560621_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครู และ ส.เดินดิน
เรื่อง วิปัสสนารู้กายให้ลึกซึ้ง ตอน ๒

               ส.เดินดิน ดำเนินรายการที่สันติฯ..

วันเวลาดูเหมือนผ่านไปอย่างรวดเร็ว ต้องคอยติดตาม สถานการณ์บ้านเมือง อย่างไม่พริบตา ดูเหมือนว่า ทางออกของประเทศ ไม่รู้จะไปทางไหน ในขณะที่เรารอ ทางออกของประเทศ เราก็มาหาทางออก ของชีวิต เมื่อเราหาทางออก ของชีวิตได้ ก็จะหาทางออก ของประเทศต่อไป ในขณะที่ทุกอย่าง ดูเหมือนเลวร้าย แต่ก็มีคนมองว่า มีสิ่งดีๆเกิดเหมือนกัน มีกลุ่มประชาชน ที่เห็นแก่บ้านเมือง ตั้งแต่ พธม. , เสื้อหลากสี, จนมีหน้ากากขาว ทุกวันนี้ประชาชน มีความเป็นตัวของตัวเอง โดยไม่ต้องมีใครนำ เป็นพัฒนาการ ที่เกิดท่ามกลาง ความเลวร้ายของบ้านเมือง
               ถ้าเราไม่วิตกกังวลเกินไป ในร้ายก็มีสิ่งดีเกิดเสมอ จะเกิดได้ เพราะเรามีสติสัมปชัญญะ มีแสงสว่างแห่งชีวิต ที่จะทะลุทะลวง ความเลวร้ายไปได้ พ่อครูก็ยืนหยัดยืนยัน ในความถูกต้อง แม้จะมีคนว่าด่าอย่างไรก็ยังยืนหยัด อธิบายธรรมะ อันลึกซึ้ง ให้ถึงสถาวะ แม้คำว่ากาย ก็มีหลากหลายมาก และมีสภาพกลับไปกลับมา ถ้าผู้ที่เอาแค่บัญญัติ ก็จะปวดหัวแน่ เพราะสภาวะที่พลิกไปพลิกมา ทำให้เขาไม่รู้เรื่องเลย
               เป็นสิ่งที่พวกเรามาศึกษาธรรมะ จะไม่ยึดแต่บัญญัติ แต่เราต้องทำให้ถึง สภาวธรรม อย่างที่พ่อครูบอก ถ้าเราพยายามให้เข้าใจ ถึงจิตถึงสภาวะ มาหาความสว่าง ของชีวิต เพื่อทำให้บ้านเมือง เกิดความสว่างมากขึ้น
               พ่อครู...ก็จะต่อเรื่องที่บรรยายไปเรื่อยๆ และเมื่อวานมี sms มาว่า
0850242xxx เพราะเข้าใจทุกขอริยสัจ วันนี้ผมจึงไปสารภาพผิดกับผู้ใหญ่ครับ
0894979xxx อเหตุกจิต(ข้อ1)และ(ข้อ2) คืออะไรครับ ช่วยอธิบายด้วย ขอกราบนมัสการ พ่อครูครับ
       พ่อครูว่ายังไม่ได้ทบทวนเรื่องนี้ ก็ขอเวลาในการค้นคว้าก่อน
0824039xxx ท่านสอนกายานุปัสนาสติปัฏฐานฤาเปล่า! เรื่องเดียวกับกายคตาสติฤาเปล่า! กราบขออภัยจิตมัวไปอยู่ที่งานฝีมือ หยุดทำบ่ได้ ต้องทำทั้งวันทั้งคืน

