เวทนา ก็มาจากทวารทั้ง ๖ เช่น จักขุสัมผัสชาเวทนา... ก็ละเอียดเข้าไปรู้ข้างใน ก็เป็นนามรูป ทั้งที่ต่อเนื่องมาจาก ภายนอก แม้ที่สุดขณะนั้น สัมผัสแล้วเกิดกิเลส หรือไม่เกิดกิเลส ก็ขณะสัมผัสปัจจุบัน ก็จะอ่านเห็นกิเลสสดๆ ขณะนี้เดี๋ยวนั้น ปัจจุบันนี้หลัดๆเลย ของแท้เลย นี่คือ วิทยาศาสตร์ ของพระพุทธเจ้า สัญญาคือตัวกำหนดรู้ แล้วมันจำได้ด้วย
                องค์ประชุมที่คุณจะได้ ถ้าทิฏฐิไม่ตรง สัญญาก็จะวิปลาส คลาดเคลื่อน จากสัจธรรม ปฏิบัติอย่างไร ก็วิปลาส ดังนั้น สัมมาทิฏฐิ จึงสำคัญ เป็นประธาน ในมรรคองค์ ๘ เลย

ในสัตตาวาส ๙ หรือ วิญญาณฐิติ ๗
๑.สัตว์บางพวก กายต่างกัน  สัญญาต่างกัน  เช่น พวกมนุษย์  เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า คือปุถุชนทั่วไป ก็จะกำหนด กาย และสัญญา คนละอย่าง เช่นมนุษย์ เขาก็กำหนดว่า คือตัวป้อมอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าเป็นผู้มีใจสูง ปุถุชนก็กำหนดว่า มนุษย์มีรูปร่างตัวตน ทั้งๆที่วิญญาณนั้น ไม่มีรูปร่างสีสัน จับต้องด้วยกายหยาบไม่ได้ ไปเดี่ยว ไปไกลกว้าง อยู่ในกายนี้เท่านั้น แต่รู้ได้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทส ในพระไตรฯ ล.๑๐ ข้อ ๖๐ แต่เพราะไปเชื่อว่า วิญญาณมีตัวตน รูปร่างสีสัน ไม่ใช่รู้ได้แบบพุทธ
                คำว่า กาย นี้จะหมายถึง อาการ ลิงค นิมิต ต้องอ่านด้วยตนเองว่า อาการอย่างนี้ เรียกว่า เดรัจฉาน สัตว์นรก เทวดา พรหม แล้วสัมผัสแล้วก็รู้อยู่ ในร่างกายเรานี่แหละ จะรู้เป็น ธัมมาทิฏฐาน หรือแม้จะรู้ แบบมีตัวตน อย่างพระโมคคัลลานะ ก็จะใช้ เป็นสิ่งแทน ไม่ได้ไปยึดติด เหมือนเราเคารพพระพุทธเจ้า ที่เขาปั้นรูปพระพุทธเจ้า ไม่รู้มีกี่แบบ เราก็เคารพนิมิต เราไม่ติดแค่รูปร่าง วัตถุตัวตน แต่คนที่ติดยึดก็จะว่า ต้องพระพุทธรูปองค์นี้ จึงศักดิ์สิทธิ์ ถ้ารูปอื่นไม่ศักดิ์สิทธิ์ อย่างนี้ไม่สัมมา

๒.สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน (รูปฌาน)   เช่น  เหล่าเทพ จำพวกพรหม  ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน เป็นต้น ในผู้ที่ศึกษา ไม่ว่าเทวนิยม หรืออเทวนิยม ก็มีจุดหมาย ในการทำฌาน คือจิตสงบจากนิวรณ์ ๕ ทำจิตในจิต หรือมนสิกโรติ ให้มีจิตในขณะใดก็ตาม ไม่มีนิวรณ์ ๕ อันเดียวกันหมด สัญญาตรงกันหมด แต่ผู้ที่มิจฉากับสัมมา จะมีองค์ประชุม ของการไม่มีนิวรณ์ ต่างกัน
                ของพุทธปฏิบัติลืมตา ไม่มีนิวรณ์ อย่างพวกสมถะลืมตา คือรู้แล้วก็ทิ้ง กลบเกลื่อนไป เขาฝึกกัน ก็ได้ประโยชน์เหมือนกัน มันได้อาศัย แต่ไม่ได้ละล้าง ทำลายอนุสัย แต่เป็นการทำนิสัย กดข่มไม่รู้จิตเจตสิก ไม่ทำลายเหตุปัจจัย ไม่ทำด้วยปัญญา หรือด้วยไฟฌาน ซึ่งพลังไฟฌาน เป็นพลังปัญญา ที่มีมโนมยิทธิ สามารถทำลายกิเลสได้ ยิ่งกว่าไฟราคะ-โทสะ-โมหะ จึงเรียกว่า ไฟกองใหญ่ หรือไฟฌาน
                วิธีทำให้ไม่มีนิวรณ์ต่างกัน ความเห็นต่างกัน ที่จริงว่า สัญญาไม่มีนิวรณ์ในจิต ก็จะได้องค์ประชุมของฌานตรงกัน แต่ต่างกันที่ทิฏฐิ แต่เป้าหมายคือ ไม่ให้มีนิวรณ์ เหมือนกัน ทั้งพุทธทั้งฤาษี
                ผู้ที่ไม่ได้กำจัดกิเลส ก็ทำให้ละนิสัย ได้แต่ไม่พ้นอนุสัย สามารถทำความสงบ ชั่วคราวได้ ดังนั้นปฐมฌาน ก็ไม่มีนิวรณ์ บางคนสายปฏิบัติ ก็สามารถสร้างนิสัยได้ คือให้นิวรณ์ ไม่มีได้ แต่เขาใช้วิธี หนีต่อผัสสะ ทำใจให้รู้นิ่งเฉย ว่างปล่อย ตัดผัสสะ
                แต่ศาสนาพุทธอยู่กับผัสสะ แต่เราตัดเขตว่า จะเอาแค่ไหน เบื้องต้นเลือกที่จะ ไม่ทุจริตก่อนเลย ในศีล ๕ ก็ยังมีกามคุณอยู่ แต่เอาหยาบๆก่อน อย่าร้ายจนกระทั่ง โทสะจัดฆ่าเขา อย่าร้ายจนไปโกงเขา ไปโกหกเขา ส่วนราคะก็เอาแค่ ผัวเดียวเมียเดียว ก็ลดละไป ถ้าจัดจ้านไป ดังนั้นในศีล ๘ ก็จะลดละต่อไป ในเรื่องความหรูหราจัดไปอีก ก็เข้าใจภาษา ที่ท่านกำหนดมา  แล้วก็ลดละต่อไป
                องค์ประชุมของผู้ที่มีจิตสงบ ที่มีวิธีต่างกัน แม้จะไม่มีนิวรณ์ ๕ เหมือนกัน แต่ก็จะได้กาย หรือองค์ประชุมของฌาน ต่างกันไป เช่น แบบหลับตา นั่งสมาธิ และรูปกาย เขาหด ไปอยู่แต่ในจิต ข้างนอกเขาสัมผัสไม่ได้ ถ้าสัมผัสแล้ว ทำให้ไม่มีนิวรณ์ ไม่ได้ แต่พุทธทำได้ เช่นสัมผัสสัตว์ ก็ไม่คิดทำร้ายทำลาย แม้เขาทำร้ายเรา เราก็ไม่คิดทำร้ายเขา ชนิดฆ่าแกง ไม่ทำชีวะให้ตกร่วง (ปาณาติปาตา เวรมณี)
                ของที่ไม่ใช่ของเรา เราไม่เอา เราสุจริต ตนเป็นที่พึ่งของตน ทำกินทำใช้ แก่ตนได้ ถ้าหากินไม่ได้ คุณก็แย่กว่าเดรัจฉาน เป็นคนพึ่งตนเองไม่รอด อย่างสุจริต ก็แย่กว่าเดรัจฉาน
                คุณต้องอ่านอาการนิวรณ์ออก ขณะเปิดทวาร ๕ สัมผัสอยู่ปัจจุบันขณะ แต่ผู้ที่ทำ แบบฤาษี จะไม่ครบมรรคองค์ ๘ ที่จะมีการคิดพูดทำ อาชีพอย่างสมบูรณ์ การปฏิบัติของ พระพุทธเจ้า ต้องพร้อมครบนอกและใน
                องค์ประชุมหรือกาย จึงต่างกัน ระหว่างพุทธกับไม่ใช่พุทธ

