560624_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครูและอ.กฤษฎา
เรื่อง รูป-นาม-กาย ขยายลึกถึงอมตะ

              อ.กฤษฎาดำเนินรายการที่ปฐมอโศก ...

วันนี้เป็นวันที่ในอดีต เป็นวันเปลี่ยนแปลง ระบอบการปกครอง ของประเทศไทย มาแล้ว ๘๑ ปี ตอนนี้มีปรากฏการณ์ หน้ากากขาวเกิดขึ้น

              พ่อครู...ว่าก็มีส่วนร่วม และก็ต้องมีการปฏิบัติ แต่ตอนนี้ก็เห็นว่า ต้องพูด น้อยไปหน่อย เพราะต้องทำงานธรรมะ ในสังคมก็มีภาวะ ปฏิกิริยาขึ้น ก็เกิดต้านกัน ไปมา ก็เกิดตามสัจธรรม ทางด้านผู้ที่ยั่วยวนก็ทำ คือทำปฏิบัติห่ามๆ อย่างกระด้างๆ ผยองๆ คนไทยที่พ่อครูรู้สึกคือ มีไทยเฉย เยอะมานานแสนนานแล้ว ก็พยายาม ให้สติปลุกเร้า จะเห็นได้ว่าใน FMTV พ่อครูฟิลลิ่งจัด อ่านบทกวีไทยเฉย

              อ.กฤษฎาว่าบทกลอนที่ว่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียประเทศไทย กลายเป็น ประโยคเด็ด ให้คนออกมา เป็นมวลรวมของสังคม เป็นวลีที่ เอามาใช้กันมาก ในเฟซบุ๊ค

              พ่อครูว่า ก็เจตนาใช้ให้สมสมัย ก็มีไทยเฉยมาก จนต้องเตือนกันหน่อย ปลุกกันหน่อย และที่คุณเกริ่นนำว่า การออกมาหรือไม่ออกมา ของคนไทย พ่อครูว่า มันมีภาวะ ซ้อนลึกๆอยู่มาก คือคนไทยนี่ ไอ้ทะเลาะไม่ใช่นี่ มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ คนไทยมีวัฒนธรรม ที่เป็นคนร่วมสังคม เอาภาระสังคม เช่น ลงแขกช่วยกันทำ ก็มีอยู่ แต่ตอนนี้เรื่องการเมือง เป็นเรื่องวางเฉย แต่ความรู้เรื่องประชาธิปไตย ยังไม่เคยเผยแพร่ ซึ่งทางรัฐศาสตร์ เขาสอนกันว่า การเมืองเป็นการแสวงหาอำนาจ ก็สอนกันอย่างนี้ ก็พังสิ ที่จริง การเมืองคือ การกระจายอำนาจ โดยเฉพาะประชาธิปไตยนี่
              โดยจริงพฤติกรรมคน คือแสวงหาอำนาจ แต่ไม่ควรเอาคำสอนอย่างนี้ ไปใส่หัวคน มันต้องข่มเลยว่า การเมือง ไม่ใช่เรื่องแสวงอำนาจ ควรสอนว่า การเมือง เป็นการทำ เพื่อบ้านเพื่อเมือง  เพื่อประชาชน สังคมจึงเป็นสุข ไปรอด แต่ถ้าเผื่อว่า เป็นไปเพื่อ ประชาชนจริง คนเดียวเป็นไปได้ยาก ก็รวมกลุ่มกัน เผด็จการเป็นทีม ที่เป็นทีม เพื่อถ่วงกัน คอมมิวนิสต์เขาถือว่า ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เขามีอุดมการณ์ ก็มาร่วมกัน บริหารปกครองประชาชนให้ดี ถ้าคนมาทำ มีอุดมคติแข็งแรง ก็ใช้ได้
              เท่าที่ดูๆมา ก็ไม่สูงส่งเท่าของพระพุทธเจ้า ของพระพุทธเจ้า เป็นประชาธิปไตย จริงๆ พ่อครูก็ยกตัวอย่าง สมัยพระพุทธเจ้า ยุคทาสแท้ๆ ไม่มีสิทธิมนุษยชน แต่พระพุทธเจ้า ก็ทำสำเร็จ ท่านมีธรรมนูญของท่าน ประกาศว่า ของเราเป็นเช่นนี้ คือจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล ต้องทำศีลทำจรณะ ก็มีคนมาเอาตาม ประกาศไป ก็ไม่มีใครค้านใครต้าน ไปแคว้นไหนๆก็สำเร็จ ในทวีปอินเดีย มีกษัตริย์ ผู้ครองแคว้นใดๆ ทุกแคว้น ก็ยกให้ธรรมนูญของพระพุทธเจ้า ยกให้ระบบ การบริหาร ปกครอง ของพระพุทธเจ้า ยกให้ถึงขนาดว่า ท่านประกาศลัทธิท่านที่ใด ถ้าประชากร ของแคว้นนั้นๆ มารับกฏหมาย ของพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดินทุกแคว้น ยกให้หมดเลย เจ้านายทาส ก็ยอมปล่อยทาสให้ ทุกคนเลย  เป็นการประกาศศักดา ของการกระทำ ที่บ่งบอกว่า นี่คือประชาธิปไตย คือเนื้อแท้ประชาธิปไตย ที่เหนือกว่า คอมมิวนิสต์ ไม่ใช่ materialism แต่เอาจิตวิญญาณเป็นใหญ่
              ลัทธินี้เป็นไปเพื่อ พหุชนหิตายะ พหุชนสุขายะ โลกานุกัมปายะ ท่านตรัสก่อน ปธน. ลินคอนประกาศ ว่า ประชาธิปไตยคือ ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ซึ่งเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ แต่ไม่เข้าใจพุทธ ไม่เข้าใจประชาธิปไตยด้วย เพราะพุทธศาสนาคือ ประชาธิปไตย ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เหนือกว่าคอมมูน เหนือว่าสังคมนิยมอันใดๆ