               พ่อครู ว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็คือปฏิบัติสติปัฏฐาน คือพิจารณาให้เห็น ความเป็นกาย มีกายในกาย แล้วกายในกายคือ รูปธาตุหรือนามธาตุ ซึ่งภาษาไทยใช้คำว่า ร่างกาย ก็คือสรีระ เป็นรูปธรรม แต่คำว่า กายนี้เป็นทั้งสรีระ และนามธรรม มีทั้งรูปกาย และนามกาย
               กายคตาสติ แปลว่า ให้มีสติกำหนดรู้ กายคตะ คือสิ่งที่เป็นไปในกาย คือสิ่งที่อยู่ในกาย (กายคือองค์ประชุม) อย่างกายของดินน้ำไฟลม ก็เรียกว่ารูปกาย ถ้ารวมทั้ง เวนาสัญญาสังขาร ก็คือ กาย ซึ่งกายคตาสติ ก็ให้พิจารณากาย ทั้งนอกและใน
               สติปัฏฐาน คือฐานหรือหลักปฏิบัติ ที่มีสติเป็นที่ตั้ง อานาปานสติ คือหน่วยย่อยของ สติปัฏฐาน อานาปานสติ ไม่มีอยู่อย่างโดดเดี่ยว แม้พิจารณา ลมหายใจเข้าออก พิจารณาภายใน ก็ไม่ให้ทิ้งกายนอก ส่วนกายคตาสติ คือองค์ประชุม ทั้งหมดเลย หรือสิ่งที่เป็นไปในกายทั้งหมด ให้มีสติเรียนรู้เรื่องนี้ ก็คือสติปัฏฐาน
0871317xxx 8705ขยันว่าจริงนะ อยากรู้จังว่า ปฏิบัติอะใรได้บ้าง
0867897xxx ๘๗๐๕คือVIP=very idiot person..
0818887xxx 8705สมาธิของคุณ ทำบนรถหรูเครื่องบินส่วนตัว และอยู่กับผู้หญิง2คนด้วยใช่ไหม จึงจะถูก/วิเชียร
0894562xxx ทำไมการประชุมมรดกโลกครั้งที่37 ที่พนมเปญ16-27มิย56 ถึงไม่ค่อยมีข่าวเลย
0838677xxx    ไม่มีใครจับผิด พธร ได้หรอก เพราะครึ่งหนึ่งเป็นมหายาน อีกครึ่งเป็นเถรวาท
               พ่อครูว่า คำว่าครึ่งหนึ่งคือเป็นกลาง ไม่ได้ยึดติดเถรวาทหรือมหายาน แต่แน่นอน ทั้งสองอย่างคือพุทธ และพ่อครูก็รู้ว่า ส่วนไหนถูก ส่วนไหนผิด พ่อครูก็ใช้ส่วนถูก และยกสิ่งถูก ชี้สิ่งผิด ดังนั้น ใครจะมาจัดผิดพ่อครูยาก
0857308xxx หน้ากากขาวกำแพงเพชร จะมีชุมนุมวันอาทิตย์เช่นกัน
0888705xxx จะให้ตุ๊กแกอ้าปากที่งับ ย่อมยาก..จะให้เดียถี ละมิจฉาทิฐิยิ่งยากกว่านั้น
0888705xxx พตปฎ.บอกว่า กายสักขีคือผู้สัมผัสวิโมกด้วยนามกาย แต่พธร. ตัดคำว่านาม ออก!

           พ่อครูว่า พ่อครูไม่บังอาจหรอก เอาบาลีว่า อัฏฐ วิโมกฺเข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ปัญญาย จัสส ทิสฺวา อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติ นี่คือคำตรัสของพระพุทธเจ้า ก็ไม่เห็น มีคำว่า นามกายที่ไหน พ่อครูไม่ได้ตัด แต่คุณก็ตัดเอง

0888705xxx ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย เป็นรูปกาย! ส่วนใจเป็นนามกาย เพราะเป็นตัวรู้รูป! OK

               พ่อครูว่า คนทั่วไปก็เข้าใจคำว่ากายแค่นั้น เขาเข้าใจคำว่ากายคือรูป ส่วน นามกาย ก็คือนาม แต่พ่อครูไม่ OK หรอก มันไม่ถูก เพราะมันลึกซึ้งกว่านั้น นี่แหละ พ่อครูจึงต้อง อธิบายมากมาย ซึ่งมันไม่ผิดหรอกแต่มันตื้นเขิน
               ส่วนนามกายคือตัวรู้รูปก็ถูก คือนามธาตุ ถ้านามกาย คือองค์ประชุมของนาม แล้วคำว่ากาย คือตัวถูกรู้
               กาย หมายถึงกลุ่มกอง หรือจำนวนที่รวมกัน หรือการรวมเข้าด้วยกัน อย่าหมายว่า คือคำว่า ร่างกายเท่านั้น แต่คือหมายเอาว่า หมวดหมู่ภายในตัวตน คือ การรวมกันเข้า ของธาตุต่างๆ มากมายหลากหลาย ไม่ใช่พูดถึงเดี่ยวๆ แต่คือ พูดถึงสิ่งรวม แม้แต่หมวดแห่งเจตสิก คือ เวทนา สัญญา สังขาร

