560617_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครู และอ.กฤษฎา
เรื่อง นัยสำคัญของคำว่า "กาย" ตอน ๑

             จัดรายการที่ห้องกันเกราที่สันติฯ

             อ.กฤษฎา ...วันนี้มีอะไรมาโชว์หน้าโต๊ะ

             พ่อครูว่า ก็มีทั้งมะม่วงลูกโตๆ และมีอีกลูกหนึ่งที่เชื่อว่า ไม่มีใครทายถูกแน่ แต่นี่คือ กระทกรก ลูกใหญ่เท่ามะละกอเลย ปลูกที่ธุลีฟ้ารีสอร์ท เชียงใหม่ ได้เป็นลูกแรก รีบนำมาถวายเลย ยังไม่มีใครได้ชิม ลูกนี้สุกลูกแรก ให้พ่อครูได้ชิมก่อนเลย

             พ่อครูว่าพวกเรานี่ ยิ่งทำกสิกรรมธรรมชาติ ซึ่งเป็นอจินไตยซักอย่างที่พูดไป คือได้คุยกับเทวดา ว่าเราต้องกู้ชาติด้วย กสิกรรมธรรมชาติ ปุ๋ยสะอาด และขยะวิทยา ซึ่งขยะวิทยา จะกู้ชาติอย่างไร ตอนนั้นก็ไม่รู้ ก็เลยเรียกว่า ขยะเอ๋ย ก็ออกหนังสือแสงสูญ ก็ใช้คำว่า ขยะเอ๋ย เพราะยังไม่กล้า ยังไม่ทะลุทะลวงในผล มาถึงวันนี้แล้ว มาเป็นผล ถ้าไม่ได้ขยะวิทยา เอฟเอ็มทีวี ก็จะไม่ตั้งมาได้ถึงวันนี้ และเราไม่ได้หาเงินเลย แถมเพิ่ม เป็นดาวเทียม สองดวงด้วย จึงเป็นเรื่องพิสูจน์ชัดเลยว่า เราไม่ได้หาโฆษณาเลย เราไม่ได้รับบริจาค ก็จะมีคนข้างในเรา บริจาคมาก เราก็ไม่มีเงินมาก นอกนั้น ได้มาจากขยะ ทั้งนั้นเลย เป็นสถาบันขยะวิทยาด้วยหัวใจ (สขจ.)
             มีผู้เข้าใจเสียสละ ถึงขนาดลางาน ที่มีเงินเดือน สองหรือสามแสนบาท มาช่วยทำขยะเลย ถือว่าเป็นเรื่องดินอุ้มดาว เรื่องโทรทัศน์ เป็นเรื่องดาวเลยทีเดียว
             เรื่องกสิกรรมธรรมชาติ นอกจากอุดมสมบูรณ์แล้ว ยังมีผลิตผล ที่งอกงาม เต็มคุณภาพขึ้นมา อย่างแท้จริง ส่วนปุ๋ยสะอาด ก็มีโรงปุ๋ยที่บ้านราชฯ ศีรษะฯ และที่ปฐมอโศก ก็ช่วยกันอยู่

             อ.กฤษฎาว่า เนื้อหาในรายการนี้ ที่ผ่านมาก็ต้องขอบคุณ 8705

     พ่อครูว่า เป็นความรู้สึกจริง ไม่ได้โกรธเคืองเขาเลย ก็เห็นใจ อยากศึกษาก็ดี เขาตั้งใจศึกษา

             อ.กฤษฎาว่า ก็อยากทำความเข้าใจเรื่อง นาม-รูป ขอพ่อครูทบทวน ความเข้าใจเรื่องนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้พ่อครูได้ยกตัวอย่างเรื่องศีล เป็นการยกตัวอย่าง อยากทำความเข้าใจเรื่อง รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ ส่วน นามคือตัวรู้ และบางครั้ง นามก็กลายเป็น ตัวถูกรู้ได้
             เช่นเราเคาะแก้ว ก็มีเสียเป๊ง มันเกิดทั้งรูปและนาม พร้อมกันใช่หรือไม่

             พ่อครูว่า ถ้าคุณเคาะแก้ว ถ้าคุณไม่มีธาตุรูหรือวิญญาณข้างใน เคาะไป ก็ไม่ได้ยิน เช่นกระทกรกไม่ได้ยิน เพราะไม่มีธาตุรู้ มันจะรู้ได้ ต้องมี ผัสสะ ๖ สฬายตนะ ๖ มีวิญญาณ ๖ ถ้าพระอรหันต์ ก็ไม่จำเป็นต้องมี ตัณหา ๖ ถ้าคนไม่อรหันต์ ก็มีตัณหา ๖
             ก็แจกวิภังค์มาไล่มาว่า ในปฏิจจสมุปบาท เราต้องรู้บริบท ของสูตรนี้ว่า ต้องไม่เอานอกบริบท เช่น ที่ท่านแจกวิภังค์ไว้ว่า ชาติมี ๕ (ชาติ สัญชาติ โอกกันติ นิพพัตติ อภินิพพัตติ) แม้แต่อุปาทานก็มี ๔ ตัณหาก็มี ๖ ซึ่งต้องคำนึงบริบทนี้ ไม่ใช่แค่ (กาม-ภว-วิภวตัณหา) เท่านั้น
             เมื่อเราเข้าใจคำว่ารูปนาม ต้องปฏิบัติใน ปฏิจจสมุปบาท ที่กำหนด ในบริบทนี้ ต้องใช้ให้ครบ และนามรูปเป็นไฉน ก็คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ซึ่งความเป็นนาม ต้องระบุ ๕ สภาวะนี้ ส่วนรูปมีสองอย่าง คือ มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป

             อ.กฤษฎาว่า เช่นผมนั่งอยู่เฉย แต่มีคนเสิร์ฟน้ำ มาวางดังตึ้ง แรงเลย เราก็ได้ยินเสียง นามก็เกิดรู้ และเสียงที่แรง ก็จะเกิดอาการ เหมือนรู้สึกว่า เขากระแทกใส่เรา เพราะได้ยิน เสียงกระแทก ก็เกิดความไม่พอใจ

             พ่อครูว่า มันก็สังขารกันโดยธรรมชาติ การเรียนรู้ ต้องใช้สัญญา กำหนดหมายรู้ เจาะละเอียดลงไป และในนามนี่ จะมีสิ่งที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า นามรูป จะต้องมี เวทนา และที่เป็นเสียงกระแทก ถ้าคนทั่วไป ก็มีเสียง เหมือนกระแทก ก็จะไม่ชอบใจ เราต้องใช้สัญญา กำหนดรู้ความไม่ชอบใจ และต้องรู้ มโนสัญเจตนา ว่ามี กาม-ภว-วิภวตัณหา
             ซึ่งเกิดมาทางทวาร ๕ เรามี ความดูดความผลักอะไร มันเกิดเพราะเหตุตัวไหน มันไม่สมใจ ไม่ชอบใจอย่างไร แล้วต้องมีมนสิการ คือทำใจในใจของเรา ที่เรารู้ นามรูป ก็เนื่องมาจาก มหาภูตรูป ที่เคลื่อนเข้าไปข้างใน

             อ.กฤษฎาว่า สภาพที่เกิด เราต้องใช้ตาทิพย์มอง

             พ่อครูว่า ตาทิพย์ที่เขาบอกกัน คือไปเห็นผีเดินโย่งๆ เห็นอาจารย์ ลอยบนก้อนเมฆ ซึ่งเป็นตาหลอกลวง ไม่ใช่ตาทิพย์ แต่ตาทิพย์คือ ต้องมองให้เห็นภายใน หมายเอาการมอง ได้ลึกกว่าคนสามัญ
             คำว่าโสตทิพย์ หมายถึงตาหูจมูกลิ้นกายใจก็ได้ คำว่าทิพย์ก็คือ ความวิเศษ เราใช้โสตทิพย์ ไม่ใช้จักษุทิพย์ เพราะมันจะแยกยาก ท่านใช้เสียง คำว่า โสตทิพย์ ก็จะแยกละเอียดได้ว่า นี่เสียงกลอง เสียงเปิงมาง หรือเสียงเครื่องดนตรีใด แม้อยู่ไกล ก็รู้ได้ ว่าเสียงต่างกัน นี่คือตาทิพย์ ที่ยกตัวอย่างเป็นรูปธรรม
             แต่เสียงทิพย์ คือเสียงสองภายใน มีทั้งบุคคลาธิฏฐาน ใครแยกออกก็เก่ง แต่ไม่ใช่นามธรรม แต่เสียงสองในนามธรรม คือเช่น เสียงที่คนกระแทกแก้วน้ำ ก็คิดว่า เขากระแทกใส่เรา แล้วเราก็รู้ว่า อาการโทสะ เราไปปรุงร่วมด้วย ในเวทนา เป็นอารมณ์โกรธ แล้วเราจับได้ และกำจัดได้ นี่คือความเป็นทิพย์

             พ่อครู...ว่า นี่คือองค์รวมหรือกายที่เราต้องรู้
             กาย แปลว่ากลุ่มกอง จำนวนที่รวมกัน การวมเข้าด้วยกัน องค์ประชุม หมวดหมู่ ภายในตัวตน คือการรวมเข้ากัน ของธาตุต่างๆ รวมกันมากมาย แม้แต่หมายถึง หมวดของเจตสิก เช่น เวทนา สัญญา สังขาร ก็คือกาย
             คำว่ากาย จึงลึกซึ้งมาก แม้แต่คำว่ากาย วาจาใจ ใช้คำว่ากายก็หมายถึง วาจาและใจด้วยก็ได้
             ซึ่งคนละความหมายกับคำว่า "ร่าง" ในภาษาไทย ซึ่งเอามาต่อกับ คำว่ากาย ก็เป็นร่างกาย ซึ่ง ร่างภาษาบาลีว่า คือ สรีระ ดังนั้นคำว่ากาย ไม่ได้หมายถึงสรีระ เพราะรวมทั้ง นามธรรมด้วย
             คำว่า "ร่าง" คือรูปทรง รูปโครง ตัว ลักษณะหรือรูปโฉม หรือโครงสร้างของรูป ส่วนทั้งมวลของรูปโฉม
             คำว่า กาย นี้สำคัญมาก ในการศึกษาพุทธธรรม ถ้าไม่เข้าใจกายบริบูรณ์ จะไม่สามารถ บรรลุธรรมได้
             พระพุทธเจ้ายืนยันว่า ต้องสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย (ซึ่งแม้จะปฏิบัติ จนอาสวะบางอย่างหมดได้ ก็ไม่ใช่อรหันต์) พระพุทธเจ้าว่า ต้องสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย จึงบรรลุได้
             "กายเป็นอนัตตา" หมายความว่า กายไม่มีวิญญาณ ดังนั้น กายไม่ใช่หมายถึง ร่างที่เป็นศพ เพราะฉะนั้น กายนี่เป็นอนัตตาได้
             ถ้าไม่รู้จักกาย ก็จะไม่สามารถรู้ สัตว์ที่ถูกผูกไว้ด้วยอวิชชา ซึ่งสัตว์ที่จะสอนได้ คือ เวไนยสัตว์ ที่จะพ้นจากอวิชชาได้ ผู้ถูกผูกสัตว์ไว้ ย่อมไม่พ้นจาก สัตตาวาส ซึ่งในตัวเรา ก็จะเป็นที่อยู่ เป็นภพของสัตตาวาสทั้งนั้น ร่างกายเราคือ ภพที่เป็นที่อยู่ของสัตว์
             ผู้ที่เป็นอนาคามี ที่ถึงอรหัตมรรคแล้ว ยังไม่บรรลุอรหัตผล ก็ยังมีความเป็นสัตว์ เหลืออยู่ เป็นอรูปสัตว์ หรือเป็น อวิชชาสุดท้าย หรือในสัตตาวาส ๙ วิญญาณฐิติ ๗ ก็คือมี เนวสัญญานสัญญายตนสัตว์ คือผู้มีความรับรู้ ในระดับสูงสุด คือมีอายตนะที่เก่ง รู้ได้ละเอียด แม้อากาสานัญจายตนะ คือว่างจากกิเลสแล้ว สูงกว่าอุเบกขา คือฌาน ๔ อีก ตรวจให้แน่ ว่าว่างจริงๆนะ เป็นกายอย่างหนึ่ง เอกัตตะกายา แล้วคุณก็ไปหลงว่า นี่คือนิพพาน ก็ยังไม่ใช่อีก
             และสูงกว่านั้นคือ วิญญานัญจายตนะฌาน ก็ยังคงกระทบ อยู่กับโลกเขา ส่วนละเอียดลงไปถึง อากิญจัญญายตนฌานอีก คือให้ตรวจ ธุลีหมอง ธุลีเริง ที่แม้จะบางเบา ขนาดไหน ก็ต้องเรียนรู้ให้ถึงขั้น เกษม -เขมัง ก็ต้องตรวจให้ละเอียด ว่าเศษ แม้นิดหนึ่งน้อยหนึ่ง ก็ไม่ให้มี นี่คือ อากิญจัญฯ
             ในวิญญาณฐิติ ๗ จะไม่มี เนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะผู้ที่หลง เนวสัญญานาสัญญายตนภพ ก็ตกอยู่ในภพภูมินี้ ก็เป็นสัตว์เรียก เนวสัญญานาสัญญายตนสัตว์ เป็นตัวที่ ๙ ในสัตตาวาส ๙ เพราะเขาไป ดับสัญญา ดับความรู้ เป็นผู้มิจฉาทิฏฐิ เข้าใจว่านิโรธ คือการดับธาตุรู้ การเข้าอรูปฌาน คือไปดับปี๋เลย ไม่ให้รู้เรื่องเลย แต่จริงๆแล้ว มันคล้าย หรือใช้แทนกันได้เลยว่า คือ อสัญญีสัตว์
             ส่วนของพุทธ ต้องกำหนดรู้ให้หมด ต้องให้พ้น เนวสัญญานาสัญญายตนภพ แม้นิดแม้น้อย จะไม่รู้ไม่ได้ ต้องรู้ให้หมด ต้องพ้น อวิชชาสวะ คือต้องพ้นไปสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ นิโรธของพระพุทธเจ้า ต้องแจ้งสว่างรู้ มีจักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
             ในสัตตาวาส ๙ ต้องเรียนรู้กาย ซึ่งมีหลายนัยยะ ต้องใช้สัญญากำหนด ถ้ามิจฉา ก็จะกำหนดไม่ถูก หรือแม้จะไม่มิจฉาทิฏฐิ แต่กำหนดคลาดเคลื่อนไป ก็ไม่ได้ ทำให้สัญญาวิปลาส เช่น อาฬารดาบส กำหนดอากิญจัญฯ เป็นเนวสัญญาฯ เขากำหนด คลาดเคลื่อน ก็ได้แค่นั้น ไม่สูงขึ้นไปอีก

             ทำไม พระพุทธเจ้า จึงเอาคำว่ากาย ไปกำหนดใน วิญญาณฐิติ ๗ และ สัตตาวาส ๙ เพราะศาสนา ยุคพระพุทธเจ้า หรือสมัยนี้ก็ตาม เขาถือว่า นิโรธ ของเขา คืออสัญญี คือ เนวสัญญาฯ ดังอุทกดาบส เขาถือว่ายอดเยี่ยมสูงสุด แต่พระพุทธเจ้าว่า คุณต้องเรียนรู้ ให้ครบทั้ง นามกายและรูปกาย
             นามกาย คือองค์ประชุมของจิตวิญญาณ คือนามธรรม ไม่เกี่ยวกับรูปได้ คือนามที่ถูกรู้ หรือองค์ประชุมของ นามธรรมทั้งหมด ***
             ส่วน รูปกาย ถ้าไปกำหนดว่า คือรูปอย่างเดียว อย่างนี้เข้าใจผิด จะบอกว่า ไม่เกี่ยวกับนามนั้น ไม่ถูกต้อง แม้องค์ประชุมของ ธาตุต่างๆ แม้กาย ก็หมายถึง กาย-วาจา-ใจ เช่น กัมมันตะ เป็นกิริยา หรือกรรม แล้วมีอันตะ คือทั้งหมดทั้งสิ้น ของกรรม คือ กาย-วาจา-ใจ

             กัมมันตะทั่วไป เขาหมายเอาแค่กาย แต่พ่อครูว่า กัมมันตะคือ ทั้งกาย-วาจา-ใจ คือกรรม ๓ ดั้งนั้น ก็คืองค์รวม ที่ประชุมกันอยู่ เรียกว่า "กาย"
             รูปกาย จึงต่างกับ รูปรูป
             รูปรูป หมายถึง รูปของรูป เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับนาม
             แต่รูปกาย ต้องเกี่ยวกับนาม
             ถ้าไม่แม่น ก็จะกำหนดหมาย คลาดเคลื่อนหรือวิปลาส ซึ่งไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิ แต่สัมมาทิฏฐิได้ แต่เวลาปฏิบัติ ก็กำหนดหมาย คลาดเคลื่อน หรือวิปลาสได้

             พ่อครูจึงขอย้ำว่า การที่พระพุทธเจ้าเอาคำว่า สัตตาวาส ๙ มาอธิบาย เพราะศาสนายุคนั้น เป็นเทวนิยม เขาก็นิยมอสัญญีสัตว์ หรือ เนวสัญญานาสัญญายตนสัตว์ พระพุทธเจ้าจึงว่า ถ้าคุณจะล้างสัตว์ ก็ต้องเข้าใจ นัยยะของกาย
             และที่ยกวิญญาณฐิติก็คือ พระพุทธเจ้าว่า ต้องศึกษา ในขณะที่มีวิญญาณ คำว่าวิญญาณฐิติ คือมีวิญญาณตั้งอยู่ หรืออาศัยอยู่ เมื่อมีวิญญาณฐิติ กำหนดหรือตั้งอยู่ แต่คุณไปดับเวทนา ดับสัญญา ดับสังขาร มันก็ไม่มีวิญญาณ เพราะสามเจตสิกนี้ เป็นส่วนหนึ่ง ของวิญญาณ ไปดับมัน ก็เป็นธาตุมืดไม่รู้ เราต้องศึกษาในขณะ มีวิญญาณฐิติ และก็ต้องศึกษา ในขณะมีวิญญาณ ๖ คือ อิธ พรหมจริยวาโส คือจะสิ้นสุดพรหมจรรย์ได้
             พระพุทธเจ้าจึงว่า แม้บุคคลที่บรรลุ อุภโตภาควิมุติ ก็ต้องแน่ชัด ในการสัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ครบองค์ประชุม อยู่ทนโท่ พระพุทธเจ้า ก็ไม่รับรองอรหันต์ และก็ต้องรู้จักแม้ อรูปฌาน ต้องตรวจให้พ้น เนวสัญญาฯ
             ถ้าไปปฏิบัติหลงผิด โดยทำกายให้เป็นกายดับ เป็นอสัญญี หรือเนวสัญญาฯ เป็นมืด เป็นสุภกิณหา ในข้อที่ ๔ ของสัตตาวาส ๙ ถ้าไปเข้าใจผิด ไปเป็นตัวดับมืด คุณก็มืดอยู่ตรงนั้น

             อ.กฤษฎาว่า ทำไมวิญญาณฐิติ ๗ ก็ต้องไปผนวกกับ สัตตาวาส ๙

             ซึ่งพ่อครูว่า วิญญาณฐิติ ๗ ก็คือ ๗ ข้อแรกของสัตตาวาส ๙ คุณต้องปฏิบัติให้ สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย (อัฏฐ วิโมกฺเข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ปัญญาย จัสส ทิสฺวา อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติ) คือต้องสัมผัส บัดเดี๋ยวนั้น เพราะผ่านไปแล้ว ก็เป็นของแห้งแล้ว จนกว่าจะเห็นด้วยปัญญา อย่างบริบูรณ์ เกิดการบรรลุรอบ อาสวะสิ้นเลย

             อ.กฤษฎาว่า ในวิญญาณฐิติ มีสองคำคือ กายและสัญญา ถ้าเข้าใจ ก็กำหนดรู้ ความเป็นสัตว์ในตนได้

             พ่อครูว่า พระพุทธเจ้าอธิบายไว้ในวิโมกข์ ๘ ถ้าไม่สามารถสัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ก็จะไม่สามารถ ดับอวิชชาสิ้นรอบ เป็นอรหันต์ได้
             และ ๔ ข้อของ วิญญาณฐิติ และสัตตาวาส ๙ ต้องอธิบาย เพราะไม่อธิบาย ก็ไม่สามารถ สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ก็บรรลุไม่ได้

๑.สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า เราต้องกำหนดรู้กาย คือองค์ประชุม ทั้งนอกและใน ส่วนผู้ที่ พ้นนิโรธแล้ว ตัดภพชาติแล้ว ก็จะเป็นเฉพาะในคือนาม แต่ว่าที่ต่างกัน ในข้อนี้คือ ทั้งรูปนอก เมื่อกระทบสัมผัสรู้ จะรู้ได้ก็ต้องมีนาม เช่น เอากระทกรก ไปกระทบมะม่วง มันก็ไม่รู้ แม้แต่ชีวะ ก็ไม่มีวิญญาณครอง อนุปาทินกสังขาร ไม่ใช่มนุษย์สัตว์ที่เป็น อุปาทินกสังขาร
             กายต่างกันสัญญาต่างกัน คือตั้งแต่กระทบทางทวารนอก แล้วคุณจะเอาสัญญา ไปกำหนดอย่างไร ถ้าไปกำหนด เช่น จดจ่ออยู่ที่รูป มีคนมาเรียกอย่างไร ก็ไม่ได้ยิน ผัวกำลังเล่นไพ่ กำลังเกทับเลย เมียมาเรียก จะเอาไม้หน้าสาม มาตี ก็ไม่รู้
             กายต่างกัน คุณจะเห็นต่างกัน ในความเป็นมนุษย์ เทวดา มาร พรหม คนที่ศึกษามา ก็ต่างกัน คนไม่ศึกษา เขาก็กำหนด ไปตามประสา เขาก็รู้เรื่อง ไปตามประสา ส่วนผู้ที่ศึกษาพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นอาริยธรรม ก็ต้องกำหนดรู้ นามธรรม และรูปธรรมนั้นอย่างหนึ่ง เช่น นามธรรมที่หมายถึง กุศล-อกุศล ก็ต้องกำหนดว่า ทรงไว้อย่างไร เช่นกัลยาณธรรม ก็กำหนดว่า จิตใจกตัญญู เสียสละ เขาก็กำหนดอาการนี้ได้ แต่เขายังไม่เข้าถึง จิต เจตสิก ว่าอย่างไรคือ สักกายะ อย่างไรคืออัตตา
             คือกำหนดกิเลส ต้องไม่ให้วิปลาส อย่าไปกำหนดผิดตัว มันไม่สำเร็จ ดีไม่ดี กำหนด อกุศลเป็นกุศล ก็บาปไปทำร้าย ทำเลวได้ เพราะเข้าใจกายไม่ครบ
             ถ้ายิ่งเป็นโลกุตรธรรม กับโลกียธรรม คุณแยกออกหรือไม่ กำหนดหมาย ถูกหรือไม่ ว่าโลกียะกับโลกุตระ ต่างกันอย่างไร
             โลกุตระนั้น ต้องชัดในเหตุแห่งทุกข์ ที่จะกำจัดให้ถูกตัว ทำได้ก็ตามเห็น อนุปัสสี ทำได้ชั่วคราวก็ ตทังคปาหาน คุณมีนิโรธานุปัสสีในครั้งนี้ แต่ครั้งต่อไปไม่ได้ หรือได้ ก็จะรู้ว่า มันเบากว่าเก่า ไม่มีใครรู้ด้วย ต้องเห็นด้วยตนเอง (เอโก)
             ถ้าไม่รู้กายอย่างสมบูรณ์ ก็จะกำหนดต่างกันไปหมด คนศึกษาธรรมะบ้าง ก็กำหนดว่า ใจหรือกายหรือวาจาเขามีกุศล ซึ่งมันเห็นได้ โดยกายสักขี แต่ผู้ไม่รู้โลกุตระ แยกเวทนา สัญญา สังขารไม่ออก เขากำหนดเป็นก้อนๆ เขาก็รู้ใจ แต่ไม่ละเอียดถึง ปรมัตถธรรม
             ซึ่งในอภิธรรม ท่านแยกรูปได้ ๒๘ รูป และแยกนามออกเป็น ๖๒ ซึ่งไม่ใช่ เรื่องง่าย ที่จริงมีมากกว่านั้นอีก แต่เท่านี้ ก็เอามาพูดหมดไม่ไหวเลย (พระสารีบุตร ท่านรวบรวมไว้)
             กายคือองค์ประชุม ทั้งรูปและนาม
             รูปกาย คือมีทั้งรูป คือทวาร ๖ ทั้งอายตนะ ๖ ผัสสะ ๖ วิญญาณ ๖ เวทนา ๖ ตัณหา ๖
             เมื่อสามารถรู้กาย ก็กำหนดสัญญาให้แม่นชัด แต่ถ้าไม่รู้กาย ก็สัญญาต่างกันไป เพราะไม่รู้กายนอก ก็กำหนดกายในไม่ถูก
             ในขณะเป็นกายในกาย ก็มีตาหูจมูกลิ้นกาย กระทบอยู่ แต่รูปก็ติดเข้าไปด้วย แล้วไปเป็นข้างใน ส่วนนามก็รู้ตามเข้าไปเรื่อยๆ กายในกาย ก็ถูกรู้อยู่ตลอด คือสิ่งที่ถูกรู้ เช่น ตากระทบรูป ก็รู้เข้าไปเป็นกายใน หูกระทบเสียง ก็เข้าไปเป็นกายใน ก็ถูกรู้             
             เมื่อเป็นนาม มันไปเป็นอารมณ์ หรือสังขาร ปรุงแต่งปุ๊บ และที่สังขารนี่แหละ ตัวนี้คือ วิญญาณ มันสังขาร ก็กำลังแปลงตัว เป็นเทวดาสมมุติเทพ ได้สัมผัสถูกใจ ก็อร่อย แต่ถ้าไม่ถูกใจ ก็เป็นผี เป็นสัตว์นรกทันที เช่น ภรรยา เอาอาหารมาให้กิน แล้วไม่อร่อย ไม่พอใจ (ไม่ถูกปาก) ก็ว่า "เอาอะไรมาให้กู กระแทก..." เอาจานบิน เขวี้ยงเลย นี่คือ วิญญาณผีคุณขึ้น เพราะมันครบทั้งผัสสะ อายตนะ นามรูป มันจึงเกิดเวทนา ไปจ่อที่เวทนากับสังขาร ที่จริงมันคือ ตัวเดียวกัน ทั้งเวทนาและสังขาร
             อายตนะจะไม่เกิดเลย เมื่อไม่มีปัจจัยสองอย่าง แต่ว่าเมื่ออยู่ในอรูปข้างใน ก็ไม่ต้องผัสสะ ก็เป็นธรรมารมณ์ มีมนายตนะ กับธรรมายตนะได้ แต่อันนั้น ละไว้ก่อน เรียนภายนอกก่อน แล้วจะไปรู้ข้างใน แต่ถ้าเรียนข้างใน ซึ่งละเอียดก่อน คุณรู้ไม่ได้ ไม่สำเร็จแน่ เหมือนเอามีดโกนไปฟันฟืน ไม่สำเร็จ แล้วมันจะเอาคุณตายด้วย
             เมื่อกำหนดกายเพี้ยน คุณก็กำหนดกายต่างไปหมด ต้องกำหนดให้ถูก อย่างอุบัติเทพ คือเทวดาโลกุตระ เป็นโอปปาติกสัตว์ ที่เราล้างกิเลส สัตว์ก็ตาย เกิดเป็นเทวดา เพราะเราปฏิบัติ ให้จิตสะอาด ได้อย่างแท้จริง อย่างฤาษี เขาทำได้ชั่วคราว ก็เป็นเทวดาชั่วคราว เพราะไม่ได้กำจัดเหตุ ไม่ล้างกิเลส อย่างถูกฝาถูกตัว อย่างเก่ง ก็กำหนดได้แค่ สมมุติเทพ แต่ทำให้มี โอปปาติกโยนิไม่ได้
             ถ้าดับเหตุได้ ก็เกิดเทวดาอุบัติเทพจนหมด เป็นวิสุทธิเทพ เป็นพรหม แต่เราต้องทำการ กำหนดรู้ ให้ถูก มาตั้งแต่ ปุถุชน กัลยาณชน อาริยชน ก็กำหนดถูก

๒. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิ ปฐมฌาน เป็นต้น  

             ทุกวันนี้ชาวพุทธส่วนใหญ่ สัญญาวิปลาส เช่น สัญญาว่า ฌาน คือต้องนั่งเข้าภวัง ไม่ให้มีนิวรณ์ เขาก็ทำให้อารมณ์นิวรณ์ ๕ ไม่มี ก็ตรวจได้ อย่างคร่าวๆ ส่วนมาก กำหนดไม่ละเอียด แต่ว่าจะไปกำหนดที่กสิณ เช่นให้ใส ให้นิ่ง คุณสะกดจิตไว้นั่นเอง แต่คุณไม่กำหนดรู้ในอาการ กาม-พยาบาท -ถีนมิทธะ -อุทธัจจะกุกกุจจะ -วิจิกิจฉา ทำให้จิตสงบได้ ไม่มีนิวรณ์ได้ บางคนหลับปี๋ ก็นึกว่า ตนไม่มีนิวรณ์
             แต่จะสงบได้เก่งอย่างไร ไม่มีนิวรณ์ เหมือนกัน คือสัญญาอย่างเดียวกัน แต่ "กายต่างกัน" นานัตตกาโย เพราะองค์ประชุมของ รูปและนาม ไม่เหมือนกัน ของพุทธ ลืมตาอยู่ มีสัมผัส ๖ ก็ไม่มีนิวรณ์ แต่อย่างฤาษีมีแต่ มโนทวารอย่างเดียว องค์ประชุม ของที่เขาได้ จึงน้อยเดียว แคบกว่ากันมาก กายจึงต่างกัน แต่ว่าไม่มีนิวรณ์เหมือนกัน
             ทั้งฌาน ๑-๔ ก็เป็นกายต่างกัน สัญญาเหมือนกัน ศาสนานอกพุทธก็มีฌาน แม้ในพุทธก็มิจฉาฌาน ผู้ที่มี สัมมาฌาน ก็มีน้อย             

๓. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพสว่าง อาภัสราพรหม (ว่าง ใส สว่าง แผ่กว้าง)  ถึงขั้นรูปฌาน ไปถึงอรูปฌาน ถึงอากาสาฯ อนันโต อากาโสติ ความสว่าง ไปไม่มีที่สิ้นสุด ทะลุไปไกลสุดสายตา ไม่มีสิ้นสุดเลย
             ผู้ที่กำหนดสว่าง เขาก็จะได้สว่าง แต่กายที่ได้สว่างนี้ต่างกัน คือคนหนึ่งไปนั่ง ได้สว่าง อยู่ภายใน ได้สว่างใสๆ เขาก็ได้กายที่ใส อยู่ในภพ แต่ของพระพุทธเจ้า กายสว่าง มีจักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง แต่ของเขาได้สว่าง แต่ตาดับหลับ ไม่มีวิชชา ไม่มีจักษุ ไม่มีปัญญา ได้แต่สว่างภายใน
             ที่จริงหลับตาลง มันมีแต่ความมืด แต่คุณหลับตา แล้วเห็นแสงสว่าง ก็คือ มโนมยอัตตา เป็นจิตที่มีสัญญา ที่สร้างได้ด้วยความติดยึด แล้วก็บางคน กำหนดหมายว่า ต้องดับก็มืดได้ แต่บางคน ก็กำหนดเป็นสว่างใน ก็เลยมีนิโรธ สองทิศ
             คนที่กำหนดใส ก็จะเห็นว่า โสดาฯก็ใส สกิทาฯก็ใสกว่า อนาคาฯ ก็ใสขึ้นอีก อรหันต์ก็ใสที่สุด เขาก็สร้างเอา เขาก็ไปติดอรูปภูมิสว่าง นี่คือสายสว่าง เขาก็สว่างแต่ในภพ
             แต่พุทธนั้น กายมีสว่างกว้าง ก็กายเหมือนกัน คือสว่างเหมือนกัน แต่ของนอกพุทธ กำหนดว่า สว่างต่างกัน สว่างโสดาฯ สกิทาฯ ก็ต่างกัน มันเป็น มโนมยอัตตา ใครจะไปรู้ของใคร (อหเมตัง น ชานามิ อหเมตัง น ปัสสามีติ) ของเรา ก็กำหนดของเราเอง นิมิตเอาเอง เป็นนิมมานรดี
             ของพุทธ กายเป็นอาภัสรา กำหนดว่าสว่าง คือว่างจากกิเลส ของใครก็ของใคร กิเลสของใคร ก็ของมัน หมดมากหมดน้อย ก็ของใครๆ เช่น ของฉัน ต้องติดมะม่วง อย่างนี้ ติดมะม่วงน้ำดอกไม้ บางคนติดอกร่อง ก็ต่างกันไป กิเลสของใคร ก็ไม่ตรงกัน เพียงแต่คล้ายกัน ถ้ากำหนดตรงกัน จะฆ่ากันตายหมด ต่อให้ปรมาณูสองอัน ก็ไม่เหมือนกัน แต่ที่เหมือนกันก็คือ การหมดกิเลส เป็นนิพพาน
             ความเป็นแสงสว่าง มันยังมีสภาพอยู่ เพราะฉะนั้น ในข้อนี้มีแสงสว่าง เป็นกายเหมือนกัน แต่ของพุทธ กำหนดหมายภายในว่า ว่างจากกิเลส ต่างจากลัทธินอกพุทธ

๔. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพมืด สุภกิณหพรหม (ได้นิโรธมืดเป็นโชค) อันนี้ยากกว่าอันอื่น

             เช่น คุณธรรมทำ นักรบธรรม กายอย่างเดียวกัน และสัญญาอย่างเดียวกันว่า "นิโรธ" คือการดับ ขั้นอรูปฌาน ๓-๔ ที่เป็นการกับ***

             อรูปฌานฤาษี พอได้สว่างแล้วก็ตรวจวิญญาณ รู้ตัวแล้วว่า เราอยู่ในความโล่ง ว่างสว่าง แต่ก็ได้เรียนมาว่า มันต้องดับต่ออีก จึงจะนิโรธ ดังนั้น นิโรธของเขาคือ มืดกับดับ หรือดำ ไม่มีแสงสว่าง เขาก็เลยดับต่อ เช่น อาฬารดาบส แม้จะดับอย่างไร ตัวรู้มันก็ต้อง ตื่นมาเห็น มีแวบมา แต่ผู้ที่ปฏิภาณไม่ดี พอแวบมา ก็ไม่รู้ตัวหรอก ก็ดับต่ออีก ส่วนอุทกดาบส ก็จับอาการแวบได้ ก็ผ่านอากิญจัญญาฯ ถึงแวบอย่างไร เขาก็ดับอีก ก็จมอยู่ใน เนวสัญญานาสัญญายตนภพ คือภพดับ ไม่ใช่สัญญาเวทยิตนิโรธ
             ซึ่งจะต่างกัน ระหว่างนิโรธ หรือความดับ ความไม่มี ของพุทธกับฤาษี ของพุทธลืมตา แต่กิเลสสาสวะไม่มี กิเลสหายไป แต่ของฤาษีก็ดับได้สำเร็จ เลยได้ความดับ ความดำความมืด เป็นโชคของเขา (สุภกิณหา) เป็นความกำหนดหมาย อย่างเดียวกันเลย คือดับเหมือนกัน

             นิโรธของพระพุทธเจ้านั้น ลึกซึ้ง คัมภีรากว่า นิโรธของพระพุทธเจ้า มีกัมมันตะ หรือมีกัมมัญญตา มี กายปาคุญญตา เป็นความแคล่วคล่อง ว่องไวของจิต คือรวมองค์ประชุมของ กัมมัญญา คือ ความควรของการงานแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร ครบครัน แคล่วคล่องว่องไว แต่นิโรธ คือดับกิเลส ไม่ใช่ดับแสงสว่าง เข้าสู่ความมืด จึงนิโรธอย่างมี จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง (ใช้คำว่าอาโกกา ไม่ใช้คำว่าอาภัสรา)
             ต้องกำหนดรู้กายให้ถูกต้องใน วิญญาณฐิติ ๗ ต้องมีธาตุรู้ กำหนดให้ถูก ให้รู้ๆๆๆ จนหลุดพ้น เนวสัญญาฯไปสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ

             อ.กฤษฎา...ว่า ถ้าอรหันต์จะพ้นจาก วิญญาณฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ จนได้ถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งต้องพ้นเนวสัญญาฯ เนวสัญญาฯก็คือ ต้องตรวจ ๓ ข้อแรก ของอรูปฌานนั่นเอง ถ้าพ้นเนวสัญญาฯ ก็จะพ้นความเป็นสัตว์.....

จบ              

 
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานราชธานีอโศก