_560919_รายการเรียนอิสระตามสำนึก ที่สวนลุมพินี
เรื่อง สังกัปปะ๗ ยอดเคล็ดวิชชากู้ชาติ

อ.กฤษฎาดำเนินรายการ...(วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๖)

พ่อครูว่า... การทำงานก็ได้ผลบ้าง การทำงาน ย่อมมีผลอะไรเกิด ไม่ว่าจะทำงาน ชั่วเลว ก็มีผล เกิดผลชั่ว ตามมาได้ เราทำงานดี มันก็ต้องมีผลบ้างแหละ แม้ว่าเราทำงานดี ผลที่เกิด มันจะเกิดน้อยกว่าผลชั่วก็ตาม ก็ไม่น้อยใจ เรามั่นใจเถอะ ตรวจสอบให้ดีว่า สิ่งที่เราทำนี้ดีแน่แท้ ถ้าดีแท้ จะได้ผลน้อยอย่างไร ก็ทำไปเถอะ พ่อครูมั่นใจเช่นนี้ จึงทำไม่ท้อถอย มาบวช ๔๓ ปีแล้ว ขึ้นทศวรรษที่ ๕ แล้ว ไม่เคยท้อเลย

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในพระไตรปิฎกมีว่า สิ่งที่ยากมีอยู่ ๓ อย่าง คือ
.ให้ในสิ่งที่ให้ได้ยาก ๒.ช่วยทำสิ่งที่ทำได้ยาก ๓.อดทนต่อสิ่งที่ทนได้ยาก
แต่เป็นเรื่อง สร้างมิตร เป็นเรื่องเป็นประโยชน์ ไม่มีศัตรู เราทำไปแล้ว ใครเห็นว่า เราเป็นศัตรู เราก็ต้องเห็นใจเขาว่า ยังเข้าใจไม่ได้ เช่นเดียวกับเรา เห็นใจเด็ก เขาเข้าใจไม่ได้ เป็นธรรมดา นอกจาก คนเอาแต่ใจ คิดว่าเขาเหมือนเรา ว่าเด็กก็เป็นคน เหมือนเรา ก็ต้องเข้าใจ เหมือนเราได้สิ ซึ่งเรารู้ว่า แต่ละคน ไม่เหมือนกัน คนเข้าใจผิดนี่ น่าสงสาร โง่ และคนที่ทำชั่ว ทั้งที่รู้ว่าชั่ว ก็ยิ่งน่าสงสาร เพราะโง่ ยกกำลังสามเลย เราก็ต้องเห็นใจ คนที่ไม่เจริญ ไม่ก้าวหน้าพัฒนา

ถ้าเราหรือคนทั้งหลายในโลก เห็นคนทำผิดแล้ว เราก็ไม่ไปโกรธเขา เข้าใจเขาได้ แล้วช่วยเขา ถ้าคนในโลกนี้ เข้าใจและทำอย่างนี้ โลกนี้จะดีขึ้น เราต้องเข้าใจ ให้ถูกต้อง แล้วทำอย่างนี้จริง จึงเกิดประโยชน์ในโลก

อ.กฤษฎาว่า เราเห็นคนทำชั่ว แล้วเราจะให้ ความรู้สึกดีๆ มันยาก การอภัยทาน เป็นเรื่องใหญ่

พ่อครูว่า... พระพุทธเจ้าตรัสว่า... สังคมหมู่หรือบริษัทไหน ที่แนะนำได้ยาก สังคม หมู่กลุ่มที่สอง แนะนำได้ง่าย สังคมหมู่กลุ่มที่ ๓ แนะนำพอได้ ต้องแนะนำให้ดีจึงได้ ท่านก็แบ่งสังคม หมู่กลุ่มเป็น ๓ เราแม้จะเจอสังคม หมู่กลุ่มที่แนะนำได้ยาก เราก็ต้องทำ

อ.กฤษฎาว่า... พวก ๕๐๐​ บางพวก ก็แนะนำได้ยาก

พ่อครูว่า... เคยได้ยินแต่โจร ๕๐๐ แต่ห้าร้อย หมายถึงอย่างนี้เอง ตรงกัน

พ่อครูได้นำเสนอ สิ่งที่ดีที่สุดแล้ว ระมัดระวัง ไม่ให้ผิดเพี้ยน จึงไม่รู้สึกบกพร่อง ตะขิดตะขวงใจ แต่เท่าที่ทำมา ก็ยังไม่ได้ทำอะไรผิด นอกจากเผลอบ้าง

อ.กฤษฎาว่า... เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา พ่อครูได้อธิบาย กระบวนการ มรรคองค์ ๘ เรื่องสัมมาทิฏฐิไปแล้ว วันนี้อยากรู้เรื่อง กระบวนการคิด ซึ่งกระบวนการ เกิดความคิด หรือดำริ เป็นกระบวนการ สังกัปปะ ทำอย่างไร จะดำริชอบ แล้วมันเป็น กระบวนการ ปัญญาเกิดเอง หรือต้องบรรลุปิ๊งอะไร แล้วเรามาอยู่ นีโอโพรเทสนี่ มันมีการดำริชอบ อย่างไร

พ่อครูว่า... เรื่องนี้เป็นปรมัตถ์ เป็นจิตเจตสิก หยั่งลึกลงไป คำว่า ความคิด หรือดำรินี้ เป็นสองคำ
ดำริ ถ้าแปลเป็นไทย คือ ตริ ตรึก เขาก็แปลอย่างนั้น
คำว่า สังกัปปะ แปลว่า ความนึกคิด กว้างกว่าดำริ เป็นองค์ความคิด องค์รวม หรือ concept มันมี context and content อยู่ในนั้น จากหน่วยต่างๆ ก็มีแตกไป มีรายละเอียด องค์ประกอบ ไปถึงอากาศธาตุ หรือปริเฉทรูป
context คือบริบท คือรายละเอียดของ แต่ละปริเฉท อยู่ในบทแต่ละบท แยกไว้ละเอียด กระจายอยู่นั้น

คำว่า ความเข้าใจ พระพุทธเจ้า แบ่งหมวดหมู่ใหญ่ เป็น ๓ คือ
.ญาติปริญญา ๒.ตีรณปริญญา ๓.ปหานปริญญา
ในศาสนาพุทธ ๓ อย่างนี้สำคัญมาก ใครทำ ๓ อย่างนี้สำเร็จ ก็บรรลุอรหันต์
ญาตปริญญา คือรู้องค์รวม ครบ concept
ตีรณปริญญา คือสามารถแยกแยะ รายละเอียดของ content and context คือรู้หมาก ในกระดานหมด เป็นองค์รวมหน่วยใหญ่ และยังสามารถ แยกแยะ ละเอียดอีก สัมผัสรู้เลย และรู้ว่าอะไร ต่างกันอย่างไร contrast อย่างไร เห็นว่ามันต่าง หรือเหมือนกัน อย่างไร อะไรคือผิดคือชั่ว อะไรคือจิตสะอาด และยังสามารถ กำจัดกิเลสด้วย รู้วิธีกำจัด ลงมือกำจัดได้ด้วย และรู้ว่า กำจัดได้หรือไม่ด้วย ซ้อนลงไปคือ สัจจญาณ (รู้จิต) กิจญาณ (แยกแยะกำจัด สิ่งที่แยกแยะได้ คือกิเลส คือจับโจรได้ อกุศลเจตสิกได้ จับเฉพาะแม่นๆ ไม่โมเม ) เมื่อเราสามารถ แยกแยะกิเลสได้ แล้วเราสามารถรู้วิธี ปหาน ๕

ปหาน ๕
๑. วิกขัมภนปหาน ( ละด้วยการข่มใจ - ใช้เจโตนำหน้า)
๒. ตทังคปหาน ( ละได้เป็นครั้งคราว - ใช้ปัญญาอบรมจิต )
๓. สมุจเฉทปหาน (ละด้วยการตัดขาด สลัดออกได้เก่ง)
๔. ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยการสงบระงับ ทวนไปมา)
๕. นิสสรณปหาน (สลัดออกได้เองทันที เก่งจนเป็นปกติ)

ปัญญามีพลังอำนาจฤทธิ์แรง เหมือนอุณหธาตุ เป็นไฟธาตุ ที่เผาละลาย ทำลายไฟราคะ โทสะโมหะได้เลย เป็นพลังปัญญา ไฟคือฌาน เป็นไฟกองใหญ่ ไฟพิเศษ

ฌานอยู่ที่ไหน ปัญญาอยู่ที่นั้น ถ้าไม่มีปัญญา นั่นไม่ใช่ฌาน พระพุทธเจ้าตรัสไว้เลย ถ้าปัญญา หายไปจากฌาน ก็ไม่ใช่ไฟฌาน เพราะเราต้องใช้ปัญญา ในการจัดการ สลายทำลายไฟเลว ผู้ใดปฏิบัติได้ตรง ตามพระพุทธเจ้า จะมีไฟนี้เกิดจริง

พลังงานความฉลาด เรารู้นะว่า ไฟร้อน คุณก็ไม่จับไฟที่ร้อน นั่นคือ พลังปัญญา มันรู้สูงพอว่าไม่ได้ มันร้อนมันทุกข์ ไม่เอาไม่จับ ฉันเดียวกันว่า คนที่เห็นว่า การไปแย่ง โลกธรรม มันทุกข์ เขาก็ไม่เอา มันจะมีปัญญา ฉลาดสูงพอ มีพลังพอ ยกตัวอย่าง พ่อครู ถอยออกมา จากโลกเขา โดยไม่ได้พ่ายแพ้เขาเลย สามารถสู้เขาได้ แต่ว่าถอยออกมา เพราะเห็นว่า เป็นทุกข์ เป็นโทษภัยต่อเรา และคนอื่นด้วย คือเป็นความรู้จริงๆ ไม่ได้ฝืนเลย สบายใจแล้วจบ

ปัญญาของใครที่เห็นอย่าง โสฬสญาณ เอาแค่วิปัสสนาญาณ ๙ มีตั้งแต่
. ()อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิด - ความเสื่อมไป ของกิเลส ของชาติ เวทนาสุขทุกข์ต่างๆ
.()ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความสลายไป ของสังขารธรรม - ตัณหา ปรุงแต่งทั้งหลาย อันนี้เห็นความดับ ชัดกว่าเห็นความเกิดอีก
.()ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันเพ่งเห็น กิเลสสังขาร เป็นภัยอันน่ากลัว..
เพราะล้วนแต่ ต้องสลายไป
มีลักษณะอนัตตา ๕
1.ปรโต (ความเป็นอื่น แปรปรวนไป)
2.อนัตโต (ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน)
3.วิตถโต (แผ่ผ่านไป, เคลื่อนไปๆ อยู่เสมอ)
4.ตุจฉโต (ไม่เป็นแก่น, ไร้ประโยชน์)
5.สุญญโต (เป็นสูญ, ว่างเปล่า) พระพุทธเจ้าเปรียบ
-รูป อุปมาเหมือนฟองน้ำ ที่ฝนตกนำมา เป็นของว่างเปล่า
-สัญญา เหมือนพยับแดด เดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน ย่อมเป็นของว่างเปล่า
-สังขาร เปรียบเหมือน หยวกกล้วย ไม่มีแก่น เป็นของว่างเปล่า -วิญญาณอุปมาเหมือนมายากล หาสาระไม่ได้ เป็นของว่างเปล่า

เห็นอย่างมีปัญญา ไม่ต้องบังคับให้เชื่อ ยกตัวอย่างว่า พ่อครูออกมา จากทางโลก ไม่เอา เลิกมาเลย มาทำงานอย่างนี้ดีกว่า สอนให้คน เป็นเช่นนี้ดีกว่า ก็ยังมีผู้มีธุลี ในดวงตาน้อย ทำตามได้
.()อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ ต่อเนื่องมาจาก การเห็นภัย
.()นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณเห็นความน่าเบื่อหน่าย ในกิเลส เพราะสำนึกเห็น ทั้งโทษและภัย
.()มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณรู้เห็น การเปลื้องปล่อยไปเสียจาก โทษ-ภัย เหล่านั้น (อตัมมยตา)

เราออกมานี่ เราไม่ได้วางมือ ในการรับใช้ ช่วยเหลือสังคม เราทำให้สังคม ให้มาก ถ้าตีเป็นราคา จะแพงกว่าเขาหมดแหละ ความคิดที่สูง และประเสริฐ นี่แพงมาก ยิ่งหายาก ยิ่งเป็นสัจธรรม ที่สูงส่งยิ่งแพง คิดเป็นอุปสงค์ ก็มากสูง
๑๐.()ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณพิจารณาทบทวนถึง การปฏิบัติ ที่ปลดปล่อยได้ ก็ทำซ้ำอีก จนสำเร็จยิ่งขึ้น
๑๑.()สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไป โดยความเป็นกลาง วางเฉยต่อสังขาร ปรุงแต่ง ทั้งหลาย เราจะแข็งแรงต่อโลก โลกจะเอาเราไป เป็นทาสใช้ไม่ได้ โลกธรรม และกามคุณ จะเอาเราไปเป็นทาสไม่ได้ เราจะเป็นไท ทั้งที่อยู่กับ สิ่งเหล่านี้ ไม่ได้หนี แต่จะแข็งแรงขึ้น เป็นอุเบกขา เป็นกลาง หรือไม่มีอะไร แปรเปลี่ยนพลังงาน ความสำเร็จนี้ได้ นิโรธพระพุทธเจ้านี้ มีดวงตา จักษุ ญาณ ​ปัญญา วิชชา แสงสว่าง มีความรู้รอบชัด ไม่หนีเข้าป่าเขาถ้ำ แต่ชัดเจน ลืมตาเห็นตรงนี้เลย เมื่อสังขารเก่ง เราจะปรุง ก็ปรุงได้ เป็นญาณต่อไปคือ
๑๒.()สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ ญาณอันเป็น ไปโดยอนุโลม ต่อชาวโลก ต่อสมมุติสัจจะ ทั้งหลาย โดยใช้ สัปปุริสธรรม ๗ ที่รู้จักประมาณสัดส่วนต่างๆ

อย่างพ่อครู อนุโลมมาทำงานการเมือง ก็ขยับตามจังหวะ เห็นว่ามีหมู่กลุ่ม ก็มาทำ ยืดหยุ่นให้คนเขาว่านะ เรายืดหยุ่นได้ก็มา มารับใช้ มาช่วย ไม่ได้มาเอาอะไร บริสุทธิ์ใจ ก็ไม่มีปัญหา เขาเข้าใจเราไม่ได้ เขากลัวแทนเราว่า จะถูกทางนี้ขย้ำ เราก็ระมัดระวัง ไม่ประมาท แต่ถ้าเราประมาณดี ก็ไม่เสียหาย ญาณข้อที่ ๑๐-๑๒ นี้เป็นการเสริม ประสิทธิภาพ จิตวิญญาณ ให้แข็งแรงเจริญ มีโลกวิทูเพิ่มขึ้น เป็นประโยชน์ตน –ประโยชน์ท่าน ที่แท้จริง

ถ้าอธิบายเป็น อภิสังขาร ๓
.ปุญญาภิสังขาร เป็นการสังขาร อย่างชำระกิเลส ผู้รู้จักกิเลส ก็ปรุงแต่ง (สสังขาร) อย่างทำลายกำจัดกิเลส ได้บุญ คือได้ชำระกิเลส ได้บุญคือได้เสียสละ กำจัดกิเลสออก จนหมด เรียกว่า
.อปุญญาภิสังขาร คือไม่ต้องบุญ ไม่ต้องบาป คือ หมดบุญหมดบาป
.อเนญชาภิสังขาร คือ การทำให้ตั้งมั่นแข็งแรง เป็นการหมุนกลับ เพื่อช่วยคนอื่น คนจะช่วยคนอื่น ต้องแข็งแรง ต้องอเนญชา ไม่หวั่นไหวแปรเปลี่ยน จิตต้องแข็งแรง มั่นคงตั้งมั่น สั่งสม สังขารุเปกขาญาณ และ สัจจานุโลมมิกญาณ ยิ่งสูงยิ่งมั่นคง ช่วยเหลือสังคม ได้มากขึ้น

ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ช่วยมนุษยชาติ ให้สุขอย่างโลกุตระ เพื่อมนุษยชาติแท้จริง อนุเคราะห์โลกจริง

พ่อครูว่า... ดำริคือความเริ่ม ภาษาบาลี เรียกว่า “ตักกะ” เมื่อเริ่ม เราต้องมี ตีรณปริญญา หรือ ธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ ต้องมีวิจัยแยกแยะ จนสามารถ จับจิตได้เร็ว ถึงขึ้นเมื่อใด มันเริ่มดำริ เริ่มเกิด เรียกว่า ตักกะ แล้วจับจิต มาวิเคราะห์วิจัย ก่อนออกมาเป็น องค์รวม ของความคิด ในขณะที่ปฏิบัติตัวอยู่ มีสัมผัสเป็นปัจจัย ต้องอ่านรู้ ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ ซึ่งเป็นพลังงานจลน์ หรือ Kinetic energy ส่วนอีก ๓ ตัวคือ อัปปนา (แน่วแน่) พยัปปนา (แนบแน่น) เจตโส อภินิโรปนา (ปักใจมั่น) ทั้งสามตัวหลังเป็น พลังงานศักย์ Potential energy เป็นพลังงานนิ่ง ทั้งสองอย่างคือ พลังงานเคลื่อน และพลังงานนิ่ง ก็ทำงานร่วมกัน

เราต้องจับ ตอนมันเคลื่อน คือรู้ตั้งแต่ มันตักกะ จับพฤติกรรมมันได้ มันดำริมาแล้ว คนที่อวิชชา จะเกิดมาพร้อมกิเลส ดำริเริ่มตักกะแล้ว จะมีกิเลส มาพร้อมเลย คือกาม และพยาบาท ถ้าไม่รู้มั่วเลย ก็โมหะ อ่านให้ออก แยกให้ออก แล้วแยกแยะมัน ให้ได้

เมื่ออ่านตักกะ วิตักกะได้ มันมีตัวผี เป็นกามวิตก (กามสังกัปปะ) ก็จับให้ได้ แล้วจัดการ ปหาน ถ้าปหานไม่ได้ คนอวิชชาไม่เคยทำ พอตักกะก็วิตักกะ ไปสังกัปปะ ก็มีกิเลสปรุง เป็นความคิดออกมา เป็นอัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา มาเป็น วจีสังขาร
วจีสังขารก็คือ คำพูดภาษา ที่เกิดในใจ ใครรู้จักภาษาไหน ก็จะออกมา เป็นภาษานั้น มาเป็น วจีสังขารอยู่ในใจ ยังไม่ออกมา เป็นคำพูด หรือวจีกรรม มันสามารถ กำจัดกิเลสได้ ก็ปรุงอย่าง ไม่มีกิเลส มันก็ออกมา เป็นวาจา กัมมันตะ อาชีวะ ที่เป็นมิจฉา
แต่ถ้าคุณ จับกิเลสได้ มันก็ออกมาเป็น วิสังขาร คือปรุงแต่ง อย่างไม่มีกิเลส

อ.กฤษฎา... ยกตัวอย่าง การเล่นหวย ก็วนไปเวียนมา

พ่อครูว่า... เป็นแมงเม่า บินเข้ากองไฟ

อ.กฤษฎาว่า... ถ้าเรามาตั้งสติดูว่า มันก็วนเวียนอยู่อย่างนี้ จะเห็นโทษภัย มันไม่ได้สุข สนุก แต่อย่างใดเลย มันทุกข์ เมื่อคิดได้ ก็หยุดเล่นได้ แล้วพรรคพวก หรือกระแสสังคม ก็จะมาบอกว่า ไม่เล่นหน่อยหรือ แต่ถ้าเรามี ความแน่วแน่ แนบแน่น เราก็ตัดขาดมันได้

พ่อครูว่า... ที่อธิบายนี้ ก็อยากให้ได้สัจธรรม โดยเฉพาะท่านที่ ศึกษาอภิธรรม มีพื้นอยู่แล้ว ก็ตั้งใจ นำไปศึกษาจะได้ เป็นของทำได้ ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้า จะกล่าวไว้ทำไม และพ่อครูก็ว่า ตนทำได้ คนอื่นก็คนน่า จะทำได้เช่นกัน

อ.กฤษฎาว่า... ถ้าเราเท่าทัน โลภ โกรธ หลงได้

พ่อครูว่า... ต้องขณะผัสสะด้วย ไม่ใช่ไปนั่งคิด นอนคิดเอา แม้จะนั่ง หลับตาสมาธิ มันฟุ้งมา ก็เป็นแค่สัญญา ไม่ใช่ตัวจริง ที่เกิดเป็นปัจจุบันธรรม ในขณะสัมผัส ก็เกิดกิเลสทันที ก็อ่านมันเลย อ่านรู้ด้วย อาการ ลิงค นิมิต อุเทส เราใช้ญาณปัญญา เราหมายว่า อาการนี้กาม อาการนี้ทุกข์ อาการนี้ไม่ชอบใจ ชอบใจ อันนี้โกรธ อันนี้ราคะ หัดอ่าน หัดเรียน เป็นนามธรรมแต่รู้ได้

เช่น อาการจิตสัตว์นรก สัตว์เปรต นั้นไม่มีรูปร่าง อสรีรัง เปรตอย่างใดๆ ก็จะรู้ได้ อ่านอาการออก ต้องเข้าใจคำว่า อาการนี้ ไม่ใช่เป็นรูปร่างตัวตน เป็นผีตัวๆ อย่างนั้น ถ้าเข้าใจเช่นนั้น จะเจอแค่ มโนมยอัตตา คือจิตคิดนึก ปั้นเอาเองได้

แต่ว่าอย่างของจริง ต้องสัมผัสหลัดๆเลย เหมือนแสง มันฉายมาที่จอตา จอภาพเลย เห็นแล้ว เกิดอาการซ้อนอยู่ว่า นี่อาการชอบ นี่คืออาการชัง ต้องมีผัสสะเป็นปัจจัย ต้องสัมผัส วิโมกข์ ๘ ด้วยกาย รู้ทั้งนอกและใน เชื่อมโยงกัน เป็นวิโมกข์ ๘ ข้อที่ ๒ อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ อ่านเห็นภายนอก ไปถึงภายใน จนถึงอรูปเลย

อย่างนี้พระพุทธเจ้า จึงรับรองว่าเป็นอรหันต์ เพราะมีเหตุปัจจัย มาสัมผัส รู้อยู่เห็นอยู่ อย่างปัจจุบัน สำเร็จอิริยาบทอยู่ ไม่ได้ไปแต่นึกคิด ยกเอามาแค่สัญญา แต่เห็นอยู่ หลัดๆเลย เป็นวิปัสสนาแปลว่าเห็น ไม่ใช่ว่าแปลว่าคิดนึก

พ่อครู ก็มาตามหาญาติ ผู้แสวงหา ตั้งใจทำเพื่อมนุษยชาติ พ่อครูเห็นว่า ความฉลาด อย่างเฉกา มีเยอะ แต่ว่าคนมีปัญญาจริง น้อยลงๆ เฉกาคือฉลาดชั่ว ฉลาด ประกอบด้วยกิเลส แต่ถ้าปัญญาคือฉลาด เห็นความจริงรู้กิเลส คำว่าเฉโก จึงไม่ค่อย ติดตลาด ทุกวันนี้หลงว่า ตนมีปัญญา แท้จริงเป็นเฉกา สังคมจึงตกต่ำ ทั้งโลก หลอกลวงกัน ทั้งโลก ใครฉลาดเฉกาเป็นใหญ่ แต่ว่าคนมีปัญญา น้อยลง พ่อครูก็มาตามหา คนตระกูลปัญญา

แม้ใกล้กลียุค ยากแสนยาก ก็เป็นหน้าที่พ่อครู ก็ตั้งใจเป็นขุนทหาร ของพระพุทธเจ้า พ่อครูสมัครเป็น กองทัพธรรม มาหลายชาติแล้ว แม้รู้ว่ายาก ก็ไม่ท้อถอย จนกว่า มันจะไม่มีผลได้ มีผลเสียแล้วก็หยุด แต่ทุกวันนี้ ได้ผลดีอยู่ก็ทำ เชื่อว่าไทย เป็นเมืองพุทธ ยังมีคน มีบารมีอยู่ ยิ่งกว่าแสงรำไร ปลายอุโมงค์ แต่เห็นแสงชัดๆ อยู่ปลายอุโมงค์ ตอนนี้ ขยับจาก ปลายอุโมงค์มาแล้ว

ทุกวันนี้ทำอยู่ ก็มีคนเข้าใจ แต่สังคม มีคนทำอย่างอวิชชา เราก็ตั้งหลัก ทำอย่างเมตตา สงบ ไม่รุนแรง ทำอย่าง ทุกศาสนาสอน ไม่แค่พุทธ มารวมกันเถอะ ให้เป็นไปอย่างดี สุภาพเรียบร้อย เป็นความต้องการเดียวกัน และไม่ท้อถอย เพราะเห็นว่ามันไปได้ มีคนเข้าใจ

ที่อธิบายนี้ เป็นปรมัตถ์ เป็นนามธรรม หลายคนเข้าใจ แต่ก็รู้ว่ายาก ซึ่งถ้ามันง่าย ก็คงมีอรหันต์ เต็มบ้านเต็มเมือง ทุกคนอย่าดูถูกตัวเอง คุณจะแสวงหา อะไรในโลก คุณแสวงหา โลกธรรม กาม อัตตา คุณแสวงมานาน นับชาติไม่ถ้วน เบื่อไหม แต่ถ้ายังไม่เบื่อ ก็เก็บใส่เซฟไว้ก่อน แล้วมาทดลองศึกษา อยู่อย่างนี้ก่อน อย่างโลกๆนั้น เขาทำกัน มานานแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสรู้ สิ่งที่ประเสริฐ คนยกให้เป็น ศาสดาเอก ของโลก พระพุทธเจ้า หาทางละเลิกได้จริง ท่านอยู่เหนือ สิ่งเหล่านี้ ท่านไม่ได้ทำลายเขา แต่อยู่กับเขา ทำประโยชน์ต่อเขา ประโยชน์ตนหมด ก็ทำประโยชน์ท่าน คู่กันไป เป็นอุภโตภาค เป็นอุภยถะ เป็นประโยชน์สองอย่าง คือ อัตตัตถะ และปรัตถะ ผู้ปฏิบัติ ตามพระพุทธเจ้า จะได้อุภยถะ

ยกตัวอย่าง ถ้าพ่อครูมีเงิน ๑๐๐ ล้าน แล้วเอาให้คุณไป พ่อครูก็ได้เสียสละ และคุณก็ได้ ๑๐๐ ล้าน จิตวิญญาณเรา ก็ได้สูงขึ้น ได้ประโยชน์ทั้งสองอย่าง คุณทำเป็น ก็ทำได้ทันที อย่างตลาดอาริยะ เราอ่านใจเรา เราทำสำเร็จ คือไม่ทวงบุญคุณ สละจบ คือจบ เป็นการสละ โลภโกรธหลง คุณหยุดโกรธ ก็ไม่เป็นภัย ต่อตนแล้ว คุณอาจโกรธเรา แต่เราไม่ตอบโต้ คุณก็หมดภัย จากเราแล้ว เราวางแล้ว คุณจะพยาบาทเรา เราก็ไม่ตอบโต้ คุณทำได้ อย่างนี้จริง ก็เสร็จก็จบ เลิกทั้งโลภ ทั้งโกรธ เป็นประโยชน์ตน  ประโยชน์ท่าน ทันที ไม่แยกกันเลย ปฏิบัติจริง โลกนี้จะสุขสงบ สบาย

ก็ยังดีที่มีคนมาฟังโลกุตระธรรม แม้บางคนจะด่าก็ไม่ว่า แต่การเมืองนั้น ทำแบบเดิม มานาน ก็ไม่แก้ปัญหา แต่เราขอเอาธรรมะ มาทำด้วย ทำคู่กันไป จะได้ไหม ก็ขอบคุณ คณะกองทัพประชาชน ที่อนุญาต เสนาธิการร่วม ให้ทำนะ แม้จะมีใคร ตะขิดตะขวงอยู่ ก็ชนะ คะแนนเสียงนะ แต่ถ้าเขาโหวต ให้พ่อครูออกไป ก็ออกไป ถ้าคณะเสนาธิการฯ ให้ออกก็ออก ไม่ต้องพูดแรงก็ได้ ให้สัญญาณมา พ่อครูก็ไปทำงานอื่น มีงานให้ทำ อีกเยอะ เขาถามว่า จะมาประท้วงนานเท่าไหร่ พ่อครูก็พูดไปงั้นว่า ๕๐๐ วัน แต่จะเท่าไหร่ จบวันใด ก็ได้ ไม่มีปัญหา พ่อครูเป็นคนทำงาน ทำงานที่ควรก็ทำ อันไหนไม่ควร ก็วางไป

เคยออกโศลกว่า กิดมาทำไม? เกิดมาเพื่อตาย ถ้าไม่ตายทำอะไร? ก็ทำงาน แล้วทำงานอะไร? ทำงานที่ดีเป็นสัจจะ แล้วทำไปเอาอะไร?ก็ทำไปเอาธรรมะ ทำไปเพื่อละกิเลส

ดังนั้น การงานทุกอย่าง สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ ก็เป็นงานทั้งนั้น อาชีวะ คืองานเลี้ยงชีพ แล้วทุกงาน ทุกกรรม เราก็ต้องมีการศึกษา ตัดกิเลส ตามมรรคองค์ ๘ ทุกเวลา วาระ ต้องอ่าน สังกัปปะ ๗ แล้วทำวจีสังขาร ให้เกิดอภิสังขาร ถึงวิสังขาร เสมอๆ เพราะดักจับกิเลส แล้วปหานกิเลส ได้เสมอๆ ก็เป็นจาก ภายในสู่ภายนอก

สังกัปปะ ๗ คือสนามรบอันสำคัญ ของนักรบทางธรรม ถ้าใครไม่รู้ ก็กำจัดกิเลส หรือ ข้าศึกไม่ได้ สงครามมาจากสรณะหรือที่พึ่ง ถ้ากำจัดกิเลสไม่ได้ ก็เป็นมรณะ ดังนั้น คุณต้องทำ ทุกทีไป อย่างมีภูมิปัญญา ทุกกรณะ ถ้าทำสำเร็จ ก็เป็นสรณะ แต่ถ้าทำ ไม่สำเร็จ กิเลสจะชนะเรื่อยไป นี่คือ ธัมมาธัมมะสงคราม เรามาทำประโยชน์ตน แต่เป็นประโยชน์ท่าน ในตัวด้วย มันไปด้วยกัน

อ.กฤษฎาว่า ทำไมเรายังชุมนุมกันอยู่นาน ไม่เลิกเสียที วันนี้ก็เข้าใจกัน เพิ่มขึ้น ก่อนหน้านี้ มีคำถามกันว่า ทำไมคนไม่มา ไม่รักชาติหรืออย่างไร แต่วันนี้เรามา ยาวให้เป็น เย็นเรื่อยๆ ไขความจริงออกมา ให้มากๆ หมดๆ

พ่อครูว่า... มันเป็นความจริง ที่เชื่อมโยงเป็น อิทัปปจยตา มีคำว่า เด็ดดอกไม้ สะเทือน ถึงดวงดาว มันเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องกัน ทำอยู่ที่นี่ มันกระเทือนไปหมด ยกตัวอย่าง เราชุมนุมที่นี่ เราพยายามให้คนเข้าใจว่า สิ่งเดือดร้อนคืออะไร แล้วต้องแก้ด้วย ธรรมะ ก็สาธยาย สิ่งผิดกัน จะตะโกนกันให้ดังอย่างไร ก็ทำไป อย่าง ผศ.วิวัฒน์ชัย ก็ดัง แต่ไม่หยาบ และเนื้อหาดีด้วย ซึ่งมีคน มอนิเตอร์อยู่ ตลอดด้วย ดังแต่อย่าหยาบ มันก็กระเทือนถึงกัน โดยเฉพาะ เนื้อหาธรรมะ

เสนอสนับสนุน สิ่งถูกต้อง และข่มกำหราบ สิ่งไม่ถูกต้อง กระหนาบแล้ว กระหนาบอีก ข่มแล้วข่มอีก (วจีสังขารบอกว่า กระทืบแล้ว กระทืบอีก)

คำชมไม่ต้องชมมากหรอก คำชมคือ บอกสิ่งที่คนดีทำดี แต่ทำดีนั้น ไม่เสียหายอยู่แล้ว แต่ความผิดนั้น เสียหาย ต้องรีบให้เขาเอาออก เหมือนศีรษะ ไฟไหม้ ส่วนดีไม่ต้องบอก เขาก็ทำอยู่ต่อไป แต่ชั่วนี่ ต้องรีบบอก ศาสนาพุทธ จึงดูเหมือน ศาสนาไม่น่ารัก เพราะเอาความไม่ดี มาบอกให้รู้ เนื่องจาก เป็นเรื่องรีบด่วน แต่ต้องมี การประมาณ พูดไม่ดี ก็ตายได้เลย ถ้าไม่มีปฏิภาณ ก็เป็นโอษฐภัย ต้องใช้มหาปเทส

ทุกวันนี้มั่นใจว่า จะกอบกู้ประเทศ ด้วยธรรมะ มันจะทนชั่วไปได้ นานกว่าดี ก็ให้มันรู้ไป เราจะดีให้นานๆๆๆ ให้มันรู้กันไปว่า เขาจะชั่วได้นาน ขนาดไหน ยาวให้เป็นฯ

อ.กฤษฎาว่า... หลายคน เริ่มจับเคล็ดวิชา ห้องเรียนเรียนอิสระได้แล้ว

พ่อครูว่า... การเมืองแก้ด้วยการเมือง ปากหอกปากปืนมา ๘๑ ปีไม่สำเร็จ ขอใช้ธรรมะ แก้ไขหน่อยได้ไหม? เขาว่าการเมือง ต้องแก้ด้วยการเมือง พ่อครูก็ว่า การเมือง มันล้มเหลว มามากต่อมากแล้ว ลองมาตั้ง ๘๑ ปี ยังไม่พอหรือ ลองมาทางนี้ มาร่วมมือกับ พ่อครูหน่อยไหม?

อ.กฤษฎาว่า... ประเด็นการประท้วงภาคใต้ เขาก็ตียัดว่าเป็น การเมือง แล้วเอา การเมืองไปใส่ การเมือง ก็เจ็บแค้นกันมากเลย

พ่อครูว่า... ไม่รู้ธรรมะทั้งฝ่ายประชาชน และฝ่ายรัฐ ฝ่ายทำรุนแรง เป็นอธรรม ฝ่ายสุภาพ เป็นธรรมะ ก็มีที่เขมร เขาประท้วง พวกประชาชน ไปประท้วงตำรวจ ก็พากันไป ยกมือ ไหว้ตำรวจ ทำไมเขมร ก้าวหน้ากว่าไทย …

ถ้าเรามีจำนวนมาก เป็นล้านก็ไปยืนยัน เอาความจริง ไปยืนยันเลย ไม่ต้องไปรุนแรง คุณมีมวลเท่าไหร่ ก็มาแสดงกัน ว่าความเห็นใครชนะ ถ้าคุณมาแสนคน แต่เห็น เหมือนกันไหม คุณไม่เป็นเอกภาพหรอก แต่เราแสนคน เราเป็นเอกภาพ เหมือนกันหมด เราก็ยื่นเสนอว่า เราต้องการกี่ข้อ นี่คือวิธีรบของเรา

จบ

๑๙ กันยายน ๒๕๕๖ ที่สวนลุมพินี กทม.