560627_รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อครู
เรื่อง สมาธิพุทธขั้นอัปปนาไม่มีเวลาถอยกลับ

                พ่อครูเปิดรายการที่ห้องกันเกราสันติฯ...

                วันนี้จะได้บรรยาย sms ที่ค้างคำตอบไว้ ซึ่งเขา sms มาว่า
พระพุทธเจ้าสอน ให้วิปัสสนาที่ อุปจารสมาธิ เพราะที่อัปปนาสมาธิ จิตตกผลึกแล้ว

                พ่อครูว่า คำว่าอัปปนา แปลว่าแน่วแน่ เป็นสมาธิเต็มรูป ซึ่งสมาธิจะสั่งสมเป็น อัปปนาได้นั้น อยู่ในมหาจัตตารีสกสูตร ก็มีในเรื่ององค์คุณของ สังกัปปะ ๗  มีการได้สั่งสม อัปปนา (แน่วแน่) พยัปปนา (แนบแน่น) เจตโส อภินิโรปนา (ปักมั่น) เป็นการเสริมพลังของจิต
                จิตที่จะเกิดและสั่งสม จะไม่มีการถอนออกและถอนเข้า ซึ่งต่างจากสมาธิ นั่งหลับตา แบบที่เขาทำกันทั่วไป และก็บอกว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิสุดท้าย ที่ตกภวังค์ ก็ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น อย่าให้มันดับตกภวังค์ คิดนึกอะไรไม่ได้ ซึ่งไม่ใช่สภาวะ ที่เป็นแบบพุทธ
                คำว่าอุปจาระ พระพุทธเจ้าท่านใช้ ในบริบทของอย่างอื่น ไม่ใช่สมาธิ เช่น เดินเข้าใกล้หมู่บ้าน เป็นต้น แต่คำว่าอุปจารสมาธิ คือเข้าใกล้ความเป็นสมาธิ ต่างหาก
                อัปปนาคือแน่วแน่ ไม่ถอยแล้ว และจะเป็น พยัปปนา เป็นความแนบแน่น และเจตโส อภินิโรปนา ทั้งสามอย่าง เป็นคุณสมบัติเชิงเจโต ของพระพุทธเจ้า
                สายหลับตานั่งสมาธิ จะเป็นแบบที่นั่งเข้าไปแล้ว จะค่อยๆทำจิตให้นิ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน และต้องพยายามรู้ว่านี่ฟุ้งอย่างกาม นี่เรียกว่า พยาบาท นี่เรียกว่า ถีนมิทธะ ก็พยายาม ให้มีสติเต็ม บางอาจารย์ ก็ไม่ค่อยอธิบายรายละเอียด จิตฟุ้งซ่าน ก็จะไม่ค่อยรู้จัก อาการ ลิงค นิมิต ของกามกับพยาบาท แต่ถีนมิทธะรู้ง่าย ส่วนฟุ้งซ่าน ก็รู้ง่าย
                พ่อครูว่า จริงๆควรนั่ง แต่ก็ต้องรู้นัยของการนั่ง ไม่ได้ตีทิ้ง แต่ใช้เป็นอุปการะ ภายหลังภัตร ให้นั่งตั้งกายตรง ดำรงสติคงมั่น  แล้วนั่งเตวิโช
                ของแบบนั่งหลับตา เมื่อนั่งนิ่ง จิตก็ดิ่งเข้าไปในภวังค์ นั่นคืออัปปนา และเมื่อดับ ก็เป็นนิโรธ หรือจะเรียกว่า อุเบกขา จิตเป็นหนึ่งอย่างยิ่ง ก็เฉยเด๋อ อย่างเดียว ไม่เป็นอากาสาฯ วิญญานัญจา ฯ อาจมีแสงสีบ้าง แต่ก็อ่านว่า จิตนั้นไม่มีกาม ไม่มีพยาบาท มาแทรกนะ แต่ก็เห็นสภาพแค่ในภวังค์ มีสติชัดเจนอยู่ ก็ว่างๆ แต่ถ้าจะข้ามตรงนี้ ไปเป็นอากาสาฯ นั้น ก็ยังมีบรรยากาศของอากาศอยู่ แต่พอจะเข้า อากาสาฯ ก็จะไปจากความแน่น ความหนัก ไปสู่ความเบา เราจะรู้สึกว่า เราหลุดจาก รูปฌาน ไปสู่อรูปฌาน หลุดปึ๊งไปเลย จะรู้สึกสว่างว่าง ไม่มีที่สิ้นสุด อนันโต อากาโสติ เป็นอาภัสรา แต่เราจะเป็นความว่าง จะไม่รู้ตัวเอง แต่ทำหลายที ก็จะรู้ตัว แต่ตอนว่าง จะแค่เสพเสวยความว่าง แต่พอรู้ตัวได้ เราก็จะเป็นอีกภพหนึ่ง มีวิญญาณคือธาตุรู้ เรียก วิญญานัญจายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๒ แต่ก็เขาเรียนมาว่า ต้องดับให้หมด ดับทั้งสัญญา และเวทนา จึงตั้งจิตดับอีก ก็เป็นอากิญจัญญายตนะฌาน ก็ดับอีก ไม่ให้มี แม้น้อยแม้นิด และเมื่อรู้ว่า มันยังมี ก็ดับไปอีก เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อีก
                แต่ของพุทธจะมีฌาน อย่างฌานที่ ๑ ก็มี วิตก วิจาร จารคือพฤติกรรมของจิต เมื่อจิตเริ่มดำริ จิตก็มีพฤติกรรมมีจาร คือมีอาการ ลิงค นิมิต ซึ่งของพุทธ ก็จะพิจารณา ตักกะ วิตักกะ วิจัยอ่านให้ออก ว่ามีกามหรือพยาบาท อยู่ในจิตหรือไม่ แต่ตอนแรก ที่เรามี เราทำให้มันหมดได้ ด้วยวิธีใด เป็นวิกขัมภนปกาน (กดข่มอย่างฤาษี) หรือว่า ทำแบบวิปัสสนา
                อย่างฤาษีนั้นทำอย่างของแห้ง ไม่ใช่ของแท้ ไม่เหมือนศาสนาพระพุทธเจ้า ให้ทำวิตกวิจาร กันเดี๋ยวนี้เลย ที่มีอาการจิตมีกิเลส เรียกว่า สัญญาอย่างเดียวกัน แต่กายต่างกัน เป็นวิญญาณฐีติ ข้อที่ ๒ คือไม่มีนิวรณ์เหมือนกัน แต่องค์ประชุม ของกายของจิต ก็ต่างกัน
                ส่วนวิญญาณฐีตินั้น ไปสู่อรูปฌานแล้ว เมื่อผู้ที่ยังไม่เข้าใจ อย่างสัมมาทิฏฐิ ก็จะทำได้แค่นี้ คือตกนิโรธแบบดับ มันมีสองอย่างก็คือ "ถ้าไม่หลับก็ดับ" คือถ้าดับ ก็สติเต็มแต่ไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าหลับนี่ ร่างกายจะปล่อย โงกไปเลย ง่อยไปเลย ดีไม่ดี น้ำลาย ไหลย้อย แต่ถ้าดับนี่จะแข็ง ยิ่งอัปปนามากเท่าใด จะยิ่งแข็งเป๋งเลย พูดยกตัวอย่างก็ได้ เช่น ในสำนักของ อาจารย์ท่านหนึ่ง (อ.แป้น) มีแม่ชีท่านหนึ่ง ที่อาจารย์ท่านนี้ ยกย่องว่า ชาติก่อนเป็นลิง พ่อครูก็ไปเห็นแม่ชี นั่งคอตก น้ำลายไหลย้อยเลย หรือ อ.แป้น พอนั่งสมาธิไป ก็แอบเอาขนมในย่าม มาใส่ปากเคี้ยว
                การจะได้อัปปนาสมาธิ ต้องมีสติเต็ม ต้องเข้าใจว่า กามและพยาบาท เป็นอย่างไร ถ้าฌาน ๑ มีวิตกวิจาร ก็ยังยากที่จะควบคุม เหมือนการหัดขับ รถจักรยาน ก็จะเคร่งคุมลำบาก จนผ่านความลำบากไป ก็จะง่ายเบาขึ้น ก็มีปีติ แต่ต่อมาก็ให้ลดปีติ ก็เป็นสุข เป็นฌานที่ ๓ ซึ่งจะมีกายต่างกัน ระหว่างฤาษีกับพุทธ
                เราต้องอ่านรสของความสงบ ว่าเป็นอย่างไร อย่างของฤาษี ถ้าทำให้เป็นหนึ่ง เข้าไปอีก ถ้าไม่พยายามทำให้สว่าง เป็นอรูปฌาน มันก็จะดับ คือนิโรธฤาษี ซึ่งแบบฤาษี ถ้าจะดับ ก็ไม่ต้องไปอรูปฌาน ก็ดับได้ เอาแค่รูปฌานก็ดับได้แล้ว เขาถึงบอกว่า ให้ถอยมาสู่ อัปปนาสมาธิ แล้วก็จะเอาจิตที่สงบ ไปใช้นึกคิด ก็จะเข้าใจได้ดี เพราะไม่ฟุ้งไปไหน เป็นหนึ่ง ก็จำได้ดี ระลึกได้ดี คิดได้ดีวิเศษ ก็หลงว่านี่คือปัญญา ก็ถือว่า อันนี้เป็นปัญญา จะเกิดเองเป็นเอง ซึ่งพ่อครูไม่ได้สงสัยเลย ซึ่งพ่อครูทุกวันนี้ ก็อาศัยอยู่เลย พ่อครูเรียกว่า การคุยกับเทวดา ผู้ที่ทำสมาธิแบบนี้ได้ เมื่อไหร่ ก็ไม่มีนิวรณ์ได้ ก็ไม่ไปปรุงแต่งอย่างอื่น ก็คือคุยกับเทวดา ระลึกถึงธรรมะ
                ปัญญาของใครรู้เท่าไหร่ ก็เอาของตนเอง มาระลึกได้ เราอาจลืมไปนาน ก็ระลึก ขึ้นมาได้ หรือจะขบคิด จนเกิดความวิเศษ ก็คือปัญญา แต่ปัญญานี้ ไม่ใช่อย่างเดียวกับปัญญา ที่เกิดทำขณะลืมตา ไม่ใช่เป้าหมายของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ปัญญาที่เกิดโดย โสฬสญาณ หรือ ญาณ ๑๖
๔. (๑)อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิด - ความเสื่อมไปของกิเลส ของชาติ เวทนาสุขทุกข์
๕.(๒)ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความสลายไป ของสังขารธรรม -ตัณหาปรุงแต่งทั้งหลาย .
๖.(๓)ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันเพ่งเห็น กิเลสสังขาร  เป็นภัยอันน่ากลัว.. เพราะล้วนแต่ ต้องสลายไป 
๗.(๔)อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ . ต่อเนื่องมาจาก การเห็นภัย
๘.(๕)นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณเห็นความน่าเบื่อ-หน่ายในกิเลส  เพราะสำนึก เห็นทั้งโทษและภัย . .
๙.(๖)มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณรู้เห็นการเปลื้อง ปล่อยไปเสียจากโทษ-ภัยเหล่านั้น . (อตัมมยตา)
                จะเกิดญาณปัญญา  ขณะสัมผัสอยู่หลัดลืมตา เปิดรับผัสสะนี่แหละ ซึ่งต้องมี รูปและนาม และในนาม พระพุทธเจ้าก็แจกเป็น เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ มีครบครันเลย แต่อย่างแบบเข้าภวังค์ จะไม่ครบอย่างนี้เลย มีแต่ในวงแคบ มีมนายตนะ กับ ธรรมายตนะเท่านั้น ไม่มีอายตนะ ไม่มีองค์ประชุมของนาม คือรูปรูปัง มาร่วม
                ยกตัวอย่าง มังคุดตรงหน้าโต๊ะพ่อครู มังคุดมันไม่รับรู้ได้โดยตัวมัน มันมีแต่รูป เป็นมหาภูตรูป ไม่มีอุปาทายรูป มันเป็นสังขาร ที่ไม่มีวิญญาณครอง เป็นแต่มังคุด จึงไม่มี "กาย" ไม่มี "รูปกาย" ที่มีองค์ประชุม ของงานมารับรู้ ผู้ที่รู้ไม่ชัด จะกำหนดไม่ชัด ในกายในสัญญา ก็สัญญาวิปลาส แน่นอน
                มาอธิบายแบบพุทธชัดๆ ... เมื่อเรามีผัสสะ ๖ มีเวทนา ๖ เกิด เมื่อเรารู้นามรูป ซึ่งวิญญาณคือ องค์รวม  วิญญาณ ๖ หมายเอาธาตุที่มี ทวาร ๖ กระทบสัมผัส แล้วเราก็แยก นาม-รูปออก มีนามปริจเฉทญาณ สามารถอ่านรูป อ่านนามได้ อย่าไปเข้าใจว่า ทุกอย่างมีแต่นามรูป ใครเห็นได้เช่นนี้ก็พ้นแล้ว ไม่ต่อเลย ก็ได้แต่สมถะ โดยมีคาถาแค่ว่า ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป ก็มีแต่ธรรมเท่านั้นที่อยู่ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ก็เป็นแค่ตรรกะ เท่านั้น
                ของพระพุทธเจ้าจะมีครบทุกทวาร เมื่อตากระทบรูป เราก็รู้เข้าไปข้างใน ก็เรียกว่า "นามรูป" พิจารณาถึงภาพที่อยู่ข้างใน และก็มีการปรุงแต่ง (สังขาร) ถ้ามีกาม มีพยาบาท มาปรุงร่วมด้วย ก็มีสังขาร ที่จริงมันคืออารมณ์ หรือความรู้สึก หรือเวทนา ที่มันเกิดจากสังขาร อย่างอวิชชา เป็นความชอบใจ ไม่ชอบใจ ชอบตรงไหน ในรายละเอียด                
                สรุปแล้วเราจะชอบอะไร เนื้อแท้มันคืออะไร เราอยากได้มาเป็นของเรา คือโลภ อยากได้มาเสพรส ก็คือราคะ แต่ไม่อยากได้ผลักไป ก็คือโทสะ คุณก็เป็นกิเลสแท้ และพิจารณาเห็นว่า มันไม่เที่ยง เราไปติดตรงไหน ในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส มันเป็นเพียงเปลือก เท่านั้น ถ้าคุณจะเอามังคุด คุณก็มองทะลุไปถึงอาหาร ที่อยู่ภายใน ผ่านรูปรส กลิ่นเสียงที่คุณติด ก็รู้ว่ามันมีสารอาหารอะไรที่จำเป็น
                แต่ถ้าคุณอุปาทานว่าต้องได้ตามสเปค ก็มีสุขมีทุกข์ คุณก็ยึดมั่นถือมั่นว่า จะต้องเอา ตามสเปค นั่นคือ รายละเอียด ที่เราต้องพิจารณาจริงๆ เราเห็นเลยว่า มันไม่เป็นเนื้อแท้ ที่จำเป็น ส่วนอื่นมันเป็นส่วนเกิน ไม่จำเป็น ไม่ต้องมีก็ได้ ถ้าจะมี ก็มีสาระของมัน แก่นของมัน แต่คุณไม่เอาแก่น คุณไปเอาอื่น ๆ
                ส่วนสมาธินั้น เกิดหลังฌานหลังนิโรธ ส่วนฤาษีเกิดสมาธิ ก่อนฌานก่อนนิโรธ
                เขาสับสนว่า เขาต้องทำ อุปจารสมาธิก่อน คือเข้าใกล้ฌาน แต่พอเป็น อัปปนาสมาธิ เขาว่าคือฌาน
                แต่ที่จริง ฌานเป็นเบื้องต้น ฌานคือการเผากิเลส เมื่อทำฌาน ๑-๔ จิตก็จะเป็น สมาธิ เมื่อจิตเข้ามรรคผล ทำเนกขัมมสิตะ ก็เป็นการเจริญของจิต ตามเจโตปริยญาณ ๑๖ เมื่อขั้นปลาย ก็เป็นสมาหิตัง เป็นวิมุติ  เป็นคุณสมบัติของจิตที่แบบพุทธ จิตนิโรธ ยิ่งสว่าง จิตนิโรธ ยิ่งไม่ถอย จิตยิ่งเจริญสู่ปรโลก สัมปรายภูมิ คือเจริญสู่โลกหน้า เป็นโลกโลกุตระ ไม่ต้องถอยลงสู่ อุปจารสมาธิ แต่อย่างใด
        ซึ่งความรู้เขาเพี้ยนไปหมดแล้ว ก็ขออภัยที่ต้องชี้ อย่างเช่น คำว่า  สัคคะกายะ เขาแปลว่า  การประชุมบนสวรรค์ หรือการประชุมของเทวดา เขาไม่เข้าใจ บุคคลาธิษฐาน ธรรมาธิษฐาน เขาก็ไม่รู้สัคคะในกาม ในเทวดา เขาไม่รู้ในปรมัตถ์ จึงพูดเป็นตัวเป็นตนอย่างนั้น ไม่ใช่ปรมัตถธรรม

                ต่อไปเป็นการตอบประเด็น

  • การละมิจฉาทิฏฐิ ทำไมไม่ละด้วยการศึกษาสัมมาทิฏฐิ แต่ทำไมบอกว่า ละด้วยเห็นความไม่เที่ยง

ตอบ... พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในประไตรฯว่า บุคคลรู้เห็นอายตนะ๑๒  รู้เห็นวิญญาณ ๖  รู้เห็นสัมผัส ๖  รู้เห็นเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทั้ง ๖ เป็นปัจจัย  รู้โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง (อนิจจโต)  จึงละมิจฉาทิฏฐิได้
        บุคคลรู้เห็นอายตนะ๑๒  รู้เห็นวิญญาณ ๖  รู้เห็นสัมผัส ๖  รู้เห็นเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทั้ง ๖ เป็นปัจจัย  รู้โดย ความเป็นทุกข์ (ทุกขโต)  จึงละสักกายทิฏฐิได้
        บุคคลรู้เห็นอายตนะ๑๒  รู้เห็นวิญญาณ ๖  รู้เห็นสัมผัส ๖  รู้เห็นเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทั้ง ๖ เป็นปัจจัย  รู้โดย ความเป็นของไม่ใช่ตัวตน (อนัตตโต) จึงละอัตตานุทิฏฐิได้
        ซึ่ง ตัวนี้คือตัวปฏิบัติ ส่วนสัมมาทิฏฐิคือ ความรู้ความเห็น ความเข้าใจเท่านั้น ซึ่งมิจฉาคือไม่มีผล ในมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ และมีผลอย่างไร ในสัมมาทิฏฐิ คือต้องศึกษาอันนี้ ให้เข้าใจก่อน ส่วนการปฏิบัติ เป็นส่วนตน คุณจะพ้นโดยการปฏิบัติ ก็ต้องเห็น ความไม่เที่ยง ในสักกายะของตนเอง
        ถ้าปริยัติ ๑๐ ข้อนี้ ไม่รู้ก็ปฏิบัติไม่ได้ ถ้ารู้เข้าใจแล้วไปปฏิบัติ อย่างมีผัสสะ ๖ ก็เห็นกิเลสว่า มันไม่เที่ยง แต่ยังไม่ได้ละกิเลส คือเข้าถึงปรมัตถ์ เห็น เวทนาไม่เที่ยง กิเลสไม่เที่ยง และสักกายะทิฏฐิ ต้องอ่านพิจารณาเข้าไปถึงสักกายะ คือองค์ประชุม ของตน แล้วเห็นด้วยความเป็นทุกข์ คือคุณจับเจตสิก ตัวสักกายะได้แล้ว และเห็นเป็นเหตุแห่งทุกข์ ก็ลดละไปได้เรื่อยๆ พ้นศีลพตปรามาส ก็ลดอัตตาไปเรื่อยๆ
        ส่วนอัตตานุทิฏฐิ คืออัตตาคือองค์รวมของตัวตนของเรา ส่วนสักกายะ คือองค์ประชุม ของตนเองแล้ว เฉพาะตนที่รู้ได้แล้ว

  • สมมุติตสัจจะไม่ตรงกัน ดีชั่วไม่ตรงกันใช่ไหม

ตอบ..สมมุติสัจจะย่อมไม่เหมือนกันในแต่ละคน ตรงกันก็ได้ บางคนก็บอกว่ารวยดี เราก็บอกว่าจนดี บางคนก็บอกว่า โกงจนรวยดี แต่พวกเราก็บอกว่า ไม่โกงไม่รวยดีกว่า ก็อยู่ที่คนเห็น ไม่เหมือนกัน ทุกวันนี้ คนไม่กลัวบาปบุญคุณโทษแล้ว โกหกกันอยู่ ทุกวันนี้ สุดจะ..

  • จะรู้ได้อย่างไรว่าต้องมาเกิดแล้วนะ เหมาะสมที่จะมาเกิดแล้วนะ  ในเมื่อไม่มีร่างกาย จิตไม่มีที่อยู่  ไม่มีสรีระ ให้นึกคิดให้รู้ แล้วรู้ว่าต้องมาเกิดแล้วนะ ต้องหยั่งลง ในยุคนี้แล้วนะ ได้อย่างไร

ตอบ...ก็มีพระพุทธเจ้าที่จะมาเกิด โพธิสัตว์ ขนาดหนึ่ง ก็ตั้งจิตมาเกิดได้ระดับหนึ่ง นอกจาก วิบากน้อยจริงๆ มีเหตุปัจจัยครบจริงๆจะมาได้ พระพุทธเจ้า ก็เหตุปัจจัย ครบพร้อมแล้ว มาเกิด ท่านก็ยังไม่มั่นใจเลยว่าจะเป็น แม้มีคนทำนาย แต่ลึกๆ ท่านก็ต้องมั่นใจ แต่พอออกบวชได้ถึงเวลา ท่านก็ตรัสรู้ได้ คืออธิบายว่า ตั้งแต่เริ่มเกิดมา ท่านก็ยังไม่รู้ว่า ท่านเป็นพระพุทธเจ้า แต่ว่าเมื่อต่อไป ถึงพุทธการกธรรม ก็ประกาศเป็น พระพุทธเจ้าได้ ดังนั้นที่ถามมา ก็อธิบายให้ฟังว่า ..คนตายไปแล้ว ที่คุณบอกว่า ไม่มีร่างกาย ไม่มีทวาร ๕ แล้วคุณลองเทียบกับ ตอนนอนหลับ คุณก็ไม่มีทวาร ๕ รับรู้ คุณก็ไม่รู้ว่า คุณหลับ นึกว่าเราไปในเรื่องที่เราฝัน ซึ่งตายไปแล้วก็อย่างนั้น แต่จริงกว่านั้น เพราะทิ้งกายเหลือแต่จิต จึงจริงกว่า จะมีนรกสวรรค์ อย่างในฝัน ก็มีจริงในจิต นรกสวรรค์ตอนตาย จึงจริงกว่าตอนเป็น แล้วก็ไม่รู้ว่า ตนเป็นหรือตาย ส่วนมากพระพุทธเจ้าว่า คนตายไป ลงนรกมากกว่าสวรรค์ เพราะคนเรา มีอุปาทานมาก กันแทบทุกคน ซึ่งคนที่จะหมดได้ก็คือ อย่างน้อยอนาคามี ที่จะไม่หลงไปกับ กามคุณแล้ว แต่ส่วนใหญ่ ยังติดกามคุณ ตายไปก็ต้องอยาก อย่างตอนเป็น คุณก็ดิ้นไป ยิ่งกว่า คนเสี้ยนยา ยิ่งดิ้นไปนานเข้า ก็ว่าทำไมมันไม่ได้ซะที ซึ่งอย่าไปคิดเลยว่า คุณจะกำหนดให้เกิดที่ไหนได้ ต้องให้คุณหยุดฝัน ให้ได้ก่อนเถอะ  อย่าไปคิดว่า จะต้องเกิด หรือไม่เกิด ทำเหตุปัจจัยให้ได้เถอะ แม้พระพุทธเจ้าเกิดมา ก็ไม่รู้ว่าเป็น พระพุทธเจ้า หรือพ่อครูก็เกิดมา ก็ไม่รู้ว่าเป็นโพธิสัตว์ ก็เป็นลิงลมอมข้าวพอง ต่อมาก็รู้ตัว และมีภูมิ พอมีภูมิ ก็เขียนหนังสือ คนคืออะไร?เลย

  • มนุษย์ประกอบด้วยองค์ประชุมของขันธ์ ๕ จิตวิญญาณจึงเกิดการรับรู้ เมื่อตายไป จิตเป็นพลังงาน มีอนุภาคเล็กที่สุด  ขาดขันธ์ ๕ จิตยังรับรู้ได้อย่างไร

ตอบ... คือมันฝัน ไม่รับรู้ ไม่รู้ตัว มันไปเดี่ยวมาเดี่ยว ไม่เกี่ยวกับใคร อย่าไปเดาว่า ตายไป พบบรรพบุรุษ นั่นคือ เหมือนเราฝันไป เราปั้นเอง เป็นนิยายของเราเอง แต่ความจริง มันไปเดี่ยวมาเดี่ยว ไม่เกี่ยวกับใคร เราจะไม่รู้ว่า ตนเองตาย ก็จะเพ้อพกไป ตายไป ก็จมอยู่กับวิบาก ที่พาทุกข์ร้อน เป็นเรื่องจริงกว่าตอนเป็น นับวันเวลาไม่ได้ มันนานมากๆ อย่างคนเราเกิดมา ใน ๑๐๐ ปีนั้นว่าเยอะแล้ว แต่ที่จริง มากกว่านั้น

  • วิญญาณฐีติ ในสัตตาวาส ข้อที่ ๕ เป็นจิตปรุงแต่ง ความว่างก็ยึดอยู่เป็น มโนมยอัตตา ใช่ไหม

ตอบ.. .วิญญาณฐีติ ข้อ ๕ เป็นอสัญญีสัตว์ ถ้าทำแบบนั่งสมาธิ ก็เป็นกิเลสที่สร้างเอง ไม่ได้ล้างกิเลส แม้โอฬาริกอัตตา และเป็นมโนมยอัตตา ซึ่งอัตตาที่ปั้น คือความว่าง ไปติดสว่างว่าง คืออาภัสสรา

  • วิญญาณฐีติ คือคนเราไปเป็นได้อย่างไร

ตอบ... มนุษย์ทุกคน ที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมให้สะอาด ก็ไม่เป็นสัตตาวาส ไม่เป็นวิญญาณฐีติ ส่วนผู้ที่ไม่ปฏิบัติธรรม ก็เป็นสัตตาวาส ข้อที่ ๑ อันเดียว คือปุถุชน ส่วนข้อที่ ๒ นั้น ก็คือผู้ที่เริ่มปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ข้อที่ ๒ คือกายต่างกัน สัญญาต่างกัน คือพวกมีฌานที่ ๑ เป็นต้น

  • กามาวจรเป็นบทบาทของเวทนา ในผู้ที่ยังมีกาม หรือผู้ที่หมดกาม

ตอบ ..กามาวจร เป็นบทบาทของผู้มีกามก็ใช่ และผู้ที่ไม่มีกามก็ใช่ อย่างอนาคามี ก็อยู่ดำเนิน ในภพกาม ไม่หนี แต่ท่านก็ไม่มีกามตัณหา ไม่มีกามานุสัย ส่วนฤาษี ปิดกามาวจร ไม่ได้เรียน ไปนั่งหลับตาเข้าภพ แต่กายสักขีก็เรียนบ้าง แต่ก็ไม่ครบหมด พระพุทธเจ้า ไม่รับเป็นอรหันต์ ต้องสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ครบทวาร จึงเป็นอรหันต์ได้

  • อารมณ์นิพพานเป็นอย่างไร หากขณะใดไร้นิวรณ์

ตอบ.. ท่านพุทธทาสว่าเป็นนิพพานลำลอง คือไม่มีนิวรณ์ชั่วคราว พ่อครูก็ขอยืนยันว่า ไม่ใช่ อารมณ์นิพพาน คืออารมณ์ที่มีปัญญา แต่ไม่ใช่เฉยพักยก เป็นเคหสิตอุเบกขาเวทนา ไม่ได้เรียนรู้เหตุของตัวไม่ว่าง แล้วกำจัดเหตุ จนได้ความว่าง โดยการศึกษา

  • ทำไงดีเวลานั่งหลับตา แล้วมันมีอาการปึ๊งออกนอกโลก

ตอบ.. ก็อย่าไปนั่ง

  • เวลาปรับปวาทะ ทำไงไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น

ตอบ.. ก็ต้องล้างให้หมด แล้วจะรู้ว่าไม่ยึดอย่างไร

  • ฌาน ถือเป็นอุตริมนุสธรรม ถ้าไม่ได้จริงก็เอาไปอวดกันเลอะ แบบหลับตาทำ

ตอบ... ฌานแบบหลับตาก็มีที่ทำได้ อย่างสัมมาทิฏฐิด้วย คือทำเพราะทำเตวิชโช ทำการศึกษาจิต พักจิต เล่นฤทธิ์ได้ ก็มีจริง

  • พระอวโลกิเตศวร คืออย่างไร

ตอบ... พระอวโลกิเตศวร คือพระโพธิสัตว์ที่สูงส่ง และมีนิรมานกายหลายอย่าง เป็นกวนอิม เป็นกาลี จริงเท็จก็ศึกษาธรรมะเถอะ อะไรสร้างบุคคลา-ธรรมาธิษฐาน ก็ต้องศึกษาให้ดี

  • เวลาการปฏิบัติธรรมมีน้อยมาก ด้วยการงานโกลียะ ขอคำแนะนำด้วย

ตอบ.. ก็เพราะยังจริงจังกับโลกียะก็เลยเวลาไม่พอ มาเริ่มต้นปฏิบัติ จะรู้ความพอเหมาะ จะลดละทำได้ก็จะรู้ว่า ไม่เหมือนก่อนเลย ไม่ต้องวิ่งไล่แย่งไปกับเขา....

จบ

              

 
๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๖ ที่ พุทธสถานสันติอโศก