0888705xxx Asoke is the only ONE of The Ting-Tong Dhamma from God Father POTIRUG

               พ่อครูว่าจริงๆแล้วเห็นใจนะ ที่มีคนเข้าใจอย่างนี้ สงสารที่ว่า พ่อครูประกาศ ตั้งแต่ต้น ที่ทำงานว่าเป็นโพธิสัตว์ มาทำงานสืบสาน ศาสนาพุทธ ที่ถูกต้อง และทำไม ต้องสืบสาน ก็เพราะเป็นหน้าที่ ของพ่อครู เพราะครึ่งพุทธสนา ของพระสมณโคดมแล้ว ศาสนามันเสื่อม คนเข้าใจผิดไป เกือบหมดแล้ว พ่อครูจึงจำเป็นต้อง เอาสิ่งถูกมาประกาศ

               พ่อครูตั้งข้อสังเกตว่า พระพุทธเจ้าตรัสดักไว้ ในพระไตรฯเถรวาท ในมหาจัตตารีสกสูตร ในสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ว่าถ้าผู้ใดไม่ชัดเจนใน สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ -ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้-โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ)

     พ่อครูก็ประกาศว่า ไม่ได้มีครูอาจารย์ที่ไหนสอนมา และประกาศ ก่อนที่จะมาเจอ พระไตรฯ บทนี้ ก็พบว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัส ถึงเราไว้ในบทนี้นี่เอง ที่เปิดเผย ใครจะหาว่า หลงตัวหลงตนก็ได้ ถ้าเขาไม่เชื่อถือ เขาก็ยิ่งรู้สึกชังพ่อครู แต่ถ้าคนชัง หรือรัก พ่อครูก็ไม่ได้รู้สึก สุขทุกข์ไปด้วย พ่อครูทำใจ จบที่ตนเอง ก็เห็นใจ ไม่อยากให้ใคร เกิดรักหรือชัง แต่จำเป็นก็ต้องพูดสัจจะ เพื่อประโยชน์แก่ ผู้ต้องการ รู้สัจจะ
               ถ้าพ่อครูผิด แล้วหมู่ใหญ่ ถูกหมดเลย และถ้าพุทธธรรมถูก ประเทศไทย จะไม่เป็นผลอย่างนี้ แต่เพราะศาสนาพุทธ กระแสหลักในไทย เป็นอย่างนี้ จึงทำให้คน มีคุณสมบัติอย่างนี้ คนบริหารบ้านเมืองขณะนี้ ก็เป็นเช่นนี้ ลำบากลำบนไหม
               ถ้าพ่อครูถูก แน่นอนทางโน้นก็ต้องผิด เพราะมันก็ชัดเจนว่า ค้านแย้งกัน นี่คุณ 8705 รับรอง ใช่แล้ว อย่างที่คุณพูดมา เพราะมี only one จริงๆเป็น สยังอภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ จริงๆ ก็พูดอย่างไม่โกรธเคืองจริงๆ

0888705xxx รูปมีแค่28เท่านั้น! แต่พธร.ไม่รู้จริง.. จึงเอารูปกับนาม มาปนกันมั่ว! บอกว่า นามเป็นรูปก็ได้ โดยอ้างคำว่านามรูปแบบผิดๆ! จึงถามหน่อยว่า ใครสอนพธร.อย่างนั้น! คำว่านามรูป (ในปฏิจสมุปปาท) เป็นคำรวม! ซึ่งพตปฎ .ก็ได้อธิบายไว้ แยกชัดอยู่แล้ว ว่ารูปคืออะไร! นามคืออะไร! (=สัญญา เวทนา เจตนา ผัสสะ มนสิการ) โดยเรียกญาณ ที่สามารถแยก ความแตกต่าง ระหว่างนามกับรูป ได้อย่างชัดเจน.. ว่านามรูปปริเฉทญาณไงจ๊ะ! ฉะนั้นพธร. จงอย่ามั่ว!!!
0888705xxx เรื่องของเรื่องไม่ใช่อะไร พธร.พยายามจะแปลง คำสอนของพุทธ ให้เป็นสังคมนิยม
0888705xxx นิพพานกับอเวจี ห่างกันแค่เส้นด้าย พธร. สมาทานมิจฉาทิฐิปุ๊บ ลงอเวจีปั๊บ!

