560715_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก)
โดยพ่อครูฯ และอ.
กฤษฎา ให้วัฒนานุกูล
เรื่อง ไม่มีผัสสะ-ไม่รู้สภาวะรูป ๒๘

           อ.กฤษฎาเปิดรายการที่ พุทธสถานปฐมอโศก วันจันทร์ที่ ๑๕ กค.๒๕๕๖

วันนี้คงต้องให้พ่อครูขยายเพิ่มเติม ในเรื่อง นาม-รูป , กาย ซึ่งเป็นเรื่องลึกซึ้ง พ่อครูเน้น คำว่า “กาย” ที่มีมิติ รวมทั้งรูปและนาม ไม่ใช่หมายถึง “สรีระ”

           ในช่วงชีวิตที่อ.กฤษฎาได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่ ก็มีการไปวัดไปวา เพื่อแก้บน มีการนุ่งขาว ห่มขาว นั่งหลับตาทำสมาธิ แต่เราก็ยังมีเห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัว ผู้คนก็วนเวียน กันอยู่เช่นนี้ แม้แต่พระ ก็มีคดีความกัน มากมาย ในขณะนี้ ซึ่งวันนี้คนศึกษาธรรม ก็ต้องมา ทบทวนตนเอง ว่าเราเรียนธรรมะกัน เราต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร

           ผมเคยเรียนนั่งสมาธิ นุ่งขาวห่มขาว เรียนมาหลายสำนัก เช่นแบบพุทโธ เรียนรู้ไป ต่อมา ก็ได้เรียนรู้พ่อครูที่ว่า ให้เรียนรู้ผ่าน อายตนะ ๖ ก็ได้ทบทวนที่ว่า ไปนั่ง ก็ไปนั่งได้อะไร ก็เห็นว่ามันโงกง่วง มันเมื่อย เขาก็ให้มองเวทนาว่า ให้ความเมื่อย เป็นเวทนาที่ต้องเรียนรู้ มันหายไปได้ ซึ่งก็เป็นการทรมาน สังขารกาย กันไปทำไม
           ซึ่งเมื่อดูอานาปสติว่า เราต้องเรียนรู้ปัจจุบัน

           พ่อครูว่า ที่รู้ในปัจจุบัน คุณรู้รูป-นาม ในปัจจุบัน และเรียนรูป รูป-นาม ที่ไม่เป็นปัจจุบัน

           ประเด็นที่ว่านั่งได้อะไร ก็เห็นว่ามันโงกง่วง มันเมื่อย เขาก็ให้มองเวทนาว่า ให้ความเมื่อย เป็นเวทนา ที่ต้องเรียนรู้ พ่อครูก็เคยเรียนมา แต่มันเป็นมิจฉาทิฏฐิ ...การไปนั่ง แล้วมันเมื่อย ก็ว่าเห็นทุกข์ แล้วก็ให้เรียนรู้มัน พ่อครูว่า เรานั่งเมื่อย เราก็ดัดตัว เปลี่ยนท่า ก็หายเมื่อย มันคือกายิกทุกข์ คือทั้งมหาภูตรูป และนามรูป ประกอบกัน เป็นกายิกทุกข์ มันปวดเมื่อย ตัวดินน้ำไฟลม ร่างมันไม่สมดุล การที่ไม่สบายกายนี้ คือกายิกทุกข์ ไม่ได้หมายว่า คือสรีระอย่างเดียว ต้องประกอบด้วย นามด้วย ต้องมีธาตรู้ไปรับรู้ จึงเรียกว่า “กาย” ถ้ามีแต่รูปรูป เช่น ฟักข้าวนี่ก็ไม่มีกาย มันไม่มีธาตุรู้ กระทบอะไร มันก็ไม่รู้เรื่อง แต่คนมีจิตวิญญาณ จึงรู้เรื่อง ในหมวด จิตเจตสิก ๓ คือ เวทนา สัญญา สังขาร มันก็ทำงานเป็นธาตุรู้

           เมื่อนั่งจนเมื่อยก็ทุกข์ ก็พยายามเห็นความไม่เที่ยง หรือใช้วิธีใดๆก็ตาม มันปวดเมื่อย ก็แก้ได้ โดยการแก้ที่ร่าง แค่เปลี่ยนอิริยาบทก็หาย มันคือกายิกทุกข์     

           ส่วนทุกข์ที่พระพุทธเจ้า ท่านให้ดับ คือเจตสิกทุกข์ คือทุกข์ทางใจ แม้ไม่มีร่างกาย ก็ทุกข์ได้ เป็นจิตสังขาร ไม่มีกายสังขาร ที่มีดินน้ำไฟลมด้วย แต่ถ้าแยกร่างกาย อย่างเดียว ก็คือร่างกายคนตาย เราไม่เรียกว่าสังขาร หรือจะเรียกว่า สังขารของรูปเฉยๆ คือ รูปสังขาร คือเหมือนดินน้ำไฟลม       

           คือให้แก้ที่กายิกทุกข์ แต่ถ้าเผื่อว่า คุณเจ็บป่วย ร่างกายคุณป่วย ก็ต้องแก้ที่เหตุ คือกาย แต่ทุกข์ที่พระพุทธเจ้าให้แก้ คือทุกข์ทางใจ คือร่างกาย จะเกิดแก่เจ็บตาย ก็เป็นไป แต่ทุกข์ที่ให้เรียนคือ ปรมัตถทุกข์ คือนามรูป ไม่ใช่รูปนอก

           ถ้านามกายก็คือแต่ภายใน ถ้ารูปกายก็คือ รวมทั้งภายในภายนอก คือสิ่งที่ถูกรู้ ที่รวมทั้ง ๕ ทวาร

           เมื่อเราสัมผัสอยู่ในปัจจุบัน คุณจะมีทั้งรูปกายและนามกาย แก้ไขเหตุแห่งทุกข์ได้ อย่างเป็นองค์รวม แต่ถ้าคนไปนั่งหลับตาดับ ก็มีแต่ปัจจุบัน อยู่ข้างใน จึงไม่ครบ รูป-นาม ก็ไปรู้แต่รูป ที่อยู่ข้างใน ที่เป็นนามรูป ที่จะต้องมีปัจจุบัน เป็นอุปาทายรูป (แจกเป็น ๒๔ รูป) ส่วนรูปนอก มีแจกไป ๔ อย่างคือ ดินน้ำไฟลม

           ถ้า รูปรูป ก็คือไม่มีนาม ไม่รู้เรื่อง จะเรียนธรรมะไม่ได้ มันปรุงแต่งไปตาม ฟิสิกส์ไป มันเป็น อนุปาทินกสังขาร มันจะไม่มีอุปาทายรูป มีแต่มหาภูตรูป เช่นเดียวกัน คนตาย หรือคนไม่ตาย แต่คุณตัดทวารนอกได้ มีแต่ข้างใน แต่ข้างในไม่ครบนามรูป เพราะอุปาทายรูป จะต้องมีทวาร ๕ สัมผัส แล้วเนื่องไปสู่ภายในครบรูป ๒๘ แต่ถ้าเอาแต่ รูปข้างใน ก็เป็นรูปแค่ ๒๔ เป็นคนพิการ เป็นสภาวะพิการ เหมือนคนตาบอด หูหนวก ประสาทเสีย ไม่รับรู้อะไรครบ ดังนั้น คนตาบอดหูหนวก อายตนะไม่ดี ปฏิบัติธรรมไม่ได้ เรียกว่ารูปที่จะเป็น วิสัยรูป

           ปสาทรูป คือรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เมื่อนั่งหลับดับดิ่ง จะไม่รู้ ปสาทรูป และโคจรรูป (วิสัยรูป) เรียนรู้อุปาทายรูปไม่ได้ คุณก็เป็นคนหูหนวก ตาบอด คุณก็ศึกษา อุปาทายรูป ๒๔ ไม่ได้

           ส่วนหทยรูป คือที่อยู่ของจิตวิญญาณนั้น เป็นที่ตั้ง ซึ่งไม่มีดินน้ำไฟลม ไม่มีสถานที่ อย่างในร่างกายเรา มีจิตวิญญาณอยู่ในนี้ มันเข้าไปสัมผัสที่ไหน ก็คือ ที่ตั้งความรู้สึกเกิดขึ้น เรียกว่า หทยรูป เช่น ตากระทบรูป นิ้วไปจิ้มตรงนี้ ก็คือหทยรูป คือที่ตั้ง ของเวทนานี้ แล้วก็ไปเข้าใจกันว่า อยู่ที่หัวใจ ห้องที่สี่ เป็นตัวเป็นตน ไปหมดเลย ที่เรียนอภิธรรมกันเลย ที่ตั้งต้องเกิดจากผัสสะ แล้วจะเกิดที่ตั้งของ หทัยรูป เมื่อเลิกสัมผัส หทยรูปก็ไม่มี

           การที่ไปปิดทวาร ๕ ปิดทางเรียนรู้ผัสสะ จากกามาวจร แล้วไปอยู่กับภายใน คือ ไม่เรียนรู้ตัวช้าง ออกจากพวยกา แล้วไปเรียนรู้หางช้างก่อน ก็ผิดทาง

[40] อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป 24 (derivative materiality)
ก. ปสาทรูป 5 (รูปที่เป็นประสาทสำหรับรับอารมณ์: sensitive material qualities)
1. จักขุ (ตา - the eye)
2. โสต (หู - the ear)
3. ฆาน (จมูก - the nose)
4. ชิวหา (ลิ้น - the tongue)
5. กาย (กาย - the body)

ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป 5 (รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอินทรีย์ : material qualities of sense-fields)
6. รูปะ (รูป - form)
7. สัททะ (เสียง - sound)
8. คันธะ (กลิ่น - smell)
9. รสะ (รส - taste)
0. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย - tangible objects) ข้อนี้ไม่นับ เพราะเป็นอันเดียวกับ มหาภูต 3 คือ ปฐวี เตโช และ วาโย ที่กล่าวแล้วใน มหาภูต

           พ่อครูว่า เริ่มต้น ก็ไม่เรียนรู้ปสาทรูป และโคจรรูป ก็หลงไปเรียนรู้ นามกายเลย ก็มีแต่มนายตนะ เท่านั้น มันก็เรียนแบบจู๋เลย

           ต้องมีผัสสะเป็นปัจจุบันเสมอ จึงเรียนรู้ของจริง ในปัจจุบันขณะใด ตาคุณ ก็ไม่กระทบรูป ในปัจจุบัน ไม่มีสัมผัสทางทวาร ๕ ในปัจจุบัน ปัจจุบันคุณก็ไม่มี รูปนาม มันจะมีอย่างเดียวคือ รูปรูปัง คือไม่มีนามมาร่วมด้วย แม้ตาสัมผัส หากไม่มี อายตนะ ไม่รับรู้ มันก็เป็นการปฏิบัติ ที่ขาดจากรูป คุณตัดรูป ๔ แล้วคุณก็ไป ด้นเดาเอารูป

ค. ภาวรูป 2 (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ - material qualities of sex)
10. อิตถัตตะ, อิตถินทรีย์ (ความเป็นหญิง - femininity)
11. ปุริสัตตะ, ปุริสินทรีย์ (ความเป็นชาย - masculinity)

ง. หทยรูป 1 (รูปคือหทัย - physical basis of mind) (แปลตามทั่วไป ตามพจนานุกรม ประมวลศัพท์ฯ)
12. หทัยวัตถุ* (ที่ตั้งแห่งใจ, หัวใจ – heart-base)

จ. ชีวิตรูป 1 (รูปที่เป็นชีวิต - material qualities of life)
13. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต - life-faculty; vitality; vital force)

ฉ. อาหารรูป 1 (รูปคืออาหาร - material quality of nutrition)
14. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว, อาหารที่กิน : edible food; nutriment)

ช. ปริจเฉทรูป 1 (รูปที่กำหนดเทศะ : material quality of delimitation)
15. อากาสธาตุ (สภาวะคือช่องว่าง : space-element)

ญ. วิญญัติรูป 2 (รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย : material intimation; gesture)
16. กายวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยกาย : bodily intimation; gesture)
17. วจีวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา : verbal intimation; speech)

ฏ. วิการรูป 5 (รูปคืออาการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้ : material quality of plasticity or alterability)
18. (รูปัสส) ลหุตา (ความเบา - lightness; agility)
19. (รูปัสส) มุทุตา (ความอ่อนสลวย : elasticity; malleability)
20. (รูปัสส) กัมมัญญตา (ความควรแก่การงาน, ใช้การได้ : adaptability; wieldiness)
0. วิญญัติรูป 2 ไม่นับเพราะซ้ำในข้อ ญ.

ฏ. ลักขณรูป 4 (รูปคือลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด : material quality of salient features)
21. (รูปัสส) อุปจย (ความก่อตัวหรือเติบขึ้น : growth; integration)
22. (รูปัสส) สันตติ (ความสืบต่อ : continuity)
23. (รูปัสส) ชรตา (ความทรุดโทรม : decay)
24. (รูปัสส) อนิจจตา (ความปรวนแปรแตกสลาย : impermanence)
          
           ถ้าไม่มีผัสสะในปัจจุบัน ไม่มีทางเรียนรู้รูปนาม ที่ถูกต้อง ไม่มีทาง บรรลุธรรมแน่ๆ

           และในรูปกับนามนั้น เมื่อคุณไม่รู้รูปที่ถูกต้อง อย่างที่คุณ ๘๗๐๕ ส่งมาท้า ให้อธิบาย รูป ๒๘ ซึ่งพ่อครูยังไม่ตอบทันที เพราะว่าเดี๋ยวจะเป็น การให้ความสำคัญ กับคุณ ทำให้อัตตาขึ้น ซึ่งพ่อครูที่ตอบนี้ ก็ไม่ได้หวังที่คุณหรอก แต่หวังที่คนอื่น ที่เขายังเข้าใจผิดๆ แบบคุณ ซึ่งมีมากอยู่

           แม้บรรลุเป็นโสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ ไม่ได้หมายความว่า คุณไม่มีทวาร ๕ แต่คุณก็สัมผัสอยู่ กับองค์ประชุมภายนอก ในกามาวจร ในกามภพ ชีวิตดำเนินไปอยู่ ยังมีอยู่ อวจรอยู่ขณะนี้ ถ้าอนาคามีขึ้นไป กิเลสในกามภพคุณก็ไม่มี คุณอยู่เหนือมันอยู่ อย่างไม่สุขไม่ทุกข์ สบายๆ แต่กิเลสในรูปภพ เป็นรูปราคะ อรูปราคะ คุณก็มีการกระทบ ทวาร ๕ เพื่ออ่านรู้ว่า ยังมีกิเลสเหลืออยู่ภายใน ให้เรียนรู้ หทยรูป และให้เรียนรู้ภาวะ ที่ต่างกันของ ภาวรูป 2 (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ)

           อิตถีภาวะคือภาวะที่ไม่รู้จบ คือยังมีอาการที่ไม่จบง่ายๆ แต่ปุริสภาวะ คือภาวะแข็งแรง จบบริบูรณ์ เด็ดขาด อรหัตผลเลย เป็นเอกกัคคตา เป็นภาวะของ นามธรรม ที่ประกอบด้วย การกระทบสัมผัส ถ้าคุณไม่มี ก็ไม่ได้เรียนรู้ ลิงค นิมิต อุเทศ ของ ภวารูป ๒ จนกว่า คุณจะมีภาวะหนึ่งเดียว เป็นเอกัคคตา ไม่แวบไหว แต่คุณก็ไม่ได้ เรียนรู้ ภาวะ ๒ ที่เป็นสภาวะภายใน มันไม่มีรูปร่างตัวตน สรีระ

           เขาเข้าใจคำว่า หทยรูป ที่ว่าคือ หทัยวัตถุ* (ที่ตั้งแห่งใจ, หัวใจ – heart-base) แต่ที่จริงคือ ที่ตั้งของธาตุรู้ที่เกิดขึ้น ขณะสัมผัสเท่านั้น

            ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต - life-faculty; vitality; vital force) คุณไม่มีทวาร ๕ จะไปรับรู้ชีวิต ได้อย่างไร คือไม่มีอินทรีย์ให้รับรู้ คุณก็เหมือนมีแต่ ดินน้ำไฟลม ส่วนนามธาตุคุณ หายไปแล้ว คุณศึกษาไม่ได้

           เราต้องอ่านรู้ในอารมณ์ที่เป็นทุกข์ คุณกำลังเห็น อาริยสัจ ๔ คือควรกำหนดรู้ทุกข์ ด้วยการใช้สัญญา กำหนดรู้ เป็นการกำหนดรู้ได้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ เมื่อรู้อาการทุกข์ คุณกำลังเห็นทุกข์ ที่พระพุทธเจ้าว่า รู้ได้ยากกว่าจักเส้นผม เป็น ๗ แฉก เท่ากัน การเห็นทุกข์อริยสัจ จึงเป็นอริยสัจข้อที่ ๑ ผู้ที่เห็นอาการนี้แหละ ที่เข้าถึง ปรมัตถธรรม

           และในความเป็นเวทนานั้นคือ กายสังขาร ที่ต่อเนื่องจาก การกระทบภายนอก แล้วไปอ่านข้างใน แล้วจะรู้ทั้งเวทนา สังขาร แล้วใช้สัญญากำหนดรู้ ในปัจจุบัน ถ้าไม่ปัจจุบัน คุณก็กำหนดรู้ใน อรูปของคุณ ที่อยู่ภายใน เป็นนามธรรม อยู่ภายในแล้ว

           อ.กฤษฎาว่า พอได้ยินคำด่า แล้วคำด่าก็เข้าไปสู่ภายใน แล้วเราก็เกิดอาการ ไม่ชอบ พ่อครูว่า มันมีการเคลื่อนไหว เรียกว่า วิญญัติรูป ซึ่งไม่มีดินน้ำไฟลม แต่มันมีอาการ ที่เรากำหนดรู้ได้ หรือเรากำลังจะด่า ออกไปเลย อย่างนี้เป็นต้น อ.กฤษฎาว่า ในขณะที่เรา อ่านตนเองออกว่า กำลังจะด่า นี่คือเรามีตาทิพย์ อ่านรู้ภายในได้

           พ่อครูว่า แล้วก็จะรู้ไปทั้งหมด แม้แต่ วิการรูป คือรูปที่เราได้ดัดแปลง เปลี่ยนไป ตามที่เราได้ มนสิการ คือทำใจได้ เช่นกิเลสหนา ก็ทำให้เบาลงได้ คือปรับปรุง จนกระทั่ง จิตมี กัมมัญญตา คือกัมมัญญา เหมาะควรแก่การงาน ที่จะเป็นกรรมที่ทำทาง กาย วาจา และอาชีพ มันดีหมด เรียกกัมมัญญตา เริ่มตั้งแต่ กัมมนียะ สะสมเป็นกัมมัญญตา จนเป็น กายปาคุญญตา หรือ กายกัมมัญญตา มีองค์คุณ อุเบกขา ๕ อาการเคลื่อนไหวนี้ เรียกว่า วิญญัติรูป ๒ และมี วิการรูป 5
           แต่ถ้าเอาแต่อยู่ในจิต ก็อ่านวิการรูปไม่ได้ อ่านวิญญัติรูปไม่ได้ เพราะคุณหลับตา ดับอยู่แต่ในจิต

           อ.กฤษฎา นึกถึง ที่มีนิทานว่า นักบวชสตรีไปปฏิบัติในป่า แล้วบอกตนว่า สำเร็จแล้ว ก็กลับไปหาอาจารย์ แล้วบอกว่า ตนเองสำเร็จมรรคผลแล้ว แต่อาจารย์บอกว่า ที่คุณหายไป เขานึกว่าคุณไปเป็นโสเภณี เท่านี้แหละ ของขึ้นเลย โกรธเลย

           พ่อครูว่า... เรื่องที่จะไปเห็นรูปอื่นอีกใน รูป ๒๗ เช่น ลักขณรูป ๔ คุณจะไม่เห็น ไตรลักษณ์ได้เลย ถ้าคุณปฏิบัติอย่างมีผัสสะ จึงจะชัดเจนใน ลักขณรูป ๔ คือไม่มีสะพาน ในการรับรู้ สัญญาคุณก็กำหนดรู้ได้ ไม่ครบ

           อ.กฤษฎาว่า ก็เลยไปติดเสพความว่างๆ เงียบๆนิ่งๆ

           พ่อครูว่า แม้ไม่ติดเสพ ก็ไม่รู้ทุกข์อาริยสัจจ์ คือไปมัวเรียน เอาหางช้าง ออกจาก พวยกา โดยไม่เรียน เอาตัวช้าง ออกจากพวยกาก่อน ซึ่งโบราณาจารย์ เขาใช้คำนี้ ที่ว่าพวยกาคือ มันยืดหยุ่นได้ เช่น ยืดหยุ่นให้ใหญ่ ธรรมดาคุณจะยืดพวยกา ไม่ได้ แต่ถ้าคุณ สามารถยืดเอาช้าง ออกจากพวยกาได้ คุณจะยืดหยุ่นได้เก่ง จะเกิดสภาวะ ที่เรียกว่า มุทุภูตธาตุ

           มุทุภูตธาตุ ที่เป็นองค์คุณอุเบกขา คือจะปรับตัวได้เร็วไวเก่ง เหมือนความยืดหยุ่น ของพวยกา จะเก่งในกรรมต่างๆ ในกัมมัญญาที่สุด จะเกิดสภาวะ วิการรูป ได้อย่างนั้น จริงๆ การศึกษาที่ไม่ถูก ไปตัดผัสสะ ๕ ทิ้ง ก็จะเรียนรู้ รูป ๒๘ ไม่ได้เลย คือตัดทิ้งทวาร ๕ เลย ไม่ได้รู้เลย ได้แต่เดาตามตรรกะ ไม่เกิดสภาวะจริง ในนามธรรมเหล่านี้เลย ซึ่งไม่มีสรีระ ตัวตน ต้องอ่านโดยอาการ ลิงค นิมิต อุเทศ

           อ.กฤษฎาว่า ภาษามคธ นั้นมีเพศ แต่มีแต่สองเพศ ทำไมไม่มีเพศกึ่งๆ ?

           พ่อครูว่า ถ้าไม่รู้เพศ ยังงงอยู่ไม่ชัด ก็เป็นสภาพกึ่งๆ แต่ว่าถ้าชัดเจน ก็จะแยกเพศ ได้เป็นสอง ถ้าอย่างกึ่งๆไม่รู้ ก็คือกระเทย เมื่อเป็นปุริสภาวะ ก็คือจบเลย

           ท่านเรียกว่า . ภาวรูป 2 (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ - material qualities of sex)
10. อิตถัตตะ, อิตถินทรีย์ (ความเป็นหญิง - femininity)
11. ปุริสัตตะ, ปุริสินทรีย์ (ความเป็นชาย – masculinity)

           ภาวะที่จบไม่ได้ คืออิตถีภาวะ แม้จะเหลือน้อยเท่าใด ก็คืออิตถีภาวะ เช่น เมื่อเสียง กระทบหู คนพูดเสียงมา เสียงกระทบหู พอได้ยินแล้วเสร็จ จิตของคุณ เมื่อเขาว่าคุณมา หรือด่าคุณมา แล้วอาการเรามี อิตถินทรีย์ เกิดไหม หรือว่าเรานิ่งเลย ไม่มีกระดิกเลย มันมีความปรากฏนิ่งเลย เด็ดเดี่ยวสูญเลย อย่างนี้คือไม่มี อิตถินทรีย์ เลย

           อ.กฤษฎาว่า ผมชอบสอนลูกเสมอว่า โกหกอะไรก็ได้ แต่อย่าโกหกใจตนเอง คือต้องรู้ภาวะเราเอง

           พ่อครูว่า ต้องรู้ภาวะไหวของตนเอง มันออกมาเป็นองค์ประชุม คือกายวิญญัติ หรือ วจีวิญญัติ ก็จะออกมาข้างนอกแล้ว จะเป็นกายกรรม หรือวจีกรรม ก็เกิดจาก สังกัปปะ ๗ ก่อน ถ้าเราจัดการ ตรงนี้ก่อน ตั้งแต่ ตักกะ วิตักกะ ให้กำจัด กาม- พยาบาท - วิหิงสา สังกัปปะ ไม่ให้มันออกมา ทำให้กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ที่อยู่ภายใน สะอาดได้ก่อน คือการทำใจในใจ

           อ.กฤษฎาว่า ถ้าเราเข้าใจกาย เราก็อ่านรู้ ทั้งกรรม ๓ ที่อยู่ตั้งแต่ภายใน เป็นปรมัตถ์ อ่านเจตนา ที่แท้จริงของเรา ถ้าเราอ่านออก เท่ากับเรา อยู่ในสภาวะที่ชัดเจน

           พ่อครูว่า อ่านปัจจุบันเลย ขณะรับรู้ จิตเรามีมุทุภูเต ในวิการรูป จิตเราจะไวเร็ว มีชวนจิต เราจะรู้ปั๊ป เปลี่ยนแปลงปั๊บ เป็นวิการรูป เร็วมาก เป็นมุทุตา ไวเร็ว แล้วตัวปัญญา ก็เป็นชวนจิต อ่านได้เร็ว ถ้ามันจะแวบไหว เราก็อ่านได้ ในวิญญัติรูป หรือเรามี อิตถินทรีย์ เราก็รู้ แต่ถ้าใครทำได้เด็ดขาดไม่เปลี่ยนแปลงเป็น ปุริสินทรีย์ ก็มีกายปัสสัทธิได้เลย จะนิ่งสงบไป ของมันเลย หรือคุณจะยืดหยุ่นเป็น สัจจานุโลมิกญาณ ก็มีจิตตัว อัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา แน่วแน่ แนบแน่น เป็นแกน ให้วิ่งได้เร็ว ของชวนจิต สามารถอนุโลม ปฏิโลมได้มาก มีความแข็งแรง เป็นสังขารุเปกขาญาณ เป็นการเจริญสมบูรณ์ ตามที่ได้สะสมมา

           นี่คือคุณสมบัติของทฤษฏีพระพุทธเจ้า ที่ต้องเรียนให้รู้จริงได้จริง เมื่อเรียนรู้ เข้าใจความหมาย ภาษาพยัญชนะ ก็เอาไปปฏิบัติ พ่อครูว่า ถ้าได้เรียนบาลี จะอธิบาย ได้ดีกว่านี้มากเลย แต่เท่าที่มี ก็เอาสภาวะ ไปเทียบเคียงได้ บางทีท่านแปล ความหมายไว้ หลายอย่าง พ่อครูก็ใช้สภาวะ เทียบเคียง เลือกสิ่งที่ถูก อย่างหทยรูป เป็นต้น ถ้าแปลว่า หทยรูป 1 (รูปคือหทัย - physical basis of mind) ก็ไม่น่าจะถูกสภาวะเลย

           อ.กฤษฎาว่า การกินโค้ก กับกินเป๊บซี่เอส ก็ซ่าเหมือนกัน แต่ซ่าคนละอย่าง

           พ่อครูว่า ก็มีภาวะของธาตุ ที่ทำให้ซ่าต่างกัน อธิบายไม่ได้ แต่มันซ่าทั้งคู่

           การศึกษาที่ไม่ครบ ไม่มีผัสสะ คุณก็ได้แค่กดข่ม ไม่ได้ฝึกมาตั้งแต่ โสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ แต่เขาปฏิบัติกันก็ว่า ไปเป็นอรหันต์เลย ซึ่งท่านเหล่านี้ จะอธิบาย โสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ ไม่ออกหรอก หรืออธิบายได้เล็กน้อย เดาเอา ไม่ได้มีสภาวะ ตามขั้นตอนจริง แล้วได้อรหันต์ เป็นการดับ สุภกิณหะ เป็นอสัญญีสัตว์ หรือไปหลง เนวสัญญาฯ เป็นการกำหนดหมายผิดว่า เป็นอรูปฌาน คือกายอย่างเดียวกัน ในอสัญญีสัตว์ สัญญาอย่างเดียวกัน ไม่ว่าจะอากิญจัญฯ หรือ เนวสัญญาฯ ของอาฬารดาบส หรืออุทกดาบส ก็เหมือนกัน

           อ.กฤษฎาว่า ประเด็นที่ผมเห็นด้วย กับแนวทางนี้ คือ ถ้าเข้าใจคำว่า กาย ได้ถูก ก็จะได้เข้าถึง สักกายทิฏฐิ

           พ่อครูว่า...ใครก็ตาม สัมผัสนามรูปของตน รู้จักอาการทุกข์ของตน นี้เริ่มรู้ สักกายะ ของตนแล้ว

           อ.กฤษฎาว่า มาทวนว่า พระพุทธเจ้าสอน ท่านมีลำดับ เช่นปฏิจจสมุปบาท มีการไล่สาย แล้วโสดาบัน เริ่มตรงไหน ก็เลยเข้าใจว่า ต้องเห็นตั้งแต่ เริ่มต้นก่อน

           พ่อครูว่า..ต้องเริ่มต้นที่ เห็นความเป็นสัตว์

 

           ต่อไปพ่อครูอ่านบทความ ที่ได้เรียบเรียงมา

           ผู้มีภูมิ “สัตตาวาส”ขั้นที่ ๑ นี้มีแค่สามัญสำนึก ยังไม่มีกฏเกณฑ์อะไร ในการเรียนรู้ ความเป็นมนุษย์ หรือเป็นสัตว์ทางจิตใจ (สัตว์โอปปาติกะ) โดยเฉพาะ คนปุถุชน ธรรมดาทั่วไป หรือแม้จะศึกษาธรรมะ แต่ยังไม่ประสีประสา ก็กำหนดหมาย ความเป็นสัตว์ สะเปะสะปะ ไปตามอำนาจกิเลส ไม่มีความรู้ทางจิต หรือทางปรมัตถ์เลย ก็จะเชื่อว่า “กาย” ของความเป็น “สัตว์” เช่น สัตว์นรก หรือสัตว์วินิบาต จึงไม่ถูกต้อง ตามเป็นจริง เทพหรือพรหม ก็ไม่ถูกต้องตามเป็นจริง และส่วนมาก มักจะมี “ทิฎฐิ” ว่า สัตว์ทางจิตใจ (สัตว์โอปปาติกะ) นี้ “กาย” (องค์ประชุมของรูป_นาม) จะมีรูปร่าง หรือมีสรีระ เช่นเดียวกับที่คนมี สัตว์มี ซึ่งประกอบไปด้วย มหาภูตรูป อันมีรูปร่างตัวตน อยู่นั้นเอง

               ก็จะกำหนดรู้ รูป ๒๘ ไม่ได้ เพราะกำหนดผิด กำหนดได้แค่สรีระ ไม่ได้อ่าน เข้าถึงนามธรรม และอ่านนามธรรม ก็กลายเป็นแบบ มีรูปร่างตัวตน สีสัน เช่นบอกว่า ไปถวายข้าว พระพุทธเจ้าได้ ก็งงๆว่า เขาสอนกันอย่างไร

               ผู้ที่อวิชชา หรือยังมิจฉาทิฏฐิอยู่ จึงต่างก็มี “กาย” ใน”วิญาณฐิติ” หรือใน “สัตตาวาส” เป็น “กาย” ที่มีรูปร่าง อย่างนั้นอย่างนี้ ตามที่ตนมี “การกำหนดหมาย” (สัญญา) ให้มันเป็นไปตามทิฏฐิ ที่ตนมิจฉาทิฏฐิ ก็ วนเวียนถูกผูก (สังโยชน์) อยู่กับ “ความเป็นสัตว์ในภพ” พ้น “ความเป็นสัตตาวาส ๙” นี้ไม่หมดสิ้นไปสักที

               แม้คุณกำหนด กายและสัญญา อย่างเดียวกัน ก็ไม่จริง เพราะความไม่เท่ากัน มีเสมอ แม้แต่แฝด ก็ไม่เท่ากัน จะเท่ากันอย่างเดียว คือสภาวะนิพพาน

               คนโบราณ จึงสร้างงาน “ศิลปะ” ต่างๆเป็นรูปคน มีศีรษะสัตว์ต่างๆ มีมือ มีแขน มีขา มีตัวตน เป็นรูปร่างสัตว์นานา อันแตกต่างไปจาก ความเป็น “คน” จึงดูแปลก ประหลาดไปจาก รูปร่างของความเป็น”คน” ซึ่งเป็นการสมมุติ ให้มีสรีระ เป็นสิ่งแทน เพื่อสื่อให้รู้ว่า “สัตว์ทางจิตใจของตน” (สัตว์โอปปาติกะ) นั้น มีความลึกซึ้ง แห่งองค์ประกอบ แห่งกาย อันมีทั้งรูปกายข้างนอก และนามกาย ประชุมกันอยู่ ซึ่งสื่อให้รู้ว่า คนนั้นมีความเป็น “สัตว์” สารพัด อีกหลากหลาย

               ซึ่งลักษณะของสัตว์ ก็มีความไม่ดีงาม แตกต่างกันไป สื่อถึงความชั่วนั่นเอง หรือ จิตเป็นเดรัจฉาน

               เป็น “นิยาย” เป็น “นิทาน” เป็นทั้งงานวรรณกรรม งานปั้น งานวาด ซึ่งเป็นทั้ง “งานศิลปะ” ของผู้รู้จริง ที่เป็นศิลปินแท้ ทั้ง “งานที่เกิดจากผู้มิจฉาทิฏิฐิ” ปรุงแต่ง เสริมเติม ด้วยความไม่รู้จริง เข้าไปอีก จึงเลยกลายเป็น “สัตว์ทางจิตใจของคน” เละเทะ สะเปะสะปะ ไม่เป็น “ศิลปะ” แต่เป็น “งานที่ผิดไปจากสัจธรรม” (อนาจาร, ข้าศึกแก่กุศล) มากมายขึ้นมาในโลก พวกนี้รวยนะ เอามาหากิน แต่ผู้ศิลปินแท้ จะไม่เอาศิลปะ มาหากิน เพราะมันมีค่ามาก หาค่าบ่มิได้เลยล่ะ

               (งานศิลปะเป็นมงคลอันอุดม แต่ถ้าเป็นงานที่ไม่ใช่ “ศิลปะ” ก็เป็นการมอมเมา เป็นงาน “อนาจาร” เพราะเป็นข้าศึกแก่กุศล ทุกวันนี้ มีกันอยู่เต็มโลก หลงว่าเป็น “ศิลปะ” ทั้งที่เจตนา และไม่เจตนา)

               ซึ่งผู้ยังไม่ประสีประสากับสัจธรรม ก็ หลงยึด ได้แค่ “รูป” (สรีระ) ของงาน “ศิลปะ” ไม่หยั่งลึกเข้าไปถึง “เนื้อแท้-สาระสำคัญ” ที่เป็น ธรรมาธิษฐาน

               จึงได้แค่บุคคลาธิษฐาน ของงาน “ศิลป์” ทั้งหลายเหล่านั้น ก็ได้เพียง เปลือกนอก ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญ ที่ชื่อว่าเป็น “มงคลอันอุดม” ที่แปลว่า สิ่งที่นำพา ให้เจริญ สู่ความสูงสุด หรือ ธรรมะที่นำพาไปสู่ ความละหน่ายคลาย จนถึงขั้นสูงสุด สุขเกษมคือนิพพาน ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ว่า “ศิลปะ” เป็น “มงคลอันอุดม” (ไม่ใช่ “ข้าศึกแก่กุศล” หรือไม่ใช่ “อนาจาร”)

               แต่ถ้าไม่ใช่งาน “ศิลป” ซึ่งคนที่ไม่ใช่ “ศิลปิน” อีกมาก ก็ช่วยกันจินตนาการ ของตนเอง เสกสรรปั้นแต่งตาม “อวิชชา” ของตน เสริมเข้าไปอีก ก็กลายเป็น งานมอมเมา เต็มบ้านเต็มเมือง เต็มโลกกันจริงๆ ด้วย “อวิชชา” คือ ไม่รู้ลึกซึ้ง ถึงความเป็น “ศิลป์” ที่เข้าข่ายเป็น “มงคลอันอุดม” ส่วนมาก จึงเป็นงาน ก่อกิเลส ก่อให้หลงใน รูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัส เพื่อเสพรส อัสสาทะ กันอย่างโลกีย์ เกือบทั้งสิ้น หรือไม่ก็เป็นงาน ก่อให้เกิดอัตตา จึงเป็นงานที่เป็น “ข้าศึกแก่กุศล” ที่เรียกว่า “อนาจาร” คือ ไม่ควรทำ

               ศิลปะ ชั้น “อุดม” ซึ่งหมายถึงชั้นประเสริฐ เลิศ เข้าข่าย “อาริยะหรือโลกุตระ” จึงหาได้ยาก

               “ศิลปิน” ที่สัมมาทิฏฐิ สร้างงานเข้าข่ายเป็น “ศิลปะ” ที่เป็น “มงคลอันอุดม” ที่ว่านี้ หาได้น้อยมาก ในโลกปัจจุบันนี้ ส่วนมากก็ติดอยู่ แค่รูปนอก แค่แสงสีเสียง หรือ รูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัส อันเป็นรสกามารมณ์ หรือ ไม่ก็เพ้อฝันปั้น “อัตตา ๓” หนักหน้ากันไป จนอาตมาไม่สามารถ จะสาธยายได้หมด ที่นับวันก็มอมเมากัน หนักขึ้นๆ แล้วหลอกกันว่า “ศิลปะ”

               งานที่จะนำพาให้เจริญทาง “จิตวิญญาณ” โดยเฉพาะถึงขั้น พาไปสู่ขั้น “อาริยะ” ที่เป็น “โลกุตระ” ซึ่งจะกำจัดความเป็น “สัตว์ทางจิตใจ” (สัตว์โอปปาติกะ) จึงหาไม่ค่อยได้

               ผู้ที่ยังไม่มีสัมมาทิฏฐิ ในความเป็น สัตว์ทางจิตใจ ทั้งหลาย ดังกล่าวนี้เอง ที่จินตนาการ ของตนเอง เสกสรรปั้นแต่งให้ “จิต” ให้ “วิญญาณ” มี “รูป” มี “ร่าง” (สรีระ) ซึ่งค้านแย้งกับ ความตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า ที่ว่า จิต , มโน, วิญญาณนั้น ไม่มี “รูปร่าง” (สรีระ)

               ดังนั้น “จิตวิญญาณ” จึงมีรูปมีร่าง ก็เกิดจากผู้มิจฉาทิฏฐิ ทั้งหลายสารพัดนี้เอง ที่เสกสรร ปั้นแต่งขึ้นมา สารพัดสัตว์ จากจินตนาการ มากขึ้นๆไม่มีลดลง ไม่มีจบสิ้น แถมพื้นฐาน ความเชื่อเดิม ของชาวเทวนิยม ก็เชื่อว่า จิตวิญญาณ มีรูปมีร่าง มาแต่ไหน แต่ไร อีกด้วย จึงยิ่งทำให้ การชี้แจงสัจธรรมว่า จิตวิญญาณ ไม่มีรูป ไม่มีร่าง หรอกนะ นั้นยาก สุดแสนยาก ยิ่งกว่าเข็นครก ขึ้นภูเขา....

จบ

 
จันทร์ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่ปฐมอโศก