560708_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครู และ ส.เดินดิน
เรื่อง  เห็นความไม่เที่ยงกับเวทนา ๑๐๘

               ส.เดินดินดำเนินรายการ ที่ห้องกันเกรา สันติฯ...

ปีนี้บอกว่า เป็นปีที่ น่าจะเป็นปีของ การเปลี่ยนแปลง ก็ยังดูไม่ออก ตอนเช้าได้คุยกับโยม ที่ใส่บาตรประจำ เขาบอกว่า ที่ไม่ได้ใส่บาตรหลายวัน เหยียบบันไดพลาด ทั้งที่เดิน ขึ้นลงมา ๓๐ ปีแล้ว ทำไมมันพลาด ก็ไปดูอายุของคนเดินก็ ๘๐ แล้ว ชีวิตพอถึงวัยหนึ่ง ในชุมชนเรา ก็มีอย่างนี้ด้วย อายุมากแล้ว เดินไปแล้ว ต้องระวังล้ม มีหมอคนหนึ่ง อายุมาก ก็ใช้ที่พยุงเดินสี่ขา แม้กระนั้น ก็ล้มอยู่หลายที สุดท้าย ก็รอวันหมดอายุ ชีวิตที่เดินทาง ไปสู่จุดนี้ มีพ่อครูก็เปรยว่า นักการเมือง ที่เขาคิดจะได้จะมีจะเป็น เขาได้คิดถึง ตอนตายหรือไม่? ชีวิตคนเรา ก็ต้องเดินไปสู่ ความพลัดพราก ความสูญเสีย ทั้งนั้น แต่คนก็มักมัวเมา ในโลกธรรม กามคุณ จะมีแต่ตอนเมา ที่หลุดปาก พูดออกมาได้นะ
                วันนี้ก็มาแทน อ.กฤษฎา ก็มีแฟนรายการ เยอะเหมือนกัน แต่ภรรยาไม่สบาย ก็ต้องอยู่ดูแล ทำอย่างไร เราจะทำความไม่เที่ยง ที่จะเข้าสู่ปรมัตถ์ได้ ซึ่งพวกเรา ต้องเจอกับ ความผันแปรอยู่ตลอด ทำอย่างไร จะไปสู่โลกุตระได้ พ่อครูก็ไม่ได้ย่อท้อ ทีจะชี้แจง ทำความเข้าใจ ก็ขออาราธนา
                พ่อครู.... เราก็มาอธิบาย ตามที่ท่านเดินดินได้เกริ่น ….ศาสนาพุทธ ผู้ที่ศึกษา เผินๆก็ว่า พุทธสอนความไม่เที่ยง แม้ผู้สูงสุด ก็เป็นผู้ไม่เที่ยง ถ้าใครยังเห็นว่า อะไรเที่ยงอยู่ ก็ว่าผิด ซึ่งมันเป็นความซับซ้อน ของสัจจะย้อนสภาพ
                วันนี้มาทำความเที่ยง กับไม่เที่ยงกัน ให้กระจ่างกันดีกว่า
                ความไม่เที่ยงเป็นสามัญลักษณ์ คำว่า สามัญ คือธรรมดาๆ ทั่วไป ก็ไม่เที่ยง เป็นเรื่องถูกต้อง ใครๆก็เข้าใจได้ ไม่ยาก มันไม่คงที่ ไม่อยู่อย่างนั้นนิรันดร ของแข็ง ก็เปลี่ยน สลายตัวยากหน่อย นานหน่อย เราก็ดูเหมือนว่า มันเที่ยง แต่ก็เปลี่ยนแปรได้ ส่วนของเหลว หรืออาโปธาตุนั้น เป็นลักษณะที่มองเห็น ด้วยตาเปล่าไม่ได้ แต่คนเห็นว่า น้ำนี่เป็นอาโปธาตุ แต่ที่จริง ที่จับตัวเป็นอาโปนั้น เป็นธาตุที่เลื่อนไหล แต่ที่จับตัวกันนั้น เป็นสภาวะ ของธาตุลม มาจับกันเป็นน้ำ ธาตุน้ำที่จริง ก็คล้ายกับแก๊ส ธาตุน้ำนี่ ใกล้กับธาตุลม ซึ่งยาก
                ทุกคนคงได้ศึกษา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บางอย่างก็เกิดมา แล้วก็หายไป สนิทเลย ไปจับตัวกัน เป็นอันใหม่ ก็มี บางอย่าง ก็เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
                ไตรลักษณ์ คือลักษณะ ๓ คือ การเกิดขึ้น_ ตั้งอยู่_ดับไป อันนี้วนเวียน อยู่อย่างนี้ ทั้งวัตถุและพลังงาน แต่ในสิ่งลึกซึ้ง คือปรมัตถธรรม ที่หมายเอา นามธรรม คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน คือจิตใจที่ เกิด-อยู่-ดับ เหมือนกัน
                ตัวกิเลสที่อยู่ในใจนี่แหละ ที่ต้องศึกษาว่า เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป เหมือนกัน ทุกคน แต่บางคน ดับไป ก็พยาบาทต่อว่า จะต้องได้ต่อไป แต่บางคน ก็วางไป แต่ไม่ได้หมายว่า กิเลสเล็กลงนะ แต่กิเลสยิ่งโต เพราะได้อาหาร ได้บำเรอสมใจ ส่วนพักยก คือมันหยุดไป
                พุทธรู้ปรมัตถ์ แยกเหตุที่เป็นกิเลสออกได้ ที่จะต้องมาบำเรอ ความต้องการ ตั้งแต่โอฬาริกอัตตา คือตัวตนหยาบ ดินน้ำไฟลม ร่างกาย สัตว์สิ่งของ บุคคล เราอยากได้ เป็นบริวาร หรือมาเป็นทาสของเรา เราเป็นเจ้าของ แม้สัตว์หรือบุคคล ต้นไม้เราก็ต้อง เป็นเจ้าของ มีสิทธิจะจัดการอย่างไรก็ได้ นั้นคือโอฬาริกอัตตา
                ในความไม่เที่ยงของวัตถุ นั้นไม่ใช่ของคุณแท้หรอก สมบัติผลัดกันชม แม้คุณ จะมีอำนาจ เอามาไว้ สุดท้ายก็ตายจากกันไป พุทธเรียนรู้ การเวียนตายเวียนเกิด ถ้ายังไม่อรหันต์ ก็ต้องวนเวียนเกิดอีก เกิดมาอีก สมบัติวัตถุ ที่คุณมีในชาตินี้ คุณไม่ได้คืนหรอก จะมีหลักฐาน ยืนยันอย่างไร ไม่มีที่ไหนในโลก เขาให้หรอก สมบัติวัตถุ มันไม่เที่ยง ไม่ใช่ของเรา แม้คุณรู้บางคน ไม่ตายก็ไม่ให้ใคร จนกระทั่ง ลัทธิว่า ก่อนตายก็มอบมรดก ทำพินัยกรรมให้ใครต่อใครแล้วว่า เรามอบให้ ซึ่งแม้ไม่ทำ พินัยกรรม ตายไปเขาก็ต้องเอาไปเอง ทุกอย่างต้องพรากจากกัน นี่คือ ความไม่เที่ยงของ โอฬาริกอัตตา 

ส.เดินดินว่า ให้แล้วเดี๋ยวแก่เฒ่าแล้ว ไม่มีใช้ตอนแก่

                พ่อครูว่า...เขาว่ามันติด ต้องมีวัตถุไว้อาศัย ไว้เป็นอำนาจ แต่พระพุทธเข้า มาศึกษาว่า จิตวิญญาณไม่ต้องยึด เป็นของตัวของตน แต่ว่าแบ่งแจก เจือจานกัน เราทำระบบ สาธารณโภคี มาถึงวันนี้แล้ว เห็นผลว่า เป็นของจริง เราไม่ต้องมากลัวว่า จะหมดก่อนตาย จะไม่มีไว้ใช้ตอนแก่ แต่ทุกคนมาขยันสร้างสรร ให้เป็นคนประเสริฐจริง ไม่เห็นแก่ตัว ไม่กินแรงใคร ไม่เบียดเบียนใคร นี่คือ ลักษณะประเสริฐ ที่พระพุทธเข้า สร้างได้แล้ว ก็มีสาธารณโภคี ก็ไม่ต้องห่วง ไปทำพินัยกรรม เพราะเรามีระบบ ที่เกิดจาก อาริยธรรมที่แท้ เป็นคุณสมบัติที่มี คุณวิเศษ เรียน อุตริมนุสธรรม (คือเหนือ มนุษย์สามัญ) เป็นคุณธรรมวิเศษ ที่เหนือสามัญ แต่เป็นจริงได้
                อยากจะถามพวกเราว่า คุณเชื่อว่า ความจริงข้อนี้คือ สาธารณโภคี คุณเชื่อว่า มันจะยืนนานไหม?... เชื่อ... แล้วตรงไหน ที่ทำให้เชื่อ ... คนตอบว่าตนเอง.... พ่อครูว่าใช่ เราจะรู้ว่า จิตใจเราไม่หวงแหน เป็นส่วนตน แต่มีของส่วนกลาง เราจะเข้าใจ ในตนเอง และเชื่อมั่นว่า ใจตนเองเป็นเช่นนี้แน่ กิเลสไม่กลับกำเริบ
                เมื่อเป็นอย่างนี้ ในกลุ่มคนที่รวมกัน ก็เป็นแกนของสังคม จะเรียกว่า วัฒนธรรม ประเพณี วิถีการดำเนินชีวิต ก็เรียกได้ หรือระบบก็ได้ เป็นสิ่งประเสริฐสุด ไม่ต้องยึด เป็นตัวตน แล้วเราก็มีความเที่ยงอยู่ มองเห็นความเที่ยงไหม มีความมั่นใจว่า เราไม่กลับกลอก ไม่กลับกำเริบ แล้ว มันมีจริง คนอื่นก็เป็นจริงได้ เราเป็นคนหนึ่ง ที่เป็นได้ รวมเป็นหมู่ได้
                โลกต้องการลักษณะนี้ มาบริหารสังคม ตั้งแต่ประชาธิปไตย เขาก็ต้องการวัตถุ ซึ่งพ่อครูถามนี่ เราคงต้องถามตัวเองว่า เป็นไปได้หรือไม่ คำตอบอยู่ที่การยึด เป็นของตัวตน ถ้ามียึดเป็นตัวเรา ของเรามาก ก็เป็นสาธารณโภคีไม่ได้ แต่เพราะทุกวันนี้ พวกเรา ก็แทบแยกไม่ได้ว่า อยู่ปฐมฯ สันติฯ บ้านราชฯ ซึ่งเรามีบ้าน อยู่หลายที่ ทำงานได้ทุกที่
                แต่ก่อนเห็นพ่อค้าขายปลา ต้องมาอยู่ในรูที่นี่ แต่พอเราออกจากรูได้ เราก็ไป สู่สังคมที่ใหญ่กว่า อุดมสมบูณร์กว่า พ่อครูว่า..  มีเหตุปัจจัย ที่คนเป็นคนดี มีคุณภาพ นอกจาก ไม่ยึดเป็นเรา เป็นของเราแล้ว ก็มีความขยัน เป็นพลัง ๔ ขยันอย่างมีปัญญา ก็ขี้เกียจไปทำไม ขี้เกียจไม่เห็นจะดี ขยันดีกว่า เรามีแรงงานความรู้ เราก็ทำขึ้นมา แต่ก่อน เราทำงาน ต้องได้สิ่งแลกเปลี่ยน แต่ตอนนี้เราไม่ต้องเอาแล้ว เราทำได้มาก เราเอาแต่น้อย หรือแค่อาศัย ปัจจัยสี่ ไม่ต้องมาก อะไรเลย ก็อยู่ได้  พระพุทธเจ้า ท่านมีระเบียบวินัย ให้มีผ้า ไม่เกินสามผืน ไม่สะสมข้าวสักเม็ด ข้ามคืน ไม่มีที่อยู่ ไม่กักตุน กักตุนอาหารไม่ได้ มีอาบัติ แต่ท่านก็ไม่ได้ทุกข์อะไร
                แต่พวกเราเป็นฆราวาส ก็มักน้อยสันโดษ มีน้อยก็พอได้ เสื้อผ้าก็มีไม่เกิน ๕ ชุด จิตใจมี สันตุฏฐิธรรม แล้วมีจิตมักน้อย อัปปิจฉธรรม แล้วเราก็ขยัน ตามสมรรถนะ เราทำงานอย่าง งานตกคน เราก็สร้างสรรไป คนอย่างนี้ มีจริง นี่คือการสร้าง มนุษย์ประเสริญ ไม่ต้องได้ สิ่งแลกเปลี่ยน แม้ชื่อเสียงยกยอ แม้ถูกติเตียน ถูกด่าว่า ทำของเสีย เราก็ยอมรับ จะได้ปรับปรุงแก้ไข แม้เขาจะว่าเรา อย่างไม่ถูก เราก็ไม่ทุกข์ เข้าใจว่า เขาบกพร่อง ยังโง่อยู่ ยังไม่รู้ความจริงเพียงพอ ก็อย่าไปถือสา อย่างน้อยที่สุด คนที่ว่ามา เขาก็กำกับว่า พ่อครูโง่ ที่จริงเขาพูดไม่ถูก ก็ไม่อยากเถียง
                นอกจากไม่ยึดเป็นเราของเราแล้ว ยังมีคุณสมบัตดี ขยันซื่อสัตย์ คนอย่างนี้ มารวมตัว แล้วก็จะดี และยังมีคุณสมบัติอื่นอีก คือกินน้อยใช้น้อย ไม่เปลืองผลาญ แต่ทำงานได้ เกินกินเกินใช้ เกินแล้วก็ไม่ยึดว่า เป็นเราเป็นของเรา ทำเกินเข้ากองกลาง เพื่อให้แก่คนที่ ทำกินทำใช้ไม่พอ เช่น เด็ก คนแก่ คนพิการ คนป่วย คนขี้เกียจ คนขี้โกง ก็ต้องทำเผื่อไว้ เพราะเขาต้องเอา มันต้องมี ก็ต้องใช้ แต่พวกเรา มีคนขี้เกียจขี้โกงน้อย จนหายากแล้ว
                ส่วนมากชาวอโศกทุกคน มีส่วนเหลือเกินพอ โดยเฉลี่ย ทุกวันนี้ อโศก มีสิ่งเหลือ ไปสู่สังคม ที่ชัดคือสื่อสาร ที่ต้องใช้แรงงาน ออกสู่สังคม ต้องพากเพียร แต่เขาก็ต้องกิน ต้องใช้ ในสังคม เขาก็ไม่เอาเงินเดือน ทำงานฟรี ออกสู่สังคม และยังมีอื่นๆ ที่พวกเราทำงานในนี้ มีงานไม่รู้กี่หน้าที่ ที่เราทำอยู่กัน แม้แต่ปัดกวาด เช็ดถู ขัดส้วม ก็เป็นแรงงาน มีคุณค่าที่สังคมต้องอาศัย คนดูแลเด็ก คนดูแลคนแก่ เป็นครู หรือทำงานเอกสาร เราก็รู้ว่า นี่งานสุจริต ยุคนี้ต้องทำ ก็ทำกันไปทำฟรี ไม่ต้องมีอามิส
                จุดสำคัญคือ คุณสุขจริงไหม ที่ไม่ต้องได้ สิ่งแลกเปลี่ยนนั้นมา ถ้าสุขจริง ไม่ต้องอยากได้ สิ่งตอบแทน คำตอบคือ ไม่มีใครตอบแทนคุณได้ นี่คือสุขสงบ ไม่ต้องอยากได้อะไร มาตอบแทน ไม่ใช่ว่าสงบ คือลมไม่พัด เสียงไม่มี อย่างนั้น เป็นความสงบโลกๆ ไม่ใช่ปรมัตถ์  สุขสงบคือ จิตกิเลส มันหยุดทำการ หยุดบทบาท ไม่มีในใจได้จริง แม้จะมีปัจจัย มายั่วยวนสัมผัส แต่ก่อนมันเกิด แต่ ณ บัดนี้ มันไม่เกิดอย่าง คุณสมบัติของนิพพาน คือ นิจจัง (เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสสตัง (ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง (ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง (ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง (ไม่กลับกำเริบ) และ นัตถิ อุปมา คือไม่มีอะไรมาเปรียบ คือความมีที่ไม่มี ยังไม่ปรินิพพาน ไม่ปริโยสาน ยังมีรูปนาม ขันธ์ ๕ อยู่
                หลังจากการตายนี้แล้ว อปณิหิตตัง ไม่ตั้งจิตต่อ ไม่มีอะไร เหลืออีกเลย พระพุทธเจ้า ว่าไว้ใน พรหมชาลสูตร ว่าตถาคตตายแล้ว จะไม่มีใคร ได้เห็นตถาคตอีก ทั้งรูปและนาม เหมือนพวงมะม่วง หล่นลงมาแตก กระจายแล้ว จะกลับคืน เป็นพวงมะม่วง ไม่ได้แล้ว
                นี่คือความไม่เที่ยง ของสามัญ คุณเข้าใจได้ ก็ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น อะไรหรอก แต่บางคน ก็ขอแบกหาม ไว้ก่อนตาย ตายแล้วไม่ให้ใคร แต่กลัวคนแย่ง ก็เขียน พินัยกรรมไว้ พ่อครูว่า พินัยกรรมนี้ ไม่ใช่ทาน แต่คุณสุดทางแล้ว คุณจำนน คุณไม่เขียน เขาก็เอาของคุณไปอยู่ดี มันจำนน สุดทางแล้ว ต้องตายจาก จึงเต๊ะท่า ก็ดีอย่าง ไม่แย่งกัน แต่กฏหมาย เขาก็มีหลักอยู่แล้ว ผู้ใดเข้าใจแล้ว อะไรก็ไม่เที่ยงหรอก ทุกอย่าง เราอาศัยใช้สอย แล้วเราก็ทำตัวให้ อัปปิจฉะ ใช้น้อย ไม่ต้องเปลืองผลาญ ต้องสันตุฏฐิ กินใช้ แค่นี้ก็พอ แม้เราจะมีคอมพิวเตอร์ใช้ อย่างท่านเดินดิน ท่านส่งงานนี้ ท่านได้ค่า ตอบแทนอย่างไร เป็นเงิน หรือลาภยศ หรือกาม ...ส.เดินดินว่า มีบาตรเดียว ใช้บิณฯ หากินด้วยปลีแข้ง

                เรามีเครื่องมือ คือใช้ทำงาน ไม่ใช่ไว้สร้างกิเลส แต่มีไว้เพื่อทำงาน ให้คนอื่น ให้ทำงานได้ดี ได้มาก ทำประโยชน์ให้สูง เป็นรายละเอียด ของความจริง ถ้าคนดูเผินๆ ก็ว่า นี่มีของใช้สารพัด ก็เพ่งอยู่ แต่คนที่ใช้ เขามีเป็นของตัวของตน มีเพื่ออยากได้ลาภ มากขึ้น หรือเอาไว้เสพรสสุข เพลิดเพลิน ก็เป็นกิเลสของคุณ เป็นตัวตนของคุณ เรามาเรียนรู้ เพื่อไม่ติดยึด ในสิ่งเหล่านี้ เดี๋ยวนี้ มันมีอบายมุข มากมาย ในนี้หมดเลย อย่างเฟสบุ๊ค ก็ใช้กัน แม้แต่จีบกัน ทะเลาะกัน แต่ใช้เพื่อประโยชน์ต่อสังคม ก็ใช้ได้
                การไม่ยึดเป็นเราเป็นของเรา นี่แหละคือ สิ่งที่เที่ยงแท้ถาวร นี่คือสูงสุด ของนิพพาน ความเที่ยงของนิพพาน คืออะไร? ต้องจับให้ถูก คือเที่ยงในคุณธรรม คุณค่า สรุปเข้าเป้า คือ “ความไม่มีตัวตนเที่ยง” ไม่เป็นของตัวของตนเที่ยง ไม่เปลี่ยนแปรเลย ตลอดกาลนาน แต่อย่างอื่น ไม่เที่ยง แม้มันไม่มี ก็ไม่ติดใจ เหตุมันได้แค่นี้ เราก็ไม่เดือดร้อน ถ้ามันไม่มีจะทำ ไม่ได้ต้องใช้ ก็ต้องขวนขวายหน่อย ถ้าสุดวิสัย ไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร
                ต่อมาคือความไม่เที่ยงในจิตใจ หรือจิตวิญญาณ สำเร็จด้วยใจ ในมโนมยอัตตา คือสิ่งที่เรายึด ทางนามธรรม เช่น เราปั้นเป็นรูป เป็นวิมาน คุณจะปั้นอย่างไร มันก็วิมาน ลอยลม แต่คุณเสพวิมานนี้ได้ คนที่ยังไม่ชัดในกิเลส ก็ติดลมๆ แล้งๆ เอาง่ายๆว่า ตายแล้ว จะได้ไปอยู่สวรรค์ ไม่มีใครตอบได้ว่า สวรรค์มีอยู่ที่ไหน อยู่ตรงไหน สวรรค์ไม่มีแดน ไม่มีภพ ซึ่งเขาปั้นว่า ต้องมีน้ำตก ภูเขา บรรยากาศรื่นรมย์ มีของทิพย์ อยากกินอะไรก็ได้ อยากไปไหน ก็เหาะลอยไปได้ แต่ทีนี้มันจริงไหม? ก็มีจริงเป็นวิมาน ลมๆแล้งๆจริง คุณเคยนอนฝันว่า สุขจริงเลย ก็เหมือนกัน แล้วคุณมีจริง คุณตายไป ก็มีภพจิตวิญญาณ เหมือนคุณ นอนหลับ มีจริงๆ แต่สวรรค์ไม่นาน แม้อยากให้มันนาน ก็ไม่ได้ เพราะมันมี วิบากบาป คุณอยากโน่นนี่ เวลาคุณได้เสพ ในกามคุณ
                ถ้าคุณอยากเสพวัตถุ คุณก็ปั้นวัตถุ มากมาย เหมือนในนิทานนิยาย เวลาเสพสุข จุดไคลแม็กซ์ ของความสุข มันอยู่กับคุณไม่นาน เช่นกินของอร่อยมากไป ก็ไม่ไหวแล้ว มันไม่เที่ยงในสุข แต่ความฝังใจนั้น มันมีเป็นล้านเรื่อง
                ตอนคุณมีร่างกาย คุณได้เสพสุข นับเรื่องไม่ถ้วน คุณก็ได้สุข แต่เวลาตายไป คุณไม่มีทวาร ๕ ไปเสพ ไอ้ความอยากนี้ คุณไม่รู้ว่าคุณตาย คุณอยาก ก็ต้องดิ้นอยากได้ อย่างที่เคยเสพ กามคุณ ๕ แต่มันไม่มีทวารให้เสพ คุณก็ดิ้นไปสิ สุดท้าย คุณไม่ได้ ก็ไม่เที่ยง ก็พับไป เหมือนคนเสี้ยน สุดท้ายก็พับไป แล้วก็ไปอยากอันอื่น แต่อุปาทานนี้ มีมากมาย
                คนมาล้างอุปาทานได้ ก็ไม่ต้องเสพอีก ตายไปก็ไม่ดิ้น หรือแม้แต่ อนาคามี ก็ไม่ต้องเสพใน โอฬาริกอัตตา หรือกามคุณ อนาคามีขึ้นไป ก็ไม่มีปัญหาแล้ว จะเหลือ รูปภพ อรูปภพ ก็ไม่ทำร้ายใครแล้ว ไม่เบียดเบียนใคร คุณก็หลงหางช้าง ติดพวยกา ของคุณไป พอภูมิอนาคามี ก็อยู่ไปได้ ใครทำสุดได้ก็ทำ คุณจะรู้เองว่า จะเหลือหางช้าง ติดพวยกา ไปทำไม ดีไม่ดี หางช้างบวมได้ ซักวันเป็นอนาคามี คุณก็ไม่เผลอ ให้ขางอกหรอก คุณอยากล้างหรือไม่ ก็อยู่ที่คุณ
                มโนมยอัตตานั้น คุณจะเสพสวรรค์น้อย แต่นรกจะมาก ทวารที่จะเสพ คือ ทวารนอก ๕ จะสดและหยาบ และ จะหนักกว่าอันอื่น คุณตาย คุณไม่รู้ตัวหรอก แต่ก็ดิ้น เหมือนคนเสี้ยนยา ติดหนัก จะตกนรกอย่างนั้น อยากอันนี้ไม่ได้ ก็ไปอันอื่น สวรรค์จะชั่วแวบ แล้วก็ไม่มี แต่สิ่งที่เหลือ ไม่ใช่สวรรค์ เพราะไม่มีให้เสพ นอกจาก จะเป็น อรูปอัตตา
                มโนมยอัตตาคือ รูปภพ ผู้ใดล้างอันนี้ได้ ก็มีความเที่ยง ผู้ใดล้างไม่ได้ นรกสวรรค์ ก็มีจริง ผู้ไม่ได้ศึกษาเลย ตั้งแต่โอฬาริกอัตตา ก็นรกแล้ว มโนมยอัตตา อีก ผู้ที่ล้างได้แล้ว ก็ว่า เท่านี้ก็สุดยอดแล้ว คุณทิ้งหยาบมาแล้ว จะมีปัญญารู้ว่า มันไร้สาระ มันชัด เป็นปัญญาจริง ไม่ใช่ปัญญาที่เชื่อตามมา มันเป็นสุขหลอก ที่ทำให้เรา เป็นตัว เป็นตนมา มันคือตัวปลอม
                สมมุติ สิ่งที่คุณเคยติดฝิ่น คุณไม่เคยติดฝิ่น จิตคุณว่าง คุณเห็น คนสูบฝิ่น เราก็เห็นว่า เราไม่ต้องเป็นอย่างนั้น ก็สบาย แต่ก่อน เราติดลาภยศ ถ้าคุณติด ก็ต้องไปแย่ง ให้ได้ จะหยาบคาย ชั่วเลวอย่างไร ต้องเอา ถ้าไม่ได้ก็ทุกข์ แต่ตอนนี้ คุณไม่เป็นอย่างเขา คุณไม่ทุกข์ นี่คือปัญญา จะให้คุณได้อย่างเขา คุณก็ชัดเจนว่า ไม่เอาหรอก เป็นเศรษฐี อันดับหนึ่งเลยนะ เขาจะเอาเปรียบใครมา ก็ไม่รู้ ทางสัจธรรม ก็ว่าคุณเสียสละ นี่คือสุจริต คุณยังเอาเปรียบ นี่ทุจริต ปัญญาคุณจะชัด และคุณก็ยืนอยู่ ตรงนี้ได้ก็สุข ได้เสียสละ เกื้อกูล เป็นความสุข ถ้าคุณยังติดอารมณ์สุข แต่ถ้าคุณไม่ติดสุข เป็นอุปกิเลส ก็แค่รู้ ใช้แล้วก็จบ อุเบกขาทันที วางเฉย มุฑิตา ตรวจสอบว่า ได้ช่วยเขา ได้ดีแล้ว ก็วาง อย่าไปคิด จะทวงบุญคุณ
                เราพึ่งตน ใครอยากมาช่วย ก็มาเอง มาช่วยโดยเขาไม่ได้อะไร เขาก็ได้ความรู้ ซ้อนว่า เขาต้องมาลดตัว หมดตนซ้อน ไม่ใช่ว่า มาช่วยคนนี้ จะได้โลกธรรม ได้ยศซ้อน เป็นอามิส ไม่ใช่ ต้องแม่นในทิศทาง ว่าโลกุตระ ลดละหน่ายคลาย หรือสะสม เป็นของตัว ของตนเพิ่ม ต้องมาทิศหมดตัวตน จนสูญได้
                ในอนาคามี โลกธรรมในด้าน โอฬาริกอัตตา ในทรัพย์สมบัติ หรือกามคุณ ๕ มันหมด กามหมด ปฏิฆะก็หมด ที่ปฏิฆะ เพราะมีตนของตน ไม่ได้สมใจ ก็ปฏิฆะ คือลาภ ยศ คือกาม ที่ต้องกระทบ ด้วยทวาร ๕ แล้วปรุงแต่งเสพ แต่ถ้าคุณ จะปั้นเสพ มโนมยอัตตา ของอนาคามี ในขณะลืมตาสัมผัส ก็ไม่เสพ ก็สบายเฉยได้ แม้จะระริกระรี้ อยู่ภายใน ก็สบาย คือได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในฌาน ๔ คือมีอุเบกขา ไม่ยาก ผ่านแล้วอนาคามี ไม่มีวิตกวิจาร อนาคามี มีอุเบกขา จะมีอะไรนิดหน่อย ก็นิดหนึ่ง พอรู้ตัว แล้วก็จัดการได้ ถ้าจะแรงหน่อย เรียกรูปราคะ แต่คุณไม่ออกข้างนอก เป็นสัจจะความจริง

                ที่พ่อครูเคยพูดว่า อนาคามีจริง ไปแวะบ้านใด ก็ไปนอน ห้องลูกสาวเขาได้เลย แต่ลูกสาว อย่าไปปล้ำเขา ก็แล้วกัน แต่เขาไม่ทำหรอก เขาจะรู้ มันเป็นวิบาก ผูกพันต่อ ในวัตถุสิ่งของ หรือคน ถ้าเขายิ่งมีพยาบาท ก็แล้วเลย อนาคามีไปเลือกคู่ คนที่ไปติดยึด แล้วตัวเอง เป็นอนาคามีแล้วนะ อย่างพระที่สึกไป ผู้หญิงเขายึดเป็นเรา เป็นของเรา จิตเขาไม่ปล่อย จิตคุณอาจไม่ยึด มีนิดหน่อย แต่ประมาท ซวยนะ อนาคามี อย่าก่อเรื่อง ให้เป็นนิทานนะ เวรไม่รู้กี่ชาติ ส.เดินดินว่า ไม่ใช่อนาคามี แต่เป็นบุพเพสันนิวาส...

พ่อครูว่า เผื่อเผลอไผล แต่อนาคามีจริง ไม่ทำหรอก จะมีหิริโอตตัปปะ โอตัปปะคือ สูงกว่าหิริ ซึ่งหิริไม่มีใครเห็น ลับหลังยังแอบ แต่โอตตัปปะไม่ทำ จะไปก่อเหตุปัจจัย ใส่ตนอีกทำไม กรรมเป็นอันทำ ท่านมีปัญญารู้แล้ว จะทำไปทำไม กรรมเป็นอันทำ ยิ่งอรหันต์ จบเลย แล้วอรหันต์มีเที่ยง ไม่ต้องแวบเลย เป็นสัจจะ

                อรหันต์นั้น เลยอรูปอัตตา เลยเศษธุลีละอองหมด จน  นิจจัง (เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสสตัง (ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง (ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง (ไม่มีอะไร หักล้างได้) อสังกุปปัง (ไม่กลับกำเริบ) จะเป็นได้ ต้องรู้เวทนา ๑๐๘

                เริ่มต้นคืออ่าน อารมณ์ สุข ทุกข์ได้ ซึ่งอยู่ที่ใจ เป็นอาการอารมณ์ สุขไม่ใช่ อาริยสัจจ์ เป็นสุขัลลิกะ เป็นสุขเท็จ คุณลองไม่ให้มันสิ จะเห็นเหตุที่จะมา ก่อนสุขเลย สุขนี่คือกิเลสตัณหา อยากได้มาเป็นของตน และเสพรส จับได้ ก็จะรู้ทุกข์ และตัณหา คือเหตุแห่งทุกข์

                พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ สติปัฏฐาน ๔ ขั้นต้น ผู้จะพ้นมิจฉาทิฏฐิ ต้องมีอายตนะ ๖ ตาสัมผัสข้างนอก และนาม เราก็รู้แล้ว อย่างสัมผัสกับ ดอกลั่นทม ข้างหน้า มีกลิ่นด้วย ดอกก็สวยดี อยากได้มาหอมมาดม ก็ดม อยากได้มากินก็กิน มาชุบแป้งทอดใส่ซอส เคยกินไหม? คุณเรียนรู้กิเลส แล้วคุณก็เลิก

                เวทนาสองอย่างคือ (แบ่งเป็น ๒ เวทนาได้แก่..)
-เวทนาที่รับรู้ทางกาย (กายิกเวทนา อาศัยมหาภูตรูป)
-เวทนาที่รับรู้ทางใจ (เจตสิกเวทนา อาศัยอุปาทายรูป)
                ผู้จะพ้นมิจฉาทิฏฐิ ต้องมีครบทวาร ๖ บุคคลรู้เห็นอายตนะ ๑๒ รู้เห็นวิญญาณ ๖ รู้เห็นสัมผัส ๖ รู้เห็นเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทั้ง ๖ เป็นปัจจัย รู้โดย ความเป็นของ ไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงละมิจฉาทิฏฐิได้

                คุณอยากได้กินดอกลั่นทม ก็สุขแป๊บเดียว แล้วก็หายอยาก อยากอีกก็กินอีก หนักเข้า กินเข้าไม่ไหวแล้ว ยัดเข้าไปก็เต็มแล้ว ยัดเข้าไปก็ทุกข์ นี่ชัดมากเลย แต่ถ้าคุณ ยังติดอยู่ คุณติดอันนี้ คุณก็มีอุปาทานอันนี้ แล้วคุณก็หยุด แล้ววันหลัง คุณก็อยากอีก เอามากินอีก ก็เวียนมา เพราะอุปาทานยังอยู่ ยึดอยู่ จนคุณเห็นว่า สุขนี่หลอก เราติดมา กี่ชาติแล้ว เดี๋ยวเราไม่ชอบลั่นทมแล้ว คนบอกขี้หมาดี คุณก็ไปติดอีก ขี้หมาชุบแป้งทอด แล้วคุณมีอุปาทาน อีกมากมายหลายอย่าง ในสัญญาคลังความจำ ของคุณ แต่ถ้าเราไปเกิด ในถิ่นอื่น เราก็ไปติดอันอื่น แต่ว่า ถ้ามีคนเอา สิ่งที่คุณติด ในของเก่า ของเก่าคุณ ก็ขึ้นอีก มันติดในสัญญา ในความจำของคุณ ไปตลอด
                แล้วจะล้างอย่างไร ต้องมีสัมมาทิฏฐิ ต้องมีสัมผัส ๖ มีของสดของจริง เป็นว่า มันอยากได้ แต่คุณไม่ให้มันเสพ แล้วมันก็ดิ้น พอคุณไม่ให้มัน เดี๋ยวมันก็หยุด ก็เพลาไป 

                บุคคลรู้เห็นอายตนะ ๑๒  รู้เห็นวิญญาณ ๖  รู้เห็นสัมผัส ๖  รู้เห็นเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทั้ง ๖ เป็นปัจจัย  รู้โดย ความเป็นทุกข์ (ทุกขโต)  จึงละสักกายทิฏฐิได้

                เรามีอุบายเครื่องออก มันอยากมันดิ้น เราก็ไม่ให้มัน เราก็เห็นทุกข์ เราไม่ให้ มันก็ดิ้น มีสองอย่างคือ อยากทำลาย และอยากเสพ คุณก็พิจารณาตัวนี้
                เมื่อคุณเห็นแล้ว ต้องรู้ว่า มันเป็นเหตุแห่งทุกข์ มันเป็นภาระ มีคือคุณโง่ ไปยึดว่า มันมี แล้วยึด เพราะคุณเห็นว่า มันสุข ต้องเห็นว่า สุขมันไม่จริง ยิ่งกว่าพยับแดด ฟองคลื่น มันไม่มีตัวตนจริง ต้องมีปัญญาว่า ถ้าเราไม่ติดมัน มันจะตกต่ำไหม?
                เช่น คุณติดเหล้า มันไม่น่าติด คุณก็ล้างความติด ล้างได้ ก็ไม่ต้องแสวงหาเหล้า ไม่ต้องไปสุข เพราะดื่มเหล้า จะมีปัญญาว่า ไม่ใช่ความบกพร่อง หรือความขาด หรือ หมดความประเสริฐ อย่างผู้หญิง เคยติดลิปสติก พอวางได้ ไม่ต้องทาลิปสติก คุณจะขาด ความประเสริฐไหม มันช่วยให้คุณทำงาน ได้ดีไหม? ถ้าไม่มี ทำงานไม่ได้ อย่างยาขอบ หมอบอกว่า ถ้าคุณไม่หยุดกินเหล้า คุณตายนะ สุดท้ายเขาเลือกว่า เอากินครับ สุดท้าย เขาก็ตาย เพราะกินเหล้า นี่คือไม่มีธรรมะ
                คุณติดเพชรพลอย ติดแผ่นดิน ติดวัตถุโอฬาริกอัตตา ก็เรียนรู้ ทิ้งมาก่อน ไม่มี ก็ไม่เสียความประเสริฐ ไม่มีเราก็สุขได้ ไม่เป็นไร ไม่ต้องมีเพชรพลอย ลิปสติกสักแท่ง ก็ไม่เสียสมรรถนะ เบาว่างด้วยซ้ำ ไม่เป็นภาระ คุณจะมีปัญญายิ่งกว่า ที่พ่อครู ยกตัวอย่าง เสียอีก สูงกว่านี้ ก็ลดละไปเรื่อย แม้มโนมยอัตตา หรือ อรูปอัตตา ก็ไม่หยาบ ไม่ต้องใช้ สิ่งข้างนอก แล้วปั้นเอง เสพเองไป เพราะจิตได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากในฌาน ๔ จิตมีหิริ โอตตัปปะแล้ว คุณก็สบาย
                ถ้าเลยอนาคามีไป มีเศษเหลือน้อยหนึ่ง เป็นหางช้าง คุณจะเอาไว้ ก็เรื่องของคุณสิ เราจะมีญาณปัญญารู้ว่า โธ่เอ๊ย เราจะมีไปทำไม แต่ไม่เป็นพิษภัย กับใคร ก็เป็นวิมานส่วนตน ก็ช่างคุณ อย่างนี้นานๆ ก็จะเลือนไปเองได้ ดังนั้น ในอนาคามี ไม่ทำอะไร มันก็จะหมดไปเอง        

                อนาคามีภูมิ ๕ มี
.  อันตราปรินิพพายี (ผู้เพียรทำปรินิพพาน ในระหว่างภพ)  พ่อครูอธิบาย ตามภูมิว่า อันนี้หยาบสุด คือในระหว่างภพภูมิ มีระริกระรี้ คุณก็ปล่อย ให้มันหมดเอง สุดท้าย มันก็หายเองได้ นานมาก ระหว่าง เมื่อใดเมื่อหนึ่ง
.  อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้ทำปรินิพพาน ด้วยสามารถ) แม้จะมีน้อยอย่างไร ก็ใช้ความสามารถ ดับได้
.  สสังขารปรินิพพายี (ผู้ทำปรินิพพานโดยต้องใช้ ความเพียรมาก ประกอบ ปุญญาภิสังขาร ในภพตนให้มากๆ)
.  อสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพาน โดยไม่ต้องใช้การปรุงแต่ง อภิสังขารให้มากนัก)
.  อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (สภาวธรรม ไม่เป็นสองรองใคร หรือไม่เป็นน้องใครอีก แล้วปรินิพพานไว)

               แต่จะแปลกลับ อย่างในไตรปิฏกว่า อันตราปรินิพพายี ก็เบาสุดคือ ไม่ต้องทำอะไร ก็ดับเองได้ แล้วก็ไปหาอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หยาบสุดก็ได้ แต่สภาวะ ๕ อย่างนี้ จะกลับหัว ก็ไม่เป็นไร ในสภาวะ ๕ อย่างนี้ ซึ่งภูมิอนาคามมี ก็ไม่เปลี่ยนแปลง แม้โสดาบัน ถ้ามีนิยตะ ก็ไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว
                อย่างโสดาบัน มีลักษณะอีก ๔ ส่วน คือ
                โสตาปันนะ อวินิปาตธรรม นิยตะ สัมโพธิปรายนะ สี่อย่างนี้ ตัดไปที่อย่างละ ๒๕ ใน ๑๐๐ ส่วน ถ้าได้คุณลักษณะ เรียกว่ามีอินทรีย์

                ซึ่งเป็นเวทนา ๕ อย่าง (รู้กำลังของเวทนาทั้ง ๕ ได้แก่)
-สุขินทรีย์ (ภายนอก)
-ทุกขินทรีย์ (ภายนอก)
-โสมนัสสินทรีย์ (ภายใน)
-โทมนัสสินทรีย์ (ภายใน)
-อุเบกขินทรีย์ (ภายใน)

                ในเวทนา ๖ (แยกเป็น ๖ เวทนา ได้แก่)
-จักขุสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากประสาทตา
-โสตสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากประสาทหู
-ฆานสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากประสาทจมูก
-ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากประสาทลิ้น
-กายสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากประสาทกาย
-มโนสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากใจปรุงแต่งเอง

                มาแจกเป็น สุข ทุกข์ อุเบกขา จากทวารทั้ง ๖ เป็นเวทนา ๑๘
               และยังแยกเป็น เคหสิตเวทนา กับ เนกขัมสิตเวทนา อีกอย่างละสอง ก็เป็น เวทนา ๓๖
                ถ้าไม่สามารถมีสัมมัปปัญญา รู้ว่าสุขมันเป็นเท็จ อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว คุณเลิกแล้ว ก็ไม่เห็นจะสูญเสียอะไร กลับเป็นสิ่งประเสริฐอย่างยิ่ง
                ใหม่ๆเราเริ่มลดละ สังวรระวัง เมื่อทำได้ฌาน ๑ ไม่มีนิวรณ์ ๕ แต่ยังควบคุมอยู่ ระวัง ไม่ให้เกิดในจิต ก็มีวิตกวิจาร คำว่า วิตกท่านแปลเอาอัตถะว่า “ความกังวล” ยังวางใจไม่ได้ ยังลำบากลำบนอยู่ มันก็สงบ และมันก็ดีใจ เหมือนหัดขับ รถจักรยาน ใหม่ๆ ระวังจะเอวคดไปมา เคร่งคุม ลงมาแล้วปวดเอวเลย ต้องคุมกิเลส อย่าให้มันมี กามวิตก พยาบาทวิตก จะใช้วิธีวิกขัมภนะ ไฟฌานยังไม่สูงพอ ต้องใช้พลังเสริม แต่คุณดีใจ มีปีติ สุข เอกัคคตา พอวิตกวิจารลดไป ก็มีปีติ พอปีติพอแล้วก็เป็นสุข พอสุขไปก็ชินชา ถ้าปล่อยไป ก็ลดเอง แต่คุณรู้แล้ว ก็ลดมันเลย ก็เร็วขึ้น หรือมีผรณาปีติ เล็กน้อยก็ได้ ไม่เสียพลังงานเท่าไหร่ แต่ถ้าคุณติดปีติ เดี๋ยวจะต้องได้แรงได้มาก เป็นอุพเพงคาปีติ อย่างพวกเตะบอลเข้าโกล เขาก็ตื่นเต้นดีใจ กระโดดโลดเต้น ไม่รู้จักเจ็บเลย
                เมื่อคุณแยกเนกขัมสิตะ กับ เคหสิตะได้แล้ว ทำโยนิโสฯ คือทำให้กิเลสตาย ได้สำเร็จ เรียกว่า การเกิดทางโอปปาติกะ ทำให้เคหสิตเวทนาตาย คุณก็มี เนกขัมสิตเวทนาเกิด ทำให้กิเลสตาย กุศลเกิด นี่คือการเนกขัมมะ ไม่ใช่การบวชโกนหัว คือเนกขัมมะ
                เวทนา ๑๐๘ ก็คือเราปฏิบัติไม่หนีโลกโลกีย์ เขาก็มีกามคุณ โลกธรรม อบาย แต่เราได้ลดละ ไปตามลำดับ เราก็เลิกละมาได้ มีอุเบกขา ถ้าเป็นแบบเคหสิตะ คือ อัพยากฤต คือพักยกเท่านั้น แต่อุเบกขาอย่างเนกขัมมะ คือกิเลสตายไปอย่างเที่ยงแท้ คุณก็ทำสั่งสมเป็นอดีตของ มโนปวิจาร ๑๘ คุณสัมผัสเมื่อไหร่ ก็อุเบกขา แม้มีแวบ ก็ของคุณ ต้องทำอีก ทำให้อุเบกขา คุณก็สั่งสมอดีต ให้ส่วนอดีตเป็นสูญ ทำทุกปัจจุบัน เป็นสูญ ก็เป็นหลักประกันว่า อนาคตสูญแน่ มีสูญทั้งสามกาละ อย่างไม่เดาเอา ฝันเอา แต่มีเหตุปัจจัย กระทบสัมผัสโลกธรรม กามคุณ คุณอยู่เหนือมันจริง อุเบกขาจริง ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต
                ส่วนอวิชชาข้อที่ ๗ อดีต อนาคตนั้นสูญ ไม่เปลี่ยนแปลง ท่านไม่พูดถึงปัจจุบัน คุณต้องตัดสินตัวเอง ไม่ประมาท ผู้อนาคามี ไม่ประมาท คือกิเลสอัตตาลดจริง จะไม่ไป หลอกคน กิเลสอยากอวดไม่มีมาก มานะอัตตาไม่มาก คุณก็ทำให้สมบูรณ์ คุณจะอยากต่อหรือไม่ ก็แล้วแต่ สรุปคือ ต้องทำบรรลุ ทั้งส่วนอดีต ปัจจุบัน อนาคต อรหันต์นั้น อดีตกับอนาคตไม่เที่ยง คือคุณยังไม่ตาย คุณไม่ทำบาป ทำแต่ดี แต่ก็มีวิบาก อนาคตคุณจึงไม่เที่ยง แต่ความไม่มีกิเลสนี้ เที่ยงแล้ว คุณจะสร้างแต่กุศล ไม่มีบาปบุญ ไม่ต้องชำระกิเลสอีกแล้ว สูญตลอดกาลนาน อนาคต ก็สูญตลอด เที่ยง แต่กุศลไม่เที่ยง มีแต่กุศลอย่างเดียว อกุศลไม่มี
                อรหันต์บางคนพลาด เพราะไม่เก่ง ผิดสมมุติสัจจะ แต่ปรมัตถสัจจะ ไม่มีบาปแล้ว เพราะไม่มีความรู้โลกีย์ ก็อนุโลมปฏิโลม กับโลกผิดพลาด เป็นอันตราย อันแสบเผ็ด ของอรหันต์ โลกียะเหตุปัจจัย ไม่เที่ยงหรอก แต่ปรมัตถ์ท่านเที่ยง ส่วนอวิชชาสูตร ข้อที่ ๘ นั้น หมดอวิชชาอย่างเที่ยง

                ส.เดินดินสรุป....ว่าคนที่ไปหลงเสพสุขนั้น เมื่อคุณพลัดพราก จะเป็นทุกข์มาก อย่างพวกเรา มาพลัดพราก เช่น เราทิ้งรสอร่อย ของเนื้อสัตว์ เราทิ้งมาได้อย่างไร มันเป็นอุเบกขาพักยก หรือมากขึ้นกว่าเก่า ในไข่หมูปลา ที่อร่อยของเรา ใจเราก็มีว่า เมื่อไหร่ จะได้ไปเสพอีก ก็คือกิเลสเราพักยก อย่างพระที่มาบวช สายหลับตา อย่างเณรคำ เมีย ๘ ลูก ๒ นี่คือกิเลสมันพักยก และแตกตัว ประเด็นคือ ทำอย่างไร เราจะทำ อย่างไม่พักยก มันสูญดีกว่า เบากว่าที่เราจะไปติดมัน ...

จบ

 

           
       

 
๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่สันติอโศก