560726_รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครูและส.ฟ้าไท
เรื่อง ปฏิจจสมุปบาทคือสูตรดับชาติในตัวเรา ตอน ๑

       ส.ฟ้าไทดำเนินรายการที่บ้านราชฯ...

ที่ผ่านมา พ่อครูก็สอนแบบตีงูให้กากิน โดยใช้ sms ของคุณ ๘๗๐๕ มาเป็นตัวนำ ในการบรรยาย เมื่อวานพ่อครู ก็อธิบายเรื่องชาติ ซึ่งเป็นเรื่องของนามธรรม อันลึกซึ้ง ไม่ใช่แค่ รูปธรรมตื้นๆ ซึ่งต้องปฏิบัติ แบบมีสัมมาทิฏฐิ จึงจะฟังรู้เรื่องเข้าใจ กราบนิมนต์ พ่อครูครับ

       พ่อครู.. ก่อนจะได้อธิบาย บรรยาย มีรายงานจาก นายไพรเมือง กรรณเทพ ผู้ดูแล สส.สอ. ที่สวนบุญผักพืช ทำกสิกรรม ฝึกทักษะชีวิต ที่สวนบุญผักพืช กราบรายงาน กรณี ที่มีคนแจ้งในรายการ สงครามสังคมธรรมะการเมือง ว่าทำไม สวนบุญผักพืช ยังเผาฟางอยู่? …ผมขอชี้แจงว่า ที่เราเผา คือหญ้าบนนา ที่เราทิ้งรกร้างไว้นาน จนเรา ไม่ได้ทำนาเสียนาน เราจึงเตรียมพื้นที่ เพื่อลงนาในวันแม่ จึงทำการจัดการ กับหญ้า ที่มีหลายชนิด และมาก เราไม่สามารถ ใช้วิธีหมัก ตามธรรมชาติได้ เพราะต้องใช้ เวลานาน เราจึงลากเอาหญ้ามาเผา เราไม่ได้เผาฟาง …นมัสการกราบเรียนพ่อครูครับ

       พ่อครูว่า สิ่งที่ไม่จริง เราไม่ได้มีอย่างนั้น เราก็ชี้แจงไป เช่นเดียวกันคุณ ๔๗๒๗ ที่ส่งมาเมื่อวานนี้ว่า...

0814727xxx พธร นี่ มั่วได้โล่ห์จริง ๆ มีแต่วาทะ

       พ่อครูว่า วาทะที่พ่อครูพูดนี้ เป็นความลึกชั้นสูง ผู้ฟังแล้วเข้าใจ ก็ไม่รู้สึกว่ามั่ว ก็เป็นวิชชา ส่วนผู้ฟังไม่เข้าใจ รู้ไม่ได้ก็คือ ผู้ยังอวิชชา เข้าไม่ถึง นี่คือคำตอบ ถ้าคำพูด หรือคำบรรยาย ไม่ว่าของใครก็ตาม พูดไปแล้ว ไม่มีใครรู้ด้วยเลย ใครๆก็เข้าใจไม่ได้ คนๆนั้นมั่วแล้ว หรือบ้า รู้อยู่คนเดียว เพ้อเจ้อ แต่ถ้าคำพูด หรือวาทะนั้น มีคนเข้าใจ และเจริญ ในการลดละด้วย คำพูดนั้น เป็นธรรมวาที ส่วนคำพูดเปล่าๆ ไม่มีคนรู้ด้วย นี่คือ อัตตวาทุปาทาน ไม่มีใครปฏิบัติได้ด้วยเลย พ่อครูพูดนี้ มีคนเข้าใจ และ ปฏิบัติได้จริง และก็ออกมาเป็น คนวรรณะ ๙ ได้จริง อย่างชาวอโศก ถ้าพูดมั่ว ก็ไม่มีใคร ปฏิบัติตาม และทำอะไรได้อย่างนี้ และคนฟังรู้เรื่อง แต่เป็นเรื่องไม่ดี เป็นเรื่องบำเรอ กิเลสเขา แล้วก็ไปจับกลุ่มกันทำ เขาก็รู้เรื่องนะ แต่ไม่เป็นไปเพื่อ ความละหน่าย คลาย ไม่มีวรรณะ ๙ ตั้งแต่
.เลี้ยงง่าย (สุภระ)
๒.บำรุงง่าย, ปรับให้เจริญได้ง่าย (สุโปสะ)
๓. มักน้อย, กล้าจน (อัปปิจฉะ)
๔.ใจพอ สันโดษ (สันตุฏฐิ)
๕.ขัดเกลากิเลส (สัลเลขะ)
๖. เพ่งทำลายกิเลส มีศีลสูงอยู่ปกติ (ธูตะ, ธุดงค์)
๗. มีอาการน่าเลื่อมใส (ปาสาทิกะ)  
๘.ไม่สะสม ไม่กักเก็บออม (อปจยะ) [ตรงข้าม อวรรณะ๙]
๙.ขยันเสมอ, ระดมความเพียร (วิริยารัมภะ)

         พ่อครูพูดนี้ มีสิ่งรองรับ มาทำเป็นหมู่บ้านด้วย มีทั้งหมู่บ้าน แบบนิตินัย และไม่เป็น นิตินัย คนที่กล้าว่าพ่อครูนี่ อวิชชาหนัก หรืออคติหนัก คนไม่ค่อยรู้ ก็ไม่ค่อยมี อคติเท่าไหร่   

       0814727xxx สัมผัส 5 ทุกคนมีตั้งแต่เกิดแล้ว แต่ พธร เพิ่งมามีตอน ปฎิบัติธรร

              พ่อครูว่า จริงนะ พ่อครูมีมาตั้งแต่เกิด พอมาปฏิบัติธรรม ก็มีความรู้ ในการปฏิบัติ ในผัสสะ ๕ นี่แหละ จนถึงประเด็นที่คุณ ๘๗๐๕ ว่ามีสัมผัสที่ ๖ ที่เป็น เรื่องลึกลับ แต่ของพระพุทธเจ้า สัมผัสที่ ๖ คือวิปัสสนาญาณ ที่สามารถรู้ นามกายได้ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เที่ยวรู้ เรื่องลึกลับ พิสูจน์ไม่ได้

       และที่ว่า มีตอนปฏิบัติธรรม ก็มีแบบ ใช้เป็นประโยชน์ แต่ว่าตอน ไม่ปฏิบัติธรรม ก็มีเหมือนกัน แต่ไม่ได้ปฏิบัติธรรม เขาไม่สามารถเอามา ลดละกิเลสได้ เอามาทำให้ บรรลุธรรมไม่ได้ และที่ว่า ทุกคนมีตั้งแต่เกิด ก็ใช่แล้ว แต่มีแบบของคุณ มันพาให้เรียนรู้ ปฏิบัติ ลดละกิเลส ได้หรือไม่? ที่ว่ามี ก็ไม่เถียงหรอก เหมือนอย่าง ๘๗๐๕ ย้อนพ่อครูว่า คำโกหกมีจริง แต่คำโกหก ไม่ใช่เรื่องจริง เขาก็เอามาเทียบ ย้อนพ่อครู แบบไม่มีสภาวะ

       ที่พ่อครูว่า รูปนามไม่มีจริง ก็ใช่ตรงที่ ถ้าเราดับเหตุปัจจัยได้ รูปนามก็ไม่มีจริง สักแต่ว่ามี อย่างคำโกหก แต่ก่อนพ่อครูก็มี แต่ตอนนี้ ศึกษาธรรมะแล้ว ไม่โกหกอีก นิรันดร ชัดเจนรู้กรรม ก็ว่าไม่มีแล้ว คำโกหก เพราะมันเป็น ของไม่จริง มันไม่ดี แต่คนที่ เขาทำไม่ได้ เขาก็มีอยู่ ในคำโกหก แต่มันเป็น คำไม่จริง

       ต่อไปพ่อครูจะสาธยายเรื่องใน
    พระไตรฯ ล.๑๖
๑ เทศนาสูตร
       [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธดำรัสนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง ปฏิจจสมุปบาทนั้น จงใส่ใจ ให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
       [๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท  เป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป  เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ  เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา และมรณะ โสกปริเทว ทุกขโทมนัส และ อุปายาส ความเกิดขึ้น แห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ นี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ฯ

         พ่อครูว่า ปฏิจจสมุปบาทนี่แหละ คือกองทุกข์ทั้งมวล และจะหมด กองทุกข์นี้ ได้อย่างไร ก็ต้องดับอวิชชา และจะดับได้อย่างไร ก็โปรดติดตาม อย่ากะพริบตา  

       อวิชชาแปลว่า ความไม่รู้ แต่ต้องจำเพาะว่า คือความไม่รู้ใน อริยสัจ ๔ นี่คือ เนื้อหาของ ศาสนาพุทธ ถ้าไม่รู้สังขาร ก็ทุกข์อยู่นั่นแหละ แต่คุณไม่รู้ว่าทุกข์ เพราะมันเป็น สุขัลลิกะ หลอกคุณอยู่  มันเกิดจาก สังขารที่อวิชชา 

       คำว่ากายสังขารนี้ จะต้องประกอบด้วย รูปและนามเสมอ จะมีแต่รูปไม่ได้ หรือมีแต่นามไม่ได้

       วจีสังขารนี้รู้ได้ยาก ถ้าจะให้วจีสังขารไม่มีอกุศลจิต ต้องรู้จักการกำจัด อกุศลจิต ในการสังขาร เป็นวจีกรรมอยู่ภายใน ไม่ใช่คำพูด ออกมาภายนอก หรือกายกรรม วจีกรรม                   

       [๓] ก็เพราะอวิชชานั่นแหละ ดับด้วยการสำรอก โดยไม่เหลือ สังขาร จึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะ  นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ มรณะ โสกปริเทวทุกข โทมนัส และ อุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่า นั้นมีใจยินดี ชื่นชมภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
                           จบสูตรที่ ๑

       พ่อครูว่า...วิญญาณเป็นนามธรรม ต้องอ่านด้วย “อาการ ลิงค นิมิต อุเทศ” ในพระไตรฯ ล. ๑๐ ข้อ ๖๐ และรูปคือ สิ่งที่ถูกรู้ เช่น ตากระทบรูป รูปก็คือ สิ่งที่ถูกรู้ กลิ่นก็เป็น สิ่งที่ถูกรู้ เสียงก็เป็น สิ่งที่ถูกรู้ ฯ และที่ว่า รูปคือ สิ่งที่ถูกรู้นี่ ต้องเข้าใจให้แม่น

       รูปมีสองอย่าง คือ .มหาภูตรูป ๔ และ ๒.รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ซึ่งจะเป็นรูป ได้นั้น มันต้องมีนามมารู้ ถ้ามีแต่รูปรูปัง มันก็รู้เองไม่ได้  

       นามรูป ผู้ใดรู้นามรูปได้ ก็ปฏิบัติธรรมได้ และวิญญาณจะเกิด ต้องมีอายตนะ มีผัสสะ อายตนะคือ สะพานเชื่อม เมื่อมีผัสสะ คือเมื่อนามธรรม ไปกระทบ มีผัสสะกับ เข้าไปทำงาน จึงเกิดอายตนะ ซึ่งอายตนะไม่มีที่ตั้งอยู่ แม้แต่ในสัญญา ก็ไม่มีอายตนะ มันต้องเกิดคู่ ระหว่าง สัมผัสนอกและใน ในทวาร ๕ ส่วนทวารที่ ๖ คือใจนั้น ไม่ต้องอาศัย การกระทบสัมผัส มันปรุงเองได้ ตลอดเวลา อายตนะทำงานให้ ผัสสะกับวิญญาณ เท่านั้น มันเป็นตัวเชื่อม เช่น ตากับรูป มันเชื่อมกัน หูกับเสียง ก็มีอายตนะ เชื่อมกัน เกิดแล้วก็ดับไป ไม่ตั้งอยู่แต่อย่างใด

       ผัสสะนั้นสำคัญ ผู้เรียนรู้ธรรมะตอนนี้ เสื่อมเพราะไปนั่งหลับตา ดับแบบฤาษี แต่ของพุทธนั้น ลืมตา มีผัสสะ ครบทุกทวาร สรุปแล้ว ต้องมีผัสสะ จึงปฏิบัติธรรมได้ แม้อนาคามี ไม่ต้องทุกข์สุข ในสัมผัสนอกแล้ว ในอนาคามีเต็มขั้น ท่านก็ต้องมีผัสสะ ทางทวาร ๕ เพื่อเรียนรู้ รูปราคะ และอรูปราคะ ในขณะมีผัสสะ ภายนอกสดๆ แต่ถ้าไม่ผัสสะ ก็เป็นของแห้ง และทำยาก ส่วนของสด ก็ทำได้จริงกว่า จะจริงต้องลืมตา เปิดทวาร พิสูจน์สัมผัส ในรูปราคะอรูปราคะ ก็ต้องลืมตา มีผัสสะ จึงเรียนรู้กิเลส ตัณหา ในรูปภพ อรูปภพได้ ไม่ใช่ว่า พอกิเลสภายนอกหมดแล้ว ก็ไปนั่งหลับตาดับ ไม่ใช่ นอกจาก จะอธิบาย ตามบริบทว่า อนาคามี เหลือแต่กิเลส ในภายในเท่านั้น แต่ต้องมีครบ ทุกทวาร

       จากผัสสะ ก็จะมีเวทนา เป็นปัจจัยกันและกัน ทั้งนั้นแหละ เวทนาคือ อารมณ์ ความรู้สึก ถ้าอวิชชาก็ปรุงแต่ง อย่างทันทีที่ผัสสะ เป็นสุขเป็นทุกข์ ตามอำนาจกิเลส แต่สุขนั้น สุขหลอก มันร้ายนัก สุขแป๊บเดียว แล้วก็ไปพยายาม สร้างสุข ก็ได้ชั่วคราว ต้องมาลดทุกข์ ลดสุข จึงสงบจริง

       เวทนาท่านแจกไปถึง ๑๐๘ มาจากเวทนา ๖ ที่เกิดจากการ กระทบ ๖ ทวาร
       วิญญาณก็ ๖ อายตนะก็ ๖ ผัสสะก็ ๖ เวทนาก็ ๖ ตัณหาก็มี ๖

       ที่จริงตัณหา ก็แยกเป็นสองแบบ คือเวทนา ๓ กับเวทนา ๖ ก็คือ มโนปวิจาร ๑๘ เป็นตัวสำคัญ เวทนากับตัณหา เป็นปัจจัย แก่กันและกัน ดับตัณหาได้ เวทนาก็เฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ ถ้าดับตัณหาได้ ก็มีเวทนาเดียว คืออุเบกขา ตัณหา ๖ ก็เกิดจากทวาร ๖ ถ้าล้างตัณหา ทางทวาร ๕ ได้ ก็เป็นอนาคามี เหลือแต่ในใจ อย่างเดียว แต่ก็ต้องมี กระทบ ทวาร ๕ มันก็จะเกิดกิเลสนั้น แต่ไม่ออกมาเพ่นพ่าน ภายนอกแล้ว

       อุปาทาน ก็มีอุปาทาน ๔  (กามุปาทาน ศีลพตุปาทาน ทิฏฐุปาทาน อัตตวาทุปาทาน) คือการยึดทั้ง ๔ อย่าง แล้วก็เป็นทุกข์อยู่

       อย่างอโศกเราก็มีศีล ที่เรายึดถือปฏิบัติ เป็นเบื้องต้น.. ท่ามกลาง ... บั้นปลาย..  อโศกนี่ แต่ก่อน ก็เดินช้า สำรวมระวัง ทวาร ๖ แต่ตอนนี้ ก็เก่งแล้ว เดินเร็ว พรึ่บพรั่บ แต่ถ้าใคร จะอนุรักษ์ให้ช้าลง ก็จะดี อย่างภูผาฯ ก็ให้ปฏิบัติแบบช้า สำรวมไป แต่เดี๋ยวนี้ ไม่สำรวมแล้ว มีแต่สำลิง

       ภพ มี ๓ ภพ (กาม-รูป-อรูป) แต่ภพอบาย เป็นความหยาบเบื้องต้น มันต่ำ ของเรา มันตื้นง่าย หนักหนาสาหัส ก็ต้องกำหนด ของใครของมัน ไม่เหมือนกัน

       สัมภวะ คือแดนเกิด มันก็ต้องเกิดกาม เกิดนรกสวรรค์ ตรงนั้น กิเลสก็เกิดตรงนั้น ตรงไหน?... หทยรูป ไง ไม่ใช่ที่หัวใจ ห้องที่ ๔ เราต้องรู้จักสัมผัส มันเกิดเมื่อไหร่ ก็รู้ แล้วจัดการ ให้แม่นๆ พระพุทธเจ้า ให้กำหนด ยืนยันให้แม่นมั่น แต่เขาไปกำหนดว่า วิญญาณเกิด ล่องลอยไป อย่างภิกษุสาติ หรือเห็นเป็น ก้อนทุกข์เดินมา อยู่นอกตัว อย่างนี้ มิจฉาทิฏฐิ เราต้องทำที่ใจเรา เป็นที่ตั้ง แต่ไม่มีรูปร่างที่อยู่ ถ้ากระทบสัมผัส มันก็จะเห็น อยู่หลัดๆ ไม่ไกล

       เมื่อรู้จักภพ มันไม่มีที่อยู่ ไม่มีพิกัด แม้แต่ในร่างกาย ก็กำหนดไม่ได้ว่า อยู่ที่ส่วนไหน อวัยวะไหน แต่อยู่ที่ ตรงรู้สึก ตรงที่ธาตุรู้อยู่ หรือวิญญาณอยู่ นั่นแหละ จับให้ได้ ให้รู้ตรงนั้น ทำตรงนั้น มนสิการตรงนั้น ให้ลงไป ถึงที่เกิด ที่ใจเรานี่แหละ เช่น เราสัมผัส กามคุณ ก็เกิดกาม นี่แหละ ต้องทำที่ตรงนี้ รู้ว่าจะกำจัด กิเลสกาม ตรงนี้ ทำใจ ตรงนี้เลย ถ้าไม่มีผัสสะ อย่างไปนั่งหลับ ดับตา ก็ไม่รู้สภาพจริง ของวิญญาณ ไม่เห็น สัตว์โอปปาติกะ ได้แท้จริง

       ชาติ...คือการเกิดของจิต ส่วนการเกิดทางร่างกาย ก็รู้ไม่ยาก แต่ชาติ แตกเป็น  ๔ การเกิด ๔ อย่าง
.ชลาพุชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์) เด็กเกิดมา ตอนแรก ก็ว่ายน้ำได้เลย
.อัณฑชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่ - ทิชาชาติ)
.สังเสทชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดจาก การแบ่งตัว)
.โอปปาติกโยนิ (เกิดใหม่ทางจิตวิญญาณ เปลี่ยนภพทันที เกิดนิโรธ ไม่มีอะไรมาคั่น เกิดแทนสิ่งดับ โดยไม่มีซาก) อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ

ส่วนสามแบบแรก ก็ให้รู้ว่า มีในโลก แต่ไม่ต้องใส่ใจมาก มาสนใจสัตว์ ทางจิตวิญญาณ โอปปาติกะ ก็มาจากศัพท์ คือ “อุปัติ” เป็นชีวะระดับ “จิตนิยาม”  

         ชรา ทุกอย่างก็ต้อง มีการเสื่อมสลาย แตกตัว แต่ธาตุรู้ทางนามธรรม คือวิญญาณนั้น แตกตัว สลายตัวยาก มียางเหนียว ยิ่งกว่ากาว อีพ็อกซี่ ที่ติดเหล็ก ได้แน่นหนา แต่วิญญาณ เหนียวแน่นกว่าอีก

         มรณะ ต้องเรียนรู้ การเกิดการตาย ทางจิตวิญญาณ เป็น ชรตา (ความเสื่อม) มรณะ ไม่ใช่ของตายจริง “ม” คือตัวอัตตา เช่น “มยัง” คืออันเป็นเรา “มมะ” คือเป็นตัวเรา ที่อหังกา แต่ถ้า อมมะคือไม่มี ถ้าอรณะคือ ไม่มีสงครามทางจิต 

         โศกะ ปริเทวะ (ยังไม่จบยังต่อไป) ทุกข (รวมๆ) โทมนัส (ในใจ) อุปายาส (เศษเหลือ)

         ถ้าไม่ได้เรียนอย่างนี้ ก็คือปุถุชน ดังนั้น ปุถุชน จึงมีมากมาย แม้ศึกษา ก็มีมิจฉาทิฏฐิ มากมาย ไม่สามารถหยุดกิเลส ไม่ให้เกิดได้ ผู้จะเห็นกิเลสได้ ต้องรู้จัก อัตตาของกิเลสได้จริง กิเลสจะมาชุมนุม เมื่อมีเหตุปัจจัย และทุกข์ เป็นเรื่องภายใน ของแต่ละคน พระพุทธเจ้า ก็เข้าไปช่วย ภายในใจ ไม่ได้ คุณต้องออกมา แสดงให้คนเห็น คนรู้ มีกายวิญญัติ วจีวิญญัติ คือมีการเคลื่อนไหว ออกมาให้รู้ได้ ว่าคุณทุกข์ ถ้าคนรู้ เท่าทันว่า อาการทางกาย วาจา มันทุกข์ เช่นที่คุณ ๘๗๐๕ sms มา พ่อครูดูอาการไหว เป็นอาการ ที่แสดงความเคลื่อนตัว มีน้ำหนักลีลา ภาษา นี่คือ วจีวิญญัติ ส่วนกาย คือ แสดงออก ทางกาย ทั้งหมด เกิดจากจิตทั้งนั้น

                          ๒ วิภังคสูตร
       [๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราจักแสดง จักจำแนก ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง ปฏิจจสมุปบาท นั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
       [๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติ เป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ  โสกปริเทว ทุกข์โทมนัส และอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่ง กองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการ อย่างนี้ ฯ
         
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์ นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะ เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของ ความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตก แห่งขันธ์ ความทอดทิ้ง ซากศพ ความขาดแห่ง ชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
       [๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด(ชาติ) ความบังเกิด (สัญชาติ) ความหยั่งลง (โอกกันติ)  เกิด (นิพพัตติ)  เกิดจำเพาะ (อภินิพพัตติ) ความ ปรากฏแห่งขันธ์ (ขันธธานัง ปาตุภาโว) ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ (อัตตา อายตนานัง ปฏิลาโภ) (ถ้าไม่มีวิญญาณ หรือธาตุรู้ อายตนะไม่เกิด) ของ เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ
       [๘] ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เรียกว่าภพ ฯ

       กามคือประกอบด้วย ทวาร ๕ ส่วนรูปภพคือ เหลือข้างใน ส่วนข้างนอก ไม่ทุกข์ ไม่สุขแล้ว แต่คุณก็ท่องเที่ยว อยู่ในกามาวจรอยู่ แต่ไม่มี กายวิญญัติ วจีวิญญัติ (อาการเคลื่อนไหว ออกมาสู่ภายนอก มีแต่ภายใน ที่เคลื่อนไหว) เป็นมโนวิญญัติ อยู่ภายใน รู้แต่ตนเอง แล้วเมื่อมันหมด ก็เป็นอรูป เกือบหมดแล้ว เป็นมุทุตา ทำงานอยู่เป็น กายกัมมัญญตา เป็นวิการรูป ที่มันรู้ว่า พัฒนาหรือเสื่อม อย่างไรก็รู้ สามารถ ปรับเปลี่ยนมันได้ สู่ความเจริญ

       หลับตาปฏิบัติเจโตสมถะ เป็นเครื่องอุปการะได้ มีประโยชน์ ในการศึกษาจิต ทำความเจริญแก่ตน ซึ่งคนก็หาว่า พ่อครูตีทิ้ง แบบหลับตา พ่อครูว่า ไม่ใช่ของพุทธ แต่ใช้เป็น ถ้าสัมมาทิฏฐิ แต่คนทำแบบมิจฉาฯ ก็ไม่รู้ทุกข์จริง มีแต่รูปาวจร อรูปาวจร ไม่ชัดเจน ไม่รู้ความจริง มีแต่ของแห้ง การนั่งสมาธิ จะไม่รู้ทุกข์ชัดๆ เขาไปนั่ง ก็รู้แต่ กายิกทุกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้า ไม่ได้ให้ศึกษาตัวนี้ พระพุทธเจ้าให้ศึกษา วิญญาณแท้ ทางทวาร ๖ ครบ    

       พวกนั่งสมาธินั้น เวลานั่งก็เมื่อย ปวดขาปวดเอว แล้วเขาก็ว่าทุกข์ เขาก็ไม่ให้ขยับ ถ้าขยับ ไม่ได้ปฏิบัติ เขาก็ว่า มันไม่เที่ยงๆๆ ก็พยายามสะกดจิต คนพวกนี้ สรีระ ประสาท เสียไป เพราะถูกบังคับ ไปทรมานมัน แล้วก็แก้ไม่ถูกจุด  มันทุกข์ เพราะเลือดลม ไม่ไหลเวียน ก็ขยับเสีย ก็หายทุกข์ ที่เป็นกายิกทุกข์ มันเป็นการปรุงแต่ง ของกาย ไม่ใช่การปรุงแต่งของจิต พวกนั่งหลับตา เขาว่า ถ้านั่งจนไม่ทุกข์กาย นี่แหละเก่ง นี่คือการดับทุกข์       

       และเขานั่ง ก็ดับอารมณ์ฟุ้งไป ในกาม ในพยาบาท ก็หาอะไร ให้มันจับ เป็นกสิณ สะกดไว้ ให้ไม่ฟุ้ง แต่ไม่ได้เรียนรู้ บทบาทลีลาของจิต ที่มันไม่เที่ยง ฝึกเข้า เขาก็ทำได้ อย่างนั้น พ่อครูก็เคยทำมาหมด แต่ไม่ใช่แบบที่ พระพุทธเจ้าสอน  พระพุทธเจ้าสอน ให้เรียนรู้ สุขทุกข์ ที่เกิดจาก กิเลสที่ปรุงแต่ง เมื่อผัสสะ

       การไปนั่งดับนั้น ก็เรียนรู้ ฟุ้งกับหลับ แบบแห้งๆ ไม่สดๆ แบบเจอของจริง มีผัสสะ การสร้างฌาน สร้างสมาธิ แบบหลับตา กับลืมตา ก็ต่างกัน แล้วเขาก็สะกด เท่านั้น จะรู้ไตรลักษณ์ อย่างไม่ชัดเจน

       การนั่งสมาธิ มีประโยชน์ ๔ อย่างคือ
       ๑.พักจิต เหมือนนอนหลับ
       ๒.ได้ศึกษาจิต ว่ามันมีนิวรณ์อย่างไร ก็ได้ศึกษา อ่านอาการที่แคบ อยู่แค่ในภพ ในภวังค์ เป็นความจำ ก็ได้ศึกษาได้ดี เพราะไม่กระจาย ก็จะได้ชัดในตัวง่าย
       ๓.ถ้ารวมตัวกันได้ เป็นสมาธิพอสมควร ก็ใช้ “เตวิชโช” เป็นการตรวจสอบ งบดุลชีวิต ในเรื่องการปฏิบัติธรรมว่า ทำได้หรือไม่อย่างไร มีบัญชีสมบัติว่า ได้อย่างไร 
       ๔. สร้างพลังจิต แล้วเอาไปเล่นปาฏิหาริย์ นอกเรื่องอริยสัจ ๔ ไม่พาพ้นทุกข์ เสียเวลา ไม่ควรทำ ถ้าเป็นอรหันต์ หรือโพธิสัตว์ค่อยทำ เพราะคุณไม่หลงแล้ว มีหลักประกันแล้ว แต่คุณ ไม่มีหลักประกัน ก็หลงสิ่งเหล่านี้ ลาภยศสรรเสริญ โลกียสุขอันตราย

       ส.ฟ้าไทสรุป.. ปฏิจจสมุปบาท คือความเกิดแห่งกองทุกข์ ทั้งมวล แล้วพ่อครู ก็ถามว่า คุณบอกว่า ไม่มีแล้ว แล้วที่คุณพูดนี้ คุณได้ทำได้ เป็นหรือยัง เราก็ต้อง ตรวจสอบว่า เราเป็นอย่างไร ในปฏิจจสมุปบาท โลกนี้ก็มีแต่ รูปและนาม เท่านั้น ถ้าเราเป็นปุถุชน คือคนที่กิเลสโตขึ้น ทุกวินาที อันนี้น่าสงสาร และน่ากลัวมาก เรามาพบ พระโพธิสัตว์ ที่พาเราลดกิเลสแล้ว ถ้าเราไม่ได้มรรคผลอะไร มันน่าเสียดาย เราต้องทำ หลักประกัน ในชีวิตเรา ก่อนตาย...

จบ         

 
ศุกร์ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่ราชธานีอโศก