               พ่อครูว่า สมเด็จพ่อสอน คือพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ที่พ่อครูได้พบมา สอนเหมือนกันหมด พ่อครูยืนยันว่า พ่อครูไม่ได้เก่งเรื่อง การปกครอง มาปางนี้ พ่อครู เก่งธรรมะอย่างเดียว นอนนั้น มีความรู้แบบไส้เดือน กิ้งกือ
               พ่อครูว่า พุทธมีความเป็นสังคมนิยม ที่เหนือชั้นกว่าสังคมนิยม และ คอมมิวนิสต์มาก และจะไม่ทำเป็นสังคมนิยม เช่นที่คุณว่าหรอก
               พ่อครูว่า อเวจีกับนิพพานนั้น ห่างกันระหว่าง ฟากฟ้ากับเหว มันไกลกันมาก แต่ของเขา เฉียดกันแค่นั้น สงสัยลงไปบ่อยๆ หรือเปล่า
               เห็นใจผู้ที่ยังสับสน เรื่องรูปเรื่องนาม คนไม่รู้จริง ก็ฟังไม่เข้าใจ คำว่ารูปกับนาม เป็นคำยิ่งใหญ่มาก
               ผู้ที่แยกรูปกับนามได้ชัด คือผู้มีญาณจริงๆ ก็เพราะพ่อครูแยกได้ชัด จึงอธิบาย ละเอียด ผู้ไม่เข้าใจ ก็เลยหาว่า ผู้พูดมั่ว แท้จริงตนสับสน ฟังไม่เข้าใจ ก็เลยมืดมัว เพราะมัน สัมพันธ์กัน ระหว่างรูปกับนาม
               "ทุกอย่างสักแต่ว่ารูปแต่ว่านาม" นั้นไม่ใช่แค่ภาษา แต่ผู้มีสภาวะ ก็คืออรหันต์ อย่างอนาคามี ก็ยังไม่ถึง จนกว่าจะทำให้ถึง ขีดขั้นนิพพานเป็นอรหันต์ ก็จะเป็นอย่างนั้น ได้จริงๆ
               แต่ผู้ที่พูดอย่างมั่วๆก็มี คือเอาไปปฏิบัติก็ไม่ได้ ปฏิบัติผิดก็ได้ผลผิด แต่พวกเรา ที่มาฟังนี่ บางคราวก็ถามพวกเราว่า เข้าใจหรือไม่ ก็ตอบกันว่าเข้าใจ
               คำว่า นามรูป ในปฏิจจสมุปบาท นั้นแยกกัน ชัดเจนอยู่แล้ว...

         [๑๔] ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ  นี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป และรูปที่อาศัย มหาภูตรูป นี้เรียกว่ารูป นามและ รูป ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า  นามรูป

               ที่ท่านแยกอย่างนี้ก็คือ ในบริบทของ ปฏิจจสมุปบาท เมื่อกล่าวถึงคำว่า นามรูป คือนามที่ถูกรู้ คุณต้องมีญาณ แยกรูปแยกนามออก
               คุณต้องรู้ได้ว่า เวทนาคืออาการอย่างนี้ สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นอาการเช่นนี้ และอย่าทิ้งผัสสะ แต่ท่านอื่นก็บอกว่า ต้องทิ้งผัสสะ เข้าไปอยู่ในภพ ก็เจ๊งไง ซึ่งมันไม่ครบแล้ว ในนามที่พระพุทธเจ้าบอก และต้องมนสิการเป็น ถ้ามนสิการไม่เป็น ไปไม่รอด

               ส่วนมหาภูตรูป และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป และพระพุทธเจ้า จึงบอกต่ออีกว่า รูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป
               และคำว่า นามรูป นี่เขาหาว่า พ่อครูเอานามรูป มาปนกันมั่ว เพราะท่านแยก พ่อครูว่าก็เหมือนเขาแยกทำ ศีลสมาธิปัญญาไง แต่ทุกอย่างเป็นองค์รวม ศาสนาพุทธ ตรัสรู้ทุกอย่าง ยิ่งกว่าไอสไตน์ ทุกอย่างเป็นความต่อเนื่อง สัมพันธ์กัน แต่ก็ไปหั่น ของท่าน
           กายในกาย คือองค์ประชุมของ สิ่งที่ผัสสะข้างนอกมา พอสัมผัสตาหูจมูกลิ้นกาย สัมผัส รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ สัมผัสแล้วก็เนื่องมาสู่ข้างใน เป็นกายในกาย ทั้งที่เปิดทวาร รับรู้ตลอด แต่ประชุมกันเป็นองค์ประชุม เมื่อเป็นองค์ประชุม จากตา ก็เห็นเป็นรูปเป็นร่าง ถ้าจะดูรูปของรูป มันก็จะเห็นรูป กายในกาย
               ก็อ่านจิตใจตนเอง พอคุณเจอรูปแล้ว คุณจะเกิดความรู้สึกไหม? หลังจากมัน เป็นรูป ภายในแล้ว มันเป็นความรู้สึก ปั๊ปเลย ก็เรียกกายในกายนี้ว่า "เวทนา"
               คือต่อเนื่องเป็นสังขารธรรม ปรุงแต่งอยู่ในจิต ก็เกิดอารมณ์รู้สิ่งนั้น คือเวทนา หรือจะปรุงแต่ง เป็นวิญญาณ เป็นธาตุรู้ ถ้าวิญญาณชื่นใจ เป็นอิฏฐารมย์ ก็คือเทวดา พวกเราเห็น อาการของจิต ถ้าอ่านสังเกตนิมิตคือเครื่องหมายเป็น ว่าอาการสุขเวทนา เป็นเช่นนี้ ก็เรียกว่า โสมนัสเวทนา
               เมื่อกายในกายเป็นอุปาทายรูป คือกายที่ต่อเนื่อง ไปเป็นเวทนา แล้วคุณ ก็ไปเรียนรู้ เวทนาในเวทนาว่ามีเหตุอะไร จึงสุขจึงทุกข์ .... ต่อไปเป็นสติปัฏฐาน ๔ พ่อครูไม่ได้มั่ว
               คุณต่างหาก ไปแยกรูปแยกนาม ของท่านเกินไป พระพุทธเจ้าท่านจริงๆ เรียกคำว่ารูป ก่อนคำว่านาม คือเรียกหยาบก่อนละเอียด แต่อันนี้ท่านเรียกว่า นามรูป และท่านก็อธิบาย นามก่อนรูป อีกในปฏิจจสมุปบาท
               แต่คุณต่างหากสับสน มาโยนให้พ่อครู ที่จริงคุณมั่วไม่เป็น แต่คุณสับสน ก็เลยหาว่า คนอื่นมั่ว แต่คุณเข้าใจ รายละเอียดของ พ่อครูไม่ได้ จึงตู่พ่อครูว่า ไม่เข้าใจจริง หรือเข้าใจผิด

               รูปรูปคือดินน้ำไฟลม ต่อเข้ามาคือนามรูป เมื่อเกิดสุขเกิดทุกข์ ก็พิจารณาที่ใจ ก็จึงมีนามที่ถูกรู้ แล้วที่ประชุมกันอยู่ ก็ไม่ขาดรูปนอก
               อย่างตากระทบสิ่งนี้ข้างนอก มันก็ถูกรู้ มันก็เรียกว่า นามรูป ส่วนตัวมันเอง ไม่มีนาม ของสองสิ่งแตะกันอยู่ มันก็ไม่รู้ แต่มันจะรู้ได้ ก็ต้องมีนาม และสิ่งที่ถูกรู้ เรียกว่า "นามรูป"
               ส่วน "รูปกาย" กับ "นามกาย"
               องค์ประชุมของรูปบวกนาม เรียกว่า รูปกาย ถ้าจะเรียกว่ารูป โดยไม่มีนาม เรียกว่า "รูปรูป" มันจะถูกรู้ ว่านี่แหละคือฟักข้าว มันก็อยู่รูปรูปของมัน มันไม่รู้ใครหรอก มันอยู่ของมัน อย่างนั้นแหละ
               ตัวใดที่เป็นนามรูป คือตัวถูกรู้ เช่น จากกายนอกมาสู่กายใน ก็เกิดสังขารภายใน ก็มีนาม คือสังขารเลย เห็นสีแดงปั๊บ ก็ปรุงแต่งว่าชอบหรือไม่ชอบเลย ก็เกิดเวทนา ตัวมันเองไม่รู้ แต่รู้ด้วยญาณปัญญา ตัวที่ไปรู้ไปเรียนคือ สัญญา กำหนดรู้ เวทนา ก็กำหนดรู้ กายในกาย ที่เป็นสภาวะข้างใน คุณก็รู้โดยต้องมีธาตุ ที่ตั้งใจฝึกว่า อย่างนี้คืออารมณ์
               คุณรู้จักสังขาร นี่แหละคือเวทนา คือปรุงด้วยอวิชชา ก็คือเวทนาเลย คุณยังไม่ได้ กำจัดกิเลส แต่ถ้าคนปฏิบัติเป็น จึงหาเหตุได้ กำจัดกิเลสได้ มันก็ไม่ปรุงร่วม ก็เกิดวจีสังขาร ที่ไม่มีเหตุ (อเหตุกทิฏฐิ)ไปปรุงร่วม มันก็ปรุงสะอาด ซึ่งทำไม่ง่าย ทำได้ก็เป็นจริง
               คำว่ารูปกาย ก็คือรวมทั้งรูปและนาม
               นามกาย คือองค์ประกอบของ เจตสิกธรรม เราตัดมาอยู่แต่ภายใน ผู้ที่สูงแล้ว เป็นอนาคามีขึ้นไป ไม่ต้องสุขทุกข์ กับรูปนอกแล้ว (พ่อครูไอหลายที เลยให้อช.เดินดิน แทรก) ในบริบทนี้ ยังไม่เอาคำว่ารูปมาเกี่ยว แต่นามธรรม เฉพาะนามกาย คือ ถ้าตากระทบรูป ในอนาคามีขั้นต้น ยังเหลือรูปราคะ แต่ไม่ใช่กามภพ เพราะอนาคามี ดับกิเลส ในกามภพได้แล้ว อยู่เหนือมันแล้ว อย่างไม่ต้องเข้าภวัง เป็น จักขุมา ปรินิพพุโพติ มีจักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง แต่ก็สักแต่ว่ารูปว่านาม ก็มีนิโรธแล้ว
               แต่ที่เหลือคือรูปภพ มันคาบเกี่ยวกับข้างนอก แต่ไม่ต้องสุขทุกข์ กับการปรุงแต่ง ภายนอกแล้ว ก็เหลือแต่ส่วนตน จะปฏิบัติกับผัสสะข้างนอก เพื่อทำการ รักษาผล สั่งสมเป็นความควบแน่น ส่วนการปฏิบัติข้างใน ท่านไม่ต้องอาศัยข้างนอกก็ได้ โดยใช้สัญญา กำหนดในจิต มาศึกษา เจตสิก เวทนา สัญญา สังขารก็ทำงานข้างใน นี่คือบริบทของ อนาคามี

               คุณ 8705 ต้องขอบคุณ เพราะเป็นผู้ที่ตั้งประเด็น ให้เราเอาประเด็น มาใช้ อธิบายได้ ถ้าไม่มีประเด็น ก็จะคิดเรื่องอื่น นี่คือรายละเอียด ที่เอามาทำประโยชน์ต่อ ไม่ใช่ได้ประโยชน์ จากความรู้ แต่ได้จากการติติง
               ความเป็นกาย นี้ พ่อครูได้อธิบายมาหลายที วันนี้ก็ขยายคำว่ากาย ไปถึงขั้น นิโรธ คือสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็มีคำว่ากาย โดยหยิบมาจาก วิญญาณฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ แม้แต่ในวิโมกข์ ๘ ก็พาดพิงถึง และมีอีกหลายศัพท์ ที่มีกายอยู่ด้วย อย่างในพระไตรฯ ล.๒๐ ข. ๒๓๕

               [๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้น ชื่อว่าย่อม ไม่บริโภคอมตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อม บริโภคอมตะ
        [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่บริโภคแล้ว อมตะชื่อว่า อัน
ชนเหล่านั้น ไม่บริโภคแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดบริโภคแล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น บริโภคแล้ว
        [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของชนเหล่าใด เสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่า
นั้นชื่อว่า เสื่อมแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของชนเหล่าใด ไม่เสื่อมแล้ว อมตะของ
ชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่เสื่อมแล้ว
[๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตะชื่อว่าอันชน
เหล่านั้น เบื่อแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใด ชอบใจแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ชอบใจแล้ว ฯ
        [๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใด ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาทอมตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใด ไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ประมาทอมตะ ฯ
        [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใดหลงลืม อมตะชื่อว่า อันชนเหล่า
นั้นหลงลืม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใดไม่หลงลืม อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ไม่หลงลืม ฯ
        [๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่ซ่องเสพแล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ไม่ซ่องเสพแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ซ่องเสพแล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ซ่องเสพแล้ว ฯ
        [๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่เจริญแล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ไม่เจริญแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด เจริญแล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น เจริญแล้ว ฯ
        [๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่ทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่า
อันชนเหล่านั้น ไม่ทำให้มากแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ทำให้มากแล้วอมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ทำให้มากแล้ว ฯ
        [๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อ
ว่า อันชนเหล่านั้น ไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
        [๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่กำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ไม่กำหนดรู้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด กำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น กำหนดรู้แล้ว ฯ
        [๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่ทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ทำให้แจ้งแล้ว ฯ
               ซึ่งกายในสัตตาวาส ๙ มีอย่างนี้
๑.สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า พวกวินิปาติกะ บางเหล่า (สัตว์นรก ที่รวมสัตว์นรกตกต่ำ จนไม่มีที่ตกแล้ว ตกไม่มีที่ตกแล้ว มันต่ำจนติด ไม่มีที่ตก)  สัตว์ในข้อนี้ เป็นผู้ที่เห็นว่า สัตว์มนุษย์เทวดา มันต่างสัญญา ต่างกายกัน (กายคือองค์ประชุม) ซึ่งเป็นภูมิของ ปุถุชนทั่วไป จะรู้จักและกำหนด มนุษย์ เทวดา ตามภูมิรู้ ตามกิเลสตน ยังไม่มีกฏเกณฑ์กำหนดรู้ สัตว์ทางจิตใจ แต่สัตว์ที่เป็นรูป ก็กำหนดได้ เหมือนกัน เช่นนี่คือช้าง นี่คือคน ก็กำหนดได้ร่วมกัน ในข้อนี่คือ ภูมิคน ที่ยังไม่ได้ศึกษา ไม่กำหนดรู้ โอปปาติกสัตว์ คือคนทั่วไป หรือแม้จะศึกษาธรรมะ ก็ยังไม่ประสีประสา ในการกำหนด ก็กำหนดไปตาม อำนาจกิเลส จะเห็นกาย ไปตามอำนาจกิเลส ส่วนสัญญา ก็กำหนดไม่ได้ อย่างเป็นมนุษย์ แต่ก็หลงตนว่า มีจิตใจสูง ถือดีว่าจิตใจสูง จึงได้ กายของสัตว์ต่างๆ ตามอำนาจกิเลสวนเวียน เดี๋ยวเป็น เทวดา เดี๋ยวเป็นสัตว์นรก ไม่ได้กำหนดว่า อันไหนดี อันไหนไม่ดี
               วนเวียนถูกผูกความเป็นสัตว์ในภพ พ้นความเป็นสัตตาวาส ๙ ไม่ได้เสียที พ่อครูถามว่า ถ้าไม่ได้มาฟัง จะมีสิทธิ์เลิก จากความเป็นสัตว์ ได้สักขั้นหรือไม่ จะไม่รู้ว่า ความผูกสัตว์ไว้ เป็นอย่างไร แล้วทำให้มันขาดหายไปอย่างไร ให้สัตว์มันหาย ไปได้ชั่วคราว หรือตลอดไป
               เราจะรู้กายของความเป็นสัตว์โอปปาติกะ ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ในข้อที่ ๙ แต่ก่อน เราก็มีกาย เป็นเทวดาสัขขัลลิกะ สวยพริ้งมาหลอกเรา ไม่ปล่อยวางเสียที แต่เดี๋ยวนี้ เรารู้แล้วว่า เป็นเทวดาสมมุติเทพ มาหลอกเรา เราก็กำจัดเหตุ ซึ่งตัวตนที่แท้ มันไม่มี ถ้ากำจัดเหตุ ทุกอย่างก็ดับ พระสารีบุตร ได้รับคำสอนจาก พระอัสสชิว่า ทุกอย่าง เกิดแต่เหตุ นั่นคือตัวตน หรือรูปนามก็ดี ไปเอาตัวจบมาพูด นี่โก้ตายชัก แต่คนที่ จะถึงคำว่า สักแต่ว่ารูป สักแต่ว่านาม คือผู้ที่สูงสุดบรรลุแล้ว แต่คุณยังไม่ถึงกาละ ที่ผ่านความบรรลุ จบแล้วถาวร คุณกล่าวไป ก็เป็นโวหาร คุณก็กล่าวแต่โวหาร เป็นอัตตวาทุปาทาน คุณกล่าวว่า สักแต่ว่ารูปนาม คุณก็กล่าวได้แต่โวหาร
               ถ้าไม่มีการกำหนดรู้จิต ไม่มีการทำใจในใจ ก็ไม่ได้ หรือทำใจในใจไม่เป็น มีแต่แสวงหา ตามอำนาจกิเลสไปเรื่อยๆ ให้เกิดความสมใจ ไม่สมใจ ดิ้นรนแสวงหา ไม่รู้อริยสัจ มีแต่อำนาจกิเลส สุขทุกข์ตามเหตุปัจจัยไปตลอด
               นอกจากไม่รู้สัตว์สวรรค์ สัตว์นรกแล้ว จะไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำว่า ตนเองให้อาการแก่สัตว์สวรรค์ ให้เกิดติดใจยิ่งขึ้น ก็เท่ากับว่า คุณบำรุงสัตว์นรก ทำให้กายของสัตว์นรก ปุถุอ้วนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆโดยอวิชชา โดยไม่รู้
               มีคำความว่า..." ผู้ที่เห็นนิวรณ์ ๕ แล้วละได้ ตนก็ย่อมเกิดปราโมทย์ กายย่อมสงบ เมื่อกายสงบ ก็เสวยสุข เมื่อสุขจิตก็ตั้งมั่น สุขไม่ใช่บำเรอ แต่สุขนี้นิวรณ์ดับ ใช้คำว่าสุขเหมือนกัน แต่คนละบริบท สุขนี้ไม่ได้บำเรอ ทางทวาร ๕ ต้องแยกให้ออก ระหว่างเวทนาที่ เคหสิตะและเนกขัมมะ ในมโนปวิจาร
               เธอสงัดจากกาม จากอกุศลกรรม สัญญาย่อมดับ สัจจะสัญญาอันละเอียด มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขั้น สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมดับไป เพราะการศึกษา

               มีคนมาถามพระพุทธเจ้าว่า สัญญานี่ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปก็มี หรือสัญญาสัญญา ไม่มีเหตุปัจจัย เกิดเองดับเอง ความเห็นของสมณะพราหมณ์นี้ ผิดแต่ต้น เพราะสัญญา มีเหตุปัจจัย ซึ่งธรรมดา ธรรมชาติก็เกิดและดับ ตามเหตุปัจจัย คนจะบอกว่า ทุกอย่าง มันก็เกิด-อยู่-ดับไป แล้วก็จบ ไม่จริง
               พระพุทธเจ้าว่า สัญญานี่มันมีจริง เกิด-อยู่-ดับ และทุกคนมี สัญญา อย่างหนึ่งเกิด เพราะการศึกษาก็มี สัญญาดับไป เพราะการศึกษาก็มี
               การศึกษานี่แหละ ที่ไม่ใช่ว่า ให้เกิด-อยู่-ดับไป นั่นคือศึกษา คุณก็บอกว่า คุณรู้ธรรมชาติ แล้วคุณไม่จบหรอก คุณต้องให้มันดับ เพราะการศึกษา ซึ่งพวกปัญญาชน พวกเซนก็ว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง แม้แต่สายสวนโมกข์ ก็ศึกษาเช่นนี้ ไม่ใช่ต้อง ธรรมะโลกุตระ มีการศึกษาที่ดับชาติ จนไม่มีชาติ ธรรมะไม่มีชาติเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป....

               ส.เดินดิน..สรุป  วันนี้พ่อครูเอาสิ่งที่เขาตู่ มาเป็นประโยชน์ เหมือนพระพุทธเจ้า ที่มีคนตู่ว่า พระพุทธเจ้า ก็เอามาใช้ประโยชน์ ศาสนาพุทธ ไม่ใช่แต่มหายาน หรือเถรวาท แต่เป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งถ้าเราฟังแล้ว เราไม่เอาไปปฏิบัติ ก็จะสับสน เราจะศึกษาศาสนา แบบเข้าใจได้เ พราะมีบทปฏิบัติ

              

 
๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานสันติอโศก