เรื่อง รู้กายและสัญญาอย่างสัมมาพาวิชชาเกิด ตอน ๓ |
ส.เดินดินดำเนินรายการที่สันติฯ....วันนี้มีคนใส่บาตรหนาตาพอสมควร ประเทศไทย เรามีวันพระ และมีคำว่า วันพระไม่ได้มีหนเดียว คือเราจะได้ทำบุญ ไม่แค่วันเดียว วันนี้พ่อครูก็จะมีธรรมะ มาสาธยาย แต่วันนี้พ่อครูมีอาการ ขันธ์ไม่ปกติ นิดหน่อย
สิ่งที่พวกเราติดตามฟัง พ่อครูมาตลอด คือพ่อครูพยายามให้พวกเรา จะทำขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เช่น ที่กำลังใช้ คอมพิวเตอร์ ก็คิดว่า มันเก่งกาจ แต่ที่จริงคือ เราเอาแค่ระบบสัญญา หรือความจำมาใช้ หรือใครไม่รู้อะไร ก็ถามอ.กู (กูเกิ้ล) ก็เห็นว่า มันวิเศษมากมาย
แต่พ่อครูพยายามบอกว่า มนุษย์เรามีความสุดยอด วิเศษยิ่งกว่า แค่เฉพาะ ความจำอย่างเดียว แต่ยังมี เวทนา สังขาร วิญญาณ และยิ่งหมดกิเลส ก็จะยิ่งมีความสามารถ มากมายอีก
คอมพิวเตอร์ก็จะมีรุ่นต่างๆ เช่นวินโดว์๗, ๘ ก็เป็นการทำงานให้ง่ายขึ้น แต่ตอนนี้ พ่อครู พยายามให้พวกเราเข้าใจ วิญญาณฐีติ ๗ สัตตาวาส ๙ ซึ่งไม่ง่ายเลย อย่างศาสนาพุทธทั่วไป ทุกวันนี้ ก็จะไปพยายามดับสัญญา ดับเวทนา เป็นการหนีผัสสะ
มีข้อความแสดงความเห็นว่า พธร. ย่อมเปรียบได้กับ มนุษย์โลกล้านปี ที่บังเอิญ ไปเก็บหนังสือ มาได้เล่มหนึ่ง (คล้ายกับ พตปฎ. เล่ม16) อันเป็นความรู้ชั้นสูง ที่พวกจานบิน (ต่างดาว) ได้ทำหล่นไว้! แล้วมนุษย์โลกล้านปี พธร.คนนี้ ก็พยายาม มานั่งแปล! จึงได้ออกมา เป็นความรู้ ที่มั่วมาก.. ในสายตาของอริยะ เช่นเรา!
ซึ่งเขาว่าเขาเป็นอาริยะ แต่พอพ่อครู ไม่นำมาอ่านให้ ก็จะเริ่มรู้สึก แสดงอารมณ์ มาทางภาษาหยาบคาย แต่พออ่านให้ ก็จะเริ่มดีหน่อย
บางที เขาว่ามาหยาบๆ ว่าพ่อครูเป็นวัวเป็นควาย แต่พ่อครูให้เรามาดูสัตว์ ที่เป็นจิตวิญญาณ ในตัวเรา ซึ่งความเป็นควาย ที่เราไปกล่าว ว่าคนอื่น เราควรดูว่า เราโกรธหรือเปล่า เรามีจิตวิญญาณ เป็นสัตว์หรือไม่ ถ้าไม่ดู เราก็อาจมี สัญญาวิปลาส ซึ่งอาจมองคน เป็นหมาได้ เพราะเป็นบทบาท ของอัตตะ ซึ่งคิดว่า คุณ 8705 ก็มาเป็นอุปกรณ์ ของพ่อครู ในการสอน
ตอนนี้มีเรื่อง สืบจากศพ คุณเอกยุทธ ให้คิดว่า มันเป็นแค่ฆ่าชิงทรัพย์ หรือมีอะไร มากกว่านั้น หมอพรทิพย์ ก็ตั้งข้อสังเกตไว้ เมื่อเราเห็นคนอื่น เราก็ต้อง สืบจากศพ คือทำให้เราเข้าใจ กายทั้งหมด ซึ่งพ่อครู มีการเรียบเรียง มาอย่างดีแล้ว ที่จะได้สาธยาย มาให้ฟัง
พ่อครู... หนังสือพิมพ์เราคิดอะไร จะครบรอบ ๑๙ ปี จะออกเล่ม ๒๗๙ ในเดือน ตุลาคม ๒๕๕๖ แต่ตอนนี้ ออกเล่ม ๒๗๖ บอกว่า เพื่อสื่อถึงผู้อุปการะคุณ สำนักพิมพ์ จะได้จัดพิมพ์หนังสือ "รู้คนขังสุข รู้คุกขังสัตว์" มอบเป็นบรรณาการณ์ โดยพ่อครู สมณะโพธิรักษ์ แจกกุญแจ เปิดประตูคุก คืออวิชชา ซึ่งกักขังสัตว์ ในที่มืดมิด แห่งวังวน อวิชชา สรรพสัตว์ผู้ปรารถนา ออกจากสังสารวัฏ อันน่าสังเวช ควรศึกษา หนังสือเล่มนี้ เพราะเกิดมา ก็ถูกขังแล้ว แต่ว่าคนบางคน ก็ก่อกำแพงขังตน ให้สูงขึ้นไปอีก
การที่เรามีจิตใจที่จะสงเคราะห์ ช่วยเหลือคนอื่นจริง อย่างไม่หลอกลวง เป็นการเกิด ด้วยปัญญา จากจิตรู้ว่า อย่างนี้น่าส่งเสริม เสียสละ ให้เขาไปทำประโยชน์ นี่คือสัจจะ เป็นเรื่องสูง พ่อครูไม่พยายามหลอกล่อ แต่ให้คนเข้าใจความจริง ถ้าเขาเข้าใจจริง เขาก็จะลดละ ของเขาเอง เป็นเรื่องจริงบริสุทธิ์
ต้องขอบคุณ คุณ 8705 ที่เขาขยันเขียนมา ๕ หน้ากระดาษ พ่อครูอ่านแล้ว ก็เก็บเอาความรู้ ความเข้าใจ ประเด็นที่ควรพูด มีทั้งเห็นเหมือน และเห็นต่าง ตอนนี้ชักมี เห็นเหมือนกัน มาบ้างแล้ว ก็มีที่จะหยิบมาอธิบาย โดยไม่ถกเถียงกัน ซึ่งเห็นต่างกันได้ พ่อครูก็จะชี้บอก ความเห็นตน
0888705xxx โดยปรมัตถ์หรือความจริงแท้ ที่ไม่แปรผันนั้น.. ย่อมมีแต่ 1.รูป 2.จิต 3.เจตสิก 4.นิพพาน เท่านั้น! โดยที่รูป ก็คงเป็นรูป ส่วนจิตและเจตสิกเป็นนาม
เขาเจตนาเอารูปขึ้นก่อน ซึ่งเขาเข้าใจว่า รูปไม่ใช่นาม รูปจะไปเป็นนามไม่ได้ ซึ่งเป็นคำที่สลับจาก โบราณาจารย์เขียนไว้ ที่ถูกจะเป็น จิต เจตสิก รูป นิพพาน หรือเรียกว่า นามรูป ไม่มีคำว่า รูปนาม.
ส่วนนิพพานนั้น มิใช่ทั้งรูป มิใช่ทั้งนาม โดยทั้งหมด (=รูป, จิต, เจตสิก, นิพพาน) นี้.. ต่างหาใช่เป็นสัตว์ เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหม ฯ หรือเป็นบุคคล ตัวตน (=อัตตา) เลยไม่! แต่เพราะปุถุชนทั้งหลาย ยังไม่รู้ถึงความจริงแท้ หรือปรมัตถ์นี้.. จึงย่อมจะยังเห็นเป็น บุคคลตัวตน (=อัตตา)!
0888705xxx หรือก็คือ..ยังหลงอยู่ในความเป็น สัตว์มนุษย์ของตน อยู่นั่นเอง! ส่วนอริยะ หรือผู้ที่ได้เห็นถึง ปรมัตถ์ (ความจริงแท้)แล้ว.. จึงย่อมจะไม่เห็น เป็นสัตว์มนุษย์ ไม่เห็นเป็นเทวดา ไม่เห็นเป็นพรหม ฯ หรือก็คือ ย่อมไม่เห็นว่า เป็นสัตว์บุคคล ตัวตนใดๆ อีกแล้วนั่นเอง! เพราะย่อมเห็น เป็นแต่เพียง.. รูปกับนาม ที่กำลังเกิด-ดับสืบต่อ โดยความเป็นทุกข์ (ก็ด้วยเหตุที่ต้อง เปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา) เช่นนั้นเอง! ทั้งนี้เพราะอะไร? ก็เพราะที่อริยะ ได้ละความเห็นผิด ที่ยึดถือด้วยอุปาทาน ว่าเป็นบุคคล ตัวตน (=อัตตา).. หรือคือได้ละ สักกายะทิฐิ แล้วนั่นเอง!
พ่อครูว่า... ความเห็นเช่นนี้ ว่าไม่มีอะไร เป็นตัวตน เป็นความเห็นเหมือน วาชรศพ ที่เห็นว่า ไม่มีสัตว์ตัวตน บุคคลเราเขา เอาดาบฟันคนนี่ ก็ฟันลงในที่ว่าง เป็นความเห็น เชิงตรรกะ และที่จริง สักกายะคือสภาวะ ที่คนยึดติดนั่นเอง
คำว่า "สักกายะ" คือกาย แปลว่า กายอัน สักกะ (คือหยาบใหญ่) เท่ากับแปลว่า สภาวธรรมอย่างหนึ่ง ที่เป็นองค์ประชุม ของอัตตา ที่เป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม แล้วคนก็มายึดกัน ยึดมั่นถือมั่น จะมากหรือน้อยก็ยึด เป็นอาการจริง ไม่ใช่ว่า เข้าใจแค่ว่า มันไม่ใช่ตัวตน บุคคลเราเขา ซึ่งมันไม่ง่าย อย่างนั้นหรอก อย่างนั้นเป็นเบื้องปลายแล้ว
ถ้าสักกายะคือคำเฉพาะ แต่คำว่าอัตตาก็คือ คำกว้างๆ เช่นคำว่าคน ก็คืออัตตา แต่ว่าคนชื่ออะไรแล้วรู้จักไหม ก็คือ สักกายะ คือสัมผัสเป็นรู้เลย และก็กำจัดมันลงได้ สักกายะ ก็จะลดลงๆๆ จนเหลือตัวปลาย เรียกว่า อาสวะ พอสิ้นอาสวะ ก็หมดตัวตน
ถ้าจะล้างตัวยึดติด ก็ต้องล้างอาสวะ ที่เป็นตัวตนสุดท้าย ซึ่งต้องเข้าใจสภาวะ จึงกำหนดพยัญชนะได้ง่าย
ที่เห็นว่า พอเข้าใจว่า ทุกอย่างไม่มีตัวตน บุคคลเราเขา ทุกอย่างไม่ใช่อัตตา ก็คือบรรลุ อย่างนี้เป็นแค่ตรรกะ ไม่เข้าถึงความจริง ละความเป็นสัตว์ไม่ได้
พระพุทธเจ้าสอนเรื่องสัตว์ ไม่ได้หมายถึง เอาสัตว์ที่เป็นตัวตน มีร่างกาย เช่น นก หนู ฯลฯ แต่ว่าหมายถึง สัตว์โอปปาติกะ ซึ่งอยู่ใน ทิฏฐิ ๑๐
๑. ทาน มีผล คือต้องเข้าใจว่า ทำทานอย่างไร จึงลดกิเลส ต้องรู้จิต เจตสิก รูป นิพพาน รู้ปรมัตถธรรม ถ้าไม่เข้าใจว่า เราต้องทำ ใจในใจอย่างไร ต้องมีแผนที่ เป็นความรู้ปริยัติ แล้วก็ไปปฏิบัติ ถ้าเข้าใจปริยัติไม่ครบ ก็ปฏิบัติไม่ได้ผล แต่ถ้าทำได้ถูก ก็จะเกิดผล ลดกิเลสได้จริง
๒. ยิตถัง คือมีวิธีปฏิบัติอย่างไร ให้ได้ผลลดละกิเลส มีการสัมผัสแตะต้อง ทวาร ๖ ก็ต้องเข้าใจว่า ทำอย่างไร อ่านอย่างไร ปหานอย่างไร สัญญากำหนดรู้กิเลส อย่างไร ต้องอ่านสักกายะให้ออก เมื่อเราเจอผัสสะ ตากระทบรูป หูกระทบเสียง... ยิ่งสัมผัส ก็จะเกิดอาการ เห็นสัตว์โอปปาติกะ
๓. หุตัง จิตได้เสวยผล ได้รับผล หรือได้รับการบวงสรวง ต้องอ่านจิตเป็น ว่ามันลดละ จางคลาย ได้หรือไม่ ก็รู้ว่ามีผลหรือไม่ อ่านจิตเจตสิกเราออก
๔. สุกฏทุกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก คือเราสั่งสมผล ที่เป็นอาริยธรรมได้ เกิดจากกรรมทั้งนั้น
๕. อยังโลโก คือที่วนอยู่ในโลกีย์ เป็นสัตว์ต่างๆ หมุนวนในโลกนี้ ต้องรู้เหตุ ที่ทำให้เรา วนอยู่โลกเก่า
๖. ปโร โลโก คือโลกใหม่ โลกุตระโลก ที่เราหลุดพ้นจากโลกเก่ามาได้ คือโลกหน้า พัฒนาไปข้างหน้า ไม่ได้หมายถึง ตายจากร่างกาย ไปอยู่อีกโลกหนึ่ง ที่เป็นความรู้ แบบเทวนิยม
๗. พ่อมี
๘. แม่มี
๙. สัตว์โอปปาติกะมี ซึ่งถ้าเข้าใจว่าเป็นแบบตัวตน บุคคลเราเขา ก็ไม่เข้าถึง ปรมัตถ์ แต่ถ้าเข้าใจว่า ทุกอย่าง ไม่มีตัวตน บุคคลเราเขา ก็เป็นวาชรศพ แต่เราต้องรู้สมมุติ ที่เราต้องรู้
คำว่าอัตตา ที่แปลในพจนานุกรม สิ่งซึ่งถูกสมมุติขึ้น หรือสิ่งที่ถูกยกขึ้นมา คือยกมาเป็นตัวตน บุคคลเราเขา โดยไม่เข้าใจสัจจะ แล้วยกมา เราก็มาเป็นทาสมัน มันต้องการ อย่างนั้นอย่างนี้ คุณก็ประเคนให้มัน มันอยากได้ลาภ คุณก็ไปแสวงหาลาภ ดีไม่ดีทุจริต สร้างวิบากบาป ก็ทำ ไม่รู้ว่าต้องอยากได้ อยากมี อยากเป็น อะไรนักหนา
พูดแค่ปากเปล่า วันรูปนาม ไม่ใช่ตัวตน บุคคลเราเขา ก็พูดได้ แต่อาการจริง ที่มันมีอยู่ ได้เรียนรู้หรือไม่ อย่างคำว่า แม่พ่อ พระพุทธเจ้าว่า พระโมคคลานะคือแม่ พระสารีบุตรคือพ่อ อย่างพ่อครูนี้ รู้ว่าเป็นแม่และพ่อในตัว เพราะเกิดมาในยุคนี้ ก็ทำงาน ในหน้าที่นี้ สร้างลูก พ่อครูว่าลูกนี้ จริงกว่าลูกทางกาย เป็นลูกกันข้ามชาติเลย ต่อเนื่องไป จนกว่า จะปรินิพพานเลย อย่างพ่อครูเคารพ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพ่อ ก็ยึดถือ เราก็รู้ว่า เรายึดอย่างสมาทาน ไม่ใช่อุปาทาน
เราต้องเข้าใจ จิตวิญญาณสัตว์ หรือมนุษย์ เทวดา พรหม คือต้องรู้อาการ ลิงค นิมิต รู้ได้มีเครื่องหมายของตน ตนเองรู้เองได้ อหเมตัง น ชานามิ อหเมตัง น ปัสสามีติ
๑๐. สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ-ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ -โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่
คำว่า โยนิโสมนสิการ นี้อยู่ในสุริยเปยยาล คือแสงอรุณไม่มา สุริยาไม่มี คุณจะเห็น พระอาทิตย์ คือมรรค ๘ ได้ต้องมีแสงอรุณก่อน
เช่น ต้องเห็นอัตตา คือรู้อัตตทิฏฐิ ในข้อ ๔ ของแสงอรุณ คือถ้าปฏิเสธว่า เรามีตัวตน ก็จะไม่สามารถเรียนรู้ กำหนดว่า เรามีอัตตา หรือเรายึดอะไร แล้วเราก็จะ ไม่สามารถ สลายความยึดได้ แต่ถ้าได้แต่ยึดภาษาคำพูด ว่าไม่ใช่ตัวตนนี่แหละ ก็จะเป็น อัตตวาทุปาทาน
ความเป็นสัตว์ จะเห็นได้ด้วย วิชชา ๘
๑.วิปัสสนาญาณ เห็นความเป็นกาย หรือองค์ประชุม ของนามธรรม ด้วยญาณ ปัญญา ด้วยกำหนดรู้เครื่องหมาย คุณต้องมีสัญญา ที่สัมมาทิฏฐิ ต้องกำหนดหมายให้ตรง ปรมัตถธรรม เข้าใจอาการ ลิงค นิมิต อุเทศ ถ้าไม่อย่างนั้น จะเป็นสัญญาวิปลาส คือ กำหนดหมาย คลาดไป จากความเป็นจริง
ซึ่งต่างจากสัมมาทิฏฐิ ที่กำหนดหมายไม่ได้เลย หรือยิ่งอวิชชานี่ ยิ่งไม่รู้เรื่องไกล หยาบกว่ามิจฉาทิฏฐิอีก แต่ก็ต่างจาก สัญญาวิปลาส ที่แค่คลาดเคลื่อน ในการกำหนดหมาย
ถ้ากำหนดถูก เมื่อเห็นอัตตาที่เป็น สัตว์ แล้วหาเหตุที่ทำให้เกิดสัตว์ จนดับเหตุ ได้สนิท ก็คือนิโรธ ท่านดับเหตุ ทุกอย่างมาแต่เหตุ
ผู้เริ่มเห็นความเป็นสัตว์ในตน ขั้นแรก คือ ผู้ได้ โสดาปัตติมรรค คือผู้พ้น มิจฉาทิฏฐิ และเมื่อเห็นกิเลส เห็นสัตว์ในตัวได้ ก็อย่าให้ อาหารมัน คือไม่บำเรอมัน ก็จะเห็นมันทุกข์ เมื่อเราไม่บำเรอสัตว์ จนสัตว์มันลดลง หรือสักกายะเราลดลง
ต้องพ้นสังโยชน์ข้อ ๑ คือลดสักกายะทิฏฐิ ก็ตามเห็นความจางคลาย ของสักกายะ ตามเห็นมันไป ตามอัตตาตัวนี้ไป แล้วก็กำจัดมันไป จนมันหมด ไม่มีตัวตนได้ ก็คือดับอาสวะ จึงเห็นอนัตตา คือพ้นอัตตานุทิฏฐิ
โสดาบัน จะพ้นสังโยชน์ข้อที่ ๑-๓ คือพ้น สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา -ศีลพตปรามาส คือไม่ใช่แค่เห็น แต่เราทำให้มันลดละ ได้จริงๆ จึงพ้นศีลพตปรามาส ก็จะพ้นสังโยชน์ ๓ เข้าข่ายโสดาบัน เป็นจุดเริ่มต้น ก็เก็บหน่วยกิจไปเรื่อยๆ จนเข้าสู่ สกิทาคามี... อนาคามี.. อรหันต์ ความเป็นสัตว์นี้ จะชัดเจน ต้องสัตว์ทางจิตวิญญาณ เราต้องรู้ปริยัติ แล้วปฏิบัติให้ได้ผล
จะเห็นอริยสัจ ต้องเห็นทุกข์อย่างอาริยะ ไม่ใช่แค่เห็นทุกข์ แต่ภายนอก แต่ต้องใช้สัญญา กำหนดรู้ อันควรกำหนดรู้ (ปริญเญยยะ) ต้องกำหนดรู้ อาการจิตเจตสิก ของทุกข์ แล้วเรียนรู้เหตุ แล้วกำจัดเหตุ แล้วทำมันดับได้ คือเหตุแห่งทุกข์ มันดับ เรียกว่า นิโรธอริยสัจ เราต้องทำเอง เห็นเอง ดังกาลามสูตร ที่ไม่ให้เชื่อ แม้ครูบาอาจารย์ หรือ การคาดเดา หรือตำรา เราต้องเชื่อตนเอง ที่สัมผัสของจริงด้วยตน
ผู้ดับเหตุแห่งทุกข์ได้ ก็จะเห็นว่า ตนไม่มีทุกข์หรือสุข มันเป็นอาการ อารมณ์ที่ว่า ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขแล้ว ไม่ต้องแสวงหาอยากได้ แม้เราสัมผัส เกี่ยวข้อง เราก็ไม่เกิดอาการ สุขหรือทุกข์
อย่างสามีไปมีเมียน้อย ก็แค้นสามี พ่อครูว่า ก็ยกสามีให้เขา ไม่ต้องไปทุกข์อะไร เขามารับช่วง เราก็ใส่พานให้เขา ก็จะได้หมดสุข หมดทุกข์
สัญญาวิปลาส ....คุณ 8705 ว่า นอกจากจิต เจตสิก รูป นิพพานแล้ว.. อย่างอื่น ย่อมมิได้มี! ฉะนั้น ซึ่งทั้งจิ. เจ. รู. นิ.นี้.. ต่างจึงหาใช่เป็น สัตว์บุคคล ตัวตน (=อัตตา) เลยไม่!
พ่อครูว่า... คนที่ปฏิเสธสิ่งที่จะปฏิบัติ ก็จะเป็น อัตตวาทุปาทาน มีความฉลาด แต่ไม่มีสภาวะธรรม
ที่ก่อนเคยหลงสมมุต หรือเคยหลงรูป-นาม ว่าเป็นอัตตา (ตัวตน) นั้น! ที่แท้แล้ว.. เป็นเพราะสัญญาวิปลาส ไปเองตะหาก! เพราะว่าโดยความจริงแท้ ปรมัตถ์แล้ว ทั้งรูปทั้งนาม.. ต่างย่อมเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา!
แต่เมื่อปุถุชน ยังกอร์ปด้วย อุปาทานอยู่.. ฉะนั้นสัญญาของปุถุชน จึงย่อมจะวิปลาส คลาดเคลื่อนไปจาก ความจริงแท้! (ก็เพราะเหตุด้วย อุปาทานนั้นเอง) ฉะนั้นปุถุชน จึงไม่สามารถจะเห็น ตามความจริงแท้ได้ว่า เป็นสักแต่ว่ารูป! และเป็นสักแต่ว่านาม!
พ่อครูว่า จะรู้รูปหรือนาม สัมผัสแล้วจะรู้ว่า รูปกายหรือนามกาย ผู้ที่ล้างกิเลส ได้จริง ก็รู้ว่า รูปที่ประชุมคือกาย นามที่ประชุมคือกาย แล้วถ้าถูกรู้ ก็คือรูป รูปภายนอก ไม่รู้สุขทุกข์หรอก แต่ในใจต่างหาก ที่เป็นสุขทุกข์
สัญญาต้องใช้กำหนดรู้ เช่นเห็นรูปในปัจจุบัน รูปที่อยู่หน้าเรา ก็เห็นแล้ว เป็นองค์ประชุม ซึ่งต้องมีนามเป็นตัวรู้ ส่วนมังคุด กล้วย มันไม่รู้หรอก ถ้าสักแต่ว่ารู้ ก็คือจำได้ว่า มังคุดคืออย่างนี้ รสอย่างนี้ แต่เราก็ไม่ได้มี ตัวปลุกเร้า ว่าอยากกิน น่ากิน มันไม่มี มันจึงสักแต่ว่ารู้ว่า อะไรรูป อะไรนาม ซึ่งสักแต่ว่าคือนาม เรา นี่คืออาริยะ แต่ว่าคุณปฏิบัติได้หรือยัง
จนกว่า.. จะได้เห็นอริยสัจจ์4 บรรลุเป็นอริยะขั้นต้นโสดาฯ แล้วเท่านั้น!. ถึงจักสามารถ ละความเห็นผิดว่า เป็นสัตว์ บุคคลตัวตน (=อัตตา) ..ลงได้โดยเด็ดขาด! หรือก็คือ ละสักกายะทิฐิ ได้แล้วนั่นเอง!
พ่อครูว่า แล้วคุณละสักกายะทิฏฐิ ได้หรือยัง ได้เห็นกาย ที่เป็นองค์ประชุม ของนามหรือยัง เป็นองค์ประชุม ของนามกาย เราก็รู้ความจริง ตามความเป็นจริง แตะมังคุด ก็รู้ว่า สีอย่างนี้ กลิ่นอย่างนี้ แต่กายนี้ ไม่มีกิเลสตัณหา ไม่ดูดไม่ผลัก เป็นอุเบกขาเวทนา คือเฉยๆ เราก็พิสูจน์อยู่ว่า ใจเราเป็นเช่นนั้น แล้วคุณอ่านจิต ออกหรือไม่ ว่าอยากได้ หรืออยากทำลาย เพราะไม่ชอบหรือไม่
เมื่อเห็นสักกายะ ก็ทำการลด ตามวิปัสสี ๔ คือ อนิจจานุปัสสี วิราคานุปัสสี นิโรธานุปัสสี แล้วก็ปฏินิสัคคานุปัสสี เพราะเราดับ พลังงาน กิเลสตัณหา อุปาทาน ได้แล้ว มีสัมผัส ยั่วยุอย่างไร ก็ไม่เกิดกิเลส
คำว่า สัญญาวิปลาส คือ การกำหนดหมายรู้ ธรรมะสภาวะ คลาดเคลื่อน จากความจริง ซึ่งไม่ใช่สงสัย หรือวิจิกิจฉาด้วย มันเป็นการกำหนดรู้ แต่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะมีรายละเอียด ของมัน ไม่เหมือนกับ มิจฉาทิฏฐิ หรืออวิชชา แต่ว่าความสงสัย นี่ยังไม่วิปลาส
พวกเราอาจสัมมาทิฏฐิ แต่กำหนดผิด คลาดเคลื่อนได้ เช่น กำหนดสักกายะ กับตัวตน ที่เป็นอาสวะ ต้องกำหนดให้ถูก ถ้าเข้าใจกำหนดผิดว่า สักกายะเป็นอาสวะ ก็ปฏิบัติผิดไปได้เลย หรือแค่ว่า กำหนดว่า แค่เห็นว่า ละความเห็นผิดว่า เป็นสัตว์บุคคล ตัวตน (=อัตตา) ..ลงได้โดยเด็ดขาด! หรือก็คือ ละสักกายะทิฐิ ได้แล้วนั่นเอง! นี่ก็ยังไม่สมบูรณ์ นี่ไม่ได้เจตนาว่าคุณ แต่อาศัยเป็นประโยชน์ ในการสอน
ซึ่งขั้นตอนปฏิบัตินั้นต้องมี
ก.ผู้เรียนศาสนาพุทธ ต้องเข้าใจอัตตา หรืออัตตทิฏฐิ ให้เป็นสัมมาทิฏฐิก่อน ว่าเป็นตัวตน หรือสิ่งสมมุติขึ้นอย่างไร
ข. ต้องปฏิบัติให้เข้าถึงอัตตา หรือเรียกว่า อัตตสัมปทา พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อดวงอาทิตย์ (มรรค๘) สิ่งที่จะขึ้น ก่อนดวงอาทิตย์ คือแสงอรุณ คุณจะได้สุริยา คุณต้องสัมผัส แสงอรุณก่อน ซึ่งอัตตะก็คือแสงอรุณ และถ้าปฏิเสธอัตตา คุณก็จะไม่เข้าถึง อัตตา เพราะคุณสมมุติว่า ตนเป็นอรหันต์เสียแล้ว ก็มักจะอรหันต์เก๊ด้วย ในสุริยเปยยาลสูตร มี ๗ อย่างของแสงอรุณ ต้องเรียนรู้ มีอันนี้ก่อน จึงมีมรรค ๘
ค. จัดการกำจัดอัตตา ตามที่เราเข้าใจ เรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ ซึ่งต่างจาก อัตตทิฏฐิ กำจัดด้วยปัญญา ที่เข้าขั้นวิชชา ๘ คือ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อิทธิวิธี โสตทิพย์ เจโตปริยญาณ บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ
โดยตามเห็นความไม่เที่ยง คืออนิจจานุปัสสี คือพ้น มิจฉาทิฏฐิ ตามเห็นสักกาย จางคลาย อัตตาจางคลาย คือ วิราคานุปัสสี แล้วทำมันดับได้ก็คือ นิโรธานุปัสสี แล้วก็ทำให้มาก ให้บ่อย ทำทวนทำซ้ำ เรียกว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสี จนบริบูรณ์ ด้วยจิต ไม่หวั่นไหว เรียกว่า อเนญชาภิสังขาร มีผลจิตตั้งมั่น แน่วแน่ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิสมบูรณ์
ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจกาย ทั้งรูปกายและนามกาย ทั้งกายนอกกายใน บริบูรณ์ ทั้งรูปกาย และนามกาย คำว่านามกาย คือสภาวะรู้ คำว่ารูปกาย คือสภาวะ ที่เป็นองค์ประชุม ของจิตวิญญาณด้วย ทั้ง ๖ อายตนะ ถ้าไม่ครบ ก็ไม่บริบูรณ์ แม้ผู้ปฏิบัติ เป็นกายสักขี แต่ถ้าไม่สัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วทำอาสวะดับสิ้น ก็ไม่บรรลุสูงสุดได้
ต้องกำหนดรู้ เวทนาในเวทนา ที่กำหนดในจิต จนกระทั่ง เหลืออรูปอัตตา คือต้องหมดกิเลส ที่สัมผัสภายนอก แม้รูปาวจร ก็ดับได้หมด เหลือแต่ อรูปาวจร ที่ทรงไว้ภายใน ก็ต้องกำหนดรู้ ด้วยสัญญาเท่านั้น ต้องกำหนดรู้ แม้อรูปในภายใน (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ)
ในวิโมกข์ ๘ ข้อที่ ๓ มีแปลว่า จิตน้อมไปเห็น ว่าเป็นของงาม ซึ่งที่จริงคือ ความเจริญของจิต เป็นโชคของ คนที่ปฏิบัติได้ ไปถึงวิมุติได้ บรรลุหลุดพ้นเลย คือ สุภันเตวะ อธิมุตโต โหติ ต้องมีสัญญา กำหนดรู้ แม้อัตตาหยาบ ที่เป็นโอฬาริกอัตตา หรือที่เกี่ยวข้อง กับภายนอก เข้าไปถึงข้างใน แล้วก็เนื่องไปถึง อรูปอัตตา หรือ มโนมยอัตตา เรียกว่า มโนมย อัตตปฏิลาโภ คือเราสมมุติขึ้นมา ยกขึ้นมา แล้วเราสำเร็จ เป็นโลกีย์ แล้วก็จมกับโลกีย์ หรือว่าเราได้มนสิการ ที่ทำให้กิเลสหมด เราได้ อนัตตปฏิลาโภ หรือไม่
เราต้องเข้าใจเห็น แม้สุดปลายของ อรูปอัตตา ต้องแม่นชัดใน เอกัตตกายา หรือ นานัตตกายา ซึ่งจะชัดเจน ในพยัญชนะ และสภาวะ ผู้มีสภาวะพ้น อัตตวาทุปาทาน (อย่างพวกเซ็น ก็ศึกษาแต่ตรรกะ นึกว่าตนบรรลุ แต่ไม่ถึงปรมัตถ์) ผู้พ้นอัตตวาทุปาทาน คือไม่ศึกษาแค่ตรรกะ แต่จะทำสภาวะ ให้ปรากฏในตน พ่อครูว่า ก็จะพอฟังออก ว่าที่เขาพูดมา มีภาษามา มันจะฟ้องว่า เขามีอัตตวาทุปาทานหรือไม่
ผู้จะชัดเจนต้องรู้แจ้งในรูป-นาม หรือเรียกขันธ์๕ จะชัดเจนในรูปรูป เช่น มังคุดถูกเรารู้ มันยังเป็นตัวมันอยู่ข้างนอก เราไม่เอามาเป็นกายใน
หรือนามรูป เราอ่านใจ เมื่อกระทบแล้ว เราก็อ่านนาม ซึ่งมันมี เวทนา สัญญา สังขาร เราก็อ่านรู้ เมื่อกระทบว่า เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอย่างไร ดังนั้น องค์ประชุมของ รูปกาย หรือนามกาย เราจะแยกเอาเฉพาะสัญญา ที่อยู่ภายใน ระลึกเอง ไม่ต้องสัมผัส ภายนอก เขาจะไม่มีองค์ประชุม ภายนอก แต่ว่าพระพุทธเจ้า ให้กำหนดรู้ ทั้งกายนอกกายใน จะแยกออกหมดเลย
เอกัตตกายา อย่างนี้คือฌาน อย่างนี้คืออาภัสรา อย่างนี้คือสุภกิณหา เราก็อ่านออก อ่านโดยอาการ ลิงค นิมิต อุเทศ จนกระทั่ง พรหมกาย หรือวิสุทธิเทพ ไม่มีกิเลสตัณหา อุปาทาน แม้ขณะนั้น เป็นพรหมชั่วคราว หรือได้ถาวร หรือธรรมกาย ที่เรารู้ว่าทรงไว้ ว่าเป็นอธรรม หรือธรรมก็ได้ ผู้มีธรรมกายบริสุทธิ์ เจตนาเรียกพรหมกาย ก็ต้องรู้บริบทท่าน
สัญญาไม่วิปลาส เพราะเข้าใจปริยัติแล้วก็จะปฏิบัติ กำหนดไม่คลาดเคลื่อน แต่ถ้าตีทิ้งหมด ทุกอย่างไม่มีตัวตน ก็จะวิปลาสได้
อรหันต์...คือผู้หมดสิ้นตัณหา แล้วสิ้นเกลี้ยง จึงเรียกอรหันต์ (อันตะคือ ปลายสุด) ตามลำดับ อย่างตามรู้ตามเห็น ความจริงในตน ไม่ประมาท ว่าเรามีอัตตา หรือไม่มีอัตตา ยืนยันความจริง ตามตรวจตลอดสาย เช่น ดับกามตัณหาแล้ว จึงดับภวตัณหา
กามตัณหา คือกระทบสัมผัส เกี่ยวข้องกับโลก แล้วเกิดกิเลส เราก็กำจัดกิเลส โดยไม่ต้องไป หลับตาหลีกหนี แต่กำจัดเหตุที่เกิด ขณะเกี่ยวข้อง ในชีวิตประจำวัน ปฏิบัติ ฌาน สมาธิ นิโรธ ก็อยู่ในกามาวจร ก็จะดับกิเลส กามตัณหา ก่อน แล้วดับ ภวตัณหา แม้อรูปาจวร ก็จะอยู่กับโลก
เมื่อกำจัดกิเลสได้หมด ก็จะอยู่ในภาวะที่มีกามาวจร แต่เราดับตัณหา ได้หมดสิ้นเกลี้ยง แม้ภพชาติก็ดับ มีสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วอาสวะก็หมด (อัฏฐ วิโมกฺเข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ปัญญาย จัสส ทิสฺวา อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติ)
กายปาคุญญตา คือ ความคล่องแคล่วในนามกาย หรือธรรมชาติของ ความคล่องแคล่ว เราฝึกไป ก็จะมีได้ รวดเร็วว่องไว หรือมุทุ (จิตหัวอ่อน ดัดง่ายแววไว) ด้วยกายวิญญาณ (ความรู้ที่เกิดขึ้น เพราะกระทบโผฏฐัพพะ แล้วเกิดความรู้) ด้วยกายปัสสัทธิ (ความสงบรำงับ แห่งนามกาย) ทำจิตเจตสิก ให้สงบเย็น แห่งกองเจตสิก หรือนามกาย
ผู้สามารถเข้าใจสมบูรณ์ เป็นอรหันต์ จะเข้าใจหมด กายปัสสัทธิ กายวิญญาณ หรือ กายปาคุญญตา เราจะแจ่มแจ้ง ในความมี หรือไม่มีกิเลส อย่างมีญาณปัญญา มีอัตตา หรือไม่มีอัตตา มีโลกสมุทัย หรือไม่มีโลกสมุทัย มีโลกนิโรธ หรือไม่มีโลกนิโรธ
ผู้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว มีกายหรือไม่มีกาย ก็จะรู้ คือ กายของ การมีกิเลสไม่มี หรือตัวตนของกิเลส ตัณหา อุปาทาน ก็หมดไม่มี ภาวะที่จะไม่ให้มี ก็สำเร็จแล้ว อะไรที่จะมีอยู่ เราก็รู้ เรายังไม่ดับเครื่อง ก็รู้
ส.เดินดิน สรุป ...เท่าที่ดู 8705 เขาเกาะกระแสความคิดกระแสหลัก จึงมองว่า พ่อครูเป็นแกะดำ ซึ่งพ่อครูคิดว่า ทำอย่างไร ให้จิตวิญญาณ บริสุทธิ ซึ่งการละอัตตา ในศาสนาอื่น หรือคนอื่น ไม่มีใครมาขยายว่า อัตตา ๓ คืออย่างไร แต่จะพูดแค่ตัวจบ อะไรก็ไม่มีตัวตน เขาจะไม่มีมาพูดว่า การละกิเลสตัวตน เป็นขั้นตอน ทำอย่างไร และคนส่วนใหญ่ ก็ชอบด้วย แต่พ่อครูจะพูดเรื่องตัวตน ให้ลดละ ซึ่งมันบาดใจคน คนเลย ไม่ค่อยชอบฟัง ซึ่งศาสนาพุทธ เป็นเหมือนเขาโค ส่วนใหญ่เป็นขนโค .......
จบ
|