|
||
ส.เดินดิน เปิดรายการที่ห้องกันเกรา สันติฯ... ขณะนี้ข่าวเรื่องศาสนากับการเมือง เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ กันอย่างมากมาย ในไทยรัฐ หน้า ๓ คุณกิเลนประลองเชิง ได้เขียนไว้ เกี่ยวกับเรื่อง ผู้นำเก๊ไว้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้ไม่ฉลาดเรื่อง พุทธพยากรณ์ หัวข้อ ภิกษุเถระชอบสบาย ในหนังสือ ตำราดูพระ (ปุ่น จงประเสริฐ เรียบเรียงจาก ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ของท่านอาจารย์ พุทธทาส) อ้างเหตุพระเถระ ยกคำตรัสของพระพุทธองค์ ดังต่อไปนี้ กัสสปะ ก็ในเวลานี้ พวกภิกษุชั้นเถระ ไม่สมาทาน การอยู่ป่าเป็นวัตร ไม่สมาทาน การบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่สมาทาน การใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ไม่สมาทาน การใช้ผ้าจีวร เพียงสามผืน เป็นวัตร ไม่จำกัดความต้องการ ให้มีแต่น้อย ไม่สันโดษ ไม่อยู่สงบ ไม่เป็น ผู้อยู่อย่างไม่คลุกคลีกัน ไม่ปรารภความเพียร และไม่กล่าวสรรเสริญ การกระทำเช่นนั้น ตำราดูพระ หัวข้อภิกษุผู้นำเก๊ ยกพุทธภาษิต ตรัสแก่ภิกษุ ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้เมืองอุกกเวลา... ตำราดูพระ ยังแนะวิธีดูพระเก๊พระแท้ ไว้อีกหลายเรื่อง ผมอ่านสองเรื่องนี้ แล้วก็นึกถึง พระเถระมากมาย ในบ้านเมืองเรา... ตั้งแต่มีข่าว หลวงปู่เณรคำ เรื่อยมา ท่านก็ดูเหมือน จะตั้งมั่นอยู่ในธรรมะ ข้ออุเบกขา... ไม่หนาวไม่ร้อน กิเลน ประลองเชิง พ่อครูคงจะอธิบายธรรมะ ในระดับปรมัตถธรรม พูดเรื่องรูปนาม, กาย, สัญญา, ซึ่งคนธรรมดา ฟังคำเหล่านี้ ก็ไม่เข้าใจ ถ้าไม่สัมมาทิฏฐิจริง ก็จะรู้ไม่ได้ ส่วนมากก็ยัง มิจฉาทิฏฐิ ยังไม่เข้าใจถูกต้องตามสภาวธรรม ก็ยังดีมีคุณ ๘๗๐๕ ได้ส่งประเด็นมา ทำให้พ่อครู มีประเด็นอธิบาย ซึ่งเขาคล้ายกับ ตัวแทนของคนทั่วไป ที่ยึดถือกัน ซึ่งเป็น คนหมู่มาก ซึ่งเขาว่าประชาธิปไตย เขาถือว่าหมู่มากถูก แม้พระพุทธเจ้า ก็มีเยภุยสิกา ใช้เสียงข้างมาก แต่ที่จริง ในเสียงข้างมาก ก็มีอะไร ซับซ้อนอยู่ ก็มี sms ของ ๘๗๐๕ มาอีกเมื่อวานนี้ มีมาอีก ก็ขออ่านให้ฟังก่อน..... คุณ ๘๗๐๕ ได้แต่วาทะและตรรกะ แต่ตรรกะที่สื่อมา ก็ยังมั่วอีก อย่างเช่นที่ว่า ปุถุชนมีวิมุตินั้น ที่จริง ปุถุชนนั้น ไม่มีวิมุติหรอก วิมุติคือสภาวะที่ กิเลสไม่มี คำว่าวิมุติ คือหลุดพ้นจาก ภพภูมิที่มีกิเลส คำว่านิโรธ คือกิเลสดับเช่นกัน และขณะที่วิมุติ หรือ นิโรธ ก็คือ สมยวิมุติ ก็คือวิมุติขณะนั้นไง แต่๘๗๐๕ ว่า ปุถุชนก็มีวิมุติชั่วคราวไง ซึ่ง พ่อครูว่า ๗๘๐๕ เข้าใจวิมุติผิดไป เขาเข้าใจว่า วิมุติคือปราศจากกาม ปราศจากอัตตา เมื่อไม่มี ก็วิมุติก็อนัตตา ก็อย่าไปยึดทั้งอัตตา และอนัตตา ก็ไม่ต้องยึดทั้งนั้น โดยเข้าใจว่า วิมุติหรืออนัตตามาใช้ แล้วใช้ภาษาว่า สมยวิมุติ คือวิมุติชั่วคราว ซึ่งคำว่าวิมุตินี้ ต่างจากพ่อครู และคำว่า อัตตา , วิมุติก็สัญญากำหนด ต่างจากพ่อครู ซึ่งก็จะได้ผล ต่างกัน วิมุติคือกิเลสไม่มี ไม่ว่าจะสมยวิมุติ การมีวิมุติคือ สภาพที่ต้องรู้ เนกขัมสิตอุเบกขา ต้องอ่านเวทนาในเวทนาออก โดยเฉพาะเวทนา ที่เป็น มโนปวิจาร ๑๘ ถ้าเป็นของฝ่ายปุถุชน เรียก เคหสิตเวทนา ๑๘ ซึ่งอุเบกขา ของปุถุชนก็มี ซึ่งอุเบกขา คือฐานวิมุติ จิตกลางๆไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่มีดูดหรือผลัก จิตเฉยๆ ไม่มีนิวรณ์ ไม่มีแม้แต่ ปีติสุข มีแต่เอกัคคตา แต่จิตเคหสิตเวทนา ไม่ได้รู้จักนิวรณ์ ไม่ได้ดับนิวรณ์ แต่เป็น อุเบกขาพักยก มีแล้วมันก็ดับชั่วคราว พักยก แต่คุณ ๘๗๐๕ ไปหลงว่า การพักยกนี้ เป็นวิมุติ ซึ่งมโนปวิจาร ๑๘ ต้องเรียนรู้ทั้ง ๖ ทวาร แต่ว่า ๘๗๐๕ ไม่ได้เรียนรู้ มโนปวิจาร เลย ก็พิพากษาจากพยัญชนะ ที่เขาแสดงออกมา ก็ต้องว่า คุณผิด อาตมาถูก แต่แน่นอน คุณก็ต้องว่า อาตมาผิด คุณถูก ซึ่งพ่อครูออกจะเชื่อว่า คุณ ๘๗๐๕ ฟังไม่รู้เรื่อง แต่พวกเรา รู้เรื่องกัน โดยเฉพาะ เขาไม่รู้มโนปวิจาร ๑๘ ซึ่งต้องเรียนรู้ ให้ครบ ทุกทวาร แต่คุณ ๘๗๐๕ ว่าเรียนรู้แต่ทาง ทวารใจ อย่างเดียว ซึ่งต้องเรียนรู้ให้ครบทวาร อย่างมีผัสสะ จะเห็นปรมัตถ์ เห็นจิต เจตสิก รูป นิพพานได้ เราต้องอ่านรู้เวทนา แม้มันไม่วิมุติ ในขณะที่ยังเป็นโสมนัส โทมนัส อุเบกขา ก็ต้องรู้ แต่ถ้าไม่รู้ มโนปวิจาร ก็โมเมว่า อุเบกขาเคหสิต เป็นวิมุติ ซึ่งปุถุชน ไม่ได้มีวิมุติ แต่เข้าใจว่า ปราศจากกิเลสชั่วคราว เป็นสมยวิมุติ จิตว่างจากนิวรณ์ ว่าคืออุเบกขา ซึ่งการไม่มีนิวรณ์นี้คือฌาน แต่ต้องเป็นฌาน ๔ ก็เป็นฐานนิพพาน หรือจะเอา ตั้งแต่ ฌาน ๑ มีฐานนิพพานก็ได้ แต่ต้องรู้ว่า ทำอย่างไร จึงเป็นฌานพุทธ เข้าภูมิ โลกุตระได้ ซึ่งโลกุตรภูมิ มี ๙ ภูมิ คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล อนาคามีมรรค... อรหัตผล และ โลกุตระภูมิอีกหนึ่ง รวมเป็น ๙ การเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เห็นตั้งแต่สัมมสนญาณ บุคคลรู้เห็น อายตนะ๑๒ รู้เห็นวิญญาณ ๖ รู้เห็นสัมผัส ๖ รู้เห็นเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทั้ง ๖ เป็นปัจจัย รู้โดย ความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจโต) จึงละมิจฉาทิฏฐิได้ ซึ่งทุกคนมี เคหสิตอุเบกขา แม้ไม่เรียนมา ก็มีสภาพนี้ ซึ่งไม่ใช่วิมุติ เริ่มต้นญาณ ๑๖ ก็เป็นปรมัตถ์ คือ โสฬสญาณ ๑.นามรูปปริเฉทญาณ ญาณจำแนกรู้รูป-รู้นาม และ นามธรรม ก็เปลี่ยนเป็น รูป ให้ถูกจับมารู้อีกที ความไม่คงที่ก็คือ ความไม่เที่ยง คือ อนิจจัง ผู้เห็นความไม่เที่ยง คือ พ้นมิจฉาทิฏฐิ แต่ยังไม่เห็นทุกขัง ต้องเห็นสักกายะ บุคคลรู้เห็น อายตนะ ๑๒ รู้เห็นวิญญาณ ๖ รู้เห็นสัมผัส ๖ รู้เห็นเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทั้ง ๖ เป็นปัจจัย รู้โดย ความเป็นทุกข์ (ทุกขโต) จึงละสักกายทิฏฐิได้ แต่คุณ ๘๗๐๕ ว่าเห็นคนที่ผ่านมา เป็นตัวทุกข์...จาก sms เมื่อหลายวันก่อน... แต่เราต้องอ่านอาการทุกข์ออก คือเห็นทุกข์ให้ได้ โดยมีวิปัสสี ๔ คือ อนิจจาสุปัสสี -วิราคานุปัสสี นิโรธานุปัสสี -ปฏินิสัคคานุปัสสี ต้องอ่านให้เห็นเหตุ คือสักกายะ (องค์ประชุมของ เจตสิกธรรม) เห็นอยู่ อย่างสดๆ เป็นของจริง เราพิจารณาเวทนาในเวทนา ว่ามันมีเหตุแห่งทุกข์ เป็นทุกขเวทนา เป็นเนกขัมสิตทุกขเวทนา แม้จะนั่งเจโตสมถะ ก็เข้าไปอ่านอารมณ์ ความรู้สึก ขณะตัดภายนอกหมด ก็อ่านได้ นามกาย ถูกญาณเรารู้ เมื่อมันถูกรู้ มันก็คือ นามรูป คุณ ๘๗ ๐๕ เอาวิมุติมายัดใส่ปุถุชน นี้แสดงให้เห็นว่า ยังไม่เข้าใจอะไรเลย การปหาน ๕ สมุทเฉทปหาน คือทำให้กิเลสลดได้แล้ว เป็นฌานแล้ว แต่ ฌาน ๑-๓ ยังไม่เรียกอุเบกขาแท้ ต้องฌาน ๔ จึงเรียกอุเบกขาแท้ เมื่อสมุทเฉทปหาน แล้วก็ ปฏิปัสสัทธิปหาน ทวนแล้วทวนอีก อาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง เป็นญาณฯข้อ ๒ ในญาณ ๗ พระโสดาบัน เมื่อเริ่มมีญาณ ก็เรียกว่าเป็นผู้สามารถเข้าสู่ปรมัตถ์ เริ่มมีญาณรู้นามรูป คือ นามรูปปริเฉทญาณ สัมผัสจิตเจตสิกได้ แต่ยังไม่เห็นความไม่เที่ยง แต่เริ่มเห็น จิตในจิต เห็นปรมัตถ์ แล้วกิเลสมันก็ไม่เที่ยง ไม่คงที่ เกิด-อยู่-ดับไปได้ จะเป็นเวทนาในเวทนา หรือ กายในกายก็ตาม ขณะที่ถูกรู้ มันก็คือรูป สัญญาไปกำหนดรู้ว่าอย่างนี้ เช่น สัญญาเราไปกำหนดรู้ ตอนสัมผัส เช่นเห็นดอกไม้ สัมผัสปุ๊ป ก็ปรุงแต่งสังขาร เป็นเวทนาทันที รวมเป็นเวทนา มีรูปร่างสีสันตัวตน เป็นองค์ประชุม เข้าสเปคเลย ว่าน่ามีน่าได้น่าเป็น ก็เป็นอารมณ์ชอบ ถ้าได้ ก็สมตัณหา ต้องอ่านตัณหาได้ คุณต้องแยกว่า มีกามเข้าไปร่วมด้วย หรือไม่ อ่านใน สังกัปปะ ๗ คุณต้องดักรู้ ตั้งแต่ ตักกะ พิจารณาแยกแยะเป็น ตีรณปริญญาออก อ่านตัณหา อุปาทานได้ ว่าเราเคยสะสมว่า รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ต้องอย่างนี้ ถ้าเอามากิน มาดู ถ้าตรงกับสเปค หรืออุปาทาน คุณก็สุขเต็มรูปเลย อัตตา นั้นคืออุปาทาน และคือตัณหา นั่นเอง สเปคคืออุปาทาน พอมันอยาก มันเคลื่อนไหวขึ้นมา เป็นพลังงานเคลื่อน ก็เรียกว่า ตัณหา ตัวเคลื่อนจะรู้ง่ายกว่า อุปาทาน ที่มันนิ่ง พระพุทธเจ้าว่า ถ้าจะล้างอุปาทานได้ก็เก่ง แต่ถ้าล้างตัณหาได้ ก็ล้างอุปาทานได้ อุปาทานเป็นอนุสัย อาสวะอยู่ข้างใน ท่านอธิบายอย่างสโลว์โมชั่น ว่าเป็นนิทาน พญานาค นอนอยู่ใต้น้ำ พระพุทธเจ้า ลอยถาดทองคำ ตรงที่พระพุทธเจ้า ทุกพระองค์ ลอยถาดที่นั่น ถาดทอง มากองกัน เมื่อลอยมาตกกระทบ ถาดทองเก่า ของพระพุทธเจ้า ก็ดังมากเลย เพราะเป็น ลักษณะโลกีย์ พญานาคนอนหลับลึกมาก ไม่มีอะไรปลุกได้ แต่ถาดทองคำ ที่มากระทบกัน ก็ดังมาก ท่านสมมุติเป็น ถาดทองคำพิเศษ ดังมาก จนพญานาค ต้องตื่น แม้ขี้เซามาก ตื่นมาก็ได้ยินทุกที ที่พระพุทธเจ้าลอยถาด หมายความว่า ต้องให้ความรู้ ฤทธิเดช ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะปลุกให้ตื่นได้ ตื่นจากโลกียะ มาสู่โลกุตระ ลูกพญานาค หลานพญานาคทั้งหลาย ก็งมงายหลงใหลโลกียะมานาน ไม่ได้ยินเสียงถาด ของพระพุทธเจ้าเลย แต่ถ้าคุณติดหลับหนัก คุณก็จมในโลกียะใหญ่เลย แม้รู้สึกตัวมา ก็หลับต่อไป เป็นพญานาคาต่อไป อีกนาน นับกัปป์กาล พวกเราอย่าไปเป็นพญานาคเลย เป็นแค่ลูกหลานนาคก็พอ ซึ่ง นาคะแปลว่า ผู้ยิ่งใหญ่ทางโลกีย์ และที่กำลังอาละวาด หนักในไทย เขาเป็นผู้หลับใหลโลกีย์ ทำความเดือดร้อน ให้คนจำนวนมาก พญานาคตัวนี้ อาละวาดในไทย หนักมาก หลับใหล หลงใหลนานมาก แม้เสียงถาดทองคำพระพุทธเจ้า ก็ไม่ได้ยินหรอก ยิ่งพระพุทธเจ้าไม่อุบัติ ก็ไม่ได้ยิน แค่เสียงโพธิสัตว์ ก็ไม่มีทางได้ยิน แต่ถาดพลาสติก ยิ่งไม่ได้ยินใหญ่ ผู้ไม่รู้ก็เห็นธรรมะไม่ได้ เห็นอัตตาไม่ได้ เห็นทุกข์ไม่ได้ เพราะเขาได้แต่ ตรรกะว่า ไม่ใช่อัตตา ทุกอย่าง แล้วก็ปิดประตู ที่จะเรียนรู้ อัตตาของตน ซึ่งพระพุทธเจ้า ให้เรียนรู้อัตตา ในสุริยเปยยาลสูตร อัตตาตัวแรก ที่ต้องเรียนรู้ คือ สักกายะ ซึ่งต้องเรียนรู้ ขณะผัสสะ จะได้เรียนรู้นาม ที่มี เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ซึ่งสังขารก็คือ เวทนานั่นแหละ คนไม่รู้ ก็ปรุงแต่งทันที อ่านสังขารไม่ออก ดังนั้น คุณต้องอ่านสังขาร ให้ออกก่อน มันปรุงเป็นผี หรือเทวดา ถ้าปรุงชอบใจ ก็เป็นสมมุติเทพ คือเทวดาเก๊ ซึ่งคำว่า สมมุติเทพ เขาระบุเป็นตัวตนว่า คือ ผู้ที่บริบูรณ์ ด้วยโลกียะ หรือโลกธรรม เช่นพระราชา และเชื้อพระวงศ์ อย่างเช่น เจ้าชายอนุรุธ ก็เรียกหา ขนมไม่มี ปรมัตถ์แท้คืออยู่ในจิต ไม่ได้อยู่นอกจิตหรอก จิตนิยามของ คนจะรู้ทุกข์นั้น ต้องเป็น เวไนยสัตว์ พระพุทธเจ้าว่า คนจะรู้ความเป็นทุกข์ ยากยิ่งกว่า ยิงศรเข้าเสียบ รูกุญแจ ในระยะทางไกลหลายดอก การจะอ่านอาการทุกข์ อย่างรู้อาการ ลิงค นิมิต อุเทศได้ อย่างปัจจุบันขณะผัสสะ นั้นยากยิ่งนัก ยากกว่า จักเส้นผมเป็น ๗ แฉก แต่ละแฉก เท่ากันด้วย การจะเห็น สักกายะ นั้นยิ่งเห็นได้ยาก แล้วจะไปเข้าใจกายใน ก็ยังไม่เข้าไปตอบเนื้อหา ที่คุณ ๘๗๐๕ เขียนมาเท่าไหร่ ในวันที่ ๘ ซึ่งคุณก็ กำลัง จับยัดพ่อครู ให้เป็นเช่นนั้นที่ว่า พ่อครูเข้าใจคำว่า จิตตานุปัสสนาญาณ กับ เจโตปริยญาณ ว่าเหมือนกัน ซึ่งพ่อครูเข้าใจ เจโตปริยญาณ อย่างละเอียด อย่างที่ได้เคย อธิบายไปแล้ว ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ เจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนด รู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ ส.เดินดินสรุป ความไม่เข้าใจในโลกสองโลกนั้น ทำให้อย่างคุณ ๘๗๐๕ ไปเห็นว่า สัตว์อื่นบุคคลอื่น ก็คือบุคคลอื่นจริงๆ อย่างเขาเห็น ผู้หญิงเดินมา ก็สามารถ อ่านรู้ใจคนอื่น ได้เลยทันที ซึ่งมันไปไกล คนละอย่าง กับที่พ่อครูอธิบายเลย พ่อครูพยายามทำความเข้าใจ ให้รู้ความเห็น ของคนส่วนใหญ่ ที่เขาท่องได้ ก็บอกว่า รู้แล้วบรรลุแล้ว ท่องปฏิจสมุปบาท ก็ได้แล้ว เป็นการใช้ตรรกะ แต่ว่า จะปฏิบัติอย่างไร ที่จะให้บรรลุได้ ซึ่งเมื่อท้วงไป เขาก็พยายามอธิบาย การปฏิบัติ ของเขาว่า เขาเดินไปตามสะพาน... ซึ่งก็ไกลกันสุดกู่เลย เขาก็ว่า เราโง่มากมายเลย และพ่อครู ก็เข้าใจเขาได้ ซึ่งถ้าคุณ ๘๗๐๕ พยายามเข้าใจ สิ่งที่พ่อครูอธิบาย ก็จะเรียกได้ว่า ไม่ได้โง่จริงๆ... จบ
|
||
|