๓. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน  เช่น พวกเทพสว่าง อาภัสราพรหม  (ว่าง ใส สว่าง แผ่กว้าง) ผู้ปฏิบัติแล้ว จิตเป็นแสงสว่าง ว่างโล่ง นี้ขั้นอรูปฌาน
                ที่จริงในรูปฌาน ๔ ก็ว่างแล้ว แต่ยังมีภพเป็นรูปภพ ยังมีดินน้ำไฟลมอยู่ แต่พอ อรูปฌาน ทางสายหลับตา ก็กำหนดว่า อากาสาฯก็คือความว่าง เป็นอวกาศ เป็นว่างเวิ้งว้าง ไม่มีที่สิ้นสุด อนันโต อากาโสติ ไม่มีอะไรสะดุด ว่างโล่ง สว่างไกล ไปเลย (เทพอาภัสรา) แต่ที่กำหนดสว่าง ก็กำหนดอย่างเดียวกัน ก็จะได้กาย อย่างเดียวกัน คือความว่างสว่างโล่ง ทะลุไม่มีที่สิ้นสุด อนันโต อากาโสติ แต่สัญญาจะต่างกัน
                สัญญาแบบไม่ใช่พุทธ จะได้ฌานแบบปั้นรูปในภวังค์ อย่างฤาษีนั่งแล้วปึ๊ง ออกนอกโลก โล่งว่างเลย ว่างอย่างเป็นกาย หรือองค์ประชุมของจิต ว่างโล่งอย่างเดียวกัน
                ของพุทธก็ว่างโล่ง แต่ไม่ปึ๊งหรอก เช่นผู้ที่หลุดพ้นแล้ว ก็สัมผัสอยู่ ถ้าพออาศัย ก็อาศัยมัน ถ้าไม่อาศัยก็ไม่ต้องมี อย่างเช่น โลกเขาดูดดึงหรือผลัก เช่น อบายมุขของ ผู้หญิง คือทาปาก ลิปสติก หลายคนติดมาก่อน เดี๋ยวนี้ว่างแล้ว ไม่ติดยึด เห็นเขาทำอยู่ เราก็ไม่ผลักไม่ดูดเลย ว่างโล่งโปร่งสบาย แม้ที่สุด เขาจะให้ขึ้นเวที ต้องสมมุตินาม ตามท้องเรื่อง เราก็ทาให้ หรือจะออกงาน ถ้าจะไม่ทา เขาก็ไม่ว่า แต่บางงานก็ต้องใส่ ทั้งที่มันรุงรัง ก็เป็นภาวะจำยอม ถ้าคนยึดติดก็ยังผลัก ไม่ดูดแล้วแต่ยังผลักอยู่ก็มี แต่คนได้แล้ว ก็จะว่างโล่งโปร่งใส เหมือนกัน แต่ว่าสัญญา ก็ต่างกันไป
                ต่างลัทธิก็จะได้สัญญา กำหนดหมายต่างกัน แม้จะใช้คำว่า ฌานเหมือนกัน ก็ต่างกัน เช่น แสงสว่าง อาภัสราพรหม ผู้ที่สามารถทำได้ ทั้งสองอย่างก็จะรู้ อย่างพ่อครู ทำอาภัสราพรหม ในตอนนั่งได้ ก็จะชัดว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยละเอียด จะต่างกัน ก็คือกำหนดหมายว่า อาภัสราก็คือ ว่างโล่งเหมือนกัน เขาได้แต่นามกาย ขณะนั่ง แต่ถ้าออกมาตื่นมา ก็จะไม่ได้นามกาย
๔. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน  มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพมืด สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืดเป็นโชค) อันนี้อธิบายยาก เพราะขั้นนิโรธแล้ว
                ถ้าเป็นนิโรธ ก็คือภาวะดับ ความดับ แต่ความดับที่ว่า เหมือนกันทั้งคู่ ในสภาพไม่มีนิวรณ์ ๕ อันนี้ก็สัญญาว่า ดับ แต่มิจฉาทิฏฐิ ดับไม่เหมือนกันแล้ว
