560923_รายการเรียนอิสระ โดยพ่อครู ที่สวนลุมฯ
เรื่อง พ้นทุกข์อาริยสัจได้ ประเทศไทยไปรอด

        อ.กฤษฎาดำเนินรายการ ที่สวนลุม วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๖....

หลายคน มาชุมนุมได้ เป็นเวลานานเพิ่มขึ้น ก็คงจะเข้าใจ ในสิ่งที่เป็นเป้าหมาย ของการชุมนุม แล้วทางกองทัพธรรม ได้นำกิจกรรม หลายอย่างเข้ามา เช่น ตลาดอาริยะ เป็นต้น ทำให้เข้าใจคำว่า ขาดทุนคือกำไร เพิ่มขึ้น

        มีประเด็นหนึ่งที่ว่า เมืองไทยเรา มีคนไทยประเภทหนึ่ง ที่เรียกว่า “ไทยเฉย” พ่อครู เคยบอกว่าเราแก้การเมือง ด้วยการเมืองมา ๘๑ ปีแล้ว ก็แก้ปัญหาไม่ได้ ทำไม เราไม่เอา ธรรมะ มาแก้ปัญหาบ้าง และเมื่อวานนี้ พ่อครูได้นำ เรื่องของทุกข์ มาอธิบาย

        อริยสัจ ๔ ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แล้วบ้านเมืองไทยเรา กำลังทุกข์ แต่ทำไม ยังมีไทยเฉย อยู่มากเลย ในเมืองไทย

        พ่อครู... เรามาพูดเรื่องทุกข์กัน ให้ละเอียดเพิ่มขึ้น คำว่าทุกข์ คือความไม่สบาย ความไม่สงบ ไม่โล่ง ไม่โปร่ง มันมีทั้งไม่สบายกาย และไม่สบายใจ

        ทุกข์อย่างหนึ่ง คือทุกข์ทั้งกายและใจ สำหรับ คนไม่ศึกษาธรรมะ และก็แยก ไม่ออกด้วยว่า อันไหนทุกข์กาย หรือทุกข์ใจ และที่จริงคำว่า “กาย” ก็เป็นคำที่ เข้าใจผิด กันมาก ในสังคม เช่น กายปัสสัทธิ หรืออื่นๆ ก็มีความหมาย ต่างๆกันไป แต่เฉพาะคำว่า “กาย” นั้นไม่ได้หมายถึง แค่รูปหรือวัตถุ เป็นหลัก แต่จะหมายถึง “นาม” เป็นหลัก แต่คนไทยซวย เพราะเอาคำว่า “กาย” ไปผนวกกับ คำว่า “ร่าง” ก็เป็น “ร่างกาย” ซึ่งหมายถึง ภายนอกเป็นหลัก แต่ที่จริง คำว่า “กาย” นี้หมายถึง ภายในจิต เป็นหลัก เช่นคำว่า สติปัฎฐาน ก็ต้องพิจารณา กายในกาย ก็ต้องพิจารณา นามธรรม เป็นหลัก เป็นเรื่องที่ ยากมากเลย พระพุทธเจ้า ท่านตรัสถึงกาย ท่านก็ไม่ทิ้งรูปด้วย แต่ท่านก็แบ่ง อธิบายข้างใน ไปเรื่อยๆ จนถึงขึ้นอากาศ ถึงอรูปด้วย

        ทุกข์ คือ ความไม่สบาย เช่น ร่างกายไม่สบาย องค์ประกอบของ องคาพยพ ร่างกาย มันก็ไม่สมดุลได้ มันก็เจ็บปวดได้ ทรมานได้ ก็คือ “ร่าง” หรือ Body ไม่สบาย เพราะไม่สมดุล แล้วเราก็ทุกข์ แต่ผู้ที่แยกกาย แยกจิตออก ท่านก็ตัดแบ่งได้ ใจท่าน ไม่มีทุกข์

 

        อาการทุกข์ที่เกิดนั้น ถ้าเป็นความไม่สมดุล ของร่างกาย ก็มีอาการเจ็บปวด ไม่สบาย เป็นทุกข์ สำหรับ คนประสาทปกติ ที่ไม่ได้ระงับไว้ ประสาท มันก็เจ็บปวด ทุกข์ทรมานได้ ทุกคนรู้สึกได้ เหมือนกัน ไม่ว่าพระพุทธเจ้า หรือคนธรรมดา ดับมันไม่ได้ อาจแค่สะกดไว้ได้ อาจสะกดจิต ไม่ให้รู้สึกปวดได้ เช่นพ่อครู เคยสะกดจิตคน ไม่ให้ปวดได้ แต่ไม่ใช่ว่า จะทำได้ทุกครั้งไป

        เราต้องแยกออก ให้ชัดว่า เรื่องกายทุกข์นี้ ไม่เกี่ยวกับเรื่อง ปฏิบัติธรรม มันแค่ คุณต้องรักษา ร่างเท่านั้น ส่วนใจนั้น ถ้าร่างคุณ ไม่สบาย แล้วใจคุณ ก็ทุกข์ไปด้วย ใจป้อแป้ ท้อแท้ อ่อนแอ อันนี้เป็นทุกข์ ทับถมตน เป็นคนฉลาดน้อย ยิ่งเพิ่มความทุกข์ ไม่รู้กี่เท่า แต่ถ้าคุณตั้งใจสู้ คุณก็ทุกข์แต่กาย ดีไม่ดี หากฝึกใจได้ มันก็สะกดอาการ เจ็บปวด ได้ด้วย
        แล้วทุกข์อาริยสัจ คือ ใจโดยตรง เกี่ยวกับกายไหม? ก็เกี่ยวด้วย เพราะตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส กายสัมผัส มันก็รู้สึก แต่จิตคุณ อวิชชา ไปอุปาทานว่า อันนี้สุข อันนี้ทุกข์ แต่ละคน อาจต่างกัน เหมือนกัน เช่น คนสัมผัส สิ่งเดียวกัน แต่คนหนึ่งสุข แต่อีกคนหนึ่งทุกข์ ก็คือบ้าไป แล้วแต่คน

        แต่ถ้าเห็นความจริง ตามความเป็นจริง ก็จะเห็นหรือได้ยิน เหมือนกันหมด เช่น คนด่าประเทศไทย คนหนึ่งได้ยินก็ทุกข์ อีกคนหนึ่ง ได้ยินเหมือนกัน แต่เฉย เสียงเดียวกัน ได้ยินพร้อมกัน คนหนึ่งโกรธ อีกคนหนึ่งวางเฉย หรืออาจมีคนที่ดีใจ เพราะอยากให้ ประเทศไทย ล่มจมก็มีได้ ด่าอันเดียวกัน แต่เป็นได้ ๓ อย่าง ๑.ทุกข์โกรธ ๒.เฉยๆ ๓.ชอบใจ อาการต่างกัน ก็คือ บ้าไปสุขทุกข์ แต่ถ้าจะไม่บ้า ก็ต้องรู้สึกเฉย ถ้าเขาด่า ก็เป็นกรรมของเขา เป็นทุจริตกรรมของเขา เราก็ฟังรู้ว่า เขาทำกรรมชั่ว แล้วเราก็ วางเฉย แต่ไม่ใช่ว่า วางเฉยบื้อๆ ธรรมดา

        เหมือนคนไทยทั่วไป มากมาย ที่เป็นไทยเฉย ทำมาหากิน หาสุขสำราญ ตามเขาไป ไม่เกี่ยวกับเขา นี่คือไทยเฉย เห็นแก่ตัว เป็นเคหสิตอุเบกขาเวทนา อารมณ์วางเฉย อย่างคนโลกีย์ก็เฉย ก็เฉยเป็นครั้งคราว ไม่ได้มีปัญญาเหตุผลที่รู้ มันพักยก ไปตามอารมณ์

        ส่วนการเฉย ที่ได้ยินเสียงด่า เหมือนกัน แต่ผู้นี้เฉย โดยเข้าใจความจริง อย่างฝึกมา รู้ว่า เรากระทบดัง หรือเบา หรือแรงอย่างไร เราฝึกเวทนาในเวทนา ไม่ให้ผลัก หรือดูด ไม่ให้ชอบ หรือชัง รู้ความจริง เท่านั้นว่า เขาด่าหยาบคาย ด่าเบาอย่างไร แต่ใจ ไม่มีอารมณ์ เพราะไม่มีกิเลส ไปร่วมปรุง อันนี้คือ วางเฉยอย่าง เนกขัมสิตอุเบกขาเวทนา คือฐานของ นิพพาน คืออุเบกขา เราต้องฝึกอย่างนี้
        ไม่ใช่เฉย อย่างไปติดภพ นั่งสมาธิหลับตา ชอบติดยึด ไม่ได้รู้จักเวทนา กลับหลงเวทนา สร้างภพชาติ ให้ตนเอง ของพุทธนั้น ปฏิบัติลืมตา แล้วรู้อารมณ์ว่า เคหสิตะ หรือ เนกขัมสิตะ คนโลกก็มี เคหสิตเวทนา

        ส่วนอาริยบุคคล จะรู้จักเนกขัมสิตเวทน เราฝึกให้เฉยได้ เราทำแบบ เนกขัมมะ ก็จะมี โสมนัส และโทมนัส ได้เหมือนกัน แต่มันดีใจ อย่างไม่ได้สมใจ ตามที่เราชอบ หรืออยากเป็น อยากมี เพราะการดีใจแบบ ได้สมใจกิเลส กิเลสก็ได้บำเรอ ก็อ้วนใหญ่ หรือปุถุเ พราะได้อาหาร ภาษาศัพท์ทางธรรม เรียกว่า ปีติ ทางโลกีย์ ก็มีปีติ จากได้บำเรอกิเลส แต่ว่าทางโลกุตระ มีปีติจากการได้ ลดละกิเลสสำเร็จ

        แบบเนกขัมสิตอุเบกขา คือสัมผัสแล้วรู้ความจริง ตามความเป็นจริง อย่าให้ชื่นใจ สมใจ ตามกิเลส คุณรู้ว่า คุณมีกิเลส แต่คุณไม่ตามกิเลส ทำให้กิเลส มันลดลง หรือ แม้ไม่หมด ก็มันดีใจลดลง แต่ก่อนนี้ดีใจได้ตามกิเลสมาก แต่เดี๋ยวนี้ ดีใจลดลง หรือว่า ไม่ดีใจเลย เราก็มีปีติที่ทำได้ เรียกว่า เนกขัมสิตโสมนัสเวทนา ที่เป็นปีติ ทำให้กิเลส ไม่ได้รับอาหาร กิเลสลดได้ แล้วเราดีใจ ซ้อนขึ้นมา นี่คือ ปีติในฌาน จะต่างจาก ปีติของโลกียะ หรือเคหสิตะ

        เราลดเหตุลดตัวต้องการ ตั้งแต่กามตัณหา ภวตัณหา รู้กิเลสเรียกว่า สักกายะ คือ กิเลสตัวเรา ใครอ่านกิเลสตัวเราออก ก็เห็นสักกายะ ใครมีตาทิพย์ เห็นอ่านออก เรียกว่า เห็นสักกายะ เช่น ตาสัมผัสรูป หูกระทบเสียง แล้วจิตรับรู้ อ่านกิเลสออก จัดจิตที่มีกิเลสได้ อ่านได้ว่า จิตกำลังมีกิเลส แม้ไม่ถึงขั้น แยกออก แต่รู้ว่า มีกิเลสอยู่ เป็นญาตปริญญา ก็เรียกว่า พ้นสักกายทิฎฐิ อ่านรู้จับให้มั่น ในขณะเกิด แล้วไม่ให้มัน เว้นขาด พอไม่ให้มัน ก็จะดิ้นเลย แล้วพิจารณาให้จริง ข้ารู้หน้าเอ็ง เอ็งไม่ใช่ใจข้า ไม่ใช่ตัวตนข้า เอ็งคืออาคันตุกะ ถ้ากดข่ม ก็เป็นวิขัมภนปหาน แต่ถ้าพิจารณาว่า มันไม่เที่ยง ก็จะมีปัญญาเพิ่มขึ้น เป็นทุทัพยานุปัสสนาญาณ …. อาทีนวานุปัสสนาญาณ จนกระทั่ง มุลจิตตุกัมยญาณ ด้วยพลังไฟฌาน คุณจะเห็นว่า คุณชนะมัน ด้วยปัญญา กิเลสบางเบา ด้วยวิราคานุปัสสี เห็นหลัดๆ เลย นี่แหละคนตาทิพย์ มีธรรมจักษุ เห็นกิเลสลดได้ เราทำทั้งสมถะ และวิปัสสนา เป็นชานโต ปัสสโต วิหรติ รู้อยู่ เห็นอยู่ เป็นปัจจุบัน นั่นเทียว

        มี อนิจจานุปัสสี วิราคานุปัสสี นิโรธานุปัสสี ปฏินิสสัคคานุปัสสี (อนุปัสสี ๔)

        อ.กฤษฎาว่า... มีคนโทรมาว่า ดูกีฬาวอลเลย์บอล ทีมไทยกำลัง คะแนนลด พอเขาเพ่งให้ชนะ คะแนน ก็เพิ่มขึ้น

        พ่อครูว่า...ไม่ใช่เพราะจิตเขาหรอก แต่เพราะมันจะชนะเอง ต่างหาก ก็ลองพิสูจน์ว่า มีอาจารย์เก่งกี่คน ก็เอามา แล้วมาสร้างของขลัง รวมกันเลย ไม่ต้องเสียเงิน ซื้ออาวุธ แต่เดินไปเลย มันก็แทงไม่เข้า ยิงไม่ออก หมดเลย เดินไปเอานิ้ว จิ้มตาเลย ข้าศึก วิ่งตูดชี้เลย  เพราะแทงไม่เข้า ยิงไม่ออก ถ้ามันขลังจริง ไม่ต้องซื้ออาวุธ ปลุกเสก เครื่องราง ของขลัง ให้คนละ ๑๐ องค์เลย ถ้ามันจริง จะไปตั้ง สถาบันอาวุธทำไม ถ้าจริง ใครมันจะสู้ได้ พิสูจน์กันไหมล่ะ

        แม้แต่มหานิยม คุณได้มา ก็ว่าขลังแน่ รวยแน่ พันล้าน หมื่นล้าน พอได้มา คุณก็เข้าห้องเลย กราบอธิษฐาน ของขลังเลย ไม่ต้องทำงาน ติดต่องาน แล้วมันขลัง จริงไหมล่ะ แล้วมันจะมีอะไร มาให้คุณล่ะ

        สิ่งเหล่านี้ พ่อครูอธิบายเมื่อยแล้ว อธิบายมา ตั้งแต่ต้น แต่เดี๋ยวนี้อธิบาย อภิธรรมแล้ว ขออภัย คนที่ไม่ค่อยรู้ แต่มันถึงเวลา ที่ต้องสร้าง โลกุตรจิต

        ถ้าเราจะสามารถอ่าน เวทนา ๑๐๘
        เวทนา ๒ ก็คือเวทนากายกับใจ
        เวทนา ๓ คือสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์
        เวทนา ๕ คือเวทนานอก และเวทนาใน ก็มีทุกข์กับสุข (นอก) และโทมนัส โสมนัส (ใน) และก็มีอุเบกขาอีก แล้วมีสุข มาก กลาง น้อย ก็เป็นเวทนา ๕ ชนิด
        เวทนา ๖ คือเวทนาที่เกิดจาก ทวารทั้ง ๖
        เวทนา ๑๘ คือเวทนาทั้ง ๖ มีทั้งแบบ สุข ทุกข์ อุเบกขา ในแต่ละทวาร รวมเป็น ๑๘
        เวทนา  ๓๖ คือ เวทนา ๑๘ ที่แบ่งเป็น เนกขัมสิตเวทนา และ เคหสิตเวทนา
        ถ้าจะเป็น อาริยบุคคล ต้องอ่านเวทนา เนกขัมมะ และเคหสิตะออก แยกแยะออก
        เวทนา ๑๐๘ คือเวทนา ๓๖ ที่แบ่งเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต รวมเป็น ๑๐๘

        อะไรที่ทำได้แล้ว ก็เรียกว่าอดีต ทำได้แล้วทุกปัจจุบัน ก็ทำได้อีก สั่งสมตกเป็นอดีต เป็นฐานมั่นคง แข็งแรงแน่น เป็นอัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา สั่งสมตกผลึก ทุกปัจจุบัน แน่นอน ทุกปัจจุบัน ได้พิสูจน์ว่า มาท่าไหนอย่างไร ก็ชนะกิเลส ดังนั้น อนาคต ก็พยากรณ์ได้เลยว่า สูญแน่นอน อดีตกับอนาคตเป็น สูญแน่นอน (เป็นอวิชชา ข้อที่ ๗ คือทั้งอดีต และอนาคต เป็นสูญ) ผู้ยืนยัน ทั้งอดีต และอนาคต เป็นสูญได้ ญาณของคุณ รู้แน่ว่า อย่างไร ก็ไม่เปลี่ยนแปลง นิจจัง (เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสสตัง (ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง (ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง (ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง (ไม่กลับกำเริบ) คนผู้นี้ ก็ปฏิญาณตน เป็นอรหันต์ได้แล้ว

            พ่อครูว่า อันนี้เป็นความรู้ ของตนเอง ที่มีสภาวะ ไม่เคยได้ยินคนไหน อธิบายมาก่อน มีแต่พยัญชนะ อธิบายไว้ ในอภิธรรม แต่ไม่มีคำอธิบาย แต่พ่อครู สามารถอธิบายได้

            พระอรหันต์นี่ ผลของอดีตกับอนาคต ก็ไม่เที่ยง เพราะทุกปัจจุบัน ท่านสัมผัส ก็ไม่มีกิเลส แต่ท่านก็ทำกุศล อยู่ตลอด ก็มีกุศล ไปบวกกับอดีต ที่เป็นกุศล ก็กุศล เพิ่มขึ้นๆ เช่น กุศลอดีต มี ๑๐ ทำปัจจุบันอีก ๑ กุศลก็เป็น ๑๑ แต่พอไปถึงอนาคต ก็ผ่านปัจจุบันอีก ก็เป็น ๑๒ หน่วยกุศล เป็นต้น

            แต่อวิชชา ข้อที่ ๗ นี่คือ อดีตและปัจจุบัน เป็นสูญ คือกิเลสไม่มี สูญถาวร ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

            อ.กฤษฎาว่า ... ยกตัวอย่าง พรุ่งนี้เป็นอนาคต แต่เราจะไม่ไปเจอ พรุ่งนี้เลย เพราะไปถึงพรุ่งนี้ มันก็เป็น ปัจจุบันแล้ว (อ.กฤษฎา เคาะจอก บนโต๊ะ แล้วก็บอกว่า ใจเราเป็นอย่างไร ถ้าใจเรา ไม่มีกิเลส ก็เป็นสูญ) ธรรมะทำให้เรา มีสติรู้ แล้วประเทศ จะเป็นอย่างไร บางคนบอกว่า ปะทะเลย ให้รู้กันไปเลย แล้วเราทำไป บอกว่า ให้เย็นไว้ ยาวไว้

            พ่อครูว่า.. อันนี้คือการสร้างสติ ของพระพุทธเจ้า ... ซึ่งมันอาจจะยาก เพราะมันลึก วันนี้คน ก็ไม่น้อยเลย ถ้าฟังปรมัตถ์ได้ แม้จะไม่รู้หมด แต่ก็รู้สึกแปลก เป็นความลึกซึ้งได้ ก็อนุโมทนาเลย เพราะเป็นโลกุตรธรรม มันอธิบายไกล สูง แต่ก็ต้อง ขออนุญาต อธิบาย หลายคน ก็บอกว่า ลดเวลาธรรมะ ของเวลาการเมือง ยังไง ก็ขอแบ่งเวลา ให้ธรรมะหน่อย วันละ ๒ ชม. ก็ให้ทน พากเพียรฟังหน่อย เวลาอื่น ก็เป็นเวลาการเมือง ทั้งนั้น เยอะแล้ว

            เพราะมั่นใจว่า ไทยเรายังมีเนื้อหา ธรรมะ โลกุตรธรรม รู้จักจิต อย่างวิทยาศาสตร์ เป็นทั้งฟิสิกส์ และเคมี สร้างธาตุทางจิต ให้เป็นอาริยธาตุ ไม่ใช่พูดปากเปล่า ลอยลม เพ้อเจ้อ เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางจิต ที่พิสูจน์ได้ แม้นามธรรม เป็นสัจจะ ทางนามธรรม เป็นสภาวะจริง อย่างกุศลธาตุ เป็นอย่างไร จิตอกุศลธาตุ เป็นอย่างไร อ่านออกเลย เป็นนามรูป ที่ชัดเจน

        พ่อครูทำมา จนได้เป็นหมู่บ้าน ชุมชนอโศก ไม่เชื่อว่า คนที่มาเป็นอโศกนี้ มาหลอก แต่เขามาเป็นจริง สบายได้ ถ้ามาหลอก ก็หน้าเขียวหน้าแดง หมดแล้ว แต่เขามาอยู่กัน สบาย อยู่กัน จนตายเลย  บางคนตาย อย่างโยมเหมือนคำ พ่อครูก็ว่า เวลาตาย ให้ยิ้มนะ โยมเหมือนคำ ก็ตายยิ้มเลย ธรรมดาคนเรา ทำไม่ได้หรอก ถ้าไม่ได้ฝึกจิต เขาอายุมาก พอสมควรแล้ว อยู่ด้วยกันจนตาย อยู่ที่ชุมชนเลย เราพึ่งแก่พึ่งเจ็บ พึ่งตายได้เลย

        คนที่มาอยู่นี่ ด้วยระบบสาธารณโภคี พ่อครูทำมา อย่างหัวเดียว กระเทียมลีบ ถูกกดต้าน ไม่ได้รับ ความร่วมมือ และดิสเครดิต ต่างๆนานา สารพัด แต่พ่อครู ก็อธิบาย เปิดเผย ไม่ได้ดันทุรัง คนแสวงหา มารับได้ จนเกิดหมู่กลุ่ม เป็นสัจธรรม ที่ผู้มีธุลี ในดวงตาน้อย ก็แสวงหาได้ เป็นโลกุตรธรรมพระพุทธเจ้า แท้จริง

        ยืนยันเป็นปัจจัตตัง  โอปนยิโก (ของสูงที่ต้องเอื้อมเอาให้ได้) อกาลิโก เป็นเอหิปัสสิโก (ท้าทาย ให้พิสูจน์ได้)

        มีหมู่กลุ่ม ที่เป็นสนามแม่เหล็กโลกุตระ มันหยั่งลงแล้ว (โอกกันติ) และมันเป็น โอคทา (หยั่งลง เกิดรากแล้ว) คนถามว่า ถ้าพ่อครูตาย อโศกจะฝ่อไหม จะหยุดไหม? ... ก็ขอยืนยันว่า ไม่เลิกหรอก คนเขากลัวว่า เหมือนหลายๆอาจารย์ ที่พออาจารย์ตาย สำนักก็เสื่อม เพราะไม่มีราก แต่อ้างตามพระพุทธเจ้า ท่านทำมา ๔๕ ปี ก็มีคน มาสืบต่อ ไปอีก จนบัดนี้ จะมีคนสืบสาน ไปตามสัจธรรม โบราณาจารย์ ทำนายไว้ว่า ศาสนาพุทธ จะมีไปถึง ๕๐๐๐ ปี ซึ่งโบราณาจารย์ ได้ทำนายไว้ ท่านมี อนาคตังสญาณ มีจริง

        แล้วโลกุตระนั้น ถ้าแค่นี้ ก็ไม่ถึง ๕๐๐๐ ​ปีหรอก แต่มันต้องเจริญ กว่านี้อีก เขาทำนายกันว่า เมื่อ ๒๕๐๐ ​ปี จะมีคน มาสืบต่อ พุทธศาสนาอีก แล้วมาดู ประเทศต่างๆ อินเดีย ก็ไม่มีแล้ว พม่าก็ไม่ได้ถูกยกย่อง เป็นศูนย์กลาง ของพุทธศาสนา เท่าเมืองไทย และแม้ในพม่า ศรีลังกา จีน ญี่ปุ่น ยิ่งเลอะแล้ว เสียแล้ว หรือบางประเภท ก็หนักไป ทางจิต conservative มากไป บางแห่ง ก็ไปทางโลก มากไป

        เมืองไทยนี่แหละ พ่อครูบอกว่า เป็นชมพูทวีป เกิดพุทธศาสนาได้ แต่ก่อน อยู่อินเดีย แต่เมืองไทย มีเนื้อแท้พุทธศาสนา มากกว่าใคร ก็คือ ชมพูทวีป คือมี สุรภาโว สติมันโต (เรียนรู้สติได้) อิธะ พรหมจริยวาโส เมืองไทย ยังมีอภิธรรมอยู่ มีทั้งเนื้อหา และบัญญัติ

        สรุปแล้ว พ่อครูก็มั่นใจว่า ไทยเราจะกอบกู้ประเทศ ด้วยพุทธธรรมได้ นี่เป็นเรื่องที่ พ่อครูมุ่งมั่นไม่ว่าจะเป็น เศรษฐศาสตร์ หรือรัฐศาสตร์ ถ้าขาดธรรมะ ก็เหลวหมด จะทุกข์ร้อน เดือดร้อนวุ่นวายไปหมด ไม่ว่าจะเป็นเทคนิค หรือวิชาไหน จะขาดธรรมะ ไม่ได้ การแพทย์ หากขาดธรรมะ ก็เป็นทันตแพทย์ไปหมด คือเป็นหมอฟันดะ หมดเลย

        อ.กฤษฎาว่า..คนอยู่แดนไกลก็ว่า เขาทำอย่าง ตถตา

        พ่อครูว่า...คำว่า ตถตา เขาใช้อย่างเละเทะ ซึ่งตถตา มีอยู่ ๓ แบบ
        ๑.ตถตา แบบ ทั่วไป มันก็เป็นเช่นนั้นเอง ห่านก็คอยาวๆ น้อยหน่า ก็เป็นอย่างนี้ ฟักทองก็เป็นอย่างนี้ มะม่วงก็เป็นอย่างนี้ กิ่งมันโต แต่ลูกมันเล็ก ฟักทอง ต้นมันเล็ก แต่ลูกมันโต นี่คือ ตถตา อย่างอธิบายโยนทิ้ง ไม่ได้ประโยชน์

        ๒.ตถตา แบบเข้ามรรค คืออ่านกิเลส อ่านจิตเป็น รู้ว่ากิเลส เป็นเช่นนี้เอง แล้วถ้า ทำให้ กิเลสลด ก็รู้ว่ากิเลสลด เป็นเช่นนี้เอง สัจธรรม เป็นเช่นนี้เองหรือ อุทานเลย ถ้ารู้

        ๓. ตถตา ระดับผล มันเป็นเช่นนั้นเอง เป็นอัตโนมัติ ไม่ต้องทำอีก เสร็จกิจ จบกิจแล้ว เป็นตถตา ที่เป็นผลถ้วน บริบูรณ์ ผัสสะก็ไม่เกิดกิเลสแล้ว

        คนแดนไกลก็ใช้ ตถตา แบบที่ ๑ คือมันเป็นเช่นนั้นเอง ไม่มีเหตุผลอะไร เหมาเละ ไปเลย ปล่อยไป ใช้เป็นคาถา ในการปล่อยวาง แต่ปล่อยวาง อย่างสมถะลืมตา ใช้คาถา เรียกว่า สติปัฏฐาน ให้รู้ นิ่ง เฉย ช่างมันเถอะ อย่าไปยุ่งกับการเมือง ปฏิบัติเก่งๆ เขาก็วางเก่ง แต่ไม่ใช่แบบพุทธ ซึ่งไม่ได้แยกแยะ รู้จักกิเลส รู้จักเจตสิก พระพุทธเจ้า แจกแจงเจตสิก ละเอียดมากมาย เช่น เวทนา ๑๐๘ เป็นต้น สังกัปปะ ๗ เป็นต้น ถ้าไม่เรียนรู้ มีสภาวะ จะอธิบายได้อย่างไร คนจะคิดเองไม่ได้ พ่อครู ก็มีพื้นฐาน มาจาก พระพุทธเจ้า ไม่ใช่ว่า ฝึกเอาเอง แต่มันมีมาแล้ว ข้ามชาติ เป็นสยังอภิญญา พระพุทธเจ้า บอกว่า รู้เองเป็นสยัมภู แต่ก็ต้องรู้จาก พระพุทธเจ้าองค์ก่อน เริ่มจากโสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ อรหันต์... ไม่สามารถลัดคิวได้

        อ.กฤษฎาว่า.... เราฟังแล้วสามารถพัฒนาได้ไหม จะเข้าใจเพิ่มขึ้นไหม.... คนขานรับ ด้วยเสียงมือตบ

        พ่อครูว่า... นี่ไม่ง่วง ก็ใช้ได้แล้ว มันไมใช่เรื่องง่าย และมันไม่สนุก เหมือนดนตรีด้วย การฟังธรรม ก็บรรลุธรรมได้ เทศนาก็บรรลุ ไตร่ตรอง ก็บรรลุได้ ทำสมาธิ ก็บรรลุได้ แม้แต่จิตของเรา เป็นแล้ว กิเลสลดแล้ว แต่เราไม่รู้ แต่พอฟัง พยัญชนะแล้ว ตรงกับ สภาวะ เราก็เรียกว่า มีเจโตวิมุติแล้ว ฟังแล้ว เกิดปัญญาวิมุติ ก็เป็น อุภโตภาควิมุติ   ถ้าไม่มีปัญญา สำทับไปรู้ พระพุทธเจ้าท่านไม่รับรอง การบรรลุเป็นอรหันต์ เพราะแค่เจโต สามารถเวียนกลับได้อีก

        อ.กฤษฎาว่า...มนุษย์ทุกคนต้องการความเงียบสงบ

        พ่อครูว่า... ไม่ใช่เงียบ ความเงียบเป็นโลกๆ แต่ว่าความสงบ หรือสันตา คือไม่มี สิ่งนิวแซน มาทำให้ เป็นเหตุความไม่สงบ ให้ตัวการนี้ออกไป ไม่อยู่ เรียกว่า จิตสงบ สามารถมี พลัง ๔ ทำงานได้อย่างไร

มี องค์คุณอุเบกขา ๕ คือ
.     ปริสุทธา   (บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส นิวรณ์ ๕) .
.     ปริโยทาตา  (ผุดผ่องขาวรอบแข็งแรง แม้ผัสสะกระแทก)
.     มุทุ  (รู้แววไว  อ่อน-ง่ายต่อการดัดปรับปรุงให้เจริญ) สามารถให้มี หรือไม่มีก็ได้ เป็นอมตะบุคคล
.     กัมมัญญา   (สละสลวยควรแก่การงานอันไร้อคติ)
.     ปภัสสรา   (จิตผ่องแผ้วแจ่มใสถาวรอยู่ แม้มีผัสสะ

        เป็นจิตที่มีสมรรถนะสูง คล่องแคล่วกว่าจิตธรรมดา เพราะไม่มีแรงต้าน ยิ่งเร็ว ยิ่งแรง ยิ่งเย็น เป็นเรื่องพิเศษ ไม่มีแรงเสียดทาน

        อ.กฤษฎาว่า...หลายคนมาที่นี่ ก็มาได้เลย ไม่ได้ติดยึดอะไร

        พ่อครูว่า... ติดโน่นคือติดงาน แต่ติดหนี้นี้พอที ไม่ต้องติดนานหรอก

        อ.กฤษฎาว่า...ขณะนี้มีกลุ่มประชาชน มารวมตัว เป็นสภาปฏิรูปประชาชน

        พ่อครูว่า...นี่เป็นนิมิตดี ที่เป็นเรื่องดี แทนที่จะเป็นไทยเฉย อยู่ในรู ใจดำ แต่คนคิดอ่าน เอาภาระ ก็น่าเคารพบูชา น่าส่งเสริม แม้ว่า คนเหล่านั้น ยังปรารถนา ลาภยศสรรเสริญ เพราะไม่ใช่อรหันต์ แต่ก็ต้องอาศัย กุศลจิต เขาก็ต้องได้ลดละ เขาทำ ก็ได้ฝึกฝน ถ้ามีคนให้สติว่า เราควรทำ ไม่ได้เอาอามิส ต้องทำเพื่อส่วนรวม จิตนี้เป็นไปเพื่อ ประเทศชาติแท้จริง

        หรือคนที่มาทำ ด้วยไม่ต้องการโลกธรรม ในคณะที่เราทำงานนี้ ก็ตาม เราไม่ได้มี จุดมุ่งหมาย เอาโลกธรรม แม้แต่ปีติยินดีในใจบำเรอ ถ้าไม่มีได้ ก็ยอดเยี่ยม เพราะถ้า ไม่ลดปีติ ก็เป็น อุพเพงคาปีติ จะเป็นภัยได้ เพราะมันแรงมากเกิน

        แสดงว่าคนไทย ยังมีคนเห็นแก่ประเทศชาติอยู่ นี่ดีแล้ว เหลือแต่ รวมตัวกันไม่ติด ถ้ารวมตัวกัน จะเป็นล้านคนเลย ยิ่งคนไทยเฉย ตื่นมารวมกันได้ ก็เป็นหลายล้าน ชนะ แน่นอนเลย คนไทยไม่ใช่ คนใจแล้งใจดำ มากหรอก แต่รอเหตุปัจจัย แต่แทนที่จะรอ ก็ออกมา รวมตัวกัน เห็นหน้ากันบ่อยๆ ก็อุ่นใจเลย แต่ถ้าเป่านกหวีดจะมา ก็ไม่เห็นหน้ากันเลยสิ มาช่วยกันนิดหน่อย ให้รู้หน้าตา ก็อุ่นใจหน่อย แต่นี่เงียบ ว้าเหว่ได้นะ

        อ.กฤษฎาว่า... กรณีเขื่อนแม่วงก์ อ.ศศิน ก็เดินเท้ามา คนก็ไปต้อนรับกัน มากมาย

        พ่อครูว่า...นี่คือนิมิตดี ยังมีหวัง เห็นจุดดวงไฟ ในปลายอุโมงค์แล้ว ไม่ใช่จุดรำไร ซักวันไหนดวงไฟ จะกระโดดมา ข้างหน้านี้เลย ก็พากเพียรไป แสดงธรรมไป ส่งเสริม กันไป มีเป้าหมายเดียวกัน อะไรมีดี ก็ยับยั้งกันไว้ อะไรบกพร่อง ก็เตือนกัน ก็ฟังกันบ้าง แล้วจะเจริญกันไป

        อย่างที่พล.อ.ปรีชา พูดว่า ด้วยเหตุปัจจัย ที่แสดงออกมา มีรูปธรรม แม้อ่านนาม ไม่ออก ก็อ่านรูปได้ เรารู้จักการเคลื่อนไหว เป็นกระแสสังคม เรียกว่า วิญญัติ ทาง กายวิญญัติ (กาย วาจา ใจ) ก็มีไม่น้อย สื่อออกมา ก็ชัดเจน เราอ่านทั้ง กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ยิ่งสามารถรู้ นามธรรมเข้าไป ขั้นหยาบ กลาง ละเอียด เป็นวิการรูป จนสามารถรู้ เอกหรือรอง (โท) จาก อิตถินทรีย์ ปุริสสินทรีย์ ได้ก็ยิ่งชัดเจน

        อ.กฤษฎาว่า... หมอดูหลายสำนัก ทำนายทิศทางเดียวกันเลย แล้วมันมี การทำนาย อย่างไร

        พ่อครูว่า... ก็มีหมอดูฝ่ายแดง คุณไม่ไปฟังบ้าง หมอดูคู่หมอเดา แต่หมอดู มีสถิติ เอาดวงดาว เหตุปัจจัย มาทำนาย แม้แต่คนดูโหวงเฮ้ง ก็เอาดินน้ำ ไฟลม มาทำนาย

        พุทธรรมจะมองชัดเจนว่า ทุกอย่างเกิดแต่เหตุปัจจัย กว่าจะมาเป็น วัตถุธรรม ถ้ามีแต่ในใจ ไม่ออกมาข้างนอก ไม่กระทบใคร มันก็ทำให้แต่ตัวคนเดียว อยู่แต่ในใจ เราก็ต้อง ระมัดระวังกาย กับ วจี ให้ดี ถ้าฝึกระงับ กายกับวจีได้ ไม่ให้เป็นอกุศล แล้วมัน จะเป็นเอง มาเข้ากัน ผสมผสาน เป็นฟันเฟือง ที่ขับเคลื่อน เป็นจักรแก้ว ม้าแก้ว ช้างแก้ว มาพัฒนากัน

        เราก็ทำไป ไม่ใจร้อน อดทน และเพียร ทำไป มีผู้นำพา ช่วยกันอยู่ ช่วยกันหมุน กงจักร ของทางอาณาจักร และธรรมจักร

        อ.กฤษฎาว่า... หลายคนบอกว่า ทำดีได้ดี มีที่ไหน ทำชั่วได้ดี มีถมไป อย่างนี้ หลายคน ก็อาจหวั่นไหว

        พ่อครูว่า... ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ... การกระทำ คือ กาย วาจา ใจ เป็นกิริยากระทำ พอคุณกระทำ เช่น ตีหัวเขาโป้ก คุณทำเสร็จ การกระทำ ก็เป็นของคุณ หรือพ่อครู ทุบน้อยหน่า เละเลย พ่อครูทำกรรมกิริยานี้ การทุบน้อยหน่า ให้พังไปเฉยๆ นี่ชั่วแล้ว ใครทำ พ่อครูก็ต้องได้ ได้การกระทำ นี่คือ การทำชั่วได้ชั่ว คุณได้จากกรรม ไม่ใช่ว่า คุณทำไอ้นี่เละ แล้วมีคน เอาค่าจ้างมาให้ คุณรับจ้างเขามา ยกมือในสภาได้เงิน แล้วก็บอกว่า ทำชั่วได้ดี นี่ผิดสภาวะจริง กรรมคือ การกระทำ แต่การได้ลาภ ได้ยศ ได้เงิน ไม่ใช่กรรม คุณทำชั่ว ก็ได้ชั่วทันที ทำดี ก็ได้ดีทันทีเลย แต่ที่ว่าได้อามิสนั้น ก็ไม่ใช่กรรม ไปเข้าใจ คนละฝา คนละตัว

        กรรมคือการกระทำ เป็นของๆตน (กัมมัสกตา) ตนเป็นทายาท ของกรรม (กัมมทายาโท) ส่วนวิบาก ที่จะได้รับ จากกรรมนั้น เป็นอจินไตย

        คุณชั่วนี่แต่ว่าคุณมีทำดีในอดีตเท่าไหร่ คุณก็ไม่รู้ แล้วก็มีลักษณะ การสังเคราะห์ อีกมากมาย อย่าไปคิด เป็นอจินไตย คุณก็ทำกุศลเข้าไป ทำลายอุกศล เรื่อยๆเถอะ มันเป็น นามธรรม จะไปลงบัญชีอย่างไร แต่การจะเปลี่ยนอะไร ต้องทำ ขณะปัจจุบัน ทุกปัจจุบัน เพราะเราเปลี่ยนอดีต ไม่ได้แล้ว เราต้องจัดการ ที่ใจเราให้ดี ได้ตลอดเวลา ทำกุศล ให้ได้ตลอด ไม่มีอะไรสาย ที่จะทำดี ทำถูก แต่มันจะสายเสมอ สำหรับคนชั่ว

        อ.กฤษฎาว่า....ทำไมคนที่ทำชั่ว เขาก็สรรเสริญความชั่ว คือทำสิ่งดี ในความชั่ว

        พ่อครูว่า... หมาด้วยกัน มันก็ชอบขี้ด้วยกัน เป็นธรรมดา

        อ.กฤษฎาว่า... ทำไมคนชั่วเขาทำชั่ว แล้วเป็นนาย แห่งความชั่ว แล้วก็ทำ เป็นกระบวนการ

        พ่อครูว่า... ธรรมดาหมา ก็รุมกันกินขี้ เป็นธรรมดา คุณเป็นช้าง ก็ไม่กินขี้กับหมา คุณก็กินผักพืชสิ

        อ.กฤษฎาว่า... ทำไมชม.นี้เวลานี้ จึงต้องศึกษาธรรม เราก็จะได้อ่านดีชั่ว ของตัวเราออก

        พ่อครูว่า... นี่คือรากฐาน ใจเป็นใหญ่ เป็นประธาน ให้ใจเราเปลี่ยนแปลงจริง คุณก็ทำตัวนี้ เป็นต้นทาง เป็นประธาน เมื่อจิตเป็นจิตดี เป็นอาริยะ แล้วจะเป็น วจีหรือกาย ก็เป็นอาริยะ มีทั้งเจโต (แรง) และมีปัญญา มันจะไปทำงาน ให้เกิดพฤติกรรม ทางกาย วจี ทำอะไร ก็มีจิตเป็นประธาน ก็ได้พัฒนาประธาน คือจิตหรือมโน ให้สามารถ เจริญ ระดับหนึ่ง เรียกว่า กัมมนิยะ (สร้างจิตให้ดี เกิดฌาน จะสั่งสมเป็น มุทุภูเต กัมนิเย ฐีเต อเนญชัปปัตเต) เป็นการสั่งสมสมาธิ จะมีการงาน อันเหมาะควร เกิด ปโหติ (เหมาะควร ได้สัดส่วน) เราถึงพยายาม มาเรียนรู้ อภิธรรม แล้วคุณได้อันนี้ จะเป็น มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา) คำว่าเศรษฐี คือผู้ประเสริฐ ไม่ใช่กฏุพี ที่เป็นคนรวยที่เลว ถ้าทำได้ ก็เป็นเสฏฐา หรือเศรษฐีต่อไป เรามาฝึกฝน จิตใจตนให้ดี เราพัฒนากรรม กาย วจี แล้วเสริมจิตให้ดี ยาวให้เป็น เย็นเรื่อยไป จะถึงจุดมุ่งหมาย แน่นอน

        พ่อครูว่า...มีหนูคนหนึ่งถามว่า... หลายวันก่อน เจอผัสสะแรงมาก เขามาด่า แล้วเราก็ สาธุ เขาเลยโกรธตอบ เพิ่มอีก เขาเดินชนข้าวสองชาม แล้วก็เอาขวดน้ำ จิ้มหน้า แต่หนูไม่โต้ตอบ แต่เกิดปฏิฆะในใจแล้ว (ไม่ชอบ ไม่พอใจ) ถ้าโต้ตอบ คงไม่ได้อยู่ ในสวนลุมฯ เพราะตั้งตบะ จะช่วยผู้ใหญ่ เก็บหางขยะ เพื่อช่วย เท่าที่ทำได้ จะพยายาม ไม่พูด จะทำงานอย่างเดียว ด้วยหนูมีอาจารย์สอนว่า ต้องอยู่กับความจริงให้ได้ ต้องเปลี่ยนแปลง ตัวเองให้ได้

        พ่อครูว่า... ดีแล้วเราก็เฉยๆ ถ้าไปสาธุซ้ำ ก็จะโกรธเพิ่ม พูดน้อยก็ดี ระงับไว้  เชื่อว่าจะทำได้ ขอให้หนูเจริญ ให้ทำต่อไป...

        อ.กฤษฎาว่า... ขณะที่ทำรายการ ก็มีคน sms ส่งประเด็น มาเพิ่มเติม หลายคน ก็คงได้ เข้าใจเพิ่ม ว่าทำดีย่อมได้ดี เป็นเช่นไร ทำชั่วย่อมได้ชั่ว เป็นอย่างไร กรรมก็คือ การกระทำ ไม่ใช่ไปมองที่ลาภยศ สรรเสริญ มันคนละฝา คนละตัว ใครทำกรรม อันใด ย่อมได้กรรม อันนั้น ไม่ต้องไปเร่งตนเอง หรือเร่งคนอื่น ขอให้กรรม มันติดจรวด อย่างนั้น เป็นอกุศลจิต เป็นความไม่ดี ของใจเรา แม้จะตั้งจิต ก็ให้เขาเจริญ แม้เขาจะตกต่ำ อย่างไร ก็อย่าปรารถนาร้ายต่อเขา แม้คนไม่ดีมากมาย หากเขาหยุด กรรมไม่ดี ได้ทันที เราก็กลับบ้าน ไม่ต้องมาอยู่ตรงนี้ ... และเรามาชุมนุมนี่ จะรู้ว่า การเอา ธรรมนำหน้า เป็นเช่นไร ?     

จบ

 

 
๒๓ กันยายน ๒๕๕๖ ที่สวนลุมพินี กทม.