560711_รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อครู
เรื่อง อ่านปัญหาของคุณ ๘๗๐๕ ตอน ๒

                พ่อครูจัดรายการที่ห้องกันเกรา สันติฯ...

วันนี้คงพูดเรื่องธรรมะ เป็นสำคัญ มากกว่าเรื่องอื่นๆ แต่แน่นอน ธรรมะต้องเกี่ยวเนื่อง กับสังคม เพราะธรรมะของ พระพุทธเจ้า เป็นธรรมะของมนุษย์ พระพุทธเจ้าศึกษา เรื่องมนุษย์ กับสังคม ย้ำมากี่ทีก็ตาม ว่าพระพุทธเจ้า ศึกษาเรื่องที่เป็นเป้าหลัก คือ รู้ความเป็นมนุษย์เป็นหลัก ว่าคนที่บรรลุธรรม จะเป็นผู้ที่ ไม่มีโทษ เป็นสัตว์โลก ที่สุดยอดในโลก นี่คือความตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า

                ตอนนี้คุณ ๘๗๐๕ ก็ขมีขมัน พ่อครูก็เอามาใช้ เป็นประเด็น ในการให้ การศึกษา เพราะความเห็นอย่างนั้น ต้องขออภัย ที่ต้องกล่าวว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ เป็นความเห็น ของคนทั่วไป ซึ่งก็เลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องพูด ในความเห็นต่าง พ่อครูก็เข้าใจว่า อย่างที่ท่านพูดมา ก็เข้าใจ หลายอย่างพ่อครูเคยผ่านมา แล้วก็เห็นว่า มิจฉาทิฏฐิ แต่เมื่อ เรามีสัมมาทิฏฐิ ก็ต้องยืนยันว่า ไม่ถูกต้อง พ่อครูเข้าใจสองอย่าง แต่เห็นว่า ท่านก็ปิด ไม่รับสิ่งที่ มีความแตกต่าง
                อันใดที่พ่อครูตำหนิซ้อน ว่านี่ในพระไตรฯไม่ค่อยตรงก็บอก ด้วยจริงใจ ก็เห็นเช่นนั้นจริงๆ ว่าไม่ตรงตามสภาวะ ที่มีอยู่ เป็นต้น
                ก็จะอ่านที่คุณ ๘๗๐๕ เขียนมา ในวันที่ ๙ ก.ค. ๕๖
                บางอย่างก็เปรียบเทียบมา พ่อครูก็ตรวจตาม ในสภาวะ แต่ก็งง ว่าอย่างนี้ ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ก็ไม่ว่ากัน เขาจะเห็นอย่างนั้น ก็เป็นไป....

0888705xxx สมมุตว่าเป็นคืนวันเพ็ญ พระจันทร์อยู่กลางท้องฟ้าพอดี แล้วให้พธร. ลองไปยืนกลางถนน แหงนหน้ามองขึ้นไป ที่พระจันทร์บนท้องฟ้านั้น เสร็จแล้ว ให้ลองวิ่ง ไปตามถนน โดยขณะที่กำลังวิ่งนั้น.. พธร.จะต้องแหงนหน้า จ้องไปที่ พระจันทร์ เป็นจุดเดียวด้วย! แล้วพธร. จะรู้สึกได้เองว่า พธร. กำลังวิ่ง แบบไม่ได้วิ่ง! หากไม่เชื่อ ก็ไปทดลองดูได้อยู่แล้ว! ซึ่งนิกายเซ็นบอกเลยว่า.. ใบไม้มิได้ไหว ทั้งลม ก็มิได้ไหว แต่จิตของพธร. เองตะหากที่ไหว ! OK

                พ่อครูว่า แบบที่คุณว่า พ่อครูจะทำก็ได้ แต่ถือว่าอย่างนั้นก็คือ สภาวะโลกียะ สามัญ ไม่ได้ยากอะไร อธิบายอย่างหลักวิชาคือ จิตของเอง โดยสะกดจิตให้นิ่ง ทุกอย่าง ก็หายไป มันจะว่างอย่างไร จิตเราก็นิ่ง ทุกอย่างจะเคลื่อน ก็ไม่รู้สึกเลย เป็นมโนมยอัตตา อันอื่นจะไหว แต่จิตของเรานิ่ง หนึ่งเดียว เรียก เอกัคคตาก็ได้ ซึ่งปั้นจากสัญญาตน จนสำเร็จ แล้วรู้สึกว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ คืออัตตา มันสำเร็จขึ้นมาแล้ว จะเอานิ่ง ว่าง หรือมี ก็ยังได้เลย สร้างปั้นมาได้เองด้วย ทั้งๆที่มันไม่มีก็ได้ บอกได้เลยว่า คุณ ๘๗๐๕ อาจเคยสร้างได้ด้วย แต่ไม่รู้ว่านี่คือ มโนมยอัตตา

                เช่นคนที่เคยนั่งสมาธิ แล้วปั้น รูปได้ เช่นรูปเทวดา ก็สำเร็จด้วยจิต นี่คือ มโนมยอัตตา อย่างว่า แต่นั่งสมาธิแล้วปั้นเลย ในขณะลืมตา ถ้าอุปาทานสำเร็จจริงๆ เช่น มั่นใจว่า นี่คือผี เขาก็จะเห็นเป็นผี ได้จริงๆ ปั้นเอง สร้างเอง แล้วก็เห็นจริงๆ เช่น การสะกดจิต อย่างวิทยาศาตร์ ก็ทำได้ พ่อครูเคยทำมาก่อน เช่น สะกดจิต ให้เขาเห็นเสือ ก็วิ่งหนี กลัวเสือ ทั้งที่เสือไม่มี พอปลุกให้ตื่น ก็รู้ตัวว่า ไม่มีเสือ หรือจะสะกดจิต ให้รู้ว่า มีเหล็กร้อน เป็นไฟแดง ทาบที่แขน แล้วเราก็เอา ไม้บรรทัดธรรมดา ไปทาบที่แขน เขาก็จะรู้สึกว่า เหมือนถูกเหล็กร้อนจริง มีแผลไหม้ได้เลย หรือจะให้หนังเหนียว ฟันไม่เข้า ก็ได้ ทางแพทย์เขาเรียกว่า ภาพหลอน เสียงแว่ว หูแว่ว ตาหลอก เป็นต้น   

                คนที่ทำได้อย่างนี้ แม้จะปั้นภพว่าง อย่างอาภัสราพรหม โล่งว่างสะอาดไปหมด มีแต่แสงสว่าง นี่คือจิตว่าง ต่างจาก จิตว่างจากกิเลส กิเลสเป็นอัตตา เป็นภาวะที่เป็น การยึดถือ ผู้รู้แล้ว ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า เกิดปัญญาล้างได้ กิเลสหมด จิตก็ว่างจากกิเลส นี่คือความว่าง ไม่ใช่ภพใสว่างโล่ง อย่างนั้น

                ผู้นั่งสมาธิสร้างนิโรธ ก็เป็นภพชนิดหนึ่ง เป็นสุภกิณหาพรหม เป็นภพดำมืด เป็นชาติ ไม่ใช่การดับกิเลส การไปนั่งดับมืด เรียกว่านิโรธ ต้องไปนั่งหลับ ดับจิต แต่ไม่นั่ง ก็ออกนิโรธ แต่ว่าจะมีนิโรธอีก ก็ต้องไปนั่งอีก

                แต่คำว่า หลุดพ้น ล่วงพ้น หรือดับ พุทธเรียกว่า สมติกมะ และ วุฏฐานะ คือไม่ต้องไปเข้าๆ ออกๆ นั่งทำนิโรธดับ

                เวทนาที่รู้สึกว่าว่าง รู้สึกว่ามี รู้สึกว่าไม่มี รู้สึกว่าสว่าง รู้สึกทุกข์ สุข คือ อาการของจิต หรือเจตสิก ทั้งสิ้น ไม่ใช่รู้ทุกข์ว่า คือก้อนๆ แต่ว่ารู้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ เวทนานั้น มีเหตุ เมื่อเราทำเหตุให้ดับ ก็ดับสุขทุกข์ได้ เวทนาใด คือโลกีย์ ที่ต้อง วนเวียน ที่ถูกหลอกว่า น่าได้น่ามีน่าเป็น เมื่อดับเหตุได้ ก็ไม่มีเวทนา ที่จะสุขทุกข์ กับมันอีก ถ้าไม่รู้ก็สร้างเวทนา เป็นมโนมยอัตตาอีก
                อย่างทั่วๆไป เป็นภพว่าง ภพดำ ภพมืด ภพสว่าง เป็นเทวดา ผี นรก มีตัวตน คนไม่รู้ ก็สร้างขึ้นมา แต่ปรมัตถ์ของพระพุทธเจ้านั้น ให้หมดอัตตา หมดตัวตน
                จะไปบอกว่า อันนี้นิ่ง พ่อครูก็เข้าใจได้ว่า เป็นสภาพหลอกตัวเอง แท้จริง เราวิ่งอยู่ แต่จิตนิ่งนี้ ไม่ใช่ความรู้แบบพุทธ ไม่ใช่แบบที่กิเลสว่าง แต่มันเป็น มโนมยอัตตา

0888705xxx อวิชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณ เป็นปัจจัย ให้เกิดนาม-รูป.. .ให้เกิดสฬายตนะ.. .ให้เกิดผัสสะ... ให้เกิดเวทนา... ให้เกิดตัณหา ... ให้เกิดอุปาทาน... ให้เกิดภพ... ให้เกิดชาติ... ให้เกิดทุกข์... ให้เกิดศรัทธา... ให้เกิดปราโมทย์... ให้เกิดสุข... ให้เกิดปัสสัทธิ... ให้เกิดยถาภูตญาณทัสสนะ... ให้เกิดนิพพิทา... ให้เกิดวิราคะ... ให้เกิดวิมุติ! จากปัจจยาการ ที่เริ่มต้นจากอวิชชา.. แล้วมาสุดที่วิมุติ
                นี้ จึงเห็นได้ชัดว่า แม้วิมุติเองนี้.. ก็ยังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะมีสิ่งอื่น เป็นปัจจัยอยู่! ฉะนั้น วิมุติจึงยังเป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ในอำนาจ ความควบคุม ของใครๆ ได้เลย!
               และเหตุนี้ ในจิตตานุปัสนาสติปัฏฐาน จึงสอนให้กำหนดรู้ว่า เมื่อจิตวิมุติ ก็ให้กำหดรู้ว่า สักแต่ว่า วิมุตินะ.. อย่าได้พึงยินดีในวิมุตินี้! หรือถึงแม้ เมื่อจิตยังไม่วิมุต ก็ให้กำหนดรู้ว่า สักแต่ว่าไม่วิมุตนะ..อย่าได้พึงยินร้าย แม้ในจิตที่ไม่วิมุตนี้ เช่นกัน!

               พ่อครูว่า นี่คือความคิด แบบพวกเซ็น บรรลุอย่างเร็ว ด้วยบัญญัติภาษา ซึ่งน่าสงสารมาก ไม่ใช่สัจจะ แต่เป็นตรรกะทั้งนั้น แค่เข้าใจว่า ทุกอย่างไม่ใช่ตัวตน ทุกอย่าง ไม่เที่ยง แล้วกิเลสล่ะ เป็นอย่างไร ไม่เที่ยงหรือไม่

                คุณต้องอ่าน อาการ ลิงค นิมิต ให้ออก แล้วก็เห็นความไม่เที่ยง ของอาการ จิตจริง มันหายเอง ไม่บำเรอมันก็หาย หรือบำเรอ มันก็หาย แต่มันหาย แบบพักยก มันก็เกิดอีก สุขแค่ปลายเข็มจิ๊ก ถ้าสัมผัสต่อ ก็ปรุงต่อ สันตติต่อ แต่ถ้าไม่สัมผัส ความสุขนั้น ก็หายแล้ว ถ้ายังมีสัญญา ก็ไปปรุงต่ออีก เป็นของแห้ง

                ตรรกะกับสัจจะต่างกัน ผู้มีวิมุติแบบพุทธ จะรู้ขั้นตอนการปฏิบัติ แม้วิมุติ ได้อารมณ์ นั้นแล้ว ก็ไม่ยึด เราก็เอาอารมณ์ ไปคิดอย่างอื่น หรือมีอะไร ไม่วิมุติ ก็ไปทำต่อ ถ้าอรหันต์ ก็วิมุติหมด แต่ถ้าไม่ใช่อรหันต์ ก็ไม่แช่กับวิมุติ ที่ได้แล้ว ก็ไปทำ วิมุติต่อไป มีการรักษาผล ไม่ได้ทิ้ง มีอเนญชา ทำในเหตุ ทุกปัจจุบัน ให้สั่งสมเป็นอดีต ที่สูญๆๆๆ จนอดีต ตั้งมั่นแข็งแรง ไม่มีอะไรแปลเปลี่ยนอีก ทั้งอดีต และอนาคต ซึ่งก็จะรู้เลยว่า อนาคต ก็สูญแน่นอน เที่ยงแท้แน่นอน

                แต่พธร.อ่านจิตตานุปัสนาฯนี้แล้วไม่รู้เรื่อง..

                พ่อครูว่า ยืนยันว่ารู้หมด แต่คุณจะรู้ที่พ่อครูพูดไหม แต่พ่อครูรู้ สิ่งที่คุณ อธิบายหมด ถ้าคุณไม่รู้ คุณขาดทุนนะ โดยสัจจะแล้ว พ่อครูกำไร แต่คุณขาดทุน รู้ไม่ได้ เพราะไม่มีปัญญารู้ ไม่ได้ว่าคุณว่าโง่หรอก

                จึงไปเปลี่ยนชื่อของวิธีปฏิบัต จิตตานุปัสนาฯ ของพุทธเจ้านี้ ให้กลายเป็นชื่อ ..วิชาเจโตปริยญาณ 16 โดยพยายามจะโมเมชั่น ให้หมายถึง วิปัสนาญาณ16 ให้จงได้! ซึ่งความจริงแล้ว.. มันไม่ใช่! เพราะเจโตปริยญาาณ ของพุทธเจ้า มิใช่หมายถึงอย่างนี้! (ถ้าไม่เชื่อ.. ก็ไปเปิด พตปฎ.ดูได้!)

                พ่อครูว่า... เมื่อคุณมีเงินล้าน ในกระเป๋าอยู่ แล้วคนก็บอกว่า เราไม่มีเงินล้านอยู่ เราจะเสียใจไหม? แล้วก็ถามย้อนว่า คุณมีวิมุติ ในกระเป๋าแล้วหรือ วิมุติของคุณ เป็นอย่างไร? แต่พ่อครูก็ควักวิมุติ ออกมาแจกตลอด แต่คนก็ไม่ค่อยได้เท่าไหร่เลย

                ทั้งนี้ก็เป็นเพราะพธร.ดันโง่ไปคิดว่า เป้าหมายของการปฏิบัตก็คือ..การบรรลุ วิมุตินั่นเอง! แต่แท้จริงแล้ว..วิมุตนั้นมีไว้เพื่อให้ดู หรือให้กำหนดรู้เท่านั้น! จึงมิใช่มีไว้ เพื่อให้เอา หรือให้ใครๆ จะยึดถือเอาไว้ เป็นของตนๆได้!

                วิมุติเป็นไวยพจน์กับนิโรธ แต่เมื่อได้แล้ว ก็ผ่านแล้ว เรียก สมติกมะ และ เมื่อพ้นไปแล้ว ก็เรียก วุฏฐานะ แต่ที่จริง ผ่านไปแล้ว ไม่ต้องปฏิบัติอีก ไม่ต้องออก ต้องเข้า แล้วนั่นเอง
                ที่จริงขั้นยึดวิมุติ ก็คือ มมัง แล้วมันจะเกิดมานะ เป็นความถือดี เป็นรายละเอียด ในขั้นปลาย ผู้ถึงแล้ว จะพูดกันรู้เรื่อง ส่วนผู้ยังไม่ถึง ก็เก็บปริยัติ เป็นแผนที่ ไปก่อน แล้วเมื่อถึงแล้ว ก็จะนำมาใช้ได้ จะเร็ว ถ้าไม่รู้ปริยัติก็ยาก เอาช้าง ออกจากพวยกา ให้ได้ก่อน แล้วหางช้าง ก็จะเอาออกง่ายๆ แต่คนที่ไม่ได้เอาตัวช้าง ออกมา แต่เอาหางช้างออกก่อน ก็ได้แต่ตรรกะ ไม่สามารถออกได้จริง คุณผ่านหยาบได้ กลางได้ เหลือละเอียด คุณจะเอาหางช้าง ไว้ทำไม การยึดวิมุติเป็นเรา เป็นของเรา เรียก มมังการ แต่ถ้าจะยึดไป ก็ไม่เป็นภัยกับใคร ไม่สมบูรณ์ เท่านั้นเอง

                ฉะนั้นสำหรับอรหันต์ หรือเป็นผู้ที่หมดความยึดถือว่า เป็นของตน ได้แล้ว.. วิมุติของอรหันต์ จึงย่อมไม่กลับมา กำเริบได้อีก! หรือคือ อรหันต์นั้นย่อมอยู่ในวิมุติ ตลอดเวลา นั่นเอง! และเหตุนี้ พุทธเจ้าถึงได้ตรัสว่า ไม่ว่าจะเป็นที่ลุ่ม หรือที่ดอน หรือป่า หรือเป็นที่แห้งแล้ง ใดๆก็ตาม.. หากเป็นที่อรหันต์อยู่แล้ว ที่นั่น บรรยากาศ ย่อมจะร่มรื่น เสมอ.. น่าอยู่ยิ่งนัก! (ก็เพราะด้วยปาฏิหารย์ แห่งวิมุตนั้น นั่นเอง)
                ซึ่งสมมุตว่า คนสมัยปัจจุบัน จะเอาวิทยาการสมัยใหม่ ไปอธิบาย สอนให้กับ นายก๊อง ซึ่งเป็นมนุษย์โลกล้านปีฟัง เช่นไปสอนว่า เรือเหล็กลอยน้ำได้. .นายก๊อง ก็ย่อม ที่จะไม่เชื่ออยู่แล้ว ฉันใด.. ชึ่งการที่เราแค่เอาธรรมะ เบื้องต้น คือสภาวะวิมุติ ที่เห็น อนัตตา ไปเล่าให้พธร.ฟัง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน! เพราะเปรียบกันแล้ว พธร.ก็คือ.. นายก๊อง มนุษย์โลกล้านปี คนนั้นนั่นเอง! แล้วจะไม่ให้เราสรุปว่า พธร. เป็นพวกที่ ชอบอวดว่า ตนหัววิทยาศาสตร์จ๋า แบบไอสไต! แต่ดันโง่ทางธรรม เหมือนเด็กอนุบาล ได้ยังไงจ๊ะ! END

                พ่อครูว่า.. เขาว่าพธร.อ่านจิตตานุปัสสนาไม่เป็น... เขาก็ว่า ทุกอย่าง เป็นอนัตตา ทุกอย่าง มีแต่รูปกับนาม มีแต่เป็นเหตุปัจจัย กันเท่านั่น นี่คือวิมุติ ระดับต้นเลย เขาเอาวิมุต ิมาเป็นเรื่องต้นเลย พรวดเลยว่า ทุกอย่าง อนัตตาเลย แล้วก็เรียกว่า นี่คือวิมุติเลย เขาว่า ถ้าเข้าใจว่าทุกอย่าง ไม่ใช่อัตตา ก็คือวิมุติเลย พ่อครูว่า ก็เป็นแค่ตรรกะ
                พ่อครูก็ว่า กว่าจะเข้าถึงว่า ทุกอย่างไม่ใช่ตัวตน เราต้องล้างตัวตนก่อน ล้างอุปาทานเราก่อน แต่คุณตรรกะ ก็ว่ามีแต่ทุกข์เท่านั้น ที่เกิด - ตั้งอยู่ - ดับไป ก็เข้าใจ ด้วยเหตุผล ทั้งนั้นแหละ
                พ่อครูขอขยายความ ที่เขาว่าพ่อครูว่า

จึงไปเปลี่ยนชื่อของวิธีปฏิบัต จิตตานุปัสนาฯ ของพุทธเจ้านี้ ให้กลายเป็นชื่อ.. วิชา เจโตปริยญาณ16 โดยพยายามจะโมเมชั่น ให้หมายถึง วิปัสนาญาณ16 ให้จงได้!

                พ่อครูว่า คุณบอกเองว่า พ่อครูไม่เข้าใจใน ปฏิจจสมุปบาท ไล่มาสายเกิด แล้วก็มาต่อ สายดับเลย แต่ที่จริง การไล่กลับ ต้องไล่ตั้งแต่ ชาติ ซึ่งมี ๕ อย่าง การดับชาติ ไปได้เรื่อยๆ ตั้งแต่ชาติ ที่ทำให้เราวนเวียน สุขทุกข์อยู่ เป็นอัตตา ที่เรียกว่า สักกายะ  (องค์ประชุมของกาย ของกิเลส ที่เฉพาะตน ตัวหยาบตัวต้น ที่เรามีวิปัสสนาญาณเห็น)
                และเขาหมายความว่า พ่อครูโมเม ว่าเจโตปริยญาณ เป็น วิปัสสนาญาณ ซึ่งพ่อครู รู้ชัดว่า เจโตปริยญาณ ๑๖ คุณไปเรียกว่า วิปัสสนาญาณ ๑๖ พ่อครูเข้าใจว่า คุณคงหมายถึง โสฬสญาณ (ญาณ ๑๖) ที่โบราณาจารย์ ท่านเอามาต่อกัน
                พ่อครูว่า ไม่ได้หมายความว่า เป็นอย่างเดียวกัน พ่อครูจัดว่า เจโตปริยญาณ คือเจโต ส่วนญาณ ๑๖ คือปัญญา
                ญาณ ๑๖ คือ ปัญญาที่เป็นตัวรู้ ส่วน เจโตปริยญาณ ๑๖ คือตัวถูกรู้
                พ่อครูไม่ได้เข้าใจ อย่างที่คุณยัดเยียดให้เป็น อย่างคุณว่าเลย พ่อครูเมื่อพิจารณา ตามคุณ ก็เห็นตาม ปฏิจจสมุปบาท พ่อครูมีญาณเห็นว่า กายสังขาร จิตสังขาร วจีสังขาร เป็นอย่างไร
                วิญญาณ ๖ เกิดจากทวาร ๖ ที่มีผัสสะ ๖ มีสิ่งที่เกิดให้เห็น เป็นนามรูป พ่อครู ก็มีหมด อ่านออก มีเจโตปริยญาณ มีญาณ ๑๖ ก็อ่านออก ตัณหา ๖ ก็อ่านออก แล้วทำให้หมดได้ ไม่ใช่แค่ตรรกะพิจารณา

                เจโตปริยญาณ ๑๖ มี
.  สราคจิต  (จิตมีราคะ)
. วีตราคจิต (จิตไม่มีราคะ) 
๓. สโทสจิต (จิตมีโทสะ)
๔.  วีตโทสจิต (จิตไม่มีโทสะ)

.  สโมหจิต (จิตมีโมหะ)
๖. วีตโมหจิต (จิตไม่มีโมหะ)
๗. สังขิตฺตํจิตตํ (จิตเกร็ง-จับตัวแน่น หด คุมเคร่งอยู่) 

. วิกขิตฺตํจิตตํ  (จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด)
๐๙.
มหัคคตจิต  (จิตเจริญยิ่งใหญ่ขึ้น) 
๑๐
. อมหัคคตจิต (จิตไม่เจริญขึ้น)
๑๑. สอุตตรจิต (จิตมีดี แต่ยังมีดียิ่งกว่านี้ -ยังไม่จบ)
๑๒. อนุตตรจิต (จิตไม่มีจิตอื่นสูงยิ่งกว่า)

๑๓. สมาหิตจิต (จิตตั้งมั่นเป็นประโยชน์ดีแล้ว)
๑๔. อสมาหิตจิต (จิตยังไม่ตั้งมั่น ไม่เป็นประโยชน์)

๑๕. วิมุตตจิต (จิตหลุดพ้น) . . .
๑๖. อวิมุตตจิต (จิตยังไม่หลุดพ้นสิ้นเกลี้ยง)

                ต่อไปเป็นการตอบประเด็น

  • การปฏิบัติธรรม ต้องแก้ที่ใจใช่หรือไม่ ต้องรู้ว่าใจคิดอะไร ถูกหรือผิด ? เพราะฉะนั้น ที่วัดป่า สอนให้ดูใจ ก็ถูกแล้ว ก็ต้องดูใจ แล้วทำใจให้เป็นบุญ

ตอบ... แก้ต้นราก คือแก้ที่ใจ แต่ต้องแก้จากหยาบไป จากอาชีพ การกระทำ วาจา ที่ใจ ต้องตั้งศีลมา เช่นอยากฆ่า ก็ต้องไม่ฆ่า นอกจากไม่ฆ่าทางกาย ก็ไม่พูดฆ่า ไม่ทำอาชีพ เกี่ยวกับการฆ่า ก็ไม่ทำ และก็ข้อสอง ไม่เอาอาชีพ ที่ไปเอาของเขา โกงทุจริต การกระทำ ทุจริต ก็เลิก วาจาทุจริตก็เลิก แล้วมาเรียนรู้ที่ สังกัปปะ ๗ ถ้าเรียนรู้ สังกัปปะ ๗ ไม่ได้ ก็ไม่บริบูรณ์ ในการสร้างฌานสมาธิ ไม่พ้นตักกะวิตักกะได้ ไม่ใช่แค่รู้คิด แต่ต้องอ่าน ความรู้สึกด้วย …. วัดป่าโดยส่วนใหญ่ สอนให้นั่งสมาธิแล้วดูใจ อย่าให้ ออกนอกใจ ให้อยู่ในใจ เท่านั้น คือไม่ได้ปฏิบัติ กัมมันตะ อาชีวะ วาจา อย่างที่ใน มหาจัตตารีสกสูตร ที่ให้มีผัสสะ เป็นปัจจัย ไม่ได้ทำอย่างนั้น ก็สอนให้ดูใจ แล้วดูอย่าง สร้างสมถะ มันเลยเถิด ให้รู้ว่าคิดอะไร รู้สึกอะไร ก็ให้อ่าน แล้วอ่าน อาการ กาม - พยาบาท - วิหิงสา ต้องอ่าน อ่านอาการกาม ที่ไปสังขารในจิต เมื่อจับตัวกามได้ ก็กำจัดมันได้ อย่างกำหนดรู้ได้ อ่านสัมผัสได้โดยญาณ แล้วมันก็ดับได้ โดยเรามีปัญญา มีนามรูปปริเฉทญาณ เมื่อรู้ตัวกาม ก็กำจัดตัวกาม ถ้ากำจัดได้หมด มันก็ไม่ไปปรุงแต่ง นี่คือ ดับสังขาร (พูดหวัดๆ ) แต่ไม่ใช่ดับทุกอย่าง ไม่ให้นึกคิดอะไร ไม่ปรุงแต่งอะไรเลย อย่างนั้นทำ อสัญญีสัตว์ เป็นสายที่ ยังไม่สัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่ฌาน ไม่ใช่นิโรธของ พระพุทธเจ้า ไม่ใช่มนสิการที่ตรง แล้วที่ว่า ทำใจให้เป็นบุญ พ่อครูก็แจกว่า บุญคือ การชำระกิเลส คุณก็ชำระกาม พยาบาท ให้สำรอก โดยไม่เหลือ ทำให้จางคลาย จนสำรอก ไม่เหลือ ก็มีนิโรธ ก็หมด นี่คือหมดบาป (กิเลส) แล้วก็หมดบุญ (การชำระกิเลส สำรอกกิเลส) เมื่อไม่ต้องชำระ ก็ไม่ต้องทำใจ ให้เป็นบุญ แต่เขาสอนว่า บุญคือ วิมานโลกีย์ โลกธรรม ซึ่งมันเพี้ยนจากบุญ ที่เป็นปรมัตถ์

  • จะละกามสัญญาได้อย่างไร เราเคยพบเจอแล้วถูกใจ มันตามมาเป็นภาพหลอน  แล้วบางที เราก็ปรุงเอง ยินดีเอง จะทำอย่างไร นอกจากให้ปลงอสุภะ

ตอบ.. อสุภะคือให้เป็นเป็นของไม่ดี เป็นการสร้างสภาวะ ที่ตรงข้ามกับที่ยินดี สร้างอารมณ์ อย่างนี้ เป็นเบื้องต้น เท่านั้นเอง พิจารณากายนี้ ต้องเน่าเหม็น แตกสลาย เป็นอนิจจัง เป็นของไม่เที่ยง ถ้าเราปฏิบัติ จะใช้สัญญา ในการกำหนด ว่านี่ไม่น่าชอบใจ ไม่น่ายินดี ก็เป็นเบื้องต้น แต่ที่จริง ต้องพิจารณาว่า จิตเรา จางคลายหรือไม่ มันอศุภะ มันไม่น่าพึงใจ ก็คืออสุภะ เราต้องทำ ทั้งหยาบและละเอียด จะมีทั้งปัญญา ที่เห็นความจริง ของความจางคลาย เกิด โสฬสญาณ
. นามรูปปริเฉทญาณ ญาณจำแนกรู้รูป-รู้นาม และ  นามธรรม ก็เปลี่ยนเป็น “รูป” ให้ถูกจับมารู้อีกที . . .
.  ปัจจยปริคคหญาณ ญาณรู้ปัจจัยของการก่อเหตุให้เกิดเป็นปัจจัยของอะไรๆ ตามมา  ให้เกิดเวทนาอีก . 
.  สัมมสนญาณ  ญาณรู้เห็นรูป-นามของกิเลสตัณหา  ซึ่งยังวนๆ อยู่อย่างเกิดขึ้น –ตั้งอยู่ -ดับไป  ไม่เที่ยง
. (๑)อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิด – ความเสื่อมไป ของกิเลส ของชาติ เวทนา สุขทุกข์ต่างๆ
.  (๒)ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความสลายไป ของสังขารธรรม –ตัณหาปรุงแต่ง ทั้งหลาย .
.  (๓)ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันเพ่งเห็น กิเลสสังขาร  เป็นภัยอันน่ากลัว.. เพราะล้วนแต่ ต้องสลายไป 
.  (๔)อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ . ต่อเนื่องมาจาก การเห็นภัย
.  (๕)นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณเห็นความน่าเบื่อ-หน่ายในกิเลส  เพราะสำนึก เห็นทั้งโทษและภัย . .
.  (๖)มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณรู้เห็นการเปลื้องปล่อยไปเสียจากโทษ-ภัยเหล่านั้น .(อตัมมยตา)
๑๐.  (๗)ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณพิจารณาทบทวนถึง .  การปฏิบัติที่ปลดปล่อยได้  ก็ทำซ้ำอีก จนสำเร็จยิ่งขึ้น .
๑๑.  (๘)สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลาง วางเฉยต่อสังขาร ปรุงแต่งทั้งหลาย . . .
๑๒.  (๙)สัจจานุโลมิกญาณ  หรืออนุโลมญาณ ญาณอันเป็น ไปโดยอนุโลม ต่อชาวโลก  ต่อสมมุติสัจจะทั้งหลาย   โดใช้ สัปปุริสธรรม ๗.  ที่รู้จักประมาณ สัดส่วนต่างๆ 
๑๓.  โคตรภูญาณ ญาณรู้หัวต่อ ตัดโคตรขึ้นสู่ อาริยภูมิ. .
๑๔.  มัคคญาณ ญาณรู้ภาวะของอริยมรรค แต่ละขั้นๆ
๑๕.  ผลญาณ ญาณรู้ผลสำเร็จ แห่งการเป็นพระอาริยะ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ทบทวน ตรวจสอบ มรรคผล  และบริบท แห่งความสำเร็จทุกอย่าง

                ใคร่อยากในการทำร้ายก็กาม มีสองฝั่งคือ สิ่งใหญ่ของโลก คือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค อนาคามี จะหมดกามก่อน แล้วเหลือเศษของ รูปราคะ อรูปราคะ แต่หมดพิษภัย ต่อข้างนอกแล้ว คุณต้องกำหนดรู้ โดยฝึกสัญญา มากำหนดรู้ เช่นทุกข์ควรกำหนดรู้ (ปริญเญยยะ) ส่วนปฏิบัติ คุณมาทำการกำหนดรู้ คือ (สัญญา) พอสัญญากำหนดรู้ได้ ก็จะมาเป็นปัญญา มี ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา

                เมื่อเราหลุดได้ ก็ไม่ต้องเอามาเป็นของเรา ไม่ไปอยากมี อยากได้ อยากเป็น คนไม่ติด ก็ไม่ต้องไปอยากได้ เช่น เราไม่ติดลิปสติก คนอื่นเขาเป็นสุขกับ ลิปสติก คุณก็ไม่รู้สึก และแม้ว่า คุณเคยติดลิปสติก แต่คุณเลิกได้ ก็ไม่ไปโหยหากับมัน แม้แต่ เพชรพลอย อำนาจ ทรัพย์สินที่เขาแย่งกัน เราไม่มี ก็แสนสบาย มีแต่คุณค่า ช่วยเหลือกัน ให้ลดละ ไปตามขั้นตอน

  • สมัยยังวัยรุ่น ชอบเพลงรังรัก ในจินตนาการ ปราถนาอันเป็นดวงใจ ชอบมาก วันนี้ พอมาฟังอีก ก็ไม่พ้นความรำพึงรำพัน กามเป็นการเกิดจาก การปั้นจิต ใช่ไหม? อายุเกิน ครึ่งศตวรรษแล้ว ก็ยังเห็นว่า เพลงมันพาหลงใหล นี่คือโลก มันหลอกมา ใช่ไหม

ตอบ.. พ่อครูว่า เคยบอกว่า อันที่หลุดช้าที่สุด ก็คือเพลง จนมาบวช ก็มาแต่งเพลงอีก แต่ไม่ได้ติด เราลืมทิ้งมานาน แต่ก็ทำได้ ทำไปเพราะ ให้เกิดประโยชน์ หลังบวช เป็นเพลงโลกุตระเสียหมด พ่อครูเคยอธิบายเพลง ๕ ขั้น
เพลง ๕ ระดับ  ๑. ลามก ๒.ราคะ ๓.สาระ ๔.ธรรมะ ๕.โลกุตระ
ขั้นที่ ๓ ขึ้นไป เรียกว่า เป็นศิลปะ คือต้องมีทั้ง สุนทรียะ และสาระ มาประกอบกัน
ตอนนี้ เพลงส่วนใหญ่ อยู่ในระดับ ลามกและราคะ อย่างคนเขียนภาพนู๊ด ให้คนละราคะ นี่ยาก

  • กาย หมายถึงรูปกาย (กายในสัตตาวาส ๙ , วิญญาณฐีติ ๗) สัมมัปปัญญาคือ นามรูปปริเฉทญาณ ความเข้าใจอย่างนี้ เป็นอย่างไร

ตอบ... สัมมัปปัญญา คือเห็นความจริง ตามความเป็นจริง คือเห็นชอบ เป็นการเริ่มต้น เห็นนามรูป และที่ว่ากายหมายถึง กายในสัตตาวาส ๙ ก็ถูก

  • ธาตุความเพียร ๗ เทียบความสอดคล้อง เคลื่อนตัวไปกับ สังกัปปะ ๗ ได้หรือไม่?

ตอบ... สังกัปปะ ๗ ต้องเรียนรู้ให้สมบูรณ์ ส่วน ธาตุความเพียร จะรู้ในภายหลัง ที่ได้ทำ ไปได้แล้ว และทุกอย่าง ต้องใช้ความเพียรทุกอย่าง ก็ยังไม่ต้องกังวล มันก็ต้องใช้ไปในตัว แม้คุณ ไม่รู้พยัญชนะ แต่มีสภาวะ ก็ใช้ไปแล้ว คุณก็อธิบายใช้ได้ แต่ไม่มีเวลา อธิบายต่อแล้ว

  • เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ ได้ไปแสดงพลังกับหน้ากากขาว มีรถเครื่องเสียงหนึ่งคัน แต่เมื่อก่อนมี ๒ คัน และมีการนัดหมายที่ใหม่ นิมนต์พ่อครูชี้แนะ

ตอบ... เรื่องนี้ถือว่าเรื่องใหญ่ เรื่องนี้ ถ้าเกิดดี คือประชาชนมารวมตัว ตามความต้องการอะไร เป็นหนึ่งเดียว ถ้าคนไทย ต้องการมา แสดงความเห็น อย่างนี้สงบ แม้จะมีกิเลส ทำให้แยกกลุ่ม แต่ก็มีความต้องการเดียวกัน แม้จะมีหลากกลุ่ม อยู่ทุกจังหวัด ดีไม่ดี มาทุกวันเลย เราเรื่องเดียวกัน เช่นต้องการ ให้คนนี้ออกไป เป็นต้น ก็ออกมากัน แต่อย่าตีกัน เรื่องนี้กำลัง Intrend ก็ต้องการสิ่งเดียวกัน เรื่องนี้พ่อครูว่า ออกมาทำเลย อย่างสงบ จะมีกี่กลุ่ม ทั่วประเทศ ทางรัฐ ต้องส่งเสริมด้วย ประชาชน ออกมา ตามนิติรัฐ นิติธรรม สุจริต ถ้ารวมกันได้ หรือจะแยกกัน ใครจะมาที่ CTW ใครจะไป ที่สวนลุมฯก็ไป จะอาทิตย์ละครั้ง หรือทุกวันก็ได้ ออกมาอย่าง ปรารถนาดี เชิญเลย ถ้าทำได้ ก็งดงามมากเลย ที่อื่นไม่สงบเท่าเราเลย พ่อครูสนับสนุน เต็มที่

  • ได้ดูทีวีเรื่องชาวกระเหรี่ยง อายุยืน ๑๑๙ ปี เขามีวิถีชีวิต ที่น่าสนใจ ทำให้นึกถึง รายการที่ FMTV เคยออกอากาศ ถึงโครงการ ขยายอายุขัย ดูบุคลิกดี แล้วท่าน อยู่อย่างไร เบิกบาน เห็นท่านเบิกบานแล้ว ก็ทำตาม ไม่โกรธคนว่าด่ามา เอามาอ่านได้ อย่างเบิกบาน ใช่วิธีขยายอายุขัยหรือไม่?

ตอบ... พ่อครูก็ได้ดู อายุ ๑๑๙ ปี ก็ยังแข็งแรงดี ไม่แก่เท่าไหร่ ...ก็ใช่วิธีขยายอายุขัย กำลังทำ เป็นวิชาการ พ่อครูเป็นตัวตั้ง แล้วมีคนมาศึกษา

  • มาซื้อของร้านค้าข้างวัด เห็นคนมาซื้อเยอะ อยากรู้ว่า จะซื้อของของวัดขาย จะซื้อที่ไหน? เห็นมีร้านเยอะ แต่คนที่ร้าน พูดไม่ชัด ฟังสำเนียงไม่เข้าใจ อาจะเป็นเขมร แล้วจะซื้อร้านไหน จึงเป็นร้านอโศก

ตอบ... คนที่มาช่วยที่ร้าน บางคนเป็นชาวต่างชาติ พ่อครูก็ว่า อันไหนพอเหมาะ ก็เอา ก็มี ที่เป็นของส่วนกลางก็มี ร้านเอกชนห่างๆก็มี กลางๆก็มี อโศกชิดๆก็มี ในย่านนี้ แล้วไม่ใช่เลย แอบแฝงมา ก็มี ...

จบ


 
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่ สันติอโศก