                ยกตัวอย่าง สุภกิณหพรหม ถือว่าเป็นโชคของคุณแล้วหนอ ที่ได้เป็นพรหม แต่ได้ดับมืด ซึ่งของพุทธก็ได้ เป็นสุภะเช่นกัน แต่ได้อย่างดับกิเลส
                แบบไม่ใช่พุทธ มีวิธีทำความดับ ต่างจากพุทธ ก็ทำนิโรธด้วยวิธี นั่งหลับดับ แม้แต่กายและใจ ไม่ให้รับรู้อะไรเลย จึงเรียกว่านิโรธ เลยอรูปฌานเข้าไป อย่างสาย นั่งสมาธิหลับตา พออรูปฌานที่ ๕-๖ ก็จะสว่างพอรู้สึกตัว ว่าเราอยู่ใน แดนอาภัสรา ซึ่งคือ อากาสาฯกับวิญญานัญจาฯ แต่เรียนมาว่า ต้องดับต่อ  แต่ว่าไม่มีกิเลส เพราะเข้าไป อยู่ในภพ เป็นรูปภพอรูปภพ ไม่ได้ดับเหตุ ของภพชาติเลย
                เขาไปสร้างภพ ที่มีสภาวะตัวตน ก็ไปสร้างความเป็นสัตว์ต่อ เป็นพรหมสัตว์ คือ สุภกิณหพรหม คือพรหมที่มีกิณหะ (ความมืดดำ) ก็เลยเป็นขั้น เลยแสงสว่าง ไปถึงขั้นนิโรธ ดับปี๋เลย คือกิณหะ
                อรูปฌานคือว่างยิ่งกว่า เป็นกลางยิ่งกว่ารูปฌาน เมื่อสามารถดับได้ ดับเป็น แต่ของพุทธ ดับเหตุดับกิเลส แต่ก็สัญญาว่า ทำนิโรธเหมือนกัน แต่ว่าทิฏฐิต่างกัน

                นิโรธของ "ศาสนาที่ไม่ใช่พุทธ" ก็จะเข้าๆ-ออกๆ อยู่อย่างนี้ เรียกว่า เข้านิโรธ-ออกนิโรธ ต้องเข้าต้องออกอยู่ ไม่มีแล้ว ไม่มีเสร็จ เพราะไม่ใช่ "นิโรธ"ที่เป็น ความดับกิเลส แต่เป็นแค่ทำ ความมืดดำ (กิณหะซึ่งมิใช่นิโรธ) ในตนเป็นครั้งคราว
                จึงต้องมีภาวะเข้านิโรธ -ภาวะกำลังเข้านิโรธ -ภาวะเข้านิโรธแล้ว แม้เข้าได้แล้ว ก็ต้องออกจากนิโรธ เมื่อออกจากนิโรธแล้ว ก็กลายเป็น ไม่มีนิโรธ ไม่มีความดับ เพราะมันไม่ใช่ "ความดับ" (นิโรธ) ที่แท้ มันแค่ "ความมืดดำ" (กิณหะ) เข้าใจให้ชัดๆ
                จะมี "นิโรธ" อีก ก็ต้อง "เข้า" นิโรธเอาใหม่
                แล้วก็ "ออก" จากนิโรธอีก แล้วๆเล่าๆ ก็เป็น "มนสิการ" (การทำใจในใจ) แบบหนึ่ง
                "มนสิการ" คือ "การทำใจในใจ" ซึ่งในวงการศาสนา มีต่างกันหลายแบบ
                "การทำใจในใจ"แบบนั้น ที่ไม่ใช่ "เข้านิโรธ" แบบพุทธ เขาก็ทำกันแบบนั้น
                เวียนวนอยู่อย่างนี้ "นิโรธ"เขาก็เป็นอยู่อย่างนี้ ผู้ทำได้ถือว่า ผู้สามารถทำ "นิโรธ" เป็นผลสำเร็จ ถ้าหากเพียรทำมากๆ ก็สามารถทำได้เก่ง ทำได้นาน
                เก่งกันอยู่ที่ว่า ถ้าใคร "เข้า" ไปทำ"ความมืดดำ" แล้วหลงเรียกว่า "ทำนิโรธ" ทำได้นานเท่าไหร่ ก็เก่งเท่านั้น
                "ดับ" อยู่เช่นนั้น ติดต่อกันให้ได้นาน เท่าที่จะสามารถ "ดับ" อยู่ได้นาน เป็นชม. อยู่ได้นานเท่าไหร่ ก็เก่งเท่านั้น อยู่ได้เป็นวันๆ หรือหลายวันเลย ว่ากันว่า คนเก่งเข้านิโรธ อยู่ได้ถึง ๗ วัน แล้วก็กลับออกจากนิโรธ มาเป็นไม่มี "นิโรธ" "เข้าๆออกๆ" กันอยู่อย่างนั้น
                "นิโรธ" ที่ไม่ใช่พุทธคือ "นิโรธ" อย่างนี้ เก่งอย่างนี้ เท่ากับ "เล่น" แล้วก็ "เลิก" แล้วก็กลับมา "เล่น" เป็นคนละอย่าง แตกต่างกัน ตามเหตุที่ต่างกัน
                "นิโรธ" หรือ"ความดับ" เมื่อต่างก็ทำ "นิโรธ" ได้แล้ว ต่างก็มี "นิโรธ" ของตนๆ เช่นเดียวกัน เป็น "นิโรธ" จริงๆ ต่างคนต่างสัญญา ว่านิโรธ ของแต่ละคน เหมือนกัน
                "องค์ประชุม" (กาย) ที่เกิดขึ้นของภาวะ"นิโรธ" ก็ต่างมั่นใจตนเองว่า อย่างนี้ๆ แหละคือ ภาวะที่มั่นใจตนว่า "นิโรธ" ต่าง "สัญญา" หรือ "กำหนดหมายไว้ในใจ" ของแต่ละคนว่า  "นิโรธ" แน่ๆ ของตนๆ ตามสัญญา ตามที่ได้ปฏิบัติ แล้วบรรลุผลสำเร็จ ของตนนี้ ไม่ใช่อื่น
                ต่างก็ "กำหนดสำคัญมั่นหมายไว้" (สัญญา)ว่า "นิโรธ" หรือ "ความดับ" ก็ต้องอย่างนี้ๆ และต่างก็ได้ "เช่นเดียวกัน" (เอกัตตะ) ตามความรู้ของตนๆว่า "นิโรธ"
                ฉะนั้น การมี "กาย" คือมี องค์ประชุมของภาวะ ที่ต่างก็เข้าใจว่า "นิโรธ" ต้องเป็นอย่างนี้ๆ ของตน ต่างก็ได้ภาวะนั้นๆ สมใจตน ด้วยกันทั้งคู่
                จึงต่างก็มี "เอกัตตะ" ที่ท่านแปลว่า อย่างเดียวกัน อาตมาขอแปล "เอกัตตะ" บ้างว่า อัตตะหรือสิ่งที่ถูกสมมุติขึ้นโดยตนเอง (อัตตะ, สิ่งที่ถูกสมมุติขึ้น , เอก, โดยตนเอง)
                เพราะต่าง "กำหนดหมายไว้ในใจ" (สัญญา) ว่า "นิโรธ" หรือ"ความดับ" ก็ต้องอย่างนี้ๆ เช่นเดียวกัน (เอกัตตะ) ตามความรู้ของตนๆว่า "นิโรธ"
                ส่วน "ทิฏฐิ" ที่ต่างจากพุทธก็ "สัญญา" ว่า สมมุตินี้ ก็ต้องเป็นอย่างนี้ๆ แบบนี้ๆ จึงต่างคนก็ต่างได้  ตามที่ตนต้องเป็นแบบนี้ จึงต่างตนก็ต่างได้ ตามที่ตน สัญญา สมใจ และได้ กาย นั้นๆ สมใจของตนทั้งคู่
                ต่างก็ เข้าสู่สมาบัติ สำเร็จ ตาม สัญญาว่านิโรธ ของตนๆกันทั้งคู่ คือ ต่างกำหนดว่าเป็น "นิโรธ" ของตนๆ จึงได้ ความเป็นนิโรธสมใจตน ต่างคน ต่างก็นับว่าเป็น "โชค" (สุภ) อันยิ่งใหญ่ของตน หรือ น่าพึงใจ (สุภ) ตนทั้งคู่
                นัยสำคัญเยี่ยงนี้เอง ที่ชื่อว่า มี "กาย" (องค์ประชุมภาวะธรรม) อย่างเดียวกัน (เอกัตตกายา)  มี "สัญญา" (กำหนดสำคัญมั่นหมาย) อย่างเดียวกัน (เอกัตตสัญญิโน)
                คือ ต่างก็ได้ความเป็น กาย นั้นๆ ตาม สัญญา ของตนๆ ต่างสมใจตน ทั้งสองฝ่าย จึงได้ เอกัตตะ
                "เอกัตตะ" หมายความว่า สิ่งซึ่งถูกยกขึ้นมา หรือสิ่งที่ถูกสมมุติขึ้นโดยตนเอง ต่างก็มี สัญญาของตนอย่างนั้นๆ ตามความรู้ของตน และเมื่อปฏิบัติบรรลุ ของตนๆ ต่างก็มีผลเป็น กาย (องค์ประชุม) อย่างนั้นๆโดยตนเอง (เอก)
                ต่างก็ได้ในตนเอง โดยตนเอง ด้วยกันทั้งคู่ จึงต่างเป็น "โชค" (สุภ) อันยิ่งใหญ่ ของตนๆ หรือ น่าพึงใจ (สุภ) ตนทั้งสองฝ่าย
                "เหตุ" ที่แตกต่างกันนั้น มันแตกต่างกันที่ ทิฏฐิ ไม่ใช่ที่สัญญา เป็นเหตุ จึงไม่ใช่ กายเป็นเหตุ
                เรียกความแตกต่างนี้ว่า มิจฉาทิฏฐิ กับสัมมาทิฏฐิ ซึ่งต่างก็ยึดของตนว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งนั้น
                ดังนั้น ที่เรียกกันว่า เทพ หรือพรหม ก็เป็นไปตามภูมิ ของแต่ละคน โดยตนเอง (เอก)
                ความเป็น กาย ที่ตน สัญญา อย่างนี้ๆ และต่างฝ่าย ก็ต่างบรรลุตาม สัญญาของตนๆว่า อย่างนี้ๆแหละ นิโรธ แล้วก็ได้กาย ที่ตนเชื่อว่า นี่แหละคือนิโรธ ด้วยกันทั้งคู่
                และที่ผู้รู้ท่านแปล "เอกัตตะ" ว่า ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, อย่างเดียวกัน, ความเป็นหนึ่ง, ความโดดเดี่ยว, ความเปล่าเปลี่ยว, การรวมกัน, การแยกออก, การหลีกเร้น" นั้น ท่านก็เลือกใช้ความหมาย ที่ท่านพิจารณาว่า เหมาะกับภูมิรู้ ของแต่ละท่าน ที่เก็งว่า หรือมั่นใจว่า ควรเป็นเช่นไร
                พ่อครูก็ขอลองแปลดูบ้าง ตามที่พ่อครูมีสภาวะในตน
                "เอกัตตะ" มีคำอยู่สองคำ คือ อัตตะ กับ เอก
                อัตตะ นั้น จากพจนานุกรม คือ ตนหรือตัวตน หรือวิญญาณ หรือสิ่งที่ ถูกยกขึ้นมาบ้าง หรือสิ่งซึ่งถูกสมมุติขึ้นบ้าง ส่วนเอก คือ โดยตนเอง หรืออย่างเดียวกัน หรือเช่นเดียวกัน หรือหนึ่งบ้าง
                นานัตตะ ก็มีคำอยู่สองคำ คือ อัตตะกับ นาน
                นานัตตะ ในพจนานุกรมแปลว่า ความแตกต่างกันออกไป ความเป็นต่างๆกัน, ของแปลกๆ, ของนานาชนิด, การมีหลายอย่าง, ความมีมาก, ความมีหลายรูป, ความเป็นของทุกชนิด, การมีหลายรูปแบบ ของความรู้สึกตรึงใจทางกาม (ตรงกันข้ามกับ "เอกัตตะ"  ที่ท่านแปลใน สัตตาวาส ๙ , วิญญาณฐีติ ๗ ว่า อย่างเดียวกัน ส่วน นานัต ท่านแปลว่า ต่างกัน)
                คำว่า  "นาน" หรือ "นานา" แปลว่า ต่างๆ ต่างกัน ไม่เหมือนกัน , เว้นเสีย, ทิ้งแล้ว, อย่างนั้นอย่างนี้, หลายอย่าง, ทุกชนิด,
                เอกัตตะ อาตมาก็ขอแปลว่า "สิ่งซึ่งถูกยกขึ้นมาโดยตนเอง, สิ่งที่ถูกสมมุติขึ้น โดยตนเอง หรือสำหรับคนผู้ที่ ยังมิจฉาทิฏฐิอยู่ ก็แปลว่า ความเป็นตนโดยตนเอง
                สำหรับผู้ สัมมาทิฏฐิ นั้น สิ่งที่ถูกสมมุติขึ้นโดยตนเอง หรือความเป็นตน โดยตนเอง (เอกัตตะ) ของคนผู้บรรลุธรรม จะลด "ตัวตน" หรือ "ความเป็นตน" (อัตตา) ไปตามภูมิ จนกระทั่งสูงถึงขั้น เมื่อทำ "สิ่งที่ถูกสมมุติขึ้น โดยตนเอง หรือความเป็นตน โดยตนเอง" แล้ว ไม่มีความยึดถือ ว่าเป็นตัวตน เพราะหมด ความยึดมั่นว่า เป็นตัวตนของตน
                เมื่อผู้ปฏิบัติต่างได้ สิ่งซึ่งถูกยกขึ้นมาหรือตน (อัตตะ) เป็นภาวะ "เอก" ตามภูมิคน เท่าที่รู้ กำหนดหมาย (สัญญา) เช่น ภาวะนิโรธเป็นต้น จึงหมายถึง ต่างก็ได้ เอกัตตะ (สิ่งซึ่งถูกยกขึ้นมาโดยตนเอง, สิ่งที่ถูกสมมุติขึ้นโดยตนเอง)
                นั่นคือ ต่างคนต่างก็ได้ ความเป็น "ฌาน" ความเป็น "นิโรธ" โดยตนเอง ในตนเอง ไม่ว่า มิจฉาทิฏฐิ - สัมมาทิฏฐิ
                เมื่อต่างคนต่างได้ "กาย" (องค์ประชุมของสภาวะ) ต่างก็เรียกว่า "ฌาน" ว่า "นิโรธ" เช่นเดียวกัน(เอก) อย่างเดียวกัน (เอก) ต่างก็มี "องค์ประชุมของสภาวะ" (กาย) ของตนๆว่า อย่างนี้แหละๆ คือ "ฌาน" เช่นนี้แหละ คือ "นิโรธ"  "กาย" ที่ตนได้อย่างนี้ ตาม "สัญญา" ที่ตนมีอย่างนี้
                ตามความรู้ของตนๆที่ต่างก็ "กำหนดหมายรู้" (สัญญา) ต่างก็เรียกว่า "ฌาน" เรียกว่า "นิโรธ" เช่นเดียวกัน (เอก) ของแต่ละคน แล้วตนก็ปฏิบัติ จนกระทั่งมี "กาย" (องค์ประชุม) เป็นสิ่งซึ่งถูกสมมุติขึ้น โดยตนเอง (เอกัตตะกาโย) สิ่งซึ่งถูกยกขึ้นมา โดยตนเอง (เอกัตตกาโย)
                ได้ "กาย"  ที่เป็น "นิโรธ" ตามคำตรัสของพระพุทธเจ้า ใน "วิญญาณฐิติ ๗" หรือ "สัตตาวาส ๙" ข้อที่ ๔ (พระไตรฯ ล. ๑๑ ข. ๓๓, ๓๕๓ และ ล. ๒๓ ข. ๔๑, ๒๒๘)
                ข้อที่ ๔ นั้นมีว่า "สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน (เอกัตตกายา) มีสัญญา อย่างเดียวกัน (เอกัตตสัญญิโน) เช่น พวกเทพสุภกิณหะ
                "เทพสุภกิณหะ" นี้หมายถึง เทพหรือพรหม ซึ่งมีความเป็นภูมิจิตขั้น "นิโรธสมาบัติ" ทีเดียว
                ผู้ยังมิจฉาทิฏฐิ ที่ยังมีความรู้ระดับ เทวนิยม ก็จะมีความยึดถืออยู่แค่ ความมี "อัตตา" อันหมายถึง "จิตวิญญาณที่มีรูปร่าง" มีสรีระตัวตน ที่เมื่อตายไปแล้ว ก็เป็น เทพหรือพรหม ไปเสวยภูมิอยู่ ในแดนสวรรค์ตามชั้น ตามสถานที่เขาว่า มีแดนสวรรค์ ที่เป็นเทวดา อาศัยอยู่ และมีแดนนรก ที่ผีนรกเปรต เดรัจฉาน วินิบาตอาศัยอยู่
                ดังนั้น เทพหรือพรหม ของชาวเทวนิยม ดังกล่าวนี้ ก็จะเป็น กาย ที่มีรูปร่าง ผู้ที่ได้เรียนรู้มา บางคนเขาเรียกว่า "นามกาย" ด้วยนะ และยืนยันว่า คนในโลกนี้ ที่ยังไม่ตายไปนี่ ก็สามารถ "เห็น" ได้ โดยเห็นด้วย ตาทิพย์ ว่ากันอย่างนั้น
                ซึ่งสิ่งที่มีรูปร่างสรีระนี้ จะต้องเห็นด้วย ตา (จักษุ) สัมผัส แต่ถ้าคนที่ตายไป ไม่มีรูปร่าง สรีระแล้ว มีแต่ "อัตตภาวะ" ที่เรียกว่า "จิตวิญญาณ" ซึ่งพระพุทธเจ้า ตรัสว่า อสรีรัง คือไม่มีรูปร่าง
                ถ้าจะเห็น "จิตวิญญาณ" ต้อง "เห็น" โดยใช้ "ตาทิพย์" (จักขุทิพ) ที่เรียกว่า "วิชชา ๘" เช่น วิปัสสนาญาณ เป็นต้น และเห็นด้วย "อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ"
                ไม่ใช่เห็นด้วย "ตาเนื้อ" แม้คนที่ยังไม่ตาย ยังมี "ตาเนื้อ" ต้อง "เห็น" (ปัสสติ) ด้วย "ตาทิพย์" ที่เป็นวิชชา ๘ อย่าง "สัมมาทิฏฐิ"

                ส.เดินดินสรุปว่า... วันนี้ทึ่งอย่างหนึ่ง คือมีแฟนพันธ์แท้ ของพ่อครู เอาของมาถวาย และเขาติดตามฟังพ่อครู อยู่ตลอดเวลา และเขาอยากมากราบ พ่อครูมากๆเลย แม้เนื้อหาจะยาก แต่พ่อครูให้เข้าใจวิชาการของศาสนาพุทธ ให้เข้าใจ นิโรธพุทธ นิโรธฤาษี ฌานแบบพุทธ ฌานแบบฤาษี แม้นั่งอยู่ตรงนี้ ก็ได้กลิ่นมะม่วง อยู่ตลอด พ่อครูว่า คุณจะเอาแต่กิน ทั้งที่มีดอกลั่นทมอยู่ และแม้ได้กลิ่นมะม่วง ก็ไม่ได้อยากกิน แต่อย่างใด แต่ไปฟังบางคนว่า กำลังนั่งสมาธิ กำลังได้ฌาน แต่พอลูก มาเคาะประตู ก็ตบลูกเลย ว่ามารบกวน การทำฌานสมาธิ ซึ่งทำแบบมิจฉาทิฏฐิ ก็จะไปดับๆๆๆ ถ้าดับได้ก็สุดยอดแล้ว ถ้าไม่เจอพ่อครู ก็จะไปทำอย่างเขา แต่นี่พ่อครู เอามาเทียบให้ดูว่า ของพุทธกับฤาษีเป็นอย่างไร ซึ่งยากมาก ในการอธิบาย และก็ฟังยาก แต่ก็เข้าใจว่า พุทธต้องตื่นรู้ อ่านทั้งภายนอก และภายใน จะเข้าใจ ไม่ใช่ยิ่งหลับยิ่งหรี่ ยิ่งหนีจากนิพพาน แต่ว่าเรามีนิโรธแบบพุทธ ต้องยิ่งสว่าง ท่ามกลางผัสสะ...

จบ

             

 
๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานราชธานีอโศก