เรื่อง นัยสำคัญของคำว่า "กาย" ตอน ๒ |
พ่อครูจัดรายการอยู่ที่สันติฯ...
รายการนี้ให้ส่งประเด็นได้ แม้จะตำหนิค้านแย้ง ก็เป็นสิ่งดีมีประโยชน์ หากไม่หยาบคายเกินไป ก็จะนำมาออกให้ดู แต่ถ้าไม่เหมาะที่จะออกอากาศ ก็จะพิจารณางด ไม่ได้โกรธเคืองแต่อย่างใด
คุณ 8705 ก็ส่งประเด็นมา มีภาษาศาสนา ที่ดูเหมือนจะศึกษา มากกว่าพ่อครูด้วย แต่ความเห็นก็ต่างกับพ่อครู ก็แสดงต่างกันไป ผู้ฟังก็ฟังเอาเลือกเอา อันไหน เป็นธรรมวาที อันไหนอธรรมวาที ก็ว่ากันไป
ซึ่งประเด็นที่เขาส่งมา ก็เลือกมาให้วิเคราะห์กัน ดังนี้
0888705xxx พุทธเจ้าสอนให้ดูรูป-นามของตนเอง แต่ มหา R-VE-G7 ดันสอน ให้ไปดูที่ กะทกรก!
พ่อครูว่า สิ่งที่พ่อครูมาเป็นสิ่งชัดเจน และมีรูปนามหรือไม่ ก็จะได้วิเคราะห์ ต่อไป
0888705xxx พธร.ว่าโง่แล้ว คนที่ไปหลงเชื่อพธร.. . ยิ่งโง่กว่าพธร. มาก! กรรมของเวรจิงๆ
พ่อครูว่า ที่บอกว่า พธร.โง่ และบอกว่า คนที่หลงเชื่อโง่กว่ามาก พ่อครูก็ว่า ผู้ที่ไม่หลงเชื่อ พธร.นี่สิ โง่กว่าเชื่อโพธิรักษ์ และผู้ที่ไม่หลงเชื่อ ก็มีกรรมและเวรภัย มากกว่าคนที่หลงเชื่อ จะมีกรรมที่ละเวรภัยมากขึ้น ถ้าเชื่ออย่างไม่หลง อย่างมีปัญญา ก็คือผู้ที่สามารถ มีอิสระเสรีภาพ ตัดสินเอง โดยไม่ต้องเชื่อคนอื่น
0888705xxx ถ้าพิธีกร ศึกษาจนเห็นธรรมเมื่อไร.. ก็จะรู้ว่า พธร. เป็นมหาเดียรถี ตัวจริง!
อันนี้ก็คือ เดียรถีย์ คือผู้ที่เห็นต่างจากศาสนาพุทธ หรือผู้เห็นเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือเดียรถีย์ เข้าใจปรมัตถสัจจะ ออกนอกพุทธไป ส่วนใครจะออกนอกจริง ก็แล้วแต่สัจจะ ไม่ต้องบอก ว่าใครเป็นเดียรถีย์ สัจจะมันจะบอกเอง
พ่อครูได้พูดถึงเรื่อง "กาย" ที่มีทั้ง รูปกายและนามกาย
รูปกาย ก็ต้องเข้าใจกายของรูป อย่างที่คุณ 8705 บอกมา เป็นภาษาที่ส่อสื่อ ให้เห็นว่า การปฏิบัติของเขา มีสัญญาและเจตนา ที่มุ่งไป และกำหนดหมาย อย่างไม่ต้อง มีสัมผัส โดยเฉพาะที่เรียกว่า โผฏฐัพพะ พ่อครูอธิบายถึง กระทกรก นี่คือมีผัสสะ แต่คุณ 8705 อธิบาย เจตนาหมายถึง ไม่มีตัวตน บุคคลเราเขา เขาก็จะมีสัญญา กำหนดหมายถึง จิตเจตสิก และก็นิพพาน โดยกำหนดว่า รูปนี่คือ ข้างนอกอย่างเดียว จะเข้าใจรูปกาย และรูปรูป ไม่ได้ ยังแยกไม่ออก แม้แต่คำว่า นามรูป ก็เห็นต่าง จากพ่อครูแน่นอน
เช่นพ่อครูว่า ต้องเห็นกระทกรก แต่เขาบอกว่า ไม่ต้องเห็น ให้ดู รูป นาม ข้างใน ก็จะเห็นว่า เขาเห็นความเป็น กาย (ทั้งรูปกายและนามกาย) ความเป็นกายของเขา พ่อครูเชื่อว่า ไม่ครบตามวิโมกข์ ๘ ในคำว่ากาย
พระพุทธเจ้าให้สัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วจะเห็นด้วยปัญญา ตามความเป็นจริง จนกระทั่ง อาสวะสิ้นไปได้ โดยเฉพราะ วิโมกข์ ๘ ข้อที่ ๒. ผู้ไม่มีความสำคัญ ในรูปภายใน (๑๐/๖๖) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ) (พ่อครูแปลว่า มีสัญญาใส่ใจในอรูป คือรู้ทั้งรูปภายนอก ไปจนถึง รูปภายใน ต้องเห็นทุกเวลา แม้ขั้นอรูป ก็ต้องใส่ใจกำหนด)
ถ้าสัมผัสแต่ภายใน เขาเรียกว่า ธรรมารมณ์ แต่ถ้าสัมผัสนอก แล้วเนื่องสู่ภายใน ซึ่งคำว่า กายคือ กลุ่มกอง หรือรวมกัน ทั้งมหาภูตรูป และอุปาทายรูป คือทั้งนามรูปด้วย ถ้าจะให้ชัดไปอีก ก็หมายรวมถึง อรูปที่กำหนดรู้ ด้วยสัญญา
อย่างที่คุณ 8705 เห็นในจิต คือเห็นด้วยสัญญากำหนดรู้ ไม่ได้เห็นด้วยปัสสติ แต่ของพระพุทธเจ้านี่ ต้องเห็นด้วย อย่างในวิโมกข์ ๘ ข้อที่ ๒ กำกับไว้เลยว่า มี อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ ซึ่งนามในปฏิจจสมุปฯ มี เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ การปฏิบัติ ต้องมีการทำใจในใจ ตลอดเวลา
กาย คือ ไม่ขาดกันระหว่าง มหาภูตรูป และอุปาทายรูป ทั้งรูปธาตุ และนามธาตุ
กาย คือหมวดแห่งเจตสิกธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร เป็นต้น
กาย คือรวมทั้งรูปกายและนามกาย เพราะเห็นรูปนาม ก็ต้องเห็น องค์ประชุมของ ทั้งรูปและนาม
เป็นเรื่องยาก คัมภีรา ดังนั้นคุณ 8705 ยังเข้าใจวิโมกข์ ๘ ไม่ได้ จะผิดถูกอย่างไร ก็ขออภัย ก็ไม่ตรง ตามที่พระพุทธเจ้าว่าไว้ จริงๆวิโมกข์ ๘ นี่ถ้าไม่รู้แล้ว คุณจะไม่เข้าใจ ความเป็นกาย ความเป็นสัตว์
และในวิญญาณฐิติ ๗ กับสัตตาวาส ๙ ก็ต้องเข้าใจให้ชัดว่า สัตว์นี่คืออะไร ตามสัมมาทิฏฐิ ข้อต้นเลย ว่ามี สัตว์โอปปาติกา คืออะไรกันแน่
ถ้าเข้าใจความเป็น สัตว์โอปปาติกะ หรือสัตว์ทางปรมัตถธรรม ไม่ใช่ตัวตน บุคคลเราเขา แต่ก็เกี่ยวเนื่องกับ ตัวตน บุคคลเราเขาในโลกนี้ เช่น ภาพที่เขาเขียน คนที่มีหัวเป็นหมา หัวเป็นลิง เป็นเดรัจฉาน ใครสัมผัสด้วยตาเนื้อ พอสัมผัส ปรมัตถ์ ของแต่ละคน ก็จะไม่คิดถึงคนหรอก นอกจากเด็กไม่เดียงสา จะไม่เข้าใจ เขาระลึกเป็น สภาพตัวตน ว่าคนมีหัวเป็นสัตว์ มีด้วยหรือ แต่คนที่มีปัญญา จะรู้เลยว่า หมายถึง จิต เจตสิก รูป นิพพาน ปรมัตถ์แน่นอน แต่คุณ 8705 ไม่เข้าใจ ก็ไม่เข้าถึงปรมัตถ์ เขาว่าพ่อครูมองตื้นๆ ก็พลาด
เพราะพระพุทธเจ้าสอนว่า ต้องมีอายตนะ ๖ เวทนา ๖ ตัณหา ๖ วิญญาณ ๖ ต้องมีทวารครบ ๖ มีหลักฐานยืนยัน แต่เขาก็ฟังไม่ get ฟังแล้ว ไม่รู้เรื่อง
คำว่ากายนี่สำคัญมาก เพราะจะรู้จักการรวมกัน ของหมวดหมู่ ซึ่งในวิโมกข์ ๘ เป็นภูมิธรรม ระดับโลกุตระธรรม และปรมัตถธรรม คือผู้ที่มีฌาน มีนิโรธได้ ถ้าถึงขั้นอนาคามี เพราะวิโมกข์ ข้อที่ ๘ คือนิโรธ
วิโมกข์ ๘ ใน ๓ ข้อแรก คือการมีญาณทัสสนะ มีความรู้ มีวิชชา หรือมีวิปัสสนาญาณ หรือวิชชา ข้อที่ ๑ ไปถึงข้อที่ ๘
ญาณที่มีจริง คือต้องเริ่มที่ วิปัสสนาญาณ แต่คนเข้าใจเพี้ยน จะปฏิบัติอย่าง ไม่มีผัสสะ ก็ไม่เห็นอย่างมีผัสสะ ซึ่งพุทธต้องผัสสะวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบทอยู่ มีการกระทบทวาร ๖ แล้วก็มีญาณ เห็น ไม่ได้คลาดสายตา คือ ตากระทบรูป หูกระทบเสียง ... ถ้าขาดผัสสะ ก็ขาด ผุสิตวา วิหารติ ก็ไม่ครบ ก็ขาดไป ไม่สมบูรณ์ ก็จะไปบรรลุธรรมบริบูรณ์ ได้อย่างไร
ในวิญญาณฐิติ ๗ ถ้าฟังเมื่อวาน จะเข้าใจความสำคัญของคำว่า "กาย" ซึ่งต่างจาก คำว่า "ร่างกาย" ที่แปลว่า ร่างที่มีองค์ประชุมของใจ ส่วนคำว่า ร่าง คือรูปทรง โครงสร้างของรูป ส่วนทั้งมวลของรูปโฉม ส่วนนามกาย ไม่มีสรีระ ร่างคือคำว่าสรีระ ในภาษาบาลี
ในจิตเจตสิก พระพุทธเจ้าตรัสว่า อสรีระ ดังนั้น ผู้จะเห็นคำว่ากาย จะเห็นได้ ทั้งมีรูปร่าง ในขณะตากระทบ แต่ไม่ได้ขาดจากนามกาย แต่ถ้าขาดจากนามกาย เช่น คนตายแล้ว หรือคนหลับไป ก็ไม่รู้กาย แต่รูปกายคือปัจจุบันครบ เห็นทั้งภายนอก และภายใน ดังนั้น วิโมกข์ ๘ ข้อที่สอง จึงครบครัน ฌานอย่างฤาษี ก็ไปนั่งได้ แต่ไม่เผากิเลส ไม่เกิดญาณบริบูรณ์ เพราะมีแต่ภายใน ไม่เห็นภายนอก ร่วมด้วยเลย
ถ้าไม่เข้าใจ วิโมกข์ ๘ , วิญญาณฐิติ ๗ หรือสัตตาวาส ๙ ก็จะไม่สามารถ บรรลุธรรมได้
มาดูวิโมกข์ ๘ กัน
๑. ผู้มีรูป (รูปฌาน) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ) จิตจะต้องรู้จักรูป (รูปคือสิ่งที่ถูกรู้) ทุกคนต้องมีรูป และต้องสัมผัสรู้
๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (๑๐/๖๖) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอก (อัชฌัตตัง (ภายใน) อรูปสัญญี เอโก (ของตนเอง) พหิทธา (ภายนอก) รูปานิ (รูปทั้งหลาย) ปัสสติ (เห็น) ) (พ่อครูแปลว่า มีสัญญาใส่ใจในอรูป คือรู้ทั้งรูปภายนอก ไปจนถึง รูปภายใน ต้องเห็นทุกเวลา แม้ขั้นอรูป ก็ต้องใส่ใจกำหนด) ถ้าแปลตามภาษา คือ ผู้นี้ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอก เพราะไม่สำคัญ ในรูปภายใน ก็เลยไม่เป็น ปรมัตถ์ แปลอย่างนี้ ไม่ถูกปรมัตถ์
พ่อครูเห็นว่า อรูปสัญญี ในที่นี้ต่างไป คือต้องเห็น ทั้งรูปทั้งหลายภายนอก และรูปภายใน จนถึงอรูปเลยทีเดียว ต้องสำคัญมั่นหมาย กำหนดรู้ และพร้อมกับเห็น รูปภายนอกไปด้วย โดยตนเอง ทั้งรูปนอกรูปใน ครบหมดในตน เป็นปัจจุบัน สำเร็จอิริยาบถอยู่ สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่เลย
การปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้า จะครบทั้ง รูปกายและนามกาย
นามกาย คือองค์ประชุมรวมของนาม
ส่วนรูปกาย คือองค์ประชุมรวมของ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม
เพราะถ้ามีแต่รูป มันก็ไม่รู้ตัวของมัน แต่เราเป็นคน ก็จะรู้รูปได้ จะมีสติสัมปชัญญะ และสัมชาโน มันรู้ทั้งรูปนอกรูปใน เป็นกาย ที่พ่วงไปด้วย ทั้งหมดเลย แล้วคุณแยกรูป แยกนามออก นี่คือการรู้รูปรู้นาม เป็นองค์รวม เหมือนศีล-สมาธิ-ปัญญา ที่เป็นองค์รวมหมด
สรุปว่า วิโมกข์ ๘ แปลว่า ความรู้ขั้นหลุดพ้น คือญาณปัญญา จะรู้รูปรู้นาม (รูปี รูปานิ ปัสสติ) ส่วนต่อไปก็ต้องรู้ อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ คือเห็นในขณะสัมผัส ต่อเนื่องจากภายนอก สู่ภายใน มีเหตุปัจจัย ต้องมีธาตุรู้ คือวิญญาณ คือเวทนา สัญญา สังขาร นั่นเอง
การศึกษา ถ้าไม่ครบ เราไปยึดทิฏฐิเดียว โดยไม่มีปรโตโฆษะ แต่ถ้าผู้สัมมาทิฏฐิ จะมีควาจะว่ายึดมั่นถือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัว ความยึดมั่นถือมั่น กับความยืนหยัดยืนยัน ต่างกัน ความยืนหยัดยืนยัน คือยืนยันในความที่ตนได้แล้วไม่มีกิเลส มาประกอบแล้ว
ผู้ศึกษาไม่บริบูรณ์ในวิโมกข์ ๘ จะกำหนดกายผิด เช่น สัตว์ในภาพของ โหวตโน ต้องเข้าใจเป็น โอปปาติกสัตว์ ที่จิตวิญญาณพาเป็น แม้นัยที่ต่างกัน ของควาย ของเสือ ของหมา ของลิง และวรนุช ว่าต่างกันอย่างไร มันมีความหมายสื่อบอก นัยต่างกัน แต่ละตัว
อย่างควายก็โง่ทื่อต่ำ อย่างเสือก็ดุร้าย หมาก็ลวดลาย ลิงก็ไวมาก ส่วนวรนุช ก็รวมหมดเลย แต่ไม่ได้หมายถึง สัตว์ที่เป็นตัวตน บุคคลเราเขา แต่หมายถึง จิตวิญญาณ ภายในคน นี่คือศิลปะที่เข้าถึง จิตเจตสิก แต่อย่างที่คนเขาว่า เป็นศิลปะ มีภาพ Abstract นั้นไม่ได้เป็นสิ่งทำให้ เข้าถึงจิตเจตสิก แต่อย่างใด แต่หลงไปกับ เส้นสีแสง ไปเท่านั้น ไม่เข้าถึงอภิธรรม ซึ่งถ้าเขาเรียนถึงดร. ทางศิลปะ จะต้องเข้าถึงอภิธรรม และนี่พ่อครู กำลังสื่อถึง ศิลปะปรมัตถธรรม
ต่อไปเป็นการตอบประเด็น
- 0848667xxx ชมร.สันติคะ อย่าใส่พริกมากนัก ยังเผ็ดจี๋อยู่เลย
ตอบ ... ก็ออกอากาศเลย พวกเรานี่ก็ปรุงจัดเลย อย่าปรุงรส หลอกกันมากนัก เรานักปฏิบัติธรรม ก็พอท้วมๆ
- 0860781xxx พระพุทธรูปหลังพ่อครู ปางอะไรคะ
- 0878539xxx รูปปั้นพระทำท่าแปลกมาก ไม่เคยเห์นมาก่อน ช่วยอธิบายด้วย ขอบคุณมาก
ตอบ..... องค์หน้าพ่อครู คือปางวิชิตอวิชชา เป็นปางใหม่เอี่ยม เพิ่งมีโมเดลแรก สู้กับวิกฤติโลก อวิชชาหนัก จีวรปลิวพัดสะบัด อวิชชาพัดแรงมากเลย ก็มีคนคิดจะสร้าง ใหญ่มากเลย จะเป็นไปได้หรือไม่ก็ได้ แต่ไม่ได้ทำเพื่อจำหน่าย ก็ขออภัย สร้างเพื่อ สืบทอดศาสนา ให้อยู่เป็นพันปีเลย ไม่ได้สร้างเพื่อหาเงิน หรือสร้างความยิ่งใหญ่ วิชิตอวิชชา คือผู้ชนะอวิชชา ส่วนปางที่สร้างเสร็จแล้ว คือปางตรีลักษณ์ สร้างองค์เล็ก ก็มีอยู่มาก เขาก็สลักกันเอง ไปจ้างช่างทำ จะเป็นปางตรีลักษณ์ ที่เห็นข้างหลัง เป็นต้นแบบ แต่เราไปสลัก สร้างองค์ใหญ่ อยู่ที่บ้านราชฯ เสร็จไปแล้ว
- ประถมสี่ ชื่อแก้วแววชาญ ส่งข้อความมาว่า พวกโกงบ้านโกงเมือง โกงไปทำไม โกงไปขายให้ฝรั่ง หรือเอาไปตั้งไว้เฉยๆ
ตอบ... ถ้าโกงไปตั้งไว้เฉยๆ เขาคงไม่ทำ เสียแรงตายเลย เขาก็ต้องโกงเพื่อ ทำมาหากินเอง และก็ขายให้ทั้งเทศทั้งไทยด้วย นี่ก็เป็นปฏิภาณของเด็ก ๑๐ ขวบ อยู่ ป. ๔ ถามว่า เขาโกงไปทำไม เขาก็ทำมาหากิน เขาทำมาหากินด้วยการโกง แล้วแก้วแววชาญ ว่าดีไหม .... ไม่ดีหรอก จำไว้อย่าไปทำแบบเขาเด็ดขาด แม้จะโกง ไปขายที่ไหนก็แล้วแต่
- ตอนนอน ผมดิ้นถีบแม่ด้วย จะบาปไหม แล้วทำอย่างไร จะไม่นอนดิ้น
ตอบ เด็กธรรมดาตอนนอน จะปล่อยวางไม่ยึด ก็จะออกตามกิเลส บางทีละเมอ แต่พอโตมา ก็จะควบคุมได้ มีที่เกาะจะไม่กระจาย ยิ่งฝึกสงบจิต ฝึกจิตรู้ ก็จะไม่ดิ้น มากมาย
- ขอฝากกราบเรียนพ่อครู ให้จัดงานขายของถูกที่สันติฯ อย่างที่บ้านราชฯด้วย
ตอบ... เราเคยจัดมาก่อนที่สันติฯ แล้วไปจัดที่ปฐมฯ แต่ว่าคนเขามากันมาก นิยมมาก ก็จัดสรรไม่ได้ดี มีคนโลภมาก เราก็ไปจัดที่บ้านราชฯ สถานที่เขาเหมาะสมกว่า แต่ว่า ถ้าจะจัดที่สันติฯก็ยาก เพราะคนกรุง จะติดหลงฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือยหรูหรา ซึ่งเราไม่ส่งเสริม เราเอาแก่นสารสาระ ให้แก่ชีวิตมากกว่า และคนที่อยู่ข้างนอกนั้น มากกว่า และเศรษฐกิจ บ้านนอก น่าส่งเสริม มากกว่าในกรุง ซึ่งในกรุง เขาเลี้ยงตัวรอด มีการโกงมาก เราห้ามเขาไม่ได้ ดีไม่ดี เขาจะมาโกงเรา เราจัดลำบาก แต่ที่บ้านราชฯ คนมากกว่า และก็ซื่อมากกว่า เราเห็นไม่เหมาะก็ไม่ค่อยจัด แต่เราก็จัดได้ เผลอๆ เราจัดที่ ลานพระบรมรูปฯ เลย ก็รอจังหวะนั้น ก็แล้วกัน
- พระที่มีรถหรูและเครื่องบินเจ็ต เป็นสมบัติ ผิดวินัยหรือไม่
ตอบ... พระพุทธเจ้าท่านให้มาทิ้งหมด ไม่ให้สะสมกอบโกย ถ้าเข้าใจ นัยของการมักน้อย ไม่ปรุงแต่งมาก ก็ต้องมีสำนึกไม่ทำ แต่ที่เอามาเปิดกัน ก็เห็นชัด และที่มีอีก ก็ไม่น้อย แฝงในศาสนา ยังไม่ถูกเปิดโปง และที่เอามาเปิดนี้ ยังไม่ใช่พระ ใหญ่โต มีชื่อเสียง แต่ถ้าเจอมีชื่อเสียงจะรู้ และก็ผิดยิ่งกว่าวินัยด้วย ซึ่งผิดธรรมะนี้ ร้ายแรงกว่าผิดวินัยด้วย
- มีพระผู้ใหญ่ว่า วัดคณิกาผล สร้างจากทรัพย์ของโสเภณี ว่าได้บุญน้อย เขารู้ได้อย่างไร ว่าได้บุญน้อย ที่จริงควรได้บุญ มากกว่าคนทุจริต โกงกินเสียอีก
ตอบ... คณิกา คือผู้หญิงหากิน วัดคณิกาก็สร้างจาก เงินบริจาค ของหญิงคณิกา คนก็วิจารณ์ ว่าได้บุญน้อย แต่ว่าพ่อครูว่า แม้เขาคณิกาก็ทำกุศล จะได้บุญน้อยได้อย่างไร ได้มากกว่าคนที่ หากินร่ำรวยอย่างมาก แต่ไม่เป็นประโยชน์ ต่อศาสนาเลยเสียอีก การสร้างวัด ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ คุณพูดถูก ว่าได้บุญ มากกว่าคนทุจริต โกงกินเสียอีก
บุญ คือการชำระกิเลส คนที่ประพฤติจรณะ อ่านจิตเป็น เข้าปรมัตถ์ ล้างกิเลสได้ นี่คือได้บุญ ส่วนคำว่ากุศล คือได้ทั้งกุศล ได้ทั้งวิบากดี เป็นสมมุติสัจจะ แต่บาปบุญ คือ ปรมัตถสัจจะ ส่วนกุศลนั้น รวมทั้งกัลยาณธรรม และปุถุชน
- วิโมกข์ ๓ ต่างจากวิโมกข์ ๘ อย่างไร
ตอบ... วิโมกข์ ๓ มี สุญญตวิโมกข์ (ความหลุดพ้นอย่างมีสภาวะ ของความสุข เป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ) อนิมิตตวิโมกข์ (คือไม่ต้องใช้นิมิต เครื่องหมายสิ่งแทน เป็นคนเก่ง ไม่ต้องกำหนดนิมิต) และ สุญญตวิโมกข์ (คือว่าง) เป็นผลแล้ว ส่วน อปณิหิตตะ คือตั้งความปรารถนา เช่น โพธิสัตว์ ตั้งปรารถนาพุทธภูมิ หรือเราทำงาน ก็ตั้งปรารถนานั้นๆ แต่ถ้าไม่ตั้งปรารถนา แต่ก็มีเหตุปัจจัย มีอนาคตังสญาณ รู้ว่าหนึ่งบวกหนึ่ง เท่ากับสอง พ่อครูเป็นคน โนโปรเจ็ค โนแพลนนิ่ง คือถ้าถึงขั้นหนึ่ง ไม่ต้องมีโปรเจ็ค แต่จะมีเหตุปัจจัยให้ทำ
ส่วนวิโมกข์ ๘ เป็นทั้งการปฏิบัติและผล
- พ่อครูเคยบรรยายว่า สภาวะตกนรกเหมือนฝันร้าย แต่จริงและร้ายกว่าหลายเท่า แต่มีอาจารย์ท่านหนึ่งว่า ท่านเข้าฌาน สามารถเห็น คนตกนรกได้ ถามว่า ฌานอย่างนี้ เห็นได้จริงหรือไม่
ตอบ... พ่อครูเคยหลงแบบนั้น คือ เข้าไปรู้ข้างใน เล่นถึงอรูปพรหมเลย หลงเล่นเลอะ เขาปั้นอุปาทาน เป็นมโนมยอัตตา แต่ไม่ใช่ของจริง คือเขามีจริง แต่ไม่ใช่ของจริง เช่น การโกหกหรือคำโกหก มีคนทำในโลก ก็มีจริงในโลก แต่ว่า คำโกหก เป็นคำไม่จริง
- ขอสนับสนุนคำพูดของท่านพระโพธิรักษ์ครับ พระพุทธเจ้าแสนโกฎ ท่านปรารถนา พุทธภูมิแบกเป้ ใช่ไหมครับ
ตอบ...นึกไม่ออกว่าเป็นใคร ตอบไม่ได้ ไม่มีปัญญาตอบคำถามนี้ ไม่มีความรู้
- วันสองวันมาแล้ว ได้ยินเสียงประกาศ ให้คนมาเอารถออก ที่หน้าตึกแดง บอกว่านร. จะใช้พื้นที่ แต่ว่าต่อมา มีเด็กเตะฟุตบอล ก็เข้าใจว่า พ่อครูคงอนุญาต ให้เล่นฟุตบอลได้ แต่เกรงว่า เด็กจะได้รับอันตราย
ตอบ ...พ่อครูว่าอย่าไปเตะบอลหรือตีแบต เล่นวอลเล่บอล ก็อย่าให้ไปเอาชนะคะคาน อย่าไปตบ ยกตัวอย่าง ตระกร้อวง มีลักษณะช่วยกันทำปรุงแต่ง ทำท่าให้ช่วยกันดี แต่ว่าการเล่นฟุตบอล เป็นการเอาชนะคะคานกัน แล้วก็หลงกันทั่วโลก จัดจ้าน เป็นอบายมุขมากเลย เอากิเลสมาปลุกเร้า ให้คนติดกิเลส คนก็ชอบ ก็อร่อยเพลิน ยิ่งดำมืดไปหมด อย่างอโศก พ่อครูไม่พาทำเช่นนั้น เขาไม่ค่อยรู้ ก็เอาตาดูหูแล อย่าไปดุด่ารุนแรง ก็ค่อยคุยเหตุคุยผล ให้เขารู้ว่า มีผลดีผลเสียอย่างไร
- ความยึด ก่อให้เกิดโมหะอย่างไร มีวิธีแก้ไขอย่างไร
ตอบ... โมหะคือความหลง คุณมีกามหรือพยาบาท ก็โมหะ และความยึดตัวเดียว นี่แหละ ยิ่งใหญ่ที่สุด ยึดอย่างอุปาทาน มียึด ๔ อย่างคือ
๑.
กามุปาทาน คือสนองกิเลส ทั้งโกรธ และราคะ คือดูดและผลัก
๒.ทิฏฐุปาทาน คือยึดในทิฏฐิ ว่าต้องถูกของข้าเท่านั้น ยึดจนไม่อนุโลมคนอื่น แม้คุณจะถูก ก็ต้องอนุโลมคนอื่น พอควรได้
๓. ศีลพตุปาทาน คือยึดในศีล ในวิธีปฏิบัติ ในทฤษฏี
๔. อัตตวาทุปาทาน คือ คนยึดอัตตา ยุคพระพุทธเจ้าลึกซึ้ง เพราะยุคนั้น อัตตาคืออาตมัน คือพวกเทวนิยม ก็ยึดอาตมัน ซึ่งแปลว่าวิญญาณ ยึดเป็นนิรันดร ยึดเป็นปรมาตมัน เป็นพระเจ้า เป็นศาสนาพระเจ้า แต่ไม่รู้จักพระเจ้า เขาได้แต่วาทะ หรือลัทธิที่ยึดอัตตา แต่พอมาเป็น ศาสนาพุทธ ก็มีความหมายแต่ยึดวาทะ ทฤษฎี ได้แต่เปลือก ไม่ถึงปรมัตถ์ นี่คือผู้ที่ยึด ได้แต่อัตตวาทุปาทาน ได้แต่เหตุผลตรรกะ ไม่เข้าถึงปรมัตถ์
แม้เป็นอรหันต์ ก็ยึดเพียงอาศัย เรียก สมาทาน ไม่ใช่อุปาทาน
จะแก้อย่างไร ก็ต้องปฏิบัติธรรม เรียนรู้ความยึด ทั้ง ๔ อย่าง
- ถ้าเรามองเห็น คนที่เราไม่ชอบใจ ถ้าจะมองอย่างวิโมกข์ ๘ จะมองอย่างไร
ตอบ...จะมองก็มองเขา เขาเป็นสิ่งถูกรู้อย่างหนึ่ง จะพิจารณาคำว่ากาย คือองค์ประชุมของ จิตเจตสิกของเรา ก็อ่านเมื่อเรามอง กายของเราก็คือผี คือองค์รวม เมื่อสัมผัส เนื่องมาจากกาย มันมีอาการไม่ชอบใจ ก็รู้นามกายและรูปกาย ต่อมาจาก ภายนอก ก็อ่านนามธรรม ที่ถูกรู้โดยเรา เราเกิดความไม่ชอบใจ คือผีอย่างหนึ่ง ในจิตเรา เราก็หาวิธี กำจัดเหตุ เราไม่ชอบใจ แม้มีวิบาก เขาก็เป็นเขา เรามาแก้ที่เราดีกว่า เราไม่ชอบใจ มันทุกข์ แต่มันไม่เที่ยง คุณไปยึดแต่ชาติไหน มาแล้ว เรามาล้างดีกว่า
ตอบ...บาปคือกิเลส ที่พาเลวร้าย มาก่อเวรต่อ ส่วน บุญคือล้างกิเลส ให้เกิดปัญญา เมื่อล้างกิเลสได้ ก็เกิดปัญญา เมื่อบรรลุ ก็ไม่สร้างกิเลส ล้างหมด ก็เป็นอรหันต์ เหลือแต่วิบากเก่า ที่ตามเล่นงานต่อไป แต่คุณไม่ทำบาปใหม่อีก หมดกิเลส ก็ไม่ทำบุญ ไม่ทำบาป อรหันต์คือผู้ทำกรรม ไม่เป็นบุญเป็นบาป อรหันต์ทำแต่กุศล
- เวลาเราเกิดกังวลใจ ทำไมรู้สึกแน่นอก
ตอบ ...มันก็มีพลังงานบีบคั้น เพราะคุณไปสร้างมัน แล้วมันไปเกี่ยวกับ ระบบประสาท ระบบร่างกาย เช่นคุณดีใจ ก็ได้ปีติมากมาย แล้วติด ก็ต้องทำอย่างนั้น อยู่เรื่อยๆ ต้องแสวงหาเป็น อุพเพงคาปีติ ก็เช่นเดียวกับ การรู้สึกทางร้าย ก็มีอาการซาดิสม์ หรือ มาซูคิส ก็เป็นทางเลวร้าย คือต้องกระทบกับสิ่งรุนแรง จึงจะได้ที่สุด ของความปรารถนา ทั้งด้านที่เรากระทำ และถูกกระทำก็ตาม
- เราสงสัยว่าคนๆหนึ่ง อาจเป็นช่องทางให้เกิด การลักลอบใช้เงิน บำเรอกิเลสส่วนตัว เช่น ดูหนัง กินอาหาร โดยใช้เงินส่วนกลาง ทั้งๆที่รู้ และก็คิดว่า คนปล่อยก็ใจดี ก็เลยลงบัญชีไม่ถูก จะสามารถถามอย่างไร ในที่ประชุม เราก็กลัวเขาโกรธ ทั้งคนที่ให้ลักลอบ และคนที่ลักลอบ
ตอบ...ก็ ผู้ที่ลักลอบทำ ก็ต้องมีการเตือนกัน แบบนี้นิสัยเสีย บ่อยเข้าก็ทำหนัก คนที่ติดคุก เพราะทำอย่างนี้แหละ มันจะบานปลาย ไปสู่ความเสื่อม เรามาหัดลด ไม่ใช่หัดบำเรอ จะใช้ที่ประชุม ก็ต้องพูดได้ ที่ประชุมมีอยู่สองอย่าง มีเรื่องอะไร เอามาพูด เกรงใจก็ดี แต่ก็ควรพูดกัน จะมีคณะกรรมการดูแล ช่วยกันวินิจฉัย ให้มีมติ ผิดให้แก้อย่างไร ต้องพูดในที่ประชุม ให้ครบๆ อย่าพูดลับหลัง เมื่อได้มติ จงทำตามมติ แต่ถ้าได้มติแล้ว เราก็ทำอย่างเก่า จะประชุมให้เสียแรงทำไม อย่าไปเอาแต่อัตตาตน แม้ของเราจะแพ้ ก็ต้องทำตามมติหมู่
- มีพระบางรูป เสกลุกแก้วออกจากปาก พรมน้ำมนต์เป็นพระธาตุ ทำได้จริงไหม
ตอบ ... ก็ไม่รู้ ..อดีตก็ไม่เคยทำ อย่างไสบาบา เสกนาฬิกาโรเล็กซ์ มาให้คนได้ ทำได้หรือไม่ ก็ไม่รู้ แต่เพราะว่า นาฬิกาโรเล็กซ์ ที่เขาผลิตนั้น แต่ละเครื่อง ก็จะมี หมายเลขเครื่อง ประจำ เพื่อป้องกัน คนทำปลอมแปลง แต่ว่าการเสกโรเล็กซ์ มาได้นั้น ถ้าเสกได้ เป็นโรเล็กซ์ของแท้ มีหมายเลขประจำเครื่อง ก็ต้องเป็นการขโมยมา ก็ผิดศีลแน่ๆ แต่ถ้าเสกมาได้ เป็นโรเล็กซ์ปลอม ก็ผิดกฏหมายอีก และก็ไม่ใช่ ของจริงด้วย ถ้าคนมีคุณธรรม มีความสามารถจริง จะไม่ทำ ไม่ขโมย และไม่ปลอมของเขาด้วย ....
จบ
|