_560901_รายการสงครามฯ โดยพ่อครู สมณะโพธิรักษ์
เรื่อง ยิ่งเล็กยิ่งใหญ่ ยิ่งจนยิ่งรวย ตอน ๒ (คานธี)


       พ่อครูจัดรายการที่สวนลุมฯ ชุมชนดูไป... (๑กันยายน๒๕๕๖)

มีคนส่งข้อมูลให้ เมื่อวานพ่อครูได้เอากวี ยิ่งเล็กยิ่งใหญ่ ยิ่งจนยิ่งรวย มาสาธยายให้ฟัง ก็มีคนส่งเรื่องของมหาตมา คานธี ให้พ่อครู ก็จะนำมาสาธยายต่อ ซึ่งท่านคานธี ปฏิบัติ เป็นผลสำเร็จ เรียบร้อยแล้ว แต่ว่าพ่อครู มาทำในไทย มีคนเห็นว่า พ่อครูเพ้อฝันอยู่มาก เขาไม่เชื่อ แต่ว่าพ่อครู ก็ว่าไม่เป็นไร พ่อครูมาทำการพิสูจน์ ความจริง จะนำทฤษฏี คำสอน ของพระพุทธเจ้า มาเปิดเผยให้ฟัง ตามความเห็น ความรู้ ตามที่พ่อครูเข้าใจ เชื่อว่าถูกต้อง ซึ่งต้องมีการประมาณ ในการพูด ถ้าพูดบุ่มบ่าม ก็ตายเลย รักษาตัวรอด เป็นยอดเดี่ยวได้ และมีผู้ฟัง เข้าใจเห็นจริงได้ มีคนมาทำตาม อย่างทวนกระแสโลก ก็ทำมาเรื่อยๆ หลายปี ก็มั่นใจว่า มันถูกต้องแล้ว จนกระทั่ง มั่นใจว่าเมืองไทย จะมีสิ่ง ที่ถูกต้อง จนกระทั่ง มีจำนวนหนึ่ง ที่จะมีธรรมฤทธิ์ ที่จะเปลี่ยน มนุษยชาติได้ จนพ่อครูตั้งใจ จะต่ออายุขัย ให้ได้ถึง ๑๕๑ ปี คนจะหาว่าฟุ้งซ่าน ก็ไม่เป็นไร พ่อครู ทำแนวไอสไตน์ คือมีจินตนาการก่อน แล้วทำต่อ ให้สำเร็จ พากเพียรไป ก็วาดหวังไว้ไกล ลึกไปอีกว่า ถ้าเป็นผลสำเร็จดี เมืองไทย จะเป็นเมืองที่ ยอดเยี่ยมเลย เป็นการเมือง แบบพุทธศาสนา ทุกวันนี้ไม่ใช่แบบศาสนา แต่เป็นธนาศาสนา คือการเมือง แบบธนบัตร เป็นศาสนาธนบัตร เอาธนบัตรมาสร้างอำนาจ ผู้รู้บอก การเมืองเป็นบริษัท มีเจ้าของ บงการได้ทุกอย่างเลย

      มาสู่บทที่คนให้ข้อมูลมา...
มหาตมา คานธี 
ผู้ที่ยิ่งเล็ก...ที่ยิ่งใหญ่ ผู้ที่ยิ่งจน...ที่ยิ่งรวย

๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๒ เป็นวันเกิด ของเด็กน้อย ชาวอินเดียคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อร้อยปีก่อน ไม่มีใคร คาดคิดว่า เขาจะกลายเป็น รัฐบุรุษเอก ของโลกท่านหนึ่ง โดยมีศาสนา เป็นเครื่องมือ บริหารบ้านเมือง จนได้รับการขนานนาม ยกย่องเป็นบิดา ของประเทศว่า "มหาตมา คานธี" ผู้ที่ยิ่งเล็กที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งมีคุณธรรม ที่น่าซาบซึ้งใจ อยู่หลายประการ หวังว่าผู้ใฝ่สันติ ทั้งหลาย คงจะได้พลังใจ จากการได้รำลึก ถึงชีวิตของท่าน เพื่อช่วยกัน กอบกู้ มนุษยชาติ ให้พ้นจากทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวง กันต่อไป

อารมณ์ขันของคานธี 
ตอบคำถามของนักหนังสือพิมพ์ผู้หนึ่ง ซึ่งถามคานธีว่า คานธี มีอารมณ์ขันหรือไม่ 
"หากไม่มีอารมณ์ขัน ผมคงจะฆ่าตัวเอง ตายไปเสียนานแล้ว"

          พ่อครูว่า การเมืองมันไปไม่รอด เพราะไม่มีธรรมะ เอาแต่เรื่องการเมือง ทุกวันนี้ ความบกพร่องการเมือง ก็แฉกันจนหมดแล้ว แต่แก้ไม่ได้ เพราะทั้งผู้ที่ทำเลว และผู้ที่ ไม่ทำดี เพราะธรรมะไม่ถึงใจ ไม่ถึงขั้น บันดาลใจให้ออกมาทำ ไม่ใช่ไม่มีคนดี แต่เพราะ ยังไม่ถึงขั้น ที่บอกว่า ต้องเอาธรรมะใส่การเมือง แต่ไปตีทิ้งว่า ต้องห้ามไม่ให้ธรรมะ ยุ่งกับการเมือง และทำไมต้องห้าม ไม่ให้สงฆ์ นำการเมือง เพราะพระเหล่านั้นไม่ถึง ถ้าให้พระเหล่านั้นมา จะถูกนักการเมือง ครอบงำหมด ปฏิภาณเล่ห์เหลี่ยม สู้ไม่ได้ จึงต้องกัน ไม่ให้ศาสนา เข้ามาเกี่ยวกับการเมือง เขากันไว้น่ะ ถูกแล้ว แต่มาถึงทุกวันนี้ พ่อครูก็เห็นว่า ปล่อยไปไม่ได้แล้ว และพ่อครูเห็นว่า ตนจะไม่ถูกกลืน ถูกครอบงำ และมั่นใจว่า ธรรมะจะกอบกู้ แม้แต่การเมือง แต่ถ้าจะทำแบบเดิม คือเปลี่ยนขั้วอำนาจ สมบัติ ผลัดกันชม ผลัดกันคอรัปชั่นมา ๘๐ กว่าปีแล้ว เลวจัดแล้ว ในวงการการเมือง ประชาธิปไตยไทย เป็นประชาธิปตาย แล้วอย่าง ท่านพุทธทาสบอก

ศาสนาในทัศนะของคานธี
ข้าพเจ้าเป็นนักบวชที่ยากจน ทรัพย์สินที่ข้าพเจ้า มีอยู่ในโลกนี้ มีกงล้อปั่นด้าย ๖ เครื่อง จานรับประทานอาหาร ตั้งแต่อยู่ในคุก ๑ ใบ กระป๋องใส่นมแพะ ๑ ใบ ผ้านุ่งโธตี และ ผ้าเช็ดตัว ทอด้วยมือ ๖ ชิ้น นอกนั้น ก็มีแต่ชื่อเสียง ซึ่งก็ไม่มีราคาค่างวด หรือความหมาย อะไร

ไม่มีศาสนาใด ที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าสัจจะ และความเป็นธรรม ท่านต้องเฝ้าดูชีวิตของ ข้าพเจ้า ว่าข้าพเจ้ากิน อยู่ หลับนอน พูดจา และมีความประพฤติทั่วไป เป็นอย่างไร ผลรวมของพฤติการ ทั้งหมดเหล่านี้ ที่ได้เห็นในตัวข้าพเจ้า นั่นแหละ คือ ศาสนาของข้าพเจ้า

การเป็นผู้รับใช้ คือการได้เข้าถึง พระผู้เป็นเจ้า
เป้าหมายขั้นสุดท้าย ของคนเราก็คือ การบรรลุ ถึงพระผู้เป็นเจ้า กิจกรรมทุกประการ ของคนเรา ไม่ว่าจะเป็น ในด้านการเมือง การสังคม หรือ การศาสนาก็ดี ควรจะมี เป้าหมาย อยู่ที่การบรรลุถึง พระผู้เป็นเจ้า การบริการรับใช้ เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นกิจกรรม ที่จำเป็นอย่างหนึ่ง ในการบรรลุถึง พระผู้เป็นเจ้า เพราะการบรรลุถึง พระผู้เป็นเจ้าก็คือ การบรรลุถึง สรรพชีวิต ที่พระองค์ ได้ทรงสร้างขึ้นมา และการทำตน ให้เป็นส่วนหนึ่ง แห่งสรรพชีวิตเหล่านั้น การรับใช้ เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นกิจกรรม ที่จะขาดเสียมิได้ หากเราประสงค์ จะเข้าให้ถึงพระบิดาของเรา และเราจะต้อง เริ่มกิจกรรมนี้ จากเพื่อนมนุษย์ ซึ่งอยู่รอบๆ ตัวเรา ซึ่งก็ได้แก่การรับใช้ ประเทศชาติ ของเรานั่นเอง ข้าพเจ้าเป็นส่วนหนึ่ง ของส่วนรวม และข้าพเจ้า ไม่สามารถจะพบ พระผู้เป็นเจ้า ณ ที่อื่นใดได้ นอกเหนือไปจาก ในส่วนรวม เพื่อนร่วมชาติ เป็นเพื่อนบ้าน และเพื่อนมนุษย์ ที่อยู่ใกล้ที่สุด ของข้าพเจ้า เขาเหล่านี้ อยู่ในสภาพที่ระทมทุกข์ ขาดความช่วยเหลือ และไร้ที่พึ่ง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงต้องมุ่งมั่น รับใช้เขา เป็นเรื่อง น่าเศร้า ที่ทุกวันนี้ ศาสนามีความหมาย เพียงเรื่องของรูปแบบ และพิธีกรรม หรือ ไม่ก็เป็นเรื่องของ ทิฐิมานะ เราทั้งหลาย พากันลืมสารัตถะ อันได้แก่ แก่นแท้ของศาสนา เสียแล้ว ข้าพเจ้าใคร่ขอ แสดงความเห็นว่า ไม่มีอวิชชา หรือความไม่รู้ ที่เสียหายร้ายแรง ยิ่งไปกว่า สภาพเช่นนี้ ชาติกำเนิดก็ดี พิธีกรรมก็ดี สิ่งเหล่านี้ มิใช่เป็นเครื่องกำหนด หรือแสดงถึงความดี หรือ ความไม่ดี ของคนเลย การกระทำ และความประพฤติ ของคนเท่านั้น ที่จะเป็นเครื่องวัด ให้เห็นได้ว่า ใครดี ใครไม่ดี พระผู้เป็นเจ้า มิได้ทรงสร้าง ผู้ใดขึ้นมา ด้วยการประทับตรา ติดร่างว่า ใครดี ใครไม่ดี ไม่มีคัมภีร์ศาสนา เล่มใด ที่จะบังคับ ให้เราเชื่อได้ว่า เพราะชาติกำเนิด คนนี้จึงเป็นคนดี และ เพราะชาติกำเนิด คนนั้น จึงเป็นคนไม่ดี คำกล่าวอ้างเช่นนี้ เป็นการปฏิเสธ พระผู้เป็นเจ้า และสัจธรรม เพราะพระผู้เป็นเจ้าก็คือ สัจธรรมนั่นเอง

ประสบการณ์ในชีวิต ได้สอนข้าพเจ้า ตลอดมาว่า นอกจากสัจจะแล้ว ไม่มีพระผู้เป็นเจ้า อื่นใด

ศาสนาของข้าพเจ้าคือการรับใช้
ในช่วงเวลาที่อินเดีย จะได้รับอิสรภาพอยู่นั้น มีบาทหลวง ชาวอเมริกันรูปหนึ่ง เข้าพบ เพื่อฟัง ความคิดเห็นของ มหาตมา คานธี

"ท่านมหาตมาครับ ในแผ่นดินอินเดีย ที่เป็นอิสระแล้ว ศาสนาใด ควรจะเป็นศาสนา ที่เหมาะสม แก่ชาวอินเดียครับ ?" บาทหลวงถาม ด้วยความสุภาพ

ขณะนั้น คานธี กำลังปรนนิบัติ คนไข้อยู่ ๒ คน ในห้องที่บาทหลวงเข้าพบ คานธี ชี้ไปทาง คนไข้ พลางพูดว่า "ศาสนาที่ผมนับถืออยู่ ทุกวันนี้คือ ศาสนาแห่งการรับใช้ผู้อื่น ผมเชื่อว่า ศาสนานี้ เหมาะสม แก่อินเดียเสมอ !"

ศาสนาและการเมืองในทัศนะของคานธี 
"การอยู่อย่างมีอิสระภาพ แต่แบบตัวใคร ตัวมันนั้น หาใช่เป็นเป้าหมาย ของนานารัฐ นานา ประเทศชาติไม่ โลกเป็นอันหนึ่งอันเดียว และต้องพึ่งพา อาศัยกัน และศาสนา ที่ข้าพเจ้า รับนับถือ มิใช่เป็นศาสนาแห่ง ความคับแคบ เห็นแก่ตัว ซึ่งนักการศาสนา ส่วนใหญ่ ที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น ล้วนเป็นนักการเมือง ที่ปลอมแปลงตัวมา ส่วนตัวข้าพเจ้า ผู้สวม บทบาท เป็นนักการเมืองนั้น ด้วยจิตใจอันแท้จริง แล้วเป็นนักการศาสนา ต่างหาก"

ผู้บรรลุสัจธรรมย่อมไม่จำกัดตนเอง
การที่จะบรรลุสัจธรรม อย่างแท้จริงได้นั้น เราจะต้องสามารถ รักสรรพชีวิต ให้ได้ เหมือนกับ ที่เรารักตนเอง ผู้ที่มีความปรารถนาเช่นนี้ จะจำกัดตนเอง ให้อยู่ใน ขอบเขตหนึ่ง ขอบเขตใด ของชีวิตไม่ได้ และ เพราะศรัทธาปสาทะ ที่มีต่อสัจธรรมนี้เอง ข้าพเจ้า จึงมาพัวพัน การบ้านการเมือง

ข้าพเจ้าพูดโดยมิต้องรีรอ และด้วยคารวะ ในทัศนะของผู้อื่น อย่างเต็มเปี่ยมว่า บรรดา ผู้ที่พูดว่า ศาสนาไม่เกี่ยวกับ การเมืองนั้น เป็นผู้ที่ไม่ทราบ ความหมาย ของคำว่า"ศาสนา"

"สำหรับผมแล้ว… การเมืองที่ปราศจาก หลักธรรมทางศาสนา เป็นเรื่องของ ความโสมม ที่ควรสละ ละทิ้งเสีย เป็นอย่างยิ่ง การเมืองเป็นเรื่องของ ประเทศชาติ และเรื่องที่เกี่ยวกับ สวัสดิภาพ… ต้องเป็นเรื่องของ ผู้มีศีลมีธรรม ประจำใจ เพราะฉะนั้น เราจึงต้องเอา ศาสนจักร ไปสถาปนาไว้ใน วงการเมืองด้วย"

ถูกแล้วคุณ… ผมเป็นนักการศาสนา แต่คุณจะว่า ผมหลงทางเข้ามา ในวงการเมืองไม่ได้ นักการศาสนา จะต้องต่อต้าน ความไม่มีศาสนา ในทุกแห่งหน ที่เขาได้พบเห็น แต่ในยุค ปัจจุบัน ความไม่มีศาสนา ได้เข้าไป ยึดการเมือง ไว้เป็นป้อมปราการ อันสำคัญที่สุด เพราะฉะนั้น ผมจึงต้องเข้าไป ในวงการเมือง เพื่อต่อต้าน ความไม่มีศาสนา"

การป้องกันตน ให้พ้นจาก ผลประโยชน์ทับซ้อน ทางการเมือง 
เมื่อข้าพเจ้าพบว่า ตนเอง ได้ถูกดึงเข้ามา ในแวดวงของการเมืองเสียแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้ถาม ตัวเองว่า การที่จะรักษาตน ให้พ้นจาก ความไม่มีศีลธรรม อสัจจะ และจาก สิ่งที่เรียกกันว่า ผลประโยชน์ ทางการเมืองนั้น จำเป็นจะต้อง ทำอย่างไร คำตอบที่ผุดขึ้น ในสมองของ ข้าพเจ้า ก็คือ "หากจะรับใช้ เพื่อนร่วมชาติด้วยกัน ซึ่งเราเห็น เขาได้รับ ความทุกข์ยาก อยู่ทุกเมื่อ เชื่อวันแล้วไซร้ ก็จำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องละทิ้ง ทรัพย์สินทุกชิ้น โดยสิ้นเชิง"

ข้าพเจ้าไม่สามารถ จะคุยด้วยความสัจได้ว่า ข้าพเจ้าปฏิบัติตน ตามความคิด เช่นนี้ได้ ในทันที ตรงกันข้าม ข้าพเจ้าจำต้อง สารภาพว่า แรกๆ นั้นทำได้ยาก และช้ามาก และ ไม่ใช่แต่ ยากและช้าเท่านั้น หากยังเต็มไปด้วย ความปวดร้าวใจ เป็นอย่างยิ่งอีกด้วย แต่เมื่อ กาลเวลาล่วงเลยไป ข้าพเจ้าก็พบว่า ข้าพเจ้าจำต้อง ทิ้งสิ่งอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งข้าพเจ้า เคยยึดถือว่า เป็นของตน และต่อมา ข้าพเจ้าก็พบว่า การละทิ้งสิ่งเหล่านี้ ก่อให้เกิด ความสุข อย่างแท้จริง ต่อจากนั้น ข้าพเจ้าก็สามารถ สละทุกสิ่ง ได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ ข้าพเจ้ากำลังพรรณนา ถึงประสบการณ์ ของตนเองอยู่นี้ ข้าพเจ้ารู้สึกว่า ภาระอันหนักอึ้ง ได้หลุดลอยไปแล้ว จากบ่าทั้งสอง ของข้าพเจ้า เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าเดินได้ อย่างเสรี และ สามารถรับใช้ เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ด้วยความสุข และความเพลิดเพลิน เป็นอย่างยิ่ง การ "มี" ไม่ว่าสิ่งใด เป็นเรื่องของ ความวุ่นวาย และเป็นทุกข์โดยแท้

          พระพุทธเจ้าตรัสเรื่อง ความมี - ความไม่มี
          พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า สัมมาทิฐิ สัมมาทิฐิ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่า สัมมาทิฐิ ฯ [๔๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้โดยมาก อาศัยส่วน ๒ อย่าง คือ ความมี๑ ความไม่มี๑ ก็เมื่อบุคคล เห็นความเกิดแห่งโลก (โลกสมุทยัง) ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี เมื่อบุคคล เห็นความดับแห่งโลก (โลกนิโรธ) ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงแล้ว ความมีในโลก ย่อมไม่มี โลกนี้โดยมาก ยังพัวพันด้วย อุบายอุปาทาน และอภินิเวส แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่เข้าถึง (น อุเปติ) ไม่ถือมั่น (น #อุปาทิยติ) ไม่ตั้งไว้ (นาธิฏฺาติ) ซึ่งอุบาย และอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวส และอนุสัย อันเป็นที่ตั้งมั่น แห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้
          ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ พระอริยสาวกนั้น มีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อ ผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล กัจจานะ จึงชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ (กัจจานโคตตสูตร ล.๑๖ ข.๔๓)

ข้าพเจ้าพูดกับตนเองต่อไปว่า การเป็นเจ้าของ น่าจะเป็นอาชญากรรม หรือเป็นความผิด อย่างหนึ่ง การขโมย มิใช่ หมายความว่า ไม่ลักทรัพย์ของผู้อื่น เท่านั้น แต่การมีไว้ หรือรับไว้ ซึ่งสิ่งใด ที่ตน ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ก็หมายถึง การขโมย ด้วยเหมือนกัน และการขโมย เป็นหิงสกรรม อย่างหนึ่ง แน่นอน

เราควรจะมีเฉพาะ สิ่งที่คนอื่น เขามีได้ แต่เราทุกคนทราบดีว่า นี้เป็นสิ่งที่ เป็นไม่ได้ ดังนั้น สิ่งที่ทุกคนจะมีได้ก็คือ ความไม่มี หรือ การไม่เป็นเจ้าของ สิ่งใดเลย กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ยอมตน เป็นคนไม่มี ไม่เป็นเจ้าของ เมื่อมีความเชื่อมั่น เช่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าจึงคิดว่า แม้ร่างกายของเรา เราก็ควรจะมอบให้แด่ พระผู้เป็นเจ้า นั่นก็คือ เราควรจะใช้ร่างกายนี้ มิใช่เพื่อความสุข สนุกสนาน หรือเพื่อสนองตัณหา หากควรจะใช้มัน เพื่อบริการผู้อื่น ตลอดเวลา ที่เรายังมีชีวิตอยู่ เมื่อร่างกายของเรา เรายังมอบให้แด่ พระผู้เป็นเจ้าได้ เช่นนี้แล้ว สัมมหาอะไร กับเสื้อผ้า และสิ่งของอื่นๆ เราจะมอบให้แด่ พระผู้เป็นเจ้า ไม่ได้เล่า

ผู้ที่สามารถทำตน เป็นคนยากจน ด้วยใจสมัครเอง ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ หรือกล่าวอีก นัยหนึ่งก็คือ ผู้ที่ปฏิบัติตน จนบรรลุ อุดมการณ์ดังกล่าว ย่อมเป็น สักขีพยานได้ว่า เมื่อใดที่เราทำตน ให้เป็นคนไม่มีอะไรได้เลย เมื่อนั้น เราจะเป็นคนที่ ร่ำรวยที่สุดในโลก

          พ่อครูว่า.... สิ่งที่นำมาอ่านนี้ ยืนยันความจริง ที่ผ่านมาแล้ว และปฏิบัติได้จริง เป็นความรู้ ความจริง ที่ทวนกระแส ของปุถุชน อสาธาณัง ปุถุชเนหิ

          คนเราเกิดมาแต่ละชาติ เกิดมาใช้กรรม เราก็ทำกรรมต่อไป ถ้าชาตินี้เกิดมา แต่ได้แต่ ทำกรรมที่ไม่ถึงขั้น ละหนี้บาป หรือกิเลส บาปคือกิเลส บุญคือ การชำระกิเลส ถ้าผู้ใดเกิดมา ไม่ได้ชำระกิเลส แล้วเข้าใจว่า ทำบุญคือการได้ แล้วไปเที่ยวหาทำบุญ เพื่อให้ได้โลกธรรม ทรัพย์สินแก่ตน ทำบุญแต่ทำใจในใจ ให้โลภจัด มากขึ้น ชาติหน้า ขอให้รวยกว่านี้ แต่ว่าพุทธนั้น สอนให้ลึกซึ้ง ทำทาน ก็สอนให้ละกิเลส
         ในอนุบุพพิกถา ก็สอนทาน ในสัมมาทิฏฐิข้อแรก ก็สอนเรื่องทาน ทำทานให้มีผล ชำระกิเลสได้ เรียกว่าล้างออก ไม่ใช่เอาเข้า ถ้าใครทำใจในใจ ไม่ตรง ชีวิตนี้ทั้งชีวิต ก็ทำบาป สร้างหนี้ เกิดมาซวย เสียชาติเกิด เราต้องมา ทำใจในใจให้เป็น โยนิโสมนสิการ แล้วล้างกิเลส ไปทุกกรรมกิริยา ไม่ว่าจะทำกรรมการงานใด ให้ล้างกิเลส ได้ตลอด

          วันนี้เป็นวัน เปิดตลาดอาริยะ ก็เห็นว่าครึกครื้นมาก พ่อครูพากระทำมา ๓๐ กว่าปีแล้ว ตลาดอาริยะ มันเป็นการสละออก เป็นการทำบุญ ที่พาทำนี่ มันเป็นเรื่องที่ตรง ตามพระพุทธเจ้าสอน เป็นศาสนา ที่แท้จริง สอดคล้อง ทั้งประโยชน์ตน ได้ล้างกิเลส สอดคล้อง ประโยชน์ท่าน ในยุคที่เดือดร้อน

          เกิดมาในแต่ละชาติ ถ้าเข้าใจได้ว่า เราจะทำกรรมอย่างไรให้ดี เกิดมาพบ ศาสนาพุทธ ได้ฟังคำสอน มีคนสอน คนอธิบาย แต่ว่าไม่ตั้งใจ ศึกษาปฏิบัติ กลับไป ศึกษาความรู้ แต่ทางโลก ที่สร้างความโลภ สร้างอาวุธใส่มือ เอาไปห้ำหั่น เอาเปรียบ ให้แก่ตนเอง เป็นความรู้ ที่ฆ่าตนเอง ในแต่ละชาติๆ เกิดมาก็ทำบาปกรรม โลภได้มาก กอบโกยได้มาก สังคมจำนนต่อคุณ ให้เอาแก่คุณได้มาก คุณได้เปรียบ คุณเกิดมาชาตินั้น ซวย เสียชาติเกิดจริงๆ

          ขอให้สำนึกนะ ผู้ที่ได้เปรียบอยู่ในสังคม อย่านึกว่า ตนได้ทำสิ่งดีงาม แต่ที่จริงซวย คนเกิด มาควรเสียเปรียบ หรือเสียสละ ทำจริงทั้งกายและใจ แล้วยุคนี้ ก็ส่งเสริม การเอาเปรียบ ให้ได้มากๆๆๆ ชาตินั้น ถ้าคุณได้เปรียบ หรือรวยมากเท่าใด เสียชาติเกิด เท่านั้น เกิดมาไม่ได้ประโยชน์ ตายไปตกนรกหนัก

          ถ้าผู้ใด เข้าใจจริง แล้วปฏิบัติ อย่างท่านคานธี ต้องมีความจริง ของปัญญา สละไปแล้ว ได้เบาจริง มันจะเห็นเลยว่า การไม่เอามา เป็นของตน มันเป็นประโยชน ์ต่อโลก เราใช้เฉพาะที่จำเป็น เราใช้ไม่มากหรอก เราก็สละไป ไม่ให้สังคม กระเบียด กระเสียนมาก แต่นี่เอากอบโกย เข้าแก่ตน แล้วเอาไปออกดอก ออกหนี้ วิธีคิดทุนนิยม เป็นวิธีคิด อภิมหาบรมบาป เราเกิดมาเป็นคน อย่าหลง ไปกับโลก มากนัก ตั้งจิตตรวจสอบ ด้วยปัญญา อย่างแท้จริง ไม่ได้มาล้างสมอง แต่ให้เกียรติคน คิดไตร่ตรองเอง

          ต่อไปเป็นการตอบประเด็น

  • ตลาดอาริยะแบบนี้เป็นเป็นประชานิยมหรือไม่

ตอบ... การที่จะทำ แล้วให้ตนได้ ประชานิยม หรือคะแนนเสียงให้มาก ถ้าทำแบบนั้น ละก็ ตลาดอาริยะนั้น ไม่ใช่ประชานิยม แต่เราเป็นการให้ แก่ประชาชนจริงๆ เป็นวิธีการ แบบอย่างให้ทำ ทำอย่างนี้ ให้ประชาชน โดยความหมายซ้อนว่า หาเสียงนั้น คือ ประชานิยม แต่การทำตลาดอาริยะนั้น ไม่ใช่การหาเสียง

  • แล้วทำเพื่อหวังจำนวนมวลชนใช่หรือไม่

ตอบ... ก็คล้ายกับข้อแรก คนที่ทำด้วยเจตนา อย่างนั้นจริง ต้องอ่านให้ออก ว่าถ้ามี มโนสัญเจตนา เพื่อตนเพื่อกู เพื่อของกู อันนี้ผิด อันนี้เป็นบาป แต่ถ้าเราไม่ได้ทำ เพื่อตัวเรา ของเรา แต่เราทำเพื่อ ประโยชน์สังคม อันนั้น ไม่ใช่ประชานิยม เราไม่จำเป็น ต้องหาเสียง พ่อครูทำงานตามรอย พระยุคลบาท พระพุทธเจ้า ทำงานศาสนานี้ ประพฤติพรหมจรรย์ ภิกษุทั้งหลาย ! พรหมจรรย์ เราประพฤติ มิใช่เพื่อ... หลอกลวงคน ให้มาเคารพนับถือ (น ชนกุหนัตถัง) มิใช่เพื่อเรียกคน มาเป็นบริวาร (น อิติ มังชโน) มิใช่เพื่ออานิสงส์ เป็นลาภสักการะและเพื่อ เสียงสรรเสริญ มิใช่เพื่อจะได้ เป็นเจ้าลัทธิ หรือ ค้านลัทธิอื่นใด ให้ล้มไป มิใช่เพื่อให้มหาชน เข้าใจว่า.. เราได้เป็นผู้วิเศษอย่างนั้น ก็หามิได้ ภิกษุทั้งหลาย ! ที่แท้ พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติ เพื่อสำรวม เพื่อละ, เพื่อคลายกำหนัด, เพื่อดับทุกข์สนิท ฯ

เราออกมาชุมนุม ถ้ามีมวลมากก็ดี เพราะพิสูจน์อำนาจ ประชาธิปไตย เอาอันนี้ยืนยัน คะแนนเสียง ให้เขารู้ว่า ใช้หลักนิติรัฐ นิติธรรมของโลก ก็ต้องเป็นตามนั้น แต่ใจเรา อยากหรือไม่สิ ถ้าใจเราอยากมันไม่มี แต่ว่ามันควรเป็นอย่างนั้น ถ้าได้ก็ดี แต่ถ้าไม่ได้ เราก็ไม่เสียใจ

  • ต่างจากระบอบทักษิณตรงไหน?

ตอบ... ต่างจากระบอบทักษิณ คือทักษิณไม่ได้จริงใจ อย่างพวกเราเลย จะหาว่าเดา ก็ตามที พ่อครูว่า ทักษิณไม่ได้คิดว่า จะไม่สร้างมวล เขาต้องการสร้างมวล เพื่อใช้กฎหมู่ มาล้างประชาธิปไตย เขาทำแทบเป็น แทบตาย เขาสร้างกฎหมู่ มีตนเดินทางไปหา ไปเอาตำแหน่ง เงินทอง เขาก็ภาคภูมิใจ ที่สั่งให้ใครเป็นไป ตามใจได้ พ่อครูเห็นว่า ไม่ใช่สิ่งน่าภูมิใจเลย มันเป็นสิ่งเลวด้วย แต่พ่อครู ก็ขอพูดว่า เขาไม่เข้าใจหรอก ที่พ่อครูพูด คือเขาไม่ฉลาดพอ ที่จะรู้เรื่องนี้หรอก อาจเข้าใจผิวเผิน แต่ไม่ซาบซึ้ง จนเปลี่ยนใจได้หรอก นอกจาก เขาจะแพ้จำนน หรือหยุด หรือตาย ไม่อย่างนั้น เขาไม่หยุด ดังนั้น ที่เราทำ จึงต่างจาก ระบอบทักษิณ สิ้นเชิง

  • แล้วทำให้เขาขี้โลภเพิ่มขึ้นหรือไม่

ตอบ... คือเราทำนั้นมีเชิงซ้อน มีการสอนในพฤติกรรม ซึ่งยากที่คนจะทำได้ แต่ยืนยันว่า อโศกทำได้ เราแจกอาหารนี่ คนให้ไหว้คนรับ มีทั้งกายกรรม วจีกรรม เป็นอาการ เคลื่อนไหว เป็นกายวิญญัติ วจีวิญญัติ เป็นความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือดี ไม่อวดตน การให้ของเรา มีนัยลึกซึ้ง ซับซ้อนหลายอย่าง คนที่มีปัญญา ไม่ขี้โลภ จะเห็นตาม และมาทำตามเรา ส่วนคนขี้โลภ เห็นแก่ได้ ก็มีบ้าง แต่เราได้คน ที่มีปัญญาเข้าใจ และมาทำ มาเสียสละ ร่วมมือกับเรา ซ้อนๆๆๆไป เพิ่มขึ้น ซึ่งลึกซึ้ง คนปัญญาชน จะรับได้ ส่วนคนกิเลสหนา ก็รับไม่ได้ เราก็จำเป็นให้เขาดีขึ้นไม่ได้ แต่เราได้ผล ที่เราตั้งใจให้เกิด มีอัตราก้าวหน้าได้

  • ต่างจากธงฟ้าราคาประหยัดอย่างไร

ตอบ... ตลาดอาริยะอย่างเรา ที่ราคาธงฟ้านั้น เอาหน้า มันทำหลอกมนุษย์ แล้วเอา เงินรัฐบาล เงินประชาชนทำ แต่เราเอาเงิน ของชาวเราเองทำ ไม่ได้เอาเงิน ที่บริจาค ในการชุมนุมนี้เลย ตลาดอาริยะนั้น เราเอาเงินของเรา ไปขาดทุน มีน้อย ก็ทำน้อย มีมากก็ทำมาก เอาเลือดเนื้อของเราทำ แต่ต่างจากรัฐบาล ที่ทำเอาหน้า

  • ทำแบบนี้เป็นประชาสงเคราะห์หรือไม่ จะยั่งยืนอย่างไร

ตอบ.. คำว่าประชาสงเคราะห์ คือช่วยเหลือ เกื้อกูลประชาชนก็ใช่ เป็นการสงเคราะห์ แต่ว่าไม่ใช่ ประชาสงเคราะห์ อย่างไม่จริงใจ เราไม่มีแฝง มันเริ่มจาก ใจพ่อครูนี่ พาทำ อย่างจริงใจ เป็นคุณธรรมประโยชน์ เราก็ทำเพื่อช่วยเหลือมนุษยชาติ เราไม่เอาสินค้า แบรนเนม มาหรอก ไม่จำเป็น เพราะคนร่ำรวย เขาไม่ต้องการแล้ว เราก็เอาทำสิ่งที่จำเป็น อุปโภค บริโภค เราทำอย่างมีปัญญา มาช่วยกัน ด้วยใจจริง ส่วนจะยั่งยืน อยู่ที่จิตของคน ถ้าเห็นคุณค่า มันยังดีต่อสังคม และทำได้อยู่ ก็ทำตลอดไปเลย ยั่งยืน นอกจาก เราทำแล้วเกิด สิ่งไม่ดี ไม่ควร ผู้รู้ก็ติเตียน หรือคนทั่วไป บอกเหลวไหล หรือ เราทำไม่ไหว แต่ถ้ามันดี และเรายังทำได้ เราจะทำ เราไม่เบียบเบียนตน ไม่เป็นหนี้มาทำ ไปทำ อวดเอาหน้า เราไม่ทำ ไม่ถึงกระเบียดกระเสียน แต่เสียสละเราทำ เราทำมา ๓๐ เกือบ ๔๐ ปีแล้ว แต่ก่อน เราทำปีละครั้ง ต่อมา เราทำหลายครั้งต่อไป ตอนนี้เราทำ เดือนละสองครั้ง ถ้าทำได้ดี ก็ติดต่อกันไปเรื่อยๆ ที่จริงรัฐบาล น่าจะเอาอย่างเราบ้างนะ

  • ตลาดอาริยะแบบนี้ จะนำไปใช้แก้ปัญหามหภาค คือเศรษฐกิจโลกได้หรือไม่

ตอบ... ถามใหญ่จัง พ่อครูก็ตอบใหญ่ว่า... นี่คือเศรษฐกิจบุญนิยม เราทำได้ถึงขั้น สาธารณโภคี คือมีสมาชิก กลุ่มที่รวมทรัพย์สิน เงินทอง ของกินใช้ เป็นของส่วนกลาง เช่น ชาวอโศก แต่ละชุมชน บริหารปกครอง วิถีดำเนินชีวิต แบบสาธารณโภคี เราดีกว่า กงสีใหญ่ของจีนที่ว่า แม้ที่สุด ใครมาเป็นสมาชิก ของครอบครัวใหญ่ สามารถกินอยู่ จนตายได้ แต่จะแยกไป จากที่นี่ ไม่มีสิทธิ์ เอาของที่นี่ออกไป แต่ถ้ากงสี ถ้าแยกออกไป จะแบ่งสมบัติให้ แต่ของสาธารณโภคี ถ้าแยกตัว ออกจากหมู่กลุ่ม ไม่ให้อะไรออกไป แต่คุณมีสิทธิ์ อยู่ไปจนตาย มีลูกหลาน ก็อยู่ต่อไป ขณะนี้เราทำได้ เป็นหมู่บ้านชุมชน และเศรษฐกิจมหภาค คือเป็นชุมชน เชื่อมโยงกัน คือที่สันติอโศก หรือราชธานีอโศก หรือที่ไหนๆ ของอโศก ก็เป็นอันเดียวกัน หมดเลย เป็นมหภาค ไม่ใช่เป็นก้อนเดียวกัน แต่เป็นเครือแห ซับซ้อนอยู่ในนั้น หลายชั้น มั่นใจว่า ใช้กับสังคมโลกได้ อาจไม่ได้หมด เพราะต้องการ การลดกิเลส ถ้ามาอยู่ในสังคม สาธารณโภคีนั้น ทำงานเสียภาษี ๑๐๐ % การเสียภาษี ต้องเต็มใจเสียสละ ไม่ได้บังคับ ถ้าคุณจะอยู่ ในหมู่กลุ่มนี้ อยู่นาน เท่าไหร่ก็ได้ จะออกไป เมื่อไหร่ก็ได้ มั่นใจว่า ไทยจะเป็นได้ เกิดหมู่บ้าน ทางนิตินัยแล้ว มีผู้ใหญ่บ้าน มีอบต.

  • มรรค ๘ ข้อสุดท้าย สัมมาสมาธิ ในแนวสันติอโศก ปฏิบัติอย่างไร

ตอบ... ปฏิบัติตามหลัก มหาจัตตารีสกสูตร เป็นวิธีปฏิบัติ มรรคองค์ ๘ หรือ สัมมาสมาธิ ของพระอาริยะ (อริโย สัมมาสมาธิ) และปฏิบัติอย่างไร คือทำมรรค ๗ องค์ เป็นเหตุ แล้วจะเกิดผล คือสัมมาสมาธิ ไม่ใช่ไปนั่งสมาธิ สะกดจิตอยู่ข้างใน แต่เราทำ มีองค์ประกอบ มีการคิด พูดทำ อาชีพ สั่งสมเป็น สัมมาสมาธิ

  • ฟังท่าน โยมคิดว่า ท่านเป็นแกนนำ จริงหรือไม่

ตอบ... เคยตอบไปแล้วนะ พ่อครูบอกแล้วว่า ไม่ได้ตั้งใจเป็นแกนนำ แต่โดยสัจจะ มันเป็นของมัน ด้วยเขายกให้ ถ้าไม่ให้เป็นแกนนำ พ่อครูก็ไม่เป็น ขอมาทำงานเท่านั้น เขาให้ทำงาน ก็ขอแค่นี้ จะว่าแกนนำ หรือแกนตาม ก็เป็นแค่นี้

  • สมาชิกวุฒิสภาอังกฤษ ใช้วิธีสรรหา แต่สมาชิกวุฒิสภา ของอเมริกา ใช้ระบบ เลือกตั้ง สำหรับไทย กำลังแก้ว่า ให้เป็นแบบ เลือกตั้งหมด น่าจะทำเพื่อ ให้ไปสู่ ระบอบประธานาธิบดี ในที่สุดนะ

ตอบ... พ่อครูว่าเห็นด้วย พ่อครูเห็นว่า เมืองไทยเรา มีระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ดีแล้วนี่ จะเปลี่ยนไปทำไม

  • แล้ว Woman touch แปลว่า

ตอบ... สัมผัสผู้หญิง หรือจะใช้เชิงชั้นผู้หญิง เหมือนตอนโอบาม่า มาประเทศไทย ใช้ลีลาผู้หญิง จริตหญิง

  • มีนักกฎหมายบางคนเห็นว่ าศาสนากับการเมือง ไม่ควรอยู่ในเส้นทาง เดียวกัน นักกฎหมาย เขามองสมมุติเป็นที่ตั้ง แต่ศาสนาเอาปรมัตถ์เป็นที่ตั้ง แล้วไปด้วยกันอย่างไร

ตอบ... คนที่เห็นว่า ศาสนากับการเมือง ไม่ไปด้วยกัน นั้นน่าสงสาร และน่าเขกกบาล ซึ่งเขาคิดอย่างนั้น ก็เลยทำอย่างนั้น ได้สำเร็จด้วย ไม่ให้ศาสนา ยุ่งกับการเมือง บ้านเมือง จึงฉิบหาย มันจึงได้ซวย คานธี ไอสไตน์จึงบอกว่า การเมืองกับการศาสนา เป็นเรื่อง เดียวกัน และการคิดว่า ศาสนากับการเมือง ไม่ควรเกี่ยวกัน นั้นเป็นภัย ต่อบ้านเมืองด้วย ก็อธิบายแล้วว่า ผู้ที่ไม่สมควร ก็ไม่ควรให้มายุ่งเกี่ยว

  • นักกฎหมายที่เล่นกฎหมายด้วย อัตตานิยม จะเรียกว่า เป็นนักกฎหมายที่เป็น เทวนิยม แล้วมีนักการศาสนา ที่จะเป็นอัตตานิยม ได้ไหม

ตอบ... นักกฎหมายที่เล่นกฎหมาย แล้วจะมีจิตใจ ตรงกับกฎหมายมากเลย ซึ่งกฎหมาย ส่วนใหญ่ จะเป็นเชิงดี มีประโยชน์ ถ้านักกฎหมาย ทำตรง ตามกฎหมาย ก็จะดีมากเลย แต่ถ้าจะมี ปฎิภานด้วย ก็จะดี คือมีนิติศาสตร์ ร่วมกับรัฐศาสตร์ด้วย ผู้พิพากษา ต้องใช้ สัปปุริสธรรม ทุกคน

  • เพราะเหตุใด คุณสนธิ ลิ้มทองกุล จึงไม่มาร่วมกับกลุ่มนี้

ตอบ... เพราะคุณสนธิเป็นคุณสนธิ พ่อครูก็ไม่รู้นี่ว่า ทำไมไม่มา จะไปรู้ใจเขาได้ไง พ่อครูไม่เก่ง อาเทสนาปาฏิหาริย์

  • อยากเสนอเรื่องคานธี ให้นำไปลงในนสพ. เราคิดอะไร

ตอบ... ก็มีคนเขียนลงเสมอๆ มีคอลัมน์ที่กล่าวถึง ไอสไตน์ และคานธี เสมอ

  • ผมขอให้คนที่ไม่ชอบธรรมะ ในเวทีสวนลุมฯ นั้นขอให้ใจเย็นๆ เวที่ที่เสนอ แต่การเมือง ความรู้ความเก่ง นั้นล้มเหลวมาแล้ว แต่ถ้าแสดงอย่างนี้ เราอาจ ได้ฉลอง แนวทางใหม่ อย่างที่พ่อครูโพธิรักษ์ นำเสอนก็ได้

ตอบ... พ่อครูเห็นด้วย แต่อย่าหลงตัวเอง ฟังหูไว้สองหู

จบ


 

 
๑ กันยายน ๒๕๕๖ ที่สวนลุมพินี กทม.