              อ.กฤษฎาว่า เรื่องวินัยกับศีลก็ต่างกัน ซึ่งธรรมนูญคือศีล และมีวินัยกำกับอีก

              พ่อครูเคยเอากฏเหล็กของ สีจิ้นผิงมากล่าว ก็เชิงเดียวกับวินัย เป็นกฏหมายอาญา คือข้อกำหนดเพื่อบังคับ และมีโทษ เมื่อประกาศ พ่อครูก็เอาเนื้อ มาประกาศ คือเขาออกกฏมาเพื่อทำ อย่างแท้จริง ในหมู่ผู้บริหาร ก็แสดงออก ถึงคนที่มี ภูมิปัญญา และทำจริงเอาจริง ผลสำเร็จของสังคมเขา เขาสำเร็จแน่ พลเมืองเขา มีเป็นพันล้าน ก็ไปรอด แต่คนไทยไม่ถึงร้อยล้าน แต่เป็นอย่างนี้ พ่อครูว่าลำบาก ประเทศไทยลำบาก แม้เราประกาศว่า เป็นประชาธิปไตย ว่าเราเป็นเมืองพุทธ ประชากรนับถือพุทธกว่า ๙๕ %
      ที่พูดนี้ยืนยันว่า ศาสนาพุทธคือ ประชาธิปไตยสุดยอด ตามที่ยืนยันนี้จริง และเป็นไปได้จริง ก็เพราะมีคนมาทำตามนี้ จนรวมกันเป็นพฤติภาพ ของสาธารณโภคี มันเลยคอมมูนเลย สังคมนิยมหลายก้าวเลย ซึ่งเขาแสวงหาแบบเสรีภาพ ทุกคน แบ่งกันกินกันใช้ ซึ่งยุคนี้ใกล้กลียุคแล้ว ก็ยังมีคนไทยปฏิบัติ พ่อครูทำงาน หัวเดียว กระเทียมลีบ ถูกต้านมากมาก เขามีโฆษณา ต้านพ่อครูทำงาน พยายามล้มล้าง แต่พ่อครู ก็อุตสหพยายามทำ จนมีคนเห็นดีทำตาม ยืนยันว่า ไม่ได้เอาอามิสล่อ ไม่เอาโลกธรรมล่อ มีแต่บอกว่ามาจน มาเสียสละ  ช่วยเหลือกัน ผู้มีภูมิปัญญาก็แสวงหาก็มา
              พ่อครูไม่มีอะไรเด่นเลยในสังคม แต่คนเหล่านี้ก็มาด้วยปัญญา สมัครใจมา ถ้าคนไทยประเทศ ผู้ที่มีส่วนช่วยสังคม มีทุนทางสังคมมากกว่าพ่อครู ถ้าเข้าใจพุทธ และประชาธิปไตย อย่างที่พ่อครูเข้าใจแล้วช่วยกันแบบนี้ทำแล้ว ไทยไปรอดแน่
              เราไม่อยากพิสูจน์ บนความล้มเหลวของประเทศ เราอยากให้พัฒนาไปด้วยกัน แต่ทำไงได้ ถ้าผู้ที่มีภูมิปัญญาเข้าใจ ซึ่งมีคนเข้าใจแน่ ในสิ่งที่พ่อครูพาทำ ไม่ใช่ของ พ่อครูด้วย เป็นของพระพุทธเจ้า เอาหลักฐานให้ดู ตามพระไตรฯ ซึ่งช่วยไม่ได้ตรงที่ เขาอธิบายไม่สอดคล้อง อย่างที่พ่อครูเข้าใจ และก็ทำมาแล้ว ก็เห็นค้านแย้ง ก็อธิบาย ผู้ที่ไม่รู้ตัวว่า ท่านยึดตามคำสอนเดิม ก็ย้อนแย้งมาตลอด แต่ถ้าท่านลองมา มักน้อย สันโดษ มาร่วมรวมกัน ก็เชิญมาพิสูจน์เอาเองได้ แต่เขาก็อยากเป็นสุข อยากให้สังคมดี แต่จะเป็นไปได้อย่างไร

              อ.กฤษฎาว่า ลองมองย้อนไป ในกระบวนการเรียนรู้ช่วงหลัง ในประเด็น ให้รู้ความเป็นกาย ความเป็นรูปและนาม ทำให้พวกเราเริ่มเห็น ความเข้าใจ ในเรื่องชีวิต ที่ประกอบด้วยอะไร เรื่องอายตนะ เรื่องขันธ์ ๕ เรื่องรูปและนาม มันเหมือน ท่องอยู่ที่ปาก แต่พออธิบายจริงแล้ว รูปคืออะไร และนามคืออะไร และนามกลายเป็นรูป ได้อย่างไร

              พ่อครูเอาสภาวะมาอธิบาย เพราะทางโลกนั้น พ่อครูเรียนมาน้อยมาก

              อ.กฤษฎาว่า ในการดำเนินรายการไม่ง่าย เราต้องไปดูว่า เราต้องรู้นามรูป ของเรา อย่างไร เช่น รูปคือคอมพิวเตอร์ นามก็คือโปรแกรม แต่พ่อครูว่า มันต้องเป็นสิ่งมีชีวิต ถ้าคอมพิวเตอร์มีชีวิต ปรากฏการณ์ที่เราเห็น บนจอคือรูป เหมือนว่า เราเห็นอารมณ์โกรธ จับมันได้ก็เช่นกัน มันคือการเรียนรู้ศึกษา รูปและนาม นี่คือ ตาทิพย์จักษุทิพย์ ที่เราเรียนรู้ภายใน

              พ่อครูว่า เท่าที่คุณอธิบายนั้น เป็นการอธิบายสภาวธรรม  ของตนเอง เอามาเป็น ภาษาสามัญสู่ฟัง พ่อครูก็ว่าถูกต้อง เด็กๆก็ฟังรู้เรื่องก็ใช้ได้ ประเด็นที่ว่า นามกลายเป็นรูป นี่แหละ ภาษาวิชาการเรียกว่า "นามรูป"
              อันนี้พ่อครูก็เพียรอธิบาย แต่คนที่ยึดว่า รูปก็คือรูป นามก็คือนาม เขาก็ยังเข้าใจ ไม่ได้ พ่อครูว่า คุณต้องเข้าใจ ถ้าคุณไม่เข้าใจ คุณไม่สามารถที่จะพิจารณา สติปัฏฐานได้ จะรู้ปรมัตถ์ไม่ได้เลย
              ที่ว่า นามกลายเป็นรูป เป็นเพียงภาษา ที่ว่ากลาย ที่จริงตัวมันเอง ก็เป็นตัวมันเอง แต่คนต่างหาก มีปัญญา ที่มีรายละเอียด กลายเป็นสถานะ สถานะที่เป็นนาม คือตัวรู้ของมันเองเลย นามธาตุคือตัวรู้ ที่มันไม่ใช่รูป คืออรูป แต่นามคือธาตุรู้ เป็นตัวรู้ในตัวมันเอง
              เช่น วันก่อนๆ มีฟักข้าว มีมังคุด มะม่วง แต่ฟักข้าวสัมผัส กระแทกกับ มะม่วงอย่างไร มันก็ไม่รู้ เพราะมันไม่มี วิญญาณธาตุ มันเป็นอนุปาทินกสังขาร (สังขารไม่มีวิญญาณครอง) เพราะฉะนั้น มันไม่ใช่นาม ต่อให้มันเป็นรูป ที่บางเบา มองไม่เห็น สัมผัสได้อย่างบางเบา ด้วยวิธีอื่นๆ ไม่สามารสสัมผัสด้วย ทวาร ๕ เรียกว่า อรูปอย่างไร ก็ไม่ใช่ธาตุรู้อยู่ดี

              อ.กฤษฎาว่า พลังงานนี่เป็นอรูป แต่มันเป็นอุตุนิยาม อย่างเก่งก็เป็น พีชะนิยาม ก็ยังไม่มีความรู้สึก ก็ไม่มีนาม หรือเช่นพลังงานในตัวเรา ความว่าง อากาศ ก็คืออรูป แต่ในช่องว่างหรืออากาศ ก็มีอะไรซ้อนอยู่ หลายอย่าง เป็นอรูป เช่น เสียง มันไม่มีรูป ให้เห็น แสงก็ตาม มีหลายขนาด ทุกวันนี้คนค้นพบ ไม่กี่แสง เอามาใช้ไม่กี่อย่าง แต่มันไม่เป็นธาตุรู้

              พ่อครูว่า บางอย่างหูเราก็รับสู้หมาไม่ได้ หมามันรับความถี่ได้ ละเอียดกว่าคน หรือแสง สัตว์บางอย่างก็รับได้ แต่คนรับไม่ได้ ซึ่งอรูปพวกนั้น ก็ยังไม่ใช่นาม และนามคืออรูป ไม่มีตัวตนรูปร่างสีสัน ยิ่งกว่าอรูปเหล่านั้นอีก บางเบาใสกว่า แต่ก็มีลักษณะให้รู้ได้
              คำว่า "นามรูป" ...มีคำว่า รูป นาม ...รูปคือสิ่งหยาบที่ถูกรู้ แต่นามธรรมที่ถูกรู้ เราเรียกว่า "นามรูป" นามธรรมคือ ในตัวมันเองมันรู้
              นามรูป อธิบายโดยภาษาว่า
              กาย คือองค์ประชุม ก็สอดคล้องกับท่านอยู่ กายคือองค์รวม แต่ที่คนไทย เข้าใจยาก เพราะกาย เอาไปเรียกคำว่า "ร่างกาย" ก็เลยเข้าใจว่า ร่างกายคือ โครงสร้างข้างนอก มันจะไม่ใช่ข้างใน พอเรียกว่า "ร่างกาย" จะไม่มีธาตุรู้ข้างใน แต่ความจริงคำว่า "กาย" จะหมายถึง นามธาตุมากว่ารูปธาตุ ยกตัวอย่างคำว่า
              "รูปกาย" ซึ่งต่างจากรูปรูป เพราะรูปรูปคือรูป ไม่รู้ตัวเอง มันต้องถูกรู้ มันรู้ตัวเอง หรืออันอื่นไม่ได้ เมื่อถูกรู้ เราก็เรียกว่า รูปรูป แต่ต้องมีธาตุรู้ไปรู้ เราต้องพูดกับคน เพราะพูดกัน รู้เรื่องกว่าสัตว์
              ตัวมันเอง (ที่พ่อครูถืออยู่) คือแก้วมังกร คือรูปรูป แต่ถ้าเราไปรู้มันได้ เรียกว่า รูปกาย คือองค์รวมของกายและจิต คือเวทนาสัญญาสังขารรวมกัน และมีรูปรูปด้วย รวมกันคือ รูปกาย คำว่ารูปกาย คือสิ่งที่ต้องเกี่ยวกระทบ กับสิ่งที่อยู่ภายนอก ต้องมีสัมผัส สัมผัสคือโดยตัวรู้

              อ.กฤษฎาว่า ปากกา เมื่อแกะดู ก็มีองค์ประชุม ประกอบกันเป็นปากกา มันก็คือรูปรูป แต่คนไปกระทบ จึงเรียกองค์รวมมันว่าคือ "รูปกาย"
              แล้ว "รูปกาย" หรือ "นามกาย" ต่างจาก  "นามรูป" อย่างไร?
      นามกายคือองค์ประชุมของนาม และนามรูปก็คือองค์ประชุมของรูป เช่นกัน
              นามกาย ชัดๆแล้วไม่เกี่ยวกับรูปก็ได้ เป็นองค์ประชุมของนาม ล้วนๆ เช่น อรูปข้างใน เอาสัญญา หรือเวทนา มาระลึกถึงได้ โดยไม่ต้องมีการกระทบ ภายนอก
              นามรูป เช่นเสียงมากระทบหู เสียงก็คือรูป มันถูกรู้ หรือกลิ่นมากระทบจมูก แล้วเรารู้ กลิ่นก็คือสิ่งที่ถูกรู้ ลิ้นก็รับรส ดังนั้น รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ภายนอก
              แต่ภายใน ...กายภายนอกพอกระทบ มันก็จะเนื่องต่อมาหาภายใน เป็นสภาวะภายใน ที่จะถูกรู้ได้อีก จึงเรียกว่า อุปาทายรูป แล้วมันจะไป ถูกรู้ภายในต่ออีก
              เช่น เรามองแก้วมังกรสีแดง โอ้โห แจ็ดเตะตาใสๆ คงกรอบอร่อย เรามีอุปาทาน ชอบอยู่บ้าง แม้สัมผัสแล้ว ก็มีภาพในใจ เป็นสังขารชนิดหนึ่ง เป็นการปรุงแต่ง ด้วยรูปและนาม ผสมกับนาม คือจิตวิญญาณเรามีอุปาทาน มันปรุงแล้วก็ว่า น่ากินๆๆ มันสังขารว่าน่ากิน พอคุณกินเข้าไป ก็โอโห ถูกรสนิยม ก็อร่อยจัง ชื่นใจจัง ดีจัง ความชื่นใจชอบใจ คือเวทนา คืออิฏฐารมณ์
              ถ้าคุณไปอ่านความเวทนาหรือชอบใจ มันคือสุขเวทนา คุณก็มีญาณปัญญา ตัวหนึ่ง มาอ่านอาการสุข อาการชื่นใจ และอาการชื่นใจ ก็ถูกรู้ กลายเป็นรูป ซึ่งอาการชื่นใจ เกิดเนื่องจากภายนอกต่อมา จนมันถูกรู้ จนมันมีสังขารปรุงแต่ง เกิดอาการชอบอร่อย เราก็ไปรู้ ความอร่อย ซึ่งความอร่อยนี้ เป็นนามธรรม มันก็ถูกเรารู้ความอร่อย มันก็คือ "นามรูป" คือรูปที่ถูกรู้ มันไม่ขาดจากรูป เราไม่เรียกว่า นามกายแท้ๆ แต่ถ้าคุณไม่เห็นมันแล้ว คุณหลับตา นึกรูปแก้วมังกรให้เห็น มันก็คือ รูปในภพ กำหนดรู้ด้วยสัญญา อันนั้นเป็นนามกายแท้ๆ ไม่เกี่ยวกับภายนอกเลย

              อ.กฤษฎาว่า รูปภายนอก แข็งอ่อนนุ่มร้อนเย็น โลกก็มีสิ่งนี้อยู่ ข้างนอก ร่างกายเรา มีอายตนะไปจับมันได้

              พ่อครูว่า ตัวอายตนะนี่ ไม่ใช่ว่ามันมี พระพุทธเจ้าตรัสว่า อายตนะ ไม่ใช่ธาตุที่มีจริง มันจะเกิดตอน สิ่งสองสิ่งสัมผัสกัน อายตนะจึงเป็นตัวเชื่อม ถ้าไม่เกิด การกระทบสองสิ่ง อายตนะไม่มีที่ไหน ไม่เกิด พอหยุดเชื่อมกันแล้ว มันก็ไม่มีอยู่แล้ว

              อ.กฤษฎาว่า โลกก็มีสรรพสิ่ง ที่มันเป็นรสของมันเอง มันมีความแข็งอ่อนได้ มนุษย์เรา ก็มีเครื่องมือคือ ทวาร ๖ เมื่อเกิดการกระทบ ก็เกิดอายตนะ เชื่อมต่อทันที พอเชื่อมปั๊บ กระบวนการทางจิต ก็เกิดทันที คือเกิดรูปรูป แล้วก็เกิดรูปกาย เนื่องมาเป็น กายในกาย ก่อองค์รวม คือกายในกายครบ เกิด เวทนา สัญญา สังขารมาร่วม มีวิญญาณเกิด

              พ่อครูว่า อย่างในวงจรปฏิจจสมุปบาท จากสังขาร วิญญาณ นามรูป อายตะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา คือเมื่ออวิชชา พอสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว มันจะสังขารทันที ถ้ายังอวิชชา สังขารตัวนี้คือเวทนา คือมันปรุงแต่งทันที เป็นเวทนาคือ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ เมื่อเกิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็คือ เวทนาที่ต่อเนื่อง จากภายนอก ก็คือสังขาร และมันก็คือ รูปกาย แล้วเราก็อ่าน มันอีกที มันก็เป็น นามรูป ก็คือเวทนา มันไม่ได้กลายตัว มันตัวเก่า แต่ว่ามันเป็น อิทัปปัจยตา มนุษย์มีปัญญา แยกแยะละเอียดได้ ต่างจากเดรัจฉาน

              อ.กฤษฎาว่า ถ้าผมมองอยู่แล้วเราปล่อยไหล ตามกระบวนการ ในใจก็คิดว่า มันน่าจะหอมหวาน แล้วเกิดปัญญารู้ว่า เราปรุงแต่งอยู่ มีการสังขารอยู่ เราเริ่มอ่านมันได้ นี่คือ เราอ่านความเป็นไป ภายในได้ พ่อครูพยายาม ให้อ่านนามรูป หรือถ้าเราใจลอยไป แล้วเกิดสะดุ้งทัน แล้วบอกกับตัวเองทัน ว่ากำลังสังขาร ไอ้ที่ถูกเรารู้เท่าทันคือ นามรูป เป็นองค์รวมของนามกาย

              พ่อครูว่า มีละเอียดอีกว่า "นามกาย"กับ"นามรูป" เป็นไวยพจน์กันได้ ระดับหนึ่ง นามรูปที่ถูกรู้ เช่นเวทนาก็เป็นจิต ที่เราพิจารณาจิตใจจิต มันก็ถูกรู้ได้ ถ้าถูกรู้ได้ เรียกว่านามรูป แต่ถ้าจะเรียกว่า นามกายก็ได้ เพราะเป็นองค์ประชุมของนาม รู้จักสิ่งที่ถูกรู้
              ถ้ายังไม่พรากจากสิ่งภายนอก ที่รู้เข้ามาก็คือ เรียกว่า "รูปกาย"
              นามกาย ก็คือสิ่งที่ถูกรู้ได้ เรียกว่า "นามรูป" ได้ แต่ว่านามกายนั้น ไม่ใช่รูป มันตัดจากรูปไปเลย
              อันนั้นคือของแห้ง ไม่ใช่ของสด คนเราจะเกิดสุขเกิดทุกข์จริง มันเกิดที่ของสด เป็นตัวร้าย ของแห้งไม่กระไรหรอก ของแห้งไม่มีอะไรหนัก (ทำเก้าอี้เองยากกว่า ปั้นเก้าอี้ในใจ)
              ถ้าคุณนอนหลับ หรือตายไปแล้ว ไม่มีทวาร ๕ ทำงาน ถ้าคุณมีการปรุงแต่ง เป็นนิยาย สังขารอยู่ภายใน โดยไม่เกี่ยวกับทวารนอก สิ่งเหล่านี้ เป็นของแห้งทั้งนั้น ถ้าคุณตาย คุณยังมีอุปาทานตัณหา ในของสดอยู่ (ในชีวิตคนทั้งหมด ก็อยากเสพของสด ทั้งนั้น จะฝันเอาก็แล้วแต่ แต่ก็อยากของสดอยู่ดี คุณก็ว่ามันไม่จริง แต่ที่กระทบสัมผัส คือของจริงกว่า) คนที่ยึดในสุขทุกข์กับของจริง จึงต้องมาเกิดให้ได้ ต้องมาเอาของจริง!!!

      อ.กฤษฎาว่า เราฝันเห็นผี เราก็อยากหนีผีๆๆๆ แต่พอถึงจุดหนึ่ง เราก็จะรู้ตัวว่า เราฝันไป แล้วตื่นก็โล่ง

              พ่อครูว่า ตอนฝันเรานึกว่าจริงในฝัน คุณไม่รู้ว่าไม่มีจริง ในฝันคุณหลงว่าจริง แต่ถ้าคุณไม่มีอุปาทาน คุณไม่ติดใจนึกถึงมันเลย แต่ถ้าคุณติดใจ ก็นึกถึงมัน ถ้าคุณนานๆไป จนกระทั่งรู้สึกว่า มันไม่เหมือนกันนะ การกระทบสัมผัสแบบตื่น กับแบบปั้นเอา นานแล้วคุณก็จะหยุดวน แต่ถ้าไปนึกคิด เดาเอาไม่ได้
              ถ้าคุณมีอุปาทานยึดติด ว่าต้องได้อย่างนี้ เมื่อคุณตายไป ก็ไม่ได้อย่างที่คุณยึด แต่คุณไม่มีทางได้ อย่างที่คุณยึด ก็จะดิ้นทุรนทุราย ซึ่งดิ้นมากว่า จริงมากกว่า
              อย่างคนติดยา จะเอาให้ได้ จะดิ้นมืดไปหมด  แต่เวลาตายก็อย่างนั้นแหละ มันดำฤษณา และไม่มีอะไร ปลุกให้คุณตื่นเลย อย่างที่หนีผีในฝัน ก็ตื่นมาหายได้ แต่ว่านั่น คุณจะไม่ตื่นเลย แต่แท้จริง มันไม่มีจริงเลย เป็นอุปาทาน ที่ติดในจิตไป
              เอาแค่เป็นอนาคามี คุณเลิกสุขเลิกทุกข์ จากลาภยศกาม จากภายนอก คุณสัมผัสแล้ว ไม่สุขไม่ทุกข์หรือมีเล็กน้อย เป็นรูปราคะอรูปราคะ ถ้าเป็นอนาคามี ที่หมดรูปราคะแล้ว เหลือแต่อรูปราคะ เมื่อกระทบทวาร ๖ ราคะไม่เกิดเลย คุณนอนหลับ ก็ไม่เกิด ตายก็ไม่เกิด คุณก็ไม่ต้องดิ้น ไม่ทุกข์ร้อนดิ้นรน คือนรกกามของคุณ ไม่มีแล้ว ระบบพระพุทธเจ้า ให้มาเรียนตั้งแต่ อบายมุข คือกามภพเบื้องต้น ที่เป็นของหยาบ ของเลว คุณก็จัดการ เมื่อกระทบสัมผัส เช่น คุณติดเหล้าแล้วเลิกได้ คุณจะสัมผัสเหล้า อย่างไร ก็ไม่มีอะไร คุณปรุงมันก็ไม่ขึ้น นั่นแสดงว่า คุณไม่มีโลกไม่มีภพ อาจไม่ถึง อนาคามี แต่จิตของคุณหลุดพ้น ขาดแล้วจากอบายภูมิ
              มันรู้อยู่ว่าภูมิที่เราอยู่กับสิ่งนี้ ชีวิตเราก็อยู่กับกามภพ แต่อบายภพ ก็ซ้อนอยู่ ในกามภพ โสดาบันจะรู้ว่า เราหลุดพ้นจาก ภพอบาย แต่ก่อน เราจมอยู่กับมัน เช่นเหล้า เราก็วนเวียน สุขทุกข์ไม่รู้จบ แต่เมื่อล้างกิเลสได้ กระทบเท่าไหร่ก็เฉย ถ้าต้องใช้เป็นยา เราก็ใช้ได้ เช่นเดียวกับ รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส ในระดับ สกิทาคามีภูมิ ก็ต้องเรียนรู้ ในการเลิกติด ในกามคุณ ๕ แล้วจึงเป็นอนาคามี เหนือชั้นกว่าสกิทาคามี คือคุณเฉยต่อกาม มันไม่เฉยเพราะพักยก อย่างเคหสิตอุเบกขา มันอิ่มแล้วก็พัก เดี๋ยวก็อยากใหม่ แต่นี่เราไม่วนเวียนแล้ว เนกขัมสิตอุเบกขาแล้ว    
              อนาคามีเหลือรูปราคะ ก็ยังระริกระรี้ เสพกามที่เราปั้นมา จนกระทั่งถึง อาทิสมานกาย คือกายที่มองไม่เห็น คือขั้นอรูป คือลึกกว่า ถ้าขั้นรูปราคะ ก็ปั้นเป็นรูป ให้เห็นใจในได้ แต่ขั้นอรูปนั้น ก็เป็นเพียงอาการ นึกมาเสพเมื่อไหร่ก็ได้ เป็นอรูปอัตตา ถ้าไม่ล้าง ก็ติดเสพมันอยู่ แต่ถ้าไม่มีรูปเป็นเรา ไม่มีเราเป็นรูป คือไม่มีตัวตน ที่จะเสพใดๆเลย คือถ้าเอามาเป็นของเรา (โลภ) ถ้าเอามาเสพรส นี่คือ(ราคะ)
              โลภะเอามาเป็นของเรานี่ของหยาบ เราก็ไม่มีแล้ว อนาคามีคือ ไม่ติดในวัตถุ ในโอฬาริกอัตตา ส่วนมโนมยอัตตา คือสำเร็จด้วยจิตของคุณเอง ปั้นเอง ถ้าเป็นรูปอยู่ ก็หยาบ ถ้าบางเบาก็อรูป ถ้ายังเหลือแต่อรูปแล้ว คุณก็เข้าใจอรูปนี้ มันจะไม่เป็นเรา และเราจะไม่เป็นรูป "ไม่ยึดรูปเป็นเรา ไม่ยึดเราเป็นรูป"
              รูปคือสิ่งอาศัย คือสิ่งที่ถูกรู้ หยาบก็ทิ้งมาแล้ว กลางก็ทิ้งมาแล้ว ละเอียด คุณจะเหลือมันไว้ทำไม  สัญญาเราจะกำหนดให้ เราไม่ต้องเอาอรูป มาเป็นเรา ไม่เอาเรา มาเป็นอรูปแล้ว
              คือทำมาจนตัวช้าง ออกจากพวยกาแล้ว เหลือแต่หางเท่านั้น เราจะบ้า ติดมันทำไม จะโง่ทำไม เราทำช้างทั้งตัว ออกมาแล้ว ทำไมเหลือแต่หาง

              อ.กฤษฎาว่า เราต้องเอาช้าง ออกมาจากพวยกา ให้ได้ก่อน อ.กฤษฎาว่า เราต้องเข้าใจ หน้าที่บทบาท สภาวะ เราก็จะเอาช้าง ออกจากพวยกา ผมเหมือนช้าง ที่มีเครื่องทรง จึงออกยาก พวกท่านทำช้างออกจากพวยกา ของหน้าที่ตำแหน่ง

              พ่อครูว่า อัตตะ โบราณาจารย์ ท่านแปลว่า สิ่งที่ถูกยกขึ้นมา หรือว่าสมมุติขึ้น "นิรัตตา" คือสิ่งที่ไม่ถูกยกสมมุติขึ้น คือถูกปฏิเสธ  อย่างที่พ่อครูอธิบาย เขาไม่ยกสมมุติด้วยเลย จึงไม่เจออัตตา
      ตัวเรานี่มันลึกเนียน แต่ของเรานี่ ยังหยาบกว่า
              โอฬาริกอัตตา คือ ร่างกายตัวตน บุคคลเราเขาสิ่งของ เราก็มาล้าง ถ้ารู้ว่า รูปคือ สิ่งที่ถูกรู้ มาเป็นอุปทายรูป ซึ่งธาตุรู้คือนามธรรม ซึ่งต้องมีการศึกษา มีปัญญา อย่างแท้จริง คุณจะใช้นามอยู่สองอย่างคือ สัญญา ซึ่งมีลักษณะสองอย่างคือ ความจำ และ การกำหนดหมายรู้ ไปรู้รูปหรือนามก็ได้
              กำหนดรู้ตั้งแต่หยาบ มาจนละเอียด ตั้งแต่โอฬาริกอัตตา มโนมยอัตตา อรูปอัตตา คือกูเป็นรูป รูปเป็นกู แต่ถ้าเรารู้ด้วยปัญญา เห็นของจริงสดๆ ทุกอย่าง เราก็ทิ้งมา ได้หมดแล้ว ช้างทั้งตัว ดันจะมายึดอรูป หางช้างสุดท้าย จะเอามาติดพวยกา ก็โง่ไปเถอะ ถ้าปัญญาเกิดจริงเป็นจริง ก็จะปล่อยได้
              คนที่จะมีอาการเสพเสวยเป็นสุขเป็นทุกข์ มันเป็นการเสวยสัมผัสเสพ คุณจะมีปัญญา รู้การเสพ ตั้งแต่ของหยาบ ของกลาง แล้วของละเอียด คุณก็จะรู้ ควรละอาย หรือไม่ละอาย แต่คนเหล่านี้ จะหมดสิ้นหิริโอตตัปปะ คุณก็ต้องทำ เพื่อให้หลุดพ้น แต่จะไม่เป็นพิษภัย กับใครแล้ว

              อ.กฤษฎาว่าเราจะทำหิริโอตตัปปะอย่างไร

              พ่อครูว่ามันจะค่อยเกิดจากหยาบไปละเอียด ต้องพิจารณาให้มาก ให้บ่อย ถ้าให้มันหน่อยๆ ก็ไม่หมดซักที ไม่หมดสิ้น ถ้าคุณหมดสิ้นแล้ว หรือมีนิดหน่อย ก็ไม่มีภัยกับใคร เป็นภัยกับตนเท่านั้น

              โสดาบันเมื่อหลุดพ้น จะมีหิริโอตัปปะเกิดเอง ของหยาบเราหลุดแล้ว ถ้าไปละเมิด พระพุทธเจ้าว่าเหมือนเด็กไปจับไฟ จะรีบถอยเลย ถ้าเราละเมิด จะรีบแก้กลับเลย

              อ.กฤษฎาว่าพระอรหันต์หมดหิริโอตตัปปะ?

              พ่อครูว่า ถ้าลึกแล้วเป็นอรูปแล้ว คุณไม่กวนใครแล้ว คุณก็จะรู้เองว่า คุณเสพรสเอง คุณก็จะระลึก สำนึกของคุณเอง เพราะคุณเลิกลดละ รสจัดจ้านแล้ว ภาษาคือ คุณสำเร็จความใคร่ ด้วยจินตนาการ แล้วรสที่คุณได้บำเรอ ความใคร่อยาก แค่จินตนาการ ปัญญาคุณจะรู้เลยว่า จะบ้าหรือ คุณทิ้งรสหยาบมาแล้ว รสจัดมาแล้ว แล้วรสแค่นี้ คุณจะไม่เลิกได้หรือ จะเป็นหางช้าง ติดพวยกา จะสำนึก จะเห็นจริงว่า มันไม่มีอะไร ทุกอย่างมันไม่มีอะไร คุณหลงเสพอารมณ์รส ลมๆแล้งๆไปเท่านั้นเอง ถ้าคุณเอง จะเสพบ้าง แต่ก็เรียนรู้ข้างนอก ว่าคนหน้าอย่างคุณ ก็ไม่ต้องแย่ง โลกธรรม แม้มานะ ความรู้ของกู ใครจะมาแย้งไม่ได้ คุณจะเกิดทุกข์ ก็จะลดมานะ เมื่อมานะก็ไม่มี โลกธรรมก็ไม่มี คุณจะเสพลมแล้งไป คุณก็ช่วยสังคมไปก็เถอะ อนาคามี จะไม่มีภัยกับใคร ก็จะมีแต่มานะ จะแข็ง แต่ไม่มีภัยกับใคร เราก็จะสำนึกลดมานะ ลดมานะได้ ก็จะมีอุทธัจจะ ระริกระลี้ ท่านเรียกว่าเป็น สุขุมสัจจสัญญา ต้องกำหนดรู้ สัจจะสัญญา คือความจริงขั้นละเอียด
              ต้องพิจารณาคำว่า "สกสัญญา" สก คือแปลว่าตัวเองหรือ "กู"
              สกสัญญา เป็นสุขุมสัจจสัญญา คือสัญญาที่ละเอียดยิ่งแล้ว (ท่านแปลจาก บาลี มาในพระไตรปิฎก ฟังแล้วจะเมาหมัดเลย) ซึ่งพ่อครูว่า ต้องเท้าความว่า สัญญานี้ ต้องมีเหตุ อย่างน้อย ต้องเอาสัญญามาคิดเอง แต่จะยาก คุณต้องมีสัมผัส กับมหาภูตรูป ก็มีสัญญาเกิด และตั้งอยู่และดับไป ก็เป็นธรรมชาติธรรมดา แต่พระพุทธเจ้าว่า สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้น เพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่ง ต้องดับไป เพราะการศึกษา เป็นการกำหนดรู้สัญญา ขั้นละเอียดสุด คือ สุขุมสัจจสัญญา

              ในมูลสูตร อธิบาย
๑.มีฉันทะ เป็นมูล-รากเหง้า (มูลกา) เช่นคนฟังธรรมพ่อครูเข้าใจดี ก็มีฉันทะ แต่คน พอมีปฏิภาน แม้ไม่เข้าใจแต่รู้ว่าดี น่าได้น่ารู้น่าเป็น ก็จะมีฉันทะ แต่คนลบหลู่ไม่เข้าใจ แล้วก็ไม่ยินดี คนนี้ไม่ได้อะไร แต่ถ้ามีฉันทะจะได้ข้อต่อไป
๒.มีมนสิการ เป็นแดนเกิด (สัมภวะ) สัญญาเกิด เพราะการศึกษาเกิดที่ใจ ทำที่ใจ ทำตรงนี้แหละเป็นที่เกิด คือคุณต้อง ทำการตาย ทำตัวโง่หรืออวิชชาให้ตายไป คุณก็เกิดไปเรื่อยๆ
๓.มีผัสสะ เป็นเหตุเกิด (สมุทัย) . . . วิธีให้เกิด ต้องมีผัสสะเป็นสมุทัยให้เกิดเสมอ ภาคปฏิบัติ มีผัสสะเป็นสมุทัย คนที่เอาแต่นั่งหลับตา ฟุ้งอยู่กับอารมณ์ เอาแต่ของแห้ง มาเคี้ยว ก็ไม่มีเหตุให้บรรลุได้
๔.มีเวทนา เป็นที่ประชุมลง (สโมสรณา) เมื่อมีผัสสะ จึงจะเรียนเวทนาได้ เป็นที่ประชุม ของทุกอย่าง สังขารนี่แหละ คือตัวเวทนา จากเวทนาก็ต้องค้นเหตุ ที่เกิดสุขเกิดทุกข์ ก็คือเวทนา ให้เป็นอุเบกขา เป็นฐานนิพพาน เกิดนิโรธ อยู่ที่อุเบกขา พอได้ก็สะสมนิโรธ เป็นการสั่งสมสมาธิ ให้จิตบรรลุผล สั่งสมเป็น อเนญชาภิสังขาร คือผ่าน อปุญญาภิสังขารแล้ว สั่งสมเป็น
๕.มีสมาธิ เป็นประมุข (ปมุขะ) จิตตกผลึกแข็งแรง เป็นมัชฌิมา มีสังขารุเปกขาญาณ เป็นประโยชน์ต่อโลกขึ้นๆ
๖.  มีสติ เป็นใหญ่ (อธิปไตย = พลังอำนาจ) ก็จะแข็งแรงขึ้นๆ
๗.  มีปัญญา เป็นยิ่ง (อุตระ = เหนือ) .
๘.  มีวิมุติ เป็นแก่น (สาระ) . สุดยอดที่จะรู้ยิ่ง
๙.  มีอมตะ เป็นที่หยั่งลง (โอคธา) สั่งสมจาก ๘ ข้อ หยั่งลงเป็นธาตุ ที่ยิ่งใหญ่ เป็นอมตบุคคล แต่ยังไม่จบ ผู้อมตบุคคล มีนิพพานแล้วตามลำดับ แต่ยังไม่จบรอบ ยังเหลืออยู่ เป็นโพธิสัตว์ จะเกิดอีก ก็มีแต่กุศล
๑๐. มีนิพพาน เป็นที่สุด (ปริโยสาน) จนกว่าจะปรินิพพานในที่สุด จะเกิดเป็นโพธิสัตว์ อีกเท่าไหร่ก็ได้
              อ.กฤษฎาสรุป วันนี้อยากบอกว่า เป็นการอธิบาย ให้ชัดเจน ละเอียดมากขึ้น ในการรู้จัก ตัวตนของเรา ต้องรู้รูปและนาม ซึ่งพระพุทธเจ้า ท่านบอกให้รู้ว่า เราจะรู้จักโลก และอยู่กับโลกอย่างไร และเราจะหลุดพ้น จากโลกได้อย่างไร เราต้องทำการศึกษา ให้ละเอียด ในตัวตนให้มาก เป็นสัจจภาวะ ทั้งภายนอก และภายใน

...จบ

              

 
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานสันติอโศก